The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นางสาวภคินี ผลามิโช
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ตำแหน่ง ครู









โรงเรียนบ้านท่าวา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pakinee Palamicho, 2023-03-06 22:02:54

การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา

นางสาวภคินี ผลามิโช
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ตำแหน่ง ครู









โรงเรียนบ้านท่าวา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

Keywords: แบบรายงานวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice),ทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ,คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

แบบรายงานวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา “PADLUNG Model” ประจำปีการศึกษา 2565 เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา นางสาวภคินี ผลามิโช กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านท่าวา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


คำนำ แบบรายงานวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เล่มนี้ นำเสนอการใช้นวัตกรรมเทคนิคการอ่าน และเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บ้านท่าวา ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ จุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ของผู้เรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับ เพื่อนร่วมวิชาชีพครูและนำไปสู่ความก้าวหน้าทางการศึกษา ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแบบรายงานฉบับนี้จะ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอภัยมา ณ ที่นี้ นางสาวภคินี ผลามิโช ตำแหน่ง ครู ผู้จัดทำและเจ้าของผลงาน


สารบัญ เรื่อง หน้า ความสำคัญของนวัตกรรม...............................................................................................................1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน................................................................................3 ขั้นตอนของการดำเนินงาน………………………………………………………………………………………………….4 ผลสำเร็จของการดำเนินงาน……………………………………………………………………………………………….8 แนวทางการนำนวัตกรรมไปใช้ และแนวทางการพัฒนาต่อยอด……………………………………………… 10 การเผยแพร่นวัตกรรม………………………………………………………………………………………………………..10


วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ชื่อผลงาน การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสาวภคินี ผลามิโช ตำแหน่ง ครู โรงเรียน บ้านท่าวา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตำบล เกาะหมาก อำเภอ ปากพะยูน จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93120 โทรศัพท์ 090-2099902 E-mail : [email protected] Facebook : Pakinee Palamicho 1. ความสำคัญของนวัตกรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ได้กำหนดไว้ว่าภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การ ประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก ช่วยพัฒนาให้เข้าใจตนเอง และผู้อื่นได้ดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรมภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการ เรียนรู้พื้นฐานซึ่งกำหนดให้เรียนตลอดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ภาษาอังกฤษ สาระสำคัญของการ เรียน คือ ภาษาเพื่อการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาอังกฤษในการฟังพูด อ่าน เขียน เน้นมาตรฐานการเข้าใจและ ตีความสาระสำคัญจากเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษประกอบด้วยทักษะที่หลากหลาย ทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน การอ่านและเขียนเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญ กล่าวคือ การอ่านและการเขียนเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ที่จะต้องดำเนินการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำ เป็น รักการอ่าน เขียนคล่อง และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ, 2542) การอ่านและการเขียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ คนที่มีทักษะในการอ่านย่อม ได้เปรียบ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ (สนิท ตั้งทวี, 2546) จึงเห็นได้ว่าผู้ที่มีนิสัยรักการอ่านและมีทักษะในการอ่านย่อมแสวงหาความรู้และศึกษา เล่าเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ในการเขียนได้เป็นอย่างดี ไวท์แมน (Wiseman, 1992) กล่าวว่าการสอนอ่านและเขียนภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนภาษาอังกฤษต่ำนั้น ครูควรจะหาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษในด้านการใช้โครงสร้างทางภาษาและการ หาความหมายของคำศัพท์อีกด้วย เพราะความรู้ในเรื่องดังกล่าว เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้ผู้อ่าน ประสบความสำเร็จในการอ่านเพื่อความเข้าใจได้ แต่นักเรียนกลุ่มดังกล่าวจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ใน เรื่องเหล่านี้ ส่วนขั้นตอนของฮาดเลย์ (Hadley, 1996) ได้กล่าวว่า การฝึกหัดการอ่านเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับ นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองหรือเป็นภาษาต่างประเทศ การสอนทักษะการอ่านควรสอน หลังจากที่นักเรียนได้อ่านเนื้อหาทั้งหมดไปแล้ว และสอนเฉพาะโครงสร้างทางภาษาและการหาความหมายของ คำศัพท์ที่จำเป็นต่อการอ่านเนื้อหาดังกล่าวเท่านั้น จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ พบว่า ทักษะ การอ่านและเขียนมีปัญหาหลายประการ มีนักการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆ คนได้พยายามแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาประสิทธิภาพการอ่าน เช่น (ธิดารัก ดาบพลอ่อน, 2542: บทคัดย่อ) ได้พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อจับใจความชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนกุดบาก 1


ราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากุดบาก จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คนผลการศึกษาพบว่า แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพ 80.26/79.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ที่ตั้งไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 นอกจากนี้ (ดวงสมร อปราชิตา, 2547: บทคัดย่อ ) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนการสอน ภาษาอังกฤษด้วยหนังสือการ์ตูน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าเรือพิทยาคม อำเภอท่า มะกา จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า บทเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษด้วยหนังสือการ์ตูนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.75/80.43 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษด้วย หนังสือการ์ตูนมีคะแนนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากการติดตามวัดผลและประเมินผลการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 พบว่านักเรียนร้อยละ 50 ไม่ สามารถอ่านและเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษได้ หากนักเรียนกลุ่มดังกล่าวไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนอาจ ส่งผลให้นักเรียนรู้สึกว่าการเรียนเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ยากเกินความสามารถของตนเองจนสุดท้ายมีความคิดอยาก ออกจากระบบการศึกษา จึงทำให้ผู้อำนวยการโรงเรียน ฝ่ายบริหารวิชาการและครูผู้สอนทุกคนร่วมกัน วิเคราะห์ด้วยกระบวนการ PLC ถึงสาเหตุของนักเรียนกลุ่มพอใช้และปรับปรุง จึงค้นพบว่า นักเรียนบางคน อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ นักเรียนบางคนอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง จึงเป็นปัญหาส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ ด้วยเหตุนี้ จึงได้ค้นคว้าหาแนวทางในการแก้ปัญหาการอ่านและเขียนสะกด คำศัพท์ภาษาอังกฤษจนค้นพบวิธีการที่นักการศึกษานำมาใช้ทักษะแก้ปัญหาทักษะการอ่านและการเขียน สะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนได้ผล คือ การใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ภาษาอังกฤษ ดังนั้น เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น จึงได้สร้างนวัตกรรมการพัฒนา ทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR โดยคาดหวังว่าการจัดการ เรียนรู้นวัตกรรมดังกล่าวสามารถพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนและ สามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ให้สูงขึ้นและเพื่อเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพต่อไป นวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ใช้พัฒนาการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งคำว่า MERCURY STAR เป็นคำนามในภาษาอังกฤษ แปลว่า ดาวพุธ หมายถึง ดาวที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล มีอิทธิพลในด้าน ของการสื่อสาร, ความคิด, ตรรกะ, ความรู้ และวาทศิลป์ในทางโหราศาสตร์ เช่นเดียวกันกับนวัตกรรมนี้ที่ เปรียบเทียบนักเรียนเสมือนดวงดาวที่มีขนาดเล็กที่สุด ที่ต้องอาศัยมวลประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ หล่อหลอมให้เป็นดาวพุธที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสามารถในการอ่านและ เขียนที่สูงขึ้น หากนักเรียนมีทักษะการอ่านการเขียนได้แล้ว นักเรียนก็มีโอกาสที่จะเรียนรู้ทักษะอื่นๆด้วยตัวเอง ได้ง่ายยิ่งขึ้น ตามที่ (พงษ์พันชี พงโสภา, 2544) กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดด์ว่าประกอบด้วย 3 หลักการ ได้แก่ 1) หลักการความพึงพอใจ เน้นถึงการสร้างความพึงพอใจกับนักเรียน โดยการชื่นชม การให้ รางวัล เป็นต้น 2) หลักของความพร้อม เน้นว่าการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อนักเรียนมีความพร้อม นำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์ อันจะทำให้การเรียนรู้เป็นไป อย่างมีประสิทธิผล และ 3) หลักของการฝึกหัด กล่าวคือนักเรียนต้องมีการฝึกฝนอยู่เสมอ ไม่ทิ้งช่วงการฝึกไว้ นานเพราะอาจจะทำให้ลืมได้ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ ที่เน้นในเรื่องการ เสริมแรง กล่าวคือพฤติกรรมใดที่ได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก แนวทางการ 2


เสริมแรงประกอบด้วย การให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมหรือลงมือทำด้วยตนอง การให้มีความก้าวหน้าทีละน้อย ๆ และการให้นักเรียนรู้ผลของการกระทำในทันที จากทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดด์และสกินเนอร์ ที่กล่าวไว้ข้างต้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการ พัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR เพื่อพัฒนาการอ่าน ออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องของนักเรียนได้ เป็นอย่างดีโดยการจัดการเรียนรู้นั้น ควรพิจารณาถึงความ พร้อมและความพึงพอใจของนักเรียน ควรสร้าง แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำให้มีความน่าสนใจทั้ง ในด้านเนื้อหาและรูปแบบ ควรเน้นการฝึกฝนซ้ำ ๆ รวมถึงการออกแบบให้มีการเสริมแรงในการทำจัดกิจกรรม การเรียนรู้เพื่อดึงดูดให้นักเรียนสนใจในการเรียนรู้ อันจะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน อย่างแท้จริง จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้นครูผู้สอนจึงมีความสนใจที่ศึกษาการพัฒนาทักษะการอ่านและ เขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้าน ท่าวา โดยจะนำข้อมูลที่ได้จากการสร้างนวัตกรรมมาพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามนวัตกรรมนี้เป็นประโยชน์ต่อวงการการศึกษาโดยเฉพาะครูผู้สอน เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริม ภาษาอังกฤษและจัดการสถานศึกษาในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว 2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 2.1 เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา โดยใช้โมเดล MERCURY STAR 2.2 เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา ที่มีต่อการใช้ นวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR เชิงคุณภาพ 2.3 เพื่อสร้างโมเดล MERCURY STAR เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา เป้าหมายของการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา จังหวัดพัทลุง ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ พื้นฐาน (อ 16101) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 6 คน ผลที่คาดหวัง หลังจากใช้นวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR แล้ว ผู้เรียนร้อยละ 90 พัฒนาทักษะการอ่านและเขียน สะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษสูงขึ้นในระดับดี-ดีเยี่ยม สามารถอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงผู้เรียนร้อยละ 90 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยการใช้นวัตกรรมการ พัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR 3


3. ขั้นตอนของการดำเนินงาน กระบวนการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ โมเดล MERCURY STAR เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา ได้นำกระบวนการวงจรคุณภาพ (PDCA) เดมมิ่งในการ สร้างนวัตกรรมโดยมีขั้นตอน ดังนี้ ภาพที่ 1 กระบวนการขับเคลื่อนการทำงานเชิงระบบโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา 4


ภาพที่ 2 ภาพแสดงโมเดล MERCURY STAR เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ 5


4.1 ขั้นวางแผน (P: Plan) เป็นขั้นตอนการวางแผนในการดำเนินงานแก้ปัญหากลุ่มนักเรียนได้ คะแนนอยู่ในระดับพอใช้และระดับปรับปรุงของผลการวัดและประเมินผลความสามารถในรายวิชา ภาษาอังกฤษ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 โดยกำหนดขั้นตอนดังนี้ ตารางที่ 1 แสดงกำหนดการวางแผนการสร้างนวัตกรรมโดยใช้โมเดล MERCURY STAR ที่ กำหนดการ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา 1 ประชุมวางแผน กำหนดนโยบายและวิธีการ แก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่านและเขียนของ นักเรียน - ผู้อำนวยการโรงเรียน - ฝ่ายบริหารวิชาการ - ครูผู้สอน 17-20 พ.ค. 2565 2 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารวิจัยที่ เกี่ยวข้อง - ฝ่ายบริหารวิชาการ - ครูผู้สอน 23-26 พ.ค. 2565 3 กำหนดรูปแบบนวัตกรรมและแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบ - ฝ่ายบริหารวิชาการ - ครูผู้สอน 31 พ.ค. 2565 – 10 มิ.ย. 2565 4.2 ขั้นดำเนินการ (D: Do) เป็นขั้นตอนการดำเนินสร้างนวัตกรรมและการนำนวัตกรรมการอ่าน และเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR ที่ กำหนดการ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา 1 สร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน จำนวน 5 ชุดแบบฝึก - ครูผู้สอน 31 พ.ค. 2565 – 10 มิ.ย. 2565 2 สร้างแบบประเมินความพึงพอใจ - ครูผู้สอน 12-14 ก.ย. 2565 4.2.1 การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษ มีขั้นตอนการสร้าง และตรวจสอบคุณภาพดังนี้ 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการจัดการเรียนรู้โดยการ สอนในรายวิชาชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (ท16101) ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน สะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2. กำหนดกรอบเนื้อหา หัวข้อและรูปแบบของแบบหัดอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ ซึ่งเน้นคำพื้นฐานโดยแบบฝึกอ่านและเขียนภาษาอังกฤษแต่ละชุดเริ่มจากแบบ ฝึกอ่านและเขียนสะกคำภาษาอังกฤษที่ง่ายสู่แบบฝึกหัดการอ่านที่ยากขึ้น 3. ดำเนินการสร้างแบบหัดอ่านภาษาไทยตามกรอบที่ได้กำหนดไว้ จำนวน 5 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 : Fun with foods vocabularies. ชุดที่ 2 : Fun with occupations vocabularies. ชุดที่ 3 : Fun with subjects vocabularies. ชุดที่ 4 : Fun with vegetables vocabularies. ชุดที่ 5 : Fun with place vocabularies 6


4. ดำเนินการสร้างแบบประเมินคุณภาพของแบบหัดอ่านและเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้แบบ มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert) คือ 5 คะแนน หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด 4 คะแนน หมายถึง เหมาะสมมาก 3 คะแนน หมายถึง เหมาะสมปานกลาง 2 คะแนน หมายถึง เหมาะสมน้อย 1 คะแนน หมายถึง เหมาะสมน้อยที่สุด 5. นำแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษและแบบประเมินการอ่าน และเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหารวมทั้ง รูปแบบการพิมพ์และขนาดตัวอักษร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ ดังกล่าวได้แก่ 1. นางจุไรรัตน์ จำนงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโพธิ์(ชุมคณานุสรณ์) 2. นายจรูญ ศรีก่อเกื้อ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพระเกิด 3. นางอุดม พัสสระ ครูชำนาญการพิเศษ 6. นำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาเพื่อหาค่าคุณภาพของแบบฝึกทักษะการ อ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 7. ปรับปรุงรูปแบบการพิมพ์และความสวยงามของรูปภาพตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้วจัดพิมพ์แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 4.2.2 การสร้างแบบประเมินความพึงพอใจ มีขั้นตอนการสร้างและตรวจสอบคุณภาพดังนี้ 1. ศึกษาเอกสาร นวคิด หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัตการเรียนรู้ 2. สร้างแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกด คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR จำนวน 10 ข้อ ซึ่งเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับของของลิเคอร์ท (Likert) ดังนี้ 5 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด 4 หมายถึง มีความซึงพอใจระดับมาก 3 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับปานกลาง 2 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับน้อย 1 หมายถึง มีความซึงพอใจระดับน้อยที่สุด 3. นำแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกด คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิง เนื้อหาของแบบทสอบและนำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาคำาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งคำดัชนีความสอดคล้องมากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 ถือว่ามีความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ ยอมรับได้ 4. ปรับปรุงภาษาให้กระชับและเข้าใจง่ายแล้วจัดพิมพ์เพื่อนำไปกับกลุ่มตัวอย่าง 7


4.3 ขั้นตรวจสอบ (C: Check) เป็นขั้นตอนการตรวจสอบการจัดการเรียนรู้ มีขั้นตอนดังนี้ 1. ครูตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้ของตนเองเป็นไปตามที่ได้วางแผนหรือไม่ 2. ครูผู้ตรวจสอบและประเมินผลผลิต (Output) และ ผลลัพธ์ (Outcome) ของนักเรียน กลุ่มที่ตนเองจัดการเรียนรู้เป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ 3. ครูให้และรับข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยให้ข้อข้อมูล ย้อนกลับ (Feedback) ระหว่างครูผู้กับนักเรียน และครูกับฝ่ายบริหารงานวิชาการ 4.4 ขั้นปรับปรุงพัฒนา (A: Act) เป็นขั้นตอนการปรับปรุง แก้ไข และประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จของตนเอง ผ่านกระบวนการ PLC ระหว่างครูผู้สอนด้วยกันโดยกำหนด 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง 2. ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนปัญหาของการจัดการเรียนรู้ที่ที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขผ่าน กระวนการ PLC ระหว่างครูผู้สอนกับผู้อำนวยการโรงเรียนและฝ้ายบริหารงานวิชาการโดยกำหนด เดือนละ 1 ครั้ง 3. ฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอนร่วมกันทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR โดยทบทวนวิธีการทำงานทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อรายงานสรุปผลแก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงานการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดย ใช้โมเดล MERCURY STAR 4. ขอบเขตระยะเวลา การดำเนินการ เดือน/ปีการศึกษา ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. 1. ประชุมวางแผน กำหนดนโยบายและวิธีการ แก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่านและเขียนของนักเรียน 2. ประชุม PLC กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ 3. ออกแบบนวัตกรรม 4. ดำเนินการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาควบคู่กับ วิจัยในชั้นเรียน 5. รายงานผลการดำเนินงาน 6. กระบวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5. ผลสำเร็จของการดำเนินงาน 5.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนดีขึ้น นักเรียนแต่ละกลุ่มสามารถอ่าน คำศัพท์ภาษาอังกฤษสะกดได้มากยิ่งขึ้นจนสามารถอ่านคำศัพท์ต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ความสามารถใน การอ่านและเขียนของนักเรียนดียิ่งขึ้น ส่งผลให้นักเรียนรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเอง มีความภาคภูมิใจต่อ เองมากยิ่งขึ้น มีความพร้อมในการเรียนรู้รายวิชาอื่น ๆ มากกว่าเดิมเนื่องจากนักเรียนสามารถอ่าน ประโยคภาษาอังกฤษได้ดีกว่าเดิมและผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่เรียนรู้โดยการพัฒนาทักษะการอ่าน และเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR เพื่อพัฒนาการอ่านและเขียนได้ คล่องมากขึ้น ลักษณะของนักเรียนที่เห็นเด่นชัด คือ นักเรียนรักและสนใจในการเรียนรู้วิชา 8


ภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้นคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้โมเดล MERCURY STAR เพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้อ่านคล่องเขียนคล่องของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าวาสูงขึ้น คะแนนร้อยละก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 25.60 คะแนนร้อยละหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 93.33 5.2 ผลที่เกิดกับครู ครูมีความภาคภูมิใจที่มีส่วนในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ ศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนจนนักเรียนรู้สึกตนเองมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นครูเกิดการพัฒนาองค์ความรู้ ใหม่ ๆ ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และกระบวนการทบทวนหลัง ปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) และมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาเป็นเครื่องมืออำนวย ความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ ภาษาอังกฤษทั้ง 5 ชุด เช่น การนำแอปพลิเคชัน Line สำหรับติดต่อสื่อสารการสนทนา การ มอบหมายงานหรือสั่งการบ้าน การตรวจงาน การนำโปรแกรม Kahoot สำหรับจัดกระบวนการ เรียนรู้ การนำเว็บไซต์ Live Worksheets สำหรับให้นักเรียนทำใบงาน หรือทำแบบทดสอบ และการ นำโปรแกรม PowerPoint มาใช้ควบคู่กับการใช้ 5.3 ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน โรงเรียนมีนวัตกรรมที่สามารถพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR จนสามารถพัฒนาการอ่านเขียนของนักเรียนกลุ่มระดับปรับปรุงและพอใช้ให้ดีขึ้น 9


5.4 ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ปกครองและชุมชน ผู้ปกครองและชุมชนให้ความเชื่อมันในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมากยิ่งขึ้นจนผู้ปกครองและ ชุมชนให้การยอมรับถึงความสามารถในคารจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ผู้ปกครองมีโอกาสในการ ติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอนโดยตรงผ่านแอปพลิเคชัน Line ส่งผลงานให้ผู้ปกครองสามารถติดตามและช่วยเหลือ การเรียนของบุตรตนเองมากยิ่งขึ้น ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ โมเดล MERCURY STAR เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด มีคะแนนร้อยละเท่ากับ 99.33 ซึ่งประเด็นที่นักเรียนมีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด คือ แบบฝึกทักษะอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ ภาษาอังกฤษมีรูปเล่มและภาพประกอบสวยงาม น่าสนใจ รองลงมา คือนักเรียน รู้สึกสนุกกับกิจกรรมที่ครูจัด ระหว่างเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 6. แนวทางการนำนวัตกรรมไปใช้ และแนวทางการพัฒนาต่อยอด นวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาช่วงชั้น 2 (ป.4-6) ได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนใหม่ๆให้กับ นักเรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษและเกิดความหลากหลาย ในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้นและในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน สามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปกำหนดแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทักษะการอ่านและเขียน สะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนในช่วงชั้นเดียวกันได้ 7. การเผยแพร่นวัตกรรม 7.1 การเผยแพร่ โรงเรียนได้ดำเนินการเผยแพร่ทั้งในโรงเรียน โดยแจ้งให้คณะครูและนักเรียนทราบตอนทำ กิจกรรมหน้าเสาธง และเผยแพร่นอกโรงเรียนโดยการแจ้งให้ผู้ปกครองและคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานรับทราบโดยการประชุม 7.2 การได้รับการยอมรับ คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาตลอดจนชุมชนมีความพึงพอใจต่อการ การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าวา 7.3 รางวัลที่ได้รับ รางวัลระดับครูผู้สอน • ได้รับรางวัลครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมแข่งขันพูด ภาษาอังกฤษ (Impromptu Speech) ระดับชั้นป.4-6 ระดับเครือข่ายสองเกาะ 10


• ได้รับรางวัลครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมแข่งขันพูดภาษาอังกฤษ (Impromptu Speech) ระดับป.4-6 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 รางวัลระดับนักเรียน • เด็กหญิงเพ็ญพิชชา แดงแสงทอง นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมแข่งขันพูดภาษาอังกฤษ (Impromptu Speech) ระดับชั้นป.4-6 ระดับ เครือข่ายสองเกาะ • เด็กหญิงเพ็ชพิชชา แดงแสงทอง นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมแข่งขัน พูดภาษาอังกฤษ (Impromptu Speech) ระดับป.4-6 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 11


บรรณานุกรม ธิดารัก ดาบพลอ่อน. “การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.” ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : ถ่ายเอกสาร, 2542. พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2544). จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: พัฒนาการศึกษา. สนิท ตั้งทวี. (2546). การใช้ภาษาเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. ศึกษาธิการ, กระทรวง. 2546. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ. Hadley, G. & Hadley, Y. (1996). The Cluture of Learning and the Good Teacher in Japan: An Analysis of students Views. The Language Teacher, 20(9), 53-55. Wiseman, D. L. & Many, J. E. (1992). Enabling complex aesthetic responses: An examination of three literary discussion approaches. In D.J.Leu & C.K. Kinzer (EDs.) Literacy research, theory, and practice: View from many perspective, (41 st,Yearbook of the National Reading Conference). Chicago: National Reading Conference.


ภาคผนวก ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้โมเดล MERCURY STAR ตัวอย่างแบบทดสอบความพึงพอใจ https://forms.gle/S1ZnVXrbNX83YS5f6 นวัตกรรมการพัฒนาการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้โมเดล MERCURY STAR และตัวอย่างแบบทดสอบหลังเรียน รางวัลที่ได้รับ


ภาคผนวก ประมวลภาพกิจกรรม


ข้อมูลเจ้าของผลงาน ชื่อสกุล นางสาวภคินี ผลามิโช ตำแหน่ง ครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนบ้านท่าวา ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เบอร์โทรติดต่อ 090-2099902 อีเมล [email protected] Facebook: Pakinee Palamicho


Click to View FlipBook Version