The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ครูนัท พาลุย, 2023-09-20 00:07:45

กาตูนพระนาราย

กาตูนพระนาราย

พระนารายณ์ราชนิเวศน์เป็นพระราชวังที่ที่สมเด็จพนะนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี โดยวัตถุประสงค์ในการสร้าง พระราชวังแห่งนี้มีหลาย สาเหตุ ประการแรกพระองค์ โปรดการประพาสป่าล่าสัตว์ และลพบุรีก็เป็นสถานที่ เหมาะสมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการล่าช้างที่ถือ เป็นสินค้าส่งออกส าคัญใน เวลานั้น


โดยในเวลาดังกล่าว ช า ว ส ย า ม มี ค ว า ม ช านาญในการฝึกช้าง เป็นอย่างมาก เมื่อฝึก จนเชื่องแล้วจะส่งขาย ไ ป ยัง ต่ าง ป ร ะ เ ท ศ โดยเฉพ าะป ระเทศ อินเดียที่มีใบบอกขอ ซื้อช้างปีละหลายร้อย เชือก ผู้ที่ดูแลเรื่องช้างในเวลาดัง กล่าวคือ ออกพระเพทราชา ผู้ดูแล กรมคชบาล นับเป็นต าแหน่ง ส าคัญอย่างมาก เพราะต้อง ถวายอารักขาด้วย


สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังโปรดให้สร้างพระที่นั่งไกรสรณ์สีหราช เอาไว้ที่ต าบลทะเลชุบศร เพื่อเอาไว้เป็นที่ประทับเพื่อประพาสป่าล่าสัตว์อีก ด้วย ซึ่งพระที่นั่งองค์ดังกล่าวในอดีตตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ าที่เหล่าสัตว์ต่างชอบ มาดื่มกิน จนได้ยินเสียงสัตว์ต่างๆมาร้องอยู่ใกล้พระที่นั่งบ่อยๆ จึงขนาน นามพระที่นั่งองค์นี้ว่า ไกรสรณ์สีหราชหรือพระที่นั่งราชสีห์ค าราม หรือพระ ที่นั่งเย็น


โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง.... ประการต่อมาพระองค์ ทรงไม่วางพระทัยใน เหล่าขุนนางอยุธยาใน เวลานั้น โดยเฉพาะ เหล่าขุนนางไทย ที่ อาจจะก่อกบฏได้ ตลอดเวลา ขุนนางฝ่าย กลาโหม (ฝ่ายทหาร)


สมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดปรานที่จะจ้างขุนนางต่างชาติ จ านวนมากเข้า มารับราชการในราชส านัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทหารมัวร์ที่มีบทบาทในการ ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชของสมเด็จพระนารายณ์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีทหารและขุน นางสัญชาติอื่นอีกจ านวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเปอร์เซีย ที่มีบทบาทในการออกแบบ พระราชวังเมืองลพบุรี และขุน นางคนส าคัญชาวกรีกอีกผู้หนึ่ง ผู้มีนามว่า ออกญาวิชาเยนทร์ หรือคอนสแตนติน ฟอลคอน


ประการต่อมาลพบุรีอยู่ไม่ไกลจากกรุง ศรีอยุธยามากนัก มีแม่น้ าลพบุรีเป็น ทางสัญจร หากมีเหตุต้องออกว่า ราชการที่วังหลวงก็สามารถใช้เวลาไม่ นานในการเดินทาง (12 ชั่วโมง)


อีกทั้งสมเด็จพระนารายณ์ยังมีพระ อาการประชวรเกี่ยวกับพระวักตะ (ไต) ซึ่งน้ าที่ลพบุรีมีความสะอาดมากกว่า กรุงศรีอยุธยา ท าให้เหมาะแก่การ รักษาพระอาการประชวรมากกว่า


อีกทั้งกรุงศรีอยุธยายังมีปัญหากับทางฮอลันดา (ฮอลแลนด์) เรื่อง การค้าหนังกวางกับญี่ปุ่น ซึ่งในเวลาดังกล่าวฮอลันดาผูกขาดการค้ากับ ญี่ปุ่นโดยตรงส่งผลให้ฮอลันดาไม่พอใจ เพราะอยุธยาแอบท าการค้ากับ ญี่ปุ่น ประกอบกับอยุธยาเป็นเกาะมีแม่น้ าล้อมรอบเสี่ยงต่อการถูกเรือ รบของฮอลันดาปิดล้อม


ด้วยเหตุผลทั้งหมดข้างต้นจึงเกิดเป็นพระนารายณ์ราชนิเวศน์ขึ้นมาโดย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงด าริให้สร้างในราว พ.ศ. 2209 และ นับเป็นโบราณสถานที่ชาวลพบุรีควรภาคภูมิใจและอนุรักษ์ไว้ชั่วลูกสืบ หลานต่อไป รูปทรงสันนิษฐานของพระ ที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญญมหา ปราสาท พระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญญมหาปราสาทในปัจจุบัน เป็นพระที่นั่ง ส าหรับให้แขกเมืองจากต่างชาติเข้าเฝ้า


อ่างเก็บน้ าภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระนารายณ์โปรดด าริให้ สร้างเพื่อเป็นอ่างเก็บน้ าภายในพระราชวังโดยล าเลียงน้ าผ่านท่อน้ าดิน เผาจากอ่างซับเหล็ก และพระที่นั่งเย็น พระที่นั่งจันทรพิศาล พระที่นั่งที่สร้างแบบไทยประเพณี เป็นสถานที่ให้ ขุนนางไทยเข้าเฝ้า โดยจะโปรดให้เข้าเฝ้าสองรอบคือเช้าและบ่าย โดย ตอนเช้าขุนนางจะเข้าไปเข้าเฝ้าภายในพระที่นั่งส่วนตอนบ่ายสี่โมงเย็น จะเส็จประทับบริเวณมุขเด็จ ส่วนข้าราชบริภารจะเข้าเฝ้าด้านล่าง


พระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ (พระที่นั่งส าหรับ บรรทม) และเป็นพระที่นั่งที่สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคต รูปทรงสันนิษฐาน สภาพปัจจุบัน


Click to View FlipBook Version