The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 62012110040, 2022-03-22 04:30:01

Khao Mao (4)

Khao Mao (4)

KHAO MAO
ข้าวเม่าชุมชนโพธิ์ศรี มหาสารคาม



คำนำ

นิตยสารเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ วิชาการ
สัมมนาการจัดการทางวัฒนธรรม เพื่อให้ ได้ศึกษาหาความรู้ใน
เรื่องความเป็นมาของข้าวเม่า โดยได้ศึกษาผ่านแหล่งความรู้ต่างๆ
อาทิเช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร ห้องสมุด และแหล่งความ
รู้จากเว็บไซต์ต่างๆ โดยรายงานเล่มนี้ต้อง มีเนื้อหาเกี่ยวกับการ
จัดการเรียนการสอน บทบาทของผู้สอน บทบาทของผู้เรียน

ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำนิตยสารฉบับนี้จะ
มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจข้าวเม่าเป็นอย่างดี





คณะผู้จัดทำ



สารบัญ

ข้าวเม่า ชุมชนคุ้มวัดโพธิ์ศรี มหาสารคาม

อุปกรณ์
วิธีการทำ

ประวัติความเป็นมาข้าวเม่าชุมชนโพธิ์ศรี
มหาสารคาม

ข้าวเม่า ชุมชนคุ้มวัดโพธิ์ศรี มหาสารคาม

" ขนมพื้นเมืองจากภูมิปัญญาชาวนาที่นำ
เอาข้าวช่วงใกล้สุกสีเขียว มาผ่านกรรมวิธี
ทางภูมิปัญญาให้ได้ข้าวเม่าที่มากด้วยคุณ
ประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งไฟเบอร์และวิตามิน
ต่างๆ มีสีเขียวน่าทาน สามารถเลือกซื้อ
เลือกชิม ได้ตลอดปี มีจำหน่ายที่บริเวณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมหาสารคาม
และชุมชนโพธิ์ศรี "

1

" ชาวชุมชนโพธิ์ศรี ต.ตลาด อ.เมือง นอกจากนี้ "ข้าวเม่า" ยังถือเป็น
จ.มหาสารคาม สืบสานวิธีการทำข้าวเม่าแบบ อาหารการกินสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง
ดั้งเดิมมานานกว่า 50 ปี การตำข้าวเม่า ของจังหวัดมหาสารคาม โดย
สามารถสร้างรายได้พิเศษ ให้กับชุมชนโพธิ์ เทศบาลเมืองมหาสารคามได้จัด
ศรี ซึ่งการตำข้าวเม่าแบบนี้สืบทอดมาตั้งแต่ ถนนคนเล่นน้ำเทศกาลสงกรานต์ ใช้
สมัยรุ่นพ่อตกทอดยาวนาน " ชื่อว่า “ถนนข้าวเม่า” ยกย่องให้เป็น
เอกลักษณ์ของจังหวัด พร้อมกับนำ
ข้าวเม่าไปแจกให้กับผู้ที่มาเล่นน้ำ ณ
ถนนสายนี้ทุกปีอีกด้วย

2

อุปกรณ์และวิธีการทำข้าวเม่าชุมชนโพธิ์ศรี
มหาสารคาม

อุปกรณ์

รวงข้าวที่แก่จัด

กระด้ง
ครกและสาก

กระทะ

ตะหลิว

3

วิธีการทำ

เลือกรวงข้าวที่แก่จัด มาทำโดยสังเกตได้จากรวงข้าวเริ่มโค้ง หรือ
จากการแกะเมล็ดข้าวทดสอบ นำรวงข้าวมานวดเอาเมล็ดออกจาก

รวงข้าว

ฝัดเมล็ดข้าวโดยใช้กระด้ง เพื่อคัดเอาเมล็ดที่ลีบออกให้หมด นำ
เมล็ดข้าวที่ สมบูรณ์ใส่ภาชนะเตรียมไว้

นำเมล็ดข้าวไปคั่วในกระทะ โดยใช้ไฟความร้อนสูง ใช้ตะหลิวคนเมล็ด
ข้าวตลอดเวลา เพื่อให้ได้รับความร้อนอย่างทั่วถึง ใช้เวลาใน การคั่ว
15-20 นาที หรือ สังเกตจากการที่เมล็ดข้าวเริ่มแตก

นำเมล็ดข้าวที่คั่วแล้ว มาใส่ครกเพื่อทำการตำเอาเปลือกข้าว ออก จะ
ได้เมล็ดข้าวลักษณะแบนๆ ใช้เวลาตำประมาณ 15 นาที หรือจนกว่า
เปลือกจะออกจากเมล็ด

นำเมล็ดข้าวที่ตำแล้ว มาใส่กระด้งทำการฝัดเพื่อแยกเอาเปลือกออก
จะได้ “ ข้าวเม่า” ที่พร้อมรับประทาน ถ้าทำสุกใหม่ ๆ ข้าวเม่าจะนิ่ม
และหอมมาก เราสามารถนำข้าวเม่ามา รับประทานได้เลยหรือนำไป
คลุกเคล้ากับมะพร้าวและน้ำตาลทราย

4

ลักษณะเด่นข้าวเม่าชุมชนโพธิ์ศรี มหาสารคาม

" ข้าวเม่าชุมชนโพธิ์ศรี
มหาสารคาม มีความหวานหอม นุ่ม
อร่อยเป็นพิเศษ เนื่องจากใช้ข้าว
เหนียวพันธุ์ของคนในชุมชน ซึ่งเป็น
ข้าวนาปีที่อยู่ในช่วงรวงข้าวที่ตั้งท้อง
ได้ 3 เดือน สีของข้าวจะเริ่มตกสี
น้ำตาล จึงได้ข้าวที่รวงสวยมาทำ
ข้าวเม่าชุมชนโพธิ์ศรี มหาสารคาม
จึงมีความแตกต่างจากข้าวเม่าที่อื่น "

5

การพัฒนาและการสร้างรายได้ข้าวเม่าชุมชนโพธิ์ศรี
มหาสารคาม

" ได้รับความร่วมมือและการบริจาค
เงินจากสถาบันวิจัยศิลปะและ
วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัย
มหาสารคามในการจัดแสดง
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และ
ประเพณีของทำข้าวเม่าในอดีตจนถึง
ปัจจุบัน "

" วิสาหกิจชุมชน ได้มีส่วนร่วมใน

การขายผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าในรูปแบบ

ต่างๆ สามารถสร้างรายได้ให้กับชาว

วิสาหกิจชุมชนวัดโพธิ์ศรีโดยมีการ

จำหน่ายสินค้าข้าวเม่าและกลุ่มกลุ่ม

เกษตรกร ได้ขายพันธุ์ข้าวที่ใช้ผลิต

ข้าวเม่าที่มีคุณภาพดีและมีความแตก

ต่าง "

ได้รับความร่วมมือจากกระทรวง
วัฒนธรรมและสำนักงานวัฒนธรรม
จังหวัดมหาสารคามในการสนับสนุนงบ
ประมาณการจัดงานเทศกาล
สงกรานต์โดยใช้ชื่อว่า “ถนนข้าวเม่า”

6

การสืบสานประเพณีข้าวเม่าชุมชนโพธิ์ศรี
มหาสารคาม

" ข้าวเม่ายังถือเป็นอาหาร
การกินสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ
จังหวัดมหาสารคาม โดยเทศบาล
เมืองมหาสารคามได้จัดถนนคน
เล่นน้ำเทศกาลสงกรานต์ ใช้ชื่อ
ว่า “ถนนข้าวเม่า” ยกย่องให้เป็น
เอกลักษณ์ของจังหวัด พร้อมกับ
นำข้าวเม่าไปแจกให้กับผู้ที่มาเล่น
น้ำ ซึ่งปีนี้ได้ทำต่อเนื่องติดต่อกัน
มาเป็นปีที่ 5 แล้ว ซึ่งเป็น
ประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน
ตั้งแต่บรรพบุรุษหรือเทศกาลปี
ใหม่ไทย "

7

ปัญหาและแนวคิดในการพัฒนาข้าวเม่าชุมชน
โพธิ์ศรี มหาสารคาม

" ปัจจุบันท่ามกลางวิกฤติราคาข้าว
8
เปลือกตกต่ำ โดยล่าสุดราคาขายอยู่ที่

ประมาณกิโลกรัมละ 5 บาท ถือว่าต่ำสุดใน

รอบหลายปี ส่งผลกระทบต่อพี่น้องเกษตรกร

ชาวนา ประสบปัญหาขาดทุนในช่วงฤดูกาล

เก็บเกี่ยวข้าว นอกจากจะได้รับผลกระทบ

จากโควิด-19 ระบาด และตกงาน ยังได้รับ

ผลกระทบจากราคาข้าวตกต่ำ สร้างความ

เดือดร้อน ซึ่งชาวนาบางรายไม่สามารถที่จะ

กักตุนไว้ขายได้ ต้องยอมขายขาดทุน ซึ่งใน

ฐานะนักจัดการวัฒนธรรมได้นำอาชีพ

ภูมิปัญญาชาวบ้านของชุมชนโพธิ์

มหาสารคาม มาแก้วิกฤติราคาข้าวเปลือก

ตกต่ำ โดยรับซื้อข้าวเปลือกข้าวเหนียว มา

แปรรูปทำข้าวเม่า ซึ่งเป็นอาชีพภูมิปัญญา

ชาวบ้านที่สืบสานกันมาแต่อดีต เป็นการเพิ่ม

มูลค่าจากปกติราคาข้าวเปลือกกิโลกรัมละ

ประมาณ 5 บาท สามารถรับซื้อจาก

เกษตรกรได้ในราคากิโลกรัมละ ประมาณ 10

บาท ที่สำคัญหากมีการแปรรูปเพิ่มมูลค่า

เป็นข่าวเม่า สามารถขายได้ในกิโลกรัมละ

ประมาณ 80 -100 บาท ทำให้เกษตรกรชาว

บ้านโปร่ง สามารถพลิกวิกฤติ สร้างรายได้

วันละนับแสนบาท อีกทั้งยังสามารถช่วย

เหลือเกษตรกรสามารถขายราคาข้าวเปลือก

ได้เพิ่มขึ้น "

วิเคราะห์แนวทางการจัดการธุรกิจข้าวเม่าชุมชนโพธิ์
ศรี มหาสารคาม

" ในปัจจุบันการตำข้าวเม่ากำลังจะ
สูญหายไปจากชาวนาไทยเนื่องจากสังคม
เกษตรกรรมกำลังเปลี่ยนแปลงไป ในฐานะ
นักจัดการวัฒนธรรม จึงคิดธุรกิจข้าวเม่า
ชุมชนโพธิ์ศรี มหาสารคาม ซึ่งใช้
เทคโนโลยีปัจจุบันในการแปรรูปอาหาร
เป็นการนำข้าวเม่ามายืดอายุข้าวเม่าให้มี
เวลาการบริโภคได้นานขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา
นิยมใช้วิธีการอบแห้ง เนื่องจากเป็น
กรรมวิธีการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์
เพื่อช่วยยืดอายุการ เก็บรักษาให้นานขึ้น
นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับ
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้อีกด้วย การ
อบแห้งที่อุณหภูมิสูงและการอบแห้งที่
อุณหภูมิต่ำ โดยการอบแห้งทั้งสอง
ประเภท ต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย คือ การ
อบแห้งที่อุณหภูมิสูงสามารถลดความชื้น
ของผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็วจึงใช้ระยะเวลาใน
การอบแห้งที่สั้นกว่าการอบแห้งที่อุณหภูมิ
ต่ำ แต่การอบแห้งที่อุณหภูมิสูงก็อาจจะ
ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ไวต่อความร้อน (Heat
Sensitive) สูญเสียสภาพได้การอบแห้ง
อาหารด้วยเทคนิคการทำแห้งแบบแช่เยือก
แข็งที่สภาวะอุณหภูมิและความดันต่ำ
สามารถลดปัญหาการเปลี่ยนแปลง
คุณภาพทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ได้
น้อยที่สุดทำให้คุณภาพหลังการอบแห้ง
ของผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพสูง จึงได้มี

9การนำเอาเทคนิคมาใช้อย่างมากใน

อุตสาหกรรมอาหาร "

สมาชิกผู้จัดทำ

นางสาวอภิญญา แสงงาม นายวริศ ด้วงลำพันธ์ นางสาวจณิสดา สีหาทัพ
62012110022 62012110030 62012110040

นางสาวฤดีมาศ สิงห์ดงเมือง นางสาวพนัดดา ป้อมสุวรรณ นางสาววรรณิดา วันดี
62012110047 62012110051 62012110053

นายหนึ่งทยา อ่อนชื่นจิตร นางสาวอารียา จารุสิน นางสาวศศิกาญจน์ สุขมาก
62012110055 62012110056 62012110061

นางสาวชนนิกานต์ บอกบุญ
62012110064


Click to View FlipBook Version