The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jerasak20boon, 2022-03-08 02:09:13

บทที่ 1 ISs

บทที่ 1 ISs

การบริหารงานวชิ าการของผู้บริหารทม่ี ีสว่ นร่วมในระบบดแู ล
ชว่ ยเหลือนกั เรยี นของโรงเรียนขนาดกลางในสถานศึกษา
สังกดั สำนักงานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษามัธยมศกึ ษาอา่ งทอง

จรี ะศกั ดิ์ จันทรังษี

บทท่ี 1
บทนำ

ความเป็นมา
สถานการณ์ในปัจจุบันของสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร ความเจริญก้าวหน้าทางสื่อดิจิตัล

ได้เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมทุกรูปแบบ ทำให้บุคคลในประเทศไทย โดย
เฉพาะในเด็กและเยาวชน ต้องได้รับรู้และเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เปลี่ยนแปลง
ไปอย่างรวดเร็ว เต็มไปด้วยสถานการณ์ปัญหามากมาย ทั้งทางสังคมและทางการศึกษา ทำให้
เด็กและเยาวชนมพี ฤตกิ รรมแตกต่างไปจากเด็กและเยาวชนในอดีตที่ผ่านมา แม้ว่าจะมกี ารดูแล
อยา่ งดีจากผู้ปกครอง ครูอาจารย์จะให้ความปรารถนาดีอย่างมากเท่าไรกต็ าม กไ็ ม่อาจทำใหเ้ ด็ก
และเยาวชนนั้นมีพฤติกรรมท่ีสังคมพึงท่ีคาดหวังได้ สถานศึกษาเป็นองค์กรหนึ่งที่มีความสำคัญ
ที่จัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในโรงเรียนก็มี
ความสำคัญในการช่วยพัฒนาให้กับนักเรียน ท่ีสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาประเทศ
ดังนี้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ย่ังยืน เป็นประเทศที่ พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและ
เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการวางรากฐานการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติ
และในทุกช่วงวัย ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ท่ีดี เก่ง และมีคุณภาพพร้อมขับเคล่ือนการพัฒนา
ประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็ม ศักยภาพ ซึ่ง “คนไทยในอนาคต จะต้องมีความพร้อมท้ังกาย
ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน และมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ
รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็น
พลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะท่ีจำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะส่ือสาร
ภาษาอังกฤษและ ภาษาที่ 3 และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนา
ตนเองอย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทย ที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด
ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมี สัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง”
( สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน, 2563:1 )

ในท่ีนี้ ตามกฎกระทรวงซึง่ กำหนดหลักเกณฑ์และวธิ ีการกระจายอำนาจการบริหารและ
การจัดการศึกษาพ.ศ. 2550 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 39 วรรคสองแห่ง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ซ่ึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาตฉิ บับที่ 2 พ.ศ.2545) ไดร้ ะบุว่า การบริหารและการจดั การศึกษาขนั้ พื้นฐาน ให้ตามเขต

พ้ืนท่ีการศึกษาเพ่ือให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการในการบริหารจัดการศึกษาได้โดยอิสระ

สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถ่ิน และการมีส่วนร่วมจากผู้มี

ส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยกำหนดขอบข่ายและภาระกิจการบริหารสถานศึกษาไว้ 4 งาน คือ
งานวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารงานบุคคล และงานบริหารงานทั่วไป ในงาน

ดงั กล่าวท้ัง 4 ด้านนี้ งานวิชาการถือว่าเป็นงานหลักโดยตรงเมื่อพิจารณาให้ตรงกบั วัตถุประสงค์
หลักของการบริหารสถานศึกษา เป็นงานท่ีเป็นไปเพ่ือให้นักเรียนบรรลุจุดมุงหมาย ผู้บริหารจะ

บริหารงานวิชาการให้มีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผลนั้น ต้องเข้าใจในงานวิชาการให้แท้จริง

รู้จักปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆนั้นให้ได้และพัฒนางานด้าน

วิชาการให้ดยี ิง่ ขึ้นต่อไป

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างรอบด้าน เพื่อดูแล

ช่วยเหลือนักเรียนให้ถูกที่ ถูกเวลา เสริมสร้างสมรรถนะ ให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง ตลอดถึง
การดูแลและสงเคราะห์นกั เรียนท่ีอยู่ในครอบครัวกลุ่มเสีย่ ง หรอื ประสบปัญหาต่างๆ โดยมุ่งเน้น

พัฒนาผู้เรียนอย่างท่ัวถึง ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับนักเรียนในช่วงวัยเรียนในด้านต่างๆ ที่มี

ผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาระบบเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรท่ี
เก่ียวข้อง และหน่วยงานต่างๆ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นการดำเนินงานท่ีช่วยเหลือ

นักเรียนอย่างเป็นระบบ มีข้ันตอนชัดเจน พร้อมทั้งมีวิธีการและเครื่องมือท่ีมีมาตรฐานและมี

หลักฐานในการทำงานที่เช่ือถือและตรวจสอบได้ โดยมีคณะผู้บริหารทางวิชาการ ครูประจำชั้น
ครูท่ปี รึกษา ครแู นะแนว เป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงานโดยมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย

ที่เกี่ยวข้องท้ังภายในและภายนอกสถานศึกษา เช่น ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา

ผ้ปู กครอง ชุมชน และครทู ุกคน มีวิธกี ารทม่ี ีมาตรฐาน ถกู ตอ้ งแมน่ ยำและสามารถตรวจสอบได้
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พ้ืนฐาน.2552:9)

การบริหารงานวิชาการ ที่มีการจัดกิจกรรมทุกส่ิงทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปรับปรุง การ
พัฒนา การเรียนการสอนให้ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน นั้น
จะมีส่วนร่วมในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย (ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์,2535 : 16)
เช่นเดียวกับ จันทรานี สงวนนาม (2553:143) ได้ให้ความสำคัญของงานวิชาการไว้ว่า งาน
วิชาการเป็นหัวใจสำคัญของสถานศึกษาที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งงาน
วิชาการจะส่งผลต่อนักเรียน โดยให้ครูมีส่วนร่วมในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูมีความ

ตระหนักและร่วมมอื พัฒนางานวิชาการอย่างจริงจงั สามารถนำปรัชญาของสถานศึกษาไปสู่การ
ปฏิบัติตามโครงการต่างๆได้อย่างดีย่ิงและนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ครูให้ไปใช้ประยุกต์ใช้
อยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ

นโยบาย สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรีอ่างทอง (มัธยมศึกษาเขต 5)
ได้กำหนดแนวทางพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไว้ดังน้ี 1) ผู้บริหารโรงเรียนต้องเห็น
ความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างจริงจังและให้การสนับสนุสดำเนินการ
ต่อเน่ือง 2) ครูทุกคนและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนอย่างจริงจังและมีความยินดีในการพัฒนานักเรียนในทุกๆด้าน 3) คณะทำงานหรือ
คณะกรรมการทุกชุดต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด ทำงานเป็นทีมเพ่ือพัฒนาระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน ดังนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรีอ่างทอง
(มัธยมศึกษาเขต 5) จึงกำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โดยโรงเรยี นต้องมีการวางแผนที่ชัดเจนเพ่ือพัฒนานักเรยี นใหเ้ ปน็ คนที่มคี ุณภาพทั้งด้านร่างกาย
จิตใจ และสติปัญญา ท้ังน้ีผู้บริหารงานวิชาการมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบ
ดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้ได้ตามท่ีสังคมมุ่งหวัง ( สำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา
อ่างทอง (มัธยมศึกษาเขต 5).ออนไลน์ คู่มือครูที่ปรึกษาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่ม
สง่ เสริมการจัดการศึกษา)

จาก ค วาม ส ำคั ญ ดั งกล่ าวผู้ วิจัยเห็ น ถึงค วามส ำคัญ ขอ งก าร บ ริห าร งาน วิช าก ารข อ ง
ผู้บริหารที่มีส่วนร่วมในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จึงได้ศึกษา งานบริหารวิชาการของ
ผู้บริหารที่มีส่วนร่วมในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขนาดกลางในสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษามัธยมศึกษาอ่างทอง เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติให้

เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อนักเรียนและการบริหารวิชาการในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้

บรหิ ารงานวิชาการ ใหบ้ รรลวุ ัตถปุ ระสงค์ตามที่กำหนดไว้


Click to View FlipBook Version