ใบความรู้ 3.1
เรอ่ื ง แนวคิดเกยี่ วกับความเป็นมาของชนชาติไทย
ปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับที่มาของชนชาติไทยยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ และยังไม่มีข้อสรุปท่ี
แน่นอนวา่ ถนิ่ เดิมของชนชาติไทยอย่ทู ไ่ี หนแน่ แต่มีแนวคิดเกยี่ วกับเรื่องนีอ้ ยู่ 5 แนวคดิ ได้แก่
- ถนิ่ เดมิ ของชนชาตไิ ทยอยใู่ นบริเวณตอนกลางของจนี
- ชนชาตไิ ทยเป็นเช้ือสายมองโกลมีถนิ่ เดิมอยู่แถบเทือกเขาอลั ไต
- ถิ่นเดมิ ของชนชาติไทยอยใู่ นบริเวณตอนใต้ของจีน
- ถิน่ เดมิ ของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย
- ถนิ่ เดมิ ของชนชาตไิ ทยอยใู่ นประเทศไทยปัจจุบัน
แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาตไิ ทยทั้ง 5 แนวคิดนี้ผู้เสนอแนวคิดสันนิษฐานโดยตีความและอ้างอิงข้อมูลจาก
หลักฐานที่แตกตา่ งกันเช่นการสำรวจการใช้ทฤษฎีภาษาศาสตร์ ทฤษฎีมานุษยวิทยา หลักฐานทางพันธุกรรมและ
หลกั ฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งมีอยู่นอ้ ยมากทำใหเ้ ปน็ เรอ่ื งยากทจ่ี ะตีความใหไ้ ด้ขอ้ ยุตทิ ี่แนน่ อนบางแนวคดิ นำเสนอ
ไว้นานแล้วแต่ยังมีผู้เชื่อถืออยู่แม้ว่าจะมีการพบหลักฐานและข้อมูลใหม่ๆ มาล้มล้างแนวคิดนั้นแล้วกต็ ามผู้ศกึ ษา
ประวัติศาสตรค์ วรที่จะได้ศึกษาวเิ คราะห์แนวคิดและตีความข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์บนพืน้ ฐานของ
ความเปน็ เหตุเปน็ ผลของแนวคิดท้งั 5 นแ้ี ละควรระลึกไวเ้ สมอวา่ ผลสรปุ ของการศึกษาถ่ินเดิมของชนชาติไทยอาจ
เปลย่ี นแปลงหรือแก้ไขได้หากมีการคน้ พบหลกั ฐานใหม่ๆ ท่นี า่ เชื่อถือ
1. แนวคดิ เกย่ี วกับถน่ิ เดิมของชนชาตไิ ทย
แนวคิดเกีย่ วกบั ถ่ินเดมิ ของชนชาตไิ ทยของนกั วิชาการท้ังไทยและตา่ งชาติมี 5 แนวคดิ รายละเอยี ดดงั น้ี
1. แนวคิดถิ่นเดมิ ของชนชาตไิ ทยอยใู่ นบรเิ วณตอนกลางของจนี
แนวคิดนี้เชื่อว่าถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นมณฑลซื่อชวน ฉ่านซี หูเป่ย์ อานฮุย
หหู นาน เจยี งซี แลว้ จงึ อพยพมาทางตอนใต้ของจนี และค่อยอพยพลงมาสคู่ าบสมุทรอนิ โดจีนและประเทศไทย
ศาสตราจารย์แตเรียง เดอ ลาคูเปอรี (Terrien de Lacouperie) เป็นผู้รเิ ริ่มแนวคิดนี้โดยได้สรุปจาก
เอกสารหลกั ฐานจนี นอกจากน้ยี ังมนี ักวชิ าการไทยหลายทา่ นทสี่ นบั สนนุ แนวคิดนี้ เช่น สมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไดท้ รงนำเสนอในพระนพิ นธเ์ รอื่ ง ลกั ษณะการปกครองของประเทศสยามแต่โบราณ
(พ.ศ. 2417) หลวงวจิ ิตรวาทการ (กิมเหลยี ง วัฒนปฤดา) ในงานเขียนช่ือ สยามกบั สุวรรณภมู ิ (พ.ศ. 2479) และ
งานเขียนเรื่อง งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย (พ.ศ. 2499) พระบริหารเทพธานี ในงานเขียนเรื่อง พงศาวดารของ
ชาติไทย (พ.ศ. 2464 – 2480) และพระยาอนุมานราชธน (ยง เสถียรโกเศศ) ได้นำเสนอแนวคิดดังกล่าวในงาน
เขียนเรือ่ ง เร่อื งของชาติไทย (พ.ศ. 2483)
แนวคดิ พน้ื ฐานในงานเขยี นของนกั วิชาการเหลา่ น้ีไมต่ ่างกันมากนัก โดยทุกทา่ นมองวา่ ถ่นิ เดิมของชนชาติ
ไทยอยู่ในบริเวณตอนกลางของประเทศจนี ขณะทบ่ี รเิ วณประเทศไทยในขณะน้ันเปน็ ถ่ินทีช่ นชาตมิ อญ ละวา้ เขมร
อยู่มาแตเ่ ดมิ ตอ่ มาชนชาตไิ ทยถกู จนี รุกรานจึงอพยพลงมาทางภาคใต้ของประเทศจนี แล้วไดต้ งั้ อาณาจักรน่านเจ้า
ใน พ.ศ. 1100 และเจรญิ รุ่งเรอื งสบื มาจนกระท่งั พ.ศ. 1800 นา่ นเจา้ ถูกจีนยึดครอง ชนชาตไิ ทยจึงอพยพลงมายัง
ดนิ แดนไทย ขบั ไลช่ นชาตเิ ขมรออกไป แล้วก่อต้งั อาณาจักรของคนไทยขึ้น
ภาพ 1 แผนทแี่ สดงแนวคิดถิ่นเดมิ ของชนชาติไทยอยใู่ นบริเวณตอนกลางของจีน
ทม่ี า : https://www.gsbgen.com/main.php?page=smartgen&id=46740
สืบคน้ เมื่อ : 24 เมษายน 2562
หลกั ฐานท่ีใช้ในแนวคิดนม้ี ีทม่ี าจากหลักฐาน 3 แหลง่ ด้วยกนั ไดแ้ ก่ หลักฐานประเภทภาษาศาสตร์ ความ
คล้ายคลึงทางด้านภาษา หลักฐานเอกสารจีน นักวิชาการตีความว่า ชนชาติที่ปรากฏในเอกสารจีนน่าจะเป็น
ชนชาติไทยและหลักฐานประเภทขนบธรรมเนียมประเพณีระหว่างกลุ่มชนต่างๆ ในดินแดนจีนกับกลุ่มชนใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหลักฐานประเภทนีม้ าจากการสำรวจภาคสนาม และพิจารณาความคล้ายคลงึ
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี นอกจากนี้ยังไดร้ ับการสนับสนุนจากการท่นี ักวิชาการตีความจารกึ ภาษามอญ เขมร
ในประเทศไทยว่าเป็นจารึกของชนชาติเหล่านัน้ ทำให้ทฤษฎีนีไ้ ด้รบั การยอมรบั มากข้นึ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนักวิชาการส่วนใหญ่ไม่ยอมรับแนวคิดดังกล่าวนี้แล้ว เนื่องจากมีจุดอ่อนหลาย
ประการ ไดแ้ ก่
1) พื้นฐานของทฤษฎีมาจากการตีความภาษาในเอกสารจีนร่วมกับหลักฐานทางด้านภาษาศาสตร์และ
ความคล้ายคลึงด้านขนบธรรมเนียมประเพณี แต่ว่าความคล้ายคลึงด้านภาษามีเหตุผลน้อยเกินไป และ
ขนบธรรมเนียมประเพณกี เ็ ปน็ วัฒนธรรมทีส่ ามารถถา่ ยทอดกันระหว่างกล่มุ ชนได้
2) จากการขุดค้นทางโบราณคดีท่ีหมู่บ้านซานซิงตยุ ในมณฑลซื่อชวนเมื่อ พ.ศ. 2519 พบประติมากรรม
สำริดขนาดใหญ่จำนวนมากเป็นของปลายสมัยราชวงศ์ชางประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว มีรูปคน ศีรษะ และหน้าคน
หล่อด้วยสำริดหลายรูปหลายขนาด ล้วนแต่มีรูปร่างสัณฐานและใช้เครื่องนุ่งห่มแตกต่างจากชนชาติไทย จึงเป็น
หลักฐานยืนยันได้ว่าชนชาติไทยมิได้มีถ่ินเดมิ อยู่ในบริเวณน้ี
2. แนวคิดชนชาตไิ ทยเป็นเชอ้ื สายมองโกลมถี น่ิ เดิมอยู่แถบเทือกเขาอัลไต
ผู้ริเริ่มแนวคิดนี้ คือ ดร.วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ (William Clifton Dodd) ซึ่งได้อธิบายเรื่องราวของ
ชนชาติไทยว่า ชนชาติไทยมีเชื้อสายมองโกล เป็นชาติที่มีความเก่าแก่กวา่ จีนและเจริญรุ่งเรืองมาก่อนจีน ถิ่นเดิม
น่าจะอยู่ในเขตอบอุ่นเหนือ ต่อมาได้เคลื่อนยา้ ยมาสู่ประเทศจีน และตั้งอาณาจักรของตนขึน้ เรียกว่า อาณาจักร
อ้ายลาว จีนเรียกว่า ต้ามุง เมื่อประมาณ 1,700 ปีก่อนพุทธศักราช ต่อมาเมื่อชาวจีนมีความเข้มแข็งได้ขยาย
อิทธิพลเข้าไปในถิ่นของชาวไทยและแย่งชิงพ้ืนที่ทำกนิ ทำให้ชาวไทยอพยพไปหาที่ทำกินแหล่งใหมเ่ มื่อประมาณ
60 ปีก่อนพทุ ธศักราช โดยอพยพลงไปสทู่ างใต้ของจนี
ภาพ 2 ดร.วิลเลียม คลิฟตนั ดอดด์ เชอ่ื วา่ ชนชาติไทยมีเชอ้ื สายมองโกล
ทมี่ า : http://www.thaigoodview.com/library/contest1/social04/32/history/as3.html
สืบค้นเมือ่ : 24 เมษายน 2562
แนวคิดของหมอดอดด์ได้มีอทิ ธพิ ลต่อความคิดของนักประวัติศาสตร์รุ่นต่อมาและได้ขยายแนวคิดออกไป
เช่น ขุนวิจิตรมาตรา (รองอำมาตย์โทรสง่า กาญจนาคพันธ์) นอกจากยืนยันแนวคิดที่ว่าไทยเป็นชาติมองโกล
แล้ว ยงั ระบดุ ้วยวา่ ถน่ิ เดมิ ของชนชาติไทยอยู่แถบเทือกเขาอัลไต ดงั ท่ีได้อธิบายไว้ในหนงั สอื เรื่อง หลักไทย เมื่อชน
ชาติไทยอพยพจากบรเิ วณเทือกเขาอลั ไตมายังแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำหวางเหอ (ฮวงโห) ได้ตั้งอาณาจกั รอ้ายลาว
ขึน้ มรี าชธานี 2 แห่ง คอื นครลุง อยู่ทต่ี ้นแมน่ ้ำหวางเหอ และนครปา อยู่ทางภาคเหนือของมณฑลซอื่ ชวน ต่อมามี
ผู้คนมากขึ้นจึงขยับขยายเขตมาทางตะวันออกตามแนวแม่นำ้ ฉางเจียง และตั้งนครเงี้ยวเป็นราชธานแี ห่งที่ 3 เม่ือ
ชนชาติไทยถกู จีนรุกรานกอ็ พยพไปตั้งถ่ินฐานอยใู่ นมณฑลซ่ือชวน แลว้ ตั้งอาณาจักรนา่ นเจา้ ขน้ึ ทมี่ ณฑลหยุนหนาน
เม่อื ประมาณ พ.ศ. 1100 น่านเจา้ ขยายอาณาเขตมาถึงแควน้ สบิ สองจไุ ท หลวงพระบาง และบรเิ วณภาคเหนือของ
ประเทศไทย จนถึงปลายพทุ ธศตวรรษที่ 18 เมื่อกุบไลข่านแหง่ ราชวงศ์หยวนหรอื มองโกลที่ปกครองจีนตีน่านเจ้า
แตก ชนชาติไทยจึงอพยพมาตัง้ รฐั ไทยทางภาคเหนือของประเทศไทย
แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไตมีพื้นฐานทางความคิดมาจากเอกสารของจีน
พจิ ารณาความคล้ายคลึงทางภาษาและขนบธรรมเนยี มประเพณีว่ามีความคล้ายคลงึ กันระหวา่ งชนกลมุ่ ในประเทศ
ไทยกับประเทศจีน หลักฐานด้านภาษามาจากการตีความคำบางคำในท้องถิ่น เช่น วิเคราะห์ชื่ออัลไต ว่า อัล คือ
ละเออ ในภาษาไทยโบราณ แปลว่า แผ่นดิน และ ไต คือ ไท ในภาษาไทย หรือชื่อเมืองลุง ปา เงี้ยว และชื่อ
อาณาจักรนา่ นเจ้าเปน็ คำในภาษาไทย
ปจั จบุ นั นกั วชิ าการต่างปฏิเสธแนวคดิ น้ี เพราะมีเหตุผลและหลักฐานคัดคา้ นหลายประการ เชน่
1. ที่นักวิชาการไทยบางท่านเห็นว่า คำว่า ไต ในชื่อเทือกเขาอัลไตเป็นภาษาไทย หมายถึง ไท น้ัน
ศาสตราจารย์เฉนิ หลวฟ่ี ่าน ผอู้ ำนวยการสถาบันวิจัยเอเชียอาคเนย์ มณฑลหยนุ หนาน แย้งวา่ อลั ไต เป็นภาษาทู
เจซึ่งเป็นภาษาของเผ่าเชื้อสายตุรกีในประเทศจีน แปลว่า ทองคำ การที่เทือกเขาอัลไตได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะเป็น
เทอื กเขาท่อี ุดมด้วยแร่ทองคำ มิได้เก่ยี วข้องกับคำว่าไทแตอ่ ยา่ งใด
2. สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของเทือกเขาอัลไตเป็นทุ่งหญ้าเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ไม่เหมาะแก่
การดำรงชพี ของชนชาติไทย ซง่ึ ถนดั การเพาะปลกู ทำไร่ทำนา และชอบอยู่ในถน่ิ ทเ่ี ป็นพ้ืนท่รี าบล่มุ มีแมน่ ้ำไหลผา่ น
3. พบภาพเขียนสีที่หน้าผาทางด้านใต้ของเทอื กเขาอัลไตเป็นภาพสัตว์ต่างๆ เช่น แกะ วัว ควาย ม้า อูฐ
กวาง ภาพคนขี้มา้ ล่าสัตว์ ภาพการเลี้ยงปศุสัตว์ ภาพการฟ้อนรำ ซึ่งแสดงให้เห็นความเปน็ อยู่และวัฒนธรรมของ
กลมุ่ ชนเร่รอ่ นทเ่ี ลยี้ งปศสุ ัตว์บนทุง่ หญา้ มใิ ชว่ ัฒนธรรมของชนชาติไทย
4. การอพยพจากเทือกเขาอัลไตลงมาต้องเดินทางเป็นระยะทางไกลมาก และต้องผ่านทะเลทรายกว้าง
ใหญท่ รุ กันดาร จึงไมน่ ่าเป็นไปได้ หรอื ถ้าเปน็ ไปไดก้ ็คงจะเหลอื ผรู้ อดชวี ิตไม่มากนัก
ภาพ 3 แผนทแ่ี สดงแนวคดิ ชนชาติไทยเป็นเชอื้ สายมองโกล มถี ิ่นเดมิ อยู่แถบเทอื กเขาอัลไต
ท่ีมา : http://thailandhitstory.yolasite.com/แนวคิดถิ่นกำเนดิ .php
สบื คน้ เมอื่ : 24 เมษายน 2562
3. แนวคดิ ถนิ่ เดมิ ของชนชาตไิ ทยอยใู่ นบรเิ วณตอนใต้ของจีน
แนวคิดนีเ้ ช่อื วา่ ถิ่นเดมิ ของชนชาติไทยอยบู่ รเิ วณซ่ึงปัจจุบนั เป็นมณฑลหยนุ หนาน เขตปกครองตนเอง
กวางซจี ว้ ง และมณฑลกว่างตงของจีน ตอนเหนอื ของเวยี ดนาม รัฐชานของพม่า และรัฐอัสสัมของอินเดีย
ภาพ 4 แผนทแี่ สดงแนวคดิ ถนิ่ เดมิ ของชนชาตไิ ทยอยู่ในบรเิ วณตอนใตข้ องจนี
ที่มา : https://my.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=672161&chapter=7
สืบค้นเมือ่ : 24 เมษายน 2562
ผู้เสนอแนวคดิ ที่ว่าชนชาตไิ ทยมีถ่นิ กำเนดิ ในตอนใตข้ องจนี คอื อารช์ ิบอลด์ รอสส์ คอลคูน (Archibald
Ross Colqhoun) นกั สำรวจชาวองั กฤษซงึ่ ได้เดนิ ทางสำรวจดินแดนตอนใต้ของจีนแล้วเสนอแนวคิดนี้ใน พ.ศ.
2426
แนวคิดนีไ้ ด้รับการยอมรับสบื เนือ่ งกันตอ่ มาในหม่นู กั วชิ าการไทยและต่างประเทศ เช่น พระยาประชากิจ
กรจกั ร พันตรี เอช. อาร.์ เดวีส์ (H. R. Davies) วิลเฮล์ม เครดเนอร์ (WilheimCredner) นักภาษาศาสตร์ชาว
เยอรมัน ศาสตราจารยว์ ิลเลยี ม เจ. เกดนีย์ (William J. Gedney) นกั ภาษาศาสตรช์ าวอเมรกิ ัน ศาสตราจารย์
ขจร สขุ พานิช รวมทัง้ นักวชิ าการจนี หลายทา่ นก็มคี วามเห็นว่าชนชาตไิ ทยตั้งถ่ินฐานอยู่ทว่ั ไปในเขตจีนตอนใต้ เชน่
ศาสตราจารย์เจยี งอิง้ เหลียงและศาสตราจารยเ์ ฉินหลว่ีฟาน
แนวคิดพื้นฐานของนกั วิชาการกลุ่มนี้มีอยู่ว่า ชนชาติไทยเป็นชนพื้นเมืองที่มีถิ่นฐานอยู่ในเขตจีนตอนใต้
แถบกวา่ งตง กวา่ งซี และหยุนหนาน และอาจกระจายไปถงึ รัฐอัสสมั ของอินเดีย โดยชนกลมุ่ น้ีต้งั ถ่นิ ฐานอยใู่ นเขตที่
ราบลุม่ หุบเขา ประกอบอาชีพเพาะปลูกพชื เมอื งร้อน
หลักฐานสำคัญซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของแนวคิดน้ี คือ หลักฐานทางด้านมานุษยวิทยากับหลักฐานด้าน
ภาษาศาสตร์ สำหรับหลักฐานทางด้านมานุษยวิทยานั้นเป็นหลักฐานที่ได้จากการศึกษาการตั้งถิ่นฐาน วิธีการ
ดำรงชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีร่วมกันของชนกลุ่มทีพ่ ูดภาษาตระกูลไทในภูมิภาคนี้แล้วพบว่า ชนกลุ่มที่พดู
ภาษาตระกูลไท มีการตั้งถิ่นฐานกระจายเป็นบริเวณกว้างตั้งแต่ตอนใตข้ องจีน บริเวณพื้นแผ่นดินใหญข่ องเอเชยี
ตะวนั ออกเฉยี งใต้ และรฐั อสั สมั ของอนิ เดีย
ลักษณะทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนชาติไทยจะสัมพนั ธ์กับลักษณะภูมิประเทศแบบที่ราบลุ่มชุ่มชื้น ที่อยู่
อาศัยยกพื้นสูง ปลูกข้าว โดยมีพิธีกรรมบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ บูชาเทพประจำธรรมชาติ มีพิธีขอฝน
มคี วามเชอื่ และประเพณีเกย่ี วกับขวญั
ผลการศึกษาทางด้านมานุษยวิทยาประกอบหลักฐานทางด้านภาษาศาสตร์เป็นการศึกษาถิ่นกำเนิดของ
ภาษาไทยในแถบตอนใตข้ องจีน โดยศาสตราจารยว์ ิลเลียม เจ. เกดนีย์ ได้เสนอวา่ ถิน่ กำเนดิ ของภาษาไทยอยู่แถว
เสน้ เขตแดนระหว่างเขตปกครองตนเองกวางซจี ้วงของจนี กับเมืองแถงของเวยี ดนาม เพราะไทยจ้วงท่ตี งั้ ถ่ินฐานอยู่
ในบริเวณนม้ี ีภาษาถนิ่ แตกตา่ งกันถงึ 51 ภาษา
ส่วนที่น่านเจ้าแม้จะมีภาษาถิ่นอยู่บ้างแต่ก็สื่อสารกันได้ง่าย น่านเจ้าจึงไม่ใช่ถิ่นกำเนิดของคนไทย
นกั วิชาการไทยท่สี นับสนนุ ทฤษฎนี ี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสรฐิ ณ นคร
สรุปได้วา่ แนวคดิ นเ้ี ช่ือว่าคนไทยเปน็ กล่มุ คนที่ใชภ้ าษาตระกลู ไท ตั้งถ่ินฐานต้งั แตต่ อนใต้ของจนี ภาคเหนือ
ของเวียดนาม ไทย ลาว พม่า และรฐั อสั สมั ของอนิ เดีย เปน็ แนวคิดที่มีหลักฐานทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์
นิรุกตศิ าสตรส์ นับสนนุ จงึ เป็นแนวคดิ ท่ีเป็นท่ยี อมรบั มากที่สดุ ร่วมกันในหม่นู ักวชิ าการปัจจบุ นั
4. แนวคดิ ถน่ิ เดิมของชนชาติไทยอยใู่ นคาบสมุทรมลายูและหม่เู กาะอนิ โดนีเซยี
แนวคิดนี้เชื่อว่าคนไทยมีเชื้อสายมลายู มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ต่อมาอพยพมาทางเหนือยัง
ประเทศไทย และขน้ึ เหนือไปถงึ มณฑลหยนุ หนาน
รูธ เบเนดิกต์ (Ruth Benedict) นักมานษุ ยวทิ ยาชาวอเมรกิ ัน เป็นผเู้ สนอแนวคิดน้ีใน พ.ศ. 2485 ตอ่ มา
กม็ ีนกั วชิ าการไทยสนับสนุนแนวคิดของรูธ เบเนดิกต์ คือ นายแพทยส์ มศักด์ิ พนั ธสุ์ มบญุ ในงานวจิ ัยเก่ียวกับกลุ่ม
เลือดของคนไทย
หลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดนี้ รูธ เบเนดิกต์ ใช้ข้อมูลทางด้านมานุษยวิทยาว่า ชนชาติไทยเป็นชนชาติ
มลายู ได้อพยพจากทางใต้ของแหลมมลายูและหมเู่ กาะอนิ โดนีเซียขึ้นไปทางเหนือ จนถงึ ตอนใตข้ องจีนและอพยพ
กลับลงมาอีกครัง้ หลักฐานอีกประเภท คือ หลักฐานทางการแพทยด์ ้านพันธุศาสตร์ การตรวจสอบกลุม่ เลอื ดและ
รหสั พนั ธุกรรม โดยนายแพทย์สมศักดิ์ พนั ธสุ์ มบุญ ไดศ้ ึกษาความถี่ของกลุ่มเลือดแลว้ พบวา่ กลมุ่ เลือดของคนไทย
คล้ายคลงึ กบั ของคนอนิ โดนิเซยี มากกว่าของคนจนี นอกจากนี้ยงั ไดศ้ ึกษาความถขี่ องยีนพบว่า คนไทยไม่ได้สืบเชื้อ
สายมาจากคนจีน จึงเชื่อว่าคนไทยน่าจะมถี ิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ต่อมาจึงค่อยๆ อพยพมายังลุ่มนำ้
เจา้ พระยาและขึ้นเหนอื ไปถึงมณฑลหยนุ หนานในประเทศจีน
แนวคิดท่วี า่ ถิน่ เดมิ ของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซยี นไ้ี มเ่ ป็นที่ยอมรับ โดยมี
เหตุผลและหลักฐานโต้แย้ง คือ แนวคิดของ รูธ เบเนดิกต์ ไม่มีหลักฐานทางด้านภาษาศาสตร์และประวัติศาสตร์
สนบั สนนุ อีกทง้ั ยังขัดกับหลักทีว่ า่ วฒั นธรรมยอ่ มเคลอื่ นย้ายจากตน้ นำ้ ทางเหนอื ลงไปทางใต้ ส่วนเรอื่ งหมู่เลือดนั้น
ศาสตราจารย์ถาวร วัชราภัย และคณะ ใชว้ ิธีการทท่ี นั สมัยวิจัยหมเู่ ลอื ด ลักษณะของขากรรไกรและฟัน ได้ข้อสรปุ
วา่ ไทดำและผ้ไู ท ซึ่งเปน็ กล่มุ ชนทีพ่ ูดภาษาตระกูลไทอยู่ในเวยี ดนาม มหี มเู่ ลอื ดใกลเ้ คยี งกบั คนจนี และไม่ใกล้เคียง
กับคณุ มาเลเซียและคนเขมร ในขณะท่คี นมาเลเซียมีหมู่เลือด ลกั ษณะของกระดูกขากรรไกรและฟนั ของคนเขมร
อยา่ งไรก็ตาม การค้นคว้าเรอ่ื งชนชาติไทยโดยใช้หลกั ฐานทางด้านพันธุศาสตรแ์ สดงให้เห็นว่า สามารถนำ
วทิ ยาการต่างๆ มาใช้ร่วมกนั ในการศกึ ษาประวัติศาสตรไ์ ด้ โดยนำเอาหลกั ฐานอืน่ มาวิเคราะห์
5. แนวคดิ ถน่ิ เดมิ ของชนชาติไทยอยใู่ นประเทศไทยปจั จบุ นั
แนวคิดว่าถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทย เป็นแนวคิดที่เริ่มขึ้นจาก ดร.ครอริตช์ เวล
(Quaritch Wales) นักประวตั ิศาสตรแ์ ละนักโบราณคดีชาวอังกฤษที่สนใจทางประวัติศาสตร์และโบราณคดขี อง
ภมู ิภาคเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ จากการขดุ พบกะโหลกศรี ษะทีพ่ งตกึ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบรุ ี (ขณะน้ัน
ขึน้ อยู่กบั จงั หวดั ราชบรุ ี) มอี ายุอย่ใู นราว พ.ศ. 500 ซงึ่ เวลส์เหน็ ว่ามลี กั ษณะใกล้เคยี งกับกะโหลกศีรษะของคนไทย
ปจั จบุ ัน เวลสจ์ ึงเสนอแนวคดิ ว่า คนไทยอาจมาตง้ั หลกั แหลง่ อยูใ่ นประเทศไทยมากกวา่ 2,000 ปแี ลว้ และดินแดน
นอ้ี าจเป็นถ่ินกำเนิดของชนชาติไทย
แนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน
กายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีความสนใจงานทางด้านโบราณคดีเป็นพิเศษ เคยอาสาสมัครไปขุดค้น
โครงกระดูกในยุคหนิ ใหม่ร่วมกับคณะขุดค้นไทย-เดนมาร์ก ที่บ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบรุ ี
ใน พ.ศ. 2506 - 2507 ต่อมาได้ศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่จำนวน 37 โครง เปรียบเทียบกบั โครงกระดกู
ของคนไทยสมัยปจั จบุ นั และสรุปไดว้ า่ โครงกระดกู ของมนุษยย์ ุคหนิ ใหมท่ ี่บ้านเกา่ ซง่ึ มอี ายุเกอื บ 4,000 ปีนั้น ไม่มี
ลักษณะแตกต่างที่สำคัญๆ ไปจากโครงกระดูกของคนไทยปัจจุบัน จึงสันนษิ ฐานว่าคนไทยมีถ่ินฐานอยู่ในประเทศ
ไทยตั้งแต่ 4,000 ปีมาแล้ว ในขณะเดียวกันก็มีนักโบราณคดีอีกท่านหนึ่งที่สนับสนุนแนวความคิดน้ี คือ
ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ซึ่งได้ศึกษาหลักฐานทางด้านโบราณคดีจำพวกโครงกระดูก เครื่องใช้และสันนษิ ฐานว่ามี
ผู้คนอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานับหมื่นปี ตั้งแต่ยุคหินเก่ามาจนถึงยุคโลหะ โดยสรุปผลจากการการขุดค้นทาง
โบราณคดีท่ัวประเทศ
ภาพ 5 ศาสตราจารยน์ ายแพทย์สดุ แสงวิเชียร เชื่อว่าถน่ิ เดมิ ของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบนั
ทมี่ า : http://www.tarnnamjai.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=
539266489&Ntype=8
สบื คน้ เมอื่ : 25 เมษายน 2562
นอกจากน้ียังมีนักวชิ าการท่ีสนับสนุนแนวความคดิ ดังกล่าว คือ ศรศี กั ร วลั ลโิ ภดม และ สุจิตต์ วงษ์เทศ
นักวิชาการทั้งสองท่านได้เสนอความคิดว่า คนไทยในปัจจุบันคือกลุ่มชนที่มจี ุดเริ่มต้นในดินแดนประเทศไทยเอง
และมพี ัฒนาการทางวฒั นธรรมเดยี วกนั นอกจากนี้ยังได้เสนอว่า ประเทศไทยและภมู ิภาคน้ีเป็นเส้นทางที่กลุ่มชน
ตา่ งๆ เข้ามาพบปะผสมผสานทางด้านเผ่าพันธ์ุ จนหาเผ่าพนั ธุ์ท่ีบริสุทธิไ์ ดย้ าก ท่สี ำคัญคือนักวิชาการทง้ั สองทา่ นได้
ปฏเิ สธแนวคิดเกย่ี วกับเชือ้ ชาติ
พื้นฐานข้อมูลของแนวคิดที่ว่าชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยมาจากการตีความหลักฐานทาง
โบราณคดีและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีพในยคุ
สมัยต่างๆ โครงกระดูก ร่องรอยชุมชนที่มีหลักฐานแสดงถึงกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในอดีต โบราณสถาน
โบราณวัตถุทัง้ ในสมัยก่อนประวตั ศิ าสตรแ์ ละสมยั ประวตั ิศาสตร์
อยา่ งไรก็ตาม แนวคดิ ทวี่ ่าคนไทยมีถน่ิ กำเนิดในประเทศไทยปจั จุบนั ก็ถกู คัดค้านจากนักวิชาการบางท่าน
เช่น ศาสตราจารยห์ ม่อมเจ้าสภุ ัทรดิศ ดิศกลุ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
ทรงมีความเห็นคัดค้านข้อสรปุ ของศาสตราจารย์ นายแพทยส์ ุด แสงวิเชียร ทั้งนี้ศาสตราจารยห์ ม่อมเจ้าสุภัทรดศิ
ทรงเห็นว่า โครงกระดูกมนุษย์อาจแบ่งได้ 3 แบบ คือ คนผิวขาว คนผิวดำ และคนผิวเหลือง เมื่อทราบว่าโครง
กระดูกที่ขุดพบทบ่ี า้ นเก่าเป็นโครงกระดกู ของคนผวิ เหลืองแล้ว ถา้ จะพิสูจน์ว่าเป็นคนไทยก็ต้องพสิ ูจน์ให้ได้ว่าไม่ใช่
คนชาตผิ ิวเหลอื งอื่นๆ เช่น จีน ญป่ี ่นุ ญวน เขมร มอญ ลาว พม่าเสียกอ่ น จงึ จะลงความเหน็ เช่นนั้นได้ นอกจากน้ี
ยังทรงเชื่อว่าคงมีคนไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนานแล้วแต่เป็นชนกลุ่มน้อยมีคนอินโดนีเซีย มอญ เขมร
มากกว่าในสมัยโบราณ แล้วคนไทยจงึ ค่อยๆ เพิ่มมากขึน้ โดยอพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจนี
ตามหลกั ฐานทางดา้ นภาษาศาสตร์
ภาพ 6 ศาสตราจารยห์ ม่อมเจา้ สภุ ัทรดศิ ดิศกลุ
ทรงคดั ค้านขอ้ สรปุ ของ นพ.สุด แสงวิเชยี ร และทรงเช่อื ว่าชนชาติไทยอพยพมาจากภาคตะวนั ออกเฉยี งใต้ของจนี
ทมี่ า : http://www.thapra.lib.su.ac.th/supat/
สืบค้นเม่อื : 24 เมษายน 2562
2. แนวคดิ ว่าดว้ ยอาณาจักรน่านเจา้ เป็นอาณาจักรของคนไทย
แนวคิดที่ว่าอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไทย เป็นส่วนหนึ่งของหลายแนวคิดเกี่ยวกบั ถิ่นเดิม
ของชนชาติไทย ทั้งน้แี นวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่แถบเทือกเขาอัลไต อยูบ่ ริเวณตอนกลางของจีน และอยู่ใน
บริเวณตอนใตข้ องจนี โดยอยใู่ นฐานะส่วนหน่งึ ของกลุ่มแนวคดิ สายการอพยพของชนชาตไิ ทยจากประเทศจีนมายัง
ประเทศไทย
แนวคิดที่ว่าอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไทย เสนอว่า แต่เดิมชนชาติไทยมีถิ่นฐานอยู่ใน
ดินแดนประเทศจีน ต่อมาถกู จนี รุกรานจึงตั้งอาณาจกั รนา่ นเจ้าในชว่ งพทุ ธศตวรรษท่ี 11 แลว้ อาณาจกั รน่านเจ้าถูก
ยึดครองโดยพวกมองโกลในชว่ งปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ชนชาตไิ ทยจงึ อพยพลงมายงั ประเทศไทยปัจจุบันแล้วต้ัง
อาณาจกั รสโุ ขทยั ขนึ้
นกั วิชาการท่ยี อมรบั แนวคิดเรือ่ งอาณาจกั รนา่ นเจ้ามีอยู่หลายกลมุ่ ดว้ ยกัน ไดแ้ ก่ กล่มุ ทเ่ี ช่อื ว่าชนชาติไทย
มีถิ่นกำเนดิ อยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต เชน่ ขนุ วิจิตรมาตรา (รองอำมาตยโ์ ทรสง่า กาญจนาคพนั ธ)์ กลุ่มท่ีเช่ือว่าชน
ชาติไทยมถี นิ่ กำเนิดอยู่บริเวณตอนกลางของจีน เช่น หลวงวิจติ รวาทการ (กิมเหลียง วฒั นปฤดา) พระบริหารเทพ
ธานี และกลุ่มท่ีเช่ือว่าถ่ินเดิมของชนชาติไทยอยูบ่ ริเวณตอนใต้ของจีนเช่น อี. เอช. ปาร์เกอร์ ศาสตราจารย์ยอร์ช
เซเดส์ ศาสตราจารย์โวลแฟรม อเี บอรฮ์ าร์ด
ภาพ 7 หลวงวิจติ รวาทการ เชอื่ ว่าถิ่นเดิมของชนชาตไิ ทยอยตู่ อนกลางของจนี
ที่มา : http://www.thaidances.com/vijitvatakran/index1.asp
สืบค้นเมื่อ : 24 เมษายน 2562
หลักฐานพืน้ ฐานของแนวคิดเรอ่ื งอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไทย มาจากการตีความเอกสาร
จีนและหลักฐานทางด้านภาษาศาสตร์ โดยการเลียนเสียงคำในภาษาไทยกับภาษาที่ใช้ในอาณาจักรน่านเจ้า เช่น
คำวา่ เจ้า กบั ฟ้า ว่ามีความคล้ายถึงกัน
อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีที่ว่าด้วยอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไทย มีนักวิชาการหลายท่านท่ี
คัดค้าน เช่น ปอล เปลีโอ (Paul Pelliot) นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เฟรเดอริก โมต (Frederick Mote)
นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์จีน ชาร์ลส์ แบกคัส (Charles Backus) ผู้ศึกษา
เกี่ยวกับเอกสารจีนและนักวิชาการจีน เช่น ศาสตราจารย์เฉินหลวี่ฟ่าน โดยประเด็นที่นักวิชาการหลายท่าน
คัดคา้ นเรื่องน่านเจ้าได้แก่
1. เรื่องภาษา การที่นำคำในภาษาไทยไปเลียนเสียงคำภาษาพื้นเมืองของน่านเจ้า แล้วระบุว่าเป็นคำใน
ภาษาไทย เฟรเดอรกิ โมต ศึกษาจากเอกสารจนี แลว้ แยง้ วา่ ที่คิดว่าคำในภาษาไทยเป็นคำเดียวกบั ภาษาของน่าน
เจ้าน้ัน คำเหล่านั้นตา่ งก็มีในภาษาอน่ื ดว้ ย เชน่ คำว่า ฟ้า และ เจ้า ซงึ่ เปน็ คำในภาษาไทยน้ัน ภาษาพม่าและทิเบต
ก็มีคำเหล่านี้เช่นกัน ชาร์ลส์ แบกคัส ยังแย้งว่าภาษาของชนชาติที่ปกครองนา่ นเจ้าไม่ใช่ภาษาตระกูลไท แต่เป็น
ภาษาในตระกูลทเิ บต-พมา่
2. เรื่องชนชาติ นักวิชาการเหล่านี้แยง้ ว่า ชนชาติที่ก่อตั้งอาณาจักรน่านเจ้าไม่ใช่ชนชาติไทยแต่เป็นชน
ชาติไป๋และหยี ซึ่งปัจจุบันยังคงตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นแกนกลางของอาณาจักรน่านเจ้า นอกจากน้ี
นักวชิ าการหลายท่าน เชน่ ปอล เปลลโี อ ศาสตราจารยเ์ ฉนิ หนวฟี่ า่ น เชื่อว่าอาณาจกั รน่านเจ้ามีชนกลุ่มใหญ่อยู่ 2
กล่มุ คือ พวกอหู มานหรือพวกหยกี บั พวกไป๋หมานหรอื ชนชาตไิ ป๋
3. เร่อื งวัฒนธรรม ปอล เปลลโิ อ ได้วจิ ารณน์ ักประวัตศิ าสตรบ์ างคนว่าใชเ้ อกสารจีนอย่างไม่ระมัดระวังใน
การสรุปวา่ น่านเจ้าเป็นอาณาจักรของชนชาติไทย โดยเฉพาะทอ่ี า้ งวา่ เจ้านายนา่ นเจา้ มปี ระเพณนี ำพยางค์แรกของ
ชื่อลูก เช่น พ่อชื่อ พีลอโก๊ะ ลูกชื่อ โก๊ะล่อฟง ประเพณีนี้ไม่มีในชนชาตทิ ี่พูดภาษาตระกูลไท แต่มีในชนชาติทีพ่ ูด
ภาษาตระกลู ทิเบต-พม่า โดยเฉพาะพวกหลอหลอ วฒั นธรรมประเพณีของชาวนา่ นเจ้าจึงแตกต่างจากชนชาติไทย
นักประวัตศิ าสตร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่เชื่อว่า อาณาจักรน่านเจ้าไม่ใช่อาณาจักรของชนชาติไทย เพียงแต่
อาจมชี นชาตไิ ทยอาศัยอยู่ด้วย แตไ่ ม่ใช่ในฐานะผู้ปกครองหรอื ชนสว่ นใหญข่ องอาณาจกั รนี้