๓๖ ๑.๒) ค าสรรพนามชี้ระยะ คือ ค าสรรพนามที่ใช้แทนค านามที่อยู่ใกล้ หรือห่าง และไกล จากผู้พูด ได้แก่ ค า นี่ นั่น โน่น เช่น นี่เสื้อของใคร (นี่ เป็นสรรพนามแทนนามที่อยู่ใกล้ผู้พูด) นั่นเป็นกระเป๋าของเธอหรือ (นั่น เป็นสรรพนามแทนนามที่อยู่ห่างจากผู้พูด) โน่นเพื่อนเธอหรือ (โน่น เป็นสรรพนามแทนเพื่อนซึ่งอยู่ไกลจากผู้พูดมาก) ๑.๓) ค าสรรพนามที่ใช้เป็นค าถาม ได้แก่ ค าว่า ใคร อะไร ไหน เช่น ใครมาเปิดตู้ของฉัน เธอต้องการอะไร ไหนกระเป๋าของฉัน ๑.๔) ค าสรรพนามบอกความไม่เจาะจง ไม่ก าหนดว่าเป็นใคร อะไร ที่ไหน สิ่งใด หรือผู้ใด ไม่ต้องการค าตอบ มักใช้พูดลอย ๆ เชิงปรารภ เช่น ไหน ๆ ก็เป็นไปแล้ว ท าใจเสียเถิด (ไหน ๆ เป็นค าสรรพนามบอกความไม่เจาะจง ท าหน้าที่ประธานของประโยค) ใด ๆ ในโลกล้วนอนิจจัง (ใด ๆ เป็นค าสรรพนามบอกความไม่เจาะจง ท าหน้าที่เป็นประธานของประโยค) ๑.๕) ค าสรรพนามบอกความชี้ซ้ า แบ่งพวก หรือรวมพวก ได้แก่ ต่าง บ้าง กัน ค าสรรพนามประเภทนี้มักใช้ช้ ากับค านามที่อยู่ข้างหน้า เช่น ผู้คนต่างช่วยกันตักน้ าดับไฟ (ต่าง เป็นค าสรรพนามแทนผู้คน แสดงความรวมพวก) นักเรียนบ้างก็เล่นบ้างก็นั่งท างาน (บ้าง เป็นค าสรรพนามแทนนักเรียน บอกความแยกพวก) เด็ก ๆ นัดท ารายงานกันที่ห้องสมุด (กัน เป็นค าสรรพนามแทนเด็ก ๆ บอกความชี้ซ้ า)
๑.๖) ค าสรรพนามเชื่อมประโยค ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้าและท าหน้าที่เชื่อม ประโยคหลัก และประโยคย่อยให้เป็นประโยคเดียวกัน ซึ่งมีลักษณะเป็นประโยค ความซ้อน โดยค าที่ใช้แทนนามและใช้เชื่อมประโยคนี้ ได้แก่ ค าว่า ที่ ซึ่ง อัน ผู้ เช่น เด็กน้อยผู้ร่าเริงคนนั้นเป็นหลานภารโรง (ผู้ เป็นค าสรรพนามแทนเด็กน้อย) ประโยคหลัก คือ เด็กน้อยเป็นหลานภารโรง ประโยคย่อย คือ เด็กน้อยคนนั้นร่าเริง คุณย่าชอบหลานที่อดทน ขยัน ซื่อสัตย์ กตัญญู (ที่ เป็นค าสรรพนามแทนหลาน) ประโยคหลัก คือ ย่าชอบหลาน ประโยคย่อย คือ หลานเป็นคนอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ กตัญญู ๑.๗) ค าสรรพนามที่เน้นค านามที่อยู่ข้างหน้า เพื่อบอกความรู้สึกของผู้พูด ที่มีต่อผู้ที่กล่าวถึงข้างหน้า ค าสรรพนามประเภทนี้มักเป็นค าสรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น ฉันรู้ดีว่าคุณแม่คุณพ่อท่านรักลูกทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน (ค าว่า ท่าน แทนคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งผู้พูดกล่าวถึงด้วยความรักเคารพ) คุณพัชรเธอมีธุรกิจส าคัญต้องไปต่างจังหวัดค่ะ (ค าว่า เธอ แทนคุณพัชร ซึ่งกล่าวถึงด้วยความยกย่องและคุ้นเคย) ๒) หน้าที่ของค าสรรพนาม เนื่องจากค าสรรพนาม คือ ค าที่แทนค านาม ฉะนั้น ค า สรรพนาม จึงมีหน้าที่เหมือนค านาม ดังนี้ ๒.๑) ค าสรรพนามท าหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น ผมซื้อของมาฝากคุณยายครับ ใคร ๆ ก็รมซื้อจนท าไม่ทัน ๓๗
๓๘ ๒.๒) ค าสรรพนามท าหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น คุณแม่ให้ฉันไปตลาด เราถูกนายจ้างให้ออกจากงาน ๒.๓) ค าสรรพนามท าหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มในประโยค มักตามหลัง ค าว่า เป็น เหมือน คล้าย เท่า เช่น น้องนิดหน้าตาเหมือนเธอมาก ถ้าฉันเป็นเขานะฉันจะขยันมากกว่านี้ ๒.๔) ค าสรรพนามท าหน้าที่เป็นค าขยาย เช่น สุดาหยิบกระเป๋าใบนั้นให้ฉันหน่อย (นั้น เป็นค าสรรพนามชี้เฉพาะขยายค าว่ากระเป๋า) ของที่ถืออยู่นั่นเป็นอะไร (นั่น เป็นค าสรรพนามไม่เจาะจงขยายค าว่าของในมือ) ๓.๓ หมวดค ากริยา ค ากริยา คือ ค าที่แสดงอาการ บอกสภาพ หรือแสดงการกระท าของ ประธานในประโยค หากขาดค ากริยาจะสื่อสารกันไม่เข้าใจ ค ากริยาจึงเป็นค า ส าคัญในประโยคซึ่งอาจจะเป็นค าแสดง อาการค าเดียวหรือเป็นกลุ่มค าก็ได้ เช่น นั่ง นั่งเล่น ดู ดูแล ร้อง ร้องเรียก เรียกร้อง ร้องเพลง นั่งร้องเพลง เป็นต้น ๑) ประเภทของค ากริยา แบ่งได้ ๔ ประเภท ดังนี้ ๑.๑) ค ากริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องมีกรรมมารับข้าง ท้าย เป็นค าที่บอก อาการแล้วผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ทันที อาจมีค าขยายกริยา หรือค าบุพบทประกอบประโยคก็ได้ เช่น นกร้องเพลงในสวน (มีส่วนขยาย คือ ค าว่า ในสวน) แม่นั่งเล่นที่ใต้ถุนบ้าน (มีส่วนขยาย คือ ค าว่า ที่ใต้ถุนบ้าน) ๑.๒) ค ากริยาที่ต้องมีกรรมมารับ ค ากริยาชนิดนี้ถ้าไม่มีกรรมมารับข้าง ท้ายจะท าให้ผู้ฟัง ไม่เข้าใจเพราะความหมายยังไม่สมบูรณ์ เช่น ฉันไป (โรงเรียน) (จากประโยคข้างต้น ไม่สามารถบอกได้ว่า ไปไหน) สมสุขซื้อ (ชุดเนตรนารี) (จากประโยคข้างต้น ไม่สามารถบอกได้ว่า ซื้ออะไร)
๓๙ ๑.๓) ค ากริยาที่ต้องมีส่วนเติมเต็ม เพราะใจความของประโยค ยังไม่สมบูรณ์ ต้องมีค านามหรือสรรพนามมารับข้างท้ายจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ ค ากริยาประเภทนี้ได้แก่ค าว่า เป็น เหมือน คล้าย เท่า แปลว่า หมายความว่า เท่ากับ ราวกับ คือ เช่น น้องชายของฉันเป็นนักดนตรี เธอวางท่าราวกับ นางพญา ๑.๔ ) ค าช่วยกริยา เป็นค าที่ไม่มีความหมายในตัวเองต้องอาศัยกริยา ส าคัญในประโยค ช่วยสื่อความหมายในประโยคให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ค าช่วยกริยาเป็น ค าที่บอกความรู้สึก การคาดคะเน การขอร้อง บังคับ โดยกริยาช่วยบางค าจะอยู่ ท้ายประโยค ถ้าเอาค าช่วยกริยาออกก็ไม่ท าให้ขาด ใจความส าคัญ เช่น วันนี้ฝนตกหนักรถคงติดมาก (เป็นการคาดคะเน) ลูกควรนอนได้แล้ว มิฉะนั้นพรุ่งนี้จะตื่นสาย (เป็นการขอร้อง โดยให้เหตุผล) ๒) หน้าที่ของค ากริยา มีดังนี้ ๒.๑) เป็นค าแสดงอาการหรือบอกสภาพของประธาน เช่น ไก่จิกข้าวที่ตากบนลาน นกอินทรีบินร่อนบนท้องฟ้า ๒.๒) ค ากริยาท าหน้าที่ขยายนาม เช่น คุณยายท าอาหารถวายพระทุกวัน (ท าอาหาร เป็นกริยาส าคัญ ถวาย เป็นค ากริยาขยายนาม พระ) พี่ชวนฉันไปทะเล (ชวน เป็นกริยาส าคัญ ไป เป็นค าริยาขยาย ทะเล) ๒.๓) ค ากริยาที่ท าหน้าที่เหมือนค านาม เช่น สูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อชีวิตเป็นพิษต่อคนใกล้เคียง (สูบบุหรี่ เป็นค ากริยา ท าหน้าที่เป็นประธานของประโยคเหมือนค านาม) พูดดีเป็นศรีแก่ตัว (พูดดี เป็นค ากริยา ท าหน้าที่เป็นประธานของประโยคเหมือนค านาม)
๔๐ ๑) ประเภทของค าวิเศษณ์จ าแนกย่อยได้ ๙ ประเภท ดังนี้ ๑.๑) ค าวิเศษณ์บอกลักษณะ เช่น นางสาวไทยผิวขาวสวยจริง ๆ ขนมไทยหอมหวาน น่ารับประทาน ๑.๒) ค าวิเศษณ์บอกเวลา เช่น ลูกนอนดึกมากจึงตื่นสาย วันนี้คุณดื่มนมหรือยัง ๑.๓) ค าวิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น บ้านน้องอยู่ฝั่งซ้าย บ้านพี่อยู่ฝั่งขวา บ้านของเขาอยู่ใกลจากบ้านของเธอ ๑.๔) ค าวิเศษณ์บอกปริมาณหรือจ านวน เช่น เปิดเทอมนี้แม่ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนจ านวนมาก ลูกทุกคนต่างมากราบขอพรแม่ ๑.๕) ค าวิเศษณ์บอกความไม่ขี้เฉพาะ เช่น หนูท างานอะไรก็ได้ ไม่มีใครรักเธอเท่าแม่ ๑.๖) ค าวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ เช่น บ้านโน้นเขามีงานแต่งงาน เด็กคนนี้เป็นลูกของฉัน ๑.๗) ค าวิเศษณ์แสดงค าถาม เช่น วิชาใดที่เธอชอบเรียนมากที่สุด มีอะไรหายไปบ้าง ๑.๘) ค าวิเศษณ์แสดงการร้องเรียก ขานรับ หรือแสดงความสุภาพ เช่น แสงเอ๊ย เปิดประตูให้ยายหน่อย คุณตาครับ ผมขออนุญาตไปเล่นดนตรีกับเพื่อนนะครับ ๑.๙) ค าวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ เช่น อย่าเปิดประตูรับคนแปลกหน้า ไม่ใช่เธอคนเดียวที่ล าบาก คนอื่น ๆ ก็ล าบากเหมือนกัน ๓.๔ หมวดค าวิเศษณ์ ค าวิเศษณ์ คือ ค าที่ประกอบค าอื่นและช่วยขยายค าอื่นให้มีเนื้อความแปลก ออกไป ท าให้ใจความในประโยคสมบูรณ์ด้วยอารมณ์ ความรู้สึก และจินตนาการ
๔๑ ๒) หน้าที่ของค าวิเศษณ์ค าวิเศษณ์เป็นค าที่ขยายค าอื่น ท าให้ความหมาย ของค าต่าง ๆ กระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น ค าวิเศษณ์จึงมีหน้าที่ ดังนี้ ๒.๑) ค าวิเศษณ์ท าหน้าที่ขยายค านาม เช่น คนดีธรรมะย่อมคุ้มครอง เด็กเล็ก ๆ ก าลังว่ายน้ าในสระ ๒.๒) ค าวิเศษณ์ท าหน้าที่ขยายค าสรรพนาม เช่น เขาเองเป็นตัวการในเรื่องนี้ ใครโง่ที่หลงไปเป็นเหยื่อเขา ๒.๓) ค าวิเศษณ์ท าหน้าที่ขยายค ากริยา เช่น ยายเดินงก ๆ เงิ่น ๆ ไปเปิดประตู นลินีพูดจาไพเราะ ๒.๔) ค าวิเศษณ์ท าหน้าที่ขยายค าวิเศษณ์เช่น เด็ก ๆ ไม่ควรนอนดึกเกินไป เด็กชายพชรเป็นเด็กฉลาดเฉียบแหลม เก่ง และดี ๒.๕) ค าวิเศษณ์ท าหน้าที่เป็นค าบอกสภาพและเป็นตัวแสดงกริยา อาการ เช่น กล้วยเครือนี้แก่จัดแล้ว (แก่จัดแล้ว เป็นค าวิเศษณ์แสดงสภาพ) น้ าในขวดนี้เย็นจัด (เย็นจัด เป็นค าแสดงสภาพของน้ า) ค าวิเศษณ์บอกเวลา ใช้เพื่อบ่งบอกเวลาที่เกิดเหตุการณ์ หรือการกระท าอย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น กลางคืน กลางวัน เมื่อกี้ เป็นต้น ซึ่งอาจปรากฏในประโยค โดยอยู่ใน ต าแหน่งต้น หรือท้ายประโยคก็ได้โดยไม่ท าให้ความหมายโดยรวมของประโยคเปลี่ยนไป เช่น “เช้า ๆ นักกีฬาจะซ้อมวิ่งกัน” กับ “นักกีฬาจะซ้อมวิ่งกนตอนเช้า ๆ” ควรรู้
๔๒ ค าบุพบท การใช้ ตัวอย่าง ของ แห่ง ใน ใช้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนเปิดรับสมัครนักเรียน กับ ใช้กับข้อความที่เป็นไป ในทิศทางเดียวกัน น้ากับหลานมาเยี่ยมป้า ที่โรงพยาบาล แก่ แด่ ใช้ในความหมายว่า ให้ แด่ ใช้เมื่อ ผู้น้อยให้ผู้ใหญ่ แก่ ใช้เมื่อผู้ใหญ่ให้ ผู้น้อยและใช้กับคนทั่วไป - คุณย่าถวายภัตตาหารเพล แด่พระสงฆ์ - พ่อยกมรดกให้แก่ลูก ใช้กับคนทั่วไป ต่อ เมื่อประจันหน้า หรือใช้บอกความเฉพาะ - นายแดงท าดีต่อหน้าเจ้านายเท่านั้น - เลขานุการแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุม แต่ จาก ใช้น าหน้าค าเพื่อบอกเวลาหรือบอก สถานที่ และอาจใช้แทนกันได้ - แหวนนี้ท่านได้แต่ใดมา - เขามาจากไหน ละบุพบท อาจละบุพบทในฐานที่เข้าใจได้ แม่อยู่ที่บ้าน (อาจละบุพบท ที่) ๓.๕ หมวดค าบุพบท ค าบุพบท คือ ค าที่ใช้เชื่อมค าต่อค า มักอยู่หน้าค านาม ค าสรรพนาม หรือ ค ากริยา มีค าว่า ด้วย โดย ใน ของ แห่ง กับ แก่ แด่ ต่อ เป็นต้น ค าบุพบทมักจะ น าหน้าค า หรือกลุ่มค า เพื่อบอกความสัมพันธ์ระหว่างข้อความข้างหน้ากับค า หรือกลุ่มค าข้างหลัง การใช้และหน้าที่ของค าบุพบท ข้อสังเกต ค าบุพบทจะใช้บอกความสัมพันธ์ระหว่างข้อความข้างหน้าและข้างหลัง ดังนั้น ค าบุพบท จึงต้องอยู่หน้าค านาม ค าสรรพนาม ค าริยา และค าวิเศษณ์ เช่น ๑. น าหน้าค านาม เช่น อย่าหักพร้าด้วยเข่า ของขวัญนี้เพื่อน้องนะจ๊ะ ๒. น าหน้าค าสรรพนาม เช่น พี่ดีต่อฉันมาก พระท่านให้พรแก่พวกเรา ๓. น าหน้าค ากริยา เช่น เขาเป็นคนเห็นแก้ได้ หนังสือนี้ขาใช้ส าหรับ ค้นคว้าเท่านั้น
๔๓ ประโยคความเดียว ประโยคความเดียว กลายเป็น พ่อของฉันเป็น คนขอนแก่น แม่ของฉันเป็น คนขอนแก่น พ่อและแม่ของฉันเป็น คนขอนแก่น (ประโยคความรวม) ถั่วสุก งาไหม้ กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ (ประโยคความรวม) เด็กยืนร้องไห้ เด็กเป็นน้องของฉัน เด็กที่ยืนร้องไห้เป็นน้องของฉัน (ประโยคความซ้อน) ๓.๖ หมวดค าสันธาน ค าสันธาน คือ ค าที่เชื่อมประโยคกับค า เชื่อมประโยคกับกลุ่มค า หรือ เชื่อมประโยคกับประโยค รวมให้เป็นประโยคเดียวกัน ท าให้ประโยคชัดเจน กะทัดรัด สละสลวยยิ่งขึ้น ดังนั้น ประโยคที่เกิดใหม่ จึงสามารถแยกเป็นประโยค ความเดียวได้ตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไป จะพบค าสันธานในประโยค ความรวมและ ประโยคความซ้อน ดังเช่นตารางต่อไปนี้ หน้าที่ของค าสันธาน ค าสันธานมีหน้าที่ ดังนี้ ๑.๑) เชื่อมค ากับค า เช่น ฉันกับเธอเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เหมือนกัน (เชื่อม ฉัน กับ เธอ) ๑.๒) เชื่อมค ากับกลุ่มค า เช่น คุณพ่อและญาติ ๆ ของฉันต่างเลี้ยงฉลอง แสดงความยินดีที่ฉัน ได้รางวัล (เชื่อมคุณพ่อ และ ญาติ ๆ ของฉัน) ๑.๓) เชื่อมประโยคกับประโยค เช่น เธอจะเอาสายสร้อย หรือเอา นาฬิกา (เชื่อมประโยคเธอจะเอาสายสร้อย กับ เธอ จะเอานาฬิกา ด้วยค าว่า หรือ เพื่อให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) ข้อสังเกต ๑. การใช้ค าสันธานเชื่อมประโยคบางครั้งอาจละค าสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น (เมื่อ) น้ ามา ปลา (ก็) กินมด (แต่พอ) น้ าลด มด (ก็) กินปลา ๒. ค าว่า ให้ เป็นค ากริยา แต่เมื่อน ามาเชื่อมประโยค ก็ท าหน้าที่เป็น ค าสันธาน เช่น กรรมกรชุมนุม / กรรมกรเรียกร้องรัฐบาล / รัฐบาลขึ้นค่าแรง รวมเป็นประโยคความซ้อน กรรมกรชุมนุมและเรียกร้องรัฐบาลให้ขึ้น ค่าแรง โดยมีค าสันธาน และ กับ ให้ เชื่อมประโยค
๔๔ ๓. ค าสรรพนามเชื่อมความ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ เมื่อเชื่อมประโยคจะท าหน้าที่ เป็นค าสันธาน เช่น เขาท างาน เขาต้องอดทนมาก เชื่อมประโยคเป็น เขาท างาน ที่ต้องใช้ความอดทนมาก ๔. ค าสันธานอาจเป็นค าชนิดอื่น เช่นเดียวกับค าสรรพนามในข้อ ๓ แต่เมื่อ ท าหน้าที่เชื่อมค า กลุ่มค า หรือประโยค ค านั้นก็เป็นค าสันธาน เช่น เขาท างานระหว่างเรียน (ระหว่าง เป็นค าบุพบทเพราะอยู่หน้าค ากริยา) เขาท างานระหว่างน้องชายนอนหลับ (ระหว่าง เป็นค าสันธาน เพราะ เชื่อมประโยค) ๓.๗ หมวดค าอุทาน ค าอุทาน คือ ค าหรือเสียงที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ พอใจ ตกใจ แปลกใจ เป็นต้น ค าอุทานไม่มีความหมาย ส าคัญในประโยค แต่ท าให้ผู้รับสารเข้าใจเจตนา และความรู้สึกของผู้ส่งสาร ชัดเจนยิ่งขึ้น ประเภทของค าอุทาน แบ่งได้ ๒ ประเภท ดังนี้ ๑.๑) ค าอุทานบอกอารมณ์ ความรู้สึก เช่น ตายจริง ! ฉันลืมปิดเตาแก๊ส (ตายจริง อุทานด้วยความตกใจ) ไชโย ! สวนกุหลาบชนะแล้ว (ไซโย อุทานด้วยความดีใจ) ๑.๒) ค าอุทานเสริมบท เป็นค าที่ไม่ได้บอกอารมณ์ความรู้สึก ของผู้พูด แต่ใช้ในการสนทนาเพื่อแสดงความรู้สึกคุ้นเคยและท าให้การสนทนา มีรสชาติขึ้น เช่น ความประพฤติของหลาน ๆ ท าให้ย่าหนักอกหนักใจมากนะ เธอเห็นฉันเป็นหัวหลักหัวตอหรืออย่างไร การใช้ค าอุทานท าให้ผู้รับสารเกิดอารมณ์คล้อยตาม สนุกสนานตาม เนื้อเรื่อง และเห็นภาพพจน์ชัดเจนยิ่งขึ้นเนื่องจากค าในภาษาไทยมีหลากชนิด และหลากความหมาย ซึ่งแต่ละค าท าหน้าที่แตกต่างกัน การที่จะจ าแนกว่าค านั้น เป็นค าชนิดใด ท าหน้าที่อย่างไร สังเกตจากต าแหน่งที่ค าปรากฎในประโยค การเรียนรู้เกี่ยวกับชนิดและหน าที่ของค าในประโยคคือสิ่งจ าเป็น เพราะจะท าให้ ใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔๕
๔๖
“เทียบเคียงค า พูดและเขียน”
๔๘ ควำมแตกต่ำงของภำษำ ๑. ภำษำพูด การพูดเป็นการสื่อสารโดยใช้ถ้อยค า น้ าเสียง รวมทั้งกิริยาอาการ ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และความต้องการของผู้พูด ให้ผู้ฟังรับรู้และตอบสนอง ดังนั้น การพูดจึงมีความส าคัญมาก เพราะค าพูด เป็นสี่อท าให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล อีกทั้งสามารถท าให้คนรักและคนชังได้ ดังที่สุนทรภู่กล่าวไว้ ในนิราศภูเขาทองและเพลงยาวถวายโอวาทว่า “ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายท าลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา” “อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นชาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ” ดังนั้น ผู้พูดต้องพูดอย่างระมัดระวัง กล่าวคือ พูดแต่สิ่งที่ดี มีประโยชน์ เป็นมงคล พูดในเชิง สร้างสรรค์ พูดด้วยถ้อยค าที่ไพเราะ มีส าเนียงอ่อนหวาน และมีท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตน เมื่อกล่าวถึงผู้อื่นให้กล่าวด้วยเจตนาดี ไม่ใช้วจีทุจริต เช่น ค าหยาบ ค าเท็จ ค าส่อเสียด ค าเพ้อเจ้อ เป็นต้น ๑.๑ ลักษณะของภาษาพูด ภาษาพูด หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดในชีวิตประจ าวันผู้พูดไม่เคร่งครัด ในระเบียบของภาษา มุ่งเน้นให้สามารถสื่อสารเข้าใจได้ตรงกันและบรรลุผล ตามที่ต้องการเท่านั้น โดยมีลักษณะที่ควรสังเกต ดังนี้ ๑. ระดับภาษาที่ใช้ส่วนมากเป็นภาษาระดับกันเอง ระดับสนทนา ระดับ กึ่งทางการ มักใช้ภาษาระดับกันเองส าหรับคนสนิท คุ้นเคย เช่น ใช้สรรพนามว่า ฉัน เรา เธอ ต้น ใช้ภาษาระดับ สนทนากับคนที่ไม่คุ้นเคย แตกต่างกัน ด้วยคุณวุฒิต่าง ๆ เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น ใช้สรรพนามว่า ผม กระผม ดิฉัน คุณ ท่าน ๒. ประโยคที่ใช้ส่วนมากเป็นประโยคความเดียวและประโยคความรวม ส่วนประโยคความซ้อน มีไม่มากนัก
๔๙ ๓. มักมีการตัดค า ย่อค า รวบค า เพื่อความรวดเร็ว เช่น ใหญ่เปื่อยไม่งอกสอง หมายถึง ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ เนื้อเปื่อย ไม่ใส่ถั่วงอกสองชาม ผอ. สบายดีหรือ หมายถึง ท่านผู้อ านวยการสบายดีหรือ ๔. มีค าลงท้ายเรียกขานหรือค าขานรับ เพื่อแสดงความสุภาพหรือยกย่อง เช่น แม่จ๋า คุณหนูขา คุณคงเข้าใจนะคะ เป็นต้น ๕. มีการใช้ภาษาท้องถิ่นปะปน เช่น ปลาแดก บักหุ่ง ต ามั่ว บักหนาน บักเสี่ยว เป็นต้น ๖. มีการพูดโดยใช้ถ้อยค า ส านวนโวหาร สุภาษิต ค าพังเพย ค าซ้ า ค าซ้อน ค าคล้องจอง ประกอบการพูด หรือใช้ค าพูดที่มีความหมายโดยนัย ต้องตีความ เช่น จับปลาสองมือ ย้อมแมวขาย วัวหายล้อมคอก เป็นต้น ๗. มีการใช้ประโยคที่ไม่สมบูรณ์ เช่น การละประธาน กริยา กรรม หรือค าบุพบทไว้ในฐานที่เข้าใจ ซึ่งสามารถสื่อสารกันได้ เพราะเป็นการพูด เฉพาะตัวบุคคล ผู้พูดอยู่ในสถานการณ์นั้นอยู่แล้ว หากถ่ายทอดเป็นภาษาเขียน ก็ต้องดูข้อความที่แวดล้อม (บริบท) จึงจะเข้าใจ เช่น กรกนก : “(พี่) ซื้ออะไรมาบ้างคะ พี่ซื้อ (ของ) ได้ครบหรือยัง” ละสรรพนามและกรรม วนิดา : “(พี่ ก็ไม่ได้ซื้ออะไรมากหรอก (พี่ซื้อของ) ได้ครบแล้วล่ะ” ละสรรพนามและประโยค ๑.๒ ระดับภาษาที่ใช้ในการพูดสื่อสาร การพูดในชีวิตประจ าวันมีลักษณะการใช้ภาษาแต่ละระดับแตกต่างกัน ดังนี้ ๑) ภาษาพิธีการ มีลักษณะเป็นแบบแผน ใช้ถ้อยค าประณีตบรรจง มุ่งให้ผู้รับสารฟังด้วย ความส ารวม มักพบในการพูดสดุดี ค ากล่าวบวงสรวง ค ากล่าวในพิธีต่าง ๆ ๒) ภาษาทางการ มีลักษณะเป็นแบบแผน แต่ใช้ถ้อยค ากะทัดรัดกว่า ระดับพิธีการ ถ้อยค า มีความสละสลวย แต่ชัดเจน เคร่งครัดไวยากรณ์ ใช้สื่อสารอย่างเป็นทางการไปสู่สาธารณชน มักพบ ในการแสดงปาฐกถา ๓) ภาษากึ่งทางการ มีลักษณะการใช้ถ้อยค าคล้ายคลึงกับภาษาทางการ แต่ลดระดับความเป็นทางการ ลดความเคร่งครัดในไวยากรณ์ ผู้ส่งสารและผู้รับ สารมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน มีส่วนร่วมในการสื่อสาร มักพบในการอภิปราย การประชุม การบรรยายในชั้นเรียน
๕๐ ๔) ภาษาสนทนา มีการใช้ถ้อยค าที่เป็นกันเองมากขึ้น ระยะห่างระหว่าง ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีน้อยลง เป็นภาษาที่ใช้เพื่อการสนทนาอย่างมีมิตรไมตรี ที่ดีต่อกัน ใช้ในการพูดคุย สนทนากับบุคคล ทั่วไปที่รู้จักกันในวงสนทนา หรือคุ้นเคยกันในระดับหนึ่ง ๕) ภาษากันเอง มีการใช้ถ้อยค าที่เป็นกันเองมากขึ้น ไม่ให้ความส าคัญ กับความถูกต้องทาง ไวยากรณ์ ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีความสนิทสนมกัน ใช้ถ้อยค าที่เข้าใจกันเป็นการส่วนตัว ค าเฉพาะกลุ่ม ๒. ภำษำเขียน ภาษาเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด ความคิด ความเข้าใจของมนุษย์ โดยใช้อักษร หรือใช้สัญลักษณ์อื่น ๆ แทนค าพูด เช่น แผนภาพ แผนภูมิ แผนที่ เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ เข้าใจ และตอบสนอง ตามที่ผู้เขียนต้องการ การเขียนเป็นการสื่อสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเป็น หลักฐานที่ใช้อ้างอิงได้ ผู้เขียนสามารถตรวจทาน ทบทวน แก้ไขให้ถูกต้อง เหมาะสมได้ ซึ่งแตกต่างจากภาษาพูด เพราะการพูดเป็นการสื่อสารเฉพาะหน้าที่ มีโอกาสแก้ไขค าพูดของตนน้อยมาก ภาษาพูด จึงอาจผิดพลาดไม่เหมาะสม ได้เท่ากับภาษาเขียน ๒.๑ ความส าคัญของภาษาเขียน ในสมัยโบราณการเขียนมีความส าคัญในฐานะที่เป็นหลักฐานในการบันทึก ความรู้ ความคิด ความเชื่อ สภาพสังคมในสมัยนั้น ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง ได้เรียนรู้และเข้าใจวิถีชีวิตของบรรพชน เป็นการเขียนเพื่อระบายอารมณ์ ความรู้สึก หรือเพื่อแสดงภูมิปัญญาของผู้เขียน แต่ปัจจุบันการเขียน มีความส าคัญมากขึ้น นอกจากเป็นการสื่อสารความรู้ความเข้าใจจากคนหนึ่ง ไปยังอีกคนหนึ่งแล้ว การเขียนยังท าให้เกิดอาชีพ เช่น อาชีพนักเขียนสารคดี นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ นักโฆษณา เป็นต้น การเขียนบันทึกเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นท าให้ทราบสภาพวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ ความต้องการ ของคน ในสังคม การเขียนกฎหมาย เป็นกฎระเบียบแนวทางที่ผู้คนจะต้องปฏิบัติ เพื่อให้สังคมสงบสุข การเขียนข่าวเป็นการแจ้งข่าวคราว เหตุการณ์บ้านเมือง ให้คนในสังคมทราบ ดังนั้น ภาษาเขียนจึงเป็นเครื่องมือแสดงความคิด ความรู้ อารมณ์ ความรู้สึก และแสดงภูมิปัญญาของมนุษย์
๕๑ ๒.๒ ลักษณะของภาษาเขียน การเขียนเป็นการบันทึกความรู้ ความคิด ความเข้าใจต่าง ๆ เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งแตกต่างจากภาษาพูด ผู้เขียนสามารถขัดเกลาภาษา ให้สละสลวย ท าให้ภาษาเขียนมีลักษณะสุภาพ ถูกต้อง ตามระดับภาษา ตรงความหมาย และสะกดถูกต้อง ภาษาเขียนโดยทั่วไปมี ๒ ลักษณะ คือ ๑) เขียนตามภาษาพูดที่พูดในชีวิตประจ าวัน เหมาะสมกับลักษณะ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของบุคคล เช่น การเขียนบันทึกส่วนตัว บันทึกความรู้ จากการอ่าน การเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย นิทาน อัตชีวประวัติ เป็นต้น ๒) เขียนโดยใช้ภาษาที่กลั่นกรองถ้อยค าอย่างละเมียดละไม มีความประณีตในการใช้ภาษา ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามพจนานุกรม ตามรูปแบบ ตามระเบียบ และตามขนบธรรมเนียมของภาษา เช่น การเขียนเรียงความ ย่อความ บทความ สารคดี รายงาน โครงงาน และร้อยกรอง เป็นต้น ๒.๓ การใช้ภาษาเขียน การสื่อสารด้วยภาษาเขียนนั้น ผู้ส่งสารต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลัก ภาษาและสามารถ ใช้ภาษาเขียนถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้ ความคิด จินตนาการ และประสบการณ์ เป็นตัวอักษรสื่อสาร ให้ผู้รับสารเข้าใจได้ อย่างไรก็ตาม การ ใช้ภาษาเขียนขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสารและรูปแบบ การเขียน ซึ่งสามารถ แบ่งได้ ๒ ลักษณะ ดังนี้ ๑) การเขียนอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการเขียนถ่ายทอดเหตุการณ์ อารมณ์ ความรู้สึกของผู้เขียน เช่น การเขียนบันทึกประจ าวัน การเขียนจดหมาย การเขียนเล่าเรื่อง การแต่งเพลง การเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย เป็นต้น ให้ผู้อื่น ได้รับรู้ หรือเก็บไว้อ่านเอง ภาษาเขียนอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการถ่ายทอด อารมณ์ของผู้สื่อสารเหมือนเสียงพูดของมนุษย์ที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจ าวัน ๒) การเขียนอย่างเป็นทางการ เป็นการเขียนอย่างมีแบบแผน มีหลัก ในการเขียน เช่น การเขียนเรียงความ ย่อความ การแต่งค าประพันธ์ การเขียน รายงานการศึกษาค้นคว้า การเขียนรายงาน โครงงาน รายงานการวิจัย การเขียนบันทึกข้อความ จดหมายราชการ เป็นต้น การใช้ภาษาเขียนต้องมี การขัดเกลาภาษาให้ละเมียดละไม ไพเราะสละสลวย เหมาะสมกับระดับภาษา สถานภาพบุคคล โอกาส และสถานการณ์ถูกต้องตามข้อบังคับ องค์ประกอบ และรูปแบบที่ก าหนด
๕๒ ระดับภาษาเป็นสิ่งส าคัญที่จ าเป็นต้องค านึงถึงทุกครั้งที่ใช้ภาษา ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน เพราะการสื่อสารจะไม่ประสบผลส าเร็จ หากใช้ระดับภาษาไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามในชีวิตประจ าวัน ผู้สื่อสาร อาจใช้ระดับภาษาปะปนกันได้ เช่น ภาษาระดับพิธีการ อาจมีภาษาระดับ ทางการ ๓. เปรียบเทียบภำษำพูดและภำษำเขียน ภาษาพูดที่ใช้ในการสื่อสารมีอยู่หลายระดับ และแตกต่างจากภาษาเขียน เพราะภาษาเขียนมีระดับและระเบียบที่เคร่งครัดมากกว่าภาษาพูด ภาษาพูด ภาษาเขียน ๑. มุ่งสื่อสารอย่างรวดเร็วท าให้ใช้ค าในประโยค ไม่สมบูรณ์ ก ากวม อาจท าให้ผู้รับสารเข้าใจผิด เช่น ขอหอมหน่อย อาจหมายถึง ขอตันหอม หรือขอหอม (แก้ม) ก็ใด้ ๑. มุ่งสื่อสารให้เข้าใจ รู้จักคิดและตีความ ผู้เขียนมีเวลาในการกลั่นกรองถ้อยค าและผู้อ่าน มีเวลา พิจารณาสาร ๒. ใช้ภาษาไม่ประณีต มักใช้ภาษกระดับกันเอง และภาษาสนทนาหรือกึ่งทางการ ๒. มีการใช้ภาษาประณีตกว่าภาษาพูด เพราะผู้เขียน มีเวลาในการขัดเกลาภาษาให้สละสลวยตรงกับ ระดับภาษา ๓. มักพูดค าไทยปนกับภาษาต่างประเทศ และ เลียนเสียงภาษาต่างประเทศ ท าให้เสียงใน ภาษาเปลี่ยนไป ๓. การใช้ภาษาต่างประเทศในงานเขียนที่เป็นวิชาการ หากเขียนเล่าเรื่องจะอธิบายความหมาย ของค าภาษาต่างประเทศด้วย ๔. การพูดไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง นอกจากบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพไว้เท่านั้น ๔. การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรสามารถ ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ ๕. การพูดเป็นการสื่อสารเฉพาะหน้า ผู้พูดมีเวลา คิดตอบค าถามน้อย อาจพูดผิดพลาดได้ และไม่สามารถเรียกค าพูดกลับมาแก้ไขได้ ๕. การเขียนผู้เขียนมีเวลาคิดหาค าตอบ หาข้อมูล หลักฐานอ้างอิงท าให้การเขียนมีความน่าเชื่อถือ ๖. การพูดเป็นการสื่อสารประจันหน้า อาจมี ค าพูดที่มีทั้งถูกใจและไม่ถูกใจผู้ฟัง จนเกิดการตอบโต้กันทั้งทางวาจาและทางกาย ๖. การเขียนตอบโต้โดยไม่ได้ประจันหน้ากัน แม้ความคิดเห็นจะไม่ตรงกัน แต่ก็สามารถลดระดับ ความขัดแย้งได้ ๗. การพูดปัจจุบันมักออกเสียงผิดเพี้ยน ท าให้ภาษาเปลี่ยนแปลงได้มาก หากพูดผิด ก็ท าให้เขียนผิดด้วย ๗. การใช้ภาษาในงานเขียน ผู้เขียนมีอิทธิพลต่อการ ภาษาเปลี่ยนแปลงได้มาก หากพูดผิดก็ท าให้ ใช้ภาษา มักสร้างค าใหม่ ส านวนใหม่ มีการ ตั้งสมญานาม ซึ่งเป็นแบบอย่างของการใช้ภาษา ทั้งดีและไม่ดี
ตัวอย่างการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาพูดและภาษาเขียนมีความส าคัญในการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน เพราะภาษาเขียนบันทึกภาษาพูดตามที่เป็นจริง สะท้อนภาพวิถี ชีวิต ความคิด ความเชื่อ ของคนในสมัยนั่น ๆ อีกทั้งถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก จินตนาการ ความคิดของผู้ส่งสาร ให้ผู้รับสารทราบ อย่างไรก็ตาม ภาษาพูดและ ภาษาเขียนย่อมมีความแตกต่างกัน ทั่งในเรื่องลักษณะภาษาและการใช้ภาษา ผู้เขียนจึงควรเขียนรู้และสังเกตการใช้ภาษา ว่าใช้อย่างไรจึงจะถูกต้องตามหลัก ไวยากรณ์ ตรงความหมาย เหมาะ จับระดับบุคคล เพื่อให้การสื่อสารบรรลุผล ตามเป้าหมายไม่สูญเสียเอกลักษณ์ทางภาษา ๕๓ ภาษาพูด อาจารย์คะ หนูรู้สึกไม่สบายและปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้ สงสัยจะเป็นไข้หวัดใหญ่ หนูขออนุญาตหยุดเรียน ๒ วัน นะคะ ภาษาเขียน กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ ดิฉันรู้สึกไม่ใคร่สบายมาก มีอาการปวด ศีรษะ ตัวร้อน มีไข้ แพทย์บอกว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ จึงขออนุญาตลาป่วย เป็นเวลา ๒ วัน ภาษาพูด เพื่อนผมหยิบหนังสือมากองให้ดูแล้วพูดว่า “เอ็งลองดูซิถ้าเขียนแบบนี้ได้ เอามาให้กู แล้วเอาไปเล่มละสี่พัน” แค่ดูชื่อก็รู้ว่าเน่าสนิททั้งนั้น เช่น รักสุดหัวใจ คุณนายตัณหา วาสนาคนยาก มันคาบลูกคาบดอกไปทางโป้ ทั้งนั้น ผมท าไมได้ ภาษาเขียน เพื่อนของผมหยิบหนังสือมากองให้ดู แล้วบอกว่าถ้าผมเขียนตามแนว ที่ตลาดต้องการ คือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัณหา กามารมณ์ ค่อนไปทาง ลามก จะให้ราคาเล่มละสี่พัน แต่ผมไม่สามารถท าเช่นนั้นได้
๕๔ ควรรู้ ภาษาพูดและภาษาเขียน ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ความแตกต่างของภาษา สามารถน าไปใช้ได้ ๒ กรณี คือ ใช้ในสถานภาพที่เป็น ผู้รับสาร เช่น ถ้านักเรียนอ่านเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับ ความเป็นจริงในสังคม นักเรียนย่อมคาดหวังว่าภาษาจะต้องมีความสมจริง ปรากฏการใช้ภาษาพูดในบทสนทนาของตัวละคร แต่ถ้าในหนังสือเล่มนั้น ใช้ภาษาเขียน คือ ใช้ถ้อยค าที่เป็นทางการมากเกินไปในบทสนทนาของตัวละคร นักเรียนก็จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่ารูปแบบการใช้ภาษาเรื่องสั้นเรื่องนี้ไม่มี ความสมจริง ในกรณีที่นักเรียนเป็นผู้ส่งสาร ก็จะท าให้เลือกใช้ภาษา เพื่อสื่อสารได้ตรงกับวัตถุประสงค์และมีความถูกต้อง ภาษากึ่งทางการ ในหนังสือเกี่ยวกับวิชาภาษาไทย ได้ก าหนด ระดับภาษาไว้แตกต่างกัน ดังนี้ ซึ่งภาษากึ่งทางการจะใช้ในการพูดและการเขียนที่มีความเป็น ทางการขึ้นมาจากการสนทนาในชีวิตประจ าวัน ส่วนภาษาทางการจะใช้ใน การเขียนมากกว่าการพูด หรืออาจใช้ส าหรับการพูดที่เป็นทางการ เช่น ค า กล่าวปฏิญาณตนของนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ๓ ระดับ ๕ ระดับ ภาษาปาก ภาษาปาก ภาษากึ่งทางการ ภาษากึ่งราชการ ภาษาสนทนา ภาษาทางการ ภาษาระดับพิธีการ ภาษาราชการ
๕๕
๕๖
“กาพย์ยานี ๑๑”
๕๘ กำพย์ยำนี ๑๑ กาพย์ยานี ๑๑ เป็นกาพย์ที่แต่งง่าย มีลีลาการอ่านช้า ๆ อ่อนหวาน มักใช้แต่งพรรณนาชมความงุดงามของสิ่งของ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม มักนิยม แต่งคู่กับโคลง โดยขึ้นต้นด้วยโคลงแล้วต่อด้วยกาพย์ยานี ๑๑ อีกหลายบท ที่มีเนื้อหาตรงกันกับโคลง เรียกว่า กาพย์ห่อโคลง ฉันทลักษณ์กำพย์ยำนี ๑๑ กาพย์ยานี ๑๑ มีลักษณะฉันทลักษณ์ ดังนี้ ๑) คณะ กาพย์ยานี ๑ บท มี ๒ บาท ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคหน้า มี ๕ ค า วรรคหลัง มี ๖ ค า รวม ๑ บาท มี ๑๑ ค า บาทแรกเรียกว่า บาทเอก บาทสองเรียกว่า บาทโท ๒) พยางค์ หรือจ านวนค า ในวรรคแรกมี ๕ ค า วรรคหลังมี ๖ ค า เหมือนกันทั้งบาทเอกและบาทโท รวม ๑ บาท มี ๑๑ ค า จ านวนตัวเลขที่บอกไว้ ท้ายกาพย์ หมายถึง ก าหนดจ านวนค า ใน ๑ บาท เช่น ยานี ๑๑ หนึ่งบาท มี ๑๑ ค า ๓) เสียง ค าสุดท้ายของบาทโท ใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญและจัตวา เป็นส่วนใหญ่ เพราะจะท าให้อ่านได้ไพเราะ ส่วนค าสุดท้ายของบทผู้แต่ง มักหลีกเลี่ยงไม่ใช้ค าตายและค าที่มีรูปวรรณยุกต์ อาจมีที่ใช้ค าตาย เสียงตรี หรือเสียงเอกบ้างแต่น้อยมาก ๔) สัมผัส ก าหนดสัมผัสระหว่างวรรค ๒ แห่ง และสัมผัสระหว่างบท ๑ แห่ง ดังนี้ สัมผัสระหว่างวรรค ค าท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับค าที่ ๑, ๒ หรือ ๓ ของวรรคหลังในบาทเอก ค าท้ายของบาทเอก สัมผัสกับค าท้ายของวรรค หน้าของบาทโท สัมผัสระหว่างบท ค าท้ายของบทแรก สัมผัสกับค าท้ายของบาทเอก บทต่อไป
๕๙ แผนผังกำพย์ยำนี ๑๑ หลักกำรแต่งกำพย์ยำนี ๑๑ หลักการแต่งกาพย์ยานี ๑๑ มีดังนี้ ๑. ค าที่รับสัมผัสไม่ใช้ค าที่มีเสียงเดียวกับค าที่ส่งสัมผัส แม้จะเขียนต่างกัน เช่น สาน-ศาล-สาร ๒. ในการแต่งกาพย์ยานี ๑๑ ไม่มีข้อบังคับเสียงวรรณยุกต์ หรือรูป วรรณยุกต์ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญและจัตวาในค าสุดท้าย ของบาทโท เสียงตรี เสียงเอก ก็มีบ้างแต่ไม่ค่อยนิยม ค าสุดท้ายของบทไม่นิยมใช้ ค าตาย หรือค าที่มีรูปวรรณยุกต์ ๓. กาพย์ยานี ๑๑ เหมาะกับเนื้อหาที่เป็นพรรณนาโวหาร เช่น พรรณนา ความรู้สึก ความรัก และความงาม สัมผัสใน คือ สัมผัสภายในวรรค เป็นสัมผัส ไม่บังคับจะมีหรือไม่มีก็ได้ ไม่ถือเป็นข้อบังคับและไม่เคร่งครัดมากนัก แต่ถ้ามี จะท าให้ท านองของกาพย์ยานี ๑๑ ไพเราะสละสลวยยิ่งขึ้น
๖๐
๖๑
“กลเม็ด สุภาษิต”
๖๓ ส ำนวน สุภำษิต และค ำพังเพย ในการอ่านและการฟังสารต่าง ๆ บ่อยครั้งที่มักพบเห็นการใช้ส านวน ค าพังเพย สุภาษิต เพื่อสื่อสาร ให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เช่น ฝ่ายค้านติงรัฐบาลเรื่องการใช้งบจะเป็นแบบ ต าน้ าพริกละลายแม่น้ า ซึ่งส านวน ค าพังเพย และสุภาษิต จะมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้ ๑) ส านวน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายว่า น. ถ้อยค า ที่เรียบเรียง โวหาร บางทีใช้ว่า ส านวนโวหาร ถ้อยค าหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตาม ตัวอักษรหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายน้ า สอนหนังสือ สังฆราช กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา น้ าพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ๒) ค าพังเพย หมายถึง ถ้อยค าหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมา โดยกล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความให้เข้ากับเรื่อง ไม่ใช่ค าสอน แต่เป็นค าติชม อยู่ในตัว เช่น กระต่ายตื่นตูม กบเลือกนาย หน้าไหว้หลังหลอก ขี่ช้างจับตั๊กแตน ๓) สุภาษิต ภาษิตหรือสุภาษิต หมายถึง ค าที่กล่าวดี ค าพูดมีคติควรฟัง เป็นถ้อยค าที่แสดงหลักความจริง มุ่งแนะน า สั่งสอน เตือนสติ เช่น น้ าเชี่ยว อย่าขวางเรือ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม น้ าขึ้นให้รีบตัก นอกจากนี้ในภาษาไทยยังมีการใช้ ค าขวัญและค าคมด้วย เพื่อให้ถ้อยค าในภาษามีความลึกซึ้ง กินใจยิ่งขึ้น ๔) ค าขวัญ ค าคม หมายถึง ข้อความที่กล่าวด้วยโวหารอันคมคาย แสดงแง่คิด ปรัชญา มีความหมายลึกซึ้งกินใจ เช่น งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจ เจริญสุข อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอย วาสนา ไม่มีใครแก่เกินเรียน
๖๔ ในความหมายโดยทั่วไป เมื่อพูดถึงส านวนไทย จะมีความหมายกว้าง ๆ คือ รวมทั้งส านวน โวหาร ค าพังเพย สุภาษิต ค าขวัญ และค าคมทั้งหมด ว่าเป็นส านวนไทย การใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนในชีวิตประจ าวันมักจะใช้ ส านวนโวหารประกอบอยู่เสมอ เพราะคนไทยมีนิสัยประนีประนอม ไม่ต าหนิใคร ตรง ๆ แต่จะพูดเป็นนัยให้ผู้ฟังคิดเอง ช่างสังเกต สนใจสิ่งแวดล้อม และคนรอบ ข้าง นิยมความสุภาพ เป็นนักคิด นักปรัชญา มีความรู้ในวรรณกรรม วรรณคดี เข้าใจวิถีชีวิตของคนในสังคม มีไหวพริบช่างกระทบกระเทียบเปรียบเปรย จึงมัก ใช้ส านวน โวหาร ค าพังเพย สุภาษิต ประกอบการพูด หรือการเขียน ผู้รับสาร ต้องคิดและตีความจึงจะเข้าใจ ถ้าคิดให้ลึกซึ้งก็จะเกิดสติปัญญา เข้าใจคน เข้าใจ โลกยิ่งขึ้น เพราะค าส านวนโวหารเหล่านี้ให้คติเตือนใจ ให้แนวทางในการด าเนิน ชีวิต แสดง ให้เห็นลักษณะของคนไทยเด่นชัด ตัวอย่าง บทสนทนาในชีวิตประจ าวันที่สอดแทรกส านวน สุภาษิต และค าพังเพย แม่ศรีร้องเรียกแม่พร้อม “แม่พร้อม เร็ว ๆ หน่อยซี มัวแต่งองค์ทรงเครื่องอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวก็ไม่ทันงานเขาหรอก” “เสร็จแล้วจ้ะ แหม จะไปงานแต่งงานของเศรษฐีทั้งที ต้องสวยหน่อยล่ะ จะรีบร้อนไปท าไม บ้านก็ใกล้ ๆ แค่นี้เอง” แม่พร้อมตอบ “นี่เธอ รู้เรื่องเจ้าสาวไหม เขาว่าเจ้าสาวสวย เจ้าบ่าวรวย สมกันราวกับกิ่งทองใบหยก” แม่ศรีพูด “รู้ เขาเป็นลูกสาวคุณนายทรัพย์ไงล่ะ เห็นเขาเล่าว่าเธอไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ แต่เรียนไม่จบ มีคนเห็นว่าคบเพื่อนชายหลายคนจึงเรียนไม่จบ แม่เขาเลยให้กลับมาช่วยขายของ ที่บ้าน พอดีไปถูกตาต้องใจเถ้าแก่เฮง เจ้าของร้านทองในตลาด เจ้าสาวสวย เจ้าบ่าวมีเค้าหล่อ แต่แก่ไปหน่อย จะว่าสมเป็นกิ่งทองใบหยกก็พอได้ คุณนายทรัพย์สุดแสนจะดีใจเลยจับใส่ตะกร้า ล้างน้ าหมดห่วงไป” แม่พร้อมเล่า “อย่างนี้ก็ย้อมแมวขายน่ะซี พอดีกันเลย เถ้าแก่เฮงก็ไม่เบา กี่เมียแล้วล่ะ เห็นสาว ๆ ไม่ได้ ท ากะลิ้มกะเหลี่ยเป็นเฒ่าหัวงูเชียว” แม่ศรีเสริม “พอล่ะ อย่าพูดต่ออีกเลย ถึงบ้านงานแล้วละ” แม่พร้อมกระซิบให้แม่ศรีหยุดพูด สองนาง ต่างปั้นหน้า แล้วเข้าแถวไปรดน้ าอวยพรเจ้าบ่าวเจ้าสาว แม่พร้อมกล่าวว่า “ขอให้รักใคร่ ให้อภัยกัน ใจเดียว รักเดียว มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมืองนะจ ะ” แม่ศรี “ขอให้อยู่ด้วยกันจนแก่จนเฒ่า ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชรนะ” เมื่อมาถึงที่โต๊ะอาหาร เจ้าภาพจัดเลี้ยงโต๊ะจีน มีแขกมาร่วมงานจ านวนมาก สองนาง กระซิบกันเบา ๆ “เจ้าภาพจัดงานใหญ่โต สมฐานะเศรษฐีนะ” แม่พร้อมว่า แม่ศรี “ฉันว่าต าน้ าพริกละลายแม่น้ ามากกว่า” แม่พร้อม “เอ้า! ก็เขารวยซะอย่าง ใครจะท าไม แค่นี้ขนหน้าแข้งไม่ร่วงหรอก” แม่ศรี “ปกติเถ้าแก่เฮงเขาเค็มนะ น่ากลัวว่าคุณนายทรัพย์จะขว้างงูไม่พ้นคอ” แม่พร้อม “ช่างเขาเถอะ ฉันว่ายังไงก็ขอให้เขาอยู่กันยืด ๆ อย่าให้ก้นหม้อไม่ทันด าก็แล้ว กัน คนรู้จักกัน ยังไง ๆ ฉันก็สงสารฝ่ายหญิง คนเรามันก็พลาดกันได้ สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ ยังรู้พลั้ง ได้แต่งงานเป็นตัวเป็นตนก็ดีแล้ว และฉันก็สงสารแม่เขาด้วย หัวอกแม่นะแม่ศรี เขาเลี้ยงดู ฟูมฟัก ทะนุถนอมมาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย ก็หวังจะให้ได้ดี พอได้แต่งก็พลอยยินดีกับเขาด้วย”
๖๕ จากบทสนทนามีผู้พูดเพียงสองคน แต่ใช้ถ้อยค าส านวนโวหารหลากหลาย ดังนี้ ๑. ส านวน เป็นค าที่มีความหมายโดยนัย ไม่ตรงตามตัวอักษร ได้แก่ แต่งองค์ทรงเครื่อง หมายความว่า แต่งตัว มีความหมายเชิงประชดว่า แต่งตัว นานมาก เหมือนลิเก หรือละครที่ตัวเอกมีเครื่องแต่งตัวมาก ต้องแต่งตัวนาน กิ่งทองใบหยก หมายความว่า คู่แต่งงานที่เหมาะสมกันทั้งรูปร่าง หน้าตา ฐานะ ความรู้ ใส่ตะกร้าล้างน้ า หมายความว่า ท าให้หมดมลหิน เหมือนผักเหมือนปลา ที่สกปรก หรือมี กลิ่นเหม็น ใส่ตะกร้าล้างน้ าแล้วก็จะสะอาดขึ้น หายเหม็นคาว ย้อมแมวขาย หมายความว่า ตกแต่งคนหรือสิ่งของที่ไม่ดี หรือมีค่าน้อย โดยมีเจตนา หลอกลวงให้ผู้อื่นเชื่อว่าดี เฒ่าหัวงูหมายความว่า ชายแก่เจ้าเล่ห์ ชอบหลอกสาว ๆ ปั้นหน้า หมายความว่า ปรับสีหน้าให้เป็นปกติ ๒. ค าพังเพย เป็นค าที่กล่าวเปรียบเปรย กล่าวเป็นกลาง ๆ ไม่ว่าใคร ได้แก่ ต าน้ าพริกละลายแม่น้ า หมายความว่า ใช้จ่ายทรัพย์มากมายโดยไร้ประโยชน์ ขนหน้าแข้งไม่ร่วง หมายความว่า ไม่สนใจสิ่งที่เสียไป โดยเห็นว่าเป็น ของเล็กน้อย ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายความว่า ท าอะไรแล้ว ผลร้ายหรือภาระไม่พ้นตนเอง ก้นหม้อไม่ทันด า หมายความว่า แต่งงานอยู่กินกันฉันสามีภรรยาไม่นาน ก็เลิกร้างกัน สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง หมายความว่า ทุกคนมีโอกาสท าผิดได้ ตีนเท่าฝาหอย หมายความว่า เลี้ยงดูมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารก ๓. สุภาษิต เป็นค าที่ไพเราะ ให้ข้อคิด ให้คติเตือนใจ ได้แก่ ขอให้รักใคร่ ให้อภัยกัน ใจเดียวรักเดียว มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง หมายความว่า ให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขให้รักกันมั่นคงให้อภัยไม่นอกใจกัน (ไม่ท าผิดศีลธรรม) ขอให้อยู่ด้วยกันจนแก่จนเฒ่า ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร หมายความว่า ให้อยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า
๖๖ การสื่อสารในชีวิตประจ าวัน ผู้ส่งสารมักจะใช้ส านวนโวหารประกอบ การพูดและการเขียนอยู่เสมอ การใช้ส านวนโวหาร ค าพังเพย สุภาษิต แสดงว่า คนไทยเป็นคนช่างคิด ช่างสังเกต รู้จักใช้ถ้อยค าได้อย่างเหมาะสมกับโอกาส และสถานการณ์ ใช้ค าพูดได้ตรงจุดประสงค์ โดยหลีกเลี่ยงการพูดตรง ๆ ให้สะเทือนใจ ผู้รับสารต้องรู้จักคิด สังเกตบริบท ผู้ที่สามารถใช้ส านวน ค าพังเพย และสุภาษิตเหมาะสม จะท าให้การใช้ภาษาสละสลวยขึ้น
๖๗
๖๘
๖๙ บรรณำนุกรม (ลิขิต) กองเทพ เคลือบพณิชกุล. (๒๕๔๒). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคนอื่น ๆ. (๒๕๕๘). หลักภาษาและการใช้ภาษา. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า.