The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ปี 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ปี 2566

คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ปี 2566

คำนำ โรงเรียนวัดอมรินทราราม เป็นโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๓๔ และได้ผ่านการติดตามประเมินการดำรงรักษาสภาพสถานศึกษา ที่ได้รับรางวัล พระราชทาน ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และโรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ซึ่งมีผู้บริหารคณะครู และผู้เกี่ยวข้อง ทุกฝ่าย ได้ร่วมมือในการบริหารจัดการ และพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของ โรงเรียนให้ดำรงอยู่ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน และประชาชนทั่วไป มีลูกศิษย์ที่ ประสบความสำเร็จทางการศึกษาและประกอบอาชีพที่มีชื่อเสียงมากมาย นับเป็นความภาคภูมิใจของครู และบุคลากรในโรงเรียน ทั้งนี้เกิดจากการที่โรงเรียนได้รับความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ จากผู้ปกครอง ในทุก ๆ ด้าน ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การให้ข้อเสนอแนะข้อคิดเห็น และให้ความร่วมมือ ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น รวมทั้งการดูแล เอาใจใส่บุตรหลานอย่างดียิ่ง คู่มือนักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนวัดอมรินทรารามฉบับนี้ ได้รวบรวมข้อมูลเรื่องราว และระเบียบข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่นักเรียนและผู้ปกครองควรทราบ เพื่อยึดถือการปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทาง เดียวกันใช้ในการติดต่อ ประสานงานและอื่น ๆ ซึ่งทางโรงเรียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนและผู้ปกครอง จะได้นำแนวทางไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่า ขอขอบคุณคณะกรรมการทุกฝ่ายที่ได้รายงานข้อมูล และจัดทำคู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงด้วยดี (นางภารดี ผางสง่า) ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทราราม


สารบัญ คำนำ หน้า ส.อ.ร. ก แผนที่ตั้งโรงเรียนวัดอมรินทราราม ข Smartcard One Stop Service ค ประวัติโรงเรียนวัดอมรินทราราม ๑ รายชื่อผู้บริหารโรงเรียนวัดอมรินทราราม ๗ สัญลักษณ์ของโรงเรียน ๘ วิสัยทัศน์ หลักการ ๙ กลยุทธ์การจัดการศึกษา ๑๐ คณะผู้บริหารโรงเรียนวัดอมรินทราราม ๑๑ โครงสร้างการบริหารงานและการแบ่งส่วนราชการ ๑๒ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดอมรินทราราม คณะกรรมการสมาคมครูและผู้ปกครองโรงเรียน ๑๓ ๑๔ ผู้ปกครองกับโรงเรียน ๑๕ กำหนดการเปิดรับสมัครนักเรียน, เปิด - ปิด ภาคเรียน, การมาโรงเรียนและกลับบ้าน ๑๖ ระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของนักเรียน ๑๗ ระเบียบการปฏิบัติตนของนักเรียนโรงเรียนวัดอมรินทราราม ๓๒ การปฏิบัติกิจกรรมประจำวันของนักเรียน ๓๓ การปฏิบัติตนในห้องเรียนม, ใช้อาคารเรียน, การรักษาความสะอาดในห้องเรียนและบริเวณโรงเรียน ๓๔ ระเบียบปฏิบัติทั่วไป, การรับประทานอาหารของนักเรียน ๓๕ การใช้โทรศัพท์ของนักเรียน ๓๖ ระเบียบการรับ – ส่ง นักเรียนของผู้ปกครอง ๓๗ ระเบียบว่าด้วยการลา, ระเบียบว่าด้วยการทำความเคารพของนักเรียน ๓๘ ความประพฤติที่ไม่สมควรแก่การเป็นนักเรียน ๓๙ ภาระหน้าที่ของผู้ปกครองและขอความร่วมมือ ๓๙ ที่มาของชื่ออาคารเรียน ๔๒ ภาคผนวก เพลงมารช์อมรินทร์ ระเบียบสวดมนต์ไหว้พระ


สุขภาพกาย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ริเริ่ม รู้รอบ สุขภาพจิต โอบอ้อมอารี รู้ลึก รู้คิด อ่อนน้อม รู้ทัน ส.อ.ร. ส. อ. ร. เน้นคุณภาพ เน้นคนดี เน้นคนเก่ง ครู ส.อ.ร. ๑. รักโรงเรียนเหมือนบ้าน ๒. รักเพื่อนร่วมงานเหมือนพี่น้อง ๓. รักผู้ปกครองเหมือนญาติสนิท ๔. รักลูกศิษย์เหมือนลูกตนเอง จุดเน้น ส.อ.ร. ก


แผนที่ตั้งโรงเรียนวัดอมรินทราราม ตั้งอยู่เลขที่ ๕๖๖/๑ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร E – mail [email protected] Website = http://www.amarin.ac.th โทรศัพท์/ โทรสาร ๐ ๒๔๑๘ ๐๙๒๗, ๐๒๔๑๑ ๓๐๑๗ โรงเรียนวัดอมรินทราราม ๑. วัดอมรินทราราม เนื้อที่จำนวน ๔ ไร่ ๓ งาน ๒. โรงเรียนวัดอมรินทราราม อาคารเรียน ๓ หลัง ๓. กองกำกับการสืบสวนธนบุรี ๔. โรงพยาบาลศิริราช ข


Smartcard One Stop Service ระบบ Myhost 3 ระบบ ได้แก่ 1. โปรแกรม Amarin Food Court ผ่านบัตรนักเรียนแทนเงินสด คูปองชิพ 2. โปรแกรม Amarin Mini Mart ซื้อขายผ่านบัตร 3. โปรแกรมตรวจการเข้าออกของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ค


1 ประวัติโรงเรียนวัดอมรินทราราม โรงเรียนวัดอมรินทราราม ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๓ ขวบ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และห้องเรียน MEP (Mini English Program) ตั้งอยู่ เลขที่ ๕๖๖/๑ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์, โทรสาร ๐ – ๒๔๑๘ - ๐๙๒๗, ๐ – ๒๔๑๑ - ๓๐๑๗ มีประวัติความเป็นมาพอสังเขปดังนี้ โรงเรียนวัดอมรินทราราม สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าก่อตั้งมาแต่เมื่อใด เปิดทำการสอนตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ (ม.๑) ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๘ (ม.๘) มีชื่อเสียงทั้งด้านวิชาการและด้านการกีฬา ในยุคสมัยนั้น ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงเรียนวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นโรงเรียนสังกัดเดียวกันซึ่งตั้งอยู่ที่ วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ได้เปลี่ยนจากโรงเรียนชายไปเป็นโรงเรียนหญิงชื่อ “โรงเรียนสตรี วัดระฆัง” จึงโอนนักเรียนชายทั้งหมดมาเรียนที่โรงเรียนวัดอมรินทรารามและได้ชื่อใหม่ว่า “โรงเรียน อมรินทร์โฆสิต” และเปิดการสอนต่อมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น สถานที่ตั้ง โรงเรียนอยู่ใกล้สถานีรถไฟธนบุรีอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ อาคารเรียนถูกลูกระเบิดทำลายและไฟไหม้หมด เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง นักเรียนโรงเรียนอมรินทร์โฆสิตต้องไปอาศัยเรียนที่โรงเรียนทวีธาภิเศก ซึ่งภายหลังได้มีการรวมตัวกันก่อตั้ง “สมาคมศิษย์เก่าทวีธาภิเศกอมรินทรโฆสิต” ขึ้น เพราะสงครามโลก ครั้งที่ ๒ โรงเรียนวัดอมรินทรารามยุคเริ่มต้นจึงถูกยุบเลิกไปโดยปริยาย ต่อมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๓ กระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้ขยายการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา เป็นประถมศึกษาตอนต้น ๔ ปี และประถมศึกษาตอนปลาย ๓ ปี ฯพณฯ ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นได้ติดต่อกับพระธรรมรัตนากร (ต่อมาคือสมเด็จพระวันรัต) เจ้าอาวาส วัดสังเวชวิทยาราม ซึ่งรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอมรินทราราม และพระครูปลัดรัตนวัตรซึ่งได้ รับมอบหมายให้ดูแลวัดอมรินทราราม (ต่อมาคือพระสุนทรวิหารกิจ เจ้าอาวาสวัดอมรินทราราม) เพื่อขอ จัดตั้งโรงเรียนขึ้นใหม่ พระคุณเจ้าทั้งสองรูปได้เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษาของชาติ จึง ได้มอบที่ดินว่างเปล่าของวัดเนื้อที่จำนวน ๔ ไร่ ๓ งาน ให้กรมสามัญศึกษาก่อตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อรับ สถานการณ์การขาดแคลนสถานที่เรียนของนักเรียนในสมัยนั้น อาคารเรียนหลังแรกเป็นตึก ๓ ชั้น ๑๒ ห้องเรียน การก่อสร้างอาคารเรียนแล้วเสร็จเมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๔ ตั้งชื่อว่า “โรงเรียนวัดอมรินทราราม” รับนักเรียนเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๕๗๓ คน เปิดเรียนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๔ มีครูทำการสอนจำนวน ๒๘ คน และได้ทำพิธีเปิดป้ายโรงเรียนเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยมีฯพณฯ ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ ๒ เป็นตึก ๓ ชั้น ๙ ห้องเรียน ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร เปิดเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียน ๑,๐๒๔ คน ครู ๔๕ คน 1


2 ปีพ.ศ. ๒๕๐๖ ก่อสร้างอาคารเรียนอีกหลังหนึ่งเป็นหลังที่ ๓ เป็นตึก ๓ ชั้น ๑๖ ห้องเรียนต่อจาก อาคารเรียนหลังที่ ๒ เปิดเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ มีนักเรียน ๑,๓๘๓ คน ครู ๖๖ คน และมีนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ จบหลักสูตรประถมศึกษารุ่นแรกจำนวน ๕๑๘ คน ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ ๔ เป็นตึก ๓ ชั้น ๑๑ ห้องเรียน ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้งบประมาณก่อสร้างรั้วคอนกรีตด้านทิศใต้ สนามคอนกรีตทางระบายน้ำ และครัวถาวร ในปีนี้มีนักเรียนทั้งหมดตั้งแต่ ป.๕ - ป.๗ รวม ๑,๔๔๘ คน ครู ๗๔ คน ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ มีการโอนโรงเรียนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดธนบุรี กระทรวงมหาดไทย มีโรงเรียนฝั่งธนบุรีหลายโรงเรียนที่กรมสามัญศึกษาขอสงวนไว้เพื่อเป็นโรงเรียนสำหรับทดลองวิจัย ด้านการเรียนการสอน นอกจากโรงเรียนวัดอมรินทรารามแล้วยังมีโรงเรียนอื่นๆ เช่น โรงเรียนโฆสิตสโมสร โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก โรงเรียนวัดหงส์รัตนาราม เป็นต้น และมีโรงเรียนอื่นๆ ในต่างจังหวัดอีกรวม เรียกว่า โรงเรียน “สามัญ” มีอักษร “ส” ปักนำชื่อโรงเรียน เช่น ส.อ.ร. , ส.ฆ.ส. ส.ช.ก. เป็นต้น ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ ๕ เป็นตึก ๓ ชั้น ๖ ห้องเรียน เชื่อมอาคารเรียนหลังเก่า ทางด้านทิศเหนือ ชั้นล่างเป็นห้องประชุม ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๐๔ เป็นต้นมาโรงเรียนวัดอมรินทรารามได้พัฒนาโรงเรียน ทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอนเป็นที่ไว้วางใจและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาภาคบังคับเป็นจาก ๔ ปี เป็น ๖ ปี ดังนั้นในปีการศึกษา ๒๕๑๘ โรงเรียนวัดอมรินทรารามจึงเปิดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้โรงเรียนวัดอมรินทรารามเป็น โรงเรียนทดลองหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๒๑ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒ ห้องเรียน และได้ทำการทดลองต่อเนื่องจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ โรงเรียนได้เปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๔ ห้องเรียน ตามคำสั่ง กระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ ๐๘๐๖/๑๑๖๗๒ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๒๐ ที่จะปรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดส่วนกลางเป็นโรงเรียนมัธยมแต่ได้ยุบเลิกในปีการศึกษา ๒๕๒๑ ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการเช่นกัน ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานมีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติซึ่งเท่ากับเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนประถมศึกษา ส่วนกลาง ทั้งหมด ซึ่งมีโรงเรียนวัดอมรินทรารามด้วย จึงย้ายมาสังกัด สำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ มีการแบ่งโรงเรียนประถมศึกษา ส่วนกลางเป็น ๕ กลุ่มโรงเรียน คือ กลุ่มโรงเรียนทวาราวดีกลุ่มโรงเรียนอโยธยา กลุ่มโรงเรียนสุโขทัย กลุ่มโรงเรียนกรุงธน และกลุ่มโรงเรียนรัตนโกสินทร์ สำหรับโรงเรียนวัดอมรินทราราม สังกัดกลุ่มโรงเรียนทวาราวดี ซึ่งมีโรงเรียนในกลุ่ม ๗ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนพญาไท โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนวัดโบสถ์ โรงเรียนวัดโสมนัส โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก โรงเรียนโฆสิตสโมสร และโรงเรียนวัดอมรินทราราม 2


3 ปีพ.ศ. ๒๕๓๔ โรงเรียนวัดอมรินทราราม ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนพระราชทานขนาดใหญ่ ในระดับประถมศึกษา จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยผู้อำนวยการโรงเรียน นายชลิต พุทธรักษา ได้ เข้ ารั บ พ ร ะ ร าช ท าน ร างวัลโล่ แ ละ เกีย รติ บั ต ร พ ร้อ ม ทั้ งรับ พ ระ บ ร ม รา โช ว าท จา ก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี มี ดร.ก่อ สวัสดิพานิช กราบทูลถวายรายงาน เมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เปิดรับนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ ๑ จำนวน ๑ ห้องเรียน นักเรียน ๓๕ คน และได้ขยายเป็นอนุบาลปีที่ ๒ ในปีต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ โรงเรียนได้ลดจำนวนห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จากฐานเดิม ๖ ห้อง มาเป็น ๕ ห้องเรียน เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายลดจำนวนข้าราชการ ข้าราชการครูที่เกษียณอายุราชการ และที่ขอเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด จะถูกตัดอัตราทำให้จำนวนข้าราชการครูลดลงไม่สามารถ จัดการเรียนการสอนตามฐานเดิมได้ เมื่อถึงปีการศึกษา ๒๕๔๙ ป.๑ – ๖ จะมีสายชั้นละ ๕ ห้องเรียน ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ ในวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นผลให้โรงเรียนวัดอมรินทราราม โอนมาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นการรวมการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษามาอยู่ในสังกัดเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ปีการศึกษา ๒๕๔๘ โรงเรียนวัดอมรินทราราม เปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑ – ๒ ชั้นละ ๒ ห้องเรียนรวม ๔ ห้องเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มี ๖ ห้องเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๒ – ๖ ชั้นละ ๕ ห้องเรียน รวม ๓๑ ห้องเรียน รวมห้องเรียนทั้งสิ้น ๓๕ ห้องเรียน จำนวนนักเรียน ๑,๔๐๖ คน ข้าราชการครู จำนวน ๕๗ คน ลูกจ้างประจำ จำนวน ๗ คน ครูอัตราจ้าง (งบประมาณ) จำนวน ๑ คน ครูจ้างสอน (งบสมาคมฯ) จำนวน ๖ คน ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน ๑๒ คน โรงเรียนได้พัฒนาการเรียนการสอน ปรับปรุงอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องพิเศษต่าง ๆ ให้ทันสมัย เช่น ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ห้องเรียนอนุบาล ได้ปรับเป็นห้องปรับอากาศ เพื่อเอื้อต่อการเรียนการสอนและป้องกันมลพิษ และในปีนี้โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นโรงเรียนสีฟ้าต้นแบบยอดเยี่ยมที่จัดการเรียนการสอนเรื่อง“การรักษาสิทธิ ประโยชน์ของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการ” ปีการศึกษา ๒๕๔๙ โรงเรียนวัดอมรินทราราม เปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑ มีจำนวน ๒ ห้องเรียน ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ มีจำนวน ๒ ห้องเรียน รวม ๔ ห้องเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มี ๖ ห้องเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ – ๖ ชั้นละ ๕ ห้องเรียน รวม ๓๑ ห้องเรียน รวมห้องเรียน ทั้งสิ้น ๓๕ ห้องเรียน จำนวนนักเรียน ๑,๓๓๑ คน ข้าราชการครู จำนวน ๕๕ คน ลูกจ้างประจำ จำนวน ๗ คน ครูอัตราจ้าง (งบประมาณ) จำนวน ๒ คน ครูจ้างสอน (งบสมาคมฯ) จำนวน ๗ คน ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน ๑๑ คน 3


4 ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โรงเรียนวัดอมรินทราราม เปิดชั้นอนุบาลปีที่ ๑ จำนวน ๒ ห้อง อนุบาลปีที่ ๒ จำนวน ๓ ห้องเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ จำนวน ๓๑ ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น ๓๖ ห้องเรียน เพิ่มชั้นจากเดิม ๑ ห้องเรียน จำนวนนักเรียน ๑,๓๓๘ คน ข้าราชการครูจำนวน ๕๓ คน ลูกจ้างประจำ ๗ คน ครูอัตราจ้าง ๒ คน ครูจ้างสอน ๑๐ คน ลูกจ้างชั่วคราว ๑๒ คน โรงเรียนได้พัฒนาการเรียนการสอน ปรับปรุงดูแลอาคารเรียน สร้างห้องน้ำนักเรียน ๓ ชั้น ในอาคารด้านทิศเหนือ ทาสีอาคารเรียนส่วนที่ยังไม่เรียบร้อยจนเสร็จสมบูรณ์ ปรับปรุงปลูกต้นไม้รอบ โรงเรียน สวนหย่อมหน้าโรงเรียน จัดหาเครื่องเล่นของนักเรียนชั้นอนุบาล จัดทำห้องศูนย์เด็กเล็กบริเวณติด ห้องสมุด ปรับปรุงสนามเด็กเล่น เปลี่ยนเครื่องเล่นใหม่ให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน และไม่ก่อให้เกิด อันตราย ปีการศึกษา ๒๕๕๑ โรงเรียนได้ปรับปรุงห้องประชุมใหญ่โดยกรุผนังห้องทั้งหมด และขยาย ด้านหลังจัดทำเป็นห้องควบคุมเครื่องเสียงและเก็บโต๊ะ เก้าอี้ เปลี่ยนฝ้าเพดาน เดินสายไฟ ติดตั้งแอร์ใหม่ ปรับปรุงเวทีหน้าห้องประชุมทะลุประตูเชื่อมต่อห้องประชุมเล็ก ด้านหลังเวทีให้ผ่านเข้าออกได้และ ปรับปรุงห้องประชุมเล็กข้างห้องสมุดเป็นแบบเดียวกัน ปีการศึกษา ๒๕๕๒ โรงเรียนได้ปรับปรุงอาคารเรียน ทาสีอาคารเรียน ภายในห้องเรียน ขัดพื้น ห้องเรียน ปรับสภาพภูมิทัศน์รอบๆ บริเวณโรงเรียน จัดสวนหย่อมตามจุดต่างๆ รอบๆ บริเวณภายใน โรงเรียน ปรับปรุงพื้นห้องประชุมใหญ่ ปรับปรุงห้องพิเศษต่าง ๆ เช่น ห้องนาฏศิลป์, ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องซาวด์แล็ป, ห้องแนะแนว ปีการศึกษา ๒๕๕๓ โรงเรียนวัดอมรินทราราม ผ่านการติดตามประเมินการดำรงรักษาสภาพ สถาน ศึกษ าที่ได้รับ รางวัลพ ระราชทาน จากกระทรวงศึกษ าธิการ ประจำปี ๒ ๕ ๕ ๓ และ โรงเรียนวัดอมรินทราราม มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงาน เป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งย้ายมาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓ (เดิม) โรงเรียนวัดอมรินทรารามก่อตั้งครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นโรงเรียนที่มีบุคลากรและนักเรียนที่มีคุณภาพ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตร Mini English Program (MEP) เริ่มชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๑ ห้องเรียน และในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เปิดชั้นอนุบาล ๒ จำนวน ๑ ห้องเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๗ เปิดรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ๓ ขวบ จำนวน ๒ ห้องเรียน และอนุบาล ชั้นปีที่ ๑ หลักสูตร Mini English Program (MEP) จำนวน ๑ ห้องเรียน โดยเปิดสอนชั้นอนุบาล ๓ ขวบ จำนวน ๓ ห้องเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ จำนวน ๓ ห้องเรียน หลักสูตร MEP ชั้น อนุบ าลที่ ๒ จำน วน ๑ ห้ องเรียน อนุ บ าลปี ที่ ๒ จำน วน ๔ ห้ องเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ จำนวน ๓๐ ห้องเรียน หลักสูตร MEP ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ อย่างละ ๑ ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น ๔๑ ห้องเรียน จำนวนนักเรียน ๑,๔๐๐ คน ข้าราชการครู จำนวน ๕๘ คน ลูกจ้างประจำ ๔ คน ครูอัตราจ้าง ๓๑ คน ลูกจ้างชั่วคราว ๒๖ คน 4


5 ปีการศึกษา ๒๕๖๐ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีการประกาศให้รับนักเรียน ตั้งแต่อายุ ๓ ปี และให้ปรับเรียกอนุบาล ๓ เป็นชั้นอนุบาล ๑ และอายุ๔ ปี เป็นอนุบาล ๒ อายุ ๕ ปี เป็นอนุบาล ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โรงเรียนวัดอมรินทราราม ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๐ ลำดับที่ ๑๒๗ จาก ๒๑๓ โรงเรียน ตามประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน เรื่อง รายชื่อโรงเรียนในโครงการยกระดับคุณภาพ สู่มาตรฐานสากลที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Office of the Basic Education Commission Quality Awards : OBECQA) ปี๒๕๕๙- ๒๕๖๐ ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ โรงเรียนได้รับโล่รางวัลเป็นโรงเรียนต้นแบบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม “ระดับ ๓ ดาว” โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของเขตตรวจราชการส่วนกลางและเขตตรวจราชการ ที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ปีการศึกษ า ๒๕ ๖ ๒ โรงเรียน วัดอมรินทรารามได้รับการประเมินภายน อกรอบ ๔ (พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๓) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ. เมื่อวันที่ ๒๑ - ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ มีผลการประเมินระดับการศึกษาปฐมวัย ด้านคุณภาพ ของเด็ก ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ทั้ง ๓ ด้าน ระดับคุณภาพดีมาก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับดีมาก ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับคุณภาพดี และโรงเรียนได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังใหม่ ๕ ชั้นใต้ถุนสูง เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ประธานในการวางศิลาฤกษ์ฝ่ายสงฆ์คือ พระภาวนาวิสุทธิโสภณ เจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม และพระสุนทรกิจจาภิวัฒน์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดอมรินทราราม วรวิหาร เจ้าคณะแขวงบ้านช่างหล่อ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ในภาคเรียนที่ ๒ โรงเรียนวัดอมรินทรารามได้รับการบรรจุแต่งตั้ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนเพิ่มขึ้นอีก ๒ ตำแหน่ง ทำหน้าที่รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารทั่วไปและ กลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนวัดอมรินทรารามได้ย้ายนักเรียน มาเรียนที่อาคารอมรินทรามาตย์ตึก ๕ ชั้น แล้วรื้อถอนอาคารเรียนหลังเก่าที่เป็นตึก ๓ ชั้น ตามแนวถนนอรุณอมรินทร์ ปีกตึกด้านทิศเหนือและทิศใต้ ที่เกินออกไป ถูกรื้อถอนเพื่อคืนพื้นที่ให้กับกรุงเทพมหานครในการก่อสร้างถนนโครงการแก้ปัญหาจราจร ตามพระราชดำริฯ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนวัดอมรินทรารามได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID -19) โรงเรียนวัดอมรินทรารามได้จัดการเรียนการสอนรูปแบบ On Line 100% ทั้งภาค เรียนที่ ๑ และภาคเรียนที่ ๒ ตลอดปีการศึกษา ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อป้องกันการติด เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) ของนักเรียน 5


6 ปัจจุบันเปิดสอนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ จำนวน ๓ ห้องเรียน อนุบาลปีที่ ๒ จำนวน ๔ ห้องเรียน อนุบาลปีที่ ๓ จำนวน ๔ ห้องเรียน ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ จำนวน ๓๐ ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น ๔๑ ห้องเรียน จำนวนนักเรียน ๑,๓๖๔ คน นักเรียนชาย ๗๐๗ คน และนักเรียนหญิง ๖๕๗ คน ข้าราชการครู จำนวน ๕๙ คน ลูกจ้างประจำ ๓ คน พนักงานราชการ ๒ คน ครูอัตราจ้าง ๒๒ คน บุคลากรสนับสนุน ด้านจัดการศึกษา ๓๔ คน 6


7 รายชื่อผู้บริหารโรงเรียนวัดอมรินทราราม ๑. นางสาวพัฒน ภาสบุตร อบ.คบ.,M.S. in ED. (๑ มีนาคม ๒๕๐๔ – ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๙) ๒. นางสาวทองคำ ผดุงสุข กศ.บ., MA.Adult Ed. (๒๖ กุมภาพันธ์๒๕๑๙ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๐) ๓. นายธงชัย คงธนะ กส.บ. (๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๒) ๔. นายชลิต พุทธรักษา กศ.บ. ประกาศนียบัตรวิชาการประถมศึกษา คม.โสตทัศนศึกษา (๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ – ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๗) ๕. นายชลอ มงคลการุณย์ กศ.บ.,คม. (บริหารการศึกษา) (๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๗ – ๑๒ กุมภาพันธ์๒๕๔๐) ๖. นายคธาธร งามมุข กศ.บ. ศษ.ม (การศึกษาผู้ใหญ่) (๑๘ กุมภาพันธ์๒๕๔๐ – ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕) ๗. นายบุญธรรม แก้วสาร พ.ม., กศ.บ , กศ.ม. (บริหารการศึกษา) (๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๕ – ๕ มกราคม ๒๕๔๙) ๘. นายปรีชา คกมิ พ.ม. , คม. (บริหารการศึกษา) (๖ มกราคม ๒๕๔๙ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑) ๙. ดร.ลมัยพร แหล่งหล้า ปร.ด. (Ph.D.) (บริหารการศึกษา) (๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑) ๑๐. ดร.ภารดี ผางสง่า ปร.ด. (Ph.D.) (บริหารการศึกษา) (๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ – ปัจจุบัน) 7


8 สัญลักษณ์ของโรงเรียน มีอักษร ส.อ.ร. อยู่ภายใต้มงกุฎ และมีรัศมีอยู่เบื้องบน ส่วนล่างของมงกุฎ มีชื่อเต็มของโรงเรียนปรากฏอยู่ ๑. อักษรย่อ “ส.อ.ร.” ๒. ตราประจำโรงเรียน ๓. สีประจำโรงเรียน “เขียว - เหลือง” ๔. คำขวัญโรงเรียน “เรียนดีประพฤติดี สุขภาพดี” ๕. ปรัชญาโรงเรียน “คิดดี พูดดี ทำดี” ๖. อัตลักษณ์โรงเรียน “กายอ่อนน้อม วาจาอ่อนหวาน จิตใจอ่อนโยน” ๗. พระพุทธรูปประจำโรงเรียน “พระพุทธอมรินทร์วิจิตร์รัตนาคำ” 8


9 วิสัยทัศน์ โรงเรียนวัดอมรินทรารามจัดการศึกษาพัฒนาให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัย มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามมาตรฐานสากล รู้เท่าทันเทคโนโลยีบนพื้นฐานคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นไทย หลักการ หลักสูตรโรงเรียนวัดอมรินทรารามมีหลักการที่สำคัญดังนี้ ๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ๒. เป็นหลักสูตรที่มีเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ว่าด้วยการ เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตาม หลักการจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ๓. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนตามเป้าหมาย/จุดเน้นคุณภาพของผู้เรียนตามกรอบ หลักสูตรระดับท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ เป็นคนดี มีทักษะการคิด เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อ่านออก เขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง และใช้ เทคโนโลยีเป็น ๔. เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของโรงเรียน ชุมชน สังคมและท้องถิ่น ซึ่งเน้นการมี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมการสืบสานประเพณีมีจิตสำนึกในความเป็นไทย มีใจรักษ์ สิ่งแวดล้อม น้อมตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๕. เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุวิสัยทัศน์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ 9


10 กลยุทธ์การจัดการศึกษา กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา ๑. พัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและอาเซียน ๒. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และความเป็นไทย ๓. พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพยึดหลักการมีส่วนร่วม ๔. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีคุณภาพตามสมรรถนะตรงตามสายงาน และมีวัฒนธรรมการทำงาน ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ๕. พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ กลยุทธ์ระดับแผนงาน ๑. พัฒนาหลักสูตรตามแนวปฏิรูปการศึกษา มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและอาเซียน ๒. สนับสนุนกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามหลักองค์ ๔ แห่งการเรียนรู้ ๓. ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นไทย มีอัตลักษณ์และคุณลักษณะอังพึงประสงค์ ๔. ปลูกฝังค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ ๕. ส่งเสริมให้นักเรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต ๖. ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน โดยใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัย ๗. พัฒนาระบบบริหารด้วยระบบคุณภาพโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม ๘. พัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียนให้สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน ๙. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ๑๐. สนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ เทคโนโลยีและการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร ๑๑. สร้างขวัญกำลังใจกับครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา ๑๒. ส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนในด้านทักษะทางวิชาการ ๑๓. ส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน 10


11 คณะผู้บริหารโรงเรียนวัดอมรินทราราม นายถาวร พบพืช Mr.Taworn Phobphurt ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน นางพรใจ ด้วยตั้งใจ Mrs.Pornjai Duaytangjai ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน นางสาวชัญญณัส อธิศักดิ์โสภา Miss Chanyanat Aitsaksopa ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน นางสาวจุฑามาศ ธุวังควัฒน์ Miss.Jutamas Thuvungkawath รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทราราม ดร.ภารดี ผางสง่า Dr.Pharadee Phangsanga ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทราราม นางสาวชนนิกานต์ สงวนไพบูลย์ Miss.Chonnikan Sanguanpaiboon รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทราราม นายทวี เนื่องอาชา Mr.Tawee Naungarcha รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทราราม ดร.ลมัยพร แหล่งหล้า Dr.Lamaiporn Langla ที่ปรึกษา นางนิทรา ฉิ่นไพศาล Mrs.Nittra Chinpaisan ที่ปรึกษา 11


1


12 2


13 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดอมรินทราราม ๑. นางวันกมล ศิระยานนท์ ประธานกรรมการ ๒. นายสถาพร รัตนสกล ผู้ทรงคุณวุฒิ ๓. นางสาวชมกมล หาพันนา ผู้ทรงคุณวุฒิ ๔. นางสาวรัสรินทร์ รวงผึ้งวีระโชติ ผู้ทรงคุณวุฒิ ๕. นางศุภกร อ่วมอุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ ๖. นายพิรัชย์ชัย รัชตะวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิ ๗. นายจุมพล เอี่ยมขันทอง ผู้ทรงคุณวุฒิ ๘. นางสาวชัญญณัส อธิศักดิ์โสภา ผู้แทนครู ๙. นายสองนคร เพชรเย็น ผู้แทนศิษย์เก่า ๑๐. นางสาวอชิรภรณ์ พัชนะพานิช ผู้แทนผู้ปกครอง ๑๑. นายปริญญา รุ่งเรือง ผู้แทนองค์กรชุมชน ๑๒. นายอนุชิต เพลินพนา ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑๓. พระสุนทรกิจจาภิวัฒน์ ผู้แทนองค์กรศาสนา ๑๔. พระพิศาลพัฒนกิจ ผู้แทนองค์กรศาสนา ๑๕. นางภารดี ผางสง่า กรรมการและเลขานุการ 13


14 คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนวัดอมรินทราราม ๑. นายสุธน ศรียะพันธุ์ นายกสมาคมฯ ๒. เรือตรีทรงชัย เกตุบาง อุปนายก คนที่ ๑ ๓. นางจิตรดา นพคุณ อุปนายก คนที่ ๒ ๔. นายเอกชัย พงษ์พิทักษ์วิเศษ อุปนายก คนที่ ๓ ๕. นางอัจฉรา เอี่ยมบำรุง กรรมการและนายทะเบียน ๖. นางพรใจ ด้วยตั้งใจ กรรมการและบรรณารักษ์ ๗. นางรัตนาพร เทียมปาน กรรมการและปฏิคม ๘. นางดารารัตน์ ศรลัมพ์ กรรมการและประชาสัมพันธ์ ๙. นางสาวชัญญณัส อธิศักดิ์โสภา กรรมการและเหรัญญิก ๑๐. นางภารดี ผางสง่า กรรมการและเลขานุการ ๑๑. นางสาวกานต์รวี ไชยชมภู กรรมการ ๑๒. นางพลิมา บุญพรหม กรรมการ ๑๓. นางลมัยพร แหล่งหล้า กรรมการ ๑๔. นางฐิติมา ประณิธิพงศ์ กรรมการ ๑๕. นางนิทรา ฉิ่นไพศาล กรรมการ ๑๖. นางรำไพ คุ้มแก้ว กรรมการ ๑๗. นายใจศรี ชำนาญคง กรรมการ ๑๘. นางจรัญญา สุวรรณเตมีย์ กรรมการ ๑๙. จ่าโทณรงค์ ตะแก้ว กรรมการ ๒๐. นางสาวฐิติมา โทนมณี กรรมการ ๒๑. นางอารยา เวสารัชกร กรรมการ ๒๒. นางเยาวลักษณ์ ชีวจิตต์วรกุล กรรมการ ๒๓. นายปรีดา สุทธิวิวัฒน์ กรรมการ 14


15 ผู้ปกครองกับโรงเรียน ในกรณีที่ผู้ปกครองมีความประสงค์ติดต่อกับโรงเรียนในเรื่องต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ดังนี้ เรื่องที่ต้องการติดต่อ เจ้าหน้าที่ สถานที่ติดต่อ ๑. การชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ครูประจำชั้น/ การเงิน ห้องเรียน/ ห้องบริหารงบประมาณ ๒. การชำระค่าใช้จ่ายของสมาคมผู้ปกครอง และครูโรงเรียนวัดอมรินทราราม ครูประจำชั้น/ เหรัญญิก ห้องเรียน/ ห้องบริหารวิชาการ ๓. ขอรับเอกสารแสดงผลการเรียน งานทะเบียนนักเรียน ห้องบริหารวิชาการ ๔. ขอรับเอกสารหนังสือรับรอง งานทะเบียนนักเรียน ห้องสำนักงาน ธุรการ ๕. การขอย้ายออกจากโรงเรียน งานทะเบียนนักเรียน ห้องสำนักงาน ธุรการ ๖. เปลี่ยนชื่อ – สกุล ทั้งของนักเรียนและบิดามารดา งานทะเบียนนักเรียน ห้องสำนักงาน ธุรการ ๗. เปลี่ยนยศบิดา มารดา (ในกรณีที่ บิดา มารดาเป็นทหารตำรวจ) งานทะเบียนนักเรียน ห้องสำนักงาน ธุรการ ๘. การแจ้ง – ขอรับ ของหาย งานธุรการ ห้องพยาบาล ๙. ปัญหาการขาดเรียน ความประพฤตินักเรียน งานธุรการ ห้องสำนักงาน ธุรการ ๑๐. ขออนุญาตออกนอกสถานที่ (ครู– นักเรียน) งานธุรการ ห้องสำนักงาน ธุรการ ๑๑. ขอรับทุนการศึกษา งานธุรการ ห้องสำนักงาน ธุรการ ๑๒. การประกันอุบัติเหตุ งานธุรการ ห้องพยาบาล ๑๓. ปัญหาเกี่ยวกับการเรียน - การสอน งานวิชาการ ห้องบริหารวิชาการ ๑๔. เรื่องอื่น ๆ งานบริหารทั่วไป ห้องสำนักงาน ธุรการ 15


16 กำหนดการเปิดรับสมัครนักเรียน ชั้นอนุบาล และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เปิดรับสมัครตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปีหรือตามประกาศ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักฐานการรับสมัคร ๑. สูติบัตร ๒. สำเนาทะเบียนบ้านนักเรียน บิดา มารดา ๓. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี) ๔. รูปถ่าย ๒ ใบ ขนาด ๑ นิ้วครึ่ง ๕. เด็กที่เคยเรียน หรือกำลังเรียนชั้นอนุบาล (ให้นำใบรับรองการเรียนมาด้วย) การคัดเลือก - การรับนักเรียนตรงตามเกณฑ์ และเป้าหมายของโรงเรียน - การจับฉลาก สำหรับนักเรียนเข้าใหม่ ในกรณีสมัครเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด - การทดสอบ สำหรับนักเรียนที่ต้องการย้ายเข้ามาเรียนในแต่ละระดับชั้น กำหนดการเปิด – ปิดภาคเรียน โรงเรียนวัดอมรินทราราม เปิดเรียน ๒ ภาคเรียน ในแต่ละปีการศึกษา มีกำหนดการเปิด – ปิด แต่ละภาคดังนี้ ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม - ๑๐ ตุลาคม ปิด ๑๑ ตุลาคม - ๓๑ ตุลาคม ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน - ๓๑ มีนาคม ปิด ๑ เมษายน - ๑๕ พฤษภาคม การมาโรงเรียนและกลับบ้าน ในแต่ละสัปดาห์ โรงเรียนเปิดทำการสอน ตั้งแต่วันจันทร์– วันศุกร์ เวลามาโรงเรียนควรมาถึง โรงเรียนก่อนเวลา ๐๗.๓๐ น. สัญญาณเข้าเรียน เวลา ๐๗.๔๕ น. เข้าห้องเรียน เวลา ๐๘.๑๕ น. เวลากลับบ้าน อนุบาล ๓ ขวบ, อนุบาลปีที่ ๑ - ๒ เลิกเรียนเวลา ๑๔.๓๐ น. ประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ เลิกเรียนเวลา ๑๕.๑๕ น. 16


17 ระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนของโรงเรียนวัดอมรินทราราม แต่งกายถูกต้อง เป็นระเบียบ จึงกำหนดให้นักเรียน แต่งเครื่องแบบดังนี้ ๑. การแต่งกายนักเรียนชั้นอนุบาล ๑.๑ สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ปักเครื่องหมายสัญลักษณ์ดอกบัว และชื่อโรงเรียนที่กระเป๋าเสื้อตามแบบที่กำหนด และปักชื่อ – นามสกุล นักเรียน ด้านขวามือด้วยไหมสีน้ำเงินขนาดอักษร ๐.๕ เซนติเมตร ๑.๒ นักเรียนชาย หมวก สวมหมวกสีประจำโรงเรียน เสื้อ สีขาวปกบัวมนผ่าด้านหน้าตลอด ติดกระดุม ๓ – ๕ เม็ด ปักเครื่องหมาย ตามที่โรงเรียนกำหนด ชายเสื้อติดกระดุมขาว ด้านหน้า - ด้านหลัง ด้านละ ๒ เม็ด สำหรับยึดกับขอบกางเกง กางเกง สีกรมท่าไม่มีจีบ ต่อเอว ติดซิบ ข้างขอบกางเกงถักรังดุม ด้านหน้า – ด้านหลัง ด้านละ ๒ เม็ด ถุงเท้า สีขาวไม่มีลวดลาย รองเท้า หนังสีดำติดกระดุมแปะด้านหน้า 17


18 ๑.๓ นักเรียนหญิง ทรงผม ผมทรงนักเรียน และอนุญาตให้ไว้ผมยาวได้แต่จะต้องดำเนินการ ดังนี้ ๑. ผู้ที่ไว้ผมยาวถึงบ่าให้รวบให้เรียบร้อย ๒. ผู้ที่ไว้ผมยาวเลยบ่าให้ถักเปียคู่ โบว์ผูกผมให้ใช้สีขาวทั้งสองข้าง ๓. ห้ามทำสีผม ๔. สวมหมวกประจำสีโรงเรียน เสื้อ สีขาวปกบัวมน ผ่าด้านหน้าตลอด ติดกระดุม ๓ – ๕ เม็ด ปักเครื่องหมาย ตามที่โรงเรียนกำหนดชายเสื้อติดกระดุมขาว ด้านหน้า – ด้านหลัง ด้านละ ๒ เม็ดสำหรับยึดกับขอบกระโปรง กระโปรง สีกรมท่า จีบรอบตัว จีบกว้างประมาณ ๑ นิ้ว ถุงเท้า สีขาวไม่มีลวดลาย รองเท้า รองเท้าหนังสีดำมีสายคาด ติดกระดุมแปะ 18


19 ๑.๔ การแต่งกายชุดนักเรียนชั้นอนุบาลห้องเรียน Mini English Program (MEP) แต่งกายในวันจันทร์ และศุกร์ของทุกสัปดาห์ ๑.๔.๑ นักเรียนชาย ทรงผม ผมทรงนักเรียน ห้ามไว้ผมยาวคลุมถึงหูไม่ใส่น้ำมันหรือเจล ไม่ย้อมผม หรือทำสีผม และต้องตัดผมให้ถูกระเบียบ สวมหมวกประจำสีโรงเรียน เสื้อ สีขาวปกบัวมนผ่าด้านหน้าตลอด ติดกระดุม ๓ – ๕ เม็ด ปักเครื่องหมาย ตามที่โรงเรียนกำหนด ปักชื่อ – นามสกุลภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ด้านขวามือ สวมเนคไทผ้าลาย สก๊อตสีเขียว กางเกง ผ้าลายสก๊อตสีเขียว ไม่มีจีบ ต่อเอว ติดซิปข้างขอบกางเกง ถักรังดุม ด้านหน้า – ด้านหลัง ด้านละ ๒ เม็ด มีสายสะพายพาดบ่าทั้งสองข้าง ถุงเท้า สีขาวไม่มีลวดลาย รองเท้า หนังสีดำติดกระดุมแปะด้านหน้า 19


20 ๑.๔.๒ นักเรียนหญิง ทรงผม ผมทรงนักเรียน และอนุญาตให้ไว้ผมยาวได้แต่จะต้องดำเนินการ ดังนี้ ๑. ผู้ที่ไว้ผมยาวถึงบ่าให้รวบให้เรียบร้อย ๒. ผู้ที่ไว้ผมยาวเลยบ่าให้ถักเปียคู่ โบว์ผูกผมให้ใช้สีขาวทั้งสองข้าง ๓. ห้ามทำสีผม ๔. สวมหมวกสีประจำโรงเรียน เสื้อ สีขาวปกบัวมนผ่าด้านหน้าตลอด ติดกระดุม ๓ – ๕ เม็ด ปักเครื่องหมาย ตามที่โรงเรียนกำหนด ปักชื่อ – นามสกุลภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ด้านขวามือ สวมโบผ้าลายสก๊อต สีเขียว กระโปรง ใช้ผ้าลายสก๊อตสีเขียว แบบจีบรอบเอวจีบกว้าง ๓ เซนติเมตร วนจากขวาไปซ้าย ข้างลำตัวด้านซ้ายติดซิป ที่ขอบเอว ติดตะขอ มีกระเป๋าด้านขวา ขอบกระโปรงกว้าง ๓ เซนติเมตร กระโปรงยาวคลุมเข่า ชายกระโปรงพับริมกว้าง ๓ เซนติเมตร ข้างขอบกระโปรงถักรังดุม ด้านหน้า – ด้านหลัง ด้านละ ๒ เม็ด มีสายสะพายพาดบ่าทั้งสองข้าง ถุงเท้า สีขาวไม่มีลวดลาย รองเท้า หนังสีดำติดกระดุมแปะด้านหน้า 20


21 ๑.๕ การแต่งกายชุดพลศึกษา สวมหมวกสีประจำโรงเรียน ใช้ชุดพลศึกษาตามแบบที่โรงเรียนกำหนด ไม่ต้องปักอักษรย่อ ส.อ.ร. เนื่องจากมีตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนแสดงอยู่ที่กระเป๋าเสื้อ แต่ให้ปักชื่อ – นามสกุล ของนักเรียนด้านซ้าย เหนือกระเป๋า ขนาดของตัวอักษร ๐.๕ เซนติเมตร ไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ (เด็กชาย , เด็กหญิง) ปักด้วยไหม สีน้ำเงิน นักเรียนชาย นักเรียนหญิง 21


22 ๒. การแต่งกายนักเรียนชั้นประถมศึกษา ๒.๑ นักเรียนชาย ทรงผม ผมทรงนักเรียน ห้ามไว้ผมยาวคลุมถึงหูไม่ใส่น้ำมันหรือเจล ไม่ย้อมผม หรือทำสีผม และต้องตัดผมให้ถูกระเบียบ สวมหมวกประจำสีโรงเรียน เสื้อ ใช้ผ้าสีขาว ปกเชิ้ตผ่าตลอด ติดกระดุม ๓ – ๕ เม็ด ลักษณะกระดุมขาว กลมแบนติดกระเป๋าด้านซ้ายบน ปักสัญลักษณ์ที่เสื้อตามแบบที่โรงเรียนกำหนด ไม่คับหรือหลวมเกินไป กางเกง ใช้ผ้าสีกรมท่า ขนาดได้สัดส่วนกับร่างกายมีจีบด้านข้าง ๒ จีบ มีห่วง ตรงขอบเอว ๕ – ๗ ห่วง ขนาดไม่เกิน ๑ เซนติเมตร ขาสั้นเหนือเข่าวัดกลางสะบ้าเข่า ถึงขอบกางเกง ไม่เกิน ๕ เซนติเมตร ความกว้างของกางเกงเมื่อยืนตรงขอบกางเกงห่างจากขา ๘ – ๑๒ เซนติเมตร ตามขนาดของขา ปลายขาพับชายเข้า ๓ – ๕ เซนติเมตร มีกระเป๋าตามแนวขอบตะเข็บ ข้างละ ๑ กระเป๋า เข็มขัด ทำด้วยหนังสีดำ ขนาดกว้าง ๒.๕ – ๔ เซนติเมตร ความยาวตามขนาดเอว หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ชนิดหัวขัดเกลี้ยง ปลอกสีเดียวกันสำหรับสอด ปลายเข็มขัดคาด พอดีเอว มองเห็นหัวเข็มขัดติดขอบกางเกง ถุงเท้า ถุงเท้าสีขาวสั้นแบบธรรมดาไม่มีลวดลาย ความยาวไม่เกินครึ่งน่อง รองเท้า รองเท้าผ้าใบหรือหนังสีดำ หุ้มส้น มีเชือกผูกสีดำไม่มีลวดลายใดๆ ส้นสูง ไม่เกิน ๓ เซนติเมตร 22


23 ไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ ปักชื่อ-นามสกุล ด้วยไหม สีน้ำเงิน “ด้านซ้าย” ปักอักษรย่อ ส.อ.ร. ด้วยไหม สีน้ำเงิน “ด้านขวา” เขียน/ปักชื่อ-นามสกุล ที่หมวกนักเรียน ปักจุดตามระดับชั้น ด้วยไหม สีแดง “ด้านซ้าย” ห้อง 1 = สีเหลือง ห้อง 2 = สีแดง ห้อง 3 = สีเขียว ห้อง 4 = สีฟ้า ห้อง 5 = สีชมพู สีหมวกด้านใน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปัก 1 จุด ไหมสีแดง ปักจุดตามระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปัก 2 จุด ไหมสีแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปัก 3 จุด ไหมสีแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปัก 1 จุด ไหมสีน้ำเงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปัก 2 จุด ไหมสีน้ำเงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปัก 3 จุด ไหมสีน้ำเงิน ชุดนักเรียน 23


24 ๒.๒ นักเรียนหญิง ทรงผม ผมทรงนักเรียน และอนุญาตให้ไว้ผมยาวได้แต่จะต้องดำเนินการ ดังนี้ ๑. ผู้ที่ไว้ผมยาวถึงบ่าให้รวบให้เรียบร้อย ๒. ผู้ที่ไว้ผมยาวเลยบ่าให้ถักเปียคู่ โบว์ผูกผมให้ใช้สีขาวทั้งสองข้าง ๓. ห้ามทำสีผม ๔. สวมหมวกสีประจำโรงเรียน เสื้อ ผ้าสีขาว ไม่บางเกินไป คอโปโล ปกบัวมนใช้ผ้า ๒ ชิ้น ส่วนกว้างประมาณ ๕ – ๗ เซนติเมตร ส่วนคอผ่าพอสวมศีรษะได้สะดวก ติดกระดุมสีขาว กลมแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๑ เซนติเมตร จำนวน ๒ เม็ด แขนเสื้อสั้นเพียงข้อศอก แขนปล่อย พับปลายแขนยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร ตัวเสื้อยาวเลยเอวประมาณ ๘ – ๑๐ เซนติเมตร พับชายเสื้อประมาณ ๔ – ๕ เซนติเมตร ด้านขวาตอนล่าง ติดกระเป๋าพับริมประมาณ ๒ เซนติเมตร ปักสัญลักษณ์ที่เสื้อตามแบบที่โรงเรียนกำหนด ปักจุดแสดงระดับชั้น ปักชื่อ – นามสกุล กระโปรง ใช้ผ้าสีกรมท่า แบบจีบรอบตัว จีบกว้าง ๓ เซนติเมตร วนจากขวาไปซ้าย ข้างลำตัวด้านซ้ายติดซิปที่ขอบเอว ติดตะขอ กระเป๋าด้านขวา ขอบกระโปรงกว้าง ๓ เซนติเมตร กระโปรง ยาวคลุมเข่า ชายกระโปรงพับริมกว้าง ๓ เซนติเมตร ถุงเท้า ถุงเท้าแบบสั้นธรรมดาสีขาว ไม่มีลวดลาย รองเท้า รองเท้าหนังสีดำ หุ้มส้น มีสายรัด 24


25 ไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ ปักชื่อ-นามสกุล ด้วยไหม สีน้ำเงิน “ด้านซ้าย” 25 ปักอักษรย่อ ส.อ.ร. ด้วยไหม สีน้ำเงิน “ด้านขวา” เขียน/ปักชื่อ-นามสกุล ที่หมวกนักเรียน ปักจุดตามระดับชั้น ด้วยไหม สีแดง “ด้านซ้าย” ห้อง 1 = สีเหลือง ห้อง 2 = สีแดง ห้อง 3 = สีเขียว ห้อง 4 = สีฟ้า ห้อง 5 = สีชมพู สีหมวกด้านใน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปัก 1 จุด ไหมสีแดง ปักจุดตามระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปัก 2 จุด ไหมสีแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปัก 3 จุด ไหมสีแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปัก 1 จุด ไหมสีน้ำเงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปัก 2 จุด ไหมสีน้ำเงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปัก 3 จุด ไหมสีน้ำเงิน ชุดนักเรียน


26 ๒.๓. การแต่งกายชุดนักเรียนชั้นประถมศึกษาห้องเรียน Mini English Program (MEP) แต่งกายในวันจันทร์และศุกร์ของทุกสัปดาห์ ๒.๓.๑ นักเรียนชาย ทรงผม ผมทรงนักเรียน ห้ามไว้ผมยาวคลุมถึงหูไม่ใส่น้ำมันหรือเจล ไม่ย้อมผม หรือทำสีผม และต้องตัดผมให้ถูกระเบียบ สวมหมวกสีประจำโรงเรียน เสื้อ ใช้สีขาว ปกเชิ้ตผ่าตลอด ติดกระดุม ๓ – ๕ เม็ด ลักษ ณ ะกระดุม ขาว กลมแบนติดกระเป๋าด้านซ้ายบน ปักสัญลักษณ์ที่เสื้อตามแบบที่โรงเรียนกำหนด ปักจุดแสดงระดับชั้น ปักชื่อ – นามสกุลภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ของนักเรียนด้านซ้ายเหนือกระเป๋า สวมเนคไทผ้าลายสก๊อต กางเกง ใช้ผ้าลายสก๊อตสีเขียว ขนาดได้สัดส่วนกับร่างกายมีจีบด้านข้าง ๒ จีบ มีห่วง ตรง ขอบเอว ๕ - ๗ ขนาดไม่เกิน ๑ เซนติเมตร ขาสั้นเหนือเข่าวัดกลางสะบ้าเข่าถึงขอบกางเกงไม่เกิน ๕ เซนติเมตร ความกว้างของกางเกงเมื่อยืนตรงขอบกางเกงห่างจากขา ๘ – ๑๒ เซนติเมตร ตามขนาดของขา ปลายขาพับชายเข้า ๓ – ๕ เซนติเมตร มีกระเป๋าตามแนวขอบตะเข็บข้างละ ๑ กระเป๋า เข็มขัด ทำด้วยหนังสีดำ ขนาดกว้าง ๒.๕ – ๔ เซนติเมตร ความยาวตามขนาดเอว หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ชนิดหัวขัดเกลี้ยง ปลอกสีเดียวกันสำหรับสอดปลายเข็มขัด คาดพอดีเอว มองเห็นหัวเข็มขัดติดขอบกางเกง ถุงเท้า ถุงเท้าสีขาวสั้นแบบธรรมดาไม่มีลวดลาย ความยาวไม่เกินครึ่งน่อง รองเท้า รองเท้าผ้าใบหรือหนังสีดำ หุ้มส้น มีเชือกผูกสีดำไม่มีลวดลายใด ๆ ส้นสูงไม่เกิน ๓ เซนติเมตร 26


27 ๒.๓.๒ นักเรียนหญิง ทรงผม ผมทรงนักเรียน และอนุญาตให้ไว้ผมยาวได้แต่จะต้องดำเนินการ ดังนี้ ๑. ผู้ที่ไว้ผมยาวถึงบ่าให้รวบให้เรียบร้อย ๒. ผู้ที่ไว้ผมยาวเลยบ่าให้ถักเปียคู่ โบว์ผูกผมให้ใช้สีขาวทั้งสองข้าง ๓. ห้ามทำสีผม ๔. สวมหมวกประจำสีโรงเรียน เสื้อ ผ้าสีขาว ไม่บางเกินไปคอโปโล ปกบัวมนใช้ผ้า ๒ ชิ้น ส่วนกว้างประมาณ ๕ – ๗ เซนติเมตร ส่วนคอผ่าพอสวมศีรษะได้สะดวก ติดกระดุมสีขาวกลมแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๑ เซนติเมตร จำนวน ๒ เม็ด แขนเสื้อสั้นเพียงข้อศอก แขนปล่อย พับปลายแขนยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร ตัวเสื้อยาวเลยเอวประมาณ ๘ – ๑๐ เซนติเมตร พับชายเสื้อประมาณ ๔ – ๕ เซนติเมตร ด้านขวาตอนล่าง ติดกระเป๋าพับริมประมาณ ๒ เซนติเมตร ปักสัญลักษณ์ที่เสื้อตามแบบที่โรงเรียนกำหนด ปักจุดแสดงระดับชั้น ปักชื่อ–นามสกุลภาษาอังกฤษ และภาษาไทยของนักเรียนด้านซ้ายเหนือกระเป๋า สวมโบว์ผ้าลายสก๊อตสีเขียว กระโปรง ใช้ผ้าลายสก๊อตสีเขียว แบบจีบรอบตัว จีบกว้าง ๓ เซนติเมตร วนจาก ขวาไปซ้าย ข้างลำตัวด้านซ้ายติดซิปที่ขอบเอว ติดตะขอ มีกระเป๋าด้านขวา ขอบกระโปรงกว้าง ๓ เซนติเมตร กระโปรงยาวคลุมเข่า ชายกระโปรงพับริมกว้าง ๓ เซนติเมตร ถุงเท้า ถุงเท้าแบบสั้นธรรมดาสีขาว ไม่มีลวดลาย รองเท้า รองเท้าหนังสีดำ หุ้มส้น มีสายรัด 27


28 ๒.๔ การแต่งกายชุดพลศึกษา สวมหมวกประจำสีโรงเรียน ใช้ชุดพลศึกษาตามแบบที่โรงเรียนกำหนด ไม่ต้องปักอักษรย่อ ส.อ.ร. เนื่องจากมีตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนแสดงอยู่ที่กระเป๋าแล้ว แต่ให้ปักชื่อ – นามสกุล และปักจุดแสดง ระดับชั้นเหมือนกับเสื้อนักเรียน ปักชื่อ – นามสกุล ของนักเรียนด้านซ้ายเหนือกระเป๋า ขนาดของ ตัวอักษร ๐.๕ เซนติเมตร ไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ (เด็กชาย , เด็กหญิง) ปักด้วยไหมสีน้ำเงิน 28


29 ๓. การแต่งกายลูกเสือ – เนตรนารี ลูกเสือสำรอง (ป.๑ – ๓) เนตรนารี(ป.๑ – ๓) 29


30 ลูกเสือสามัญ (ป.๔ - ๖) เนตรนารี(ป.๔ - ๖) 30


31 ๔. การปักสัญลักษณ์ ๔.๑ การปักชื่อโรงเรียน ปักอักษรย่อ ส.อ.ร. ด้านขวามือของผู้สวมใส่ตามแบบตัวอักษรที่โรงเรียน กำหนด ด้วยไหมสีน้ำเงิน ๔.๒ ปักชื่อ – สกุล ๔.๒.๑ ปักชื่อ – สกุล ของนักเรียน ด้านซ้ายมือของผู้สวมใส่ด้วยไหมสีน้ำเงิน ขนาดตัวอักษร ๐.๕ เซนติเมตร ไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ (เด็กชาย, เด็กหญิง) ๔.๒.๒ ปักชื่อ – สกุล ของนักเรียนห้องเรียน Mini English Program (MEP) ด้านซ้ายมือ ของผู้สวมใส่ด้วยไหมสีน้ำเงิน ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ขนาดตัวอักษร ๐.๕ เซนติเมตร ไม่ต้องมีคำนำ หน้าชื่อ (เด็กชาย, เด็กหญิง) ๔.๓ การปักจุดแสดงระดับชั้น ปักเครื่องหมายจุดเรียงกันเหนือชื่อ – นามสกุล ของนักเรียน ตามจำนวนและสีดังนี้ - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปักจุด ๑ จุด ไหมสีแดง - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ปักจุด ๒ จุด ไหมสีแดง - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปักจุด ๓ จุด ไหมสีแดง - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ปักจุด ๑ จุด ไหมสีน้ำเงิน - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ปักจุด ๒ จุด ไหมสีน้ำเงิน - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปักจุด ๓ จุด ไหมสีน้ำเงิน นักเรียนทุกคนต้องแต่งกายตามระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด และสวมหมวก ของโรงเรียน ทุกวัน โดยให้ปักชื่อ – นามสกุล ที่หมวกของนักเรียนด้วย เครื่องใช้ประจำตัวนักเรียน - กระเป๋านักเรียนให้ใช้กระเป๋าสะพายสีเขียวเหลืองของโรงเรียน - กระบอกน้ำคนละ ๑ ใบ ไม่ควรใช้ปะปนกัน - ผ้าเช็ดหน้าประจำตัวคนละ ๑ ผืน - อุปกรณ์เครื่องเขียนที่จำเป็นได้แก่ ๑. ดินสอ ไม้บรรทัด ยางลบ และสมุดควรมีครบ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ๒. ปากกาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ – ๖ 31


32 ระเบียบการปฏิบัติตนของนักเรียนโรงเรียนวัดอมรินทราราม เมื่อเด็กได้ก้าวเข้าเป็นนักเรียนของโรงเรียนวัดอมรินทราราม จะต้องปฏิบัติตนตามระเบียบที่ทาง โรงเรียนกำหนด ทั้งนี้เพื่อให้เข้าสู่ระบบของโรงเรียน สร้างความเป็นระเบียบวินัยให้กับนักเรียน โดยอยู่ภายใต้ การดูแลของครูและผู้ปกครองร่วมกัน ระเบียบปฏิบัติตนของนักเรียนในเรื่องต่าง ๆ มีดังนี้ การมาโรงเรียน ๑. นักเรียนทุกคนจะต้องมาโรงเรียนให้ทันเข้าแถวเคารพธงชาติเวลา ๗.๔๕ น. ถ้าเลยจากนี้ถือว่ามาสาย และเมื่อเข้าประตูโรงเรียนมาแล้ว ไม่อนุญาตให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน จนกว่าจะถึงเวลาโรงเรียนเลิก ๒. ถ้านักเรียนมาสายเดือนหนึ่งเกิน ๕ ครั้งขึ้นไป ทางโรงเรียนจะมีจดหมายแจ้งผู้ปกครองรับทราบและ ขอความร่วมมือแก้ไข ๓. ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องมาสาย ผู้ปกครองต้องแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ ๔. ถ้านักเรียนที่มาถึงโรงเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรมกลางสนามให้แยกเข้าแถวต่างหาก ตามที่โรงเรียนกำหนด และต้องทำกิจกรรมพร้อมนักเรียนในแถวด้วย บริการที่โรงเรียนจัดให้นักเรียน ๑. ห้องสมุด มีครูบรรณารักษ์ประจำห้อง บริการตั้งแต่ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ทุกวัน สามารถใช้บริการ ห้องสมุด ศึกษาค้นคว้าและเปิดบริการยืม – คืนหนังสือ หรือใช้บริการสืบค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ตได้ ๒. ห้องพยาบาล บริการสำหรับนักเรียนเจ็บป่วย มีครู และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพยาบาลดูแลประจำตลอดเวลา ๓. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์นักเรียนสามารถเข้าศึกษาเรียนรู้ฝึกปฏิบัติ และทำการทดลอง ได้ในความ ดูแลของคุณครู ๔. ห้องปฏิบัติการทางภาษา นักเรียนสามารถเข้าศึกษาเรียนรู้ จากเจ้าของภาษาได้โดยตรง ๕. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ บริการเสริมทักษะความรู้ความสามารถการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ๖. ห้องแนะแนว มีครูแนะแนวเป็นที่ปรึกษาหารือคอยดูแล ช่วยเหลือนักเรียนทั้งด้านส่วนตัวและการเรียน ๗. มีทุนการศึกษาของโรงเรียน โดยคณะกรรมการจัดหาทุน เพื่อช่วยเหลือนักเรียนขาดแคลน ให้สามารถ ศึกษาเล่าเรียนได้ และมีทุนส่งเสริมนักเรียนที่เรียนดีและประพฤติดี ๘. หนังสือเรียน โรงเรียนจัดซื้อมอบให้นักเรียนตามงบประมาณที่รัฐบาลสนับสนุน ส่วนเกินจากที่ได้รับ ผู้ปกครองต้องจัดซื้อเพิ่มเติม ๙. อาหารกลางวัน และอาหารเสริม (นม) โรงเรียนจัดซื้อ/จัดจ้าง บริการให้นักเรียนทุกคน ทุกวันมาเรียน ตามที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน 32


33 การปฏิบัติกิจกรรมประจำวันของนักเรียนระดับปฐมวัย เวลา กิจกรรมประจำวัน ๐๗.๔๕ – ๐๘.๐๐ น. รับนักเรียน ตรวจสุขภาพ พาไปห้องน้ำเตรียมเข้าแถว ๐๘.๐๐ – ๐๘.๑๕ น. เคารพธงชาติ สวดมนต์ กิจกรรมเช้าหน้าเสาธง ๐๘.๑๕ – ๐๘.๒๕ น. สนทนาเล่าข่าว และเหตุการณ์ / นิทาน ๐๘.๒๕ – ๐๘.๔๕ น. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ๐๘.๔๕ – ๐๙.๑๕ น. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ๐๙.๑๕ – ๑๐.๑๕ น. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และกิจกรรมการเล่นตามมุม ๑๐.๑๕ – ๑๐.๒๐ น. พัก ๑๐.๒๐ – ๑๑.๐๐ น. กิจกรรมกลางแจ้ง ๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ๑๒.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. นอนพักผ่อน ๑๔.๐๐ - ๑๔.๒๐ น. เก็บที่นอน ล้างหน้า ๑๔.๒๐ – ๑๔.๓๐ น. พัก รับประทานอาหารว่าง ดื่มนม ๑๔.๓๐ – ๑๕.๐๐ น. กิจกรรมเกมการศึกษาและสรุปกิจกรรมในหนึ่งวัน ๑๕.๐๐ น. เลิกเรียน ๑๕.๐๐ – ๑๕.๔๕ น. กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพ ๑๕.๔๕ น. ผู้ปกครองรับนักเรียนกลับบ้าน การปฏิบัติกิจกรรมประจำวันของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา เวลา กิจกรรมประจำวัน ๐๗.๔๕ – ๐๗.๕๕ น. สัญญาณเพลงมาร์ชอมรินทร์ เพลงนาฬิกา เตรียมแถว ๐๘.๐๐ – ๐๘.๑๕ น. เคารพธงชาติ สวดมนต์กิจกรรมเช้าหน้าเสาธง ๐๘.๑๕ – ๑๑.๑๕ น. กิจกรรมการเรียนชั่วโมงที่ ๑ ถึงชั่วโมงที่ ๓ ๑๑.๑๕ – ๑๒.๑๕ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ๑๒.๑๕ – ๑๓.๑๕ น. กิจกรรมการเรียนชั่วโมงที่ ๔ ๑๓.๑๕ – ๑๔.๐๕ น. กิจกรรมการเรียนชั่วโมงที่ ๕ ๑๔.๐๕ – ๑๔.๑๕ น. พัก ๑๐ นาที ดื่มนม ๑๔.๑๕ – ๑๕.๑๕ น. กิจกรรมการเรียนชั่วโมงที่ ๖ ๑๕.๑๕ น. เลิกเรียน ๑๕.๑๕ – ๑๖.๑๕ น. กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพ ๑๖.๑๕ น. ผู้ปกครองรับนักเรียนกลับบ้าน 33


34 การปฏิบัติตนในห้องเรียน ๑. นักเรียนทุกคนต้องตั้งใจเรียนและทำงานตามที่ครูมอบหมาย ๒. เคารพเชื่อฟังคำสั่งของครูและหัวหน้าชั้น ๓. ดูแลทรัพย์สินของห้องเรียน โรงเรียน ให้คงสภาพและการใช้งานได้ดี ๔. ปฏิบัติตนตามระเบียบของห้องเรียนที่กำหนดร่วมกันระหว่างครู และนักเรียน ๕. ไม่ออกจากห้องเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต ๖. ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยือนด้วยความมีน้ำใจ ๗. รักษาความสามัคคีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อน ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ๘. ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการปฏิบัติตนตามที่ครูเวร อบรม แนะนำ ๙. มาโรงเรียนให้ทันเวลา ไม่ขาดเรียนโดยไม่จำเป็น การใช้อาคารเรียน ๑. ห้ามวิ่งหรือเล่นบนอาคารเรียน ๒. เมื่อมีการเปลี่ยนห้องเรียน ให้เข้าแถวและเดินแถวไปเรียนอย่างมีระเบียบ ๓. ไม่สวมรองเท้าเข้าห้องเรียน และนำรองเท้าไปวางที่ชั้นวางรองเท้าอย่างมีระเบียบ ๔. ไม่ขีดเขียนฝาผนังอาคารทั้งนอกห้องเรียนและในห้องเรียน โรงเรียน รวมทั้งบนโต๊ะ เก้าอี้ ๕. การเดินขึ้นลงบันไดอาคารเรียนให้เดินชิดขวาทุกครั้ง การรักษาความสะอาดในห้องเรียนและบริเวณโรงเรียน ๑. นักเรียนทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสะอาดในห้องเรียนโดยการปฏิบัติหน้าที่เวร ตามที่ได้รับมอบหมาย และบริเวณโรงเรียน ให้ดูแลงามตา น่าอยู่ตลอดจนการบำรุงรักษา สิ่งแวดล้อมธรรมชาติให้ร่มรื่น สวยงามอยู่เสมอ ๒. เมื่อใช้ห้องน้ำ ต้องราดน้ำทุกครั้ง และทิ้งเศษขยะในภาชนะที่รองรับ ๓. เมื่อพบเห็นขยะตกหล่นที่บริเวณใด ให้นักเรียนทุกคนช่วยเก็บไปทิ้งให้ถูกที่ ๔. นักเรียนทุกคนต้องช่วยกันดูแลความสะอาดในบริเวณโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย 34


35 ระเบียบปฏิบัติทั่วไป ๑. นักเรียนต้องแต่งกายสะอาดเรียบร้อย ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน ๒. นักเรียนต้องไม่ประดับร่างกายด้วยสิ่งของมีค่า ถ้าสูญหายโรงเรียนจะไม่รับผิดชอบ ๓. นักเรียนต้องเป็นผู้มีคารวะธรรม ปัญญาธรรม และสามัคคีธรรม ๔. เมื่อนักเรียนเก็บสิ่งของได้ให้นำส่งกรรมการงานบุคคล หรือครูผู้รับผิดชอบ เพื่อประกาศ หาเจ้าของต่อไป ๕. นักเรียนต้องไม่ลักขโมยสิ่งของ ของเพื่อนและคนอื่น ถ้าปฏิบัติจะถือว่าเป็นความผิดที่รุนแรง ๖. นักเรียนต้องไม่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทกัน ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ๗. นักเรียนต้องมีกริยามารยาทเรียบร้อย ๘. ถ้านักเรียนมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือได้รับอุบัติเหตุภายในโรงเรียนให้แจ้งครูหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำ หน้าที่เป็นพยาบาลทราบ เพื่อได้รับการปฐมพยาบาล และพิจารณาการนำส่งโรงพยาบาล ๙. นักเรียนต้องช่วยกันรักษาทรัพย์สมบัติของโรงเรียนไม่ให้เสียหาย ถ้าทำชำรุดเสียหายต้องชดใช้ หรือซ่อมแซมให้ดีดังเดิม ๑๐. นักเรียนต้องช่วยกันใช้ไฟและน้ำของโรงเรียนอย่างประหยัด ๑๑. ห้ามนักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต ๑๒. นักเรียนจะได้รับอนุญาตให้อยู่ภายในโรงเรียนไม่เกินเวลา ๑๖.๓๐ น. หลังจากนั้นทุกคน จะต้องกลับบ้าน การรับประทานอาหารของนักเรียน ด้วยโรงเรียนได้เห็นความสำคัญในด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียน โดยเฉพาะการให้นักเรียนได้รับ ประทานอาหารครบทุกมื้อ และเป็นอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ถูกสุขลักษณะอนามัย จึงได้จัดโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน ในขณะเดียวกันก็จัดให้มีบริการอาหารเช้าแก่นักเรียนด้วย 35


3636


37 โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการโครงการอาหารกลางวัน โดยจัดให้มีพ่อครัว แม่ครัว เป็นผู้ประกอบอาหาร ซึ่งมีหัวหน้าโครงการอาหารกลางวัน ของโรงเรียน เป็นผู้ควบคุมคุณภาพ บริการตักอาหารให้แก่นักเรียนทุกคน เมื่อได้รับอาหารครบทุกคนแล้วรับประทานอาหารพร้อมกัน นักเรียนต้องรับประทานอาหารอย่างมีมารยาทไม่ทำอาหารหกเลอะเทอะ เมื่อนักเรียนรับประทานอาหารเสร็จแล้วให้นำถาดไปเคาะเศษอาหารในภาชนะที่รองรับ นักเรียนทุกคนต้องช่วยกันรักษาความสะอาดทิ้งเศษกระดาษ ถุงพลาสติก ถุงขนมอื่น ๆ ในภาชนะ รองรับ ถ้าต้องการซื้อขนม เครื่องดื่มเพิ่มเติมให้เข้าแถวอย่างมีระเบียบตามลำดับก่อน – หลัง ระเบียบการรับ – ส่งนักเรียนของผู้ปกครอง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ตลอดจนความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนจึงได้วางระเบียบไว้ดังนี้ ๑. การส่งนักเรียนเข้าโรงเรียน ๑.๑ ผู้ปกครองนักเรียนทุกระดับชั้น ให้ส่งนักเรียนที่บริเวณหน้าประตูโรงเรียนเท่านั้น นักเรียนเมื่อเข้าโรงเรียนจะทำความเคารพครูเวรแล้วเข้าไปที่ห้องเรียน เพื่อเก็บกระเป๋านักเรียนก่อนไปทำ กิจกรรมอื่น ๆ สำหรับผู้ปกครองที่มีความประสงค์จะซื้อสินค้าจาก Amarin Minimart หรือรับประทาน อาหารเช้า ควรใช้บริการในสถานที่ที่โรงเรียนกำหนด ๑.๒ กำหนดการเข้าแถวเวลา ๐๗.๔๕ น. เพื่อทำกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติและเข้า ห้องเรียน ภายในเวลา ๐๘.๑๕ น. ผู้ปกครองควรส่งนักเรียนให้ทันเวลาเข้าแถวเคารพธงชาตินักเรียนที่มา สายจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียน ๒. การรับนักเรียนกลับบ้าน ๒.๑ ผู้ปกครองที่ประสงค์จะขอรับนักเรียนกลับบ้านก่อนเวลาเลิกเรียน ให้ขออนุญาต ครูประจำชั้น โดยกรอกแบบขออนุญาต แล้วนำไปให้ครูประจำชั้นลงนามอนุญาตก่อนออกจากโรงเรียน โดยปฏิบัติตามระเบียบการลาออกนอกบริเวณซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไป ๒.๒ ผู้ปกครองที่มารับนักเรียนกลับบ้านตามเวลาปกติ ให้ผู้ปกครองมารอรับในบริเวณ ที่โรงเรียนจัดให้ ขอความร่วมมือไม่ขึ้นบนอาคารเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต ๒.๓ ผู้ปกครองที่มีปัญหามารับนักเรียนกลับบ้านตามเวลาไม่ได้ ควรมารับนักเรียนอย่างช้า ที่สุดไม่เกินเวลา ๑๖.๓๐ น. 37


38 ระเบียบว่าด้วยการลา ๑. การลาป่วย เมื่อนักเรียนป่วยไม่สามารถมาโรงเรียนได้ ให้ผู้ปกครองแจ้งโรงเรียนทราบโดยด่วน เมื่อนักเรียน หายป่วยและกลับมาเรียนตามปกติต้องมีใบลาที่มีผู้ปกครองลงชื่อรับรองการลาส่งครูประจำชั้นในวันแรก ที่มาเรียน ๒. การลากิจ ถ้าผู้ปกครองมีความจำเป็นต้องให้นักเรียนหยุดเพื่อทำกิจธุระส่วนตัว ต้องส่งใบลาที่มีผู้ปกครอง ลงชื่อรับรองการลาล่วงหน้า ๑ วันก่อนหยุดเรียน ถ้ากรณีไม่สามารถเขียนใบลาล่วงหน้าได้ให้ส่งใบลา ในวันแรกที่มาเรียนต่อครูประจำชั้น กรณีหยุดเรียนเกิน ๓ วัน โดยไม่ทราบสาเหตุ ทางโรงเรียนจะมีขั้นตอนติดตามนักเรียน ดังนี้ - แจ้งเตือนครั้งที่ ๑ ด้วยเอกสาร แบบ บค.๑๔ เพื่อให้ผู้ปกครอง ส่งเด็กเข้าเรียน กรณีเด็กขาดเรียน ๓ วัน - แจ้งเตือนครั้งที่ ๒ ด้วยเอกสาร แบบ บค. ๑๔ กรณีเด็กขาดเรียนเกิน ๗ วัน - เมื่อเตือน ๒ ครั้งแล้ว นักเรียนยังไม่มาโรงเรียน ทางโรงเรียนจะแจ้งด้วยเอกสาร ปศ.๑๕ กรณีเด็กขาดเรียนนานไม่สามารถติดต่อได้และทางอำเภอหรือเขตรับรองว่าไม่มีตัวตน โรงเรียน สามารถจำหน่ายนักเรียนให้พ้นจากการเป็นนักเรียนได้ ระเบียบว่าด้วยการทำความเคารพของนักเรียน การทำความเคารพของนักเรียนแบ่งได้ ๒ ประเภท คือการทำความเคารพในห้องเรียนและการทำ ความเคารพนอกห้องเรียน ๑. การทำความเคารพในห้องเรียน เมื่อครูเข้ามาในห้องเรียน ให้หัวหน้าห้องเรียนเป็นผู้บอกทำความเคารพ โดยใช้คำสั่งว่า “นักเรียนเคารพ” หัวหน้าจะสั่งโดยเว้นระยะระหว่าง นักเรียน – เคารพ เพื่อให้นักเรียนได้มีเวลาเตรียมตัว เลิกทำงานที่กำลังปฏิบัติแล้วยืนขึ้นยกมือไหว้พร้อมกัน และให้ใช้คำสั่งเดียวกันนี้เมื่อครูออกจากห้องเรียน ๒. การทำความเคารพของนักเรียนนอกห้องเรียน (ในบริเวณโรงเรียน) ๒.๑ เมื่อนักเรียนอยู่ในแถวใช้คำสั่งว่า “แถวตรง” นักเรียนทุกคนยืนตรงในแถว ๒.๒ การทำความเคารพผู้ควรเคารพในทางศาสนาให้ทำตามประเพณีนิยม ๒.๓ เมื่อผู้ใหญ่ผ่านมาให้ยืนตรงแล้วไหว้ ๒.๔ เมื่อเดินสวนกับผู้ใหญ่ นักเรียนต้องหยุดหันไปทางผู้ใหญ่ยืนตรงแล้วไหว้เมื่อผู้ใหญ่ เดินผ่านไปแล้วจึงเดินไป ๒.๕ เมื่อผู้ใหญ่อยู่กับที่นักเรียนจะเดินผ่านไป ให้หยุดยืนตรงแล้วไหว้แล้วจึงเดินผ่านไป โดยก้มตัวเล็กน้อย 38


39 ๓. การทำความเคารพครูเวร เมื่อนักเรียนเดินผ่านเข้าประตูโรงเรียน ให้เข้าแถวต่อจากนักเรียนคนหน้า เมื่อเดินถึงครูเวรให้วาง กระเป๋าหนังสือบนพื้น นักเรียนชาย และนักเรียนยืนเท้าชิดกันน้อมตัวลง ก้มศีรษะ ทำความเคารพ แล้วยกมือ ไหว้พร้อมกับกล่าวคำว่า “สวัสดีครับ, สวัสดีค่ะ” ถ้าใส่เครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารีให้ทำความเคารพ โดยทำวันทยาหัตถ์ ๔. การทำความเคารพนอกบริเวณโรงเรียน ๔.๑ เมื่อนักเรียนพบครู นอกโรงเรียนให้ทำความเคารพโดยการไหว้ ๔.๒ ถ้านักเรียนแต่งเครื่องแบบอื่นๆ เช่น ลูกเสือ ยุวกาชาด ให้ทำความเคารพ ตามระเบียบนั้นๆ ๔.๓ ถ้าอยู่ในยานพาหนะสาธารณะ เช่น รถโดยสารประจำทางหรือ ยานพาหนะ ที่ไม่สะดวกทำความเคารพ เช่น รถยนต์ รถรับจ้าง รถบรรทุก ให้อยู่ในยานพาหนะด้วยอาการสำรวม ความประพฤติที่ไม่สมควรแก่การเป็นนักเรียน ๑. เที่ยวเร่ร่อนในที่สาธารณะ ๒. ทำความรำคาญให้แก่ผู้สัญจรไปมา ๓. ประพฤติตนไม่สมควรแก่วัย หรือสภาพนักเรียน ถ้านักเรียนคนใดฝ่าฝืนอาจถูกเจ้าพนักงานหรือ เจ้าหน้าที่นำไปควบคุมไว้ ๔. สูบบุหรี่ หรือสูบกัญชา เสพสุรา เสพยาบ้า หรือเสพของเมาอื่นๆ ๕. เล่นการพนัน หรือการเล่นอย่างอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายการพนัน ๖. เข้าไปในสถานที่จำหน่ายสุรา สถานการพนัน โรงจำนำ และโรงหญิงโสเภณี ๗. ประพฤติตนในทำนองชู้สาว โรงเรียนจะเชิญผู้ปกครองมารับทราบพฤติกรรมเพื่อหาทางแก้ไข ร่วมกัน ภาระหน้าที่ของผู้ปกครองและขอความร่วมมือ เพื่อให้ผลการเรียนและความประพฤตินักเรียนบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด ผู้ปกครองควรให้ความร่วมมือกับโรงเรียนดังนี้ 39


40 ๑. ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ ให้อยู่ในระเบียบวินัย ของโรงเรียน ๒. ดูแลนักเรียนให้มีเครื่องแต่งกายครบและถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน ๓. ดูแลนักเรียนให้ไปโรงเรียนทุกวัน และให้ทันเวลาเข้าแถวเคารพธงชาติ ถ้ามีความจำเป็น จะต้อง ไปโรงเรียนสายให้แจ้งรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารบุคคล หรือครูเวรประจำวัน ๔. กวดขันตักเตือนนักเรียนให้เอาใจใส่ต่อการเรียน เป็นกำลังใจ ดูแลการทำการบ้าน ตรวจทาน และเซ็นชื่อในสมุดการบ้าน ดูแลงานที่นักเรียนได้รับมอบหมายส่งครูตามที่กำหนด ๕. ดูแลและจัดหาอุปกรณ์การเรียน ของใช้ประจำตัวนักเรียนให้ครบถ้วน เช่น สมุด หนังสือ ปากกา ดินสอ ไม้บรรทัด ฯลฯ อุปกรณ์การรับประทาน เช่น กระบอกน้ำ ช้อนส้อม และหลังรับประทานอาหาร เช่น แปรงสีฟัน และยาสีฟัน ๖. เงินใช้จ่ายประจำวันควรให้พอดีใช้ อย่าให้มากเกินความจำเป็น ๗. โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนนำของมีค่ามาโรงเรียน ๘. กรณีเด็กจะต้องไปทำกิจกรรมนอกโรงเรียนในเวลาเรียนหรือวันหยุดทางโรงเรียน จะมีจดหมาย แจ้งผู้ปกครองขออนุญาตล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง ๙. เด็กที่กลับบ้านเอง ผู้ปกครองต้องตักเตือนอย่าซื้ออาหารตามร้านริมทางเพราะไม่สะอาดพอ ๑๐. ดูแลการกลับบ้านของนักเรียนให้ตรงเวลา นักเรียนที่ผู้ปกครองมารับต้องมารับในระหว่าง เวลา ๑๕.๑๕ – ๑๖.๓๐ น. ๑๑. ไม่สนับสนุนให้นักเรียนซื้ออาหารและสิ่งของที่ไม่จำเป็นหน้าโรงเรียน เช่น อาหารที่ไม่สะอาด ของเล่นฟุ่มเฟือย ซึ่งอาจทำให้นักเรียนได้รับอันตราย ๑๒. ช่วยกำกับดูแลความประพฤตินักเรียน ให้ปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด ๑๓. ถ้าพบความผิดปกติเกี่ยวกับการเรียน และความประพฤติควรติดต่อกับโรงเรียน ๑๔. ด้านสุขภาพอนามัย ถ้าเด็กมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้โรงเรียนทราบ เพื่อช่วยเหลือ และป้องกัน ๑๕. การติดตามผลการเรียนของนักเรียนให้ติดตามได้จากสมุดรายงานของนักเรียน ถ้ามีข้อสงสัยให้ ติดต่อครูประจำชั้น ๑๖. เมื่อได้รับจดหมายเชิญพบจากทางโรงเรียน โปรดให้ความสำคัญไปพบตาม วัน เวลา และ สถานที่กำหนดทุกครั้ง ถ้าต้องการเลื่อนการนัดหมายโปรดแจ้งล่วงหน้า ๑๗. การประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและทำความเข้าใจระหว่างผู้ปกครองกับครู โรงเรียนจะเชิญผู้ปกครองนักเรียนทุกคนมาประชุมภาคเรียนละ ๑ ครั้ง หรือตามโอกาสอันควร ดังนั้น โรงเรียนจึงขอความร่วมมือจากท่านผู้ปกครองทุกท่านมาประชุมตามกำหนดนัดหมายทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ ต่อการจัดการทางการศึกษาของบุตรหลานของท่าน 40


41 “ความเข้าใจ และความร่วมมืออันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นพลังให้การศึกษาของบุตรหลาน ของท่าน บรรลุเป้าหมายโดยสมบูรณ์” ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ เริ่มใช้พื้นที่อาคารเรียนห้าชั้นสร้างเสร็จในปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๓ และอาคาร เรียนหลังเดิมที่สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ และ พ.ศ.๒๕๑๓ รวม ๓ หลัง โดยมีทางเดินเชื่อมต่อกัน ห้องจัดการเรียนการสอน ๔๑ ห้องเรียน ห้องพิเศษ ๘ ห้อง ห้องพักครู ๕ ห้อง ห้องประชุม ๓ ห้อง ห้องธุรการ ๑ ห้อง ห้องพยาบาล ๑ ห้อง โดยมีชื่อเรียกอาคารดังนี้ ๑. อาคารอมรินทรามาตย์เป็นอาคารเรียน ๕ ชั้น ประกอบด้วย - ห้องเรียน ๓๐ ห้องเรียน - ห้องคอมพิวเตอร์ ๒ ห้อง - ห้องพักครู ๓ ห้อง - ห้องธุรการ ๑ ห้อง - ห้องพยาบาล ๑ ห้อง - ห้องประชุมตากสิน ๑ ห้อง - Amarin Minimart ๑ ห้อง - พื้นที่ชั้นล่างสำหรับรับประทานอาหาร ๓๘๐ ตร.ม. ๒. อาคารศรีสุดารักษ์ - ห้องเรียน ๘ ห้องเรียน - ห้องเรียนศิลปะ ๑ ห้องเรียน - ห้องดนตรี นาฏศิลป์ ๑ ห้อง - ห้องพักครูพิเศษ ๑ ห้อง ๓. อาคารเทพสุดาวดี - ห้องเรียนอนุบาล ๓ ห้องเรียน - ห้องวิชาการ ๑ ห้อง - ห้องวิทยาศาสตร์ ๑ ห้องเรียน - ห้องเรียนอัจฉริยะ ๑ ห้องเรียน - ห้องประชุมกรุงธนบุรี ๔. เรือนอมรินทร์(ศาลาไทย) ห้องประชุมและรับรองผู้มาเยือนโรงเรียน 41


42 ที่มาของชื่ออาคารเรียนหลังใหม่ของโรงเรียนวัดอมรินทราราม ด้วยโรงเรียนวัดอมรินทรารามได้ก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่แทนที่อาคารเรียนหลังเดิมที่ ก่อสร้างมาตั้งแต่พ.ศ.๒๕๐๓ และมาแล้วเสร็จได้ทำพิธีเปิดป้ายโรงเรียน เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยมี ฯพณ ฯ ม.ล. ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี จนในปี พ.ศ.๒๕๕๓ กรุงเทพมหานครมีโครงการขยายถนนตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชน กาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อลดปัญหาการจราจรที่บริเวณโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานครจึงขอเวณคืนที่ดินจากวัดอมรินทราราม และได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่แทนที่ อาคารเรียนหลังเดิมที่ถูกรื้อถอนไปให้ทั้งหมด อาคารเรียนหลังใหม่ได้ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับประวัติความ เป็นมาของวัดอมรินทรารามและกรุงธนบุรีดังนี้ ๑. อาคารอมรินทรามาตย์ เป็นอาคารตึกห้าชั้นใต้ถุนสูง “อมรินทรามาตย์” เป็นชื่ออาคารที่ได้ มาจากพระนามของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระนามเดิม นาค เป็นอรรคชายาเดิมใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นสมเด็จพระพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า นาค เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง นพศก ตรงกับวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๘๐ (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. ๒๒๘๑) ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นพระธิดาของพระชนกทอง ณ บางช้าง และสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี(พระนามเดิม สั้น หรือมาก) เป็นคหบดีเชื้อสายมอญ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสร้างวัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม ขึ้นในบริเวณ นิวาสสถานเดิมของพระองค์ เพื่ออุทิศถวายแด่พระชนนี (สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี) ไว้ที่องค์พระปรางค์ด้วย ถึงปีมะเมีย วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๓๕๓ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเป็น สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ ๒. อาคารเทพสุดาวดีเป็นอาคารเก่าของสายชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ด้านทิศเหนือ “เทพสุดาวดี” เป็นชื่ออาคารได้มาจากพระนามของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (พ.ศ. ๒๒๗๒ - ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๔๒) พระนามเดิม สา เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จ พระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่พระอัครชายา (หยก) ในสมัยอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระโสทรเชษฐ ภคินีพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี พระเชษฐภคินี (พี่สาว) ในรัชกาลที่ ๑ จึงทำให้นับเป็นพระกุลเชษฐ์พระองค์แรกในราชวงศ์จักรี เป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี เสกสมรสกับหม่อมเสม ที่พระอินทร รักษา เจ้ากรมพระตำรวจฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระโอรสธิดา ๔ พระองค์ คือ [๒] ๑). กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) พระนามเดิม ทองอิน พระโอรสองค์ที่ ๑ แต่ เดิมเฉลิมพระยศเป็นกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ 42


43 ๒). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ พระนามเดิม บุญเมือง พระโอรสองค์ที่ ๒ ๓). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ พระนามเดิม ทองจีน พระโอรส องค์ที่ ๓ เป็นต้นราชสกุลนรินทรางกูร ๔). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองคำไม่มีเจ้ากรมต่างหากแต่เป็นสังกัดในกรม พระยาเทพสุดาวดี ๓.อาคารศรีสุดารักษ์เป็นอาคารเก่าของสายชั้น MEP ด้านทิศใต้“ศรีสุดารักษ์” เป็นชื่ออาคาร ที่ได้มาจากพระนามของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์(ไม่ปรากฏ - ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๔๒) มีพระนามเดิมว่า แก้ว เป็นพระธิดาพระองค์ที่สองในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติ แต่พระอัครชายา (หยก) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์เมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน พระภัสดาผู้เป็นคหบดีชาว จีนเชื้อสายขุนนางจีนในกรุงปักกิ่ง มีพระโอรสธิดาด้วยกัน ๖ พระองค์ คือ[๔] ๑). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์เป็นต้นราชสกุลเทพหัสดิน ๒). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอนัคฆนารี ๓). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าขุนเณร (สิ้นพระพระชนม์เมื่อพระชันษา ๗ ปี) ๔). สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีพระนามเดิม บุญรอด เป็นพระอัครมเหสีใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๕). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีเป็นต้นราชสกุลมนตรีกุล ๖). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์เป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์นั้น มีพระตำหนักอยู่เบื้องหลังหมู่พระที่นั่งดุสิต มหาปราสาท และพระวิมานรัตยา เรียกว่าพระตำหนักแดง ได้ทรงราชการทรงกำกับเครื่องใหญ่ในโรงวิเศษ ต้น และการสะดึงและอื่น ๆ เป็นหลายอย่าง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะแม จ.ศ. ๑๑๖๑ ตรงกับวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๔๒ พระชันษา ๖๐ ปีเศษ [๕] ๔. อาคารบวรสถานพิมุข เป็นอาคารตึก ๔ ชั้น อยู่ด้านทิศเหนือติดถนนและสะพานอรุณ อมรินทร์“บวรสถานพิมุข” เป็นชื่ออาคารที่ได้มาจากพระนามของ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข มีพระนามเดิมว่าทองอิน เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (พี่สาว รัชกาลที่ ๑) และพระอินทรรักษา (เสม) ประสูติเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๘๙[๒] มีพระอนุชาและพระขนิษฐา คือ ๑). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ ๒). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ ๓). สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองคำ 43


Click to View FlipBook Version