40 ๑. ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ ให้อยู่ในระเบียบวินัย ของโรงเรียน ๒. ดูแลนักเรียนให้มีเครื่องแต่งกายครบและถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน ๓. ดูแลนักเรียนให้ไปโรงเรียนทุกวัน และให้ทันเวลาเข้าแถวเคารพธงชาติ ถ้ามีความจำเป็น จะต้อง ไปโรงเรียนสายให้แจ้งรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารบุคคล หรือครูเวรประจำวัน ๔. กวดขันตักเตือนนักเรียนให้เอาใจใส่ต่อการเรียน เป็นกำลังใจ ดูแลการทำการบ้าน ตรวจทาน และเซ็นชื่อในสมุดการบ้าน ดูแลงานที่นักเรียนได้รับมอบหมายส่งครูตามที่กำหนด ๕. ดูแลและจัดหาอุปกรณ์การเรียน ของใช้ประจำตัวนักเรียนให้ครบถ้วน เช่น สมุด หนังสือ ปากกา ดินสอ ไม้บรรทัด ฯลฯ อุปกรณ์การรับประทาน เช่น กระบอกน้ำ ช้อนส้อม และหลังรับประทานอาหาร เช่น แปรงสีฟัน และยาสีฟัน ๖. เงินใช้จ่ายประจำวันควรให้พอดีใช้ อย่าให้มากเกินความจำเป็น ๗. โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนนำของมีค่ามาโรงเรียน ๘. กรณีเด็กจะต้องไปทำกิจกรรมนอกโรงเรียนในเวลาเรียนหรือวันหยุดทางโรงเรียน จะมีจดหมาย แจ้งผู้ปกครองขออนุญาตล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง ๙. เด็กที่กลับบ้านเอง ผู้ปกครองต้องตักเตือนอย่าซื้ออาหารตามร้านริมทางเพราะไม่สะอาดพอ ๑๐. ดูแลการกลับบ้านของนักเรียนให้ตรงเวลา นักเรียนที่ผู้ปกครองมารับต้องมารับในระหว่าง เวลา ๑๕.๑๕ – ๑๖.๓๐ น. ๑๑. ไม่สนับสนุนให้นักเรียนซื้ออาหารและสิ่งของที่ไม่จำเป็นหน้าโรงเรียน เช่น อาหารที่ไม่สะอาด ของเล่นฟุ่มเฟือย ซึ่งอาจทำให้นักเรียนได้รับอันตราย ๑๒. ช่วยกำกับดูแลความประพฤตินักเรียน ให้ปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด ๑๓. ถ้าพบความผิดปกติเกี่ยวกับการเรียน และความประพฤติควรติดต่อกับโรงเรียน ๑๔. ด้านสุขภาพอนามัย ถ้าเด็กมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้โรงเรียนทราบ เพื่อช่วยเหลือ และป้องกัน ๑๕. การติดตามผลการเรียนของนักเรียนให้ติดตามได้จากสมุดรายงานของนักเรียน ถ้ามีข้อสงสัยให้ ติดต่อครูประจำชั้น ๑๖. เมื่อได้รับจดหมายเชิญพบจากทางโรงเรียน โปรดให้ความสำคัญไปพบตาม วัน เวลา และ สถานที่กำหนดทุกครั้ง ถ้าต้องการเลื่อนการนัดหมายโปรดแจ้งล่วงหน้า ๑๗. การประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและทำความเข้าใจระหว่างผู้ปกครองกับครู โรงเรียนจะเชิญผู้ปกครองนักเรียนทุกคนมาประชุมภาคเรียนละ ๑ ครั้ง หรือตามโอกาสอันควร ดังนั้น โรงเรียนจึงขอความร่วมมือจากท่านผู้ปกครองทุกท่านมาประชุมตามกำหนดนัดหมายทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ ต่อการจัดการทางการศึกษาของบุตรหลานของท่าน 40
41 “ความเข้าใจ และความร่วมมืออันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นพลังให้การศึกษาของบุตรหลาน ของท่าน บรรลุเป้าหมายโดยสมบูรณ์” ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ เริ่มใช้พื้นที่อาคารเรียนห้าชั้นสร้างเสร็จในปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๓ และอาคาร เรียนหลังเดิมที่สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ และ พ.ศ.๒๕๑๓ รวม ๓ หลัง โดยมีทางเดินเชื่อมต่อกัน ห้องจัดการเรียนการสอน ๔๑ ห้องเรียน ห้องพิเศษ ๘ ห้อง ห้องพักครู ๕ ห้อง ห้องประชุม ๓ ห้อง ห้องธุรการ ๑ ห้อง ห้องพยาบาล ๑ ห้อง โดยมีชื่อเรียกอาคารดังนี้ ๑. อาคารอมรินทรามาตย์เป็นอาคารเรียน ๕ ชั้น ประกอบด้วย - ห้องเรียน ๓๐ ห้องเรียน - ห้องคอมพิวเตอร์ ๒ ห้อง - ห้องพักครู ๓ ห้อง - ห้องธุรการ ๑ ห้อง - ห้องพยาบาล ๑ ห้อง - ห้องประชุมตากสิน ๑ ห้อง - ห้องวิทยาศาสตร์๑ ห้อง - พื้นที่ชั้นล่างสำหรับรับประทานอาหาร ๓๘๐ ตร.ม. ๒. อาคารศรีสุดารักษ์ - ห้องเรียน ๘ ห้องเรียน - ห้องเรียนศิลปะ ๑ ห้องเรียน - ห้องดนตรี นาฏศิลป์๑ ห้อง - ห้องพักครูพิเศษ ๒ ห้อง ๓. อาคารเทพสุดาวดี - ห้องเรียนอนุบาล ๓ ห้องเรียน - ห้องวิชาการ ๑ ห้อง - ห้องอมรินทร์วิจิตร์รัตนาคำ ๑ ห้อง - ห้องเรียนอัจฉริยะ ๑ ห้องเรียน ๔. เรือนอมรินทร์(ศาลาไทย) ห้องประชุมและรับรองผู้มาเยือนโรงเรียน 41
42 ที่มาของชื่ออาคารเรียนหลังใหม่ของโรงเรียนวัดอมรินทราราม ด้วยโรงเรียนวัดอมรินทรารามได้ก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่แทนที่อาคารเรียนหลังเดิมที่ ก่อสร้างมาตั้งแต่พ.ศ.๒๕๐๓ และมาแล้วเสร็จได้ทำพิธีเปิดป้ายโรงเรียน เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยมี ฯพณ ฯ ม.ล. ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี จนในปี พ.ศ.๒๕๕๓ กรุงเทพมหานครมีโครงการขยายถนนตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชน กาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อลดปัญหาการจราจรที่บริเวณโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานครจึงขอเวณคืนที่ดินจากวัดอมรินทราราม และได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่แทนที่ อาคารเรียนหลังเดิมที่ถูกรื้อถอนไปให้ทั้งหมด อาคารเรียนหลังใหม่ได้ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับประวัติความ เป็นมาของวัดอมรินทรารามและกรุงธนบุรีดังนี้ ๑. อาคารอมรินทรามาตย์ เป็นอาคารตึกห้าชั้นใต้ถุนสูง “อมรินทรามาตย์” เป็นชื่ออาคารที่ได้ มาจากพระนามของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระนามเดิม นาค เป็นอรรคชายาเดิมใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นสมเด็จพระพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า นาค เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง นพศก ตรงกับวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๘๐ (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. ๒๒๘๑) ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นพระธิดาของพระชนกทอง ณ บางช้าง และสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี(พระนามเดิม สั้น หรือมาก) เป็นคหบดีเชื้อสายมอญ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสร้างวัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม ขึ้นในบริเวณ นิวาสสถานเดิมของพระองค์ เพื่ออุทิศถวายแด่พระชนนี (สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี) ไว้ที่องค์พระปรางค์ด้วย ถึงปีมะเมีย วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๓๕๓ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเป็น สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ ๒. อาคารเทพสุดาวดีเป็นอาคารเก่าของสายชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ด้านทิศเหนือ “เทพสุดาวดี” เป็นชื่ออาคารได้มาจากพระนามของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (พ.ศ. ๒๒๗๒ - ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๔๒) พระนามเดิม สา เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จ พระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่พระอัครชายา (หยก) ในสมัยอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระโสทร เชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี พระเชษฐภคินี (พี่สาว) ในรัชกาลที่ ๑ จึงทำให้นับเป็นพระกุลเชษฐ์พระองค์แรกในราชวงศ์จักรี เป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี เสกสมรสกับหม่อมเสม ที่พระอินทร รักษา เจ้ากรมพระตำรวจฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระโอรสธิดา ๔ พระองค์ คือ [๒] ๑). กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) พระนามเดิม ทองอิน พระโอรสองค์ที่ ๑ แต่ เดิมเฉลิมพระยศเป็นกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ 42
43 ๒). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ พระนามเดิม บุญเมือง พระโอรสองค์ที่ ๒ ๓). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ พระนามเดิม ทองจีน พระโอรส องค์ที่ ๓ เป็นต้นราชสกุลนรินทรางกูร ๔). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองคำไม่มีเจ้ากรมต่างหากแต่เป็นสังกัดในกรม พระยาเทพสุดาวดี ๓.อาคารศรีสุดารักษ์เป็นอาคารเก่าของสายชั้น MEP ด้านทิศใต้“ศรีสุดารักษ์” เป็นชื่ออาคาร ที่ได้มาจากพระนามของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์(ไม่ปรากฏ - ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๔๒) มีพระนามเดิมว่า แก้ว เป็นพระธิดาพระองค์ที่สองในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติ แต่พระอัครชายา (หยก) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์เมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน พระภัสดาผู้เป็นคหบดีชาว จีนเชื้อสายขุนนางจีนในกรุงปักกิ่ง มีพระโอรสธิดาด้วยกัน ๖ พระองค์ คือ[๔] ๑). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์เป็นต้นราชสกุลเทพหัสดิน ๒). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอนัคฆนารี ๓). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าขุนเณร (สิ้นพระพระชนม์เมื่อพระชันษา ๗ ปี) ๔). สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีพระนามเดิม บุญรอด เป็นพระอัครมเหสีใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๕). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีเป็นต้นราชสกุลมนตรีกุล ๖). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์เป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์นั้น มีพระตำหนักอยู่เบื้องหลังหมู่พระที่นั่งดุสิต มหาปราสาท และพระวิมานรัตยา เรียกว่าพระตำหนักแดง ได้ทรงราชการทรงกำกับเครื่องใหญ่ในโรงวิเศษ ต้น และการสะดึงและอื่น ๆ เป็นหลายอย่าง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะแม จ.ศ. ๑๑๖๑ ตรงกับวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๔๒ พระชันษา ๖๐ ปีเศษ [๕] ๔. อาคารอรุณอมรินทร์เป็นอาคารตึก ๔ ชั้น อยู่ด้านทิศเหนือติดถนนและสะพานอรุณ อมรินทร์“อรุณอมรินทร์” เป็นชื่อของถนนอรุณอมรินทร์เป็น "ถนนสายที่ ๒" ในโครงการตัดและขยายถนน ๑๑ สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๗๒ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยกำหนดแนว เส้นทางไว้ตั้งแต่ วัดอมรินทราราม มาทางถนนบ้านขมิ้น ข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านถนนสายที่ ๑ (ปัจจุบัน คือถนนประชาธิปก) แล้วตรงไปตามแนวถนนคลองสานซึ่งมีอยู่แล้ว ไปบรรจบกับถนนสายที่ ๔ (ปัจจุบันคือ ถนนลาดหญ้า) ที่ปากคลองสาน ยาวประมาณ ๔,๙๐๐ เมตร กว้าง ๒๓ เมตรตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร 43
44 ถนนสายที่ ๒ สร้างและขยายใหม่ตามแนวถนนที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้สร้างไว้รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งจวน (บ้าน) ของสมเด็จเจ้าพระยาถึง ๔ ท่านอีกด้วย ได้แก่ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรง ตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ถนนสมเด็จเจ้าพระยา อย่างไรก็ตาม ถนนสายนี้ ตัดสำเร็จเฉพาะส่วนปลาย โดยแยกออกเป็นสองด้านและมีเส้นทางไม่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ส่วนปลาย ด้านหนึ่งจากวัดพิชยญาติการามถึงปากคลองสานซึ่งยังคงใช้ชื่อว่า ถนนสมเด็จเจ้าพระยามา จนถึงปัจจุบัน และส่วนปลายอีกด้านมีระยะทางเริ่มต้นจาก วัดอรุณราชวราราม ขึ้นไปจนถึงวัดอมรินทราราม ในเวลาต่อมา ทางการจึงเปลี่ยนชื่อถนนส่วนนี้เป็น ถนนอรุณอมรินทร์ ต่อมา จึงมีการตัดถนนอรุณอมรินทร์ขึ้นไปทางเหนือ โดยข้ามคลองบางกอกน้อยบริเวณใกล้ วัดอมรินทรารามและอู่เรือหลวง ไปตัดกับถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าและบรรจบซอยจรัญสนิทวงศ์ ๔๐ (อัศวมิตร) โดยเป็นหนึ่งในโครงการตัดถนนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางยี่ขันและตำบลศิริราช อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อตัดถนนให้รับ กับคอสะพานที่จะสร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (ปัจจุบันคือสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า) และสะพานข้ามคลอง บางกอกน้อย (ปัจจุบันคือสะพานอรุณอมรินทร์) ๕. เรือนอมรินทร์เป็นอาคารศาลาทรงไทย ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารอมรินทรามาตย์เยื้องมา ทางด้านอาคารศรีสุดารักษ์ เป็นอาคารที่ใช้รับรองแขกที่มาศึกษาดูงาน มาเยี่ยมชมโรงเรียนกลุ่มเล็กๆ และใช้จัดประชุมวาระสำคัญต่างๆ ๖. ห้องประชุมกรุงธนบุรี เป็นห้องประชุมเดิมที่ตั้งอยู่บริเวณชั้นสี่ของอาคารอรุณอมรินทร์ (ตึก ๔ ชั้น) ที่ตั้งชื่อห้องประชุมนี้ว่า “กรุงธนบุรี ” ทั้งนี้เพราะโรงเรียนวัดอมรินทรารามตั้งอยู่ฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงธนบุรีเพื่อเป็นการระลึกถึงประวัติศาสตร์สำคัญ หลังจากที่พระเจ้าตากสินได้กอบกู้ กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสิน ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า “พระบรมราชาธิราชที่ ๔" (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ครองกรุงธนบุรีอยู่ ๑๕ ปี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครอง กรุงธนบุรี การตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ๑). กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณ์ให้ดีเหมือนเดิมได้ ๒). กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้ ๓). ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย ๔). ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี 44
45 ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงเนื่องจากทำเลที่ตั้งกรุง ธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี ไปตั้งมั่นทางเรือได้กรุงธนบุรีเป็นเมือง เล็ก จึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้ กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรี อยุธยาหลงเหลืออยู่ ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรก ๗. ห้องประชุมตากสิน เป็นห้องประชุมที่ตั้งอยู่บริเวณใต้อาคารอมรินทรามาตย์ที่ตั้งชื่อ ห้องประชุมนี้ว่า “ตากสิน” ทั้งนี้เพราะเพื่อเป็นการระลึกถึงประวัติศาสตร์สำคัญของพระมหากษัตริย์ในสมัย กรุงธนบุรีที่มีเพียงพระองค์เดียว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช ๑๐๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนชื่อนายไหฮอง หรือ หยง แซ่แต้ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ พระราชชนนีชื่อ นางนกเอี้ยง (ภายหลังได้รับ การสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์) ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับจวนเจ้าพระยาจักรีที่สมุหนายก เมื่อยังทรง พระเยาว์เจ้าพระยาจักรีได้ขอสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปเลี้ยงเป็น บุตรบุญธรรม และได้ตั้งชื่อพระองค์ ท่านว่า สิน พอนายสินอายุได้ ๙ ขวบ เจ้าพระยาจักรีก็นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ใน สำนักของ พระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ครั้นอายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำนายสินเข้าถวายตัวรับราชการ เป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ ตามประเพณีของการรับราชการในสมัยนั้น ในระหว่าง รับราชการ เป็นมหาดเล็กนายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้ทางด้านภาษาต่าง ประเทศหลายภาษามี ภาษาจีน ภาษาญวน และภาษาแขก จนสามารถพูดได้สามภาษาอย่างชำนิชำนาญ ครั้นนายสินอายุได้๒๑ ปี เจ้าพระยาจักรีได้ประกอบการอุปสมบทนายสิน เป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ในสำนักอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส (ปัจจุบันคือวัดเชิงท่า) นายสินอุปสมบทอยู่ ๓ พรรษา แล้วก็ลาสิกขาบทกลับมาเข้ารับราชการตามเดิม เนื่องจากนายสินเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ขนบธรรมเนียมราชกิจต่างๆ โดยมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้นายสินเป็นมหาดเล็กรายงานด้วยราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวง พ.ศ. ๒๓๐๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร เสด็จเสวยราชสมบัติ ได้ ๓ เดือนเศษ ก็ถวายสิริราชสมบัติแก่สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวง เชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งนายสินได้ปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะและมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ช่วยราชการอยู่กับพระยาตาก ครั้นเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรม ลงก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนหลวงยกกระบัตร (สิน) เป็นพระยาตาก ปกครองเมืองตากแทน พ.ศ. ๒๓๐๘ พระยาตาก (สิน) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาช่วยราชการสงครามเพื่อป้องกันพม่าในกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) มีฝีมือการรบป้องกัน พระนครอย่างเข้มแข็งมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมือง เดิมที่ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในเดือนเมษายน พระยาตาก ก็สามารถกอบกู้ กรุงศรีอยุธยากลับคืนได้ แล้วก็คิดจะปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใหม่ แต่เมื่อได้ตรวจความ 45
46 เสียหายแล้วเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาได้รับความเสียหายเป็นอันมาก ยากที่จะบูรณะให้เหมือนดังเดิมได้ และ ประกอบกับรี้พลของเจ้าตากมีไม่พอที่จะรักษากรุงศรีอยุธยาที่เป็นเมืองใหญ่ได้ จึงเลือกเมืองธนบุรีเป็น ราชธานี และได้อพยพผู้คนลงมาตั้งมั่นที่เมืองธนบุรี เจ้าตากทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครอง กรุงธนบุรี เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ขณะมีพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ทรงนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จ พระบรมราชาที่ ๔ แต่ประชาชนทั่วไปยังนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ จ.ศ. ๑๑๔๔ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน ๒๓๒๕ พระชนมายุ ๔๘ พรรษา รวมครองสิริราชสมบัติ ๑๕ ปี 46
47 ภาคผนวก
48 เพลงมาร์ชอมรินทร์ (สร้อย) อมรินทร์ อมรินทราราม สมัญญาสมนามอร่ามเหลือ สัญลักษณ์แห่งนี้ คือเลือดเนื้อ เขียวเหลืองประเทืองเจือสถาบัน 1. เป็นแหล่งรวมผลิตศิษย์สยาม ให้งอกงามความรู้คู่กายมั่น ฝึกปัญหาเชาว์ไวฉลาดรัน สมานฉันท์กตัญญูรู้คุณ (สร้อย) 2. หลั่งเมตตาการุณย์บุญกุศล ดวงกมลอ่อนน้อมประนอมจิต เอื้ออารีย์ไมตรีแด่มวลมิตร สามัคคีดีสนิทนิจนิรันดร์ (สร้อย) 3. ลูกอมริน ทราสง่าศรี ร่วมใจรักภักดีพลีคำมั่น สร้างชื่อเสียงตนเองเผ่าพงศ์พันธุ์ สถาบันเรืองรุ่งจรุงไกล (สร้อย) 4. อย่าลืมว่าเลือดและเนื้อเราค่าล้ำ เหลืองคือธรรมะ นำชีพยิ่งใหญ่ เขียวโซ่คล้องปองจิตปวงศิษย์ไซร้ รักร่วมใจสถาบันฉันและเธอ (สร้อย) ผู้แต่ง : ผู้อำนวยการทองคำ ผดุงศุข ระเบียบสวดมนต์ไหว้พระ ให้นั่งคุกเข่าหรือยืนพร้อมกัน ประนมมือแค่อก ให้หัวหน้าว่านำ และคนอื่น ๆ ว่าตาม ดังนี้ต่อไปนี้ อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ ภควา พุทธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ (กราบ) (ถ้ายืนให้น้อมศีรษะมนัสการ) สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธมฺมํ นมสฺสามิ (กราบ) สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกกงฺโฆ สงฺฆํนมามิ (กราบ)
49 บทแผ่เมตตา สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น อะเวรา จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อัพยาปัชฌา จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อะนีฆา จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด คำแนะนำในการดูแลรักษาหนังสือ เพื่อให้หนังสือมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และคงทน ควรดูแลรักษาหนังสือ ดังนี้ ๑. เมื่อได้รับหนังสือใหม่ ควรห่อปกหนังสือเพื่อกันไม่ให้หนังสือชำรุด และควรเปิดหนังสือให้ ถูกต้องเพื่อให้หนังสือมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและคงทน ๒. หยิบ จับ หรือเปิดหนังสืออย่างเบามือ ๓. ไม่ขีดเขียนข้อความหรือทำความเครื่องหมายใด ๆ ลงในหนังสือ เพื่อให้นักเรียนรุ่นต่อไปได้ใช้ ด้วย ๔. ไม่ควรรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ขณะอ่านหนังสือเพราะอาจทำให้ หนังสือเสียหายหรือเลอะเทอะได้ ๕. ไม่ฉีก หรือตัดหนังสือ เพราะจะทำให้ข้อความบางตอนขาดหายไปไม่สมบูรณ์ ๖. เมื่ออ่านหนังสือยังไม่จบ หรือจำเป็นต้องหยุดพักการอ่าน ควรคั่นหน้าด้วยวัสดุที่มีความบาง ๗. ไม่ควรให้หนังสือเปียกน้ำ เพราะจะทำให้หนังสือชื้น ขึ้นราได้ และเมื่อกระดาษแห้งกระดาษจะ พองตัว ทำให้รูปทรงของหนังสือเปลี่ยนไป ๘. ไม่ควรโยนหนังสือ เพราะอาจทำให้หนังสือเสียหาย ชำรุด ๙. ไม่ใช้หนังสือผิดวัตถุประสงค์ เช่น บังแดด บังฝน หนุนศีรษะ หรือใช้เป็นที่รองเขียนหนังสือ จะทำให้หนังสือเป็นรอย และชำรุดเสียหายได้
50 คำแนะนำการซ่อมหนังสือ การซ่อมหนังสือ เป็นลักษณะหนึ่งของการอนุรักษ์หนังสือด้วยการปรับแก้ไขสภาพหนังสือที่ชำรุด เสียหายให้กลับคืนสู่สภาพดีดังเดิม จนสามารถนำออกบริการได้อีกครั้งหนึ่ง การซ่อมหนังสือ แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ ๑. การซ่อมชั่วคราวหรือซ่อมเล็กน้อย เป็นการซ่อมที่ใช้เวลาไม่มากนัก เนื่องจากหนังสือชำรุดเพียง เล็กน้อย เช่น หนังสือขาดเฉพาะที่ ฉีกขาดบางหน้า ปกและสันหลุด ฯลฯ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้าเพื่อไม่ให้หนังสือเสียหายเพิ่มมากขึ้นอีก ผู้ใช้สามารถซ่อมเองได้ ๒. การซ่อมถาวรหรือซ่อมใหญ่ เป็นการซ่อมหนังสือที่ชำรุดค่อนข้างมาก ต้องใช้เวลาในการซ่อม นานสถานศึกษาอาจจะซ่อมเอง หรือถ้าชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถซ่อมเองได้ จำเป็นต้องส่งร้านรับจ้าง ซ่อมสถานศึกษาต้องพิจารณาดำเนินการ ซึ่งควรทำในช่วงปิดภาคการศึกษา ที่มา ผศ.เพชรรัตน์ บริสุทธิ์. (๒๕๖๐) การระวังรักษาหนังสือ. สืบค้นเมื่อ ๑๖ กุมภาพันธ์๒๕๖๐, จาก http://human.tru.ac.th/elearning/tec_ban/tinfo๐๓.html นรา พิมพ์พันธ์. (๒๕๖๐). การซ่อมและบำรุงรักษาหนังสือ. สืบค้นเมื่อ ๑๖ กุมภาพันธ์๒๕๖๐, จาก http://www.ubu.ac.th/web/fils_up/๕๕/f๒๐๑๔๐๘๒๖๑๖๐๔๕๓๓๑.pdf Library of Congress. (๒๐๑๗). Care, Handling, and Storage of Books. Retrieved February ๑๖,๒๐๑๗ from http://loc.gov./preservation/care/books.html
51 คณะผู้จัดทำคู่มือนักเรียน ๑. นางภารดี ผางสง่า ผู้อำนวยการโรงเรียน ๒. นางสาวจุฑามาศ ธุวังควัฒน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ๓. นายทวี เนื่องอาชา รองผู้อำนวยการโรงเรียน ๔. นางสาวชนนิกานต์ สงวนไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ๕. นางนิทรา ฉิ่นไพศาล ที่ปรึกษา ๖. นางสาวชัญญณัส อธิศักดิ์โสภา ครู ๗. นางสาวพิมพ์นภา รอดทอง ครู ๘. นางสาวกัญญาวีร์ เทียนขุน ครู ๙. นางสาวสุภาพร จิ๋วสำอางค์ เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑๐. นางสาวปรียาภรณ์ สมบูรณ์ชัยสกุล เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑๑. นายอโณชา สายศร เจ้าหน้าที่ถ่ายเอกสาร/จัดทำรูปเล่ม
52