บทที่ 3
ศึกษาความซบั ซ้อนของบคุ ลิกภาพภายนอกและบคุ ลิกภาพภายในของตัวละคร
การวเิ คราะห์ความซบั ซอ้ นของบุคลกิ ภาพของตัวละครในนวนยิ ายเรื่องหมาหวั คนนน้ั ผูว้ จิ ยั จะทำ
การวิเคราะห์ตัวละครเอกของเรื่อง โดยใช้ทฤษฎีของซิกมันฟรอยด์ (sixmund freud) อัลเฟรด (Alfred
adler) และอัจฉรา สุขารมย์ ในการวิเคราะห์ตัวละครในแง่มุมต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อให้สามารถเข้าใจบุคลิกภาพ
ของตวั ละครภายใตส้ ภาพสังคมและวัฒนธรรมในเรอื่ ง
การใช้ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพในการวิเคราะห์ตัวละครในนวนิยายนั้น โดยทั่วไปจะต้อง
วเิ คราะห์ตวั ละครในฐานะตัวแทนของมนุษยท์ ี่แสดงพฤติกรรมเหมอื นในชวี ิตจริง (realistic) เพราะถา้ วเิ คราะห์
พฤติกรรมไม่เหมอื นมนุษยใ์ นชวี ิตจริงก็จะสามารถทำความเข้าใจบคุ ลกิ ภาพของมนุษยผ์ า่ นตัวละครได้
3.1 ทฤษฎแี นวคดิ ของ ซิกมันฟรอยด์ (sixmund freud)
จากการศึกษาครั้งน้ีผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎีของ ซิกมันฟรอยด์ ในการศึกษาพฤติกรรมของตวั ละครของ
เรื่องหมาหัวคน โดยฟรอยด์เชอ่ื วา่ พฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์เร่ิมตน้ ต้ังแต่ โดยมแี รงจงู ใจมาจากจิตไร้สำนึก
(unconscious mind) ซึ่งมักจะพลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก หรืออาการผิดปกติทางด้าน
จิตใจในด้าน ต่าง ๆ ที่เกิดมาจากความกังวล (Anxiety) โดยฟรอย์เชื่อกลับธรรมชาติของมนุษย์ว่า มนุษย์เกิด
มาพรอ้ มกับแรงขับทางสญั ชาตญาณ (Instinctual Drive) และพลังงานท่ีสามารถเปล่ียนแปลงและเคลื่อนที่ได้
จิตจึงเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงและไม่หยุดนิ่ง ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้นำทฤษฎี ของ
ฟรอยดม์ าใชว้ ิเคราะหค์ อื ทฤษฎกี ารรบั รขู้ องจิต (Levels of consciousness) ทฤษฎีโครงสรา้ งของบคุ ลิกภาพ
(structure of personality) ทฤษฎสี ัญชาตญาณ (lnstinct)
3.1.1 ทฤษฎรี ะดบั การรบั รู้ของจติ (levels of consciousness)
ฟรอยด์ได้อธิบายจิตสำนึกว่า (consciousness) เป็นส่วนของสภาวะการรู้ตัวของมนุษย์ว่าตัวเอง
คือใคร อยทู่ ่ีไหน ตอ้ งการอะไร หรือกำลังรู้สึกอย่างไร ตอ่ สง่ิ ใด ซ่งึ ถกู สร้างขึ้นจากสว่ นประกอบหลายส่วน คือ
การรับรู้ ความรู้สึก ที่ส่งแรงกระตุน้ ไปยงั ส่วนหนา้ ท่ีตอบสนองโดยอาศัยความจำออกมาเป็นพฤติกรรมภายใน
และภายนอก โดยแบ่งโครงสร้างระดับการรับรู้ของจิตออกเป็น 3 ระดับ ที่มีความสัมพันธ์กันและมีการ
เปรยี บเทียบเหมอื นกับภูเขานำ้ แข็ง คือ
(1) จิตไรส้ ำนึก (unconscious mind) เปน็ ระดับของจิตตวั บุคคล ที่ไมส่ ามารถรูต้ ัว หรือไม่สามารถ
ใช้ความคิดบังคับได้ เปรียบเสมอื นภูเขาน้ำแข็งทีอ่ ยู่ใต้ผิวน้ำอันเปน็ ที่ร่วมของกระบวนการความคิด ความรู้สกึ
ความจำ ความต้องการ เรือ่ งราวต่าง ๆ ท่ีสะสมไว้ในจิตไร้สำนกึ
(2) จติ กอ่ นสำนกึ (preconscious) เป็นระดับของจิตท่ีตวั บุคคลสามารถรู้สึกตวั ได้บ้าง เมื่อใช้ความ
พยายาม หรือความสนใจ เป็นส่วนของภูเขาน้ำแข็งส่วนที่อยู่ใกล้ ๆ ผิวน้ำเป็นส่วนของจิตที่เก็บสะสมข้อมูล
ประสบการณ์ไว้มากมาย ซึ่งอาจไม่รู้ตัวในขณะนั้น แต่พร้อมให้ดึงออกมาใช้ และอาจถือได้ว่าเป็นรูปแบบของ
ประสบการณต์ ่าง ๆ
(3) จติ สำนึก (conscious mind) เป็นระดบั ทีจ่ ิตรสู้ ึกตัวเต็มที่ เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแขง็ ส่วนท่ีอยู่
เหนอื นำ้ เป็นทีร่ ว่ มแห่งความรสู้ ึก สตสิ มั ปชัญญะ ซง่ึ บคุ คลสามารถรู้โดยการตระหนักในการกระทำต่าง ๆ ของ
ตนหรือการกระทำที่ไมร่ ู้สึกตวั และมสี ติ
สามารถอธิบายได้ว่า การแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ทั่วไปนั้น เกิดมาจากระดับการรับรู้
ของจติ ทง้ั 3 ระดบั ดงั ทกี่ ลา่ วไปข้างต้น ซง่ึ ฟรอยดใ์ ห้ความสำคญั กับเร่ืองจติ ไร้สำนึกและการปฎิบัติงานของจิต
ไร้สำนึกเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นเหตุท่ีทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตหรือจิตไร้สำนึกเป็นเหตุ
จูงใจใหบ้ ุคคลแสดงพฤติกรรมแทบทุกอย่าง
พฤติกรรรมการแสดงออกที่สื่อถึงอิทธิพลของจิตสำนึก ที่ตัวละครเอกแสดงออกมาให้เห็นในเรื่อง
นั้นคือ พฤติกรรมขณะทำบางสิ่งบางอย่างอยู่ก็นกึ บางอย่างขึน้ มาได้โดยพฤตกิ รรมน้ีเป็นการดึงความทรงจำใน
อดีตมาใช้อีกคร้ังของจิตก่อนสำนึกเมือ่ มีสิ่งมากระตุ้น เช่น การนึกถึงอดีตของตนเองที่เคยเปน็ มาก่อนในช่วงที่
ตนเองนน้ั กำลังกระทำกจิ กรรมบางส่งิ บางอยา่ งอยู่ ดงั ขอ้ ความทีว่ า่
เย็นวนั หนึง่ ขณะทเ่ี ดยี วนัง่ เลน่ อย่หู น้าบา้ นกบั คนแคระจู่ ๆ เขาก็นึกขึ้นมาได้ว่า
ตนเป็นสุนัขมา ก่อน แต่จำรายละเอียดในช่วงนั้นไม่ได้ ความทรงจำเขาขาดสะบั้นลง
เด็ดขาด เดียวหยุดคิดสักครู่ เค้นนึกและเรียบเรียงประโยคเพื่อจะเลา่ เหตกุ ารณ์ณืแล้ว
เล่าต่อวา่ เขาพอจะระลึกได้เพียงภาพมัวเลือนของสิ่งร้ายกาจที่บังเกิดขน้ึ กบั ตนเอง เขา
ถูกประทุษร้ายจนบาดเจบ็ สาหัส ภาพของการวิ่งหัวชกุ หวั ชุน ความเจ็บปวดเหลอื คณา
ในขณะกระเสือกกระสนหลบหนี และต่อมามอี ะไรบ้างอย่างฟาดให้เขาหมดสติ เขาเริ่ม
รู้สกึ อาตนะก่อตัวข้ึนมา เขาได้ยินและรับรู้ มกี ารเคล่ือนไหว แล้วเวลาก็ผ่านไปอีกนาน
ครนั จนเขาตืน่ ขนึ้ กลายเปน็ คน
(หมาหวั คน. 2555 : 55-56)
เหตุการณ์พฤติกรรมของตัวละครเอกที่ถูกอ้างมาข้างต้น สามารถอธิบายได้ว่าพฤติกรรมของตัว
ละครในเรื่อง มีการแสดงพฤติกรรมที่เกิดมาจากจิตก่อนสำนึก โดยจิตก่อนสำนึกได้ทำการดึงความทรงจำใน
อดตี ออกมาจากจติ ไร้สำนึก ทีเ่ ปน็ ส่วนที่คอยเก็บความทรงจำของตวั บุคคลเอาไว้แลว้ แสดงออกมาให้เห็นในรูป
ของพฤตกิ รรมขณะทำบางส่งิ บางอยา่ งอยู่ก็นึกเรอ่ื งบางอย่างขนึ้ มาได้ จากการทเี่ ดยี วนกึ ถึงเรื่องเกย่ี วกับตนเอง
ที่ตนเองนั้นเคยเปน็ สุนขั มาก่อน และรา่ งกายได้แปรสภาพจากสุนัขมาเปน็ คน
3.1.2 ทฤษฎีโครงสร้างบุคลกิ ภาพ (Structure of Personality)
จากการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจับพบว่าตัวละครเอกของเรื่องมีความซับซ้อนทางด้านพฤติกรรมที่เป็นผล
มาจากความขัดแย้งในจิตใจ (Lnner conflicts) ระหว่างสัญชาติญาณและมโนธรรมนั้น มบี ทบาทอย่างมากใน
การผลักดันสู่พฤติกรรมภายนอกตัวละคร ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีโครงสร้างของบุคลิกภาพฟรอยด์ได้
อธิบายว่า โครงสร้างบุคลกิ ภาพประกอบด้วยโครงสรา้ ง 3 สว่ น คือ
(1) Id คือ ส่วนของความต้องการพื้นฐาน หรือรงผลักดันของจิตใจ (Drive) ที่ติดตัวมาตั้งแต่
กำเนิดเป็นแรงผลักดันของจิตใจให้กระทำสิ่งตา่ ง ๆ เพอ่ื สร้างความพึ่งพอใจหรือตอบสนองความต้องการให้แก่
ตนเอง ความต้องการตามสัญชาตญานนี้เองที่มีส่วนทำให้มนุษย์สร้างจินตภาพ เพื่อลดความเจ็บปวด หรือ
ความเครียดจากความต้องการนั้นลง เป็นเสมือนกับผู้เสนอความต้องการที่ไม่ได้ยึดหลักของเหตุผล ให้มนุษย์
แสดงพฤติกรรมออกมา โดยท่ีจะมีความถกู หรอื ผดิ
(2) Ego คือ ส่วนที่ปรับความต้องการของ Idให้เข้ากับสภาพแวดลอ้ มภายนอกเมือ่ มนุษย์เร่ิมมกี าร
เรียนรสู้ ่งิ ตา่ ง ๆ Egoจะถกู ควบคุมดว้ ยหลังแห่งความเป็นจริงเป็นสว่ นที่ใช้บังคับความต้องการทางสัญชาตญาณ
ไว้ โดยการเลือนเวลาที่ตอบสนองความต้องการออกไปจนกว่าจะสามารถค้นพบสิ่งที่ต้องการในระยะเวลาที่
สมควรและเป็นไปไดโ้ ดยถูกตอ้ งเสยี กอ่ น
(3) Superego คือ ส่วนที่ได้รับการเรียนรู้ศีลธรรมจรรยาที่สังคมเป็นผู้กำหนดไว้เป็นกฎทาง
ศีลธรรมของมนุษย์ที่พัฒนามาจากEgoโดยจากการเลียนแบบและรับมาตรฐานความดี ชั่ว บุญ บาป จากผู้ให้
กำเนิดหรอื ผู้อบรมเล้ยี งดู Superegoจะควบคมุ ให้มนุษยต์ อบสนองความต้องการ หรอื เกบ็ กดความต้องการไว้
ตามคำส่ังสอนทางศลี ธรรมทีไ่ ด้รับการอบรมมา
หนึ่งในพฤติกรรมของตวั ละครเอกทีเ่ กิดจาก Id คือความโกรธแค้นซึ่งหนึ่งในตัวละครในเรื่องน้ี ได้
แสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมาหลายครั้ง ดังเช่น ตอนที่คนแคระได้พาเดียวเข้ามาอาศัยอยู่ใจบ้านโดยที่เข้า
นั้น ได้อ้างกับภรรยาว่าเดียวเป็นคนจรจัด แต่ภรรยาของคนแคระไม่พอใจและเกียจชังเดียวเขาทำร้ายทุบตี
โดยไม่มีการขอโทษ ซ่งึ นั้นเปน็ สาเหตุเดยี วเกยี จชังภรรยาของคนแคระ ดังข้อความท่ีว่า
ภรรยาของคนแคระย่างสามขุมเข้ามายืนค้ำ ก้มมองสายตากล่าวโดยไม่
พูดจา ปากเมม้ เป็นเส้นตรง อึดใจเธอก็ถบี เขาเข้าท่ีหัวไหล่สุดแรง ขาเทียมเหนือหัวเข่า
ที่สร้างความงงงันแก่ชายหนุม่ ได้หลุดพรืดออกมา เห็นสายรัดยืดห้อยออกมาจากเบ้าดู
น่ากลัวเธอเกือบเชล้ม ยังดีที่คว้ายึดเก้าอี้ไว้ทัน แต่หลังก็ชนกับขอบโต๊ะ ส่วนคนถูกทำ
ร้ายหงายหลงั กน้ จ้ำเบ้า ไม่รสู้ ึกเจ็บอะไรนักนอกจากชาหนึบตรงหวั ไหล่
(หมาหัวคน. 2555 : 38)
ตัวอย่างเหตุการณ์พฤติกรรมทั้งสองของตัวละครเอกที่ถูกอ้างมาข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่า
พฤติกรรมของตัวละครสามารถเกิดจาก superego ที่แสดงออกมาในรูปแบบของพฤติกรรมสำนึกผิด ซึ่ง
สามารถวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎไี ด้วา่ ตัวเขาได้ปล่อยให้ superego มีอำนาจสูงกว่า Ego และId ดังนั้นเม่ือพลงั
superego มีอำนาจสูง บุคลิกลกั ษณะ หรือพฤตกิ รรมจงึ แสดงออกมาเช่นนี้
3.1.3 ทฤษฎสี ญั ชาตญาณ (Instinct)
ฟรอยด์ได้ให้ความหมายของสัญชาตญาณไว้ว่า เป็นสิ่งที่มีติดตัวบุคคลมาแต่กำเนิด ซึ่งอยู่ภายใน
หรอื เป็นส่วนหนึง่ ของ Id และเป็นแรงผลักดนั ให้เกดิ พฤตกิ รรมต่าง ๆ ซ่งึ กระทำเพื่อตอบสนองความต้องการที่
จำเป็นของร่างกาย โดยสามารถแบง่ ได้เปน็ 2 ประเภทคอื
(1) สญั ชาตญาณแห่งการมีชีวติ (Life Instinct) หรือสัญชาตญาณมุ่งเป็น คือ สัญชาตญาณเพ่ือเอา
ชีวิตรอด และดำรงเผ่าพันธุ์ เป็นพลังชีวิต (Libido) ที่มุ่งที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับชีวิตไม่เฉพาะกับ
สญั ชาตญาณทางเพศเท่านนั้ แต่หมายรว่ มถึงความพ่ึงพอใจทบี่ ุคคลได้รับจากกจิ กรรมนั้น ๆ
(2) สญั ชาตญาณแห่งความตาย (Death Instinct) หรอื สัญชาตญาณมุ่งตายเป็นสัญชาตญาณที่ทำ
ให้บุคคลหันเป้าหมายชีวิตไปหาความตาย ซึ่งฟรอยด์อธิบายว่าสัญชาตญาณมีติดตัวบุคคลมาตั้งแต่กำเนิด
เพราะบุคคลถกู สรา้ งให้มวี ัฏจักรเกิดและตาย
พฤติกรรมที่แสดงสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตของตัวละคร คือ พฤติกรรมรักตัวกลัวตายที่เขาได้
แสดงให้เห็นซ้ำ ๆ บ่อยครั้ง ซึง่ เป็นสญั ชาตญาณเพ่ือเอาชวี ติ รอดทีป่ ลูกฝั่งมาตั้งแตเ่ กดิ เป็นมนุษย์เม่ือต้องเผชิญ
กับอันตราย โดยสามารถเห็นพฤติกรรมรักตัวกลัวตายทีเ่ ขาได้แสดงออกมาในที่นี้พบเห็นพฤติกรรมดังกล่าวได้
จากเดียว คือ หลังจากท่ีคนแคระตายไปแล้วภรรยาของคนแคระก็ได้มีสามีใหม่ซึ่งเป็นทหารและได้เขามาอยู่
ร่วมชายคาเดยี วกันกบั เดยี วและหญงิ มา่ ยซึ่งนายทหารหนุ่มนัน้ รังเกียจเดียวมากเพราะเดียวเปน็ คนจรจัด โดย
นายทหารนน้ั ไดท้ ำการขับไล่เดยี วและทุบตีทำร้ายแตเ่ ดียว ดว้ ยความทร่ี ักตัวกลวั ตายก็เลยลุกขึ้นสู้และทำร้าย
นายทหารจนสลบไป ดงั ข้อความทีก่ ล่าวว่า
“ไสหัวออกไปให้พ้น” เดียวเสียท่าทีเผลอบูมบามก้าววิ่งออกไปโดยไม่
ทันระวังตัวนายทหารยืนกำหมัดดักรออยู่สักครู่หนึ่งแล้ว พอได้จังหวะก็คว้าไหล่เดียว
แต่ไม่ทันจะง้างมันพุ่งเข้าใส่เดียวเบี่ยงตัวหลบได้ทันกันนะนายทหารยังเร็วพอ เหวี่ยง
เขาล้มแผลล่า แล้วปาดเข้ามาเตะสีข้างและตามตัวพร้อมกับสบู่สินค้าเหมือนคำราม
เดียวเจ็บไปทั้งตัว ร้องโอดโอย แต่กระนั้นนายทหารไม่ยั้ง เดียวอัดลมหายใจกับความ
เจ็บปวดเอาไว้ไม่ให้มันกัดลึกจนเขาต้องหันมาฮึดสู้ตอบโต้พยายามรุกพระถอยแต่พอ
เส่ือตวั ขึ้นกถ็ กู ตซี ำ้ เข้าที่กกหูอีกเปรีย้ ง ดว้ ยฤทธิ์โทสะอันไม่อาจอุดกล้นั เดียวผวาเข้าจับ
ร่างของนายทหารเหวี่ยงสุดแรงจนล้มเอียงไปทางหนึ่ง ตัวเขาก็เสียหลักคำตามไปด้วย
แตเ่ ขาไวกว่าในจังหวะนนั้ พอสลัดนายทหารออกไปได้ก็ฉวยโอกาสโดนเข้าถมร่างลงบน
อกี ฝา่ ยระดมอัดกระแทกบนใบหน้าอุตลดุ ทำเอาอกี ฝา่ ยถงึ กับร้องเสียงหลง
(หมาหวั คน. 2555 : 123-124)
ตวั อย่างเหตกุ ารณข์ องตวั ละครท่ีถูกอ้างมาข้างต้นสามารถอธิบายไดว้ า่ พฤตกิ รรมของตวั ละครเกิด
จากสัญชาตญาณแหง่ การมชี ีวิต ทีแ่ สดงออกมาในรูปของพฤตกิ รรมการรักตัวกลวั ตาย ทแี่ สดงถงึ อำนาจของId
ท่ีตอ้ งการท่ีจะเอาชวี ติ รอด และเพื่อความมชี วี ติ อยขู่ องตวั เอง
3.2 ทฤษฎีแนวคิดของ คารล์ กลุ สตาฟ (carl Gustav Jung)
จากการศกึ ษาครั้งนผี้ วู้ ิจัยได้ใช้ทฤษฎีของ คาร์ล กลุ สตาฟ จุง ในการศึกษาพฤติกรรมของตวั ละคร
ของนวนยิ ายเรอื่ งหมาหัวคน โดยใช้ ทฤษฎีประเภทของบคุ ลกิ ภาพ (personality type)
3.2.1 ทฤษฎปี ระเภทของบุคลกิ ภาพ (personality type)
จุงได้แบ่งปัจจัยออกมาเป็น 2 ประเภทคือ ทัศนคติ และ หน้าที่ของจิตโดยทัศนคติ คือ แนวโน้ม
การแสดงออกของบคุ ลกิ ภาพ ซง่ึ จงุ แบ่งทศั นคตอิ อกเปน็ 2 ลกั ษณะคือ
(1) แสดงตัว (Extrovert) เป็นผู้ที่มีทัศนคติแบบเปิดเผยมีคุณลักษณะร่าเริงชอบสังคม พึ่งพิง
บุคคลอื่น มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมมองหาประสบการณ์ใหม่ๆในมุมกว้าง มี
ความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนเป็น Ego หรืออัตราได้ตามความเหมาะสม การแสดงออกซึ่งอารมณ์เห็นได้
ชดั ความคิดกับมโนทศั นจ์ ะมองไปในความเปน็ จริง
(2) เก็บตวั (introvert) เป็นผ้ทู ม่ี ีทัศนคติแบบเก็บตัวมีคณุ ลกั ษณะชอบใชค้ วามคิดแบบมูลเกี่ยวกับ
เรื่องของตนเองไม่ชอบสังคมชอบดูดเดียวตามลำพังแยกตัวออกจากสังคมไม่กล้าแสดงออก อารมณ์อ่อนไหว
ยึดมน่ั ในอีโก้ อัตราท่ีตวั เองมอี ยู่ สนิทกบั คนแบบตวั ต่อตัวชอบมองหาประสบการณแ์ บบมมุ ลึกไม่คำนึงถึงความ
เป็นจริงและมีความเชื่อม่นั ในตนเองมากเกนิ ไป
จุงเชื่อว่าบ่อยครั้งที่การแสดงออกของทัศนคติมนุษย์ มักมาแสดงออกเป็นคู่ ในหนึ่งบุคคลไม่
จำเป็นต้องมีลักษณะของการแสดงทัศนคติเพียงแบบเดียว นั้นเพื่อสรา้ งความสมดลุ ทางจิตใจ ซึ่งมีแรงผลักดนั
มาจากอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไปเป็นเวลานาน หน้าที่ของจิต (Functions of consciousness) จุงได้
อธบิ ายในรปู แบบตา่ ง ๆ ท่ีจิตสำนึกสามารถรบั รู้ความเป็นจรงิ ได้ โดยสามารถแบ่ง 4 ประเภท ดงั นี้
(1) การรับรู้ด้วยความคิด (Thinking) คือคุณลักษณะการให้ความสำคัญกับการคิดวิเคราะห์
วิจารณ์ข้อมูลดง้ ยเกณฑใ์ นหลักการและเหตผุ ล
(2) การรับรู้ด้วยความรู้สึก (Feeling) คือ คุณลักษณะของการให้ความสำคัญกับค่านิยมหรือ
ความร้สู ึกส่วนตวั อ่อนไหวต่อคำวิจารณย์ วั่ ยุ
(3) การรับรู้ผา่ นประสาททั้งห้า (sensing) สัมผัสทั้ง 5 อยู่กับโลกเป็นจริงในปัจจุบัน ทำอะไรตาม
ข้ันตอน เกบ็ รายละเอียด เป็นนกั ปฏบิ ัติ
(4) การรับรู้ด้วยการคาดการณ์ (Intuition) คือ คุณลักษณะของการคาดเดาหรือจินตนาการ มี
วสิ ยั ทศั น์ อยใู่ นโลกของความฝนั และจินตนาการ ชอบลองของใหม่ ละเลยรายละเอียด เปน็ นกั เพอ้ ฝนั
เพื่อให้อธิบายเกี่ยวกับประเภทของบุคลิกภาพสมบูรณ์หรือเห็นชัดขึ้น ได้มี การรวมลักษณะ
ทัศนคติ 2 ลักษณะและหน้าที่ของจิต 4 ลักษณะทำให้ เกิดลักษณะบุคลิกภาพ 8 แบบที่จุงใช้อธิบายลักษณะ
ความแตกตา่ งระหว่างบคุ คล ไดแ้ ก่
(1) บุคลิกภาพแบบเปิดเผยโดยการใช้การรับรู้ (Extroverted Thinking) หมายถึงคุณลักษณะท่ี
สนใจโลกภายนอก ทำความเข้าใจและตัดสินส่ิงเร้ารอบตวั โดยผา่ นกระบวนการคิดท่ีเปน็ รูปธรรมและนามธรรม
และมีวิธกี ารทีไ่ ด้มาซึง่ ความคดิ เชงิ นามธรรมน้ันไดม้ าโดยวิธีการเรยี นรูผ้ ่านคน
(2) บคุ ลกิ ภาพแบบเกบ็ ตวั โดยใชก้ ารรับรู้ (Extroverted) หมายถึงคุณลักษณะท่สี นใจในโลก
ภายในทำความเข้าใจและตดั สินใจสิ่งเรา้ รอบตวั โดยใช้ความรู้และความเขา้ ใจสว่ นตัวทส่ี ร้างสรรค์
(3) บุคลิกภาพแบบเปิดเผยโดยใช้ความรู้สึก (Extroverted Freeling ) หมายถึงคุณลักษณะท่ี
ชอบตัดสินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ด้วยแบบแผนความคิดตามค่านิยมหรือบรรทัดฐานทางสังคมชอบคิดตามสิ่งท่ี
สังคมยอมรบั หรือความเชอื่ ของคนส่วนใหญ่มคี วามร้สู กึ สะดวกสบายในสถานการณท์ างสงั คม
(4) บุคลิกภาพแบบเก็บตัวโดยใช้ความรู้สึก (Introverted Freeling) หมายถึงคุณลักษณะที่ชอบ
ตัดสินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกหรือความเชื่อส่วนตัวปฏิเสธวิธีการคิดที่อิงค่านิยมและบรรทัดฐาน
ของสงั คม
(5) บุคลิกภาพแบบเปิดเผยโดยใช้การสัมผัส (Extroverted Sensing) หมายถึง คุณลักษณะท่ี
สนใจโลกภายนอก รับร้แู ละแปลความหมายของส่ิงเร้ารอบตวั ตามความเป็นจริงที่เป็นอยู่ มรี ะเบยี บและขัด ต่อ
ในการปฏบิ ตั ิ ไมห่ ว่นั ไหวหรอื ใหค้ วามสำคญั กับความรสู้ กึ
(6) บุคลิกภาพแบบเก็บตัวโดยใช้การสัมผัส (Introverted Sensing) หมายถึงคุณลักษณะที่สนใจ
โลกภายใน รับรู้และแปลความหมายสิ่งเร้ารอบตัวตามความเป็นจริงที่มีอยู่มีระเบียบขั้นตอนในการปฏิบัติ ไม่
หว่นั ไหวหรอื ใหค้ วามสำคัญกบั ความรสู้ ึก
(7) บุคลิกภาพแบบเปิดเผยโดยใช้การหยั่งรู้หมายถึง (Extroverted Intuition) คุณลักษณะที่ให้
ความสำคญั กับความร้สู ึกภายในและพลังจงใจสว่ นตัวมากท่ีสุดโดยไมส่ นใจทจ่ี ะเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ
รอบตัวและสงั คมเขาพยายามให้ความหมายของส่ิงต่าง ๆ โดยผา่ นจิตไร้สำนึกและจนิ ตนาการส่วนตวั
(8) บุคลิกภาพแบบเก็บตัวโดยใช้การหยั่งรู้ (Introverted Intuition) หมายถึงคุณลักษณะที่ให้
ความสำคัญกับความรู้สึกภายในและพระรามจึงใช้ส่วนตัวมากที่สุดโดยไม่สนใจที่จะเข้าใจความหมายของสิ่ง
ตา่ ง ๆ รอบตวั และสงั คมเขาพยายามใหค้ วามหมายของส่งิ ต่าง ๆ โดยผ่านจติ ไร้สำนึกและจนิ ตนาการส่วนตวั
ลักษณะบุคลิกภาพที่เกิดจากการรวมกันของทัศนคติและหน้าที่ของจิตของตัวละครเอกที่เห็น
ชัดเจน คือ บุคลิกภาพแบบเก็บตัวโดยการใช้การหยั่งรู้ เห็นได้จากพฤติกรรมการแสดงเหตุผล หรือการให้
ความสำคญั แกส่ ิ่งทตี่ ัวเองยึดมั่นในหลาย ๆ เรื่อง เชนเขาเถดิ ทูนทัศนะเร่ืองความสงู สง่ หรือเหตุผลของตัวเขา
เอง เป็นสิง่ ท่ีเขาคิดข้ึนมาเอง โดยไม่สนใจคนรอบข้างหรือสังคมว่าจะคิดยงั ไง ถึงกระนั้นตัวละครในเร่ืองก็ยงั มี
ลักษณะของผ้ทู ี่มที ัศนคตแิ บบเกบ็ ตัวซง่ึ พบเห็นได้จาก เดียว ดงั ข้อความทก่ี ลา่ วว่า
ทุกวันพอเสียงหวูดเลิกงานดัง ผมจะบ่ายหน้ากลับที่พักทันที นั่งริม
หน้าต่างที่เปิดสูงเฉล่ียของทางเดินเเละกินอาหารกระป๋องไปพลาง ผมชอบสังเกตดู
ตน้ ไม้ทไี่ ม่ร้จู กั ในกระถางตรงเสาปนู ขอบทางเดิน ลำตน้ สูงแค่เขา่ เปลอื กสนี ้ำตาลมีก้าน
กระปุกตะป่ำชูกิ่งก้านใบกะหรอ็ มกะเเหร็ม บางวันผมก็เปลี่ยนทีเ่ ฝ้ามอง ออกจากห้อง
ข้ึนไปชน้ั ดาดฟา้ ทม่ี ที วี่ ่างโล่งขึงราวตากผ้า ผมยนื เกาะขอบปนู มองลงไปยังถนนทุกท่าน
ฝัง่ ตรงขา้ มเป็นห้องแถว ร้านคา้ สำนักงาน แผงขายสนิ ค้าสารพดั ตกึ แถวเบียร์เชียงราย
เป็นตึก สลับกับอาคารเก่าโบราณ ที่บางแห่งกำลังถูกทิ้ง กิจกรรมเหล่านี้คือส่วนหนึ่ง
ของสิ่งดลใจพอจะให้ผมมีทางเลือกเมื่อกลับจากที่ทำงานเพราะผมนั้นไม่ชอบสุงสิงกับ
ใครและไมย่ ุ่งเกี่ยวกบั ใครด้วย
(หมาหวั คน. 2555 : 285)
จากการพูดคุยข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ตัวละครในเรื่องมีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวโดยใชก้ าร
หยงั่ รู้ ทแี สดงออกมาในลักษณะคนท่ียดึ ม่ันในหลักเหตุผลของตัวเองมาก อกี ทัง้ เขาไมช่ อบการเข้าสังคม หรือ
คบค้าสมาคมกับผู้คนที่เขาพบเห็นในสังคมภายนอก เขามีความสันโดษและรู้สึกแปลกแยกจากผู้อ่ืน
เปรยี บเสมอื น Ego ของตัวเขาเอง
3.3 ทฤษฎีแนวคิดของ อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred AdLer)
จากการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎีของ อัลเฟรด แอดเลอร์ ในการศึกษาบุคลิกภาพและพฤติกรรมของตัว
ละครของเรื่อง หมาหัวคน โดยใช้ ทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกชนซึ่งได้อธิบายอิทธิพลที่หล่อหลอมบุคลิกภาพ คือ
ปมด้อย และปมเดน่ วิถชี ีวติ การยึดเปา้ หมายทเ่ี ปน็ จนิ ตนาการ