1
คำ นำ หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา 103429 PROJECT IN PERFORMING ARTS โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดความรู้จากศิลปะ นิพนธ์สู่การต่อยอด และสร้างสรรค์ผลงาน (PROJECT) โดยเนื้อหา เป็นการนำ เสนอผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในโครงการ "KNOCK" สาขาศิลปะการแสดง คณะวิจิศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยนำ เสนอความหลากหลายในเรื่องของการสร้างสรรค์การละคอน นาฏยการแสดง การจัดการ และดนตรี จุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษา มีกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ และผลิตผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ ขอขอบพระคุณคณะวิจิตรศิลป์ คณาจารย์ทุกท่านที่ให้คำ ปรึกษา และความช่วยเหลือมาโดยตลอด ทั้งผู้ให้การสนับสนุนจนงานสำ เร็จลุล่วง ไปได้ด้วยดี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะการแสดง ปีการศึกษา 2565 1
คำ นิยม 2
ขอแสดงความยินดีกับการแสดงผลงานตัวจบของนักศึกษาในสาขาศิลปะการ แสดงทุกคน ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งสำ คัญแต่อาจจะไม่ใช่ที่สุด แต่คือการแสดงศักยภาพ และความสามารถด้านการแสดงของนักศึกษาว่าพร้อมจะจบออกไปเผชิญกับชีวิต การทำ งานในอนาคตได้อย่างแท้จริง ครูก็หวังเป็นอย่างยิ่งด้วยจากประสบการณ์ การเรียนการสอนหรือการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แห่งนี้นั้น จะทำ ให้ทุก คนแข็งแกร่ง และอยู่รอดได้ในโลกยุคที่มีแต่ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เร็วประดุจสายน้ำ ที่ไหลบ่าพร้อมจะพัดพาเราไปได้ในทุกทิศทาง..แต่ถึงกระนั้นอาวุธ ขั้นต้นจากสาขาศิลปะการแสดงและคณะวิจิตรศิลป์ได้พยายามสร้างไว้ให้กับ พวกเราก็คือ วิชาความรู้ ความอดทน อดกลั้น ตลอดจนทักษะประสบการณ์ต่าง ๆ จากที่ร่ำ เรียนมา อาจเป็นเกราะกำ บังหรือนำ พาให้ทุกคนสามารถพัฒนาวิถีชีวิตหรือ อนาคตให้รุ่งเรือง งดงามขึ้นได้.. ถึงแม้ความสำ เร็จครั้งนี้จะไม่ใช่ที่สุดแต่มันคือก้าวสำ คัญสำ หรับทุกคน ที่ยังต้องพัฒนาเดินหน้าต่อไปในโลกแห่งความเป็นจริง และครูยังเชื่ออีกว่ามีหลาย คนจะเติบโตขึ้นในสาขาซึ่งต่างออกไปจากที่ร่ำ เรียนมา แต่เราก็สามารถอยู่รอดได้ ด้วยการนำ ความรู้ที่มีหรือพื้นฐานการเรียนรู้จากสาขาวิชาต่าง ๆ ในรั้ว มหาวิทยาลัยมาปรับประยุกต์ใช้ เพราะทุกการเรียนรู้ไม่มีสูญเปล่า ทุกวิชาล้วน มีประโยชน์ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำ ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร...สุดท้ายการไม่หยุด พัฒนาตนเองพร้อม ๆ ไปกับความสามารถในการปรับตัวที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น หรือการมีมนุษยสัมพันธ์อันดี มีความเคารพกฎระเบียบ ประเพณีของแต่ละสถานที่ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำ ใจให้แก่กันและกันแล้ว เราก็สามารถไปทำ งาน หรือใช้ชีวิตอยู่ที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ รองศาสตราจารย์มาณพ มานะแซม ประธานสาขาศิลปะการแสดง / รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ นักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3
ถึงนักศึกษาในที่ปรึกษารุ่น 62 มีคำ พูดที่ว่า “Sometimes small memories cover large part of our hearts” ครูว่าน่าจะจริง เพราะช่วงเวลาที่เราอยู่ด้วยกันนั้นมักมีเรื่องราวที่ต้องอมยิ้ม หัวเราะร่า หรือแม้แต่ขมวดคิ้วกริ้วโกรธอยู่เสมอๆ ความทรงจำ ที่พวกเราเก็บเล็ก ผสมน้อยในระหว่างที่เรามาโคจรพบกันจะกลายเป็นสิ่งที่มีค่าอีกชิ้นหนึ่งในชีวิตพวก เรา การเรียนตลอดเวลา 4 ปี พวกเราได้พบกับมิตรภาพแบบไหนบ้าง ระหว่างเพื่อนใน สาขา เพื่อนต่างคณะ ระหว่างอาจารย์ หรือพี่ๆน้องๆ มิตรภาพนั้นอาจจะไม่จำ เป็น ต้องแข็งแรงมั่นคงเสมอ อันที่จริงมิตรภาพก็เหมือนอารมณ์แปรปรวนของมนุษย์ที่มี ขึ้นมีลง น่าแปลกที่มิตรภาพที่เกิดจากความอ่อนแอสั่นคลอน เมื่อกาลเวลาผ่านไปมัน กลับเติบโตหยั่งรากลึก เข้มข้น และกอปรไปด้วยประสบการณ์อันมีค่า ความทรงจำ หลากหลายรสชาติ ทั้งหวาน ขม นุ่มละมุน หรือเกรี้ยวกราดแต่เข็มแข็งเด็ดเดี่ยว เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าการทำ งานในสายการแสดงไม่สามารถสำ เร็จได้ด้วยคนคน เดียว ศาสตร์การละคอนเป็นการหลอมรวมศิลปะทุกแขนงเข้าด้วยกัน และผสมผสาน กันอย่างลงตัวมีรสนิยม ดังนั้น เราจึงต้องพึ่งพาความเชี่ยวชาญและทักษะของ เพื่อนแต่ละคนที่ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อน มาร่วมกันสร้างผลงาน เสน่ห์ของละคอน จึงไม่ได้มีเพียงแค่การเสพเรื่องราวที่น่าสนใจ หรือความสนุกบันเทิงเริงรมย์เท่านั้น แต่ละคอนเปิดโอกาสให้เราได้สำ รวจตัวเอง เข้าใจตัวเอง เพื่อปล่อยวาง “ตัวตน” ให้ มองเห็นสัจธรรมความจริง เพื่อให้เข้าใจ และดำ เนินชีวิตต่อไปด้วยความเข้าใจโลก เข้าใจคน เราจึงเป็นเพียงมนุษย์ตัวเล็กคนหนึ่งในจักรวาลเท่านั้น 4
ไม่ว่าเราจะไปยังเป้าหมายใดต่อจากนี้ “ความทรงจำ ” จากการได้รับและการมอบ มิตรภาพให้แก่กันในช่วงเวลาที่ผ่านมา จะกลายเป็นเสาเข็มที่มั่นคงให้กับเราทุกคน เมื่อยามที่ต้องพบพานกับพายุการงานและชีวิต จงรักษามิตรภาพที่ก่อร่างสร้างมาด้วยกัน หมั่นรดน้ำ ดูแล และเติบโตไปด้วยกัน พวกเราก็จะผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆได้ไม่ยาก ด้วยรักและปรารถนาดี อาจารย์ ดร. กุสุมา เฟนสกี-สตาลลิ่ง (ครูจ๋อม) อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 4 และอาจารย์ประจำ สาขาศิลปะการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้วิชาต่างๆ ในหลักสูตรศิลป บัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ จนสามารถสังเคราะห์ต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิชาการศึกษา เฉพาะเรื่องของตนเอง และนำ องค์ความรู้ที่ได้นั้นมาพัฒนาสร้างสรรค์เป็นผล งานการแสดงที่หลากหลายผ่านกระบวนการออกแบบและการวางแผนทำ งานอย่าง เป็นขั้นตอน เพื่อถ่ายทอดความคิด จินตนาการ ทักษะ ประสบการณ์ และองค์ความรู้ ทางวิชาการต่างๆ ที่ได้สะสมและบ่มเพาะมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งนักศึกษา ทุกท่านได้นำ องค์ความรู้ที่เป็นนามธรรมเหล่านั้นพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นผลงาน ศิลปะการแสดงสร้างสรรค์ที่เป็นรูปธรรมสามารถนำ เสนอการแสดงรูปแบบต่างๆ ออกสู่สาธารณชนได้อย่างวิจิตร ผลงานที่สร้างสรรค์ของนักศึกษาทุกคนที่ท่านจะได้รับชมนั้นล้วนเกิดขึ้นจาก การทุ่มเท แรงกาย แรงใจ และทุนทรัพย์ เพื่อพิสูจน์ศักยภาพทางความคิด ความมุ่งมั่น ความรักที่มีต่อศาสตร์และศิลป์ด้านการแสดง และพลังในการ สร้างสรรค์ของนักศึกษา ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ชมผลงานทุกท่านจะสามารถ ชื่นชม ดื่มด่ำ ซาบซึ้งไปกับอรรถรสความหลากหลายจากการรับชมผลงานการ แสดงของนักศึกษาที่ได้รังสรรค์ขึ้นครั้งนี้ ท้ายนี้ ผู้เขียนเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า นักศึกษาสาขาวิชาศิลปะการแสดงทุกท่าน ที่ผ่านการเรียนในกระบวนวิชา 103492 Project in Performing Arts ซึ่งเป็นวิชา สุดท้ายของหลักสูตรฯ จะสำ เร็จการศึกษาออกไปเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ โดยใช้ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์จากการเรียนรู้ที่ผ่านมาตลอดหลักสูตรก่อให้เกิด มูลค่าของผลงานในการทำ งานแขนงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการแสดงเพื่อเลี้ยง ชีพตนเองและครอบครัว ตลอดจนจุดประกายการสร้างสรรค์การแสดงเพื่อให้เกิด คุณค่าทางศิลปะแก่สังคมอย่างมีรสนิยมต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธิติพล กันตีวงศ์ ต้นคิมหันตฤดู, ๒๕๖๖ อาจารย์ประจำ สาขาศิลปการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6
การเรียนการศึกษาในคณะวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาศิลปะการแสดง เป็นการเรียน รู้เชิงบูรณาการณ์ที่ผสมผสานความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ด้านการแสดงและ วัฒนธรรมในหลากหลายแง่มุม นักศึกษาได้ผ่านการเรียนรู้อย่างเข้มข้นทั้งทาง ทฤษฎีและการปฏิบัติ งานโปรเจคของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เป็นสิ่งที่พิสูจน์ถึงความรู้ ความสามารถของนักศึกษาที่แสดงออกมาในรูปแบบงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ สิ่งนี้จะ เป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไปในอนาคต อาจารย์ ดร. กฤษฏิ์ เลกะกุล อาจารย์ประจำ สาขาศิลปการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 7
การนำ เสนอผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในครั้งนี้ถือเป็นกระบวน การเรียนรู้ในระดับขั้นสูงของการเรียนในหลักสูตรสาขาวิชาศิลปะการดนตรีและ การแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตศิลป์ อันเป็นการเรียนในรูปแบบกระบวนการ วิจัยเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งนักศึกษาจะต้องทำ การศึกษาค้นคว้าต่อยอดจากงานวิจัยและ นำ เสนอออกมาเป็นผลงานสร้างสรรค์ โดยนำ ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากที่ ได้เรียนตลอดหลักสูตรมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการและการทำ งานร่วมกันเป็น ทีม อันเป็นการรวมผลงานสร้างสรรค์ที่หลากหลายมาไว้ร่วมกัน อาจารย์ขออวยพรให้การนำ เสนอผลงานประสบความสำ เร็จ ลุล่วงดั่งตั้งใจ และขอแสดงความยินดีล่วงหน้ากับนักศึกษาผู้สร้างสรรค์ผลงานทุกคน ที่สามารถ สร้างสรรค์และนำ เสนอผลงาน จากความรัก ความอุตสาหะ และทักษะความ สามารถของตัวนักศึกษา การทำ งานในครั้งนี้จะช่วยให้นักศึกษาเติบโตและเตรียม ความพร้อมในการเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนภรณ์ แสนอ้าย อาจารย์ประจำ สาขาศิลปการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 8
การเรียนการสอนในวิชานี้ มีสิ่งสำ คัญที่เน้นย้ำ อย่างสม่ำ เสมอกับนักศึกษา คือ “กระบวนการ” ในทุกขั้นตอนของการทำ งานตั้งแต่เริ่มแรก จนกระทั้งสู่การพัฒนา รูปแบบ และผลสัมฤทธิ์ของงาน ย่อมต้องใช้กระบวนการที่หลากหลาย หมายรวมถึง การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการหาเครื่องมือ หาบุคคลที่เป็นผู้ช่วยเหลือด้านต่างๆ และแรงกายแรงใจของตัวนักศึกษาเอง ซึ่งคำ ว่ากระบวนการนี้ เป็นเสมือนการ วางแผนในการทำ งานให้เป็นไปตามขั้นตอน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของงาน ได้ ซึ่งในหลายครั้งอาจจะไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ มีอุปสรรค มีปัญหา มีปัจจัยที่ไม่เอื้อ อำ นวยในการสร้างสรรค์งานอยู่เรื่อยๆ และแน่นอนว่านักศึกษาเองก็ต้องมี กระบวนการในการเรียนรู้ที่จะแก้ไข และเอาชนะสิ่งนั้นๆ ไปให้ได้ ตลอดเทอมที่ผ่านมายังคงเชื่อว่า นักศึกษาในวิชานี้จะสามารถนำ ความรู้ที่ได้รับ จากกระบวนการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้กับอนาคต ทั้งการทำ งาน ทั้งการ สื่อสาร และการแก้ไขปัญหาในชีวิต และอีกสิ่งหนึ่งที่เชื่อมั่นเช่นกัน คือ นักศึกษาจะมี พลังแรงกาย แรงใจ เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สุดท้ายนี้ขออวยพรให้ทุกคน ประสบความสำ เร็จ และขอให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความเข้มแข็ง อันมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีในการดำ เนินชีวิต อาจารย์รัตนะ ภู่สวาสดิ์ อาจารย์ประจำ สาขาศิลปการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 9
ตลอดระยะเวลาการศึกษาในสาขาวิชาศิลปะการแสดงเต็มไปด้วยการฝึกฝน หลากหลายด้าน ทั้งทางความคิด การลงมือทำ การรับผิดชอบตนเอง และการทำ งานร่วมกันกับผู้อื่น เพื่อให้นักศึกษาสามารถเป็นนักคิด นักลงมือทำ และนักสร้างสรรค์บนพื้นฐานความถนัด เพื่อแสดงออกถึงความเป็นตัวตน การฝึกฝนและประสบการณ์เหล่านั้นแม้ดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็หล่อหลอมเป็นผลที่ ปรากฏให้เห็นในผลงานที่สมบูรณ์ของนักศึกษาในวันนี้ ผลงานที่สะท้อนทั้งความคิด ความชอบ และความสนใจ เป็นความภาคภูมิใจของนักศึกษาแต่ละคน สุดท้ายนี้ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาทุกคน ผลสำ เร็จวันนี้อาจเป็นเพียง การจบบททดสอบใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต ขอให้นักศึกษาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้จากการเรียนนี้ไว้ เพื่อนำ ไปปรับใช้ต่อไปในการศึกษาต่อหรือทำ งานในอนาคต ข้างหน้า บททดสอบต่อไปอาจยิ่งใหญ่มากยิ่งขึ้น จึงต้องใช้ประสบการณ์และความ พยายามมากขึ้นด้วยเช่นกัน อาจารย์ ดร.ตวงพร มีทรัพย์ อาจารย์ประจำ สาขาศิลปการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 10
สาขาวิชาศิลปะการเเสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดกว้างให้ นักศึกษาใช้ความคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน ต่อยอดองค์ความรู้ จากสิ่งที่ได้เรียนในชั้นเรียน ตลอดจากการเรียนรู้ผ่านกระบวนการของการทำ งาน วิจัย ทำ ให้นักศึกษามีความรู้ที่หลากหลายในศาสตร์สาขาวิชาด้านศิลปะการเเสดง การเเสดงผลงานในครั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่เเสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักศึกษาที่ได้นำ องค์ความรู้ในเเต่ละช่วงชั้นปีนั้นมาบูรณาการ ศึกษา ค้นคว้า คิด วิเคราะห์เเละเรียน รู้ถึงวิธีการเเก้ปัญหา จนได้เป็นชิ้นงานทางด้านศิลปะการเเสดง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักศึกษาจะนำ องค์ความรู้เเละประสบการณ์ที่ผ่านนั้นไปพัฒนาตนเองเพื่อประกอบ อาชีพได้อย่างมีคุณภาพต่อไป อาจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัฒน์ ผลพิกุล อาจารย์ประจำ สาขาศิลปการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 11
โครงการ " KNOCK " 12
โครงการจัดแสดงผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กระบวนวิชา PROJECT IN PERFORMING ARTS 103492 สาขาศิลปะการแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565 ชื่อโครงการ : ผู้นำ เสนอโครงการ : ลักษณะโครงการ : กระบวนวิชา : กำ หนดการ : KNOCK นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะการแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การจัดแสดงผลงานดนตรีและการแสดง PROJECT IN PERFORMING ARTS 103492 สาขาศิลปะการแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 17 มีนาคม 2566 18.00 น. วันที่ 28 มีนาคม 2566 20.00 น. วันที่ 1 เมษายม 2566 13.00 - 17.00 น. วันที่ 1 เมษายน 2566 19.00 น. จดหมายจากสายฝน @สวนอัญญา-เฮือนครุองุ่น มาลิก QUETZALCOATL @NIGHT SAFARI KNOCK SHOW @โรงละคอนหอศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ MIXSONGS KNOCK @ห้องบรรยายชั้น 4 ตึกออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 13
บทนำ สาขาศิลปะการแสดง ภายใต้ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการปลูกฝังในการทำ คุณประโยชน์ ในการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม และการสร้างสรรค์ผลงานการดนตรี และการแสดง เพื่อการพัฒนาแขนงวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ การดนตรีและการแสดงที่นักศึกษาได้รับแนวคิดมาจากประสบการณ์ การเรียนในหลักสูตรและจากการศึกษางานวิจัย ตลอดจนการ สร้างสรรค์ศิลปะนิพนธ์นำ มาวิเคราะห์ต่อยอดเป็นผลงานทางวิชาการ และนำ องค์ความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์ สู่การสร้างผลงานเชิง สร้างสรรค์ ในกระบวนวิชา 103492 PROJECT IN PERFOMING ARTS กล่าวคือการทำ ให้ศิลปะการดนตรีและการแสดงมีคุณค่าเชิง สร้างสรรค์มากขึ้น และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า วิจัย มาสร้างงานอย่างมีแนวคิดสร้างสรรค์ ภายใต้ชื่อโครงการ "KNOCK" เป็นการสร้างสรรค์ผลงาน ร่วมสมัย เพื่อจุดประกายสิ่งใหม่ที่หลากหลายเนื่องจากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีศักยภาพในด้านดนตรีและการแสดงที่แตกต่างกันออกไปจึงเกิดเป็น งานนี้ขึ้นมา โดยมีการจัดแสดงผลงานเชิงปฏิบัติทั้งหมด 26 ผลงาน ประกอบ ด้วย การแสดงที่ใช้ลีลาท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย นาฏกรรม การเต้นและการออกแบบท่าเต้น 11 ผลงาน การพูดในเชิงสร้างสรรค์ 2 ผลงาน การประพันธ์เพลง 7 ผลงาน การออกแบบชุด 2 ผลงาน การแสดงละคอนใบ้ 1 ผลงาน การแสดงละคอนหุ่นเงา 2 ผลงาน และ การแสดงละคอน 1 ผลงาน โดยมีพื้นฐานการสร้างสรรค์มาจากการ ค้นคว้า เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาฝีมือของตนเอง นำ ไปสู่การ สร้างสรรค์ที่มีคุณภาพและมีความหลากหลายในการเผยแพร่ สู่สายตาของสาธารณะชนต่อไป 14
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพแนวความคิดทางการสร้างสรรค์ของ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. เพื่อเป็นการส่งเสริมผลงานการสร้างสรรค์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. เพื่อเป็นการยกระดับผลงานการศึกษาวิจัยทางด้านศิลปะการดนตรี และการแสดง โดยใช้ฐานข้อมูลจากการสืบค้นงานวิจัยสู่การออกแบบ ตามแนวคิดเชิงอนุรักษ์และการสร้างสรรค์ 15
1. นักศึกษาชั้นปีที่4 สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถแสดงศักยภาพทางการสร้างสรรค์ งานออกแบบให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป 2. การจัดแสดงผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถยกระดับฐานความคิด จากงานวิจัยสู่การออกแบบการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ทุนทางศิลป วัฒนธรรมของประเทศ 3. ผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับความสนใจที่สามารถ พัฒนา ต่อยอดนำ ไปผลิตในภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมได้ 4. การจัดแสดงผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปะการ แสดง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของการ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภายใค้ภาควิชาศิลปะไทย ให้คงอยู่และ สร้างองค์ความรู้ให้คนรุ่นหลังได้ทำ และพัฒนาต่อไป เป้าหมายของโครงการ 16
กลุ่มการสร้างสรรค์ การจัดการ และการแสดง 17
นางสาวเบญญาภา เทพแก้ว (ผู้เขียนบท) นางสาวดารารัตน์ โสดา (ผู้กำ กับ) นางสาวราชญา สมบัติแก้ว (ผู้ประพันธ์เพลง) 18
จดหมายจากสายฝน (The Letterfrom The Rain) เรื่องย่อ : ทิวา เด็กหนุ่มนักศึกษาอายุ 19 ปี บังเอิญได้รับ จดหมายจากอาร์ค ชายหนุ่มนักเขียนบทภาพยนต์อายุ 29 ปี ทั้งสองคนได้มีโอกาสคุยกันผ่านจดหมายเรื่อยมาและหลังจาก นั้นโลกของทิวาก็ได้เปลี่ยนไป ทิวาเริ่มมีความรู้สึกสนใจในตัว อาร์คมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่กล้าจะยอมรับความรู้สึกตัวเอง เพราะกลัวสายตาและการตัดสินตัวตนจากคนในสังคม จนวันหนึ่งทั้งสองคนก็มีโอกาสได้มาพบหน้ากัน สถานที่ : สวนอัญอัญาเฮือฮืนครูอ รู งุ่นงุ่ มาลิกลิ: หอประวัติวัศติาสตร์ ประชาชนภาคเหนือนื 19
นางสาวลักษิกา สุขแสง (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) นางสาวกนกวรรณ โมขศักดิ์ (ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย) 19
Quetzalcoatl ชนเผ่าแอชแท็กโบราณกลุ่มชนทางตอนกลางของชาวเม็กซิโก ยุคสมัยที่ล่มสลายไปแล้ว พวกเราได้นำ เทพเควตซัลอัลต์ หรือ เทพเจ้างูขนนก มาเป็นตัวละครหลักในการดำ เนินเรื่อง มีการ สร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อดำ เนินเรื่องโดยผ่านการเต้นในหลากหลาย รูปแบบ และรวมไปถึงโพลแดนซ์ พวกเราได้กล่าวถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และความสัมพันธ์ของชาวแอชแท็ค 20
นางสาวเพลงพิญ ขุนวัง (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) 21
ME AND MY SPIRITUAL การแสดง ME AND MY SPIRITUAL เป็นการแสดงร่วมสมัย ที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของประเทศสเปนผ่านระบำ ฟลาเมงโก และวัฒนธรรมของภาคอีสานประเทศไทย ผ่านการเต้น ฟ้อนรำ และดนตรีสด เนื่องด้วยแรงบันดาลใจ จากตนเองที่ได้มีโอกาสศึกษาระบำ ฟลาเมงโกตั้งแต่อายุ 16 ปี และมีถิ่นกำ เนิดมาจากทางภาคอีสานที่มีวัฒนธรรมที่สวยงาม จึงสร้างสรรค์การแสดงที่มีกลิ่นอายของฟลาเมงโกและอีสาน ที่เป็นตัวตนของตนเอง นักแสดงฟลาเมงโก นางสาวเพลงพิณ ขุนวัง นักแสดงอีสาน นางสาวสุภานัน จองปิ่นหยา นักดนตรี อ.เอ แมลงเพลง เอกลักษณ์ หน่อคำ (กีต้าร์) นักดนตรี พี่มาก Sticky rice blues อุกฤษฏ์ ซาเหลา (พิณ) นักดนตรี สุรชาติ ทรัพย์สิน (เบส) 22
นางสาวกัลยรัตน์ สาทเริก (ออกแบบท่าเต้น) นางสาวนรากร ยศวิบูลย์ (ออกแบบท่าเต้น) นางสาวธวชินี เวชปัญญา (ออกแบบท่าเต้น) 23
EMMA Emma Lilit Garden นักศึกษาที่ใกล้จบการศึกษาในไม่ช้า เกิดสับสนในความคิดของตัวเองจากการโดนดูถูก การถูก ลดทอนคุณค่าในสิ่งที่ตนรัก Emma Chamberline หญิงสาวผู้มีความเพ้อฝันที่ หลงไหล ในอาขีพที่เธอใฝ่ฝันอีกทั้งยังเป็นผู้ถูกกระทำ จากความ รุนแรงในครอบครัว Emma Hestia เด็กสาวผู้มีความมั่นใจตนเองแต่เธอถูกลด ทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์และคุกคามทางเพศมาตั้งแต่เด็ก จนทำ ให้เธอหวาดกลัวในการใช้ชีวิตซึ่งเนื้อเรื่องของโปร เจคจะสื่อถึงการถูกล่วงละเมิดในสิทธิสตรีทั้งสิ้น โปรเจค EMMA เป็นการแสดงในรูปแบบของการเต้น 3 รูปแบบ คือ Chair Dance, Belly dance, Street Dance โดยมีตัวละคร ทั้งหมด 3 คน ได้แก่ 24
นางสาวพัชรี ชาวป่า (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) 25
ผู้หผู้ญิงญิกลางคืน คื ผู้หญิงกลางคืนมักจะถูกมองไม่ดีในสายตาผู้อื่นการทำ งานของ เธอต้องมีความสวย เสน่ห์ ลีลาที่เย้ายวนใจชายหนุ่มอยู่เสมอ บางทีเธอแค่อยากทำ งานในส่วนของเธอไม่มีการไปต่อหรือเกิน เลยกับผู้ใด แต่ด้วยเสน่ห์ความสวยของเธอนั้นทำ ให้ชายคนหนึ่ง อดใจไม่อยู่จึงบุกมาข่มขืนเธอถึงในร้าน และด้วยความไม่ยอม ของเธอจึงขัดขืนเกิดการต่อสู้ขึ้นระหว่างเธอและโจร และการ ต่อสู้นี้จะผสมผสานด้วยท่านาฏศิลป์ไทยที่สร้างสรรค์ขึ้นมา และ รวมรวบท่าต่าง ๆ ที่ผู้ชมคุ้นตามาอยู่ในการต่อสู้ครั้งนี้อีกด้วย 26
นางสาวอรัญญา หงษ์ทอง (ผู้ออกแบบการแสดง) 27
บ่อ บ่ ฉ่อ ฉ่ งตูเ ตู ออ (AKHA DANCE) การเต้น “บ่อฉ่องตูเออ” (AKHA DANCE) เป็นรูปแบบ การเต้นร่วมสมัย ได้รับแรงบันดาลใจมาจากรากฐานการเต้น ระบำ อาข่าดั้งเดิมและการเต้นระบำ อาข่าประยุกต์ผสมผสาน เข้ากับกระบวนท่าเต้นแท็ป (Tap Dance) โดยนำ เสนอ และสื่อให้เห็นถึงการเต้นที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ซึ่งเกิดจากการได้รับอิทธิพลมาจากหลากหลายวัฒนธรรม ผสมรวมกันจนทำ ให้เกิดการเต้นระบำ อาข่าร่วมสมัย “บ่อบ่ฉ่อฉ่งตูเตูออ” (ภาษาของชนเผ่าอาข่า) หมายถึงถึการเต้นต้ระบำ 28
นางสาวสุมินทราภรณ์ ศรีลาวัณย์ (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) 29
COMEDY SHOW “ แก๊ง ก๊ นี้มี นี้ แ มี ต่เ ต่ รื่อ รื่ งฮา” คุณเคยมีความคิดนี้ไหม ว่าชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ทำ ไมมันถึง ผ่านไปเร็วเสมอ คุณยังจำ วันแรกที่เจอเพื่อนของคุณได้ไหม แล้วคุณมีความทรงจำ อะไรเกี่ยวกับเพื่อนบ้าง นับตั้งแต่วันแรก จนถึงวันนี้ เพื่อนของคุณมีอะไรที่เปลี่ยนไปไหม โปรเจกต์การแสดงนี้ ต้องการนำ เสนอเรื่องราวผ่านการแสดง ละครตลกซิทคอม หรือที่เรียกว่าตลกสถานการณ์ โดยมีการจำ ลองเหตุการณ์ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีกลุ่มเพื่อนกลุ่มหนึ่ง มีเรื่องราวความวุ่นวายมากมาย ความแตกต่างที่ลงตัว ภายในการแสดงนี้ก็จะมีการยกตัวอย่าง เรื่องราวที่กำ ลังเป็นกระแสในตอนนี้ โดยมีการเล่นมุขตลก ที่คิดขึ้นมาใหม่ จังหวะการรับส่งมุขที่เป็นธรรมชาติ เรื่องราวความตลกนี้ อาจจะทำ ให้คุณคิดถึงเพื่อนของคุณ ก็เป็นได้ 30
นางสาวศุภานัน ปิงยศ (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) 31
นางฟ้า ฟ้ปีก ปี เล็ก ล็ ณ ป่าลึกลับแห่งหนึ่งยังมีดินแดนประหลาดที่มีทุ่งดอกไม้ แห่งชีวิตที่คอยหล่อเลี้ยงป่าแห่งนี้ ซึ่งมีชีวิตหลายพันธุ์น้อยใหญ่ ป่าแห่งนี้มีแต่นางฟ้าผีเสื้อปีกเล็กตนหนึ่ง ที่ลวดลายบนปีกของเธอนั้นไม่สวยงามเหมือนนางฟ้าตนอื่น เธอจึงชอบกลั่นแกล้งนางฟ้าที่มีปีกสวยกว่าตัวเอง และยังคอยกลั่นแกล้งสัตว์ต่าง ๆ ในทุ่งดอกไม้เป็นประจำ จนกลุ่มนางฟ้าตนอื่นทนไม่ไหวกับนิสัยเกเรของนางฟ้าปีกเล็ก และอยากให้บทลงโทษ จึงได้มาบอกนางฟ้าปีกเล็ก ว่ามีบ่อน้ำ วิเศษที่เมื่อลงไปอาบแล้ว จะมีปีกที่สวยงามและใหญ่กว่าใคร แต่นางฟ้าปีกเล็กต้องคิดดีทำ กีด้วยใจจริง ไม่รังแกใครอีก เมื่อลงไปนางจะมีปีกที่สวยงาม แต่ผลลัพธ์ของนางฟ้าปีกเล็กนั้น ขึ้นอยู่กับการประพฤติตัวของนางฟ้าปีกเล็กเพียงเท่านั้น 32
นางสาวศุภสุตา อ.สงวน (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) 33
เบญจมาศ (Chrysanthemums) ชีวิตของมนุษย์อยู่ใยวังวนของการเดินทาง เกิด แก่ เจ็บ ตาย หมุนเวียนไปไม่เคยมีที่สิ้นสุด ซึ่งเป็นสัจธรรมในชีวิต เปรียบเสมือนนิยามของความรักที่ไม่มีอะไรคงอยู่กับเราตลอดไป การแสดงนี้เป็นการเล่าเรื่องราวความรักของหญิงสาว ผ่านการเต้นร่วมสมัย (Contemporary Dance) การเต้น สร้างสรรค์ และการเต้นแบบนาฏศิลป์ไทย นำ มาผสมผสานเข้ากับควาหมายของดอกเบญจมาศทั้ง 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีขาว - ดอกเบญจมาศสีแดง เป็นดอกไม้ที่สื่อถึงความรักที่โรแมนติก - ดอกเบญจมาศสีเหลือง เป็นดอกไม้ที่สื่อถึงความโชตดี - ดอกเบญจมาศสีขาว เป็นดอกไม้ทีสื่อถึงความซื่อสัตย์ บริสุทธิ์ใจ 34
นางสาววิลาสินี รัดแดง (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) นายอภิรักษ์ พระชัย (ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย) 35
ภารตะบูช บู ามหาเทวี พระแม่ลักษมี เป็นตัวแทนแห่งความร่ำ รวย พระแม่สุรัสวดี เป็นตัวแทนแห่งปัญญาความรู้ พระแม่ปารวตี เป็นตัวแทนแห่งพลังอำ นาจบารมี อารยธรรมความเชื่อและความศรัทธาบนผืนแผ่นดินภาร ตะ เรื่องราวของเทวีทั้ง 3 สู่การบูชาผ่านการเต้นสไตล์อินเดีย "โอม ศรีี ตรีศักติ มาตา สาธุการ โอม โอม โอม" โดยโปรเจคนี้จะถ่ายทอดพลังอำ นาจของมหาเทวีทั้ง 3 ได้แก่ ซึ่งคุณสมบัติทั้ง 3 ประการนี้ คือ คุณสมบัติสูงสุดที่มนุษย์ทุกคน ดิ้นรนและแสวงหา และไม่มีผู้ใดที่จะปฏิเสธได้เลย ว่าบุคคลที่มีทั้งปัญญาความรู้ ความร่ำ รวยสมบูรณ์ และอำ นาจบารมีที่ยิ่งใหญ่ จะสามารถยืนหยัดเฉิดฉายอยู่ในสังคมได้อย่างภาคภูมิใจ 36
นางสาวสิรินดา เกียรติทวี (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) 37
Vicky-Verky "เหรีย รี ญย่อ ย่ มมีส มี องด้า ด้ นเสมอ มนุษ นุ ย์ก็ ย์ เ ก็ ช่น ช่ กัน กั " คำ ว่า "ตำ รวจ" สิ่งที่นึกถึงต้องเป็นอันดับแรกนั้นคือความดี ความถูกต้อง และความชอบธรรม แต่ยังมีตำ รวจบางกลุ่มที่เห็น ชื่อเสียง เงินทอง และเกียรติยศนั้นเป็นสิ่งที่ทำ ให้อยู่รอดได้ มนุษย์ที่เห็นแก่ตัวนัน้ย่อมไม่เลือกการกระทำ ที่ผิดหรือถูก โปรเจกต์การแสดงนี้ต้องการแสดงให้เห็นถึงการกระทำ ของ มิจฉาชีพที่ใกล้ตัวที่สุดคือ "ตำ รวจ" ที่อาจเป็นภัยที่ประชากรส่วน ใหญ่นั้นมองข้ามไป ผ่านการแสดงเต้นแบบสนุกสนาน สื่อถึง เรื่องราวเกี่ยวกับการเสียดสีสังคม นำ เสนอเรื่องราวของ ตำ รวจกลุ่มหนึ่งรวมหัวกันวางแผนยัดยาเสพติดให้กับหนุ่ม พนักงานบัญชีเพื่อต้องการรีดไถเงิน โดยหยิบยกลีลาศจังหวะ ไจว์ฟ (Jive) เป็นจังหวะที่เร็วที่สุดในลีลาศประเภท Latin American รวมทั้งมีการเต้น Street Dance และการเ้ต้นแบบ Free Style เข้ามาผสมผสาน 38
นางสาวญาดา ทรัพย์ประเสิร์ฐ (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) 39
" เดี่ย ดี่ ว(มั้ย มั้ ) " Ted Talk Show "ทุกการเติบโตย่อมมีเรื่องราวเสมอ" การเล่าเรื่องประสบการณ์ของ ญาดา ที่กว่าจะมีทุกวันนี้ได้ ผ่านการเล่าเรื่องในแบบของตัวเอง พร้อมเนื้อหาตลก ๆ ที่ผู้ร่วมฟังเคยมีประสบการณ์เดียวกัน 40
นางสาวพรรณิกา แสงมณี (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) 41
รัก รั แรกพบ "Loveat firstsight" เรื่องราวของผู้หญิงคนนึง บังเอิญพบกับชายหนุ่มเลยตกหลุม รักเข้าอย่างจังทั้งที่ไม่รู้จักกันมาก่อน เธอหวังว่าจะได้เจอเขา อีกครั้ง และต่อมาก็ได้เจอผู้ชายคนนั้นอีกครั้งจริง ๆ เธอเลยพยายามจีบผู้ชายคนนั้นด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยเกิดรูปแบบของการแสดงละครใบ้ และเทคนิคที่ศึกษา คือ การเคลื่อนไหวร่างกาย การแสดงสีหน้าท่าทาง และทฤษฎีอื่น ๆ ให้ออกมาเป็นละครใบ้ Romantic Comedy 42
นางสาวศศิวิมล คำ อุด (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) 43
ชีวิิ ชี ตวิิธรรมดา เรื่องราวของดอกไม้คนดูแลและแสงอาทิตย์ ที่พูดถึงการมอง ข้ามคนใกล้ตัวและให้ความสำ คัญกับคนไกลตัว ผ่านการเต้นบูโต และผสมผสานการเต้นร่วมสมัย (Contemporary Dance) ในรูปแบบการตีความของผู้สร้างสรรค์เอง 44
นางสาวอัฏษราภรณ์ บุญเรือง (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) 45
My life My choice "เลือกการใช่้ชัวิิตของตัวเอง" ในยุคสมัยปัจจุบันผู้คนมักจะชอบวิพากษ์วิจารย์ร่างกายของ ผู้อื่น จนทำ ให้บางคนไม่มั่นใจในตัวเองทำ ให้เกิดการนำ รูปบุคคล อื่นมาปลอมแปลงเป็นตัวเองสวมรอยในการใช้ชีวิตของผู้อื่น ในโลกออนไลน์ เพราะโลกของออนไลน์นั้นเป็นสิ่งเดียว ที่สามารถหลอกลวงผู้อื่นได้ง่าย ๆ โดยโปรเจคตัวนี้จะเสนอ ให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของคนในโลกออนไลน์ อีกทั้งยังสื่อให้เห็นถึงการรู้จักคุณค่าของตัวเอง โดยเรื่องราว จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับหญิงสาวที่ไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง จึงได้นำ รูปภาพบุคคลอื่นมาปลอมแปลงเพื่อที่จะได้มีผู้คนสนใจ จนกระทั่งผู้คนได้รู้ความจริง ทำ ให้ตัวหญิงสาวได้ตระหนัก คิดถึงเรื่องราวที่ตัวเองทำ ลงไป ซึ่งการแสดงนี้จะเล่าเรื่องราว ผ่าน Hip Hop Dance ผสมผสานกับ Contemporary Dance 46
นางสาวสุทธสินี ตันสกุล (ผู้สร้างสรรค์การแสดง) 47