กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
อุปสงค์และอุปทาน
อุปสงค์
ความหมายของอุปสงค์
จำนวนสินค้าและบริการ ซึ่งผู้บริโภคต้องการซื้อ
ในระยะเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาของสินค้าชนิดนั้น
กฎของอุปสงค์
กฎอุปสงค์ เป็ นความต้องการซื้อสินค้าและบริการหนึ่ง ๆ ตามระดับราคาที่อยู่ในช่วง
เวลานั้น
ถ้าราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการลดลง
ถ้าราคาสินค้าและบริการลดลง ความต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น
กฎของอุปสงค์สามารถเขียนเป็ นแผนภูมิได้ดังนี้
P Q P = price ราคาสินค้าและบริการ
Q = Quantity ปริมาณซ้ือสินคา
PQ
ลักษณะของเส้นอุปสงค์
- เส้นอุปสงค์จะมีลักษณะทอดลงจากซ้ายไปขวา และมีความชัน (Slope) เป็ นลบ
- ลักษณะที่แท้จริงของเส้นอุปสงค์จะมีลกัษณะเป็ นเส้นโคง้เว้าเข้าาหาจุดกำเนิดแต่
ส่วนใหญ่จะเขียนเป็ นเส้นตรง
- การที่เส้นอุปสงคท์อดลง หมายถึงราคากับปริมาณซ้ือเปลี่ยนแปลงทิศทางตรงกันข้าม
(P) ราคาสินค้าต่อกิโลกรัม (บาท) เมื่อ
ราคาสินค้า 17 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม P = ราคาสินค้า
ปริมาณความต้องการเท่ากับ 4 กิโลกรัม Q = ปริมาณซื้อสินค้า
DD = เส้นอุปสงค์
ราคาสินค้า 13 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม
ปริมาณความต้องการเท่ากับ 8 กิโลกรัม
(Q) ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า (ก.ก.)
กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
อุปสงค์และอุปทาน
ปั จจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์
1. รายได้ (Income)
- ถ้ารายได้เพิ่ม เส้นอุปสงค์จะเพิ่มชิดขวาของเส้นเดิม
- ถ้ารายได้ลด เส้นอุปสงค์จะลดลงชิดซ้ายของเส้นเดิม
2. รสนิยม (Taste)
- ถ้ารสนิยมในสินค้าสูง เส้นอุปสงค์จะเพิ่มชิดขวา
- ถ้ารสนิยมในสินค้าต่ำลง เส้นอุปสงค์จะเพิ่มชิดซ้าย
3. การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า อย่างอื่นที่ใช้ทดแทนกันได้หรือต้องใช้ร่วมกัน
4. การเปลี่ยนแปลงจำนวนและองค์ประกอบของประชากร
5. การโฆษณา
6. การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
7. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาสินค้า
กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
อุปสงค์และอุปทาน
อุปทาน
ความหมายของอุปทาน
อุปทาน หมายถึง ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการจำนวนสูงสุด
ณ ระดับราคาหนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า อุปทาน หมายถึง
จำนวนสินค้าหรือบริการที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะเสนอขายในระดับราคาหนึ่ง
กฎของอุปทาน
กฎของอุปทาน คือ เมื่อราคาสินค้าและบริการต่ำ ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะผลิตหรือนำสินค้า
และบริการออกขายเป็ นจำนวนน้อย ในทางตรงกันข้ามเมื่อราคาสินค้าและบริการสูง
ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะผลิตหรือนำสินค้าและบริการออกขายมากขึ้น
ถ้าราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ความต้องการขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น
ถ้าราคาสินค้าและบริการลดลง ความต้องการขายสินค้าและบริการลดลง
กฎของอุปทานสามารถเขียนเป็ นแผนภูมิได้ดังนี้
P Q P = price ราคาสินค้าและบริการ
Q = Quantity ปริมาณซ้ือสินคา
PQ
ลักษณะของเส้นอุปทาน
- ทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา และมีความชันเป็ นบวก
- แสดงถึงราคากับปริมาณเสนอขายเปลี่ยนแปลงทิศทางเดียวกัน
(P) ราคาสินค้าต่อกิโลกรัม (บาท)
ราคาสินค้า 20 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อ
ปริมาณความต้องการผลิตหรือขาย
เพิ่มเป็ น 170 กิโลกรัม P = ราคาสินค้า
Q = ปริมาณซื้อสินค้า
DD = เส้นอุปสงค์
ราคาสินค้า 12 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม ปริมาณความต้องการ
ขายหรือผลิตมีเพียง 10 กิโลกรัม
(Q) ปริมาณสินค้า (ก.ก.)
กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
อุปสงค์และอุปทาน
ปั จจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปทาน
1. ต้นทุนผลิต
- ถ้าต้นทุนการผลิตสินค้าสูง จะทำให้เส้นอุปทานลดลง
- ถ้าต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำ จะทำให้เส้นอุปทานเพิ่มขึ้น
2. สภาพดินฟ้ าอากาศ เช่น
- ถ้าสภาพดินฟ้ าอากาศไม่ดีหรือฝนไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาลผลผลิตข้าวได้น้อยลง
อุปทานลดลง
- ถ้าสภาพดินฟ้ าอากาศดี หรือฝนตกต้องตามฤดูกาล ผลผลิตข้าวจะได้มากขึ้น
อุปทานเพิ่มขึ้น
3. เทคนิคการผลิต
- ถ้าเทคนิคการผลิตดี อุปทานจะเพิ่มขึ้น
- ถ้าเทคนิคการผลิตไม่ดี อุปทานจะลดลง
4. ราคาสินค้าชนิดอื่น สินค้าเป็ นที่ต้องการมาก จะเกิดการกักตุนเพื่อการเก็งกำไร
อุปทานลด ราคาจะสูงขึ้น
5. จำนวนผู้ขาย ถ้าผู้ขายมีมากอุปทานเพิ่ม
ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานต่อระดับราคาสินค้าและบริการ
1. ถ้าอุปสงค์มากกว่าอุปทาน ราคาสินค้าและบริการจะสูงขึ้น
D>S P
2. ถ้าอุปสงค์น้อยกว่าอุปทาน ราคาสินค้าและบริการจะต่ำลง
D<S P
กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
อุปสงค์และอุปทาน
ราคาและปริมาณดุลยภาพ
ความหมายของราคาและปริมาณดุลยภาพ
- ราคา หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการที่คิดเป็ นจำนวนเงินเพื่อประโยชน์ใน
การแลกเปลี่ยนซื้อขาย
- ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ หมายถึง ราคาหรือปริมาณที่ผู้บริโภคพอใจที่จะ
ซื้อหรือใช้ และผู้ผลิตหรือผู้ขายพอใจที่จะขายหรือผลิต
ตารางราคาดุลยภาพในตลาด
ราคาต่อกิโลกรัม ปริมาณการซื้อ ปริมาณการขาย ผลกระทบ
(บาท) เป็ นกิโลกรัม เป็ นกิโลกรัม
50 10 50 สินค้าเหลือ 40 กก.
40 20 40 สินค้าเหลือ 20 กก.
30 30 30 สินค้าหมดพอดี
20 40 20 สินค้าขาด 20 กก.
10 50 10 สินค้าขาด 40 กก.
อธิบายจากตารางได้ว่า เมื่อราคาสินค้ากิโลกรัมละ 30 บาท ปริมาณการซื้อขายและสินค้า
จะเป็ น 30 กิโลกรัม ดังนั้นราคา 30 บาทต่อกิโลกรัม จึงเป็ นราคา ดุลยภาพ และ
ปริมาณสินค้า 30 กิโลกรัมจึงเป็ นปริมาณดุลยภาพ หรืออาจเขียนเป็ นกราฟแสดงความ
สัมพันธ์ระหว่างเส้นอุปสงค์ อุปทานและราคาปริมาณดุลยภาพได้ดังนี้
กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
อุปสงค์และอุปทาน
ราคาต่อกิโลกรัม
เส้นอุปทาน
จุดดุลยภาพ (ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ)
เส้นอุปสงค์
ปริมาณสินค้าเป็ นกิโลกรัม
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเส้นอุปสงค์ อุปทาน และราคา – ปริมาณดุลยภาพ
สรุปเรื่องราคาดุลยภาพและปริมาณดุลภาพได้ดังนี้
1. ราคาสินค้าสูง อุปทานของผู้ผลิตสูง แต่อุปสงค์ของผู้โภคต่ำ
ราคาสินค้าต่ำ อุปทานของผู้ผลิตต่ำ แต่อุปสงค์ของผู้บริโภคสูง
ดังนั้น จึงต้องหาราคาดุลยภาพ คือ ราคาที่อุปสงค์และอุปทานเท่ากัน
พอดีเป็ นราคาที่ผู้ผลิต และผู้บริโภคมีความต้องการตรงกัน และพอใจที่
จะซื้อและขายซึ่งกันและกัน
2. ถ้าผลิตปริมาณมากเกินไป สินค้าจะเหลือ
ถ้าผลิตปริมาณน้อยเกินไป สินค้าจะขาดแคลน
ดังนั้น จึงต้องหาปริมาณดุลยภาพ
3. จุดดุลยภาพ คือ จุดที่ผู้บริโภคและผู้ผลิตพอใจจะซื้อและขายซึ่งกันและ
กัน ในปริมาณและราคาที่ตรงกัน