The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by new_huttaya, 2021-03-23 23:53:16

เล่ม-แผน กศน.ชม. ปี 64

สำนักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเชียงใหม



































บริบทที่เกี่ยวของกับสำนักงาน กศน.

สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการฯ

รายละเอียดโครงการตามแผนปฏิบัติการฯ

การบริหารจัดการ การติดตามและ

ประเมินผลตามแผนปฏิบัติการฯ







สำนักงาน กศน.


สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ


กระทรวงศึกษาธิการ

คำนำ



ตามที่ สำนักงาน กศน. กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2564 ให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงานการจัดการศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัย พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้สำนักงาน กศน.จังหวัดทุกแห่ง
เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายให้บรรลุผลสำเร็จ นั้น

สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่จึงจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของ

สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ฉบับนี้ขึ้น โดยแปลงนโยบายและจุดเน้นการดำเนินของสำนักงาน กศน.
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ เพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานการจัด
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้แก่
สถานศึกษาในสังกัด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนในการ

ร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาการจัดการศึกษาให้คนไทยได้รับโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอด
ชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงและมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21





นางสาวทิพวรรณ เตียงธวัช
ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่

สารบัญ

หน้า

ส่วนที่ 1 บทนำ 1
1. หลักการและเหตุผล 1
2. อำนาจและหน้าที่ของสำนักงาน กศน.จังหวัด 2

3. ข้อมูลทั่วไปของสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ 3
4. ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม่ 6
5. สถานการณ์และแนวโน้มด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและ 8

สิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 2 บริบทที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน. 13
1. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) 13
2. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 16
3. แผนการปฏิรูปประเทศ 18

4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) 22
5. แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579) 26
6. นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี) 29

7. นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2558 - 2564) 32
8. นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ) 33
9. นโยบายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางกนกวรรณ วิลาวัลย์) 38
10. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกระทรวงศึกษาธิการ 40

11. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 44
12. แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2563 - 2565) 48
13. อำนาจหน้าที่ของสำนักงาน กศน. 54

14. จุดเน้นการขับเคลื่อนงาน กศน. ของเลขาธิการ กศน. (ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล) 55
15. นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 56
พ.ศ. 2564
ส่วนที่ 3 สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 59

ของสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม ่

วิสัยทัศน์ 59
พันธกิจ 59
เป้าประสงค์ 59
ตัวชี้วัด 60

1. นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ 61
ประจำปี พ.ศ. 2564

1.1 นโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขบเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 61

1.2 ภารกิจต่อเนื่อง 65
2. ตัวชี้วัดตามเป้าประสงค์ และค่าเป้าหมายการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 71
3. ตารางสรุปแผนงานงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 73

4. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 74
ส่วนที่ 4 โครงการตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 76

ของสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม ่
1. ตารางความสัมพันธ์ : พันธกิจ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และโครงการ/กิจกรรม 77
2. ตารางรายชื่อ : โครงการ/กิจกรรม ตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 86
พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 5 การบริหารจัดการ การติดตามและประเมินผลตามแผนปฏิบัติการ 118
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม ่
1. การบริหารจัดการ 118

2. การติดตามและประเมินผล 118
3. การรายงานผลการดำเนินงาน 119
ภาคผนวก 121

• สรุปจำนวนโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำแนกตามกลุ่มงาน 122
สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่
• รายละเอียดโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 131

กลุ่มอำนวยการ 132
กลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนา 138
กลุ่มส่งเสริมการศึกษานอกระบบ 169
กลุ่มส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย 238

กลุ่มส่งเสริมภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ 252
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล 297
คณะผู้จัดทำเอกสาร 315



แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 1


ส่วนที่ 1 บทนำ


1. หลักการและเหตุผล
ตามที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
มาตรา 9 ได้กำหนดไว้ว่า การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการ

ปฏิบัติ คือ (1) ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการ
ล่วงหน้า (2) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (1) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน
ระยะเวลา และงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ
ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ นั้น

ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.
2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579) นโยบาย

รัฐบาล นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2558 - 2564) นโยบายของรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แผนปฏิบัติราชการประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกระทรวงศึกษาธิการ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.

2564 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2563 -
2565) นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ
บริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็น
กรอบแนวทางในการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงาน กศน. ให้บรรลุผล

สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี และเป็นกรอบในการ

ปฏิบัติงานและใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2564

วิธีการดำเนินงาน

1. ศึกษา ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์
ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579) นโยบายรัฐบาล นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.
2558 - 2564) นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ

กระทรวงศึกษาธิการ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นโยบาย
และจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และบริบทต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง



แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 2


2. กำหนดกรอบเค้าโครง แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ของสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีความสอดคล้องกับนโยบาย ภารกิจของหน่วยงานและ

บริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ประสานสถานศึกษาในสังกัดจัดทำข้อมูลรายละเอียดแผนงาน/โครงการที่จะดำเนินการใน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้สอดคล้องกับนโยบาย ภารกิจ อำนาจหน้าที่ และนโยบายอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง

4. จัดทำแผนปฏิบัติการประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสานักงาน กศน.จังหวัด
เชียงใหม่
5. เสนอขออนุมัติใช้เป็นแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสานักงาน
กศน.จังหวัดเชียงใหม่

6. เผยแพร่ทั้งในรูปแบบเอกสารรูปเล่มและเว็บไซต์ของสานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ มีแผนปฏิบัติงานและแผนการจัดสรร/ใช้จ่ายงบประมาณ

สำหรับใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. อำนาจและหน้าที่ของสำนักงาน กศน.จังหวัด

พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 (มาตร
17) กำหนดให้มี สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด เรียกโดย
ย่อว่า “สำนักงาน กศน. จังหวัด” เป็นหน่วยงานการศึกษ สังกัดสำนักงาน กศน. ทำหน้าที่เป็นหน่วย
ธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาการนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และกำหนดให้
มีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภายในจังหวัด รวมทั้งมี

อำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. จัดทำยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยในจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนา

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน
2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ด้านการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย
3. วิเคราะห์ จัดตั้ง จัดสรร เงินงบประมาณให้แก่สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายที่จัด


การศึกษานอกระบบและการศกษาตามอัธยาศัย
4. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ
สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
5. จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบตามที่กฎหมายกำหนด

6. ส่งเสริม สนับสนุนการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์และ
การเทียบระดับการศึกษา
7. ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาร่วมกับ
สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 3

8. ระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริม
สนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

9. ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
10. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและภาคี
เครือข่าย
11. ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริ งานนโยบายพิเศษของรัฐบาลและงานเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
12. กำกับ ดูแล นิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ภายใต้อำนาจหน้าที่ดังกล่าว จึงได้มีการออกแบบโครงสร้างรองรับ จากกลุ่มภารกิจภายใต้

คำว่า “ กลุ่ม ” จำแนกไปสู่กลุ่มงาน และงาน ตามลำดับ โดยแต่ละงานจะแสดงภาระงานให้เห็นเป็น
แนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ตลอดจนผลสำเร็จที่คาดหวังจากการปฏิบัติงานต่าง ๆ ด้วย และได้จัด
โครงสร้างเป็น 7 กลุ่ม ได้แก ่

1. กลุ่มอำนวยการ

2. กลุ่มยุทธศาสตร์และการพฒนา
3. กลุ่มส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
4. กลุ่มส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
5. กลุ่มส่งเสริมภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษและ


6. กลุ่มงานเทศ ติดตามและพฒนาระบบบริหารและกระบวนการเรียนรู้
7. กลุ่มตรวจสอบภายใน

3. ข้อมูลทั่วไปของสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม ่

ที่ตั้ง : 157 หมู่ที่ 4 ถนนโชตนา ตำบลดอนแก้ว อำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180

โทรศัพท์ 053-121177 โทรสาร 053-121179
e-mail : [email protected]
Website : http://cmi.nfe.go.th

พื้นที่ : สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 11 ไร่ 3 งาน โดยมีอาคารสำนักงาน 4

หลัง ห้องประชุม 2 หลัง หอพัก 2 หลัง โรงเก็บรถยนต์ 1 หลัง บ้านพักข้าราชการ 10 หลัง บ้านพก
คนงานภารโรง 2 หลัง

ประวัติความเป็นมา
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ (ชื่อย่อ :
สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่) เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 สังกัดกองการศึกษาผู้ใหญ่
กรมสามัญศึกษา โดยช่วงแรกได้เปิดทำการสอนเฉพาะวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น 300 ชั่วโมง ใน 4

สาขาวิชาชีพด้วยกัน คือ ช่างเครื่องยนต์ ช่างขับรถยนต์ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี และช่างเสริมสวย โดย
ทางราชการได้เช่าสถานที่อาคารของ "สมาคมสตรี ศรีล้านนาไทย" เป็นสถานที่เปิดสอนมีชื่อหน่วยงาน




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 4

ว่า "ศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ ภาคการศึกษา 8" หลังจากเปิดสอนจบหลักสูตรได้สองรุ่น (6 เดือน) ได้มีผู้
มาใช้บริการเป็นจำนวนมากขึ้น ทำให้สถานที่เปิดสอนคับแคบไม่สามารถขยายชั้นเรียนได้ ในปลายปี

พ.ศ. 2509 นายประจวบ คำบุญรัตน์ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้น ได้ย้ายที่ทำการมาทำการ
เปิดสอนที่หน้าสนามเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ดินของ นายไกรศรี นิมมานเหมินทร์ คหบดีชาว
เชียงใหม่ ได้อุทิศที่ดินจำนวน 8 ไร่เศษให้กับกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีจุดประสงค์ให้ใช้ที่ดินดังกล่าว
ให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาแก่ประชาชน และได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงานใหม่ว่า

"ศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ภาคเหนือ" โดยมีนายสุรัตน์ เหล็กงาม เป็นครูใหญ่ ห้องเรียนเป็นอาคารชั่วคราว
ยกพื้นเทคอนกรีต ใช้ลวดตาข่ายล้อมโดยรอบผนังอาคาร เป็นที่รู้จักของนักการศึกษาว่า "ศูนย์เล้าไก่"
ได้มีการขยายสาขาวิชาชีพให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น ช่างซ่อมวิทยุ ช่างตัดผมชาย ช่างตัดเย็บ
เสื้อผ้าชาย ช่างเขียนแบบแปลนก่อสร้าง ช่างประกอบอาหาร และโภชนาการ และช่างเชื่อมโลหะ

นอกจากนี้ยังได้มีการเปิดสอนวิชาชีพให้กับประชาชนในชนบทให้มีโอกาสได้เรียนวิชาชีพช่างต่าง ๆ ใน
เขต 7 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ในโครงการ "หน่วยเปิดสอนวิชาชีพเคลื่อนที่สู่ชนบท" พร้อมกันนี้ยัง
ได้มีการเปิดสอนนักศึกษาสายสามัญขึ้นอีกสายหนึ่งเป็นการสอนการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ
ระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 ควบคู่ไปด้วย


ต่อมาเมื่อถึงปี พ.ศ. 2519 ทางกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายในการรวบรวมหน่วยงาน
ย่อยที่มีลักษณะงานด้านการบริหารคล้ายคลึงกันมาเป็นหน่วยงานเดียวกัน คือศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่
ภาคเหนือ โสตทันศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยฝึกฝนอาชีพ
เคลื่อนที่ 45 สังกัดกรมอาชีวศึกษา ได้ถูกหลอมให้เป็นหน่วยงานเดียวกันภายใต้ชื่อ "ศูนย์การศึกษา
ประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ " สังกัดกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษาเหมือนเดิม จนถึงปี พ.ศ.

2522 ทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายในการกระจายอำนาจทางการศึกษาเข้าถึงประชาชนทุก
พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นในเขตชนบทหรือในเมือง ให้มีโอกาสทางการศึกษาโดยเท่าเทียมกัน จึงได้สถาปนา
"กองการศึกษาผู้ใหญ่" มาเป็น "กรมการศึกษานอกโรงเรียน" เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 เพื่อเป็น

การสนองตอบต่อผู้มาใช้บริการมากขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับอาคารเรียนคับแคบ กรมการศึกษานอก
โรงเรียนจึงได้ย้ายที่ทำการมาตั้งที่บ้านป่าแงะ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในชื่อ
หน่วยงานใหม่ว่า "ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่" สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน
และได้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ทั้งสายอาชีพและสายสามัญให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เป็นที่

ยอมรับของผู้ใช้บริการเป็นอย่างยิ่งตามนโยบายของกรมการศึกษานอกโรงเรียนจันมาถงปัจจุบันนี้





แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 5

ข้อมลพื้นฐานหน่วยงาน

สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ มีกรอบอัตรากำลังของบุคลากรแต่ละประเภท และ

มีสถานศึกษาในสังกัด ดังนี้


รายการ จำนวน


1. บุคลากร
ผู้บริหาร 27 คน
ข้าราชการครู 152 คน
บุคลากรทางการศึกษา 11 คน

ศึกษานิเทศก์ 1 คน
นักวิชาการ 3 คน
นักจัดการงานทั่วไป 1 คน

บรรณารักษ์ 6 คน
พนักงานราชการ 607 คน
ครู กศน.ตำบล 205 คน
ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนพื้นที่ปกติ 65 คน

ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนพื้นที่สูง 302 คน
นักวิชาการ (สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่) 19 คน
บรรณารักษ์ 4 คน
เจ้าพนักงาน 12 คน

ลูกจ้างประจำ 4 คน
จ้างเหมาปฏิบัติงาน 124 คน
ครู กพด. 31 คน
ครู ศรช 7 คน

ครูสอนเด็กเร่ร่อน 3 คน
บรรณารักษ์ 20 คน
นักวิชาการ (นักวิชาการศึกษา, นักวิชาการเงินและบัญชี, ฯลฯ) 56 คน

หมวดแรงงาน (พนักงานขับรถยนต์, ยามรักษาความปลอดภัย, ฯลฯ) 7 คน
รวม 925 คน


2. สถานศึกษา (กศน.อำเภอ) 25 แห่ง
กศน.ตำบล 204 แห่ง
ศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.) 7 แห่ง
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) 252 แห่ง

ห้องสมุดประชาชน 26 แห่ง
รถบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ 1 คัน




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 6

4. ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม ่
ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้น
แวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ห่างจาก
กรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,566,911 ไร่
มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัด

นครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าไม้ มีที่ราบอยู่ตอนกลาง
ตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,565.3355
เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดรัฐฉานของสหภาพเมียนมาร์

ทิศใต้ ติดอำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก)
ทิศตะวันออก ติดอำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย
อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง

(จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมองลำพูน อำเภอป่าซาง

อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้(จังหวัดลำพูน)
ทิศตะวันตก ติดอำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย
อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน)

จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว มีระยะทางแนวชายแนว

ทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร และมีพนที่ติดต่อใน 5 อำเภอ ได้แก่
ื้
1) อำเภอแม่อาย : 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่อาย ตำบลมะลิกา ตำบลแม่สาว ตำบล ท่าตอน
เมืองที่ติดต่อคือ เมืองยอน รัฐฉาน
2) อำเภอฝาง : 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลม่อนปิ่น และตาบลแม่งอน
เมืองที่ติดต่อคือ บ้านโป่งป่าแขม เมืองต่วน รัฐฉาน

3) อำเภอเชียงดาว : 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลเมืองนา
เมืองที่ติดต่อคือ บ้านน้ำยุม เมืองต่วน รัฐตองยี
4) อำเภอเวียงแหง : 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง ตำบลแสนไห

เมืองที่ติดต่อคือ บ้านบางใหม่สูง บ้านปางเสือเฒ่า บ้านกองเฮือบิน เมืองต่วน
รัฐตองยี
5) อำเภอไชยปราการ : 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนวงบัว

เมืองที่ติดต่อคือ บ้านโป่งป่าแขม เมืองต่วน รัฐฉาน
ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่
ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ
2,565 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น
ดอยผ้าห่มปก (อำเภอฝาง) สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว (อำเภอเชียงดาว) สูง 2,170 เมตร

ดอยสุเทพ (อำเภอเมืองเชียงใหม่) สูง 1,601 เมตร



แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 7


สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1) พนที่ภูเขา คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของจังหวัด ประกอบด้วยทิวเขา
ื้
อินทนนท์ (หรือถนนธงชัยตะวันออก) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด พาดยาวจากทิศเหนือจรดใต้
ตามแนวรอยต่อกับจังหวัดแม่ฮองสอน และทิวเขาขุนตาน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด พาด

ผ่านในทิศเหนือ-ใต้ พื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำล้าธาร ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ส่วนบาง
พื้นที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชาวเขาชาติพันธุ์ต่าง ๆ

2) พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนว
เหนือ-ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง ลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อ
การเกษตร

ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดเชียงใหม่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4

องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศา
เซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้
อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศ

ออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน
การปกครอง

จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 204 ตำบล และ 2,066
หมู่บ้าน มีหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ดังนี้
1) หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง จำนวน 166 หน่วยงาน

2) หน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค จำนวน 34 หน่วยงาน
3) หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 211 แห่ง ประกอบด้วย
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง
- เทศบาลนคร จำนวน 1 แห่ง
- เทศบาลเมือง จำนวน 4 แห่ง

- เทศบาลตำบล จำนวน 116 แห่ง
- องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 89 แห่ง




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 8

ประชากร
จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,743,186 คน แยกเป็นชาย 846,028 คน

หญิง 897,158 คน (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2560) อำเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมือง
เชียงใหม่ จำนวน 235,012 คน คิดเป็นร้อยละ 13.48 ของประชากรทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อำเภอ
ฝาง จำนวน 118,149 คน คิดเป็นร้อยละ 6.78 และอำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุด ได้แก่ อำเภอ

กัลยาณิวัฒนา จำนวน 12,212 คน คิดเป็นร้อยละ 0.70

5. สถานการณ์และแนวโน้มด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สภาพเศรษฐกิจ
1) ประมาณผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ปี 2558 พิจารณาจากผลิตภัณฑ์ มวล
รวมจังหวัด ณ ราคาประจำปีมีมูลค่า 194,893 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว (GPP per

capita) ในปี 2558 เท่ากับ 112,874 บาท (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2559)
- ภาคเกษตร (22.15%)
- ภาคอุตสาหกรรม (10.12 %)
- ภาคบริการ (67.83%)

2) รายได้ส่วนใหญ่ แยกตามรายสาขาการผลิตที่สำคัญ (ข้อมล ณ เดือนสิงหาคม

2559)
อันดับ 1 สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ ร้อยละ 22.15 %

อันดับ 2 สาขาอื่น ๆ ร้อยละ 18.46 %
อันดับ 3 สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์จักรยานยนต์ ของใช้
ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ร้อยละ 11.88 %
3) การค้าชายแดน
จังหวัดเชียงใหม่เป็นหนึ่งในสองจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ที่มีพื้นที่

ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านโดยอีกจังหวัดคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งมีพื้นที่ชายแดนกับสหภาพ
เมียนมาร์ เช่นกัน โดยจังหวัดเชียงใหม่มีแนวโน้มทางการวางอุทยานโลจิสติกส์ (Logistics Parks) ให้
รองรับการขยายตัวของเมือง 2 มิติคือ การจัดสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่เพื่อเป็นศูนย์กลาง

ทางการบิน (Aviation Hub) และการพัฒนายกระดับจุดผ่อนปรนทางการค้าเป็นจุดผ่านแดนถาวร ณ
จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก ณ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมียุทธศาสตร์ในการ
เชื่อมโยงกับภูมิภาคที่สำคัญ 2 แห่ง คือ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Sub region: GMS)
และกลุ่มประเทศภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค “ความริเริ่มแห่งอาวเบงกอล สำหรับความ

ร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ” (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral
Technical and Economic Cooperation : BIMSTEC) ผ่านทางสหภาพเมียนมาร์
4) การท่องเที่ยว
จังหวัดเชียงใหม่มีสถานที่ท่องเที่ยว ในรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย

และแห่งอำนวยความสะดวกทันสมัยสำาหรับนักท่องเที่ยว ทั้งที่พัก โรงแรม รีสอร์ทและโฮมสเตย์ ที่มี
ชื่อเสียงทั้งร้านอาหารจำนวนมาก จึงเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
เชียงใหม่จึงเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญประเทศและระดับโลกด้านสินค้าบริการ จังหวัดเชียงใหม่มีจุด
แข็งด้านสินค้าและบริการหลากหลายรูปแบบที่สามารถสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์เชิงวัฒนธรรม




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 9

และรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว อย่างเพียงพอ การท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่มีหลาย
รูปแบบ เช่น

- การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural and Traditional Tourism) บนพื้นฐาน
ทางวัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ และประวัติศาสตร์อันยาวนาน
- การท่องเที่ยวแบบพานักระยะยาว (Long Stay) ได้แก่ การท่องเที่ยวโดยมุ่งเน้น
การพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากเชียงใหม่เป็นสถานที่พกผ่อนที่ครบรูปแบบทั้งธรรมชาติและ ในรูปแบบ

เมือง
- การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) ได้แก่ การท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์
เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อท้ากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ หรือการบ้าบัดรักษาฟื้นฟ ู

สุขภาพ เป็นต้น
- การท่องเที่ยวเชิงการศึกษา (Education Tourism) หมายถึง การท่องเที่ยวเชิง
การศึกษา เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษาชาวต่างชาติที่ต้องเข้ามา ศึกษายัง
สถาบันในจังหวัดเชียงใหม่
- การท่องเที่ยวเพื่อการประชุมสัมมนา (MICE) โดยจังหวัดเชียงใหม่มีศักยภาพและ

ความพร้อมในการเป็น MICE City
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอย
สุเทพ-ปุย (ชุนช่างเคี่ยน) อุทยานแห่งชาติแม่วาง (ผาช่อ) ถ้ำเชียงดาว ดอยหลวงเชียงดาว ดอยอ่าง

ขาง อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่ม อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจำสิริกิติ์
ปางช้างแม่แตง น้ำพุร้อนสันกำแพง น้ำพุร้อนฝาง ดอยม่อนจอง ดอยม่อนแจ่ม ถนนคนเดินท่าแพ-
ถนนคนเดินวัวลาย อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เวียงกุมกาม พระต้าหนักภูพิงคราช
นิเวศน์
5) การเกษตร

จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่การเกษตร 1,835,425 ไร่ (14.61% ของพื้นที่จังหวัด)
ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 716,454 ไร่ และพืชสวน 459,254 ไร่ พื้นที่การเกษตรนี้อยู่ในเขต

ชลประทาน 642,979 ไร่ (35% ของพื้นที่การเกษตร) มีครัวเรือนการเกษตร 134,426 ครัวเรือน พช
เศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ข้าว ลำไย ลิ้นจี่ กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และ
ส้มเขียวหวาน
6) การอุตสาหกรรม
จังหวัดเชียงใหม่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ช่วง

ระหว่างปี พ.ศ. 2557 - 2558 ในภาพรวมมีมูลค่าต่ำลง โดยในปี พ.ศ. 2558 มีมูลค่า 21,959 ล้าน
บาท ลดลงจากปี พ.ศ. 2557 จำนวน 405 ล้านบาท (ปี พ.ศ.2557 มีมูลค่า 22,394 ล้านบาท) โดย
สาขาที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม รองลงมา คือ สาขาการไฟฟ้าแก๊ส และการประปา
และสาขาที่มีมูลค่าต่ำสุด ได้แก่ สาขาการทำเหมืองแร่และ เหมืองหินอุตสาหกรรมที่สำคัญของจังหวัด

เชียงใหม่ส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป รองลงมา คือ หัตถอุตสาหกรรม อาทิ งานผ้าทอ
งานไม้แกะสลัก กระดาษสา และอื่น ๆ นอกจากนี้ เป็นอุตสาหกรรมเซรามิกโดยเฉพาะศิลาดลเป็น
อุตสาหกรรมที่พึ่งฐานทรัพยากรธรรมชาติและฝีมือแรงงานเป็นหลักและมีแนวโน้มการส่งออกไปยัง
ตลาดใหม่คือ ตะวันออกกลางและประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนมากขึ้น นับว่าเป็น




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 10

อุตสาหกรรมสำคัญที่มีผลกระทบต่อทุกห่วงโซ่ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิตผู้ส่งออก แรงงาน การขนส่ง
ส่งผลต่อรายได้ของจังหวัด

7) การค้าการลงทุน
ภาวะการค้าทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม่ ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง การท่องเที่ยวเป็นแรงขับเคลื่อน
เศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ โดยธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนขยายตัวดีจากอป

สงค์ของนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ อัตราการจองที่พกล่วงหน้ำยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง

เทศกาลที่สำคัญ ด้านลูกค้าชาวไทยยังขยายตัวจากกลุ่มประชุมสัมมนาและจากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
ในช่วงวันหยุดติดต่อกัน รวมทั้งการเปิดเที่ยวบินตรงจากฮ่องกงและเพิ่มเที่ยวบินในประเทศ สำหรับ
ธุรกิจรถเช่าก็ขยายตัวดีสอดคล้องกับธุรกิจโรงแรมในภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะความต้องการเช่า

รถของนักทองเที่ยวกลุ่มยุโรป ฮ่องกง มาเก๊า จีน ไต้หวัน ขณะที่ธุรกิจโรงแรมในภาคเหนือตอนล่างยัง
ไม่ฟื้นตัวเนื่องจากลูกค้ากลุ่มประชุมสัมมนาของหน่วยงานภาครัฐลดลง การจดทะเบียนนิติบุคคล
จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 16,834 ราย เงินทุนรวมทั้งสิ้น 236,421,874,528 บาท เป็น
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 6,377 ราย ห้างหุ้นส่วนสามัญ 50 ราย บริษัทจำกัด 10,407 ราย ในส่วนของเดือน
พฤศจิกายน 2559 มีจำนวน 239 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2559 ร้อยละ 13.81 เงินทุนรวม

1,267.18 ล้านบาท ธุรกิจที่จดทะเบียนมากที่สุด 3 อันดับ คือ ธุรกิจร้านขายปลีก เครื่องประดับ
(ร้านทอง) ธุรกิจการ ก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย และธุรกิจการซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์
โดยมีนิติบุคคลจดทะเบียนใหม่ ทุนจดทะเบียนสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท และห้องชุด ธุรกิจ

ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และธุรกิจการซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์

สภาพทางสังคม
1) วัฒนธรรม
จังหวัดเชียงใหม่เป็นนครแห่งวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองและมีประวัติศาสตร์ยาวนาน
กว่า720 ปี มีศิลปวัฒนธรรม ประเพณีทมีเอกลักษณ์ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดสู่งานหัตกรรมที่มี
ี่
คุณค่า รวมทั้งมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ชนเผ่าที่มีวัฒนธรรมโดดเด่นและหลากหลายถึง 13
ชนเผ่า เป็นชาวเขา 7 เผ่า และเป็นชนกลุ่มน้อย 5 กลุ่ม ภาษาราชการที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่
ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และมีภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “ภาษาคำเมือง” ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของภาคเหนือมี
ลักษณะของภาษาที่คล้ายๆกัน จะแตกต่างกันเฉพาะสำเนียงและศัพท์บางคำ ประชากรจังหวัด

เชียงใหม่มีผู้นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 1,519,879 คน (ร้อยละ 91.80) มีผู้นับถือศาสนาอิสลาม
จำนวน 19,371 คน (ร้อยละ 1.17) มีผู้นับถือศาสนาคริสต์ จำนวน 92,716 คน (ร้อยละ 5.60) มีผู้นับ
ถือศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซิกส์ จำนวน 331 คน (ร้อยละ 0.02) และมีผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ จำนวน
23,345 คน (ร้อยละ 1.41)

2) การศึกษา
จังหวัดเชียงใหม่มีสถานศึกษา ปีการศึกษา 2559 รวมทั้งสิ้น 781 แห่ง โดยแยก
เป็นระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มี
สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ มหาวิทยาลัย พายัพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี มหาวิทยาลัย

มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขต




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 11

เชียงใหม่ มีครู/อาจารย์ รวมทั้งสิ้น 14,990 คน และมีจำนวนนักเรียน/นักศึกษารวมทั้งสิ้น 287,569
คน ซึ่งหากเทียบอัตราส่วนระหว่างครู ต่อนักเรียน นักศึกษา เป็น 1 : 19

3) โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
การคมนาคม
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์
อุตสาหกรรม และการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ

มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ท้าให้การเดินทางติดต่อภายใน
จังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก
- การคมนาคมทางรถยนต์ การเดินทางจากกรุงเทพมหานคร มายังจังหวัด
เชียงใหม่ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข

32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัด พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข

1 ผ่านจังหวัดลำปาง แยกซ้ายผ่านจังหวัดล้าพูน จนถึงจังหวัดเชียงใหม่
- การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพมหานคร – เชียงใหม่
โดยผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง และลำพน

เปิดการเดินรถไฟทุกวัน ซึ่งสถานีปลายทางภาคเหนือคือสถานีรถไฟเชียงใหม่
- การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดเชียงใหม่มีท่าอากาศยานนานาชาติ
เชียงใหม่ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น รองจากท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

มีเส้นทางบิน ไป-กลับ วันละหลายเที่ยวบิน ทั้งสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่าง

ประเทศโดย สายการบินระหว่างประเทศมสายการบินจากเชียงใหม่ ปัจจุบันท่าอากาศยานเชียงใหม่มี
สายการบินที่ให้บริการภายในประเทศ จำนวน 7 สายการ บิน ได้แก่ การบินไทย การบินกรุงเทพ
กานต์นิธิ นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย ไทยสไมล์ ไทยไลออน เมนเทอรี และมีสายการบินระหว่างประเทศ

ให้บริการ 20 สายการบิน
การสาธารณูปโภค
- การไฟฟ้าของจังหวัดอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เขต 1 (ภาคเหนือ) รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ แหล่งผลิตแม่เมาะ

จังหวัดลำปาง มีไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่ 6 แห่ง คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่/
ภูมิภาคอำเภอฝาง/ภูมิภาคอำเภอสันทราย/ภูมิภาคอำเภอแม่ริม/ ภูมิภาคอำเภอสันป่าตอง/ภูมิภาค
อำเภอจอมทอง
- ประปา ประกอบด้วย การประปาส่วนภูมิภาคเขต 9 มีสำนักงานประปา

ส่วนภูมิภาคสาขาในเขตพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ สาขาเชียงใหม่ (ชั้นพิเศษ) สาขา
แม่ริม สาขาสันกำแพง สาขาฮอด สาขาฝาง สาขาแม่แตง และสาขาจอมทอง
- ไปรษณีย์ มีสำนักงานไปรษณีย์ให้บริการภายในจังหวัดเชียงใหม่ รวม
จำนวน 38 แห่ง แยกเป็นไปรษณีย์ให้บริการภายในเขตอำเภอเมือง จำนวน 13 แห่ง และไปรษณีย์

ให้บริการ ภายในเขตอำเภอต่าง ๆ จำนวน 25 แห่ง
สภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) ทรัพยากรป่าไม ้
ทรัพยากรป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมในด้านอื่น ๆ อย่างเด่นชัด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ จะส่งผลกระทบ




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 12

ต่อทรัพยากรอื่นในหลายด้านได้แก่ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าซึ่งส่งผลต่อเนื่อง
ถึงสถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งหมายถึง ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืช และ

พันธุ์สัตว์ รวมไปถึงการดูดซับน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ และปัญหาดินถล่มจังหวัดเชียงใหม่มีป่าไม้หลาย
ประเภทประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา

และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟตามธรรมชาติ โดยมี
พื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 12,222,265.87 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 88.72 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด

โดยแนวโน้มลดลงจากอดีต การลดลงของพื้นที่ป่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการใช้ประโยชน์
ที่ดิน การตัดไม้เพื่อการค้า รวมทั้งนโยบายของรัฐที่เน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การให้
สัมปทานการทำไม้การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ และการเกิดไฟป่า
2) ทรัพยากรน้ำ

จังหวัดเชียงใหม่มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำปิง และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2
แห่ง คือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง และยัง
แบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำคือ
- ลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นลุ่มน้ำที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือตอนบน สภาพภูมิ

ประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันสูง วางตัวแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เสี่ยงต่อ
แผ่นดินถล่มและการชะล้างพังทลายของดินสูง ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบสะวันนา คือ มีฤดูฝนสลับ
กับฤดูแล้งอย่างชัดเจน

- ลุ่มน้ำกก มีแม่น้ำกกเป็นแม่น้ำสายหลัก ไหลผ่านเมืองกก เข้าเขตประเทศ
ไทยที่ช่องน้ำกก อำเภอแม่อาย แล้วไหลเข้าสู่จังหวัดเชียงรายก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง
- ลุ่มน้ำฝาง มีแม่น้ำฝางเป็นแม่น้ำสายหลัก ซึ่งมีต้นกำเนิดจากดอยขุนห้วย
ฝางและดอยหัวโท ทางตอนใต้ของอำเภอไชยปราการ ไหลลงสู่แม่น้ำกก
3) ทรัพยากรธรณี

จังหวัดเชียงใหม่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณี โดยมีการผลิตแร่ที่
สำคัญ 8 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เฟลด์สปาร์ (แร่ฟันม้า) แมงกานีส ชีไลต์ ดีบุก ดินขาว ฟลูออไรด์ และ
แร่หินอุตสาหกรรม และจังหวัดเชียงใหม่ยังมีแหล่งทรัพยากรธรณีที่สำคัญ เช่น แหล่งปิโตรเลียม

อำเภอฝาง สภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำพุร้อน อำเภอสันกำแพงและ
อำเภอฝาง โป่งเดือด อำเภอแม่แตง บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ อำเภอแม่ริม เป็นต้น




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 13

ส่วนที่ 2 บริบทที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่


สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579) นโยบายรัฐบาล
นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2558 - 2564) นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ของกระทรวงศึกษาธิการ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2563 - 2565) นโยบายและ
จุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
มาเชื่อมโยงกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้กำหนดเป็นกรอบแนวทางใน
การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี

รายละเอียด ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติได้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580)
เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปี โดยกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายและ
ยุทธศาสตร์ ดังนี้

วิสัยทัศน์
“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
ความมั่นคง หมายถึง หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลง

ทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และ
ปัจเจก บุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ
การเมือง เช่น ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตยมีการปกครองระบบประชาธิปไตยที่มี
พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุข สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งเป็น

ศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยว จิตใจ ของประชาชน มีระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การ
บริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล สังคม มีความปรองดองและความสามัคคี
สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชนมี

ความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคง พอเพียงกับการดำรงชีวิต มีการออมสำหรับวัยเกษียณ
ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ มีที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
ความมั่งคั่ง หมายถึง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความ
ยั่งยืน จนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมีสุข
ได้รับ ผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น และมีการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วน

มีคุณภาพ ชีวิตตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ ไม่มีประชาชนที่อยู่ในภาวะความยากจน
เศรษฐกิจในประเทศ มีความเข้มแข็ง ขณะเดียวกันต้องมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศ
ต่าง ๆ ทั้งในตลาดโลกและตลาดภายในประเทศเพื่อให้สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอก

ประเทศ ตลอดจนมีการสร้าง ฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคตเพื่อให้สอดรับกับบริบทการพฒนาที่





แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 14

เปลี่ยนแปลงไป และประเทศไทย มีบทบาทที่สำคัญในเวทีโลก และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ
การค้าอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย เป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาคทั้งการ

คมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ เพื่อให้เป็นพลังในการพัฒนา
นอกจากนั้น ยังมีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้าง การพัฒนาต่อเนื่องไปได้ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุน
ทางปัญญา ทุนทางการเงินทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม

ความยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิต
ของ ประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการใช้ การ
รักษา และ การฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ไม่
สร้างมลภาวะต่อ สิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศ การผลิต

และการบริโภคเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดม สมบูรณ์ มากขึ้นและสิ่งแวดล้อมมคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบ
ต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งประโยชน์
ส่วนรวมอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญกับ การมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วนในสังคม

ยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อการพัฒนาอย่างสมดุล มีเสถียรภาพและ
ยั่งยืน
โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจ พฒนา

อย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศ ใน
หลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและ
ความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐ ของ
ประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม โดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ
ประกอบด้วย

1) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
2) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้
3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

4) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
5) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของ
ทรัพยากรธรรมชาติ
6) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ


ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ โดยมี
สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน. ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง

ประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย
เอกราช อธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการ
พัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัย
คุกคามและภัยพิบัติ ได้ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกันและแกไขปัญหา

ด้านความมั่นคงที่มีอยู่ ในปัจจุบัน และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณา




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 15

การทั้งกับส่วนราชการ ภาคเอกชนประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและ
มิตรประเทศ ทั่วโลกบนพื้นฐาน ของหลักธรรมาภิบาล เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการดำเนินการของ

ยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ ให้สามารถ ขับเคลื่อนไปได้ตามทิศทางและเป้าหมายที่กำหนด
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่
มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก ่
1) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม

ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิง
เปรียบเทียบ ของประเทศในด้านอื่นๆ นำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้
สอดรับกับบริบท ของเศรษฐกิจ และสังคมโลกสมัยใหม่
2) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

ในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและชนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ
ดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต
3) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่น
ใหม่ รวมถึง ปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่

รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุน
จากภาครัฐ ให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้า และ
การลงทุนใน เวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมาย
การพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกข่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทย
มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิต
สาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อน มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็น
ื่
พลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะลื่อสารภาษาอังกฤษ

และภาษาที่ 3 และอนุรักษ์ ภาษาท้องลื่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกรรม นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และ
อื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเป้าหมาย
การพัฒนาที่สำคัญที่ให้ความสำคัญการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม
ชุมชน ห้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชน ในการร่วมคิดร่วมทำ
เพื่อส่วนรวม การกระจายอำนาจและความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับ

ท้องถิ่น การเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของ
ประชากรไทยทั้งในมิติ สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ
สามารถพึ่งตนเองและทำประโยชน์แก่ ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกัน
การเข้าถึงบริการและสวัสดิการที่มีคุณภาพ อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งมิติด้าน
สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งภายใน
และภายนอก ประเทศอย่าง บูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน และ

การให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยเป็นการ




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 16

ดำเนินการ บนพื้นฐานการ เติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุล ทั้ง 3 ด้าน อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชน
และ ประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีฃนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ แยกแยะบทบาท
หน่วยงานของรัฐ ที่ทำหน้าที่ในการกำกับหรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันมีขีด

สมรรถนะสูง ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์
ส่วนรวมมีความทันสมัยและ พร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลเข้ามา
ประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงาน เทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้าง

เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามา มีส่วนร่วม เพื่อตอบสนองความต้องการของ
ประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยม
ความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ และสร้างจิตสำนึกในการปฏิเสธ ไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบ
อย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จำเป็น มีความทันสมัย มีความเป็น

สากล มีประสิทธิภาพ และ นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการ
ยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและการอำนวย ความยุติธรรมตาม
หลักนิติธรรม


2. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ตามพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 10 บัญญัติว่า 1) เมื่อมี

พระบรมราชโองการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติแล้วให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติแต่ละด้าน
ื่
จัดทำ แผนแม่บทเพอบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติเสนอคณะกรรมการพจารณา

ให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี 3) แผนแม่บทที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและประกาศ
ใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้มีผลพันธ์หน่วยงานของรัฐที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น รวมทั้ง

การจัดทำ งบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องสอดคล้องกันแผนแม่บทด้วย โดยแผนแม่บทภายใต้
ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 6 ด้าน 37 ประเด็น (ข้อมูล ณ จันที่ 13 สิงหาคม 2561) ดังนี้
1.ด้านความมั่นคง
1. การรักษาความสงบภายในประเทศ

2. การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง
3. การพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของ
ชาติ
4. การบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติ รวมถึงองค์กร

ภาครัฐและมิใช้ภาครัฐ
5. การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม
2.ต้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
6. การเกษตรสร้างมูลค่า

7. อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
8. สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 17

9. โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโยง
10. พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่

3.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
11. การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม
12. การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
13. ปฏิรูปการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

14. การตระหนักถึงพหุปัญหาของมนุษย์ที่หลากหลาย
15. การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี
16. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
17. การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างมูลค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ

4.ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
18. การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานราก
19. การปฏิรูประบบภาษีและการคุ้มครองผู้บริโภค
20. การสร้างหลักประกันสังคม (รวมประเด็นแรงงาน การศึกษา และสาธารณสุข)

21. เรื่องกระบวนการยุติธรรม
22. การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
23. การเสริมสร้างพลังทางสังคม

24. การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาตนเองและจัดการตนเอง
5.ด้านการสร้างเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
25. สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว
26. สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล
27. สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ

28. พัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งเน้นความเป็น
เมือง ที่เติบโตอย่างยั่งยืน
29. พัฒนาความมั่นคงทางน้ำ พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

30. ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ
6.ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
31. การพัฒนาระบบบริการประชาชน
32. การปรับสมดุลภาครัฐ

33. การพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ
34. การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ
35. การต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ
36. การแก้ไขกฎหมาย

37. การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 18

3. แผนการปฏิรูปประเทศ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 กำหนดให้รัฐจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเป็น
เป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาประเทศ ประกอบกับมาตรา 257 และมาตรา 259 กำหนดให้ทำการ
ปฏิรูป ประเทศเพื่อวางรากฐานการพัฒนาไปสู่ประเทศที่มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่าง
ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุล ประชาชนในสังคมมีโอกาส

ทัดเทียมกัน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยจะต้องดำเนินการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องในช่วง
ห้าปีข้างหน้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการปฏิรูปแต่ละด้าน คือ 1) ด้านการเมือง

2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3) ด้านกฎหมาย 4) ด้านกระบวนการยุติธรรม 5) ด้านเศรษฐกิจ
6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7)ด้านสาธารณสุข 8) ด้านสื่อสารมวลชนเทคโนโลยี
สารสนเทศ 9) ด้านสังคม 10) ด้านพลังงาน 11) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ สำนักงาน กศน. จำนวน 6 ด้าน ดังนี้


1. แผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง
การธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่มีความมั่นคง มีความชอบธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่

ประเทศชาติ บ้านเมืองและประชาชน สร้างการมีส่วนร่วม รู้จักยอมรับความเห็นที่แตกต่างกัน
พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรม โดยเปิดเผยและตรวจสอบได้และพัฒนาเป็นสถาบันทางการเมืองของ
ประชาชน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อ
ประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน และสร้างให้เกิด การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดย

สันติวิธี โดยมีเป้าหมายและประเด็นการปฏิรูปที่เกี่ยวข้องกับ สำนักงาน กศน. ดังนี้
เป้าหมายที่ 1 ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
รวมตลอดทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รู้จักยอมรับในความเห็นทางการเมืองโดยสุจริตที่แตกต่าง

กัน และให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งและออกเสียงประชามติโดยอิสระปราศจากการครอบงำไม่ว่าด้วย
ทางใด
ประเด็นปฏิรูปที่ 1 การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พันธกิจที่ 1 การให้การศึกษาและเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองใน
ระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของพลเมือง
กลยุทธ์ที่ 1 การให้การศึกษาและเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองใน
ระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของพลเมือง

กลยุทธ์ที่ 2 จัดให้มีการให้ความรู้ทางด้านการเมืองการปกครอง (Political Education)
วัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยฯ



แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 19


2.แผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
มุ่งสร้าง “ภาครัฐของประชาชนเพอประชาชน” บนหลักธรรมาภิบาลเพอให้ภาครัฐ ได้รับ
ื่
ื่
ความเชื่อถือไว้วางใจจากประชาชน (Public Trust) โดยมีเป้าหมายและประเด็นการปฏิรูปที่เกี่ยวข้อง
กับสำนักงาน กศน. ดังนี้
เป้าหมายที่ 1 จัดองค์กรภาครัฐให้เปิดกว้างและเชื่อมโยงข้อมูลกันด้วยระบบดิจิทัลรัฐบาล
ดิจิทัล

ประเด็น 1 ปฏิรูปที่ 2 : ระบบข้อมูลภาครัฐมีมาตรฐาน ทันสมัย และเชื่อมโยงกัน
ก้าวสู่
กลยุทธ์ที่ 2 น่าระบบดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงาน และการบริหารราชการ
แผนงานที่ 1 การพัฒนาหรือน่าระบบดิจิทัลมาใช้ปฏิบัติงานและการบริหาร

ราชการ
- พัฒนาหรือน่าระบบดิจิทัลเพื่อรองรับทำงานตามภารกิจเฉพาะของหน่วยงาน
- พัฒนาหรือน่าระบบดิจิทัลเพื่อรองรับงานพื้นฐานของหน่วยงาน เช่น
งานสารบรรณ งานแผนและงบประมาณ งานพัสดุ งานบริหารบุคคล เป็นต้น

กลยุทธ์ที่ 3 บูรณาการข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐเพื่อการบริหารราชการแผ่นดิน
แผนงานที่ 1 การปรับปรุงพัฒนา การจัดทำ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัล
ของหน่วยงานภาครัฐ

- จัดทำชุดข้อมูลสำคัญของหน่วยงานให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่เป็นไปตาม
มาตรฐานที่กำหนด
- เชื่อมโยงข้อมูลสำคัญของต้นเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลกลางภาครัฐ เพื่อให้ผู้บริหาร
ระดับสูงสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจและการบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายที่ 2 จัดโครงสร้างองค์กรภาครัฐเพียว กะทัดรัดแต่เข้มแข็ง สามารถบูรณาการ

ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการทำงานเพื่อประชาชนโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก
ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 โครงสร้างภาครัฐกะทัดรัด ปรับตัวได้เร็วและระบบงานมี
ผลสัมฤทธิ์สูง

กลยุทธ์ที่ 1 ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารงานของรัฐ และลด /
ละลายความเป็นนิติบุคคลของกรม
แผนงานที่ 1 การดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ
- ดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ

แผนงานที่ 2 การปฏิรูประบบราชการ (Government Reform)
- ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ (Service Reform)
เป้าหมายที่ 3 จัดระบบบริหารและบริการประชาชนให้เป็นดิจิทัล เพื่อความโปร่งใส
ทันสมัย ปรับตัวได้รวดเร็ว และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานได้อย่าง

เหมาะสม
ประเด็น 1 ปฏิรูปที่ 2 : ระบบข้อมูลภาครัฐมีมาตรฐาน ทันสมัย และเชื่อมโยงกัน ก้าว
สู่รัฐบาลดิจิทัล
กลยุทธ์ที่ 2 นำระบบดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงานและการบริหารราชการ การบูร

ณาการและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานรัฐบาลดิจิทัล




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 20

แผนงานที่ 1 การพัฒนาหรือนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงานและการบริหาร
ราชการ

- พัฒนาหรือนำระบบดิจิทัลเพื่อรองรับงานพื้นฐานของหน่วยงาน
เป้าหมายที่ 4 จัดระบบบุคลากรภาครัฐให้มีมาตรฐานกลาง เพื่อสรรหา และรักษาไว้
ซึ่งกำลังคนที่มีคุณภาพสูง มีคุณธรรม และจริยธรรมในการทำงานอย่างมืออาชีพ เป็นที่ไว้วางใจของ
ประชาชน

กลยุทธ์ที่ 3 บูรณาการข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐเพื่อการบริหารราชการแผ่นดิน
แผนงานที่ 3 สนับสนุนให้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน
การบริการประชาชน และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
- พัฒนาสมรรถนะบุคลากรภาครัฐในด้านการบริหารจัดการขอมูล การวิเคราะห์

และนำเสนอข้อมูลและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
6. แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการรักษา ฟื้นฟูให้สมบูรณ์และยั่งยืน เป็นรากฐาน
ในการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีการใช้ประโยชน์

ทรัพยากรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคม เกิดความสมดุลระหว่างการคุ้มครองรักษาและการใช้
ประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมทั้งมีระบบการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานการมี
ส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายและประเด็นการปฏิรูปที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน.

ดังนี้
เป้าหมายที่ 1 ระบบบริหารจัดการมลพิษที่แหล่งกำเนิดมีประสิทธิภาพส่งผลต่อคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับประชาชน
ประเด็นการปฏิรูป ที่ 1 เสริมสร้างระบบบริหารจัดการมลพิษที่แหล่งกำเนิดให้มี
ประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้และทักษะกับชุมชนและโรงเรียนในการคัดแยกขยะแต่ละ
ประเภท รวมทั้งผนวกความรู้เรื่องการคัดแยกขยะเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน
8. แผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ

การสร้างดุลยภาพระหว่างเสรีภาพของการทำหน้าที่ของสื่อบนความรับผิดชอบกับการกำกับ
ที่มีความชอบธรรม และการใช้พื้นที่ดิจิทัลเพื่อการสื่อสารอย่างมีจรรยาบรรณ ดำรงรักษาเสรีภาพ
ของการแสดงออก การรับรู้ของประชาชน ด้วยความเชื่อว่าเสรีภาพของการสื่อสาร คือ เสรีภาพของ
ประชาชน ตามแนวทางของประชาธิปไตย สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ในการให้ความรู้แก่ประชาชน

ปลูกฝังวัฒนธรรม ของชาติ และปลูกฝังทัศนคติที่ดี โดยมีเป้าหมายและประเด็นการปฏิรูปที่เกี่ยวข้อง
กับสำนักงาน กศน. ดังนี้
เป้าหมาย
1.มุ่งเน้นการสร้างดุลยภาพระหว่างเสรีภาพของการทำหน้าที่ของสื่อบนความ

รับผิดชอบ กับการกำกับที่มีความชอบธรรม และการใช้พื้นที่ดิจิทัลเพื่อการสื่อสารอย่างมีจรรยาบรรณ
ดำรงรักษาเสรีภาพ ของการแสดงออก การรับรู้ของประชาชน ด้วยความเชื่อว่าเสรีภาพของการ
สื่อสาร คือ เสรีภาพของประชาชน ตามแนวทางของประชาธิปไตย
2.สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ในการให้ความรู้แก่ประชาชนปลูกฝังวัฒนธรรมของชาติ

และปลูกฝังทัศนคติที่ดี




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 21

ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 การปฏิรูปการรู้เท่าทันสื่อของประชาชน
กิจกรรม การจัดสัมมนาเรื่อง “การรู้เท่าทันสื่อ” ในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัย

และในสถานที่สาธารณะสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกสถานศึกษาในกรุงเทพมหานครและ
ต่างจังหวัด อย่างต่อเนื่อง
9. แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
คนไทยมีหลักประกันทางรายได้ในวัยเกษียณที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ และ

มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น สังคมไทยเป็นสังคมแห่งโอกาสและไม่
แบ่งแยก ภาครัฐมีข้อมูลและสารสนเทศด้านสังคมที่บูรณาการทุกหน่วยงานและเปิดโอกาสให้
ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ และให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง โดยสามารถบริหารจัดการชุมชนได้
ด้วยตนเอง โดยมีเป้าหมาย และประเด็นการปฏิรูปที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน. ดังนี้

เป้าหมาย คนไทยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น
ประเด็นการปฏิรูปที่ 5 การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้และการส่งเสริมกิจกรรม
ทางสังคม
กิจกรรมที่ 2 สร้างพลังแผ่นดิน

11. แผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการทุจริต มีมาตรการควบคุมการบริหารจัดการของหน่วยงาน
ภาครัฐและเอกชน และยกระดับการบังคับใช้มาตรการทางวินัยและกฎหมายต่อเจ้าพนักงานของรัฐ

โดยมีเป้าหมายและประเด็นการปฏิรูปที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน. ดังนี้
เป้าหมาย ประเทศไทยมีระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions
Index : CPI) อยู่ใน 20 อันดับแรกของโลกในปี 2579
ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 ด้านการป้องกันและเฝ้าระวัง
กลยุทธ์ที่ 1 เร่งสร้างการรับรู้และจิตสำนึกของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต

ประพฤติมชอบ โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

กิจกรรมที่ 1.9 สร้างทัศนคติ ความรู้และปลูกฝังเยาวชนในสถานศึกษา
ทุกระดับให้รังเกียจการทุจริตและตระหนักถึงโทษภัยของการทุจริตคอร์รัปชั่นต่อประเทศชาติ

ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 ด้านการป้องปราม
กลยุทธ์ที่ 2 ให้หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือผู้บังคับบัญชา
มีมาตรการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
และเป็นตัวอย่างในการบริหารงานด้วยความซื่อตรงและรับผิดชอบ กรณีปล่อยปละละเลย

ไม่ดำเนินการ ให้ถือเป็นความผิดวินัยหรือความผิดอาญา
กิจกรรมที่ 2.2 ปลุกจิตสำนึกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคุณธรรมความซื่อตรง
(Integrity) โดยเน้นความซื่อตรงต่อหน้าที่ (ซื่อสัตย์สุจริตตามเป้าหมายอย่างดีที่สุด) และซื่อตรงต่อ
ประชาชน

กลยุทธ์ที่ 3 เสริมสร้างหน่วยงานตรวจสอบภายในให้เป็นกลไกอิสระและ มีการ
เฝ้าระวังการทุจริตในหน่วยงาน
กิจกรรมที่ 3.3 วางระบบการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบ
ในส่วนราชการเป็นประจำทุกปี และรายงานผลการปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนตามระยะเวลาที่

กำหนด




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 22

กลยุทธ์ที่ 4 ทำให้การให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจไม่พง

กระทำ

กิจกรรมที่ 4.3 พัฒนาแนวทางการกำหนดมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสม
เพื่อใช้ในองค์กรภาครัฐและเอกชนในการป้องกันการให้สินบนและการเรียกรับสินบนของเจ้าหน้าที่
ของรัฐ ในทุกรูปแบบ


4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำแผนพัฒนา
เศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) สำหรับใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศไทย
ื่
ในระยะ 5 ปี ซึ่งเป็นการแปลงยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพอเตรียม
ความพร้อม และวางรากฐานในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง

มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งการพัฒนาประเทศในระยะของ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) มีหลักการที่สำคัญ คือ
1. ยึด “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้เกิดบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติ
อย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี

ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคน มีความเป็นคนที่สมบูรณ์
สังคมไทย เป็นสังคมคุณภาพ มีที่ยืนและเปิดโอกาสให้กับทุกคนในสังคมได้ดำเนินชีวิตที่ดี มีความสุข
และอยู่ร่วมกัน อย่างสมานฉันท์
2. ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับ

คนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์
มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความ
พร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างคนให้ใช้ประโยชน์และอยู่กับสิ่งแวดล้อม

อย่างเกื้อกูล อนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม
3. ยึด “วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี” มาเป็นกรอบของวิสัยทัศน์ประเทศไทย
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคงมั่งคั่ง
ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติ
พจน์ประจำชาติ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

4. ยึด “เป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579” ที่เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ
20 ปีมาเป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน 5 ปีแรก และเป้าหมายในระดับย่อยลงมา
ควบคู่ กับกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

5. ยึด “หลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำและขับเคลื่อน
การเจริญเติบโต จากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานของการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม”
6. ยึด “หลักการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน 5 ปีที่ต่อยอดไปสู่
ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเป้าหมายระยะยาว”




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 23

วัตถุประสงค์
1. เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนที่สมบูรณ์ มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย ค่านิยม

ที่ดี มีจิตสาธารณะ และมีความสุข โดยมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดี ครอบครัวอบอุ่น ตลอดจนเป็นคน
เก่ง ที่มีทักษะความรู้ความสามารถและพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. เพื่อให้คนไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ได้รับความเป็นธรรมใน การเข้าถึง
ทรัพยากรและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งชุมชน

มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้
3. เพื่อให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง แข่งขันได้ มีเสถียรภาพ และมีความยั่งยืน สร้างความเข้มแข็ง
ของฐานการผลิตและบริการเดิมและขยายฐานใหม่โดยการใช้นวัตกรรมที่เข้มข้นมากขึ้น สร้างความ
เข้มแข็ง ของเศรษฐกิจฐานราก และสร้างความมั่นคงทางพลังงาน อาหาร และน้ำ

4. เพื่อรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สามารถ สนับสนุน
การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
5. เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัย และมีการทำงาน
เชิงบูรณาการของภาคีการพัฒนา

6. เพื่อให้มีการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคโดยการพัฒนาภาคและเมืองเพื่อรองรับ
การพัฒนายกระดับฐานการผลิตและบริการเดิมและขยายฐานการผลิตและบริการใหม่
7. เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีความเชื่อมโยง (Connectivity) กับประเทศต่าง ๆ ทั้งใน

ระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และนานาชาติได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้ประเทศไทย
มีบทบาทนำและสร้างสรรค์ในด้านการค้า การบริการ และการลงทุนภายใต้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ
ทั้งใน ระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และโลก

เป้าหมายรวม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายรวมการพัฒนาของ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย
1. คนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ มีวินัย มีทัศนคติและพฤติกรรม ตามบรรทัด
ฐานที่ดีของสังคม มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้ มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันสถานการณ์

มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีความเจริญ งอกงามทางจิต
วิญญาณ มีวิถีชีวิตที่พอเพียง และมีความเป็นไทย
2. ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความยากจนลดลง เศรษฐกิจฐานรากมความเข้มแข็ง

ประชาชนทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร การประกอบอาชีพ และบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ

อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม
3. ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้โครงสร้างเศรษฐกิจปรับสู่เศรษฐกิจ
ฐานบริการและดิจิทัล มีผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเป็นสังคมผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการขนาดกลาง
และขนาดเล็กที่เข้มแข็ง สามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและ

บริการ มีระบบการผลิตและให้บริการจากฐานรายได้เดิมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และมีการลงทุนในการ
ผลิตและบริการ ฐานความรู้ชั้นสูงใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมทั้งกระจายฐานการ
ผลิตและการให้บริการ สู่ภูมิภาคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพ
4. ทุนทางธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม สามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับ

สิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน และน้ำ




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 24

ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย 10
ยุทธศาสตร์ โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน. ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ให้ความสำคัญกับการ
วางรากฐาน การพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ เริ่มตั้งแต่กลุ่มเด็กปฐมวัยที่ต้องพัฒนาให้มีสุขภาพกาย
และใจที่ดี มีทักษะทางสมอง ทักษะการเรียนรู้ และทักษะชีวิต เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ควบคู่กับ
การพัฒนาคนไทยในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย

มีจิตสำนึกที่ดี ต่อสังคมส่วนรวม มีทักษะความรู้ และความสามารถปรับตัวเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง
รอบตัวที่รวดเร็ว บนพื้นฐานของการมีสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็งทั้งสถาบันครอบครัว
สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบัน ชุมชน และภาคเอกชนที่ร่วมกันพัฒนาทุนมนุษย์ให้มี
คุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นทุนทางสังคมสำคัญ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ให้ความสำคัญกับ
การดำเนินการยกระดับคุณภาพบริการทางสังคมให้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาและ
สาธารณสุข รวมทั้งการปิดช่องว่างการคุ้มครองทางสังคมในประเทศไทย ซึ่งเป็นการดำเนินงาน
ต่อเนื่องจากที่ได้ขับเคลื่อน และผลักคันในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และมุ่งเน้นมากขึ้นในเรื่องการ

เพิ่มทักษะแรงงานและการใช้นโยบาย แรงงานที่สนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและเสริมสร้าง
รายได้สูงขึ้น และการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนในเรื่องการ
สร้างอาชีพ รายได้ และให้ความช่วยเหลือที่เชื่อมโยง การเพิ่มผลิตภาพสำหรับประชากรกลุ่มร้อยละ

40 รายได้ต่ำสุด ผู้ด้อยโอกาส สตรี และผู้สูงอายุ อาทิ การสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ

ขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคม การพฒนา องค์กรการเงินฐานรากและการเข้าถึง
เงินทุนเพื่อสร้างอาชีพ และการสนับสนุนการเข้าถึงปัจจัยการผลิต คุณภาพดีที่มีราคาเป็นธรรม
เป็นต้น และในขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งบประมาณเชิงพื้นที่ และบูรณาการเพอ
ื่
การลดความเหลื่อมล้ำ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
เน้นให้เศรษฐกิจเติบโตได้ตามศักยภาพและมีเสถียรภาพ ภาคส่งออกมีการพัฒนาจนสามารถขยายตัว
และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ผลิตภาพการผลิตของประเทศเพิ่มขึ้น การลงทุน

ภาครัฐ และเอกชนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมาจากความร่วมมือกันมากขึ้น ประชาชนและ
ผู้ประกอบการเข้าสู่ ระบบภาษีมากขึ้น และประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันทาง

เศรษฐกิจสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังเน้นให้เศรษฐกิจรายสาขามีการเติบโตอย่างเขมแข็ง ภาคการเกษตรเน้น
เกษตรกรรมยั่งยืนและให้เกษตรกร มีรายได้เพิ่มขึ้น มีการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ การท่องเที่ยว

สามารถทำรายได้และแข่งขันได้มากขึ้น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีบทบาทต่อระบบ
เศรษฐกิจมากขึ้น ภาคการเงินมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้น
ก้าวหน้าที่เข้มข้นมากขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาและยกระดับคุณภาพของกำลังคน

และความคดสร้างสรรค์ในการขยายฐานเศรษฐกิจ การพัฒนา พื้นที่เศรษฐกิจใหม่และการพฒนาตาม

แนวระเบียงเศรษฐกิจ การผสมผสานภาคบริการเข้ากับการค้า และการเตรียมความพร้อมของภาค
บริการให้สามารถรองรับการแข่งขันที่เสรีขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเด็น
ท้าทายที่ต้องเร่งดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้แก่ การสร้างความมั่นคงของฐาน

ทรัพยากร ธรรมชาติและยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับ




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 25

สิ่งแวดล้อมและ คุณภาพชีวิตของประชาชน เร่งแก้ไขปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อมเพอลดมลพษที่เกิดจาก
ื่

การผลิต และการบริโภค พัฒนาระบบบริหารจัดการที่โปร่งใสเป็นธรรม ส่งเสริมการผลิตและการ
บริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นวงกว้างมากขึ้น ต้องเร่งเตรียมความพร้อมในลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง
บริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความ

มั่งคั่ง และยั่งยืน ให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูพื้นฐานด้านความมั่นคงที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนา
ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติของผู้มีความเห็นต่าง
ทางความคิดและอุดมการณ์บนพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข และการเตรียมการรับมือกับภัยคุกคามข้ามชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะ

สำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 20 ปีข้างหน้า
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและ
ธรรมาภิบาลในสังคมไทย เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ต้องเร่งปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐให้เกิดผล
สัมฤทธิ์ อย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศในทุกด้าน

ให้ประสบผลสำเร็จ บรรลุเป้าหมาย ทั้งการบริหารจัดการภาครัฐให้โปร่งใส มีประสิทธิภาพ รับผิดชอบ
ตรวจสอบได้อย่างเป็นธรรม และประชาชนมีส่วนร่วม มีการกระจายอำนาจ และแบ่งภารกิจ
รับผิดชอบที่เหมาะสม ระหว่างส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น และวางพื้นฐานเพื่อให้บรรลุตามกรอบ

เป้าหมายอนาคตในปี 2579
ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ประเทศไทยต้องใช้ประโยชน์
จากศักยภาพและภูมิสังคมเฉพาะของพื้นที่ และการดำเนินยุทธศาสตร์เชิงรุก เพื่อเสริมจุดเด่นใน
ระดับภาค และจังหวัดในการเป็นฐานการผลิตและบริการที่สำคัญ ประกอบกับการขยายตัวของ
ประชากรในเขตเมือง จะเป็นโอกาสในการกระจายความเจริญและยกระดับรายได้ของประชาชนโดย


การพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองน่าอยู่ และมศักยภาพในการรองรับการค้าการลงทุน รวมทั้งลดแรงกดดัน
จากการกระจุกตัวของการพัฒนา ในกรุงเทพฯ และภาคกลางไปสู่ภูมิภาค นอกจากนี้ การเป็นส่วน
หนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยังเป็นโอกาสในการเปิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดน

เชื่อมโยงการค้าการลงทุนในภูมิภาคของไทย กับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 26

5. แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579)

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 เป็นแผนที่วางกรอบเป้าหมายและทิศทางการจัด
การศึกษา ของประเทศ โดยมุ่งจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาค
ในการศึกษา ที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาคนให้มี

สมรรถนะในการทำงาน ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ
แนวคิดการจัดการศึกษา ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลักสำคัญในการจัดการศึกษาประกอบด้วย
หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียม และ

ทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และ
หลักการมีส่วนร่วมของสังคม (All For Education) อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ประเด็น ภายในประเทศ (Local Issues) อาทิ
คุณภาพของคนช่วงวัย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของการ

กระจายรายได้ และวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำยุทธศาสตร์ชาติมาเป็นกรอบความคิด สำคัญในการ
จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

วิสัยทัศน์ คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคณภาพ ดำรงชีวิต อย่าง

เป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคณภาพและมีประสิทธิภาพ

ื่
2. เพอพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้อง กับ
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์
ชาติ
3. เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรม รู้รักสามัคคี

และ ร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อน่าประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำ
ภายในประเทศลดลง

แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579) ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ
ภารกิจของสำนักงาน กศน. ทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้


ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
เป้าหมาย
1. คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2. คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พเศษ
ได้รับการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
3. คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษา การดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบ
ใหม่




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 27

แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และ

การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ
เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
3. ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในพื้นที่พิเศษ

(พื้นที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดน และพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติ
ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบ และแรงงานต่างด้าว)
4. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการจัดระบบการดูแลและป้องกันภัยคุกคาม ใน
รูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ

ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไขเบอร์ เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้าง ขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เป้าหมาย

1. กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็น และมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของ
ตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
2. สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่จัดการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญ
และเป็นเลิศเฉพาะด้าน
3. การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและ

มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
1. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในสาขาที่ตรงตามความต้องการของ

ตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
2. ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน
ื่
3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพอสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและ
มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

เป้าหมาย
1. ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และทักษะและ
คุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
2. คนทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐาน

การศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ
3. สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้
ตามหลักสูตรได้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน
4. แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน

และประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
5. ระบบและกลไกการวัด การติดตามและประเมินผลมีประสิทธิภาพ



แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 28


6. ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้มาตรฐานระดับสากล
7. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน

แนวทางการพัฒนา

1. ส่งเสริม สนับสนุนให้คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ความสามารถ และการพัฒนา
คุณภาพชีวิตอย่างเหมาะสม เต็มตามศักยภาพในแต่ละช่วงวัย

2. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆให้มี
คุณภาพมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
3. สร้างเสริมและปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้มีวินัย จิตสาธารณะ และ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์

4. พัฒนาระบบและกลไกการติดตาม การวัดและประเมินผลผู้เรียนให้มี
ประสิทธิภาพ
5. พัฒนาคลังข้อมูล สื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

6. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
7. พัฒนาคุณภาพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา
เป้าหมาย


1. ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศกษาที่มีคณภาพ
2. การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุก
ช่วงวัย
3. ระบบข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้อง
เป็นปัจจุบัน เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการศึกษา การติดตามประเมินและรายงานผล
แนวทางการพัฒนา

1. เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย
3. พัฒนาฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึงได้

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย
1. คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และน่าแนวคิด
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
2. หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร กับ

สิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่
การปฏิบัติ
3. การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และ
น่าแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 29

2. ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และสื่อ การเรียนรู้
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. พัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรม ด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็น
มิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
เป้าหมาย

1. โครงสร้าง บทบาทและระบบการบริหารจัดการการศึกษา มีความคล่องตัว
ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้
2. ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลต่อคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษา

3. ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการ
ของประชาชนและพื้นที่
4. กฎหมายและรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษารองรับลักษณะ
ที่แตกต่างกันของผู้เรียน สถานศึกษา และความต้องการกำลังแรงงานของประเทศ

5. ระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มีความ
เป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มตามศักยภาพ
แนวทางการพัฒนา

1. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา
2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา

3. ส่งเสริมการมส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
4. ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบการเงินเพื่อการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพ และ
ประสิทธิภาพการจัดการศึกษา

5. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

6. นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)

นายกรัฐมนตรี(พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา)ได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน2557 ไว้ 11 ด้าน โดยมีนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน.

ดังนี้
นโยบายที่ 1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประกอบสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ตามประเพณีการปกครองของไทย รัฐบาลจึงถือเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งยวดในอันที่จะเชิดชูสถาบันนี้ไว้
ด้วยความจงรักภักดี และปกป้องรักษาพระบรมเดชานุภาพ โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมาย
มาตรการทางสังคม จิตวิทยา และมาตรการทางระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการ
ดำเนินการกับผู้คะนองปาก ย่ามใจ หรือประสงค์ร้าย มุ่งสั่นคลอนสถาบันหลักของชาติ โดยไม่คำนึงถึง

ความรู้สำนึกและความผูกพันภักดีของคน อีกเป็นจำนวนมาก ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่
ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชน ทั้งจะ
สนับสนุนโครงการทั้งหลายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่งเสริม ให้เจ้าหน้าที่สถานศึกษา ตลอดจน
หน่วยงานทั้งหลายของรัฐเรียนรู้เข้าใจหลักการทรงงาน สามารถนำหลัก ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการ




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 30

ปฏิบัติราชการและการพัฒนา ตลอดจนเร่งขยายผลตามโครงการและแบบอย่าง ที่ทรงวางรากฐานไว้
ให้แพร่หลายเป็นที่ประจักษ์และเกิดประโยชน์ในวงกว้างอันจะช่วยสร้างความสมบูรณ์ พูนสุขแก่

ประชาชนในที่สุด
นโยบายที่ 2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
2.2 เร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยนำยุทธศาสตร์เข้าใจ
เข้าถึง และพัฒนามาใช้ตามแนวทางกัลยาณมิตรแบบสันติวิธี ส่งเสริมการพูดคุยสันติสุขกับผู้มีความ

คิดเห็นต่าง จากรัฐ สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรมและหลักสิทธิ
มนุษยชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นพหุสังคม ขจัดการฉวยโอกาสก่อความรุนแรงแทรกข้อน เพื่อซ้ำเติมปัญหาไม่
ว่าจากผู้มีอิทธิพลในห้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ ฝ่ายบ้านเมือง ทั้งจะเพิ่มระดับปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ

และองค์การระหว่างประเทศที่อาจช่วยคลี่คลาย ปัญหาได้
นโยบายที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ
3.1 ในระยะเฉพาะหน้าจะเร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงแก่ผู้ที่เข้าสู่
ตลาดแรงงาน รวมทั้งสตรี ผู้ด้อยโอกาส และแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมาย พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพ

แรงงาน โดยให้แรงงานทั้งระบบมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะเมื่อแรงงานในทุกระดับ
อย่างมีมาตรฐาน ทั้งจะเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินการระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน เพื่อให้
ตรงกับความต้องการ ของพื้นที่และของประเทศโดยรวม นอกจากนี้จะส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบ

เข้าสู่ระบบที่ถูกกฎหมายมากขึ้น
3.4 เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการมีงานทำหรือ
กิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคตโดยจัดเตรียมระบบการดูแล
ในบ้าน สถานพักฟื้น และโรงพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และ
ครอบครัว รวมทั้งพัฒนา ระบบการเงินการคลังสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ

3.5 เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลาย เนื่องจากการเข้าสู่ประชาคม
อาเซียน โดยสร้างความเข้มแข็งและความพร้อมแก่แรงงานไทย และร่วมพัฒนาระบบความคุ้มครอง
ทางสังคมของแรงงาน อาเซียน

3.6 จัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่
เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไป โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามนโยบายของคณะรักษา
ความสงบ แห่งชาติที่ได้ประกาศไว้แล้ว
นโยบายที่ 4 การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม

4.1 จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบ
และการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตน ได้เต็ม

ตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้ โดยมีความใฝ่รู้และทักษะที่เหมาะสม เป็นคนดี
มีคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความเหลื่อม

ล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และ
ธุรกิจบริการ
4.2 ในระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษา
ให้สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้เรียนและลักษณะพนที่ของสถานศึกษา รวมทั้งปรับปรุง และบูรณา
ื้
การระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสแก่ผู้ยากจนหรือด้อยโอกาส




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 31

จัดระบบ การสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีสิทธิเลือกรับบริการการศึกษา ทั้งในระบบ
และนอกระบบโรงเรียน โดยจะพิจารณาจัดให้มีคูปองการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่ง

4.3 ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องลื่น และประชาชน
ทั่วไป มีโอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้
กระจายอำนาจ การบริหารจัดการศึกษาสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วน
ท้องลื่นตามศักยภาพและ ความพร้อม โดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิติบุคคล และบริหารจัดการได้

อย่างอิสระและคล่องตัวขึ้น
4.4 พัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถมีความรู้และ
ทักษะ ใหม่ที่สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายตามแนวโน้มการจ้างงานในอนาคต ปรับ
กระบวนการเรียนรู้และ หลักสูตรให้เชื่อมโยงกับภูมิสังคม โดยบูรณาการความรู้และคุณธรรมเข้า

ด้วยกัน เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ การใฝ่เรียนรู้ การแก้ปัญหา การรับ
ฟังความเห็นผู้อื่น การมีคุณธรรม จริยธรรม และ ความเป็นพลเมืองดีโดยเน้นความร่วมมือระหว่าง
ผู้เกี่ยวข้องทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน
4.6 พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพ และมีจิตวิญญาณของความเป็นครู

เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการ
เรียน การสอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนทางไกล การ
เรียนโดยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทั้งปรับระบบการประเมินสมรรถนะที่สะท้อน

ประสิทธิภาพการจัดการเรียน การสอนและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ
นโยบายที่ 6 การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
6.18 ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ให้เริ่มขับเคลื่อนได้
อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้
ซึ่งหมายรวมถึงการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรง ทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ ผลิตภัณฑ์

ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ลื่อสารดิจิทัล อุปกรณ์โทรคมนาคมดิจิทัล และการใช้ดิจิทัล รองรับการให้บริการ
ของภาคธุรกิจการเงิน และธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคลื่อสารและบันเทิง ตลอดจนการ
ใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้า อุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปรับปรุงบทบาทและ

ภารกิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ให้ดูแลและผลักคันงานสำคัญของประเทศชาติในเรื่องนี้
และจะจัดให้มีคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อขับเคลื่อน อย่างจริงจัง
นโยบายที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มธรรมาภิบาล และการป้องกัน

ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ

10.1 ปรับปรุงระบบราชการในด้านองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในระดับประเทศ
ภูมิภาค และท้องลื่น ทบทวนการจัดโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ซ้ำซ้อนหรือลดหลั่น
กัน หรือมีเส้นทาง การปฏิบัติงานที่ยืดยาวปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้ทันสมัยโดยนำเทคโนโลยีมาใช้
แก้ไขกฎระเบียบให้โปร่งใส ชัดเจน สามารถบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจน

จัดระบบอัตรากำลังและปรับปรุงค่าตอบแทน บุคลากรภาครัฐให้เหมาะสมและเป็นธรรม ยึดหลักการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารจัดการภาครัฐ แบบใหม่ การตอบสนองความต้องการของ
ประชาชนในฐานะที่เป็นศูนย์กลาง และการอำนวยความสะดวกแก่ ผู้ใช้บริการเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
วางใจในระบบราชการ ลดต้นทุนดำเนินการของภาคธุรกิจ เพิ่มศักยภาพในการ แข่งขันกับนานา




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 32

ประเทศ และการรักษาบุคลากรภาครัฐที่มีประสิทธิภาพไว้ในระบบราชการโดยจะดำเนินการ ตั้งแต่
ื้
ระยะเฉพาะหน้าไปตามสำคับความจำเป็นและตามที่กฎหมายเออให้สามารถดำเนินการได้
10.5 ใช้มาตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกใน
การรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการและความชื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับการบริหารจัดการภาครัฐ
ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุก
ระดับ อย่างเคร่งครัด ยกเลิกหรือแก่ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น สร้างภาระแก่

ประชาชนเกินควร หรือเปิดช่องโอกาสการทุจริต เช่น ระเบียบการจัดซื้อ จัดจ้าง การอนุญาต อนุมัติ
และการขอรับบริการจากรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนยึดยาวใช้เวลานาน ซ้ำซ้อน และเสียค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐ
และประชาชน


7. นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2558 - 2564)

นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ กำหนดขึ้นเพอเป็นกรอบในการดำเนินการด้านความมั่นคงของ
ื่
ภาครัฐ ในระยะ 7 ปี แบ่งเป็น2ส่วนคือส่วนที่ 1 นโยบายเสริมสร้างความมั่นคงที่เป็นแก่นหลักของ
ชาติ และส่วนที่ 2 นโยบายความมั่นคงแห่งชาติทั่วไป โดยกำหนดกรอบความคิดหลักจากการกำหนด
นโยบาย ซึ่งได้คำนึงถึง ค่านิยมหลักของชาติ 12 ประการ ดังนี้

วิสัยทัศน์ “ชาติมีเสถียรภาพและเป็นปีกแผ่น ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต ประเทศมีการ
พัฒนา อย่างต่อเนื่อง ปลอดภัยจากภัยคุกคามข้ามพรมแดน พร้อมเผชิญวิกฤติการณ์ มีบทบาทเชิงรุก
ในประชาคม อาเซียนและดำเนินความสัมพันธ์กับนานาประเทศอย่างมีดุลยภาพ”
นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน. มีดังนี้

นโยบายที่ 1 เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1.1 เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา

พระมหากษัตริย์
นโยบายที่ 2 สร้างความเป็นธรรม ความปรองดอง และความสมานฉันทัในชาติ
1.2 ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชาติ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
สุข มีความรัก ความภาคภูมิใจ ในความเป็นชาติและเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง
นโยบายที่ 3 ป้องกันและแกไขปัญหาการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

1.3 เสริมสร้างสันติสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ของ
ทุกภาคส่วนเป็นพลังในการเข้าถึงประชาชน



แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 33


8. นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ

เพิ่มเติม (นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายณัฏฐพล ทีป
สุวรรณ)

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามในประกาศ
กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

และ เพิ่มเติม (พ.ศ. 2564) เพื่อให้การดำเนินการจัดการศึกษาและการบริหารจัดการการศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 มีความสอดคล้องกบยุทธศาสตร์ชาติ เป้าหมายของ

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ วัตถุประสงค์ของแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และ
นโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน เรื่องการเตรียมคนสู่ศตวรรษที่ 21 อาศัยอำนาจตาม

ความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศนโยบายและจุดเน้นของ
กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้


หลักการ
กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดำเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20

ปี (พ.ศ. 2561-2580) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทุกแผนย่อยในประเด็น 12 การพัฒนาการ
เรียนรู้ และแผนย่อยที่ 3 ในประเด็น 11 ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศ
ด้านการศึกษา และนโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการ
พัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย และนโยบายหลักด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการ
พัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย และนโยบายเร่งด่วน เรื่องการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561-2564) นโยบายและระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง
แห่งชาติ (พ.ศ. 2561-2565) รวมทั้งนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหวังว่าผู้เรียนทุกช่วง

วัยจะได้รับการพัฒนาในทุกมิติ เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการ
พัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ดังนั้น ในการเร่งรัดการทำงานภาพรวมกระทรวงให้เกิด
ผลสัมฤทธิ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม และผลักดันให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและ
ประสิทธิภาพในทุกมิติ กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดนโยบายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้

1. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการ โดยมุ่งปฏิรูปองค์การเพื่อหลอมรวม
ภารกิจและบุคลากร เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย
ฯลฯ ที่สามารถลดการใช้ทรัพยากรทับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพ รวมทั้งการนำ
เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยทั้งการบริหารงานและการจัดการศึกษารองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทับ

2. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารทรัพยากร โดยมุ่งปฏิรูปกระบวนการวางแผน/
โครงการแบบร่วมมือและบูรณาการ ที่สามารถตอบโจทย์ของสังคมและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
รวมทั้งกระบวนการจัดทำงบประมาณที่มีประสิทธิภาพและใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ภาคส่วน

ต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และนานาชาติ เชื่อมั่นและร่วมสนับสนุนการพฒนาคุณภาพการศึกษามาก
ยิ่งขึ้น
3. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการและพัฒนากำลังคนของ
กระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งบริหารจัดการอัตรากำลังให้สอดคล้องกับการปฏิรูปองค์การ รวมทั้ง



แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 34


พัฒนาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของบุคลากรภาครัฐ ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
รองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัล

4. ปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ครอบคลุมถึง
การจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงใน
ศตวรรษที่ 21
(เนื่องจาก ในห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) ซึ่งทำให้สังคมไทยต้องปรับเปลี่ยนชีวิตให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal จึงได้มี
ความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการให้มีความปลอดภัยทั้งต่อผู้เรียน ข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังนั้น นโยบาย “การศึกษายกกำลังสอง

(Thailand Education Eco-System : TE’S) เป็นการศึกษาที่เข้าใจ Supply และตอบโจทย์
Demand” ดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศนโยบายและจุดเน้นของ
กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพิ่มเติม)
5. ดำเนินการปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง ที่เป็นเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตาม

นโยบาย “การศึกษายกกำลังสอง (Thailand Education Eco-System : TE’S) การศึกษาที่เข้าใจ
Supply และตอบโจทย์ Demand” โดย
- ปลดล็อก กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกัน

ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมให้สามารถดำเนินการทีเกี่ยวข้องกับการศึกษาได้
อย่างรวดเร็ว รวมถึงการบริหารการศึกษาของประเทศให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
- ปรับเปลี่ยน หลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถและ
ศักยภาพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ปรับเปลี่ยนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่าน
ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC)

เพื่อให้ครู Up Skill และ Re-Skill ของตนเองได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ เพื่อส่งต่อความรู้ไปยังผู้เรียนให้เป็น
คนดี คนเก่ง และคนที่มีคุณภาพ
- เปิดกว้าง เสรีทางการศึกษาให้ภาคเอกชนที่มีคุณภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา

การศึกษาร่วมประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
(Human Capital Excellence Center : HCEC) จากแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Education
Excellence Platform : DEEP) ให้คลอบคลุมผู้เรียนทั่วประเทศ


จุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
1. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
1.1 การจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิ
- จัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดยใช้หลักสูตรสมรรถนะ รวมทั้งแนวทางการ

จัดการเรียนรู้เชิงรุกและการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา
แห่งชาติ
- ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตระดับท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาตามความ
ต้องการจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายและแตกต่างหลากหลายตามบริบทของพื้นที่



แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 35


- พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้
อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากประสบการณ์จริงหรือจาก

สถานการ์จำลองผ่านการลงมือปฏิบัติ ตลอดจนจัดการเรียนการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นเพอเปิด
ื่
โลกทัศน์มุมมองร่วมกันของผู้เรียนและครูให้มากขึ้น
- พัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้และทักษะชีวิต เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิต
และสร้างอาชีพ อาทิ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สุขภาวะและทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ

1.2 การเรียนรู้ตลอดชีวิต
- จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย เน้นส่งเสริมและยกระดับ
ทักษะภาษาอังกฤษ (English for All)
- ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อาทิ อาชีพที่

เหมาะสมรองรับสังคมสูงวัย หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต และหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร
BUDDY โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โรงเรียน และผู้เรียน หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์
เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์สินค้าออนไลน์ระดับตำบล
- ส่งเสริมโอกาสเข้าถึงการศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำ ในเขตพัฒนา

พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพื้นที่พิเศษ (พื้นที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดน
และพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบ และ
แรงงานต่างด้าว๗

- พัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู้และความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
ปัญญาประดิษฐ์และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
อย่างเป็นระบบและมีเหตุผลเป็นขั้นตอน
- พัฒนาครูอาชีวศึกษาที่มีความรู้และความสามารถในทางปฏิบัติ (Hands-on
Experience) เพื่อให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญทางวิชาการ โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ

ของประเทศจัดหลักสูตรการพัฒนาแบบเข้มข้นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี
- พัฒนาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการให้มี
ความพร้อมในการปฏิบัติงานรองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีศูนย์

พัฒนาสมรรถนะบุคลากรระดับจังหวัดทั่วประเทศ
2. การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคง
- พัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำยุทธศาสตร์
พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักในการดำเนินการ

- เผ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษา โดยเฉพาะภัยจากยา
เสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์
- ส่งเสริมให้ใช้ภาษาท้องถิ่นร่วมกับภาษาไทยเป็นสื่อจัดการเรียนการสอนในพื้นที่ที่ใช้
ภาษาอย่างหลากหลาย เพื่อวางรากฐานให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งมีทักษะ

การสื่อสารและใช้ภาษาที่สามในการต่อยอดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพยง


วินัย สุจริต จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ และยุวกาชาด



แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 36


3. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
- สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาผลิตกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ ตามความเป็นเลิศ

ของแต่ละสถานศึกษาและตามบริบทของพื้นที่ รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งใน
ปัจจุบันและอนาคต
- สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ และจัดการเรียน
การสอนด้วยเครื่องมือปฏิบัติที่ทันสมัยและสอดคล้องกับเทคโนโลยี โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการ

วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ
4. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
- พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้
- ศึกษาและปรับปรุงอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้

สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ื่
- ระดมสรรพกำลังเพื่อส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนรำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพอ
ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้สอดคล้องพระราชบัญญัติพนที่นวัตกรรมการศกษา พ.ศ. 2562
ื้

5. การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะแลพฤติกรรมที่
พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็น

อาชีพ และสร้างรายได้
6. การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
- ปฏิรูปองค์การเพื่อลดความทับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพของ
หน่วยงานที่มีภารกิจใกล้เคียงกัน เช่น ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี ด้าน
กฎหมาย เป็นต้น

- ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงานโดย
คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนและประชาชน ตลอดจนกระทรวงศึกษาธิการโดยรวม
- สนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

- พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษา (Big Data)
- พัฒนาระบบการบริการจัดการและพัฒนากำลังคนของกระทรวงศึกษาธิการ ให้
สอดคล้องกับการปฏิรูปองค์การ
- สนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สามารถบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

ได้อย่างอิสระแลบะมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ
- จัดตั้งหน่วยงานวางแผนทางการเงิน (Financial Plan) ระดับจังหวัด เพื่อพัฒนา
คุณภาพชีวิตบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ
- ส่งเสริมโครงากร 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ โดยเน้นปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน

และภายนอกบริเวณโรงเรียนให้เอื้อต่อการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ

(ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่นักเรียนยกกำลังสอง ที่เน้นเรียนเพื่อรู้ พัฒนาทักษะเพื่อทำ ครูยกกำลัง
สองที่เน้นเพิ่มคนเก่งมาเป็นครู พัฒนาครูในระบบ ห้องเรียนยกกำลังสองที่เน้นเรียนที่บ้าน ถามที่

โรงเรียนหลักสูตรยกกำลังสองที่เน้นลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สื่อการเรียนรู้ยกกำลังสองที่เน้นเรียน




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 37

ผ่านสื่อผสมผสานผ่านช่องทางที่หลากหลาย ได้แก่ On-Site เรียนที่โรงเรียน Online เรียนออนไลน์
ผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform :

DEEP) ที่มีเนื้อหามาตรฐานจากผู้ผลิตที่เป็นภาคเอกชน On-Air เรียนผ่านโทรทัศน์ DLTV มูลนิธิ
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยมีเนื้อหามาตรฐานจากผู้ผลิตที่เป็นภาคเอกชน และ On-
Demand ซึ่งสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาที่มีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์เชื่อมต่อ โรงเรียนยกกำลังสอง
ที่มุ่งเน้นคุณภาพในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อความเป็น

ื่
เลิศทางภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนที่เน้นคุณภาพของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพอความเป็นเลิศ
ิ่
และความเชียวชาญที่สามารถตอบโจทย์ทักษะและความรู้ที่เพมความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน

จุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม)
- พัฒนาครูทุกระดับให้มีทักษะ ความรู้ที่จำเป็น เพื่อทำหน้าที่วิทยากรมืออาชีพ (Train
The Trainer) และขยายผลการพัฒนาผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human

Capital Excellence Center : HCEC)
- จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเว็บไซต์ www.deep.go.th โดยปลดล็อกและเปิดกว้างให้
ภาคเอกชนสามารถเข้ามาพัฒนาเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียน ครู และผู้บริหารทางการศึกษามีทางเลือก ใน
การเรียนรู้ที่หลากหลาย และตลอดเวลาผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital

Education Excellence Platform : DEEP)
- ให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทางการศึกษามีแผนพัฒนารายบุคคลผ่านแผนพัฒนารายบุคคลสู่
ความเป็นเลิศ (Excellence individual Development Plan : EIDP)

- จัดทำ “คู่มือมาตรฐานโรงเรียน” เพื่อกำหนดให้ทุกโรงเรียนต้องมีพื้นฐานที่จำเป็น

การขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติ

1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายและจุดเน้นเป็นกรอบ
แนวทางมาใช้ในการวางแผนและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดย
คำนึงถึงมาตรการ 4 ข้อ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้แนวทางในการบริหาร
งบประมาณไว้ ดังนี้ (1) งดดูงานต่างประเทศ 1 ปี ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อ
กระทรวงศึกษาธิการ (2) ลดการจัดอบรมสัมมนาที่มีขนาดใหญ่และใช้งบประมาณมาก (3) ยกเลิกจัด

งาน Event และ (4) ทบทวนงบประมาณที่มีความซ้ำซ้อน
2. ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่
การปฏิบัติระดับพื้นที่ โดยให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน สำนักงานศึกษาธิการ

ภาค และสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป. เป็นฝ่ายเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
ตามลำดับ โดยมีบทบาทภารกิจในการตรวราชาการ ติดตาม ประเมินผลในระดับนโยบาย และจัดทำ
รายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และ
ประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทราบตามลำดับ

3. กรณีมีปัญหาในเชิงพื้นที่หรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและ
ดำเนินการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นทีก่อน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการแก้ไขข้อขัดข้อง พร้อมทั้ง
รายงานต่อคณะกรรมการติดตามฯ ข้างต้น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการตามลำดับ



แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 38


อนึ่ง สำหรับภารกิจของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่ปฏิบัติในลักษณะงานในเชิงหน้าที่
(Function) งานในเชิงยุทธศาสตร์ (Agenda) และงานในเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อนเมื่อ

รัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นอกเหนือจาก
ที่กำหนดหากมีความสอดคล้องกับหลักการนโยบายและจุดเน้นข้างต้น ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วน
ราชการหลักและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัด กำกับ ติตตาม ตรวจสอบให้การดำเนินการเกิดผล
สำเร็จและมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมด้วยเช่นกัน


9. นโยบายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางกนกวรรณ วิลาวัลย์)

ดร.กนกวรรณ วิลาวัย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายให้สำนักงาน
กศน. ในการเดินหน้าขับเคลื่อน กศน. สู่ กศน. WOW (6G) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ที่
ดีแก่คนทุกช่วงวัยในทุกพื้นที่ ในการพลิกโฉมการเรียนรู้ให้มีความทันสมัยสู่ยุคดิจิทัลในทุกมิติ ซึ่งถือว่า

เป็นนโยบายสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. การพัฒนาครู กศน. และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการศึกษาและเรียนรู้

: Good Teacher
เป็นผู้เชื่อมโยงความรู้กับผู้เรียนผู้รับบริการ มีความเป็น “ครูมืออาชีพ” มีจิตบริการ มี
ความรอบรูและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นผู้จัดกิจกรรมร การเรียนรู้และบริหารจัดการ
ความรู้ ที่ดี
1.1 เพิ่มอัตราข้าราชการครู กศน. 928 อัตรา

(1) ให้เร่งดำเนินการเรื่องการหาอัตราตำแหน่ง การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง
ข้าราชการครู กศน. 928 อัตรา เพื่อจัดสรรให้เป็นกับ กศน.อำเภอทุกแห่ง ๆ ละ 1 อัตรา
1.2 พัฒนาครู และบุคลากร

(1) พัฒนาครู กศน.ตำบลเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้น
เรื่องการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะการจัด
กระบวนการเรียนรู้
(2) พัฒนาการศึกษานิเทศก์ให้สามารถปฏิบัติการนิเทศได้อย่างมีศกยภาพ

(3) พัฒนาบุคลากร กศน.ทุกระดับทุกประเภทให้มีทักษะความรู้เรื่องการใช้
ประโยชน์จากดิจิทัลและภาษาต่างประเทศที่จำเป็น
2. การพัฒนาหน่วยงาน/สถานศึกษา ให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการ
เรียนรู้ : Good Place – Best Check in

ให้มีความพร้อมในการบริการกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ เป็นแหล่งข้อมูล
สาธารณะที่ง่ายต่อการเข้าถึง มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นเสมือนคาเฟ่การเรียนรู้สำหรับทุก
คนทุกช่วงวัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีความสวยงามที่ดึงดูดความสนใจ และมีความปลอดภัย
สำหรับผู้ใช้บริการ

2.1 เร่งยกระดับ กศน.ตำบล 928 แห่ง (อำเภอละ 1 แห่ง) เป็น กศน.ตำบล 5 ดี พรี
เมี่ยม ที่ประกอบด้วย ครูดี สถานที่ดี (ตามบริบทของพื้นที่) กิจกรรมดี เครือข่ายดี และมีนวัตกรรมดีมี
ประโยชน์

2.2 จัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ กศน.ใน 5 ภูมิภาค เป็น Co-Learning Space ศูนย์
การเรียนรู้ที่ทันสมัยสำหรับทุกคน โดยเปิดพื้นที่เพอยกระดับการเรียนรู้ พร้อมเปิดบริการต่าง ๆ อาทิ
ื่




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 39

พื้นที่สำหรับการทำงาน/การเรียนรู้ พื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ห้องประชุมกลุ่มย่อย รวมทั้งให้
บริหารห้องสมุดทั้งในรูปแบบดิจิทัล และสืบค้นหนังสือในห้องสมุดด้วยตนเอง บริการอินเทอร์เน็ต

มัลติมีเดีย เพื่อรองรับการเรียนรู้แบบ Active Learning
2.3 พัฒนาห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จำนวน 103 แห่ง ให้เป็น Digital
Library โดยให้มีบริการ Free Wi-fi บริการหนังสือในรูปแบบ e-Book บริการคอมพิวเตอร์และ
อินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูล

2.4 ปรับปรุงรถการอ่านเคลื่อนที่ เพื่อการเข้าถึงการอ่านในทุกพื้นที่ ทุกชุมชน
3. การส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ : Good
Activities
พัฒนากระบวนการเรีเยนรู้ให้มีความทันสมัย เอต่อการเรียนรู้สำหรับทุกคน ที่สามารถ

เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา มีกิจกรรมทีหลากหลาย น่าสนใจ สนองตอบความต้องการของชุมชน เพอ
ื่
พัฒนาศักยภาพาการเรียนรู้ของประชาชน รวมทั้งใช้ประโยชน์จากประชาชนในชุมชนในการร่วมจัด
กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชนไปสู่การจัดการความรู้ของชุมชนอย่าง
ยั่งยืน

3.1 พัฒนาการจัดการศึกษาออนไลน์ กศน. โดยให้มีการเรียนออนไลน์สายสามัญ การ
เรียนออนไลน์เรื่องทักษะอาชีพ และการพัฒนาเว็บเพจการค้าออนไลน์
3.2 ให้มีหลักสูตรลูกเสือมัคคุเทศก์ โดยให้ กศน.จังหวัดทุกจังหวัด/กทม. จัดตั้งกอง

ื่
ลูกเสือที่มีความพร้อมด้านทักษะภาษาต่างประเทศเป็นลูกเสือมัคคุเทศก์จังหวัดละ 1 กอง เพอส่งเสริม
ลูกเสือจิตอาสาพัฒนาการท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัด
3.3 เร่งปรับหลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพ ให้เป็นอาชีพที่รองรับอุตสาหกรรมอนาคต
(New S-curve) โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษให้ดำเนินการโดยเร่งด่วน สำหรับ
พื้นที่ปกติให้พัฒนาอาชีพที่เน้นการต่อยอดศักยภาพและบริบทตามบริบทของพื้นที่

4. เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย : Good Partnerships
ประสาน ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างความ

เข้าใจ และให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับ
ประชาชนอย่างมีคุณภาพ
4.1 เร่งจัดทำทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละตำบล เพื่อใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญา
ท้องถิ่นในการสร้างการเรียนรรู้จากองค์ความรู้ในตัวบุคคลให้เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญา สร้างคุณค่า

ทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
4.2 ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ชุมชน
4.3 ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อการขยายและพัฒนาการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอย่างกว้างขวางและมีคุณภาพ อาทิ กลุ่ม

ผู้สูงอายุ กลุ่ม อสม.
5. พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาและกลุ่มเป้าหมาย
: Good Innovation
ให้พัฒนานวัตกรรมหรือสร้างสรรค์การดำเนินงานใหม่ ๆ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์

พัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 40

5.1 เร่งจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ Brand กศน. เพื่อยกระดับคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการผลิต การส่งออก การตลาด และสร้างช่องทางการจำหน่าย ตลอดจน

ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ ์
5.2 พัฒนาสินค้า และผลิตภัณฑ์ กศน. พร้อมทั้งให้มีการคัดเลือกสินค้าแลผลิตภัณฑ์ที่
เป็นสุดยอด กศน. ของแต่ละจังหวัด เพื่อส่งไปจัดจำหน่ายยังสถานีจำหน่ายน้ำมัน ซึ่งจะเป็นการสร้าง
ช่องทางจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

5.3 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้
5.4 ให้มีการใช้วิจัยอย่างง่ายเพื่อการสร้างนวัตกรรมใหม่
6. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สาหรับทุกช่วงวัย : Good Learning Centre
ที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สามารถให้บริการประชาชนในชุมชนได้ทุกคน ทุกช่วง

วัย ที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย สนองตอบความต้องการในการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย และเป็น
ศูนย์บริการความรู้ ศูนย์การจัดกิจกรรมที่ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย เพื่อให้มีพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสม
และมีความสุขกับการเรียนรู้ตามความสนใจ
6.1 ให้เร่งประสนกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อจัดทำทำเนียบ

ข้อมูลโรงเรียนที่ถูกยุบรวม หรือคาดว่าน่าจะถูกยุบรวม
6.2 ให้สำนักงาน กศน.จังหวัดที่มีโรงเรียนที่ถูกยุบรวมประสานขอใช้พื้นที่ เพื่อจัดตั้งศูนย์
การเรียนรู้สำหรับทุกช่วงวัย กศน.


10. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดสาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการประจำปีบประมาณ พ.ศ.
2564 ของกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี) ดังนี้

วิสัยทัศน์

ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพพร้อมขบเคลื่อนการ
พัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน


พันธกิจ

1. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทกระดับ ทุกประเภทตามมาตรฐานการศึกษา
ของชาติ และเทียบเทาระดับสากล
2. สรางความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
3. ผลิต พัฒนา และสรางเสริมศักยภาพกําลังคนใหมีความพรอมรองรับการพัฒนาประเทศ

4. วิจัยและพัฒนาเพื่อสรางองคความรู นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาใหมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล

เป้าประสงค์รวม

1. ผู้เรียนได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของ
ชาติและส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
2. ประชาชนทุกช่วงวัยและกลุ่มเป้าหมายมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

อย่างทั่วถึงเสมอภาค
3. กำลังคนได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 41

4. ผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี องค์ความรู้ และสิ่งประดิษฐ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์
หรือต่อยอดเชิงพาณิชย์

5. ระบบบริหารจัดการการศึกษามีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลโดยการมีส่วนร่วมจาก
ทุกภาคส่วน

ตัวชี้วัดรวม ค่าเป้าหมาย และแหล่งข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ



ที่ ตัวชี้วัดรวม ค่าเป้าหมาย แหล่งข้อมูล

1 ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านการประเมิน ร้อยละ 80 สป. (สช.)
คุณลักษณะ สพฐ.
อันพึงประสงค์ตามหลักสูตรระดับดีขึ้นไป

4 สัดส่วนผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 50 : 50 สป. (ศทก.)
ประเภทอาชีวศึกษาต่อสามัญศึกษา
(ปวช.1 : ม.4)

5 ร้อยละของผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี ร้อยละ 80 สป. สกศ. สพฐ.
องค์ความรู้ และสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ สอศ.
ประโยชน์ หรือต่อยอดเชิงพาณิชย์
7 จำนวนระบบฐานข้อมูลกลางของกระทรวงที่ 5 ฐาน สป. (ศทก.)

เชื่อมโยงฐานข้อมูลรายบุคคลที่อ้างอิงจากเลข
ประจำตัวประชาชน 13 หลัก ระหว่าง
กระทรวงศึกษาธิการ

และหน่วยงานอื่น ด้านสาธารณสุข สังคม
ภูมิสารสนเทศ แรงงาน และการศึกษา

แผนปฏิบัติราชการ

แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและ
ประเทศชาติ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับความมั่นคง และรู้เท่าทันการ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่
- ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแหล่งข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน.



ที่ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย แหล่งข้อมูล
1 ร้อยละของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริม ร้อยละ 85 สป. (สช. กศน.
สนับสนุนในการสร้างภูมิคุ้มกันพร้อมรับมือกับการ สบศ.)

เปลี่ยนแปลงและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในทุก สพฐ. สอศ.
รูปแบบ
2 ร้อยละของผู้เรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ร้อยละ 80 สป. (กศน.

ศปบ.จชต.)
สอศ.




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 42

ที่ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย แหล่งข้อมูล

จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับการพัฒนาทักษะ
อาชีพเพื่อการมีงานทำหรือนำไปประกอบอาชีพใน
ท้องถิ่น


แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรม
เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กำลังคนมีทักษะ สมรรถนะ สอดคล้องกับความ
ต้องการของตลาดงาน และการพัฒนาประเทศ และผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี องค์ความรู้ และ
สิ่งประดิษฐ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดเชิงพาณิชย์

- ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแหล่งข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน.

ที่ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย แหล่งข้อมูล


1 ร้อยละของกำลังคนที่ได้รับการพัฒนาตาม ร้อยละ 90 สป. (สช. กศน.)

หลักสูตรที่ตอบสนองอตสาหกรรมเป้าหมาย สอศ. สสวท.
ประเทศ


แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้าง
สังคมแห่งการเรียนรู้ ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน
การศึกษาของชาติ และมาตรฐานสากล มีคุณลักษณะอนพึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ

และมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีสมรรถนะสูงสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้
สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแหล่งข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน.


ที่ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย แหล่งข้อมูล
6 ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับและ ร้อยละ 90 สป. (กศน.

ประเภทการศึกษาได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตาม สช. สคบศ.
มาตรฐานวิชาชีพ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมี สำนักงาน
ประสิทธิภาพ ก.ค.ศ.)
สพฐ. สอศ.

คส. สกสค.
สสวท.




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 43


แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียม

ทางการศึกษา ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
เสมอภาคและเหมาะสมกับช่วงวัย
- ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแหล่งข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน.


ที่ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย แหล่งข้อมูล
2 จำนวนนักเรียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส 3,630,059 คน
ได้รับโอกาส (3,196,638) สพฐ.
ในการเข้าถึงบริการการศึกษาและการพัฒนา (412,239) สป. (สช.)

สมรรถภาพ (10,058) สป. (กศน.)
หรือบริการทางการศึกษาที่เหมาะสมตามความ (11,124) สอศ.
ต้องการจำเป็น

3 จำนวนประชาชนที่เข้าถึงหลักสูตร/สื่อ/แหล่ง 21,456,400 คน
เรียนรู้ (10,000,000) สป. (กศน.)

ที่จัดการศกษาในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต (1,456,400) สอศ.
(Lifelong Learning) (10,000,000) สสวท.


แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ 5 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัด
การศึกษา ระบบบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล ทันสมัย สนับสนุนการจัด

การศึกษาที่หลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและการพัฒนาประเทศ
- ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแหล่งข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน.

ที่ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย แหล่งข้อมูล

1 จำนวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 6 ฉบับ สป. (สน. สช. ก.ค.ศ.)
ได้รับการจัดทำ ปรับปรุง แก้ไข สพฐ. สอศ. คส.
2 จำนวนระบบฐานข้อมูลกลางของกระทรวง 5 ฐาน สป. (ศทก.)
ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลรายบุคคลที่อ้างอิง

จากเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่น
ด้านสาธารณสุข สังคม ภูมิสารสนเทศ แรงงาน

และการศึกษา



แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 44


11. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงานปลัดกระทรวง

ศึกษาธิการ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.

2564 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี) ขึ้น
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานของผู้บริหารหน่วยงานและหน่วยงานในสังกัดใช้เป็นกรอบแนว
ทางการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงานปลัดกระทรวง

ศึกษาธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการรายงานผลในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ
(eMENSCR) มีความถูกต้อง ชัดเจน เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี และเป็นกลไกการขับเคลื่อนงาน
ตามนโยบายรัฐบาลงานตามภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งในระดับส่วนกลางและ
ภูมิภาค โดยมีสาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงาน

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี) ดังนี้


วิสัยทัศน์
การบริหารและจัดการศึกษาแบบบูรณาการมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้

ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
พันธกิจ
1. ส่งเสริม สนับสนุน การบริหารและจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ทุกระดับ ทุกพื้นที่

อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยให้สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
3. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างโอกาส และความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาอย่าง
ทั่วถึง ตามศักยภาพของผู้เรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

4. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลและพัฒนาศักยภาพ
ของข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะที่
จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

ค่านิยม TEAMWINS
T = Teamwork การทำงานเป็นทีม
E = Equality of Work ความเสมอภาคในการทำงาน
A = Accountability ความรับผิดชอบ

M = Morality and Integrity การมีศีลธรรมและมีความซื่อสัตย์
W = Willful ความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างเต็มศักยภาพ
I = Improvement การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
N = Network and Communication การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

S = Service Mind การมีจิตมุ่งบริการ




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 45

เป้าประสงค์รวม
1. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณา

การตามหลักธรรมาภิบาล
2. ผู้เรียนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ และมีทักษะที่จำเป็น
ในศตวรรษที่ 21
3. ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค

4. ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษามีศักยภาพ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะ
ที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21


ตัวชี้วัดเป้าประสงค์รวมและค่าเป้าหมาย (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กศน.)

ตัวชี้วัดเป้าประสงค์รวม ค่าเป้าหมาย ปี 2564


3. ร้อยละคะแนนเฉลี่ยรวมทุกระดับการศกษาของผลการทดสอบทาง ร้อยละ 39 ขึ้นไป
การศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) แต่ละ
ภาคเรียน เพิ่มขึ้น

4. จำนวนประชาชนเข้าถึงหลักสูตร/สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่จัดการศึกษา 10,000,000 คน
ในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) (กศน.)
5. ร้อยละของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการ ร้อยละ

พัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ สามารถนำผลการพัฒนาไปใช้ในการ 80
ปฏิบัติงาน (สคบศ./กศน./สช.)
6. ร้อยละของข้าราชการพลเรือนสามัญ บุคลากรทางการศกษาอื่น ร้อยละ

พนักงานราชการ และลูกจ้าง ที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะ 80

สามารถนำผลการพัฒนาไปใช้ในการปฏิบัติงาน (สอ../ศทก./กศน./
สช./ก.ค.ศ.)


ประเด็นยุทธศาสตร์
1. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
2. พัฒนากำลังคน การวิจัย เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3. พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ

4. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์
1. ผู้เรียนมีคุณภาพ ทักษะ และสมรรถนะการเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

สอดคล้องเหมาะสมกับการเสริมสร้างความมั่นคงในแต่ละบริบท

2. ผู้เรียน ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศกษา มีสมรรถนะที่ตอบสนองความ
ต้องการของตลาดแรงงานและการแข่งขันของประเทศ
3. ผู้เรียนมีคุณภาพ ทักษะและสมรรถนะการเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21




แผนปฎิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่ : เอกสารทางวิชาการ ลําดับที 5/2564 หนา 46

4. ครู และบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะที่จำเป็น
ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

5. หน่วยงานและสถานศึกษามีกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์และรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6. ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง และเสมอภาคด้วย
รูปแบบที่หลากหลาย

7. หน่วยงานมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการ
ของผู้รับบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล

กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
กลยุทธ์
1.1 ปลูกฝังค่านิยมและหลักคิดที่ถูกต้องเพอเสริมสร้างเสถียรภาพสถาบัน
ื่
หลักของชาติ ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1.2 ยกระดับและสร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคณภาพ และพัฒนา

สมรรถนะการเรียนรู้/วิขาชีพ ด้วยศาสตร์พระราชาและตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในเขต
พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพื้นที่พิเศษ (พื้นที่สูง พื้นที่ตามตะเข็บชายแดน
และพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบและ

แรงงานต่างด้าว)
1.3 พัฒนากลไกบูรณาการระบบบริหารจัดการการป้องกันและแก้ไข
ปัญหายาเสพติดหรือภัยคุกคามรูปแบบใหม่

1.4 พัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษากับต่างประเทศ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากำลังคน การวิจัย เพื่อสร้างความสามารถในการ
แข่งขันของประเทศ
กลยุทธ์

2.1 พัฒนาทักษะแรงงานฝีมือตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานใน
พื้นที่และภูมิภาค (อาทิ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว พื้นที่เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ)
2.2 ส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะ
ภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการอาชีพรูปแบบใหม่ผ่านระบบดิจิทัล

2.3 ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมการบริหารและจัดการศึกษา และพัฒนา
บุคลากรวิจัยทางการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ
กลยุทธ์


3.1 พัฒนาการจัดการศึกษาโดยบูรณาการองค์ความรู้แบบสะเต็มศกษา
3.2 ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
ผ่านประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัติ
3.3 สร้างเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สมวัย ทักษะอาชีพและทักษะ

ชีวิตที่เท่าทันและสามารถอยู่ร่วมในสังคมศตวรรษที่ 21


Click to View FlipBook Version