The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ความเครียด มหันตภัยที่น่าห่วงใย อ.โสภา ตอนที่ 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by athip, 2021-11-01 05:16:02

ความเครียด มหันตภัยที่น่าห่วงใย อ.โสภา ตอนที่ 1

ความเครียด มหันตภัยที่น่าห่วงใย อ.โสภา ตอนที่ 1

ความเครียด มหันตภยั ทีน่ ่าห่วงใยยุคนิวนอรม์ ัล : ทางออก
ดร.โสภา ชูพิกุลชยั ชปลี มนั น์ ราชบณั ฑติ ๑

คำหลกั
ความเครยี ด
นวิ นอร์มลั
ทางออก

ความหมายของความเครียด พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้
ความหมายเก่ียวกับความเครียดว่า เป็นลักษณะอาการท่ีสมองไม่ผ่อนคลาย เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับ
งานจนเกนิ ไป ลักษณะอาการทีจ่ ิตใจมีอารมณบ์ างอยา่ งมากดดันความร้สู ึกอย่างรนุ แรง

แนวคิดทางจติ วทิ ยาของผูเ้ ขียนเก่ียวกบั “ความเครียด”
ความเครียด เป็นสภาวะของร่างกายที่ตอบโต้ความรู้สึกกดดันท่ีเกิดข้ึนภายในจิตใจ
จากหลากหลายเหตุการณ์ หลากหลายกรณี หรือเม่ือต้องเผชิญกับส่ิงใหม่ ๆ ท่ีคาดไม่ถึง จากการ
ถูกข่มขู่ ถูกบีบบังคับให้ต้องกระทำในส่ิงที่ตนไม่พอใจไม่ต้องการที่จะกระทำ ความเครียดเป็น
ความรู้สึกทางด้านลบ ยากท่ีจะควบคุมได้ เมื่อเกดิ ความเครียดข้ึน แต่ละบุคคลจะแสดงพฤติกรรม
ออกในรูปแบบที่ตา่ ง ๆ กัน ความสามารถในการเผชิญกับความเครียดของแตล่ ะบุคคลจะแตกต่าง
กันออกไป ทั้งนี้ข้ึนอยู่กบั โครงสร้างทางด้านร่างกาย ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ การอบเล้ียงดู การ

๑ ประธานคณะกรรมการศึกษาและพฒั นาความรทู้ างจติ วทิ ยาและสงั คม
บรรยายในการประชุมคณะกรรมการศกึ ษาและพฒั นาความรู้ทางจติ วทิ ยาและสังคม
สำนักงานราชบณั ฑิตยสภา เม่อื วนั ที่ ๒๗ ตลุ าคม ๒๕๖๔



ถูกปลูกฝังกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมมาต้ังแต่เด็ก รวมไปถึงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของ
บคุ คลนั้น ๆ

ในขณะท่ีต้องเผชิญกับความเครียด ร่างกายของบุคคลจะผลิตฮอร์โมนที่จะนำมาใช้
กระตุ้นความเครียดที่เข้ามากดดันอยู่ในร่างกายของบุคคลน้ัน เราเรียกฮอร์โมนความเครียด
(stress hormorns) สำหรับไว้กระตุ้นเพ่ือให้เกิดความเครียดข้ึนภายในจิตใจในขณะน้ันได้ทันการ
และรวดเร็วและให้บุคคลสามารถตอบโต้เหตุการณ์ สภาพการณ์หรือส่ิงที่มากดดันให้เกิด
ความเครยี ดได้อย่างทันท่วงที การตอบโต้ความเครียดได้อยา่ งรวดเร็วนี้ อาจนำไปสู่การตัดสินใจท่ี
ผิดพลาดข้ึนได้ทำให้เกิดผลทางด้านลบตามมาได้หรือที่ทางจิตวิทยา เรียกว่าเป็น “อาการสู้หรือ
หนี” (fight or flight syndrome) ท้ังน้ีขึ้นอยู่กบั โครงสร้างทางร่างกาย ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ
การอบรมเลี้ยงดู การถูกปลูกฝัง กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมมาต้ังแต่เด็ก รวมไปถึงสภาพทาง
เศรษฐกจิ และสังคมของบุคคลคนน้นั

ความเครยี ดไมด่ ีแน่ ๆ เพราะเป็นสิ่งบ่ันทอนสุขภาพจิตของบุคคล ในขณะที่บุคคลเกิด
ความรู้สึกว่าทุกส่ิงทุกอย่างที่เกิดข้ึนมากเกินกว่าท่ีบุคคลนั้น ๆ จะเผชิญหรือรับได้ ในขณะเกิด
ความเครียดจะมีผลต่อสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจของบุคคลน้ัน ลักษณะของผู้ท่ีเครียด
มักจะเอาจริงเอาจังอย่างมากมายกบั ทุกส่ิงทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองการดำรงชีวิต การเรียน การ
ทำงาน ชีวิตเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ความขัดแยง้ ในจติ ใจ จิตใจขาดความสงบเพราะหมกมุ่นอยู่
กบั การท่ีจะต้องแกไ้ ขปัญหาท่ีเกิดข้ึนในขณะน้ัน ไม่ว่าจะเป็นการถูกกดดันทางจิตใจ การที่จะต้อง
แข่งขันกันหรือต้องต่อสู้กัน จึงล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำท่ีแฝงความก้าวร้าวไว้ในจิตใจ และ
แสดงออกผ่านคำพูดหรือการกระทำ ชอบท่ีจะระบายโดยใช้วิธีการตำหนิ พูดจาเสียดสีผู้อ่ืน ชอบ
การตำหนิติเตียนผู้ท่ีด้อยกว่า เพื่อระบายความเครียดท่ีสมสมอยู่ภายในจิตใจ เวลาทำอะไรจะทำ
อย่างมีอารมณ์ ทำอย่างรีบร้อน ทำหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน หงุดหงิดกับผู้ท่ีเก่ียวข้อง จิตใจ
ว้าวุ่นขาดความสงบภายในจิตใจ

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน สมาชิกของสังคมเต็มไปด้วยความเครียดจากเหตุการณ์
หลาย ๆ เหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนโดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคระบาดโควดิ -19 ท่ียงั ไม่สามารถพบ
ต้นตอของการเกิดโรคได้ นับวันจำนวนผู้ติดโรคและยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ความ
รุนแรงของการระบาดกระจายไปทั่วโลก เกิดสายพันธุ์ใหม่ ๆ ข้ึน ท่ีนับวันก็จะเพิ่มความรุนแรง
ยง่ิ ขึน้ อยู่ตลอดเวลา ยังไมม่ วี ัคซีนไม่มียาทจ่ี ะนำมาใช้ปอ้ งกนั หรือหยุดการระบาดได้

วัคซีนท่ีแต่ละประเทศคิดค้นข้ึนมา เพ่ือใช้ยับย้ังการระบาดก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
เพราะยังไม่สามารถท่ีจะใช้ป้องกันการติดเชื้อได้ เป็นเพียงการฉีดเพื่อชว่ ยบรรเทาความรุนแรงของ
การเจ็บป่วยไม่ได้ถึงข้ันเสียชีวิตเท่าน้ันถึงแม้ได้รับวัคซีนแล้วก็ยังสามารถแพร่ระบาดกระจายเชื้อ



โรคไปไห้บุคคลใกล้ชดิ หรือบุคคลอื่นได้ อีกท้ังการระบาดของเช้ือโรคยังกลายพันธุ์ ด้ือต่อวัคซีนท่ีมี
ใช้อยู่ในปัจจุบันทำให้สมาชิกของสังคมโลกเกิดอาการหวาดกลัว วิตกกังวล เกิดความเครียดข้ึน
อย่างมากมาย รัฐบาลได้ขอร้องให้ประชาชนฉีดวัคซีนเพ่ือหยุดย้ังความรุนแรงของโรคและลด
จำนวนของผู้เสียชีวิตลง จำนวนวัคซีนท่ีมีใช้ในปัจจุบันก็มีจำนวนจำกัด ทำให้เกิดความเครียดใน
การท่ีจะต้องขวนขวาย พยายามเพ่อื ให้ได้ฉีดวัคซนี

เม่ือวัคซีนไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดให้กับสมาชิกของสังคมโลกได้ จึงต้องหัน
กลับมากระตุ้นให้ประชาชนปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเพ่ือให้สามารถต่อสู้กับการระบาดของ
โรคได้ด้วยการปรับเปล่ียนพฤติกรรมความเป็นอยู่จากเดิมเพ่ือให้สามารถต่อสู้กับการระบาดของ
โรคได้ มีการบัญญัติ “คำใหม่” ขึ้นมาใช้เพ่ือให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของสังคมใน
ปจั จบุ นั คอื คำ “New Normal” ซึ่งราชบัณฑิตยสภาได้ใหค้ วามหมายไว้ คอื

๑. อา่ นทบั ศัพทไ์ ปเลย อา่ นวา่ “นวิ นอร์มัล”
๒. ปรกตใิ หม่
๓. ฐานชวี ิตใหม่
ท้ังนี้เพราะมีการเปล่ียนวิถีการดำเนินชีวิตจากความเป็นอยู่แบบเดิมมาเป็น วิถีการ
ดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ เพ่ือให้ปลอดภัยจากการระบาดอย่างรุนแรงของโควิด-19 ที่วิถีการดำเนิน
ชีวิตรูปแบบใหม่น้ีก่อให้เกิดความเครียดให้กับสมาชิกของสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใส่
หน้ากากเป็นประจำตลอดเวลา คนว่างงานตกงานเพ่ิมจำนวนมากข้ึน ไม่มีรายได้จับจ่ายใช้สอย
ธรุ กจิ ต้องปิดตัวจำนวนมาก การอยู่บ้านตลอดเวลา ทำงานที่บ้าน เรียนท่ีบ้าน งดการสังสรรค์ การ
ร่ืนเริงต่าง ๆ เป็นต้น สมาชิกของสังคมเกิดความเครียดข้ึนอย่างมาก กับจำนวนการระบาดที่
เพิ่มขน้ึ และกบั จำนวนผ้เู สยี ชีวิตทเี่ พ่มิ ขึน้ เปน็ ต้น

ทางออก
เม่ือไมส่ ามารถแกไ้ ขหรอื เปลี่ยนแปลงสถานการณไ์ ด้ ส่งิ ทคี่ วรกระทำคอื
๑. รบั สภาพความเปน็ จริงใหไ้ ด้วา่ ประเทศไทย สังคมไทยกำลังอย่ใู นยคุ นิวนอรม์ ัลยุคท่ี
ทุกคนต้องคอยช่วยกันเพ่ือช่วยยับย้ังหรือ หยุดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ได้ เพ่ือประโยชน์
ของตัวเราเองและของสมาชิกของสังคมไทยโดยส่วนรวม เพราะการระบาดอย่างรุนแรง ไม่ได้
เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่าน้ัน แต่กระจายไปท่ัวโลกท่ีสมาชิกของสังคมเกิดความเครียด เกิด
ความหวาดกลัวด้วยกันท้ังนั้น สิ่งที่เราควรทำคือ ตั้งสติและควบคุมสติให้ได้ด้วยการยอมรับสภาพ
ความเป็นจริงในสงิ่ ที่เราตอ้ งเผชิญอยู่ และต้องอยู่กบั สถานการณ์ดังกลา่ วให้ได้ เพราะยังไม่มีบุคคล
ใดหรือประเทศใดที่สามารถจะหยุดยั้งการระบาดน้ีได้ การกระทำเช่นน้ีเท่ากับเราสามารถควบคุม



ความเครียดที่ถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนความเครียด ไว้ได้ไม่ให้ขึ้นมาอยู่เหนือการกระทำพฤติกรรม
ของเรา หากทำได้ก็จะเกิดสติสามารถควบคุมตัวเองได้ รับสภาพท่ีเกิดขึ้นจริงในขณะนั้นได้
สามารถทจ่ี ะปรับตัวให้อยูก่ ับโรคโควดิ -19 นีไ้ ด้อย่างฉลาด ไม่ทกุ ขท์ รมานทางด้านจิตใจ สิง่ สำคัญที่
ต้องทำให้ได้คือ รับสภาพความเป็นจริงที่เกิดข้ึนในขณะนั้นให้ได้เพื่อความเครียดจะได้ลดลง หรือ
จะได้ไมเ่ กดิ ขนึ้

ความเครียดเมื่อเกิดขึ้นไม่ดีแน่ ๆ ยิ่งเครียดมากย่ิงบ่ันทอนสุขภาพ ทั้งทางด้าน
ร่างกายและสุขภาพจิตของเรา เม่ือสุขภาพจิตดี ปัญญาก็จะเกิด ทำให้เห็นทางออกในการท่ีจะ
นำมาเพื่อแก้ไขวิกฤติปัญหาต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึนกับเราในขณะน้ันได้อย่างมีเหตุมีผลอันนำมาสู่การ
ปรบั ตัวทำให้สามารถปรับตวั เพื่อให้เข้ากบั สภาพปัญหาตา่ ง ๆ หากปรบั ตวั ไดจ้ ะทำให้เราคลายจาก
ความเครียดลงได้ และเมือ่ ความเครียดคลายหรือลดลง ความวิตกกงั วลกจ็ ะลดลงตามไปดว้ ย

๒. มีจติ ใจทเี่ ข้มแขง็ ไมห่ มดหวงั ออ่ นเปลีย้ เพลียใจง่ายรู้จกั การผ่อนคลาย
๓. มองทุกส่ิงทกุ อยา่ งทางบวก เพราะถา้ เรามีความรู้สึกที่เปน็ บวกเรอ่ื งใหญก่ ็กลายเป็น
เรอ่ื งเล็กไปได้ เกิดความสบายใจ ความเครียดกจ็ ะคลายลงได้
๔. ให้ความร่วมมือร่วมใจกระทำในส่ิงท่ีสามารถช่วยกันลดการระบาดลงได้ ไม่ต่อต้าน
หรือคดั ค้าน
๕. ไม่เหน็ แกต่ วั มนี ำ้ ใจพร้อมทจ่ี ะให้การช่วยเหลือซ่ึงกันและกนั
๖. มีความจริงใจตอ่ ตนเองและต่อผอู้ ืน่
๗. กลา้ ตดั สนิ ใจทจี่ ะกระทำส่งิ บวก หลงั จากไดค้ ิดวิเคราะหม์ าอย่างถอ่ งแท้แลว้
๘. มีสติ ใชเ้ หตุผลในการตดั สนิ ใจ ไมใ่ ชอ้ ารมณ์
๙. ควบคมุ ตนเองให้ได้
๑๐. ร้จู ักผ่อนคลาย เพอ่ื ให้เกดิ ความสุข
๑๑. ยืดหยนุ่ ให้เป็น
๑๒. กล้าทจ่ี ะเผชญิ กับปญั หาท่เี กิดขึ้น
อย่าลืมนะคะ ทุกคนมีปัญหาด้วยกันท้ังน้ันจะตา่ งกันอย่ทู ี่น้ำหนักของปัญหาวา่ จะหนัก
หรือเบาเท่าน้ัน ในสถานการณ์ที่เราต้องเผชิญกับปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนักหรือเบาแค่ไหน
ทางออกทางเดียวท่ีทำได้ในขณะน้ัน คือครองสติไว้ให้ม่ัน อย่า ตกใจหรือวิตกกังวลกับปัญหาจน
เกิดเหตุ ความตื่นเตน้ ตกใจกลัวจนเกินเหตุ จะทำให้เกิดความมืดมน คิดอะไรไม่ออกหากทำเชน่ น้ัน
อาจนำไปสู่การตัดสินใจท่ีผิดพลาดตามมาตกอยใู่ นสภาพท่ีทางจติ วิทยาเรียกวา่ “อาการสหู้ รือหนี”
อาจจัดการกับปัญหาอย่างรีบเร่งหรือรุนแรงเกินไปทำให้ปัญหาบานปลายออกไปกลายเป็นปัญหา
ใหญ่ขึ้นมาได้ หรอื หนีปัญหาซ่ึงเม่อื ไมม่ ีทางออกอาจถึงขัน้ คดิ ทำลายตนเองก็ได้ ส่งิ ที่ควรกระทำใน



ขณะนั้นคอื เข้มแข็ง ตัง้ สติให้ม่นั อดทน เพราะเมอ่ื มสี ติ ปญั ญากจ็ ะเกิดทำให้สามารถคดิ วเิ คราะห์
ได้ว่าเราควรจะดำเนินการอย่างไรในสถานการณ์เช่นนั้น ทางออกของการแก้ไขปัญหาก็จะเข้ามา
แทนที่ ผู้ที่จะทำเชน่ น้ีได้คอื ผทู้ ่มี ีสุขภาพจติ ดเี ท่านัน้

สรุป ในการที่จะลดความเครียดและอยู่อย่างมีความสุขในยุคนิวนอร์มัล ควรที่จะ
ช่วยเหลือเอ้ืออาทรซึ่งกันและกัน อยู่อย่างไม่ประมาท และดูแลตัวเอง ให้ รอดจาก
โควิด-19 ซ่ึงกำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ลดการแข่งขันลง ให้การสนับสนุนซ่ึงกนั และกนั กระตุ้นให้
แต่ละคนเข้มแข็งไม่ท้อแท้ มีกำลังใจในการที่จะสู้กบั ปัญหาทเี่ กิดข้นึ ในปัจจบุ ัน ชว่ ยเหลือซ่งึ กนั และ
กัน ดูแลตนเองให้เขม้ แข็งทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ คำนึงอยู่ตลอดเวลาว่าสุขภาพจิตท่ดี จี ำเป็น
อย่างย่ิงในยุคนี้เพราะสามารถช่วยลดวิกฤติความเครียดในจิตใจลงได้ และสามารถที่จะผ่านวิกฤต
ของสงั คมในยคุ นิวนอร์มลั ไปได้ พยายามนะคะ เพอื่ ตวั ของเราเอง

.

หนังสอื อา้ งอิง

ราชบัณฑติ ยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบณั ฑติ ยสถาน ปี ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ :
ศริ ิวัฒนาอนิ เตอรพ์ รนิ้ ท์, ๒๕๕๖.

โสภา ชพู กิ ุลชัย ชปีลมนั น์ ดร. เทคนคิ การคลายเครยี ดภยั เงยี บในสงั คม บทความ
ประกอบการบรรยาย ๒๕๕๒.

Centers for Disease Control and Prevention Mental Health. Coping with
Stress Scotland 2021.

Mc David, J. and Hararl. H, Psychology and Social Behavier. N. Y. Harper
International Pub. 1976.

Wiley Online Library. Psychological effects of the COVID–19 pandemic :
percieved stress, anxiety work–family imbalance, and coping
strategies among healthcare professionals. Brain and Behavior
Volume II, Issue 8, August 2021 Wiley&Sons Hoboken, NJ.


Click to View FlipBook Version