The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โปรแกรมฐานข้อมูล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Jirayut Nasomwad, 2022-06-07 00:26:46

โปรแกรมฐานข้อมูล

โปรแกรมฐานข้อมูล

โปรแกรมฐานข้อมูล

จิรายุทธ นาสมวาด

โปรแกรมจัดการข้อมูล คือ โปรแกรม
สำหรับการสร้าง จัดการ และรวบรวม
ข้อมูล จากไฟล์ต่างๆ โดยมีเครื่องมือ
อำนวยความสะดวกในการสร้างระบบ
สารสนเทศต่างๆ ได้ เพื่อให้ข้อมูลถูกจัด

เก็บในรูปแฟ้มข้อมูล



ปัจจุบัน ความต้องการใช้ข้อมูลเพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว และเพื่อให้ได้ข้อมูล ที่ทันต่อ

สถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด จึงทำให้มี
การนำฐานข้อมูล มาประยุกต์ใช้ในส่วน

งานต่างๆ เพิ่มมากขึ้น



ฐานข้อมูล คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ
เพื่อสนองความต้องการของระบบงาน
ต่างๆ ในเวลาเดียวกัน โดยมีข้อมูลอยู่ที่
ศูนย์กลาง

ความหมายของระบบฐานข้อมูล
คำศัพท์พื้นฐานเกี่วกับระบบฐานข้อมูล

ประโยชน์ของการใช้ระบบฐานข้อมูล
หลักการออกแบบระบบฐานข้อมูล

การนอร์มัลไลเซซัน

คำศัพท์เกี่ยวกับฐานข้อมูล

บิต (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นโครงสร้างที่
เล็กที่สุดในแต่ละบิตจะเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง ประกอบด้วย 0 และ 1

ซึ่งนำมาใช้แทน ระหว่างสองสถานะ เช่น จริง-เท็จ เปิด-ปิด เป็นต้น เพื่อให้
สามารถแสดงสารสนเทศได้มากขึ้น บิตจึงถูกรวมต่อกันเข้าเป็นสายเพื่อแสดง
สารสนเทศ โดยนำบิตเหล่านั้นมาทำให้เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นเรียกว่าไบต์ (byte)

ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำบิตมารวมกันเป็นตัว
อักขระ (Character) ไบต์ ประกอบขึ้นมาจากบิตหลาย ๆ บิตมาเรียงต่อกัน แต่

เนื่องจากคอมพิวเตอร์เข้าใจเพียงเลข 0 และเลข 1 เท่านั้นถ้าต้องการให้
คอมพิวเตอร์รูปจักอักขระตัวอักษร A,B….,Z จะต้องมีการเอาเลข 0 และเลข 1
มาเรียงต่อกันเป็นรหัสแทนอักขระ โดยปกติ 1 ตัวอักขระจะมีความยาว 8 บิต
ซึ่งเท่ากับ 1 ไบต์ จำนวนบิตที่นำมาเรียงต่อกันเป็นไบต์นี้แตกต่างกันไปตาม
รหัสแทนข้อมูล รหัสแทนข้อมูลที่ใช้กันแพร่หลายมี 2 ระบบ คือ รหัสเอบซีดิก
(EBCDIC) และรหัสแอสกี (ASCII) ใช้ 8 บิต รวมกันเป็น 1 ไบต์ โดย 1 ไบต์ จะใช้

แทนอักขระ 1 ตัว

คำศัพท์เกี่ยวกับฐานข้อมูล

เขตข้อมูล (FIELD) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัว
ขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น โดยแบ่งประเภท

ของฟิลด์ได้ ดังนี้



- ฟิลด์ตัวเลข (NUMERIC FIELD) ประกอบด้วย อักขระที่เป็น
ตัวเลข ซึ่งอาจเป็นเลขจำนวนเต็มหรือทศนิยมและอาจมีเครื่องหมายลบหรือบวก เช่น ยอด

คงเหลือในบัญชีเป็นกลุ่มของตัวเลข



- ฟิลด์ตัวอักษร (ALPHABETIC FIELD) ประกอบด้วย อักขระที่
เป็นตัวอักษรหรือช่องว่าง (BLANK) เช่น ชื่อลูกค้าเป็นกลุ่มของตัวอักษร




- ฟิลด์อักขระ (CHARACTER FIELD หรือ ALPHANUMERIC
FIELD) ประกอบด้วย อักขระซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ที่อยู่ของลูกค้า




ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในฟิลด์ เป็นหน่วยย่อยของระเบียนที่บรรจุอยู่ในแฟ้มข้อมูล เช่น
ฟิลด์เลขรหัสประจำตัวบุคลากร ฟิลด์เงินเดือนของลูกจ้าง หรือฟิลด์เลขหมายโทรศัพท์ของ
พนักงาน ตัวอย่าง เช็คของธนาคารแห่งหนึ่ง ประกอบด้วย ชื่อที่อยู่ธนาคาร เช็คเลขที่ จ่าย

จำนวนเงินเป็นตัวเลข จำนวนเงินเป็นตัวอักษร สาขาเลขที่ เลขที่บัญชี และลายเซ็น



ฟิลด์บางฟิลด์อาจจะประกอบด้วยข้อมูลหลาย ๆ ประเภทรวมกันในฟิลด์ เช่น ฟิลด์
วันที่ประกอบด้วย 3 ฟิลด์ย่อย ๆ คือ วันที่ เดือน และปี หรือในฟิลด์ชื่อธนาคาร ยังประกอบ

ด้วยหลายฟิลด์ย่อย ๆ คือ ชื่อธนาคาร ที่อยู่ เมือง ประเทศ และรหัสไปรษณีย์

คำศัพท์เกี่ยวกับฐานข้อมูล

ระเบียน (RECORD) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมา
รวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบ

ด้วย






- รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล



- ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล



- ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล






แฟ้มข้อมูล (FILE) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็น
เรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน







เอนทิตี้ (ENTITY) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่ง
ต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน



- เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (WEAK ENTITY) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาด
เอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล



- แอททริบิวต์(ATTRIBUTE) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและ
คุณสมบัติของเอนทิตี้ หนึ่ง ๆ เช่น เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย




- แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา



- แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษา



- แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา

คำศัพท์เกี่ยวกับฐานข้อมูล

ความสัมพันธ์ (RELATIONSHIPS) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง
เอนทิตี้นักศึกษาและเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง ใน

การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เราจะใช้หัวลูกศรเพื่อแสดงความสัมพันธ์



ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ






1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (ONE-TO-ONE RELATIONSHIPS) เป็นการแสดง
ความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง

(1 : 1)




2. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (ONE-TO-MANY RELATIONSHIPS) เป็นการ
แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ใน

ลักษณะ (1:M)



3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (MANY-TO-MANY RELATIONSHIPS) เป็นการ
แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม (M:N)



เอนทิตี้ใบสั่งซื้อแต่ละใบจะสามารถสั่งสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้ใบสั่ง
ซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้า จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:M) ในขณะที่สินค้าแต่ละชนิด จะถูกสั่งอยู่ในใบสั่งซื้อ
หลายใบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้สินค้าไปยังอินทิตี้ใบสั่งซื้อ จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:N) ดัง

นั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ทั้งสอง จึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (M:N)



จากคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจให้นิยามของฐานข้อมูลใน
อีกลักษณะได้ว่า “ฐานข้อมูล” อาจหมายถึง โครงสร้างสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ เอนทิตี้ที่มีความ

สัมพันธ์กัน



จากการจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

คำศัพท์เกี่ยวกับฐานข้อมูล

1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้



การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (REDUNDANCY) ดังนั้น
การนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (DATABASE MANAGEMENT SYSTEM : DBMS) จะช่วย
ควบคุมความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำ

ซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง



2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้



หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุง
ไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันใน

แต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (INCONSISTENCY)



3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้



ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูล
ที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ก็จะทำได้โดยง่าย



4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล



บางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อน
ข้อมูลป้อนข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้

หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็
ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎ

เกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

คำศัพท์เกี่ยวกับฐานข้อมูล

5. สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้



การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้ง
มาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกำหนดรูปแบบ
การเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่
เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (DATABASE ADMINISTRATOR : DBA) เป็นผู้กำหนด

มาตรฐานต่าง ๆ



6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้



ระบบความปลอดภัยในที่นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบาง
อย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน

ได้ตามความเหมาะสม



7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล



ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรม
ต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจ

กระทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้
ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง


Click to View FlipBook Version