การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระวิชา พระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร Development of academic achievement in the subject of Buddhism regarding Buddhist principles of Mathayom 6 students using the 5e inquiry teaching method at Nong Bua Pittayakhan School. สุภาวดี พาอยู่สุข และ สอนประจันทร์ เสียงเย็น Suphawadee phayusuk and Somprachan Siangyen สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กลุ่มหลักสูตรการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี Depaetment of Buddhism, faculty of education, udonthani rajabhat university Teaching curriculum group, faculty of education, udonthani rajabhat university บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ส าหรับพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/11 ปีการศึกษา 2566 จ านวน 25 คน โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อ าเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล าภูใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จ านวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ านวน 20 ข้อ ฉบับที่ 2 เป็นแบบทดสอบภาคปฏิบัติ จ านวน 4 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ ชนิดมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ จ านวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ t-test แบบกลุ่มไม่อิสระ (Dependent Samples t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ส าหรับพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมมีความพึงพอใจในการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ค าส าคัญ : ทักษะการแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E The objectives of this research are: 1. To develop a learning management plan using the inquiry process (5E) for developing learning achievement on Buddhist principles. of Mathayom 6 students to be effective according to the standard criteria of 80/80 2. To compare and analyze the learning achievements on Buddhist principles of Mathayom 6 students from learning management using the inquiry process. Know (5E) before studying and after studying The sample group used in this research is There are 25 students in Mathayom 6/11, academic year 2023, Nong Bua Pittayakhan School, Mueang District, Nong Bua Lamphu Province. Using a random sampling method by selecting a specific sample (Purposive Sampling) The tools used in the research were teaching documents. The academic achievement test, 2 editions, edition 1, is a multiple choice test with 4 options, 20 questions, edition 2. It is a 4-question practical test and a learning satisfaction questionnaire. Type of rating scale, 5 levels, 20 items. Statistics used in data analysis are percentage, mean, standard deviation, and independent group t-test (Dependent Samples t-test). The research results found that 1. Learning management plan using the inquiry process (5E) for developing learning achievement on Buddhist principles. of Mathayom 6 students' performance according to the standard criteria 80/80 2. Learning achievement on Buddhist principles of Mathayom 6 students Using the inquiry process (5E) after studying is higher than before studying. They had higher academic achievement scores after studying than before studying. It is
statistically significant at the .01 level, which is in line with the set assumptions. 3. Students who receive learning activities using teaching materials on Buddhist principles Overall, Mathayom 6 students were satisfied with learning at a high level. Keywords: problem-solving skills, academic achievement, 5E inquiry-based learning
บทน า ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา ในโลกปัจจุบัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้าน ประชากร สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการเมืองเพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงจึงต้อง มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และมีการศึกษาตลอดชีวิต พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้บัญญัติไว้ว่าการจัดการศึกษา ต้องเป็นไปเพื่อ พัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจสติปัญญาความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมใน การด ารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตส านึกที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริม สิทธิหน้าที่ เสรีภาพ เคารพกฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็น ไทยรู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545 : 5) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้ก าหนดวิสัยทัศน์มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่ง เป็นก าลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งร่างกาย ความรู้คุณธรรมมีจิตส านึกในความเป็นพลเมืองไทยและ เป็นพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้ และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตคติที่จ าเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิตโดยมุ่งเน้น ผู้เรียนเป็นส าคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 :3) สังคมโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตาม สภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคมโลก(ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2551 :1) กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้เป็นหลักสูตร แกนกลางของประเทศ โดยส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาได้ด าเนินการติดตามผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ในหลายรูปแบบ การรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา รายงานผลการวิจัย ของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลจากการศึกษา พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเป้าหมายการพัฒนา คุณภาพผู้เรียนยังไม่เพียงพอต่อการรองรับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ เปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหัวใจของการวางรากฐานขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ การพัฒนาศักยภาพคน ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ
การเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ให้สามารถพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ก้าวทันและทัดเทียมนานาชาติ(ส านักงาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551) นอกจากนี้ การศึกษาข้อมูลทิศทางและกรอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) โดยจัดท าบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศและเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการปรับ โครงสร้างประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ 20 ปีต่อ จากนี้ เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ “ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วย การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น จึงจ าเป็นที่จะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงสาระ ภูมิศาสตร์ และยึดหลักการพัฒนาการเรียนรู้ตามธรรมชาติของกลุ่มสาระและพัฒนาการในการเรียนรู้ส าหรับ ผู้เรียน(ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร.2560) กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้ สอดคล้องกับแผนดังกล่าวในประเด็นด้านการสร้างความสามารถ และเสริมสร้างศักยภาพคนเพื่อการรองรับการ เปลี่ยนแปลง โดยก าหนดให้ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และสังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม เฉพาะสาระภูมิศาสตร์ เป็นนโยบายส าคัญเร่งด่วน โดยปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดให้มี ความชัดเจน ครอบคลุมทั้งเนื้อหา เวลา สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน (ส านักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551) การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และทักษะแห่งอนาคตที่มาของทักษะแห่งอนาคตมาจากภาคีความร่วมมือเพื่อทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (เครือข่าย P21 ซึ่งเป็นภาคีที่รวมกันระหว่างบริษัทเอกชนชั้นน าขนาดใหญ่ องค์กร วิชาชีพระดับประเทศและส านักงานด้านการศึกษาของรัฐ โดยก าหนดกรอบแนวความคิดออกมา ดังนี้ แกนวิชา หลัก และธีมหลัก ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ต้องมีการบูรณาการวิชาให้ครอบคลุมทักษะ 3 อย่างที่เด็กควรจะมี ได้แก่ ทักษะ ชีวิตและการท างาน, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีและระบบสนับสนุน การศึกษาของศตวรรษที่ 21 โดยเน้นผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้และรู้จักการท างาน ร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง ประกอบกับหลัก 3Rs 4Cs (เมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์, 2556) ปัจจุบันมนุษย์ได้ให้ความส าคัญกับการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาน้อยลง เพราะคิดว่าการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ไม่ส าคัญ ทั้งที่วิชาพระพุทธศาสนาสอนเนื้อหาในวิชาก็ครอบคลุมสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา เช่น สาระหน้าที่พลเมือง คือ เรียนเกี่ยวกับการ เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา เพราะฉะนั้นเราก็ได้เห็นแล้วว่าวิชา พระพุทธศาสนามีความส าคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการจากชีวิตจริงที่เชื่อมโยงความรู้ จากอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มของอนาคตเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีวิชาพระพุทธศาสนายังสามารถบูรณาการเข้า
กับหลักสูตรได้ดีและจะช่วยสร้างประสบการณ์ชีวิตให้แก่ผู้เรียนเพื่อพัฒนาเจตคติและพฤติกรรมที่ดีต่อตนเองและ สังคม เราจึงเรียกวิชาพระพุทธศาสนาได้ว่าเป็นศาสตร์แห่งการบูรณาการในวิชาพระพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ คือ ต้องจัดให้เหมาะสมกับวัยให้ผู้เรียนได้มีส่วน ร่วมในการจัดการเรียนรู้และเน้นการปฏิบัติด้วยตนเองสามารถน าไปใช้ในชีวิตจริงได้ ดังนั้น ครูผู้สอนจะต้องจัดให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบและขั้นตอนและให้ถือว่าผู้เรียนมีความส าคัญที่สุด (ชาตรี เกิด ธรรม 2545:36) จากปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของโรงเรียนหนองบัว พิทยาคาร อ าเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล าภูซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษให้ความส าคัญกับการจัดการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญไม่มากเท่าที่ควร ผู้เรียนไม่มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา ขาดความมั่นใจในการ แก้ปัญหา กลัวการผิดพลาด ขาดความมั่นใจในการน าเสนองานอีกทั้งยังไม่เกิดการค้นคว้าด้วยตนเอง จึงท าให้ นักเรียนส่วนใหญ่คิดวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณไม่เป็น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชา พระพุทธศาสนาที่ผ่านมานั้นไม่สามารถพัฒนานักเรียนด้านทักษะการคิด อาจเนื่องด้วยสภาพการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ ที่ไม่หลากหลาย และไม่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนเท่าที่ควร โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนรู้แบบท่องจ า การ ยกตัวอย่างและท าตามตัวอย่าง เมื่อเรียนเสร็จแล้วก็ไม่สามารถน าเนื้อหาที่ได้เรียนไปประยุกต์ ใช้ได้ ผู้เรียนก็มี ความแตกต่างระหว่างบุคคล มีศักยภาพในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังไม่ค่อยได้รับการฝึกคิด และแก้ปัญหา เพื่อการพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ขาดการเชื่อมโยงความรู้ไปใช้ในชีวิตประจ าวัน การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นการสืบสอบ ได้พัฒนาขึ้นมาจากกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ (ชาตรี เกิดธรรม 2545:36) ได้ให้ความหมายของการจัดการ เรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้โดยใช้ กระบวนการทางการคิดหาเหตุผลกับการแก้ปัญหาด้วย ตนเองกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (Bybee.1990;citing Lawsan,1995:164) คือ การสร้างความสนใจ(Engagement) การส ารวจและค้นหา(Exploration) การอธิบายและลงข้อสรุป(Explanation) การขยายความรู้(Elaboration) และการประเมิน(Evaluation) จากล าดับขั้นตอนดังกล่าวผู้เรียนสามารถสร้างความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดด้วย ตนเองมีการก าหนดประเด็นปัญหา ผู้เรียนสามารถเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ได้ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็น ระบบ มีเหตุผล มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาความจริงจากการสืบเสาะหาข้อมูล รู้จักการ แก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยประยุกต์ใช้หลักการเรียนรู้ด้วยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเน้นบรรยากาศในการเรียน การสอนให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้สามารถคิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างสร้างสรรค์และคิด อย่างมีวิจารณญาณเพื่อที่จะสามารถน าความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แบบสืบเสาะไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวันของ ตนต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ส าหรับพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ระหว่างก่อนเรียนและหลัง เรียน สมมุติฐานของการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ส าหรับพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ขอบเขตของการวิจัย 1.เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย ในการสอนเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้ผลการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ (5E) เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จ านวน 4 แผน 6 ชั่วโมง ดังนี้ แบบทดสอบก่อนเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พระรัตนตรัย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ตัวอย่างผลที่เกิดจากการท าควาดี ความชั่ว แบบทดสอบหลังเรียน 2.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 จ านวน 3 ห้อง รวมทั้งหมดจ านวน 97 คน โรงเรียนหนองบัวพืทยาคาร อ าเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล าภู 2.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/11 ปีการศึกษา 2566 จ านวน 25 คน โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อ าเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล าภูใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบ เฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) 3.ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ 3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) 4.ระยะเวลาในการวิจัย ปีการศึกษา 2566 นิยามศัพท์เฉพาะ
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ (5E) หมายถึง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จ านวน 4 แผน 6 ชั่วโมง 2. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้หมายถึง คุณภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์ของกิจกรรมการ เรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สาระวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ดังนี้ 80 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนท าได้จากคะแนน จากการประเมินพฤติกรรมการ เรียน การท าแบบทดสอบระหว่างเรียนและผลงานนักเรียนที่มีค่าตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป 80 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนที่ได้จากการกระท าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนที่มีค่าตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนจากการท าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระวิชา พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งวัดได้จากการตอบแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ซึ่งเป็นข้อสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จ านวน 20 ข้อ 4. นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อ าเภอเมือง จังหวัดหนองบัวพิทยาคาร 5. โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อ าเภอเมือง จังหวัดหนองบัวล าภูสังกัดส านักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย 1. ได้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ส าหรับพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. ท าให้ทราบผลการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลสัมฤทธ์ทางการเรียนสาระวิชา พระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ (5E) ส าหรับพัฒนา ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การ เรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัด หนองบัวล าภูจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(5E) ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน มีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/11 ที่ก าลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จ านวน 1 ห้อง จ านวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง นวัตกรรม คือ จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนโดยแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนโดยแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เป็นแบบ ปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ านวน 20 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.73 ซึ่งมีความ เชื่อมั่นสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า E 1 / E 2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-dependent สรุปผลการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ สรุปผลได้ดังนี้ 1. การศึกษาผลสัมฤทธ์ทางการเรียนสาระวิชา พระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะ หาความรู้(5E) ได้คะแนนเฉลี่ยจากการท าแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบย่อยในแต่ละเรื่องเท่ากับ 27.30 คิดเป็นร้อยละ 91.00 และท าคะแนนเฉลี่ยจากการท าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เท่ากับ 16.90 คิดเป็นร้อยละ 87.00 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.00/ 87.00 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ สาระวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยได้คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 11.83 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 16.90 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
อภิปรายผล จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ สาระวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สามารถอภิปราย ผลได้ดังนี้ 1. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ สาระวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.00/ 87.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนด 80/80 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป เป็นไปตามสมติฐานทางการวิจัยข้อที่ 1 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ผู้วิจัยได้สร้างแผนการจัดการ เรียนรู้ขึ้นตามขั้นตอนรูปแบบของวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) อย่างจริงจัง มี ระบบและน าไปให้ผู้เชี่ยวชาญจ านวน 3 ท่าน ตรวจสอบและประเมินก่อนที่จะน าไปทดลองจริง แล้วน าไปปรับปรุงแก้ไขตามค าแนะน าของผู้เชี่ยวชาญ ก่อนน าไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมายใน การศึกษา ซึ่งจากเหตุผลที่กล่าวมาท าให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัย ชวกร จันทร์ทอง(2558: บทคัดย่อ) ได้ท าการวิจัย เรื่อง พระพุทธศาสนาน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนา รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พระพุทธศาสนาน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.61/84.81 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ก าหนดไว้ สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ บุญสุข ศิริสนธิ (2562: บทคัดย่อ) ได้ท าการวิจัยเรื่อง เล่าขาน ต านานไทย โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพระพุทธศาสนาของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ สืบเสาะหา ความรู้แบบ 5E มีประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ5E ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 81.62 /82.35 สูง กว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และสอดคล้องกับผลงานวิจัย เดือนเพ็ญ สังข์งาม(2563: บทคัดย่อ) ได้ ท าการวิจัยเรื่อง พระรัตนตรัยที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ส าหรับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ จังหวัด มหาสารคาม ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน เป็นไปตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ มีค่าเท่ากับ 85.61/82.61
2. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ สาระวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีค่าเฉลี่ยคะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยนักเรียนมีมีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน โดยได้คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 11.83 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.90 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานทางการวิจัยข้อที่ 2 อาจเนื่องมาจากที่ได้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เป็นการน าการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆแต่ละ กลุ่มประกอบด้วย สมาชิกที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกันโดยที่แต่ละคน มีส่วนร่วมอย่าง แท้จริงในการเรียนรู้ และในความส าเร็จของกลุ่มทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการแบ่งปัน ทรัพยากรการเรียนรู้ รวมทั้งการเป็นก าลังใจแก่กันและกัน คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่เรียน อ่อนกว่า การด าเนินกิจกรรมการเรียนรู้มีความน่าสนใจ ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายในระหว่างการจัดการ เรียนรู้ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ณัฐชา ดีบุญมี ณ ชุมแพ (2557: บทคัดย่อ)ได้ท าการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์สาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการด าเนินชีวิตในสังคมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โรงเรียนโนน หันวิทยายน อ าเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพัฒนาการของ อาเซียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และสอดคล้องผลงานวิจัยของ พุทธิพงษ์ ศุภมัสดุอังกูร (2558 : บทคัดย่อ) ได้ท าการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องพุทธศาสนสุภาษิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) สูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และสุกัญญา เพ็ชรนาค (2563: บทคัดย่อ) ได้ท าการวิจัยการ
พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E รายวิชา พระพุทธศาสนา นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยกิจกรรม การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E รายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ครูผู้สอนควรศึกษาแนวคิดการสอนและนวัตกรรมในการสอนให้เข้าใจก่อนเพื่อน าไปปรับใช้ในแผนและ บทเรียนที่จะน าไปสอนนักเรียน 1.2 ครูผู้สอนควรอธิบายวิธีการ ขั้นตอนการท ากิจกรรมต่างๆแก่นักเรียนให้นักเรียนเข้าใจก่อนปฏิบัติตามขั้นตอน ต่างๆเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 1.3 ครูควรแจ้งผลการท ากิจกรรม หรือการทดสอบให้นักเรียนทราบทันที เพื่อให้นักเรียนทราบผลงานของตนเอง และของกลุ่ม ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้ 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการพัฒนาการออกแบบการจัดกิจกรรมที่สามารถบูรณาการกับวิชาอื่นๆได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพใน การเรียนมากที่สุด 2.2 ควรท าการศึกษาค้นคว้าผลการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับตัวแปรอื่นๆ เช่น ความ คงทนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ความสนใจการเรียนรู้วิชสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นต้น เพื่อน ามาพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและ ป้องกันอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2542). พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 . กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จ ากัด. กระทรวงศึกษาธิการ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2545). พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2)และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545.กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จ ากัด. กระทรวงศึกษาธิการ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ ากัด. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560). ยุทธศาสตร์เกษตรและ สหกรณ์ ระยะ20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) และแผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพฯ. ชวกร จันทร์ทอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ( 5E ) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พระพุทธศาสนาน่ารู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้าน หาดใหญ่) : ส านักการศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ชาตรี เกิดธรรมม. (2545). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้รียนเป็นส าคัญ. กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช. ณัฐชา ดีบุญมี ณ ชุมแพ. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิด วิเคราะห์สาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการด าเนินชีวิตในสังคมของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E). โรงเรียนโนนหันวิทยายน อ าเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. เดือนเพ็ญ สังข์งาม. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระพระพุทธศาสนา เรื่อง พระรัตนตรัย ที่ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาสารคาม :ส านักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.
เอกสารอ้างอิง (ต่อ) ทัศณา เกื้อเส้ง. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) สาระเศรษฐศาสตร์ เรื่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนคณะราษฏรบ ารุง. ยะลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ธัชชัย จิตรนันท์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ไทยสมัยประชาธิปไตย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้5 ขั้น (5E). มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. บุญสุข ศิริสนธิ. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เรื่อง เล่าขานต านานไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านโนนเปือย (มหพิมพ์สงเคราะห์). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565, จากhttp://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=153269. พิมพ์ชนก มณีทัพ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Method : 5E) เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. พิลญา สังฆานาคินทร. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ที่เน้นกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์. พัทลุง : องค์การบริหารส่วน จังหวัดพัทลุง พุทธิพงษ์ ศุภมัสดุอังกูร. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิด วิเคราะห์เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E). วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. เมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565. เข้าถึงได้จาก http://www.libraryhub.in.th/2011/04/12/librarians-licensure/.
เอกสารอ้างอิง (ต่อ) สุกัญญา เพ็ชรนาค. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E รายวิชา พระพุทธศาสนา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). กระทรวงศึกษาธิการแผนพัฒนาการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ. ส านักนโยบายและยุทธศาสตร์ ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ