The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by panadda tocomnust, 2019-10-24 23:23:05

หนังสือชุดเยือนถิ่นเพชรราชภัฏ เล่ม ๑ การขับขานเพลงซอ เพลงพื้นบ้านล้านนา

รวมเล่มเยือนถิ่น เพลงซอ

บทบรรณาธกิ าร คณะท่ีปรกึ ษาผู้ทรงคณุ วฒุ ิ
ผ้อู ำนวยกำรสำนกั ศิลปะและวฒั นธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหำวิทยำลัยรำชภัฏเชียงใหม่ รองผู้อำนวยกำรสำนักศลิ ปะและวัฒนธรรม
ได้ดำเนินโครงกำรเยือนถ่ินเพชรรำชภัฏ – เพชรล้ำนนำ เพื่อเย่ียมเยียน
และเป็นกำลังใจให้ครภู มู ิปัญญำที่ได้รับกำรคัดเลือกเปน็ “เพชรรำชภัฏ – ผูท้ รงคุณวุฒิประจาฉบับ
เพชรล้ำนนำ” ของมหำวิทยำลัยรำชภัฏเชียงใหม่ ได้มีพลังกำยและ อำจำรย์ ดร.ธรรศ ศรรี ตั นบัลล์
กำลังใจในกำรสร้ำงสรรค์ผลงำน เพ่ือให้เกิดกำรอนุรักษ์และสืบสำน
ไว้ซึ่งมรดกชองชุมชน เพรำะชุมชนเป็นรำกฐำนของกำรพัฒนำ ในกำร บรรณาธกิ าร โตคำนุช
พัฒนำจะต้องเป็นกำรพัฒนำควบคู่อย่ำงสมดุล ท้ังทำงเศรษฐกิจและ นำงสำวปนดั ดำ
สงั คม อนั จะนำพำไปสูก่ ำรพฒั นำอย่ำงย่ังยืน
กองบรรณาธกิ าร พรมจติ ต์
โดยฉบับนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รวบรวมและบันทึก นำยโสภณ หมิ ำรัตน์
องค์ควำมรู้ของเพชรรำชภัฏ – เพชรล้ำนนำ ในสำขำศิลปะกำรแสดง นำยวีรพชิ ญ์ ผัดเป้ำ
เพือ่ ให้เกดิ กำรสบื ทอดและสืบสำนมรดกทำงวัฒนธรรมของบรรพชนไปยัง นำยวรวทิ ย์
เยำวชน จำกรุ่นสู่รุ่นอย่ำงต่อเนื่อง จึงได้จัดทำหนังสือชุดเยือนถ่ิน
เพชรรำชภัฎ – เพชรล้ำนนำ ด้วยกำรรวบรวมและสกัดองค์ควำมรู้
เก่ยี วกบั การขบั ขานเพลงซอ บทเพลงพื้นบา้ นลา้ นนา จำกเพชรรำชภฏั
– เพชรล้ำนนำ ซ่ึงป็นพ่อครูและแม่ครู ท่ีมีผลงำนเชิงประจักษ์เป็นท่ี
ยอมรับของสงั คม

ปนดั ดำ โตคำนชุ
นกั วิชำกำรศึกษำ สำนกั ศิลปะและวัฒนธรรม

มหำวทิ ยำลยั รำชภฏั เชยี งใหม่



สารบาญ ก

บทบรรณำธิกำร ๑
สำรบญั ๓
ประวัตแิ ละควำมเปน็ มำ ๗
ทำนองซอ ๙
ประเภทกำรซอ ๑๒
กำรไหวค้ รูซอ ๑๔
พธิ ีกนิ อ้อผญำ ๑๖
กำรแสดงซอ ๓๕
เพชรรำชภฏั – เพชรลำ้ นนำ ๓๖
เอกสำรอำ้ งอิง
บทขบั ซอ ประพนั ธโ์ ดย แม่ครูบวั ซอน ถนอมบุญ (เมืองพร้ำว) ศิลปินแห่งชำติ



การขบั ขานเพลงซอ บทเพลงแหง่ ชุมชน

ประวตั แิ ละความเป็นมา
เพลงพ้ืนบ้านล้านนาเกิดจากประเพณี ศาสนาหรือวัฒนธรรมของชุมชนนั้น ๆ ตั้งแต่ชุมชน

ท่ีห่างไกลความเจริญไปจนถึงเขตเมือง โดยมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันตามความนิยมในท้องถ่ินนั้น ๆ
ซึ่งจะมีท่วงทานองที่เป็นไปตามแบบภาษาถิ่นนั้น ๆ และการขับร้องเพื่อความเพลิดเพลินบันเทิงใจ
จะมีจงั หวะดนตรีท้องถิน่ และการร้องราทาเพลงประกอบด้วย แบง่ ออกได้ดงั นี้

๑. การซอ
๒. การจอ๊ ย
๓. การร่า (ฮา่ )

ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการซอเท่านั้น “ซอ” เป็นเพลงพ้ืนบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจาก
บรรพบุรุษเป็นมรดกตกทอดมาต้ังแต่ปู่ยา่ ตายาย และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เพลงซอเปน็ ศิลปะการแสดง
ทีใ่ ห้ความบันเทิง หากงานใดมีการแสดงซอ จะทาให้งานนัน้ ครึกครน้ื และหากงานใดไม่มซี อไปประกอบแสดง
ร่วมงานแล้ว จะรู้สึกว่างานนั้นเงียบเหงา ไม่มีเสียงหัวเราะ บางคนไม่รู้จักการซอ และบางคนเกิดมาไม่เคย
ฟังซอเลย ทั้งๆ ที่เกิด และเติบโตในภาคเหนือ ทาให้ไม่มีความรู้เรื่องการซอ ดังนั้น เม่ือมีผู้สนใจสอบถาม
เก่ียวกับการซอ ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงของภาคเหนือ จึงทาให้ไม่สามารถอธิบายได้ว่า การ ”ซอ” ของทาง
ภาคเหนือเป็นอย่างไร และแตกต่างจากคาว่า “ซอ” ของภาคกลางอย่างไร หรือบางคร้ังอาจอธิบายและ
ให้ข้อมูลผิด ๆ ท้ังน้ีบางคนแม้ไม่เคยฟัง แต่เม่ือมีโอกาสได้ฟัง ก็รู้สึกประทับใจและสนุก และทาให้รู้ว่า
การซอน้ัน แท้จริงเป็นศิลปะการแสดงอันล้าค่าของล้านนา เช่นเดยี วกับหมอลาของภาคอีสาน ลาตดั เพลงฉ่อย
ของภาคกลาง และเพลงบอกของภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นหมอลา ลาตัด เพลงอีแซว เพลงฉ่อย หรือเพลงบอก
ต่างก็เป็นการขับร้องตามภาษาท้องถ่ินเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของแต่ละภาคท่ีมีความโดดเด่น คือ
เป็นการร้องด้นกลอนสด ๆ โดยไม่มีการเตรียมหรือแต่งเนื้อร้องล่วงหน้ามาก่อน แต่การที่ศิลปินจะมี
ความชานาญเช่ียวชาญจนสามารถด้นกลอนสด ๆ ได้น้ัน จะต้องอาศัยความวิริยะอุตสาหะฝึกฝนมาอย่าง
ยาวนาน

ซอ ในภาษาถ่ินภาคเหนือหรือคาเมืองหมายถึง การร้องหรือการขับร้องเพลงพื้นบ้านของล้านนา
ซงึ่ เรียกวา่ ซอพน้ื เมือง เป็นการละเลน่ พนื้ บ้านอย่างหนึ่งของชาวล้านนา ทมี่ ีทัง้ การซอโตต้ อบกันในลักษณะ
เพลงปฏิพากย์ระหว่างชาย หญิง หรือซอเด่ียว เพื่อเล่าเร่ืองหรือพรรณนาเหตุการณ์ต่าง ๆ ซอเป็นเพลง
พื้นบ้านล้านนาท่ีนิยมอย่างแพร่หลายและนิยมร้องกันมาก โดยซอจะมีลักษณะพิเศษ คือ จะต้องมีดนตรี



ประกอบเสมอ และซอเป็นการขับร้องแบบเดียวที่จะต้องมีการถือครู โดยดนตรีหลักที่ใช้เล่นการประกอบ
ซอของเชียงใหม่ และลาพูน คือ ป่ี ซ่ึงมีเป็นชุดเรียกว่า “ป่ีชุม” (ปี่จุม) ทาด้วยไม้ไผ่ลาเดียว ตัดเป็นท่อน ๆ
ให้ได้ ๔ ขนาด ตามลาดับได้แก่ ปี่เค้า (ป่ีแม่) ป่ีกลาง ป่ีก้อย และปี่ตัด แต่เม่ือประมาณ ๕๐ ปีที่ผ่านมา
ได้มีการนาซึงมาใช้บรรเลงประกอบร่วมกับปี่จุมแทน และตัดปี่เค้าหรือปี่แม่ออกไป เหลือเพียงปี่ ๓ เลา
ซึ่งทานองที่ช่างป่ีและช่างซึง ใช้บรรเลงในการซอร่วมกับช่างซอจะเป็นทานองเดียวกัน โดยในการซอ
แต่ละครั้งสามารถใช้ทานองได้หลายทานองด้วยกัน โดยมีทานองหลักท่ีใช้ในการซอเร่ิมต้น คือ ทานอง
ต้ังเชียงใหม่ ตามด้วย ทานองจะปุ และทานองละม้าย นอกจากน้ียังทานองอื่น ๆ ท่ีนิยมนามาเล่น
เช่น ทานองพม่า ทานองเงี้ยว ทานองอื่อ โดยจะเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาในการซอ
เพราะทานองแตล่ ะทานองจะมีชา้ เรว็ ที่แตกต่างกัน

ประวัติความเป็นมาของซอน้ัน ไม่ทราบว่าเกิดข้ึนในสมัยใด เพราะต้นกาเนิดของซอส่วนใหญ่

จะเป็นเรื่องเล่าท่ีมีการบอกต่อ ๆ กันมา แต่มีหลักฐานจากวรรณกรรมบางฉบับท่ีแสดงให้เห็นว่าซอเป็น

เพลงพื้นบา้ นท่ีมีมานานแลว้ ดังปรากฏในวรรณกรรมลลิ ติ พระลอ

ร่ายบทที่ ๓๕

ขับซอยอยศอ้าง ฦาลกู กษัตริยเ์ จ้าช้าง ชน่ื แท้ใครเทยี ม เทียบนา

รา่ ยบทที่ ๓๖๙

อยา่ หมองใจหนมุ่ หนา้ บรรทมถา้ พระลอ เผือจะซอกลอ่ มแก้ว

กลา่ วแลว้ สองนางนอน พเ่ี ลยี้ งกรกอดบาท ซอกลอ่ มนาฏแมณ่ เกลา้

นอนแมน่ อนเทอญนะเจ้า พ่ีเอย้ ท้งั สองออ่ นนา

นอกจากนยี้ ังพบซอท่ีปรากฏในคาร่ายมหาชาติของลา้ นนาเช่น กัณฑ์มทั รี มหาราช และนครกณั ฑ์

ซึ่งกวไี ด้พรรณนา ดังนี้

เพอ่ื จกั ส่งสกั การ นาวนอ้ งแก้วพ่ี

ทกุ ดา้ วที่แจจน ฝูงหมคู่ นจักหอื้ มามว่ นเล่น

ชักเชือกเตน้ หกกระโดง ฝูงหมูค่ นโถง (นักเลงเหลา้ )

จกั หื้อตีพาทยฆ์ ้อง เสยี งตืน่ ต้องด้วยสะบดั ชยั

สรในจักห้อื ล้ัน สน่ันด้วยเมงตรา

จากบั ด้วยเสียงซอและปี่ นทุกที ออื ทอื

บางคนทจี่ ักห้ือตบมอื ต่างแสง่ (ฉาบ) พ่ีจกั แตง่ เคร่อื งเปนหลายประการ



จากหลักฐานท่ีปรากฏในลิลิตพระลอและมหาชาติ แสดงให้เห็นว่า ซอเป็นการขับร้องประจาถิ่น
ของล้านนามานาน คาดว่าน่าจะมีมาตั้งแต่การก่อต้ังอาณาจักรล้านนาในพุทธศตวรรษท่ี ๑๘ และจาก
คาบอกเล่าของช่างซอรุ่นเก่าท่ีกล่าวถึงท่ีมาของซอในจังหวัดเชียงใหม่ว่า น่าจะนามาจากเมืองเชียงแสน
ในช่วงท่ีพญามังรายมาตั้งเมืองเชียงใหม่ ซ่ึงอาจจะนาช่างซอจากเชียงแสนติดตามมาด้วย ดังน้ันการซอ
ในระยะแรกอาจแพรห่ ลายเฉพาะในกล่มุ เจ้านาย เชื้อพระวงศ์ หรอื มีแสดงเฉพาะในคุม้ โดยมีหลกั ฐานหนึ่ง
ที่สามารถบอกว่า ซอเชียงใหม่มาจากเชียงแสนน้ัน โดยสังเกตได้จากการซอในทานองต่าง ๆ ของเชียงใหม่
มักจะมีการนาทานองเชียงแสนหรือจ๊อยเชียงแสนมาขับร้องเสมอ โดยเรียกทานองส่วนนี้ว่า “ทานอง
เชียงแสนก๋าย” ส่วนทานองอ่ืน ๆ คาดว่าจะนามาจากเมืองต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จากชื่อเรียกทานองซอ
ในแต่ละทานองเช่น ทานองพม่า ทานองเงี้ยว จากน้ันจึงพัฒนามาเป็นทานองซอที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็น
หลักฐานแสดงให้เห็นว่า ซอของเชียงใหม่ในช่วงแรกจะเป็นศิลปะการแสดงของหลวง จากน้ันได้เผยแพร่
ออกสูภ่ ายนอก และกลายเป็นเพลงพื้นบา้ นทีไ่ ด้รบั ความนยิ มจากคนในท้องถนิ่

ในอดีตซอ นอกจากจะได้รับความนิยมแพร่หลายในกลุ่มชาวบ้านท่ัวไปแล้ว ในสมัยหนึ่งการซอ
ยังแพร่หลายเข้าสู่ราชสานักของล้านนา โดยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่หลายพระองค์มีช่างซอประจาคุ้มเช่น
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ท่ี ๗) มีชายาท่านหนึ่งเป็นช่างซอ และให้กาเนิดบุตรี คือ
เจ้าน้อยมหาวัน ดังนั้น ซอในยุคนั้น จึงไม่เป็นเพียงวัฒนธรรมของราษฎร แต่ยังกลายเป็นวัฒนธรรมของ
หลวงด้วย ในช่วงท่ีพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เสด็จกลับมาประทับท่ีเชียงใหม่เป็นการถาวร พระองค์ท่าน
เป็นอีกผู้หน่ึงท่ีมีบทบาทสาคัญในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาเพลงซอ ด้วยการนาครูซอท่ีมีความรู้
ความสามารถและมีชื่อเสียงในสมัยนั้นเช่น นายศรีหมื่น ปลายราง ไปสอนการขับซอ และเป็นผู้บุกเบิกนา
เพลงซอมาเล่นเปน็ ละครซอ โดยละครซอเรอ่ื งดังกลา่ ว คอื เรือ่ งน้อยใจยา

ทานองซอ
การซอเป็นการขับขานร้อยกรองท่ีมีการบังคับฉันทลักษณ์เฉพาะ มีท่วงทานองท่ีเรียบเรียง

ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับลีลาและจังหวะ ทาให้ผู้ฟังหรือผู้ชมสามารถจาแนกและจดจาบทร้องได้โดยอาศัย
การฟังทานอง ซึ่งทานองซอน้ันเรียกอีกอย่างว่า ระบา ซึ่งในแต่ละทานองจะมีความแตกต่างกัน ตามระดับ
เสียงที่ถูกกากับด้วยลักษณะของฉันทลักษณ์ในแต่ละทานอง จังหวะและถิ่นกาเนิด โดยมีทานองหรือระบา
ในการซอบางทานองของแต่ละท้องถ่ินท่ีมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น ทานองพม่า จังหวัดน่านเรียกว่า
ทานองเจ้าสุวัตร – นางบัวคา นอกจากน้ี ยังมีทานองปลีกย่อยของแต่ละท้องถ่ิน ซ่ึงใช้ในการซอในแวดวง
ของพื้นถ่ินน้ัน ๆ เช่น ทานองลับแล ทานองดาดแพร่ จะซอในจังหวัดน่าน จังหวัดแพร่ โดยมีการแบ่ง
ทานองซอ ดงั นี้



๑. ทานองตัง้ เชียงใหม่
ทานองต้ังเชียงใหม่ หรือเจียงใหม่ เป็นทานองท่ีใช้ซอในบทปฐมฤกษ์ในการซอท่ีเป็นทางการ

แต่เดิมเรียกทานองน้ีว่า ทานอง “ตั้งใหม่” นิยมซอในจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีชื่อว่า ตั้งเจียงใหม่
โดยทานองนี้จะใช้ซอเริ่มเรื่องหรือซอทักทายหรือเป็นการซอสวัสดีท่านผู้ชม การซอทานองต้ังเจียงใหม่
จะเป็นการซอตอนเร่ิมต้น โดยมี คาขึ้นต้น เช่น หลอน, นาย, เถิง, ตั๋ว ซ่ึงคาขึ้นต้นแต่ละคามีความทั้งสิ้น
อาทิ หลอน : สมมตวิ า่ , นาย : ทา่ น, คุณ : เธอ, เถิง : ถึง, ต๋วั : ทา่ นหรอื คณุ เปน็ ตน้

ทานองซอตั้งเจียงใหม่เป็นทานองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยคาสัมผัสของบทซอต้ังเจียงใหม่
จะไม่เหมอื นกบั ทานองซออื่นๆ คอื จะเป็นคาสัมผัสเฉพาะตัวในทานองต้ังเจยี งใหมเ่ ทา่ นั้น การซอทานองตั้ง
เจียงใหม่ จะเป็นการบ่งบอกให้ช่างซอได้ปรับระดับเสียงให้เข้ากับคู่ซอ (คู่ถ้อง) เพราะการซอบทหน่ึง
อาจจะต้องใช้เวลาหลาย ๆ ชั่วโมง หากช่างซอยังหาจุดลงตัวของระดับเสียงไม่ได้ ก็จะทาให้การแสดงซอ
ในครั้งนั้นดาเนนิ ไปอย่างไม่ราบรื่น ไม่เกิดอรรถรส และความสุนทรีย์

๒. ทานองซอจะปุ๋หรอื จาวปุ๋
สันนิษฐานว่าเป็นทานองของชาวปุ ในแคว้นสิบสองพันนา (สิบสองปันนา) ซ่ึงทางเมืองน่าน

จะเรียกว่าทานองซอนี้ว่า ทานอง “จ๊กก๊ก” ซ่ึงทานองดั้งเดิมของซอพื้นเมือง ใช้ซอต่อจากทานองตั้งเชียงใหม่
หลังจากลงทานองเชียงแสนแล้ว หรือบางครั้งใช้ซอ หลังจากเปลี่ยนทานองอ่ืน ๆ เพ่ือเข้าสู่ทานองละม้าย
อีกครั้งหนึ่ง ทานองซอจะปุ๋ เป็นทานองซอที่มีความอ่อนหวาน ละมุนละไม การใช้ทานองจะปุ๋ จะใช้อยู่สอง
ลกั ษณะ คือ ซอแบบคร่งึ ท่อนหลัง และซอแบบเต็มท่อน ซ่ึงการซอแบบครง่ึ ท่อนหลังจะใช้ซอต่อจากการลง
เชยี งแสน หรอื เมือ่ หลังจากเปลี่ยนทานองอ่นื ๆ เขา้ สู่ทานองละมา้ ย

๓. ทานองซอละม้าย
เป็นทานองที่ให้จังหวะครึกคร้ืน สนุกสนาน ใช้ซอต่อจากทานองจะปุ๋ โดยทานองนี้พัฒนา

มาจากทานองจะปุ๋ เน่ืองจากซอด้ังเดิมนั้น หลังจากจบทานองต้ังเชียงใหม่แล้ว จะซอทานองจะปุ๋ และ
ทานองอื่น ๆ เท่านั้น ยังไม่มีทานองละม้าย ต่อมามีการเปล่ียนระดับเสียงซอเป็นอีกระดับหนึ่งซึ่งสูงกว่า
ทานองจะปุ๋ แต่ใช้คาร้องเดียวกันกับทานองจะปุ๋ จึงทาให้เรียกทานองนี้ว่า ทานองละม้าย ซ่ึงแปลว่า
คลา้ ยคลงึ โดนหมายถึง คล้ายคลงึ กับทานองจะปนุ๋ ่นั เอง

๔. ทานองเง้ียว (เสเลเมา)
ซอทานองเง้ียวหรือทานองเสเลเมา เป็นทานองซอดั้งเดิมอีกทานองหนึ่ง ซ่ึงเป็นท่ีรู้จักกัน

โดยทั่วไป สันนิษฐานว่าคงได้รับมาจากชาวเงี้ยว หรือไต หรือไทยใหญ่ ซึ่งเป็นชนชาติหนึ่งอยู่ในรัฐฉาน
ประเทศพม่า ปัจจุบันอยู่ท่ัวไปแถบภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย และ



จังหวัดแม่ฮ่องสอน การซอทานองเงี้ยวหรือเสเลเมา มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ทานองเง้ียว และทานองเง้ียว
สิบชาติ เหตุที่เรียกชื่อว่า เงี้ยวสิบชาติ เนื่องจากเป็นทานองที่ใช้ในการซอเรื่องพระเจ้าชาติที่สิบ คือ
พระเวสสันดรชาดก

๕. ทานองเพลงอื่อ
เป็นทานองหนึ่งของซอล้านนา ซึ่งที่มาของซอทานองเพลงอ่ือน้ี สันนิษฐานว่าอาจจะ

วิวัฒนาการมาจากเพลงกล่อมลูกของชาวล้านนา ทานองเพลงอ่ือ มักจะใช้ซอในบทซอลาบวช ซอขึ้น
บ้านใหม่ ซอมัดมือพระนาคแก้ว เป็นต้น หรือจะเป็นบทซอชีวประวัติต่าง ๆ ท้ังนี้ เพราะทานองเพลงอ่ือ
เป็นทานองที่นิ่มนวลกินใจคนฟัง และเป็นทานองที่ซอง่าย โดยช่างซอทางจังหวัดน่านจะเรียก
ทานองเพลงอ่ือวา่ ระบาซอตารายา ดว้ ยเรียกตามบทซอเรอ่ื ง ตารายาตลก

๖. ทานองพมา่
เป็นทานองเพลงซอที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะศิลปินช่างซอทางภาคเหนือนิยมนามาซอ

เพราะเป็นทานองเก่าแก่ ทานองซอพม่านี้ ทางจังหวัดน่านจะเรียกทานองน้ีว่า ทานอง “เจ้าสุวัตร –
นางบัวคา” เพราะเป็นการเรียกตามช่ือเรื่อง การซอทานองพม่าน้ีส่วนมากจะใช้ในการซอสูมาครัวทาน
เพราะเป็นทานองที่สั้น และจาง่าย ด้วยมีคาสัมผัสจากบทท้ายจรดบทต้นส่วนหัว จึงทาให้ไม่นิยมนามา
ซอในงานตา่ ง ๆ

๗. ทานองพระลอ
เป็นทานองด้ังเดิมของซอล้านนาเช่นกัน แต่เดิมเรียกทานองนี้ว่า ทานองล่องน่าน และเหตุ

ท่ีเรียกว่าพระลอ เน่ืองจากมีการใช้ทานองนี้มาซอเรื่องพระลอ ท่ีสองพ่ีน้อง พระเพื่อน – พระแพง หลงรัก
ในพระสิรโิ ฉมอันงดงามของพระลอ โดยจะซอในสองตอน คือ พระลอล่องน่าน และพระลอเดินดง สาหรับ
พระลอเดินดงน้ัน มักจะนามาซอพรรณนาชมนก ชมป่า ชมดอกไม้นานาพันธ์ุ โดยบทซอจะซอ ๓ วรรค
แล้วลงเปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งซอต่ออีก ๓ วรรคเช่นกัน แต่พระลอล่องน่านน้ัน จะซอก่ีวรรคก็ได้ เรียกว่า
เป็นการซอต่อวรรคต่อกลอน ทานองซอพระลอน้ีส่วนมากจะเรียกว่า ทานองน้อยใจยา ซึ่งเร่ืองน้อยใจยา
เป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล
ที่ ๕ ที่ทรงให้ท้าวสุนทรพจนกิจ กวีประจาคุ้มรจนาบทซอข้ึนมา ปัจจุบันตอนท่ีนิยมนามาขับซอ และเป็นที่
แพรห่ ลายมากท่สี ุด คอื บทซอตอนทีน่ ้อยใจยา และนางแวน่ แกว้ นดั พบเดินดง ผสมกบั พระลอล่องนา่ น



การขับซอทานองพระลอนี้ เป็นทานองที่เยือกเย็นอ้อยอิ่ง ทาให้ผู้ฟังเคลิบเคล้ิมไปกับบทซอ
จึงทาให้เป็นท่ีนิยมเอาทานองพระลอ โดยเลือกเอาเฉพาะตอนน้อยใจยานัดพบนางแว่นแก้ว มาประกอบ
การฟอ้ นในงานพิธีตา่ งๆ

๘. ทานองซอป่ันฝา้ ย
เป็นทานองที่เรียกตามช่ือเร่ืองของบทซอป่ันฝ้าย โดยจะเป็นการซอพรรณนา ต้ังแต่การถางไร่ฝ้าย

ตลอดจนปลูกฝ้าย จนต้นฝ้ายโต มีดอกก็เก็บดอกฝ้ายจนถึงการนาฝ้ายมาปั่นฝ้าย อีดฝ้าย (เคร่ืองมือท่ีใช้บีบ
แยกปุยฝ้ายออกจากเมล็ดฝ้ายกอ่ นทจี่ ะนาฝ้ายไปทาเป็นเสน้ ไหม) สดุ ทา้ ยก็ทอฝา้ ยเป็น ผืนผ้าแลว้ นามาตัด
เย็บเป็นขั้นเป็นตอน ซงึ่ ซอทานองป่นั ฝ้ายนี้มอี ยู่ท่อนเดยี ว ตอ่ มาเจ้าสนุ ทร ณ เชยี งใหม่ ได้แตง่ ทอ่ นที่ ๒ ข้ึน
โดยอาศัย และยึดหลกั ทานองเพลงเกา่ เป็นแนว

ปัจจุบันวิทยาลัยนาฏศิลป์จะใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนสาวไหม ตามชนบทบางคนไม่รู้จัก
ทานองป่ันฝ้าย โดยเฉพาะทางเชียงใหม่จะรู้จักและเรียกทานองบ่าวเค้ินเพราะคุณบุญศรี รัตนัง นักร้อง
คาเมืองได้นาเอาทานองปั่นฝ้ายนี้มาประพันธ์เป็นเพลงลูกทุ่ง ชื่อเพลงว่า บ่าวเคิ้น ในราวปี ๒๕๒๕ เพลงน้ี
โด่งดังมาก ได้รับความนิยมเลยทาให้คนรู้จักทานองซอปั่นฝ้ายในนามทานองซอบ่าวเคิ้นตามคานิยมที่เรียก
ติดปากกันไป ทานองซอปั่นฝ้ายน้ีทางเชียงใหม่ เชียงราย ลาพูน จะไม่ค่อยนิยมซอเท่าไร แต่ทางจังหวัด
น่านจะนิยมซอกันมาก ซอทานองป่ันฝ้ายน้ีจะถูกนาเข้ามาสู่ และเผยแพร่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่
ในราวประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๑๐ หรือ ๒๕๑๑-๒๕๑๒ นี้ โดยสมัยคุณแม่บัวซอน ถนอมบุญ จาเอามาจาก
พ่อครูคาผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ จังหวัดน่าน เมื่อตอนท่ีท่านมาบันทึกแผ่นเสียงที่ห้างนครพานิช
เชียงใหม่ เพราะตอนน้ัน แม่บัวซอน ถนอมบุญ ท่านได้ไปบันทึกแผ่นเสียง เรื่องน้าตาเมียหลวง กับบุญศรี
สันเหมอื ง (เสียชีวติ )

๙. ทานองเชยี งแสน
ทานองเชียงแสนหรือละม้ายเชียงแสนนี้ ช่างซอมักใช้ซอเมื่อต้องการเปล่ียนเป็นทานองอ่ืน

การเปลี่ยนทานองซอปี่ทุกครั้ง ทุกทานอง ต้องวนกลับมาใช้ซอทานองเชียงแสนเสียก่อน เพราะเป็นทานอง
ท่ชี าวเชียงแสนคิดประดิษฐ์ขึ้น



๑๐. ทานองล่องนา่ น
เป็นทานองที่ไพเราะจับใจอีกทานองหนึ่ง ในท้องถิ่นจังหวัดน่านนั้นถือว่าเป็นทานองซอ

ทไ่ี ดร้ ับความนิยมสงู สุดเลยทีเดยี ว การซอของจังหวัดน่านเปน็ การซอเข้าซึงกับสะล้อ และการเดินทานองซอ
ของจังหวัดน่านน้ัน ก็จะเป็นการขับซอโดยการเดนิ เสียงแบบเรยี บๆ นัน้ ขับซอกจ็ ะซอด้วยคยี ์ต่า โดยไม่ต้อง
บงั คบั เสยี งเลย คือ เป็นการซอแบบสบายๆ

สาหรับการซอของเชียงใหม่ ลาพูน และเชียงรายนี้ได้นาเอาซอทานองล่องน่านน้ีมาดัดแปลง
ให้เข้ากับปี่จุม ทาให้การซอจะออกมาในลักษณะเสียงสูง ทาให้ฟังชัดเจนขึ้น ปัจจุบันนักแต่งเพลงหลายต่อ
หลายท่านได้นาเอาทานองซอลอ่ งน่านไปแตง่ เพลงลกู ทุ่ง สามารถร้องซอเขา้ กบั จังหวะ ชา่ ชา่ ช่า และสามช่า
ได้อย่างสนุกสนาน ซอทานองล่างน่านนี้ อาจารย์ประจักร กาวี ศลิ ปินซอเมืองน่านได้เขียนประวัติเอาไวใ้ น
หนังสือวัฒนธรรมพ้ืนบ้านของจังหวัดน่านเอาไว้ว่า มีพญาการเมืองได้ยา้ ยเมืองวรนคร (เมืองบัวหรอื อาเภอ
ปัว ในปัจจุบัน) มาต้ังเมืองใหม่ ณ จังหวัดน่านในปัจจุบัน การย้ายเมืองคร้ังนั้นพญาการเมืองได้จัดสร้างแพขึ้น
ท้ังหมด ๗ แพด้วยกัน เพ่ือเตรียมการขนย้ายไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ และแพที่ ๗ น้ันเป็นแพท่ีบรรทุกคณะ
ดนตรีสะล้อซอซึง ช่างซอในสมัยน้ันตามประวัติเล่าสืบกันต่อมามีนามว่า ปู่คามาและย่าคามี ซ่ึงได้ขออาลา
บ้านเกิดเมืองนอนที่เคยอยู่มาต้ังแต่เล็กแต่น้อย และตลอดทางที่ล่องแพมานั้นเขาได้ซอบรรยายสภาพ
ภมู ศิ าสตร์ และป่าไมด้ อกไม้ สิ่งที่พบเห็นบนสองฝั่งขอลาน้าน่าน คือ นั่งซอบนแพล่องมาจากนา้ น่าน เลยได้
ชอ่ื ทานองซอน้ีว่า ทานองซอลอ่ งน่าน ตลอดมาจนทกุ วันน้ี

นอกจากทานองซอท้ังหมดที่ได้กล่าวมานี้ ยังมีทานองอ่ืน ๆ อีกเช่น ทานองเยิ้นหรือยิ้น
ทานองมะเกา่ กลาง ทานองลับแล (ลบั แลง) ซ่ึงเป็นทานองที่ไมค่ ่อยมคี นรจู้ ักและไม่เป็นที่นยิ ม จึงทาให้บาง
ทานองสญู หายและเหลือแตช่ ื่อ เนอื่ งจากไม่มผี สู้ บื ทอด

ประเภทของการซอ

การแบง่ ประเภทของการซอหรอื ชนดิ ของซอ แบง่ ไดด้ งั ตอ่ ไปน้ี
๑. แบ่งตามลกั ษณะดนตรที ีน่ ามาบรรเลงประกอบ แบ่งได้ ๒ ประเภทคือ
๑.๑ ซอซึง เป็นการขับซอที่ใช้เคร่ืองดนตรีประเภทซึงและสะล้อเป็นหลัก เรียกอีก

อย่างว่า ซอน่าน เดิมนิยมซอในเขตจังหวัดแพร่ น่าน และพะเยา ปัจจุบันซอน่านเป็นท่ีนิยมโดยทั่วไป
โดยจะซอช้ากว่าซอเชียงใหม่ มีทานองล่องน่าน ดาดแพร่ ลับแล ซอป่ันฝ้าย เป็นพื้น การเปลี่ยนทานอง
ซอจะให้การทามือเป็นสัญญาณให้นกั ดนตรีเปลีย่ นทานองได้เลย โดยไม่ตอ้ งใชท้ านองอ่ืนเป็นทานองเชอ่ื ม



๑.๒ ซอปี่ เป็นการขับซอที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทป่ีจุมเป็นหลัก ซอปี่เรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่า ซอเข้าปี่ นิยมให้ช่างซอหญิงเป็นหัวหน้าคณะ มีกาเนิดหรือต้นแบบท่ีจังหวัดเชียงใหม่ จึงเรียกว่า
ซอเชียงใหม่ นิยมซอในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลาพูน ลาปาง เชียงราย แพร่ และแม่ฮ่องสอน ในการขับซอ
ชา่ งซอจะซอเร็ว บางคร้ังฟังไม่ค่อยทัน มวี อทานองต้ังเชียงใหม่ ละม้าย เชียงแสน จะปุ๋ อื่อ พม่า (เชยี งใหม่)
เสเลเมา (เงย้ี ว) พระลอ เปน็ ต้น การเปลี่ยนทานองและการใช้ทานองค่อนข้างเคร่งครัด

๒. แบง่ ตามลักษณะช่างซอ แบง่ เป็น ๒ ประเภทคอื
๒.๑ ซอเดี่ยวหรือซอป้อด คือการซอโดยคน ๆ เดียว เป็นช่างซอชายหรือหญิงก็ได้

นยิ มใชซ้ อเลา่ เร่อื ง
๒.๒ ซอถ้องหรือซอมีถ้อง คือซอแบบปฏิพากษ์ ซอโต้ตอบกันของช่างซอ เป็นช่าง

ซอชายกับหญงิ หรอื ชา่ งซอชายกบั ชาย หรอื ช่างซอหญิงกับหญงิ อยา่ งใดอย่างหนง่ึ

๓. แบ่งตามทมี่ าของเนือ้ หาซอ แบง่ ได้ ๒ ประเภทคอื
๓.๑ ซอด้น คือการซอดน้ ไปตามเน้อื หาที่ช่างซอไปประสบพบเห็นตามเหตกุ ารณ์หรือ

ลักษณะของงานท่ีไปขับซอ หรือตามสถานทนี่ ้ัน ๆ จึงเป็นการซอท่ใี ชเ้ น้ือหาซ่ึงคิดผูกขึ้นอย่างปัจจุบันทันท่ี
เข้าลักษณะการขับซอสด ๆ ด้วยปฏิภาณไหวพริบของช่างซอ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถของ
ช่างซอเชน่ ซอทักทายผูค้ น ซอลา ซอเก้ียวสาว ซอขึ้นบ้านใหม่ ซองานกฐนิ ซองานฉลอง งานบุญต่าง ๆ
เปน็ ตน้

๓.๒ ซอตามเนื้อเร่ืองหรือซอตามบท เป็นการซอตามเนื้อเร่ืองที่ได้มีผู้แต่งไว้แล้วเช่น
ซอเรื่องพระลอ ซอเรื่องน้อยใจยา ซอเรื่องดาววีไก่น้อย ซอเร่ืองเจ้าสุวัตร – นางบัวคา เป็นต้น
นอกจากน้ียังมีการซอที่ใช้ในละครซอ ที่ช่างซอต้องซอตามบท ตามเน้ือเร่ืองที่มีผู้เขียนไว้ การซอใน
ลักษณะน้ีช่างซอจะต้องจดจาเนื้อหาใหแ้ ม่นยาและฝึกฝนมาก่อนเป็นอย่างดี จึงสามารถทาท่าทางประกอบ
ขณะขบั ซอได้ ทาให้มีบรรยากาศที่สนุกสนานยิ่งขน้ึ

จะเห็นได้ว่า ซอเป็นการแสดงพ้ืนบ้านของล้านนาท่ีมีประวัติความเป็นมาท้ังที่เป็นตานาน เรื่องเล่า
และลายลักษณ์อักษร นอกจากน้ียังมีวิวัฒนาการท่ีปรับปรุง เปล่ียนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพทางสังคม
และเศรษฐกิจท่ีเปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันการขับซอยังมีบทบาทสาคัญในสังคมล้านนา เป็นที่นิยมและ
จดั แสดงในงานประเพณขี องลา้ นนาอยู่เสมอ



การไหวค้ รซู อ
ในการซอจะมีพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องท้ังก่อนการเป็นศิลปินซอ (ช่างซอ) และก่อนการซอ

ซึ่งพิธีกรรมเกี่ยวกับการซอเป็นพิธีกรรมที่เกิดจากความเช่ือ ความศรัทธา ความกตัญญูรู้คุณ
การมีสมั พันธภาพที่ดีระหวา่ งช่างซอด้วยกัน เป็นการใหเ้ กียรติซึง่ กันและกนั เป็นพธิ ีกรรมทแี่ ฝงด้วยคุณค่า

สมัยก่อนการเรียนซอเป็น ส่ิงที่ค่อนข้างยากลาบากมากเพ ราะไม่มีส่ือวัสดุ อุปกรณ์ ท่ี อานวย
ความสะดวกในการเรียนรู้เหมือนปัจจุบัน ผู้เรียนหรือผู้ท่ีจะมารับการถ่ายทอดนั้น จะต้องไปทาพิธีข้ึนครูซอ
กับช่างซอรุ่นครูท่ีมีความรู้ความสามารถหรือมีช่ือเสียง หรือช่างซอที่ตัวเองนิยมชื่นชอบและมีความศรัทธาใน
ความรู้ความสามารถตลอดถึงลีลาการซอ โดยส่ิงที่จะต้องเตรียมคือ เคร่ืองบูชาครูประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ
ดังตอ่ ไปนี้

๑. สวยดอกท่ีพรอ้ มธปู เทยี น ๑๖ สวย (กรวย)
๒. สวยหมากพลู ๑๖ สวย (กรวย)
๓. หมาก ๑ หม่ืน (๑๐๐ เส้น )
๔. พลู ๑ มดั
๕. ผา้ ขาว ผา้ แดง
๖. ข้าวเปลือก, ขา้ วสาร
๗. เครื่องปรุงอาหารเชน่ กะปิ ปลาร้า ข่า ขิง

ตะไคร้ หวั หอม กระเทยี ม พริก เกลือ เป็นต้น
๘. เหล้า ๑ ขวด
๙. เส่ือพร้อมหมอน ๑ ชุด
๑๐. เงิน ๓๖ บาท

ผู้เรียนหรือผู้ท่ีจะมารับการถ่ายทอดนั้น จะต้องไปทาพิธีขึ้นครูซอ กับช่างซอรุ่นครู ที่มีความรู้
ความสามารถ หรือมีช่ือเสียงหรือช่างซอที่ตัวเองนิยมชมชอบ และมีความศรัทธาในความรู้ความสามารถ
ตลอดถึงลีลาการซอ การขึ้นครูน่ีเองจะแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนมีเร่ืองกตัญญู เมื่อทาพิธีบูชาครู
(ขึ้นขันตั้ง)แล้ว ผู้เรียนก็จะไปอยู่กับพ่อครู คอยปรนนิบัติรับใช้ในกิจการงานท้ังปวง ทาตนให้เป็นท่ี
น่ารักใคร่ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความกตัญญู เมื่อถึงเวลาพ่อครู หรอื แม่ครูไปแสดงซอที่ไหน ลูกศษิ ย์
จะต้องคอยตามไปนั่งบนเวทีหรือผามซอ คอยดูพ่อครูหรือแม่ครูแสดง เพ่ือจดจาเอาลีลาท่าทางตลอดถึง
ศิลปะการแสดงของพ่อครูหรือแม่ครู จะได้นามาใช้กับตนเองในเวลาท่ีมีโอกาสได้แสดงในโอกาสต่อไป



แต่ในสมัยนี้การที่จะเรียนเป็นช่างซอนั้นค่อนข้างจะง่าย เพียงแต่ขอให้มีใจรักชอบก็สามารถเป็นช่างซอได้

ไม่ยากนัก เพราะมีสือ่ การเรียนรู้ท่ีอานวยความสะดวกอยา่ งหลากหลาย เช่นซอที่บันทึกไว้ในรูปแบบต่าง ๆ

ผูเ้ รียนสามารถนามาเปน็ ต้นแบบในการเรยี นรู้ได้อย่างสะดวก โดยมีอาจารย์หรือครซู อคอยแนะนา ชี้แนะให้

รู้จักการวางลมหายใจ การผ่อนหนักผ่อนเบาในการออกเสียงและเดินทานอง ข้อสาคัญผู้เรียนต้องขยัน

มคี วามวิริยะอตุ สาหะใฝ่รู้ใฝ่เรียนมุ่งมั่นอย่างแท้จรงิ

อนึ่งการฝึกใช้โวหาร หรือใช้ไหวพริบปฏิภาณ จะต้องพยายามฝึกบ่อย ๆ จึงจะเกิดทักษะและเกิด

ความเชี่ยวชาญ แรกเร่ิมอาจจะผิด ๆ ถูก ๆ บ้างก็ไม่ต้องย่อท้อ เพราะส่ิงท่ีผิดนั้นจะเป็นบทเรียนทาให้เรา

ก้าวไปสู่ความสาเร็จในอนาคต ซึ่งซอเป็นเพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ

เป็นมรดกมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย และสืบทอดมาถึงช่ัวลูกชั่วหลาน ภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดสามารถ

ปรับเปลี่ยนได้ เช่น ปัจจุบันมีการซอที่ผสมระหว่างภาษาท้องถ่ินเข้ากับภาษาไทยภาคกลางเพื่อให้เยาวชน

เข้าใจง่ายข้ึน ซึ่งจะส่งผลให้การเรียนรู้เรื่องทุกเร่ืองที่เราสอดแทรกเข้าไปเป็นเรื่องสนุกสนาน น่าเรียน

นา่ ศึกษายิ่งขนึ้

การไหว้ครูซอ คือการบูชาครู การระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ที่ประสิทธ์ิประสาทวิชา และ

เพ่ือขอให้ครูช่วยปกปักรักษา คุ้มครอง ให้การคิดคาซอล่ืนไหลไม่ติดขัด ประสบแต่ความสาเร็จ ซึ่งพิธีไหว้

ครูซอนิยมทาใน ๒ โอกาสคอื การไหว้ครซู อประจาปี และการไหว้ครกู ่อนการซอ

การไหว้ครูซอประจาปี เป็นพิธีกรรมท่ีช่างซอจัดขึ้นเป็นประจาทุกปี ประมาณเดือน ๙ เหนือหรือ

เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เป็นการไหว้ครูทั้งที่มีชีวิตอยู่และครูท่ีล่วงลับไปแล้ว ทั้งที่เป็นครูของครู

ของครูอีก โดยมีคาเรียกว่า พ่อครู แม่ครู ครูเก๊า ครูปลาย ครูตาย ครูยัง (ยังมีชีวิตอยู่) เพื่อระลึกถึง

พระคุณครู ขอให้บารมีของครชู ่วยปกปกั รักษาใหม้ คี วามสุข ความเจรญิ โดยมเี ครื่องบูชาไหวค้ รซู อ ดังน้ี

เครื่องบชู าไหว้ครูซอในพิธไี หว้ครูซอ ประกอบดว้ ย

- สวยดอกไม้ ธูปเทียน ๑๖ สวย (กรวย)

- สวยหมากพลู ๑๖ สวย (กรวย)

- ขา้ วเปลือก ข้าวสาร อย่างละ ๑ ออ้ ง (กระทง)

- ผา้ ขาว ยาว ๑ วา ๑ ผนื

- ผา้ แดง ยาว ๑ วา ๑ ผืน

- กลว้ ย ๑ เครอื

- มะพร้าว ๑ ทะลาย

- หัวหมู ๑ หัว

- ไก่ ๔ ตวั

- เหลา้ ๑ ไห

- ขา้ วเหนยี วน่ึง ๑ กลอ่ ง

๑๐

- น้าสม้ ปอ่ ย ๑ ขัน

- เคร่ืองดนตรปี ระกอบการซอเชน่ ป่จี มุ ซงึ สะล้อ ขลุ่ย

นาเคร่ืองบูชาใส่พานหรือขันโตกขนาดใหญ่วางหน้าพระพุทธรูป อน่ึงเครื่องบูชาไหว้ครู
อาจแตกต่างในแต่ละท้องถ่ิน โดยมขี น้ั ตอนการไหวค้ รูดังนี้

พ่อครู แม่ครู และลูกศิษย์น่ังพร้อมกันในบริเวณพิธี พ่อครู แม่ครูจุดธูปเทียนบูชา พระรัตนตรัย
จากน้ันพ่อครู แม่ครู หรือหัวหน้าคณะซอยกขันตั้งบูชา พร้อมนาลูกศิษย์กล่าวคาไหว้ครู โดยมีเนื้อหา
ดงั ต่อไปนี้

ขอเชิญคุณอาจารย์ที่ได้สั่งสอนตลอดจนครูพักลักจา จุ่งมาส่ังสอนอุตสาหะ ขออาราธนา
พระศรีรัตนตรัย พระศรีสรรเพชรมาเสด็จอยู่เหนือเกล้าเกศี ขอเชิญพระพรหมมาอยู่บ่าซ้าย ขอเชิญ
พระนารายณ์มาอยู่บ่าขวา ขอเชิญพระคงคามาเป็นน้าลาย ขอเชิญพระพายมาเป็นลมปาก ขอเชิญพระยา
นาคมาเป็นสร้อยสังวาลย์ ขอเชิญพระกาฬมาเป็นหัวใจ แม้แต่ผู้ข้าเจ้าจะได้แสดงราร้อยจ๊อยซอ ก็ขอให้มี
ความสขุ สาเร็จลุล่วงด้วยเทอญ โอมสิทธิทัง กะรัง สทิ ธิทารยิ ะ กะรัง โอมสวาโหมติด
(สานวนของพอ่ ครคู าผาย นุปิง ศลิ ปนิ แหง่ ชาต)ิ

การขึน้ ครูซอหรือไหว้ครูซอ เป็นการไหวค้ รูก่อนแสดงซอทกุ ครัง้ ชา่ งซอต้องทาพิธขี นึ้ ครหู รอื ไหว้ครู
เสียก่อน เพื่อระลึกถึงพระคุณที่ได้สั่งสอน ขอให้ครูซอคุ้มครอง บันดาลให้สามารถขับซอได้เลื่อนไหล
ไม่ติดขัด คิดคาซอได้ฉับไว มีปฏิภาณไหวพริบ มีเสน่ห์เป็นที่ช่ืนชอบ ไม่มีอุปสรรค และด้วยความเชื่อที่ว่า
หากได้ไหว้ครูหรือยกครูแล้ว จะทาให้แคล้วคลาดอันตรายจากไสยศาสตร์ และทาให้ช่างซอมีกาลังใจ
เกดิ ความมนั่ ใจยง่ิ ขึ้น

การขึ้นครูซอเริ่มต้นด้วยการเตรียมเคร่ืองบูชาครู โดยเจ้าภาพหรือผู้ว่าจ้างคณะซอไปแสดงเป็น
ผู้จัดหาเคร่ืองบูชาและนามาใส่ในขัน พานหรือถาดเรียกว่า “ขันตั้งหรือขันขึ้นครูซอ” ซ่ึงประกอบด้วย
เทียน ๘ คู่ เหล้าขาว ๑ ขวด เงิน ๓๖ บาท ดอกไม้ขาว แดง เหลือง หมาก ๑ หัว พลู ๑ มัด ข้าวสาร ๑
กระป๋อง เหล้าขาว ๑ ขวด เทียนเล่มบาท ๑ คู่ เทียนเล่มเพี้ยง ๑ คู่ รายชื่อเจ้าภาพงานและรายช่ือของ
ญาตทิ ่ีลว่ งลับไปและจะอุทิศไปหาเรียกวา่ ก้านตาน เม่ือเตรียมของเรยี บร้อยแลว้ หัวหนา้ คณะซอจะยกขัน
ตง้ั ข้ึนจรดศีรษะแล้วไหว้คุณแกว้ สามประการเคารพสิ่งที่ควรเคารพในบริเวณน้ัน ไม่ว่าจะเป็นเทวดาอารักษ์
กล่าวคาราลึกถึงพระคุณครู หลังจากนั้นช่างซอจะถือเคล็ดโดยจิบเหล้าในขันตั้ง พร้อมทั้งพรมเหล้าลงบน
เครื่องดนตรีท่ีนามาบรรเลง พร้อมนาเหล้าไปหลั่งรดลงบนธรณีบริเวณเสาของผามซอ เพ่ือเป็นการคารวะ
และขอขมาแมธ่ รณี จากน้ันชา่ งชึง สะล้อ จะเทยี บเสียงและเริ่มแสดงซอ

การแบ่งครูซอหรือการปลงครูซอเป็นพิธีกรรมอีกหน่ึงพิธีท่ีเก่ียวกับช่างซอ เม่ือช่างซอได้ร่าเรียน
วิชาการขับเพลงซอ ตลอดจนฝึกฝนจนเกิดความชานาญจนสามารถแยกคณะซอเป็นของตนเอง และ
ตอ้ งเป็นชา่ งซอมาอย่างน้อย ๓ ปี สามารถสอนซอให้กบั ผ้อู ื่นได้ เมื่อช่างวอผู้น้ันมีความชานาญขับซอจนเก่ง
ถึงข้ันมีลูกศิษย์ สามารถเป็นครูสอนซอให้กับลูกศิษย์ได้ ซึ่งการเป็นครูซอได้น้ันต้องทาพิธีขออนุญาตเป็น
ครูซอเสียก่อน โดยพิธีนี้เรียกว่า การแบ่งครูซอ เพ่ือขอแบ่งความเป็นครูจากพ่อครู แม่ครูของตน
โดยจัดเคร่ืองบูชาหรือเครื่องสังเวยในพิธีแบ่งครูซอ ประกอบด้วย ไก่ต้ม ๒ คู่ เหล้าขาว ๒ ขวด เส่ืออ่อน

๑๑

๒ ผืน หมอนทรงสี่เหลี่ยมหรือหมอนหก ๒ ใบ ผ้าขาว ๒ ผืน ผ้าแดง ๒ ผืน ข้าวเปลือก ๒ กระทง หมาก
๒ หม่ืน (การนับหมากผ่าซีก : เสี้ยว แล้วร้อยด้วยเชือกปอเป็นเส้นยาวประมาณ ๑ ศอก รวมกันเป็น
พวง ๆ ละ ๑๐๐ เส้น หรือ ๑๐๐ ไหม เรียกว่า หมาก ๑ หมื่น หรือหมาก ๑ หัว) มะพร้าวอ่อน ๒ ทะลาย
สวยดอกไม้ ๑๖ สวย สวยหมากพลู ๑๖ สวย เงินค่ายกครู ๗๒ บาท ซึ่งเคร่ืองพลีกรรมเหล่านี้อาจมี
แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมในแต่ละท้องถ่ินและความเชื่อทยี่ ึดถอื ปฏิบตั ิกันมา

ในพิธีแบ่งครูซอ จะถือปฏิบัติโดยทาพิธีราวเดือน ๙ เหนือหรือเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน หรือ
วันพฤหัสบดี ซ่ึงถือเป็นวันครู หรือวันพญาวัน (วันเถลิงศก) ตรงกับวันท่ี ๑๕ เมษายน โดยจะประกอบพิธี
ในชว่ งเช้ากอ่ นเพล ซง่ึ มขี นั้ ตอนการทาพิธีแบ่งครซู อ ดงั นี้

พ่อครู แม่ครู และบรรดาลูกศิษย์ ช่างซึง ช่างสะล้อ มาพร้อมกันในบริเวณพิธีท่ีสร้างเป็นปะราพิธี
เรียกตามภาษาถ่ินภาคเหนอื วา่ ผาม ลูกศิษยจ์ ะนาเครอื่ งบูชาเคร่ืองสงั เวยเซน่ ไหว้ที่เตรียมไวย้ กมาบนเวที
พร้อมกล่าวคาเซ่นสรวงผีครู และกล่าวโองการคาขอแบ่งครูซอ พ่อครูแม่ครูทาพิธีเสี่ยงทายว่าผีครูซอ
ท่ีล่วงลับไปแล้วจะอนุญาตให้แบ่งครูซอหรือไม่ โดยหยิบข้าวตอกหรือข้าวเปลือกที่เตรียมไว้มานับดู
หากนับได้จานวนค่ี แสดงว่าไม่ได้รับอนุญาต ต้องกล่าวโองการ สวดอ้อนวอนขอแบ่งครูซอต่อไปอีกเร่ือย ๆ
และถ้านับไดจ้ านวนคู่ หมายความว่าผีครูซออนุญาตให้แบ่งครซู อได้ เมื่อไดร้ ับอนุญาตจาการเสี่ยงทายแล้ว
พ่อครูแม่ครูจะแบ่งเคร่ืองสังเวยให้ลูกศิษย์ครึ่งหน่ึง อีกคร่ึงหนึ่งพ่อครูแม่ครูจะเก็บไว้ ยกเว้นกรณีท่ีพ่อครู
แม่ครูเลิกประกอบอาชีพช่างซอแล้วก็จะยกเครื่องเซ่นทั้งหมดให้แก่ลูกศิษย์ที่มาขอแบ่งครูซอ พ่อครูแม่ครู
จะอบรมลูกศิษย์ท่ีมาขอแบ่งครูซอให้กตัญญูกราบไหว้บูชาครูอย่างเคร่งครัด ลูกศิษย์ท่ีรับแบ่งครูซอและ
ช่างซอคนอื่น ๆ จะขับซอต้อนครับครูซอคนใหม่ เรียกว่า ซอรับครู พ่อครูแม่ครูส่งครูซอคนใหม่กลับบ้าน
โดยนาเคร่ืองสังเวยท่ไี ด้รับมาครง่ึ หน่ึงมาเล้ียงผีครูท่ีบ้านครูซอคนใหม่ โดยมีการขบั ซอรับครูและเลยี้ งฉลอง
กันอย่างสนุกสนาน ถือว่าได้เป็นครูซออย่างเต็มภาคภูมิ สามารถอบรมสั่งสอนวิชาการขับซอให้กับลูกศิษย์
ได้ หลังจากได้รับแบ่งครซู อแล้ว ครูซอคนใหม่จะต้องหาเคร่ืองประกอบสังเวยที่ขาดหายไปคร่ึงหนึ่งให้ครบ
เช่น ผ้าขาวหายไป ๑ ผืน ก็ต้องหามาให้ครบเป็น ๒ ผืน โดยครูซอคนใหม่ต้องเก็บขันครู โดยนา
เครื่องสังเวยไปวางไวบ้ นห้งิ หรือช้นั ท่ีเตรียมไว้ หันหน้าไปทางทิศตะวนั ออกหรอื ทิศเหนอื จึงจะถอื เปน็ มงคล
และต้องกราบไหว้บูชาอย่างสมา่ เสมอ โดยมีขอ้ ห้ามสาหรับศษิ ย์ท่ีรับการแบ่งครูซอมาแล้วจะต้องถือปฏิบัติ
อย่างเคร่งครัด ซึ่งข้อห้ามเหล่าน้ีจะเรียงลาดับความสาคัญดังน้ี ห้ามรับประทานอาหารในบ้านเรือน
ในสถานที่ท่ีต้ังศพ ห้ามลอดใต้ถุนบ้านท่ีมีหญิงอยู่ไฟ ห้ามลอดใต้ป่าช้าแสนผี (ครัวไฟ) ห้ามรับประทาน
อาหารเคร่ืองเซ่นผี ประเภทไก่ซากเจ้า เหล้าซากผี ห้ามลอดราวตากผ้าและรั้วบ้าน ห้ามลอดใต้ต้นกล้วย
ทเ่ี อยี งเพราะน้าหนักเครือ หา้ มลอดใตถ้ นุ บ้านทัว่ ไป

๑๒

พธิ ีกนิ ออ้ ผญา
นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับความเช่ืออีกอย่างของช่างซอคือ การกินอ้อหรือการเอาอ้อ

โดยเชื่อว่าการกินอ้อจะช่วยเสริมสร้างสติปัญญาและการจดจาได้เป็นอย่างดี คาว่า อ้อ เป็นภาษาถิ่น
ภาคเหนือ ซึ่งพ่อครูคาผาย นปุ ิง เล่าว่า ออ้ มคี วามหมาย ๒ ประการคอื อ่องอ้อ หมายถึง มันสมองหรือ
สติปัญญา และอ้อเป็นพืชล้มลกุ ชอบขึ้นตามท่ีชื้นแฉะ ใบเรียว ลาต้นแข็งเปน็ ปลอ้ ง กลวง คล้ายไม้ไผ่ แต่มี
ขนาดเล็กกว่า ต้นอ้อมี ๒ ชนิดคือ ต้นอ้อลวง มีใบใหญ่กว่าอ้อลาย ใบและต้นเป็นสีเขียว ส่วนต้นอ้อลาย
จะมีลาต้นเป็นสีขาว ใบเป็นสีเขียวลาย ๆ นิยมใช้ประดับตกแต่งพวงหรีดในงานศพ ถือว่าไม่เป็นมงคล
จึงนิยมใช้อ้อหลวงในพิธีกินอ้อ โดยครูซอจะใช้ต้นอ้อหลวงที่ไหลมาตามน้าโดยธรรมชาติ ซ่ึงถือว่าเป็น
ต้นอ้อที่ดีที่สุด ซึ่งอ้อน้าท่ีไหลนี้หมายถึง ต้นอ้อท่ีข้ึนตรงน้าเช่ียว และเม่ือตัดอ้อมาแล้วให้โยนข้ึนไปทาง
ต้นน้าให้ปล้องของอ้อนั้นไหลลงมา จากน้ันพ่อครูซอจะจับเอาปล้องอ้อท่ีไหลมาถึงมือก่อนเป็นปล้องแรก
ซ่ึงถือว่าเป็นอ้อท่ีดีที่สุด จากนั้นครูซอจะนาน้าผึ่งใส่ขวดเป่าคาถา และกรอกน้าผ้ึงใส่ปล้องอ้อ แล้วให้
คนท่ีมาฝึกซอกนิ เมอ่ื กนิ น้าผงึ้ ในปล้องออ้ แล้ว ใหข้ บปล้องอ้อให้แตกแลว้ โยนปลอ้ งออ้ ข้ามหวั ไปข้างหลัง

พ่อครูคาผาย นุปิง เล่าว่า การกินอ้อแต่ละประเภทมีขั้นตอนเหมือนกัน แต่คาถาเป่าเสก
ไม่เหมือนกัน ศิษย์ครูซอจะกินอ้อครบทุกประเภท แต่ชาวบ้านหรือนักเรียนที่ไม่ใช่ศิษย์ครูซอมักจะกิน
อ้อผญาหรืออ้อจา เพราะมีความเช่ือว่าจะทาให้เกิดความจาและมีสติปัญญาดี ซ่ึงการกินอ้อมี ๔ ประเภท
คือ

๑. อ้อจา เป็นอ้อที่ท่ีใครได้กินน้าผึ้งมนต์จากอ้อน้ี จะทาให้มีความจาดีเป็นเลิศ จาได้
แม่นยา ครูบางท่านเรียกว่า อ้ออาจิณจา โดยมีคาถาประกอบการกินอ้อว่า โอม นะโม มะนา วันทา
กราบไหว้ บรมอุดมปั่นเกล้า ฮ้ือมีพญาปัญญาฮ้ือกว้าง ด่ังสะเปาขี่ข้ามแม่น้ามหาสมุทร สุดฝ่ายพญานาค
สุดขอบจมปู้ เอ็นดูคนในโลก แต่อ้อพระสงสาร อ้อไหลในเตด อ้อเขตในธรรม อ้อจาจ่ือถ้อย อ้อน้อย
อย่าลมื กา โอมนกิ ะกนตุ๊ อ้อจาทุกค่าเช้า โอมอะกิ มนิสวา โหมติ

๒. อ้อพดู เป็นออ้ ท่ีใครได้กินน้าผ้ึงมนตจ์ ากอ้อน้ี จะทาใหม้ ีคารมคมคาย มีคาพูดถ้อยคา
เฉียบแหลม ไพเราะน่าฟัง เป็นที่จับใจผู้ฟัง มีเสน่ห์ด้านการพูด ด้านการขับซอ บางครูก็เรียกว่า อ้อเว้า
หรือพูด น่ันเอง มีคาถาประกอบการกินอ้อเว้าคือ ยันตุ ยันตุ ข้าเจ้าไหว้พระยอดแก้วเจดีย์ ต้ังเจ้าอิตพี
อยู่ในเมืองฟ้า เจิญเจ้าขี่ม้าแก้วและเก้ียวคา เจ้าร่วงคิงดา เจ้าอ่อนเพียงดาแพง เจิญอ้ออารหันต๋า อยู่ถือ
เครื่องหา้ ก้าซ้ายหลั่งลงมา ก้าขวาหลั่งลงมาเรียง กัน้ ใตป้ ากเวา้ ผญาเจา้ ไหลออกมาสนสน ในเมืองคนบ่มไี ผ
เปรยี บได้ สอดไก๊แปลเป็นกาโดยผญาไว ไหลออกมาเหมือนนา้ บ่อแก้ว แจ้ว ๆ ไหลออกมาเนอื งนอง เหมือน
พญาฟอง ไหลออกมาลิราช เจิญมาศฟ้าแผ่นพับธรณี ผญามีแต่เก๊า เจิญสรรพปัญหา ข้าแก้แม่นได้แล้ว
อย่าลมื โอมสวาโหมติด

๓. อ้ออานาจ เป็นอ้อทีท่ าให้ผทู้ ี่ได้กินแล้วมอี านาจอยู่ในตัว มีผู้เกรงขาม เปน็ ที่เคารพของ
คนท้ังหมู่มวล มีคาถาประกอบว่า เยปุก กาลา มาติโกตกตัง จิต ตเสตุ โอมพระอาทิตย์มาอยู่บนหัวกูเนอ
พระจันทร์มาอยู่หน้าผากกูเนอ กูจะปาดาน้าก็ฮ้ือถอน กูจะปาดาขอนก็ฮ้ือข้ึน กูจะปาข้ึนหาเจ้าผู้ใหญ่ก็ฮื้อ
อว้ายหน้ามาหากู กูจะตบปีกขึ้นเมืองผ้า แข่งผ้าแข่งฝน กูจะตบปีกข้ึนเมืองบน เท่ียงอ้อลงมาเอย

๑๓

เสียงเลย นางแก้ว ผู้กว๊ักฝ้านอยู่ปลายผา ผู้แกว่งหลา (เผ่ียม) อยู่ปลายไม้ นางสาวแอดไท้ ผู้กวัดแกว่งวี
คาปญั ญา ระตซิ ะตัง ปญั ญา โอภาโส จติ ตะ จิตตัง โอมสวาโหมติด

๔. อ้อมหาเสน่ห์ เป็นอ้อท่ีทาให้ผู้ท่ีได้กินมีเสน่ห์ เป็นท่ีต้องตาต้องใจของผู้ที่พบเห็น
เมือ่ แสดงการขับซอก็จะมีผู้ชน่ื ชมช่นื ชอบทั้งน้าเสียง กริ ิยา อาการ ทว่ งท่า ลีลา และมารยาทย่งิ นัก นับว่า
เป็นเสน่ห์ท่ีช่างซอทุกคนปรารถนา หากใครมีแล้วจะประสบความสาเร็จในอาชีพ มีคาถาประกอบดังน้ี
นะกาจิต โมกาใจ พุทธาก่าม่ัน ยะสุอินทรีย์ ละขันตี อิ สวา สุ โอมนะ อ่อนใจ๋รัก โมจักมานอนกอด
พทุ ธสวมสอดยอดเสนห่ า ทาเจด็ นา้ ต๋า ยะเหน็ หนา้ กู ปารเิ หวันติ

การจะเป็นช่างซอที่ดีจะต้องมีการเรียนรู้ด้วยความอดทนอุตสาหะมานะพยายามเป็นอย่างยิ่ง
โดยเป็นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ต้องติดตามเพ่ือฝึกฝนภาคสนามกับครูซอ หากไม่มีใจรักและเข้าใจ
อาชีพช่างซอแล้ว จะทาให้ท้อแท้ เพราะการเรียนรู้การขับซอเป็นการเรียนรู้แบบมุขปาฐะ มักสอนให้
จาเป็นคา ๆ บท ๆ เป็นสานวนไป ต้องอาศัยความจา พ่อครูคาผาย นุปิง กล่าวว่า ผู้ท่ีจะเป็นช่างซอได้
ต้องเป็นผู้ท่ีมีน้าเสียงดี ไพเราะ มีเสียงชง (เสียงใหญ่) คือมีพลังเสียง เสียงไม่ตก ไม่แหบแห้ง มีสุขภาพดี
เป็นผู้ท่ีมีความจาดี ต้องจาท้ังถ้อยคา สานวน คาคม สุภาษิต คาพังเพย และเน้ือเรื่องต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้อง
กับการซอ เพราะต้องนาไปประกอบผูกเป็นถ้อยคาเนื้อร้องในการซอไม่ใช่จาเน้ือหาของการซอทั้งหมด
แล้วนามาขับซอ เหมือนกับการร้องเพลง แต่ต้องขับซอโต้ตอบในลักษณะด้นกลอนสด ดังนั้นความจา
ต้องเป็นเลิศ จาบทซอของคู่ถ้องที่ขับซอถามโต้ตอบให้ได้เป็นอย่างดี จึงต้องมีความรู้ทางจารีต
ขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพุทธศาสนาเป็นอย่างดี เพราะเน้ือหาซอส่วนใหญ่
เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวเหนือเช่น ซอขึ้นบ้านใหม่ ซอทาบุญกฐิน ผ้าป่า ซอดาปอยบวชพระ ซอเก่ียวกับ
บาป บุญ นรก สวรรค์ ซอเร่ืองชาดกต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เก่ียวข้องกับจารีตขนบธรรมเนียมประเพณี
วัฒนธรรมและพุทธศาสนาทั้งสิ้น สามารถนาภาษาสมัยใหม่และเก่ามาประยุกต์ใช้รวมกันในการผูกคาและ
สานวนซอ ทาให้ลืน่ ไหล ถกู ใจผ้ฟู ัง สนุกสนาน แสดงปฏิภาณไหวพริบได้อย่างดีเลิศ มีความรู้ ความชานาญ
ทางด้านฉันทลักษณ์ ร่ายกลอนและทางซอ เป็นผู้ท่ีมีปฏิภาณไหวพริบในการแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิภาณในการขับซอซ่ึงเป็นการขับซอแบบฉับพลันหรือด้นกลอนสด ต่อคาซอได้
แก้คาซอได้ ซอโต้ตอบได้ ในลักษณะเพลงปฏิพากย์ เป็นผู้ท่ีมนุษยสัมพันธ์ดี ช่างซอก็เหมือนกับศิลปิน
นกั ร้องโดยทวั่ ไป จะตอ้ งมีอธั ยาศยั ไมตรี ยมิ้ แย้มแจม่ ใส พูดจาไพเราะเสนาะหู ทาให้ช่างซอสามารถดารง
อาชีพได้อย่างยั่งยืน เป็นท่ีนิยมชมชอบและเป็นผู้ท่ีมีความกตัญญูบูชาครู ด้วยความผูกพันในระหว่างที่มี
การเรียนการขับซอจากครูซอทาให้ศิษย์ครูวอถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ในการแสดงความกตัญญูของช่างซอเป็น
ประจาทุกปีและอื่น ๆ แล้วแต่โอกาส ซ่ึงช่างซอจะถือว่าศิษย์คนไหนไม่มีความกตัญญูรู้คุณ และศิษย์คนน้ัน
จะไมส่ ามารถประกอบอาชพี เป็นชา่ งซอให้เจรญิ กา้ วหนา้ อกี ตอ่ ไป

๑๔

การแสดงซอ
ซอเป็นการแสดงที่เน้นความบันเทิงเป็นหลัก แต่เดิมซอเป็นการละเล่นพ้ืนเมืองท่ีชาวบ้านนิยม

ชมชอบเป็นอย่างมาก มีการแสดงตามงานต่าง ๆ นอกจากน้ีช่างซอยังทาหน้าท่ีประชาสัมพันธ์และเป็น
สญั ลกั ษณข์ องงานอีกดว้ ย การขบั ซอสว่ นใหญข่ นึ้ อยกู่ บั ผวู้ า่ จา้ งไปแสดงในโอกาสต่าง ๆ ดงั นี้

๑. ซอในงานวัดเช่น งานประจาปี งานข้ึนพระธาตุ งานยกช่อฟ้า งานฉลองสมโภช
ศาสนสถาน งานยกยอดธาตุเจดยี ์ งานกนิ๋ สลาก งานฉลองพดั ยศ งานผา้ ป่า งานกฐนิ เปน็ ต้น

๒. ซอในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานดาปอยบวชลกู แกว้ (บวชนาค) งานขน้ึ บา้ นใหม่ เป็นต้น
๓. ซอท่ีจัดขึ้นในงานต่าง ๆ ที่เป็นโอกาสพิเศษเช่น งานสืบสานประเพณีวัฒนธรรม งานวัน
รดนา้ ดาหัว ซอในขบวนแห่ ซอในงานมหกรรมวฒั นธรรมระดบั ชาติ เป็นต้น
๔. ซอเพื่อใช้เป็นส่ือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ในฐานะที่เป็นสื่อพื้นบ้านเมืองเหนือเช่น
ซอต่อต้านยาเสพติด รณรงค์โรคเอดส์ ต่อต้านการสูบบุหร่ี รณรงค์โรคใข้ฉ่ีหนู ซอเชิญชวนท่องเที่ยว
ซอวางแผนครอบครัว ซอเชญิ ชวนไปเลอื กตง้ั เป็นตน้
๕. ซอโฆษณาขายสินค้า มสี ินค้าบางชนิดที่ตอ้ งการสอ่ื ถงึ ชาวบา้ น ได้จา้ งชา่ งซอซอบทส้ัน ๆ
เพ่ือโฆษณา ซงึ่ ซอในลกั ษณะนเี้ ห็นอยู่ไม่มากนัก
๖. ซอเพ่ือประกอบการบรรยายและซอเพ่ือสาธิต เป็นการซอในกรณีท่ีมีองค์กร
สถาบันตา่ ง ๆ เชญิ ชา่ งซอไปบรรยายใหค้ วามรแู้ ละสาธิตประกอบการซอ
๗. ซอในพิธีกรรมเชิญผีปู่ผีย่า ผีมด ผีเม็ง มาเข้าทรง โดยช่างซอขับซอมีเน้ือหาเชิญเจ้า
มาสงิ เขา้ รา่ งทรง ปัจจบุ นั น้ยี งั นิยมทากนั ทั่วไป
๘. ซอในพิธีกรรมของช่างซอเช่น ซอรบั ครใู นพิธีแบง่ ครูซอ เปน็ ต้น
๙. ซอในพิธีกรรมถวายในงานบูชาเสาอินทขิล จังหวัดเชียงใหม่ ตามตานานเมืองเหนือ
กล่าวว่า ในสมัยก่อนงานพิธีสักการบูชาเสาอินทขิลประจาปี จะมีช่างซอพื้นเมืองจังหวัดเชียงใหม่ทุกคน
ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลต้องเดินทางมาในงานผลัดเปล่ียนกนั ซอ เพื่อเป็นการพลีกรรมถวายบูชาเสาอินทขิล
ถ้าคนไหนไม่มา ถือว่าเป็นความผิดที่ให้อภัยไม่ได้ และจะไม่ได้รับความร่วมมือในการประกอบอาชีพซอ
ปัจจบุ นั ได้เปลยี่ นแปลงไปตามยุคสมยั

๑๕

เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา
ศลิ ปนิ ซอล้านนา

ช่างซอเป็นศิลปินที่มีทั้งพรสวรรค์และพรแสวง มีความสามารถสืบทอดเพลงซอ ในฐานะท่ีเป็น
มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถ่ินของชาติไว้อย่างดีย่ิง มีศิลปินซอ พ่อครู แม่ครูที่ได้รับการยกย่อง
เชดิ ชูเกียรตเิ ป็น เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา เปน็ เกียรตเิ ป็นศรแี ก่ล้านนาและวงการซอ ดงั นี้

๑. แม่ครูบวั ซอน ถนอมบุญ เกดิ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ ท่ีบ้านตน้ รุง หมู่ ๓ ตาบล
ป่าตุ้ม อาเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ แม่ครูบัวซอน ถนอมบุญ เป็นกวีพ้ืนบ้านผู้รังสรรค์ สืบทอดภาษา
และวรรณกรรมล้านนาดังปรากฏในผลงานการแต่งบทซอ อันมีคุณค่าทางศิลปะการแสดง วรรณศิลป์ และ
มีเน้ือหาท่ีมากด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณแห่งล้านนา โดยเฉพาะด้านการเผยแพร่คติธรรม
พุทธศาสนาผ่านบทซอ และมีการประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย เข้าใจง่าย ทาให้เยาวชน ตลอดจนประชาชน
ทั่วไปหันมาสนใจและรกั ศิลปะด้านนม้ี ากขน้ึ มีลักษณะเด่นและความสามารถในการขับซอคือ เปน็ ช่างซอท่ี
มีปฏิภาณไหวพริบดี ใช้ถ้อยคาไพเราะ มีน้าเสียงไพเราะจับใจผู้ฟัง อีกทั้งยังสามารถแต่งบทขับซอได้เป็น
อยา่ งดี

ท่ีอยู่ที่ติดต่อได้ ๑๑๘ / ๓ บ้านพระเจ้านั่งโก๋น ตาบลดอนแก้ว อาเภอแม่ริม จังหวัด
เชยี งใหม่ ๕๐๑๓๐

โทรศัพท์ ๐๘๑ – ๒๘๘๘๑๒๕

บทสมั ภาษณ์แมค่ รูบวั ซอน ถนอมบญุ
การเรียนขับซอในอดีตจะเรียนตัวต่อตัว ปากต่อปาก ต้องอยู่กับแม่ครูช่วยแม่ครูทางานบ้าน

ตลอดจนงานตามท่ีแม่ครูมอบหมายให้ โดยแม่ครูจะให้บทซอมาท่องจนจาได้ข้ึนใจ และในอดีตจะไม่มี
ส่ือการเรียนเช่นในปัจจุบัน จะใช้ความจาเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันมีส่ือการสอนท่ีทันสมัย จึงทาให้การเรียน
การสอนง่ายกว่าในอดีต โดยช่างซอที่จะสามารถออกรับงานซอได้ต้องเรียนและจาทานองให้ได้อย่างน้อย
๔ ทานองคือ ทานองต้ังเชียงใหม่ ทานองจะปุ ทานองละม้าย และทานองเง้ียว โดยจะให้ผู้เรียนคิดหา
เทคนิคและวิธีการของตนเอง จึงทาให้ช่างซอแต่ละคนมีเอกลักษณ์ ซึ่งทานองต้ังเชียงใหม่จะเป็นทานอง
หลกั และเป็นเอกในทุกทานองซอ ซง่ึ ทานองต้ังเชียงใหมจ่ ะมหี ลายทานองอยู่ในนน้ั โดยจะข้ึนทานองตั้งดว้ ย
เสยี งจตั วา สาหรับผชู้ าย และเสยี งสามัญ สาหรับผหู้ ญงิ

โดยช่างซอที่ดีจะต้องประกอบด้วย หน้าตา เสียง มารยาท และความอดทน มานะ วิริยะ
อุตสาหะ ในการเรียนขบั ซอจะเป็นการเรียนเพื่อรู้ เพ่ือเปน็ และเพ่ือเก่ง ดงั น้ันผู้มาเรียนการขบั ซอจะต้อง
มีความเก่ง ความกล้า และความสามารถ ซึ่งความสามารถเป็นเร่ืองเฉพาะตัว ลอกเลียนแบบไม่ได้
ปัจจุบันการขับซอมีรูปแบบและวิธีการซอท่ีแตกต่างจากอดีตคือ นาบทซอไปวอประกอบดนตรีสากล
สมัยใหม่ ปรับทานองและจังหวะให้คึกคักมากขึ้น ทาให้การขับซอออกมาเหมือนกับการร้องเพลงท่ัว ๆ ไป
ซ่ึงช่างซอจะเรียกซอลักษณะนี้ว่า “ซอสตริง” “ซอประยุกต์” และ “ซอสมัย” ซ่ึงแม่ครูบัวซอนเกรงว่า
รูปแบบดั้งเดิมของซอและจ๊อยจะสูญหายไป จึงได้คิดค้นวิธีการซอให้ผู้ฟังคนรุ่นใหม่ได้รู้จักวิธีการฟังซอ
อย่างเข้าใจ ไม่รู้สึกว่าซอนั้นฟังยากหรือไม่ค่อยรู้เรื่องในเนื้อหาที่ซอ จึงเน้นคาซอที่มีเน้ือหาสาระให้ข้อคิด

๑๖

และเป็นภาษาไทย เพ่ือให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงการขับซอได้มากข้ึน เพราะซอเป็นสมบัติที่มีค่ามาก แม่ครู
บวั ซอนจึงได้จัดทาหลักสูตรทานองซอ และหลักสตู รการปฏิภาณโวหาร ซ่ึงแม่ครูอยากให้หน่วยงานต่าง ๆ
ทงั้ ภาครฐั และสถาบันการศึกษาสนับสนนุ การจดั ทาหลักสูตรปฏิภาณโวหาร เพอ่ื ให้ช่างซอท่ีชอหากนิ ได้แล้ว
แตย่ งั ไม่รหู้ ลกั การ ไดร้ ู้ถึงวธิ กี ารแต่งเช่น สมั ผัสใน สัมผัสนอก สัมผสั เทยี ม สมั ผสั จรงิ ซึง่ แมค่ รบู วั ซอนเป็น
ศิลปินกวีพื้นบ้านล้านนาที่มีความคิดสร้างสรรค์ สืบทอดภาษาและวรรณกรรมล้านนา ดังจะเห็นได้จาก
บทซอ ที่มีเน้ือหามากด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรม มีรูปแบบร้อยกรองพื้นบ้านท่ีงดงามด้วยถ้อยคา สานวน
ไพเราะกินใจและใหข้ ้อคิดคตธิ รรมแก่ผฟู้ ัง

รางวัลเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา เป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจท่ีมีคนเห็นความสาคัญของ
ภูมิปญั ญาพน้ื บ้าน

๑๗

๒. พ่อครูบุญศรี รัตนัง เกิดวันท่ี ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๖ ท่ีบ้านป่าเหมือด ตาบลป่าไผ่
อาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พ่อครูบญุ ศรี รตั นัง เป็นผู้ท่ีมีบทบาทสาคัญในการสนับสนุนงานด้าน
ศิลปวัฒนธรรมล้านนา และมีความสามารถในการประพันธ์ค่าวซอทุกทานอง การประพันธ์เพลง และ
การเล่นดนตรืพื้นเมืองล้านนาแล้ว พ่อครูบุญศรี ยังได้สร้างผลงานเพลงลูกทุ่งคาเมืองกว่า ๕๐ ชุด โดยแต่ง
เพลงคาเมืองท้งั ร้องเองและใหค้ นอ่นื ร้อง กว่า ๑,๐๐๐ เพลง

พ่อครูบุญศรี รัตนัง ยังมีความสามารถในการทาเคร่ืองดนตรีอาทิ ซึง ขลุ่ย และสะล้อ ซ่ึงการตั้ง
เคร่ืองดนตรีในวงดนตรีพื้นบ้านล้านนานิยมใช้ขลุ่ยเป็นหลัก หากขลุ่ยมีระดับเสียงสูง เสียงของเคร่ืองดนตรี
ทั้งวงก็จะสูงตามไปด้วย ถ้าขลุ่ยมีระดับเสียงต่า เสียงของวงก็จะต่า พ่อครูบุญศรี จึงคิดทาขลุ่ยที่สามารถ
เปล่ียนระดับเสียงให้สูงข้ึนหรือต่าลงให้พอดีกับเสียงผู้ขับร้อง โดยใช้ทอพีวีซี ทดลองทาขลุ่ยที่มีหลายท่อน
สามารถสวมต่อกันและถอดแยกจากกันได้ โดยมีส่วนที่มีความยาวต่าง ๆ กัน ไว้สับเปลี่ยน ทาให้ขลุ่ยยาว
ข้ึนและสั้นลงได้ตามต้องการ ขลุ่ยปรับระดับเสียงได้ของพ่อครูบุญศรี รัตนัง นับเป็นผลงานที่คิดค้นด้วย
ภูมิปัญญาท้องถ่ินชนิดหน่ึง นอกจากน้ี พ่อครูบุญศรี ยังได้เปิดศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถ่ินชื่อ
ศูนย์สืบฮอยล้านนาภูมิปัญญาท้องถิ่น รัตนัง เสียงซึงสตูดิโอ สอนดนตรีพื้นเมืองและศิลปะการแสดง
พนื้ บ้านล้านนา ทกุ วันเสาร์และวนั อาทติ ย์

ท่ีอยู่ท่ีติดต่อได้ ๘๓ หมู่ ๒ บ้านหนองเต่าคา ตาบลป่าไผ่ อาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
๕๐๒๑๐

โทรศัพท์ ๐๘๙- ๙๙๘๑๘๙๘

บทสัมภาษณ์พ่อครูบุญศรี รตั นัง
ในการเรียนขับซอในอดีตและปัจจุบันจะแตกต่างกัน ในอดีตเราต้องไปอยู่ที่บ้านพ่อครูแม่ครู โดย

ท่านจะให้ท่องบทซอ และจาทานองของซอในแต่ละทานองให้แม่นยา เรียนกันถึง ๕ ปี กว่าจะได้ออกซอ

ส่วนพ่อครูใช้เวลาเรียน ๒ ปี ด้วยพ่อครูบอกว่า “ต้องออกมารับงาน เพราะพระเอกของละครซอย้ายไปอยู่

วงอื่น ด้วยตอ้ งช่วยบิดา” ประกอบกับอยากทางานหาเงนิ เลี้ยงครอบครัว จึงทาให้พ่อครูบุญศรี ออกแสดง

ซอและละครซอ ส่วนการเรียนขับซอในปัจจุบัน จะเร่ิมจากการให้จังหวะตามทานองการขับซอในแต่ละ

ทานอง เพ่อื ให้จาจังหวะได้ ดว้ ยการตบมอื ตามจังหวะ เมอื่ สามารถจาจังหวะได้แลว้ กจ็ ะให้ท่องบทซอ และ

หัดซอตามจังหวะ ปัจจุบนั จะงา่ ยกว่าในอดตี เพราะมเี ทคโนโลยีชว่ ยในการฟังจังหวะด้วยมีเทป หรอื MP 3

ต่างจากอดีตที่ต้องใช้ดนตรีสด ทั้งน้ีช่างซอที่ดีต้องใฝ่รู้ เพื่อจะได้มีวัตถุดิบในขับซอหรือแต่งบทซอ

ส่วนตัวพ่อครูบุญศรี จะมีวัตถุดิบที่อยู่รอบ ๆ ตัว โดยดูจากละคร ฟังข่าว อ่านหนังสือ หรือแม้กระทั่ง

ประสบการณ์หรือเหตกุ ารณ์ต่าง ๆ ท่ีประสบพบเจอในชีวิตประจาวัน และช่างซอท่ีจะออกแสดงได้ควรจะ

จาทานองการขับซอให้ได้ ๖ – ๗ ทานอง แต่ส่วนใหญ่ช่างซอในปัจจุบันได้ซัก ๒ – ๓ ทานองก็จะออก

รับงานแลว้

๑๘

ความนิยมในการฟังซอยังคงไม่เส่ือมคลาย ยังเป็นที่นิยมโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย
และน่าน แต่ท้ังนี้ช่างซอจะต้องมีการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพ่ือดึงดูดให้คนมาฟังซอ
โดยเฉพาะเยาวชน โดยพ่อครูใช้วิธีการเอาดนตรี (สมัยใหม่) มาผนวกกบั เนื้อร้องเก่า เพ่ือให้มีความทันสมัย
และจังหวะนน้ั จะเป็นท่คี ุ้นเคยของเยาวชน จึงทาให้เยาวชนมาฟังเพลงซอมากขน้ึ

พ่อครูบุญศรี รัตนัง เป็นคนช่างสังเกต ใฝ่หาความรู้ ประกอบกับมีความสามารถในการแต่งเพลง
และบทซอเป็นอย่างดี จึงทาให้เพลงท่ีพ่อครูแต่งมาเป็นที่นิยมอาทิ บ่าวเคิ้น โดยเฉพาะเพลง
“ดอกระมิงค์” ที่พ่อครูแต่งให้ลูกสาว “อ้อม รัตนัง” ร้อง ซ่ึงเพลงดังกล่าวเป็นที่นิยม โดยดูได้จาก
www.youtube.com ที่มียอดผชู้ มกว่าเจด็ แสนคนแล้ว และเปน็ เพลงที่มผี นู้ ิยมนาเอาประกอบการฟอ้ น

นอกจากนี้ พ่อครูบุญศรีได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการซอ และศิลปะการแสดงพ้ืนบ้าน
ล้านนาให้กับผู้ที่สนใจ ด้วยการเปิดศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์สืบฮอยล้านนาภูมิปัญญาท้องถ่ิน รัตนัง เสียงซึง
สตูดิโอ เก็บค่าเรียนหลักสูตรละ ๑๐๐ บาท ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ของพ่อครูบุญศรี จะเน้นการสอนใน
ขน้ั พนื้ ฐานเป็นสาคญั ด้วยมองวา่ หากพนื้ ฐานดี ก็จะสามารถนาไปต่อยอดได้ โดยมีลูกศิษย์กว่า ๕๐๐ คน
พ่อครูบุญศรี รัตนัง ดีใจมากท่ีได้รางวัลเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา และภาคภูมิใจที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงใหม่เห็นความสาคัญของภูมิปัญญาพ้ืนบ้าน และอยากให้หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงมหาวิทยาลัยช่วย
สนับสนุนการดาเนินงาน โดยพ่อครูอยากจะจัดงาน “เด็กรุ่นใหม่ใส่ใจวัฒนธรรม” ด้วยการให้เยาวชนได้มา
แลกเปล่ียนเรยี นรเู้ รื่องของศิลปวฒั นธรรมมากกวา่ ทจ่ี ะให้มาแข่งขนั กนั

๑๙

๓. พ่อครูก๋วนดา เชียงตา เกิดวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๔ ที่จังหวัดลาพูน เมื่ออายุ ๑๙
ปี ได้เร่ิมเรียนซอพ้ืนเมืองกับแม่ครูจันทร์สม สายธารา โดยเรียนแบบท่องจาบทซอตามท่ีแม่ครูสอนและ
ขณะเดียวกันก็ติดตามแม่ครูไปแสดงในงานต่าง ๆ ใช้เวลาเรยี นประมาณ ๓ ปี จึงสามารถขับซอได้และฝึก
เรียนปีก่ ับพ่อครไู ฉน ชัยวุฒิ และสบื ทอดการทาปี่จากพ่อครตู ๊ิบ บ้านช่างหล่อและพ่อครูพันธ์ บ้านสันทราย
พอ่ ครูก๋วนดามคี วามสามารถในการเล่นและทาเคร่ืองดนตรีพน้ื เมืองภาคเหนอื ได้เกือบทุกชนดิ

ที่อยู่ที่ติดต่อได้ ๘๑ / ๑ หมู่ ๑๐ บ้านพระเจ้านั่งโก๋น ตาบลดอนแก้ว อาเภอแม่ริม
จงั หวัดเชียงใหม่ ๕๐๑๘๐

โทรศพั ท์ ๐๘๖ – ๑๙๗๙๗๔๕

บทสัมภาษณพ์ ่อครูก๋วนดา เชยี งตา
ในการเรียนขับซอ อดีตจะใช้วิธีการสอนตัวต่อตัว ให้ฝึกท่องทานองและบทซอให้คล่อง จาให้แม่น

ซ่ึงในอดีตจะเน้นความจาของผู้เรียนเป็นสาคัญ เพราะไม่มีเคร่ืองอานวยความสะดวกเช่นในปัจจุบัน
ซ่ึงทานองที่จะใช้ในการซอมีประมาณ ๖ ทานอง ท่ีจะต้องจาให้แม่น เพราะในงานท่ีไปซอจะใช้ทานองน้ี
เป็นส่วนใหญ่คือ ทานองต้ังเชียงใหม่ ทานองจะปุ ทานองละม้าย ทานองเงี้ยว ทานองอื่อ และทานอง
พม่า แต่ในปัจจุบันด้วยจานวนลูกศิษย์ที่มาเรียนมีจานวนมาก ทาให้ไม่อาจสอนตัวต่อตัวได้ จึงต้องคิด
วิธกี ารสอนท่ีเหมาะสมกับจานวนคนและยุคสมัย จึงไดจ้ ดั ทาโน้ตเพลง โดยใช้โน้ตสากล ทาให้เข้าถึงเด็กรุ่น
ใหม่ได้ง่าย เพราะเด็กรุ่นใหม่จะอ่านโน้ตเป็น จึงทาให้ง่ายต่อการเรียน นอกจากน้ี ยังนาเพลงท่ีเด็กคุ้นเคย
มาเขียนโน้ต เพื่อให้เด็กฝึกหัดเล่นดนตรีพื้นเมืองเช่น เพลงค่าน้านม เมื่อเด็กคุ้นเคยกับการเล่นดนตรี
พื้นเมืองแล้วก็จะให้หัดเล่นเพลงล่องแม่ปิง โดยในการสอนไม่ว่าจะเป็นการขบั ซอหรอื ดนตรีพนื้ เมอื ง ส่ิงแรก
ท่ีจะต้องคานึงถงึ คือ ตอ้ งให้รู้สกึ สนกุ ก่อน เมื่อสนุกแล้ว จะสามารถทาหรอื เรยี นต่อไปไดด้ ว้ ยความสมัครใจ

พ่อครูก๋วนดา เชียงตา นอกจากจะเชี่ยวชาญในการขับซอและการเล่นดนตรีพื้นเมือง พ่อครูยัง
สามารถทาเครื่องดนตรีได้ โดยเฉพาะป่ึจุม ซึ่งพอ่ ครมู ีความเชี่ยวชาญในการเป่าปีจ่ ุมเป็นอย่างยิ่ง พ่อครูยัง
สามารถทาปี่จุมได้ ซ่ึงปี่จุมประกอบด้วยป่ี จานวน ๔ เลาคือ ป่ีก้อย ป่ีเล็ก ป่ีกลาง และปี่แม่ ซ่งึ พอ่ ครู
ได้รับการถ่ายทอดมาในลักษณะครูพักลักจา เพราะในอดีตการสอนจะเป็นการทาให้ดูมากกว่าจะมาสอน
เป็นเร่ืองเป็นราว ประกอบกับเป็นความลับของครอบครัว เพื่อส่งต่ออาชีพการทาปี่จุมให้กับคนใน
ครอบครัวมากกว่าคนนอกครอบครัว ซ่ึงพ่อครูได้ผ่านการลองผิดลองถูกเป็นเวลากว่าสิบปี เพราะการทา
ป่ีจุมมีข้ันตอนท่ีซับซ้อน เช่นการหาไม้มาทาป่ีจุม ต้องใช้ไม้ไผ่รวก (ฮวก) ต้องมีอายุเท่าไร มี-นาดเท่าไร
และมีวิธีการทาให้แห้งอย่างไรถึงจะทาให้ได้ป่ีจุมท่ีเสียงดี ซึ่งไม้ไผ่ลาหนึ่งจะทาป่ีจุมได้หนึ่งจุม ส่ิงเหล่าน้ี
เป็นส่ิงท่ีพ่อครูได้มากจากการปฏิบัติด้วยตนเอง และพ่อครูได้บันทึกสิ่งเหล่าน้ีเป็นลายลักษณ์อักษร เพ่ือให้
องค์ความรู้เก่ียวกับการทาปจ่ี ุมไม่สญู หายไปพร้อมกบั ตัวบคุ คล

๒๐

พ่อครูกว๋ นดา เชียงตา ภาคภมู ิใจในรางวัล “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” เป็นอย่างยิ่ง รู้สึกดใี จ
ที่มีหน่วยงานเห็นความสาคัญของศิลปินพื้นบ้าน จึงทาให้มีกาลังใจในการสืบสานและสืบทอดองค์ความรู้
ภูมิปัญญาให้กับเยาวชนอย่างต่อเนื่อง และอยากให้หน่วยงานส่งเสริม สนับสนุนให้เยาวชนได้สืบทอด
องคค์ วามรู้ของล้านนาและมสี ถานทใ่ี นการเรียนรู้และเวทีในการแสดงความสามารถ

๒๑

๔. แม่ครูผ่องศรี โสภา เกิดวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๓ ท่ีอาเภอพาน จังหวัด
เชียงราย แม่ครูผ่องศรีเร่ิมเรียนการขับซอกับพ่อครูคามูล บ้านสันต้นผึ้ง จากนั้นได้ไปเรียนกับแม่ครู
แสงเอ้ย อาเภอเวียงป่าเป้า เมื่อสามารถซอได้แล้ว จึงได้ออกแสดงในงานต่าง ๆ และได้ฝากตัวเป็น
ลกู ศิษย์ของพ่อครูบุญชุม เมอื งน่าน เพ่ือศึกษาการซอล่องน่าน ต่อมาแม่ครูจนั ทร์สม สายธารา ได้แนะนา
ให้ไปหาพ่อครูอานวย กลาพัด เจ้าของคณะอานวยโชว์ ซึ่งแม่ครูผ่องศรีอยู่กับคณะอานวยโชว์ได้สัก
ระยะหนึง จึงไดย้ ้ายไปอยู่กับพ่อครูแกว้ (ชา่ งปี่) บ้านร้องขึ้เหล็ก อาเภอดอยสะเก็ด จงั หวัดเชียงใหม่ และ
เป็นสมาชิกวงละครซอคณะพวงพะยอม จากน้ันได้ย้ายไปอยู่กับวงละครซอคณะศรีสมเพชร ๑ และคณะ
ศรีสมเพชร ๒ จากนั้นได้ย้ายไปอยู่กับคณะเก๋า – ต่วม หลักจากนั้น แม่ครูผ่องศรี โสภา และเพื่อน ๆ
ได้จัดตั้งวงละครซอคณะลูกแมร่ ะมิงค์ แต่ไม่ประสบความสาเร็จเท่าที่ควร จึงได้ยุบวง และมาตั้งวงละครซอ
ของตนเองชือ่ วงละครซอคณะผ่องศรีเมอื งพาน ซ่ึงยังรับงานแสดงจนถึงทุกวันนี้

ที่อยู่ท่ีติดต่อได้ ๑๔๔/๓๑ ถนนประชาสัมพันธ์ (หน้าที่ทาการชุมชนหัวฝาย) อาเภอเมือง
จงั หวัดเชยี งใหม่ ๕๐๑๐๐

โทรศพั ท์ ๐๘๗ – ๑๗๘๙๖๐๙
บทสมั ภาษณ์แมค่ รูผ่องศรี โสภา

การเรยี นขับซอในสมัยก่อนกับปัจจบุ ันจะมีความแตกต่างกัน ในสมัยก่อนไม่มีสื่อช่วยในการเรียนรู้
เช่นในปัจจุบัน สมัยก่อนตอ้ งใช้ความจาเป็นสาคัญ ปัจจุบันการขับซอได้รับความนยิ มเพ่ิมข้ึน ซึ่งส่วนใหญ่
จะเป็นงานเกี่ยวกับศาสนาเช่น งานปอยหลวง โดยแม่ครผู ่องศรีได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกบั การขับซอ
ให้กับนักเรียน นักศึกษาท่ีสนใจที่มาเรียนมาท่ีบ้าน ลูกศิษย์ของแม่ครูจะมีอายุต้ังแต่ ๑๐ ขวบข้ึนไป
ไม่ได้เรียนเป็นจริงเป็นจัง ซึ่งส่วนใหญ่มาเรียนไม่ได้เพื่อประกอบเป็นอาชีพ แต่เรียนเพื่อให้เป็น
ความสามารถพิเศษ โดยผู้ที่จะเป็นช่างซอจะต้องประกอบด้วยเสียง หน้าตา บุคลิกภาพ และมีปฏิภาณ
ไหวพรบิ ซงึ่ หากเป็นละครซอจะตอ้ งแสดงเก่งเข้าถึงบทบาท จึงจะทาใหเ้ ป็นท่ีนิยมชนื่ ชอบของผชู้ ม

แม่ครูผ่องศรีมีความภาคภูมิใจในรางวัล “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” เป็นอย่างยิ่ง
ท่ีสถาบันการศึกษาเห็นความสาคัญของภูมิปัญญา อยากให้หน่วยงานท้ังภาครัฐและสถาบันการศึกษา
ให้การสนับสนุนเพ่อื ให้องคค์ วามรู้เก่ียวกับการขับซอไดค้ งอยูต่ ลอดไป

๒๒

๕. แม่ครูปราณี พักผ่อน เกิดวันท่ี ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ที่อาเภอแม่อาย จังหวัด
เชียงใหม่ หลังจากจบช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๔ แม่ครูปราณีได้ไปเรียนการขับซอกับแม่ครูวิลัย บ้านม่วงคา
ท่ีบ้านข่วงสิงห์ ตาบลช้างเผือก อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และพ่อครูสมบูรณ์ ไชยทัศน์ ที่บ้าน
หนองสลีก ตาบลปากบ่อง อาเภอป่าซาง จังหวัดลาพูน จากนั้นจึงเร่ิมออกงานซอและร่วมรับงานแสดง
ซอกับพ่อครบู ุญตนั ไชยทัศน์ (บุญตันหนองไคร้) ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ได้รับการติดต่อจากหวั หน้าคณะละคร
ซอ ศรีสมเพชร ๒ เชียงใหม่ โดยรับบทนางเอกของละครซอมาโดยตลอด ซ่ึงได้สร้างชื่อเสียงให้แก่วงการ
ละครซอเป็นอย่างมาก หลังจากนายอุทัย พักผ่อน หัวหน้าคณะเสียชีวิต แม่ครูปราณี จึงได้สืบทอด
การเปน็ หวั หนา้ คณะมาจนถึงปัจจบุ นั

ท่อี ยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขท่ี ๔๙๘ / ๒๖ หมู่บา้ นสีวลี มีโชค – เชียงใหม่ ถนนวงแหวนรอบกลาง
แยกมีโชค – ศาลากลาง ตาบลสันผเี สอ้ื อาเภอเมอื ง จังหวดั เชยี งใหม่ ๕๐๓๐๐

โทรศัพท์ ๐๘๖ – ๑๑๗๒๖๗๓

บทสมั ภาษณแ์ มค่ รูปราณี พักผอ่ น
การเรียนการขับซอในอดีตและปัจจุบันไม่แตกต่างกัน เพราะเด็กสมัยน้ีเก่งด้านการอ่านกว่า

สมัยก่อน ซึ่งสมัยก่อนจะเน้นความจาเป็นหลัก ทานองในการซอจะมีหลากหลาย และที่ใช้ซอส่วนใหญ่
จะต้องได้อย่างน้อย ๔ ทานองคือ ต้ังเชียงใหม่ ละม้าย จะปุ และเงี้ยว ช่างซอควรจะมีคุณสมบัติท้ัง
รูปลักษณ์และเสียงประกอบกัน ซึ่งช่วงนี้จะมีงานชุก ต้ังแต่เดือน ๔ เหนือ (มกราคม) ไปจนถึงก่อนจะเข้า
ฤดูฝน ซึ่งช่วงน้ีงานตกเยอะกวา่ ปีก่อนเนือ่ งมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ต้องมีอาชีพเสริมจากอาชีพขับซอ
เพราะในช่วงฤดูฝนจะไม่ค่อยมีงาน ประกอบกับปัจจุบันแม่ครูปราณีอายุมาก จึงทาให้รับงานได้ไม่มาก
เท่ากบั อดีต และเด็ก ๆ สมัยน้ี จะเน้นการซอตามบทท่ีพอ่ ครแู ม่ครแู ต่งให้ ไมส่ ามารถแต่งเองได้ ซ่งึ การแต่ง
บทซอต้องเรียน และปัจจุบันจะเป็นการซอแบบประยุกต์ ตามความต้องการของเจ้าภาพท่ีจ้างไปขับซอ
โดยแม่ครูปราณีจะถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการซอด้วยการบันทึกเสียงให้ลูกศิษย์นาไปฝึก ตลอดจน
แตง่ บทขบั ซอให้ลูกศิษย์นาไปฝกึ หัดและตามทโี่ รงเรยี นหรอื หนว่ ยงานขอมา

แม่ครูปราณี พักผ่อน มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อรางวัลเพชรราชภัฎ – เพชรล้านนา รู้สึกเป็น
เกียรติอันสูงสุดแก่วงศ์ตระกูล ดีใจเป็นอย่างย่ิง อยากให้หน่วยงานต่าง ๆ ให้การสนับสนุนองค์ความรู้
เกย่ี วกบั การขับซอให้กบั เยาวชน เพ่ือใหม้ คี นรนุ่ ใหม่ได้สบื ทอดองค์ความรู้การขับซอต่อไป

๒๓

๖. แม่ครูบัวชุม จันทร์ทิพย์ เกิดวันที่ ๑๓ สิงหาคมคม พ.ศ.๒๕๐๑ ที่อาเภอเมืองเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยใจรักในศิลปะการแสดงซอมาตั้งแต่ยังเด็ก มารดาจึงนานางบัวชุมไปฝากกับพ่อครู
อานวย กลาพัด เพื่อให้ศึกษาค่าว ซอ และจ๊อย ถึงแม้พอ่ ครอู านวยจะไมไ่ ด้เปน็ ช่างซอ แต่กว้างขวาง
ในแวดวงช่างซอ จึงแนะนาให้ไปเรียนการขับจ๊อยซอกับแม่คาหน้อย เหล่าแมว จากนั้นยังได้ไปเรียน
การจ๊อยซอกับแม่ครูบัวตอง แก้วฟ่ัน (บัวตอง เมืองพร้าว) และได้ร่วมแสดงกับทีมงานอานวยโชว์อีก
ด้วย แม่ครูบัวชุมอยู่กับคณะอานวยโชว์ได้ ๗ ปี จึงออกไปรับงานเอง และร่วมแสดงกับคณะต่าง ๆ
เช่น คณะศรีสมเพชร ๑ คณะศรีสมเพชร ๒ คณะกล่ินเอื้องเสียงซึง คณะสายสัมพันธ์ และคณะ
ลูกแม่ปิง คร้ังหนึ่งคณะลูกแม่ปิงโดยการนาของพ่อบุญมี ป่าแดด ศิลปินในในคณะได้แยกตัวไปตั้งคณะ
ของตนเอง ทาให้ให้คณะลูกแม่ปิงขาดนักแสดงจึงต้องปิดตัวลง แต่ด้วยแม่ครูบัวชุมมีความผูกพันกับคาว่า
ลูกแมป่ ิง จึงได้ขออนุญาตพ่อบุญมี ป่าแดด ขอใช้คาว่า ลูกแม่ปงิ เป็นช่ือคณะของตนเองในปี พ.ศ.๒๕๑๔
จากประสบการณ์การเข้าร่วมแสดงกับคณะต่าง ๆ ทาให้แม่ครูบัวชุมเก็บเกี่ยวเทคนิคการแสดงมา
ผสมผสานและพฒั นาคณะลูกแม่ปงิ จนคณะลูกแม่ปงิ เป็นทร่ี ู้จักอย่างกว้างขวาง แต่ใช่ว่าหนทางการแสดง
จะราบรื่นเสมอไป ยังมีอุปสรรคมากมายท่ีแม่ครูบัวชุมได้พบประสบมา บางครั้งทาให้ท้อแท้จนถึงข้ันคิดจะ
ปิดวง แต่เม่ือย้อนไปถึงสมัยตอนที่แม่ขายหมู ๒ ตัว เพื่อนาเงินมาให้เรียนซอ ประกอบกับใจรักในการขับ
ขานเพลงซอและเป็นท่ีภาคภูมิใจของแม่ตลอดมา จึงล้มเลิกความคิดท่ีจะยุบวง และได้สัญญากับตัวเองว่า
จะขอเป็นช่างซอสืบสานศิลปะแขนงน้ีตลอดไป และได้เปิดรับศิลปินช่างซอท้ังรุ่นเก่าที่ร้างลาวงการไปแล้ว
และคนรุ่นใหม่เข้ามาในวงการซอพื้นเมือง จึงทาให้วงคณะลูกแม่ปิงกลับพลิกฟื้นข้ึนมาโด่งดังอีกคร้ังหน่ึง
มชี อื่ เสยี งในระดบั แนวหน้าของภาคเหนอื ด้วยเอกลักษณเ์ ฉพาะตัว

ท่ีอยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขท่ี ๑๑๓ / ๑ หมู่ท่ี ๒ ตาบลบ้านกลาง อาเภอสันป่าตอง จังหวัด
เชยี งใหม่ ๕๐๑๒๐

โทรศัพท์ ๐๘๙ – ๕๕๖๔๑๑๖

บทสัมภาษณ์แม่ครูบัวชุม จนั ทร์ทพิ ย์
แมค่ รูบัวชุมรูส้ ึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างย่ิงท่ไี ดร้ ับรางวลั เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ทาใหส้ ังคม

ได้รับรู้ถึงความสาคัญของศิลปินพื้นบ้านและทาคุณประโยชน์ต่อสังคม เพราะรางวัลน้ีจะเน้นการทา
คุณประโยชน์ต่อสังคมและการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชน โดยลูกศิษย์ท่ีมาเรียนส่วนใหญ่มุ่งจะเป็น
ศลิ ปิน ซึ่งตอ้ งใชเ้ วลาเป็นอย่างมาก ตลอดจนความมุ่งม่ัน อย่างนอ้ ยใช้เวลาประมาณ ๒ ปี ถึงจะออกรับงาน
ได้ เพราะปัจจุบันมีสื่อการเรียนการสอนที่ช่วยในการเรียนรู้มากกว่าอดีต ซึ่งแม่ครูบัวชุมจะเรียนตัวต่อตัว
กับแมค่ รู โดยเรมิ่ จากการเรยี นในเพลงอื่อ และเพลงพม่า เพราะเป็นทานองทีง่ า่ ย หากเริ่มจากทานองทยี่ าก
จะทาให้เด็ก ๆ กลัว ไม่กล้าเรียน ส่วนทานองตั้งเชียงใหม่เป็นทานองที่ยาก เหมาะกับเด็กท่ีชอบการขับซอ
มาก ๆ และมีพื้นฐานแล้ว ซึ่งลกู ศิษย์ของแม่ครูมีมากกว่า ๑๐ คน ที่สามารถออกงานไดแ้ ล้ว และแม่ครไู ด้
ไปสอนในหลักสูตรของโรงเรียนสันป่าตอง และได้สอนท่ีบ้านซ่ึงเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้การขับซอ
โดยลูกศิษย์ของแม่ครูจะสามารถแต่งบทขับซอได้เอง ซ่ึงเป็นเอกลกั ษณ์ของลูกศษิ ย์แม่ครูบวั ชมุ โดยแมค่ รู
จะสอนและมอบบทซอให้ลูกศิษย์แต่ละคน แต่งโดยดูจากอัตลักษณ์ของแต่ละคน ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเรียน
บทซอที่เหมือนกัน แต่ละคนจะเรียนบทซอท่ีแตกต่างกันตามลักษณะรูปร่างของตนเอง ทั้งนี้แม่ครูบัวชุม

๒๔

อยากให้ปลูกฝังเยาวชนต้ังแต่ต้น โดยสอนเด็กโดยเร่ิมตน้ จากช้ันประถมศกึ ษาท่ีสามารถอ่านหนังสือได้ เร่ิม
จากชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๓ และอยากฝากให้หน่วยงานท้ังสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐให้การ
สนับสนุนองค์ความรู้การขับซอให้คงอยู่คู่แผ่นดินลา้ นนา โดยให้เชิญศิลปินพื้นบ้านไปแสดงในงานประเพณี
ต่าง ๆ ของจังหวดั และนาเข้าสหู่ ลักสตู รในระบบการศึกษา

๒๕

๗. แม่ครูสุจิตรา คาขัติ เกิดวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ที่บ้านทุ่งแดง ตาบลโหล่งขอด
อาเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เม่ือจบการศึกษาระดับชั้นประถมปีท่ี ๔ แม่ครูสุจิตราได้เรียนการขับซอ
พนื้ เมืองกับแม่ครบู ุญป๋ัน บ้านปากทางสลวง จากนัน้ ได้เรียนกบั แมค่ รูจนั ทรส์ ม สายธารา และออกแสดง
ในงานต่าง ๆ กับแม่ครูบุญป๋ัน ต่อมาได้ร่วมอยู่กับคณะละครซอพวงพยอม โดยมีนายทา พักผ่อน
เป็นหัวหน้า ต่อมาได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายในนามบริษัทศรีสมเพชรธุรกิจโฆษณา เลยเปลี่ยนชื่อเป็น
คณะศรีสมเพชร ๒ โดยแม่ครูสุจิตรา รับบทเป็นตัวตลกโดยใช้ช่ือว่า อีต่วม แสดงคู่กับพ่อครูสุรินทร์
หน่อคา ท่ีแสดงในนาม ไอ่เก๋า ทาให้ละครซอคณะศรีสมเพชร ๒ มีชื่อเสียงโด่งดังมากได้มีโอกาสไปแสดง
ตามในโรงหนังต่าง ๆ และออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑ ในสมัยน้ัน ทาให้เป็นท่ีรู้จักและ
มีชื่อเสยี งทัว่ ภาคเหนอื ต่อมาแมค่ รูสจุ นิ ตรา ได้ร่วมกบั พ่อครูสรุ นิ ทร์ หน่อคา จดั ตั้งคณะ เกา๋ - ต่วม

ที่อยู่ท่ีติดต่อได้ บ้านเลขที่ ๓๐๐ / ๖๐ หมู่บ้านแกรนด์วิว อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
๕๐๐๐๐

โทรศัพท์ ๐๘๙ – ๘๕๔๑๗๒๙
บทสมั ภาษณแ์ ม่ครสู จุ ิตรา คาขตั ิ

การเรียนขับซอในอดีตแม่ครูจะสอนดว้ ยการซอให้ฟังแล้วเราจะต้องจาคาซอให้ได้ ซ่ึงการซอแต่ละ
คร้ังของแม่ครูจะไม่ซ้ากันเลย และทุกคร้ังท่ีแม่ครูออกงานซอ ลูกศิษย์จะต้องไปน่ังฟังเพ่ือดูวิธีการซอ
โดยลักษณะน้ีเป็นการสอนของคนโบราณที่จะไม่สอนตรง ๆ แต่จะสอนด้วยการปฏิบัติให้ดู ซึ่งต่างจาก
ปัจจุบันท่ีมีบทซอให้ท่องจา โดยจะเรียนทานองซอเพลงเง้ียวก่อน จากนั้นจะเป็นต้ังเชียงใหม่ จะปุ และ
ละมา้ ย หากไดท้ านองตัง้ เชยี งใหมจ่ ะไดเ้ รยี นทานองอื่น ๆ ไดง้ า่ ย เพราะทานองต้ังเชยี งใหม่จะยากทสี่ ดุ

แม่ครูสุจิตรา คาขัติ รู้สึกภาคภูมิใจและดีใจท่ีได้รับรางวัล “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” และ
อยากให้ช่างซอรุ่นหลังตัง้ ใจทางานและช่วยเหลืองานสังคม

๒๖

๘. แม่ครูลาจวน ศรีกัญชัย เกิดวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๐ ที่บ้านป่าไหน่ ตาบลป่าไหน่
อาเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เน่ืองจากมีความสนใจการขับซอมาตั้งแต่เด็ก คุณพ่อจึงนามาฝากเป็น
ลูกศิษย์กับแมค่ รูคาปนั เงาใส บา้ นทุ่งหลวง ตาบลทงุ่ หลวง อาเภอพรา้ ว จังหวัดเชียงใหม่ ซ่ึงขณะนนั้ แมค่ รู
ลาจวนอายุ ๑๓ ปี โดยอยู่กินท่ีบ้านแม่ครูคาปันตลอด ได้ช่วยแม่ครูทางานบ้านทุกอย่าง ต้ังแต่ตักน้า
เลี้ยงหมู ขณะท่ีทางานให้แม่ครูก็ท่องตาราไปด้วย อยู่กับแม่ครูได้ประมาณ ๒ – ๓ ปี พอเรียนรู้เรื่อง
ทานองได้เกือบทุกทานองแม่ครูก็ทดสอบด้วยการรับงานแสดง ในนาม “ลาจวนป่าไหน่” ปรากฏว่าคนดู
ได้ฟังและดูลีลาการขับซอต่างก็ติดใจชอบในความสามารถ จึงมีงานแสดงมากมาย ในปี พ.ศ.๒๕๑๖
พ่อครูบุญตัน วังปาน ซึ่งเป็นศิลปินท่ีมีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้น ขาดคู่ถ้อง (การขับซอจะต้องมีสองคน
ชายและหญิง เพื่อจะได้ซอตอบโต้กัน) จึงขออนุญาตจากแม่ครูคาปัน ซ่ึงแม่ครูเห็นว่าเป็นโอกาสท่ีลูกศิษย์
จะได้แสดงกับศิลปินชื่อดัง จึงได้ฝากให้ไปอยู่กับคุณพ่อศรีนวล เหมืองจี้ ออกแสดงซอกับพ่อครูบุญตัน
จนมีช่อื เสียงเปน็ ท่ีร้จู กั มากขึ้น ตอ่ มาแม่ครูลาจวนอยากจะแสดงละครซอ จึงลาออกจากคณะบญุ ตนั มาอยู่
กับคณะลูกแม่ปิง ตอนน้ันมีคุณพ่อบุญมี ใจสงวน เป็นหัวหน้า มีโอกาสซอคู่กับพ่อครูดวงจันทร์ วิโรจน์
และได้ขับซอคู่กับพ่อครูบุญศรี รัตนัง มาโดยตลอด ต่อมาได้มาซอคู่กับพ่อครูเรวัฒน์ พรมรักษ์ จนถึง
ปัจจุบัน

ทอ่ี ยทู่ ี่ติดตอ่ ได้ บ้านเลขที่ ๘ / ๑ ซอยอนบุ าลฮดั สัน ซอย ๒ ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัด
เชียงใหม่ ๕๐๒๐๐

โทรศพั ท์ ๐๘๖ – ๑๗๙๘๔๒๕

บทสัมภาษณแ์ ม่ครูลาจวน ศรกี ญั ชยั (เสียชวี ติ )
ในอดีตการเรียนขับซอ พอ่ ครู – แม่ครูจะให้บทซอมาท่องจนกว่าจะจาได้ และจะให้มาอีกหลังจาก

ท่ีจาบทซอที่ให้ก่อนหน้าน้ีได้แล้ว การเรียนในอดีตจะยากกว่าปัจจุบันมาก เพราะปัจจุบันมีสื่อช่วยในการ
เรียนมากมายเช่น ซีดี เคร่ืองบันทึกเสียง ซ่ึงการท่ีจะเป็นช่างซอได้น้ันต้องมีทั้งพรสวรรค์และพรแสวง
ตลอดจนรูปสมบัติประกอบ เช่น มีหน้าตาดี บุคลิกภาพดี เสียงดี แต่ช่างซอรุ่นใหม่จะต่างจากช่างซอ
รนุ่ เกา่ ด้วยชา่ งซอปัจจบุ นั นอ้ ยคนทจ่ี ะแต่งบทซอสาหรับขับซอเองได้ ส่วนใหญ่จะใช้บทซอทพี่ อ่ ครู – แม่ครู
แต่งให้ แต่สาหรับช่างซอรุ่นเก่าจะสามารถแต่งบทซอขับเองได้ ท้ังน้ีเนื่องมาจากประสบการณ์การได้เห็น
พ่อครู – แม่ครูซอ และประสบการณ์ท่ีตนเองได้ประสบมา จึงทาให้สามารถใช้ปฏิภาณไหวพริบ
เกบ็ เร่ืองราวทไ่ี ด้เห็นได้ประสบพบเจอ ตลอดจนเร่อื งราวในสังคม มาแต่งเป็นบทซอได้

แม่ครูลาจวน ศรีกัญชัย มีความรู้สึกภาคภูมิใจและดีใจท่ีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่มอบรางวัล
“เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” ให้กับศิลปินพื้นบ้าน โดยแม่ครูได้ตอบแทนด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้
ให้กับเยาวชนและผู้สนใจในการขับซอ แม้จะไม่ค่อยมีเวลาด้วยมีงานชุกตลอดปี แต่แม่ครูก็พยายามท่ีจะ
ถ่ายทอดองค์ความรู้การขับซอให้กับเยาวชน เพ่ือให้เกิดการสืบสานจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยการนาลูกศิษย์ไปด้วย
ในการออกงานซอแต่ละครั้ง เพ่ือให้ลูกศิษย์ได้เห็นวิธีการซอ นอกเหนือจากการให้บทซอไปท่องแล้ว
ซ่ึงวธิ กี ารน้ีเปน็ วิธีการสอนแบบปฏิบตั ิให้เหน็

๒๗

๙. พ่อครูอินตา เลาคา เกิดวันท่ี ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๖ ณ บ้านตีนธาตุ ตาบลป่าไหน่
อาเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี พ่อครูอินตาได้ไปสมัครเรียนศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
(ซอ) กับแม่ครูคาปัน เงาใส ซึ่งพ่อครูอินตามีพรสวรรค์ในการประพันธ์บทซอ จึงได้ช่วยแม่ครูคาปัน
ประพันธ์บทซอต่าง ๆ พร้อมรวบรวมเพื่อนฝูงซ่ึงเป็นลูกศิษย์แม่คูคาปันต้ังวงละครซอขึ้นช่ือว่า คณะพร้าว
ลานนา โดยแม่ครูคาปันได้มอบหมายให้พ่อครูอินตาเป็นผู้ควบคุมวงและควบคุมการแสดง แต่หลังจาก
แม่ครคู าปันเสยี ชวี ิต ทาให้วงละครซอคณะพร้าวลานนาล้มเลิกไป

ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ พ่อครูอินตา เลาคา ได้เป็นแกนนาในการรวบรวมศิลปินพ้ืนบ้านล้านนาและ
จัดตั้งชมรมสืบสานตานานซอ ต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมสืบสานตานานปี่ – ซอ
นอกจากนี้ พอ่ ครอู นิ ตายงั ไดจ้ ัดต้งั ศูนย์การเรยี นรซู้ อ – ปจ่ี มุ เพื่อสอนการขบั ซอให้กับผู้สนใจทวั่ ไป

ท่ีอยู่ท่ีติดต่อได้ บ้านเลขที่ ๘๑ / ๑ หมู่ ๑๐ ตาบลดอนแก้ว อาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
๕๐๑๘๐

โทรศพั ท์ ๐๘๙ – ๕๕๖๖๙๖๗

บทสมั ภาษณพ์ อ่ ครอู นิ ตา เลาคา
ในการขับซอ ช่างซอแต่ละคนจะมีเทคนิคการขับซอเฉพาะตวั ซงึ่ เทคนคิ นจ้ี ะต้องเรียนจากการหา

ประสบการณ์จากพ่อครูแม่ครูท่ีสอน และการไปดูตัวอย่างการซอของช่างซอคนอ่ืนๆ เพราะแต่ละคนจะมี

ความรู้ ความสามารถแตกต่างกันไป บางทีพ่อครูก็ว่าสอนไปเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังมีท่ีจะต้องศึกษาอีกมาก

เราจะต้องให้เด็ก ๆ ไปศึกษาหาความรู้เพ่ิมเติม ต้องดูเทคนิคต้ังแต่พ่อครูแม่ครูแสดง และรุ่นหนุ่มแสดง

ซ่ึงช่างซอจะต้องชอบฟัง ชอบดูการขับซอ หากจะเอาดีทางด้านน้ี โดยจะฟังซอได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าช่างซอ

นนั้ จะซอดหี รือไม่ สนุกหรือไม่สนกุ ก็ต้องฟัง เพอ่ื เอามาปรับใชก้ ับตนเอง ซ่ึงพ่อจะสอนลกู ศษิ ย์วา่ ให้ฟังการ
ซอของทุกคน คนน้ีซอไม่สนุก ทาอย่างไรถึงไม่สนุก คาแบบไหนไม่สนุก เดินทานองหรอื การละเล่นไม่สนุก

เราต้องดูไวเ้ ป็นตัวอย่าง และไม่เลยี นแบบ ทาอย่างน้ีไมส่ นุก เราดยู ังไม่สนกุ ถา้ เราไปแสดงอย่างน้ัน มันกไ็ ม่

สนุก ซึ่งปัจจุบันจะมีมีการแสดงแตกต่างจากอดีต ซ่ึงพ่อครูจะสังเกตจากการแสดงของตนเองว่า เราแสดง

เรื่องนี้ ซอเรื่องน้ี ผู้ฟังชอบหรือไม่ บางบ้านอาจจะชอบไม่เหมือนกัน บางบ้านอาจจะชอบตลก บางบ้าน

๒๘

ชอบสาระ อย่างเช่น ซอปอยเข้าสังข์ บางบ้านอาจจะชอบฮ่าประวัติเจ้าภาพ บางบ้านก็ฮ่าให้สนุก ๆ

เราจะต้องดู เวลาเราซอ ตาเราจะต้องมองคนดูไปด้วยเช่น ถ้าเขาไม่สนใจหรือไม่สนุก จะมีอากัปกิริยา

ท่ีแสดงให้เห็น เราก็ต้องเปล่ียนบุคลิกหรือการแสดงเสียใหม่ให้ผู้ชมกลับมาฟังเรา ถ้าเราจับจุดได้ก็จะสนุก

ท้ังคนแสดงและคนฟัง โดยปัจจุบันจะมีการแสดงท่ีแตกต่างจากในอดีต เม่ือก่อนจะซออย่างเดียวท้ังวัน

ทั้งคืน ไม่มีการพูดเล่นหรือเล่นกับคนดู เวลาขึ้นบนเวที แม้แต่จะยกมือสวัสดีก็ยังไม่มี จับไมโครโฟนได้ก็จะ

ซออย่างเดียว แต่ในปัจจุบันน้ีทาแบบนั้นไม่ได้ จะเป็นช่างซอท่ีไม่ช่างอู้ช่างจาไม่ได้ จะต้องมีเทคนิค

ในการพูดหรือเล่นกับคนดู เพื่อสร้างความคุ้นเคยเป็นกันเองที่สุดเช่น เวลาเราเดินข้ึนผามซอ เห็นคนเฒ่า

เราก็จะพูดว่า “มาแต่เช้าแล้วหรือแม่ กินข้าวเมินไปหน่อย” อู้อย่างนี้นะจะเป็นกันเองกับเขา ถ้าเฮาบ่อู้

เตียวตึก ๆ ขึ้นไปผามซอ คนดูก็จะไม่เป็นกันเองกับเรา เราต้องสร้างความคุ้นเคยเสมือนเราเป็นคนใน

ครอบครวั กบั ผฟู้ งั เพ่ือให้สามารถเขา้ ถึงผ้ชู ม

การฟังซอในปัจจุบันกับอดีตมีความแตกต่างกัน ปัจจุบันค่อนข้างจะอ่อน แต่ก็มีบางท้องถ่ินที่ยัง
เปน็ ที่นยิ ม แตท่ างเชียงราย ลาปาง ยงั เป็นท่ีนิยม ทางเชียงใหม่บา้ นเราก็ค่อนข้างออ่ นความนิยมไปสกั นิด
ซึ่งคนฟังซอจะมีเฉพาะกลุ่ม ดู ๆ แล้ว จะค่อนข้างมีอายุ ซ่ึงพ่อครูกาลังปรับปรุงวิธีการขับซอ เม่ือก่อนนี้
การซอจะมคี าหยาบโลน ละออ่ นวยั รุ่นเขาไม่ชอบฟัง เราก็ต้องมาปรับเปลี่ยนเป็นแบบสองแงส่ องง่าม บห่ ้ือ
มีหยาบ อนั น้ดี ึงเขาได้ และพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่งคือ ปรับคาซอให้เข้ากบั สมยั นิยม โดยนาคาท่ีเป็นท่นี ิยมใช้
กันในหมู่วัยรุ่น มาใช้ในการซอ แต่ทานองของซอยังคงเป็นเช่นในอดีต เปลี่ยนคาให้ทันสมัยเอาภาษาวัยรุ่น
เข้ามาใส่เช่น ก๊ิบเก๋ แอ๊บแบ๊ว ซ่ึงคนเฒ่าน่าซ่ือ แต่วัยรุ่นจะมีปฏิกิริยาตอบโต้กับเรา โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้
ช่างซอจะต้องเก่งเพลงลูกทุ่งด้วย ถ้าไม่เก่งเพลงลูกทุ่งจะไม่ไหว ต้องมีผสมกัน เพราะตอนเย็นกลุ่มแม่บ้าน
บ่เอาล่ะ บ่ฟังซอแล้ว จะฟังเพลง จะเต้น เราก็ต้องมีให้เขา ซึ่งเม่ือก่อนไม่มีจะมีแต่การซออย่างเดียว
อย่างวันน้ีเราจะซอ เราต้องไปต้ังแต่เมื่อวานแล้ว ต้องเดินทางไกล เพราะช่างซอสมัยก่อนไม่มีรถส่วนตัว
เด๋ียวน้ีไปป๊ิกไปป๊ิกได้ โดยในการแต่งบทซอ พ่อได้เอาเพลงมาดัดแปลง เป็นเพลงตลก ๆ เข้ามาร่วมกับ
การซอ โดยร้องโต้ตอบกับช่างซอหญิง เพื่อให้ผู้ชมได้สนุกสนาน โดยมีกลอง ฉ่ิง ฉาบ ประกอบการแสดง
ซ่ึงช่างปี่จะต้องร่วมแสดงด้วย โดยช่างซอจะต้องปรับทัศนคติให้ทันกับยุคสมัยที่เปล่ียนแปลงและผู้ชม
พ่อครูคดิ วา่ การซอจะหายไปค่อนข้างจะยากอยู่ เพราะการซอยังเป็นทน่ี ยิ มของทอ้ งถิ่นเช่น ในช่วงเดอื น ๖ ,
๘ เป็ง ๙ เป็ง ซึ่งเป็นวันสาคัญของชุมชน แต่ละชุมชนก็จัดเหมือนกันทาให้แย่งช่างซอกัน จะเห็นว่า
มชี ่างซอเยอะ แต่ช่างซอทม่ี ีคณุ ภาพ เป็นท่ีนยิ มของผฟู้ ังมีค่อนข้างน้อย เพราะช่างซอยคุ ใหมจ่ ะเปน็ ชา่ งซอ
ประเภทอุกแก๊สคอื ยังไม่เก่งจริง ก็ออกแสดงแลว้ อยา่ งพอ่ จะเรียนกับแม่ครู โดยอยู่กบั แมค่ รูเป็นเดอื นเป็นปี
หลังจากกินข้าวแลงแล้ว ไม่มีงานแล้ว แม่ครูจะให้น่งั ท่องบทซออย่างเดียว และหัดซอจนเก่ง สามารถซอได้
คนเดยี วท้ังวัน จึงจะให้ออกแสดง แตช่ ่างซอบะ่ เดย๋ี วนี้ได้บทสองบท ซอได้ชัว่ โมงสองช่ัวโมงก็ออกแสดงแล้ว
เพราะตะก่อนช่างซอจะซอกันจริง ๆ ไม่มีการพูดหรือเพลงมาเสริม ซออย่างเดียว แต่เดี๋ยวน้ีมีการพูดหรือ
ร้องเพลงร่วมกบั การซอ ซง่ึ ชา่ งซอในปจั จบุ ันจะตอ้ งไดห้ ลากหลายทงั้ การขับซอ การร้องเพลงลูกทุ่ง

๒๙

พ่อครูได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการขับซอให้กับลูกศิษย์มากมาย แต่ที่สามารถออกแสดงได้
จะมีไม่มาก เพราะบางคนตามเพื่อนมา นึกว่าเรียนการขับซอจะง่าย แต่ลูกศิษย์ของพ่อท่ีเก่ง ๆ ดัง ๆ
ก็มีมากประมาณ ๒๐ กว่าคน ที่ได้บันทึกเสียง ซ่ึงพ่อจะถามผู้ที่มาเรียนว่าจะมาเรียนเพ่ือเป็นการศึกษา
หรือใช้เป็นอาชีพ ซ่ึงหากเป็นอาชีพจะสอนจากยากไปหาง่าย หากเพื่อการศึกษาจะสอนจากง่ายไปหา
ยาก เพราะทานองซอมี ๑๒ ทานอง แต่ละทานองไม่เหมือนกัน สอนให้รู้จักทานอง รู้จักคาสัมผัส
โดยพ่อครูได้สอนตามท่ีได้รับเชิญให้ไปสอนในโรงเรียนเช่น โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม และท่ีบ้านซ่ึงได้เปิด
เป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ ท้ังสิ้น ทั้งน้ีพ่อครูได้สอนโดยไม่จากัดจานวนผู้เรียน
แม้หนึ่งคนก็สอน เพราะต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับลูกศิษย์ นอกจากนี้ยังให้คาปรึกษากับลูกศิษย์
ท่ีจบไปแล้ว แต่บางครั้งติดขัดในบทซอหรือมาขอปรึกษาเก่ียวกับการซอ โดยพ่อครูไม่ได้สอนแต่การสอน
เท่านั้น ยังสอนเก่ียวกับขันต้ังการซอว่า มีอะไรบ้าง และมีความหมายอย่างไร ซึ่งช่างซอท่ีดีจะต้อง
มีไหวพรบิ ปฏิภาณและสามารถแตง่ บทซอได้

ละครซอกับการขับซอจะแตกต่างกัน โดยละครซอใช้คนเยอะเหมือนกับลิเก มีตัวละครเยอะท้ัง
ตัวเอก ตัวพระ ตัวนาง ซ่ึงค่าจา้ งในการแสดงของละครซอจะแพงกว่าการซอ ในการจ้างไปขบั ซอสว่ นมาก
จะเปน็ งานปอย สรงน้าพระธาตุ ทุกงานทัง้ งานมงคลและอวมงคล ซอได้หมด สว่ นมากที่ไปบ่อย ๆ จะเป็น
งานมงคลเช่น งานสรงน้าพระธาตุ ปอยวัด ฯลฯ ส่วนงานศพก็จะมี ทางอาเภออมก๋อยจะนิยม และ
ทางอาเภอแม่สอด จะมีงานปอยเข้าสังข์ จะเป็นประเพณีของเปิ้นไม่เหมือนบ้านเฮา ถ้าจะทาน
ปอยเข้าสังข์ เปิ้นจะรอมีเงิน เป้ินตานแต้เลย จะตายก่ีคนหรือกี่ปีก็ได้ บางคนตายเป็นสามสิบสี่สิบปี
โดยกลางวันจะเป็นการซอธรรมดา แต่เม่ือคืน หลังจากกินข้าวแลงแล้ว ช่างซอจะต้องซอเชิญผีตาม
อย่างเดียว ลูกหลานเขามีกี่คน และมีการเข้าทรงคนที่ตาย ถามว่าไปอยู่ไหน เป็นอย่างไร ซึ่งหากผีเข้าทรง
แล้วก็จะเลิกซอ ถ้าไม่ลงทรง ตี ๑ ตี ๒ ก็ซอไปเร่ือย ๆ จนกว่าจะเข้าทรง บางท่ีคิดคาซอไม่ทัน บางทีซอ
แปบ๊ เดยี วกม็ าแล้ว

รางวัลเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา เป็นความภาคภูมิใจ เพราะไม่มีเงินเดือน แต่เป็นสิ่งที่สังคม
ยอมรับว่าเราได้ช่วยเหลือสงั คม และถ่ายทอดองค์ความร้ใู หก้ ับเยาวชนอันเป็นการสืบทอดองค์ความรทู้ ่ีมใี ห้
คงอยู่กับสังคม โดยไม่สูญหายไปกับกาลเวลา ซึ่งรางวัลนี้ส่งผลต่อการจ้างงาน เสมือนกับเป็นการรับรอง
จากสังคม ทาใหผ้ จู้ ้างงานเชื่อมนั่ ในคณุ ภาพของช่างซอ

อยากให้หน่วยงานท้ังภาครัฐและมหาวิทยาลัยช่วยสนับสนุนการดาเนินงานของสมาคม “ป่ี – ซอ
ล้านนา” และการได้รับรางวัล “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” เป็นสิ่งท่ีดี เป็นการสร้างขวัญและกาลังใจ
ให้กับช่างซอ ได้มีพลังในการสร้างสรรค์ผลงานและสืบทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการซอให้คงอยู่กับสังคม
ลา้ นนาตลอดไป

๓๐

๓๑

๑๐. แม่ครูบัวตอง แก้วฝ้ัน เกิดวันท่ี ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๑ ที่บ้านห้วยงู ตาบลแม่ป๋ัง
อาเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มจากการที่พ่ออุ้ยฟู แสนพันธ์ ได้แต่บทซอเร่ืองไก่น้อยดาววี ทานอง
เพลงอ่ือ ให้แมค่ รบู ัวตอง ซึ่งขณะนั้นอายุ ๘ ปี ไปรว่ มแสดงในงานวันเด็กและกจิ กรรมต่างๆ ที่โรงเรยี นและ
หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น จากน้ันพ่ออุ้ยฟู ได้พาไปฝากเรียนการขับซอกับแม่ครูคาปัน เงาใส เรียนได้ ๓ ปี
พ่ออุ้ยฟู ได้พาไปฝากตัวกับพ่อสวน อิ่นคา ซ่ึงเป็นช่างปี่ อยู่ได้ ๒ ปี จึงได้ย้ายไปอยู่กับพ่อมี ใจสว่าง ช่างปี่
และรบั แสดงซอเร่อื ยมา จากน้นั ได้ตง้ั คณะซอเปน็ ของตนเองในชื่อ คณะบวั ตองเมอื งพร้าว

ท่ีอยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ ๑๔ / ๑ หมู่ที่ ๗ ตาบลป่าแดด อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
๕๐๑๐๐

โทรศพั ท์ ๐๘๖ – ๙๑๘๓๔๗๓
บทสัมภาษณแ์ ม่ครูบัวตอง แก้วฝ้ัน

ในอดีตการเรียนขับซอนั้น แม่ครูจะให้บทซอมาท่องจนกว่าจะจาได้ จากนั้นจะให้ซอให้ฟัง
โดยแม่ครจู ะเคาะจังหวะให้ หลังจากซอได้ตรงตามจังหวะท่ีแมค่ รูเคาะแล้ว แม่ครูจะให้ซอเข้ากับปี่ ซ่ึงเป็น
ปี่สด แตป่ ัจจบุ นั จะมีสื่อการสอนทีท่ ันสมัย จงึ ทาใหก้ ารเรยี นในปัจจบุ ันง่ายกว่าในอดีต จึงทาให้การเรียนซอ
ในปัจจุบันใช้ระยะเวลาในการเรียนน้อยกว่าอดีต บางคนเรียนได้ ๑ – ๒ เดือนก็สามารถรับงานซอได้แล้ว
ซึ่งในอดีตกว่าแม่ครูจะได้ออกงานใช้เวลากว่า ๓ ปี และในอดีตการเรียนซอจะต้องไปอยู่บ้านแม่ครู
ชว่ ยแมค่ รูทางานในช่วงเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนกจ็ ะเรยี นการซอ

แม่ครูบัวตอง แก้วฝ้ัน มีความภาคภูมิใจในรางวัล “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” เป็นอย่างยิ่ง
และดีใจที่หน่วยงานให้ความสาคัญกับศิลปินพ้ืนบ้าน และจากการที่แม่ครูได้รับรางวัลเพชรราชภัฏ –
เพชรลา้ นนา ทาให้มผี สู้ นใจในการขับซอเข้ามาเปน็ ลูกศษิ ย์ของแม่ครมู ากข้ึน ซง่ึ แมค่ รูจะเน้นการสอนทีใ่ ห้
ลูกศิษย์สามารถขับซอได้อย่างถูกต้องและถูกจังหวะ ทานองตามประเพณี ตลอดจนการแต่งกาย
ในการแสดงทถ่ี ูกกาลเทศะ แต่ละงานทไ่ี ปแสดง โดยสอนทงั้ วาจาและการปฏบิ ัตใิ ห้เหน็

๓๒

๑๑. พ่อครูอรรณพ ปริญญาศิลป์ เกิดวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๕ ที่บ้านท่ามะเก๋ียง ตาบล
สันทราย อาเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันในนาม พ่อครูมานพ เมืองพร้าว โดยเร่ิมเรียน
การขับซอในปี พ.ศ.๒๕๐๙ และเร่ิมรับงานซอ ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ จนถึงปัจจุบัน พ่อครูมานพมีผลงาน
เผยแพร่ออกส่สู งั คมมากมาย อาทิ ซอเรือ่ งศีลธรรม ซอเรอื่ งสมุ าครวั ตาน

ที่อยู่ท่ีติดต่อได้ บ้านเลขที่ ๕๓ / ๑ หมู่ท่ี ๒ ตาบลข้ีเหล็ก อาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
๕๐๑๘๐

โทรศพั ท์ ๐๘๖ – ๑๙๔๘๒๓๔
บทสัมภาษณ์พ่อครูอรรณพ ปริญญาศิลป์ (มานพ เมืองพร้าว)

ในอดีตการเรยี นขับซอ แมค่ รู – พ่อครจู ะบอกบทซอให้ลกู ศษิ ยจ์ ดและทอ่ งตามท่ใี หจ้ นจาได้ พร้อม
กาหนดเวลาในการมาท่องให้แม่ครูฟัง โดยแม่ครูจะเคาะให้จังหวะ หากท่องไม่ได้ แม่ครูจะให้กลับไปท่อง
จนกว่าจะจาแล้วมาท่องให้ แม่ครูฟังอีกคร้ัง หากจาได้แล้ว แม่ครูก็จะให้บทใหม่ไปท่อง ทาเช่นนี้ไป
เร่ือย ๆ จนเมื่อถึงเวลาที่แม่ครูเห็นว่าจะสามารถออกรับงานได้แล้ว ก็จะให้ออกรับงาน ท้ังนี้ เม่ือแม่ครู
ออกงานขับซอก็จะพาลูกศิษย์ไปด้วย เพ่ือให้ลูกศิษย์ดูวิธีการซอ การแสดงต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้าง
ประสบการณ์ ซ่ึงในบางครั้งอาจจะให้ลูกศิษย์ข้ึนซอด้วย เห็นได้ว่าการเรียนขับซอในอดีตจะเน้น
การท่องจาเป็นสาคัญ ซึ่งต่างจากปัจจุบนั ที่มีส่ือการเรียนที่ทันสมัย จึงทาให้การเรยี นขบั ซอในปัจจบุ ันง่าย
กว่าในอดีต ซึ่งพ่อครูมานพจะเน้นเร่ืองพ้ืนฐานเป็นหลัก โดยจะสอนให้ลูกศิษย์รู้จักทานองและการจับ
จังหวะให้ถูกต้อง ซึ่งพ่อครูได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การขับซอให้กับลูกศิษย์อย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งลูกศิษย์
ออกเป็น ๒ กลุ่มคือ เรียนเพื่อเป็นความสามารถพิเศษ และเรียนเพ่ือเป็นอาชีพ โดยพ่อครูจะใช้วิธีการ
เดียวกบั ที่พอ่ ครูไดเ้ รยี นมาดว้ ยการสรา้ งประสบการณใ์ ห้กบั ลูกศิษย์ ซงึ่ เป็นการสอนด้วยการปฏิบตั ิ

พ่อครูมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติกับตนเองและครอบครัวเป็นอย่างย่ิงที่ได้รับรางวัล
“เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” และเห็นว่าจะต้องทาตัวให้มีคุณค่าสมกับรางวลั ท่ีได้รบั ด้วยการสร้างสรรค์
ผลงานและเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเยาวชน ได้เกิดการอนุรักษ์สืบสานการขับซอให้คงอยู่คู่สังคมตลอดไป
พร้อมกันนี้ อยากให้สถาบันการศึกษาในแต่ละระดับชั้นได้ช่วยกันดูแล สืบสานศิลปวัฒนธรรม ซ่ึงจะเป็น
การส่งเสริมและส่งตอ่ ซง่ึ กนั และกนั

๓๓

๑๒. พ่อครูเฉลิมเวศน์ อูปธรรม เกิดวันท่ี ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๕ ที่อาเภอสันป่าตอง
จังหวัดเชียงใหม่ พ่อครูเฉลิมเวศน์เป็นท่ีรู้จักกันในวงการซอพื้นเมืองว่า สีหมื่น เมืองยอง เป็นผู้ที่มี
ความรู้ความสามารถด้านการขับขานจ๊อย ซอ การประพันธ์บทซอทานองต่าง ๆ การประพันธ์เพลง และ
โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน โดยมีผลงานที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนมากมายอาทิ ซอยาเสพติด ซอเถร
ประวตั ิพระสุนทรปรยิ ตั ิวิกรม ซอเถรประวัตพิ ระธรรมสิทธาจารย์

ท่ีอยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขท่ี ๔๘ / ๒ ถนนทิพย์เนตร ตาบลหายยา อาเภอเมือง
จังหวดั เชียงใหม่ ๕๐๑๐๐

โทรศัพท์ ๐๘๑ – ๙๕๐๖๙๐๖
บทสัมภาษณพ์ ่อครูเฉลมิ เวศน์ อูปธรรม

พอ่ ครูเฉลิมเวศน์ อูปธรรม เร่ิมเรียนการขับซอด้วยตนเองเมอ่ื คร้ังยงั เปน็ สามเณร ด้วยการอดั เสยี ง
การซอจากวิทยุ แล้วนาไปหัดท่องและหัดซอเขา้ จังหวะ ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ พ่อครูเฉลิมเวศน์ได้ไปเรียนการ
ขับซอตามระบบของครูซอ ทาให้รู้จักใช้เสียงได้ถูกตามทานอง ทั้งนี้พ่อครูแม่ครูจะมอบบทเครือซอให้
ซึ่งพ่อครูแม่ครูแต่ละคนจะมีบทเครือซอท่ีแตกต่างกัน นอกจากนี้ พ่อครูเฉลิมเวศน์ ยังใช้วิธีครูพักลักจา
ดว้ ยการไปดูการแสดงขับซอของพ่อครูแม่ครู ซึง่ แต่ละท่านจะมีลลี าที่แตกต่างกัน จึงทาใหพ้ ่อครูเฉลมิ เวศน์
มีเอกลักษณ์ที่เป็นของตนเอง ด้วยการนาสิ่งท่ีดีของพ่อครูแม่ครูแต่ละท่านมาผสมผสานกัน ประกอบกับ
ประสบการณ์ในการขับซอของพ่อครูเอง ซึ่งพ่อครูเฉลิมเวศน์ยังคงใช้วิธีการที่พ่อครูได้เรียนนามาเผยแพร่
ให้กับลูกศิษย์ เห็นได้ว่าการเรียนขับซอจะเน้นการท่องจาเป็นหลัก แม้ในปัจจุบัน เพียงแต่ปัจจุบัน
มีสื่อการเรียนที่ทันสมัย ปัจจุบันช่างซอจะต้องมีการปรับตัวให้ทันกับการเปล่ียนแปลงเพื่อให้การขับซอ
ยงั คงอยู่กับสงั คม ซงึ่ ชา่ งซอจะต้องมีความสามารถรอบดา้ น

พ่อครูเฉลิมเวศน์ อูปธรรม รู้สึกภาคภูมิใจในรางวัล “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” เป็นอย่างย่ิง
เพราะแสดงให้เห็นว่าสถาบันการศึกษาเห็นความสาคัญของศิลปินพ้ืนบ้าน และรางวัลน้ีเป็น
การการันตีความสามารถของผู้ที่ได้รับรางวัล แต่ท้ังนี้ผู้ที่ได้รับรางวัลจะต้องมีการสร้างสรรค์ผลงานและ
ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเยาวชน เพื่อเป็นการสืบสานองค์ความรู้การขับซอ ทั้งนี้ พ่อครูเฉลิมเวศน์
มีโครงการจะจัดทาศูนย์การเรียนรู้ “ฮอมผญา” โดยสอนเกี่ยวกับภูมิปัญญาของล้านนาให้กับเยาวชนและ
เป็นสถานที่สาหรบั จัดกิจกรรมทางวฒั นธรรม

๓๔

เอกสารอ้างองิ

บัวซอน ถนอมบุญ (เมืองพร้าว). ภาษาท้องถ่ินศิลปินล้านนาผลงานการขับซอ การขับจ๊อย
การขับอื่อลูก โดยแม่ครูบัวซอน ถนอมบุญ (เมืองพร้าว). รายงานการวิจัย. สานักงาน
คณะกรรมการวัฒนธรรมแหง่ ชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๐.

สน่นั ธรรมธ.ิ นาฏดรุ ิยการลา้ นนา. เชยี งใหม่ : สุเทพการพมิ พ.์ ๒๕๕๐.
สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหง่ ชาต.ิ ดนตรีพืน้ บา้ นและศลิ ปะการแสดงของไทย. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพค์ ุรสุ ภาลาดพร้าว. ๒๕๒๘.
. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นศิลปะการแสดงพ้ืนบ้าน ขับซอ

เอกสารประกอบหลักสูตรสาระการเรยี นร้ตู ามหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพรา้ ว. ๒๕๕๐.
วนิดา รกิ าการณ์. การดารงอยู่ของการละเลน่ พืน้ บา้ นซอล้านนา. วทิ ยานิพนธศ์ ึกษาศาสตรมหาบณั ฑติ
สาขาการศกึ ษานอกระบบ. บณั ฑิตวทิ ยาลยั มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่. ๒๕๔๕.

การสัมภาษณ์และใหข้ ้อมูล
แมค่ รูบวั ซอน ถนอมบญุ เพชรราชภฏั – เพชรลา้ นนา ประจาปีพุทธศกั ราช ๒๕๕๒
พอ่ ครบู ญุ ศรี รตั นัง เพชรราชภฏั – เพชรลา้ นนา ประจาปีพทุ ธศกั ราช ๒๕๕๒
พอ่ ครกู ว๋ นดา เชยี งตา เพชรราชภฏั – เพชรลา้ นนา ประจาปีพทุ ธศกั ราช ๒๕๔๕
แม่ครูผ่องศรี โสภา เพชรราชภัฏ – เพชรลา้ นนา ประจาปีพทุ ธศกั ราช ๒๕๕๒
แมค่ รปู ราณี พักผ่อน เพชรราชภฏั – เพชรลา้ นนา ประจาปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
แม่ครบู ัวชมุ จนั ทร์ทิพย์ เพชรราชภฏั – เพชรล้านนา ประจาปพี ทุ ธศักราช ๒๕๕๔
แม่ครสู จุ ิตรา คาขัติ เพชรราชภฏั – เพชรลา้ นนา ประจาปีพุทธศกั ราช ๒๕๔๘
แม่ครูลาจวน ศรีกัญชยั เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจาปพี ุทธศกั ราช ๒๕๔๙ – ๕๐
พ่อครูอินตา เลาคา เพชรราชภฏั – เพชรลา้ นนา ประจาปพี ุทธศกั ราช ๒๕๔๙ – ๕๐
แมค่ รูบวั ตอง แกว้ ฝนั้ เพชรราชภฏั – เพชรลา้ นนา ประจาปพี ทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑
พอ่ ครอู รรณพ ปริญญาศิลป์ เพชรราชภฏั – เพชรลา้ นนา ประจาปีพุทธศกั ราช ๒๕๕๑
พอ่ ครเู ฉลมิ เวศน์ อูปธรรม เพชรราชภัฏ – เพชรลา้ นนา ประจาปพี ทุ ธศักราช ๒๕๕๕

๓๕

บทขบั ซอ
ประพันธ์โดย แมค่ รบู ัวซอน ถนอมบญุ (เมอื งพรา้ ว)

ศิลปินแหง่ ชาติ

ประวตั ศิ าสตร์ / ตานาน

บทซอเรอื่ ง ประวัตนิ พบรุ ศี รีนครพงิ ค์ เชยี งใหม่
ทานองเพลงอ่ือ ประพนั ธโ์ ดย แม่ครบู วั ซอน ถนอมบญุ

๑. อนั มรดกล้านนา สืบกนั มาเชน่ แกเ่ ชน่ เฒ่า (ตัง้ แตบ่ รรพบรุ ษุ )
ขอฝากไวก้ บั ลูกเต้า (ลกู หลาน) ที่เขาเกิดมา.....เม่ือลนู (ภายหลัง)
และขอผ้หู ลกั ผู้ใหญ่ ท่านไดส้ นับสนนุ
เผ่อื แมบ่ ัวซอน ถนอมบุญ ขา้ ได้ล้มหายตายจาก

๒. ขอเหลือไว้แคช่ ื่อเสียง กับท้งั น้าเรยี งเสยี งปาก
ไว้เปน็ ต้นเหง้าเค้าราก เป็นมรดก....ลา้ นนา
ข้าพเจา้ จะขอฝากไว้ คกู่ บั เชียงใหม่รัฐา
ลูกหลานจะได้ศกึ ษา ประวตั ิของเมืองเชียงใหม่

๓. ฉลองครบเจ็ดร้อยปี เป็นประเพณยี ิง่ ใหญ่
พ่นี อ้ งชาวเมืองเชยี งใหม่ ถือเป็นวาระมงคล
พอศอหน่งึ แปดสามเก้า ไดม้ ีพ่อเจา้ สามตน (องค์)
รว่ มใจกันสรา้ งมณฑล ตงั้ แต่มงคลปฐมฤกษ์

๔. เพราะท่านมีมะโนธรรม ความพยายามน้นั บ่มีท่ีทึก (ไมม่ ที สี่ นิ้ สุด)
ข้าพเจ้าจะขอบันทึก เรอ่ื งความเปน็ มา...เป็นไป
ใหพ้ อประมาณขอบเขต ต้นเหตุนน้ั มาจากไหน
ต้นตระกลู พอ่ ขุนมังราย เป็นผ้สู ร้างเวียงเชยี งใหม่

๕. ทา่ นเป็นลูกพญาลาวเมง็ และพระนางเทพคา้ ข่าย
ตามทา่ นไดบ้ นั ทึกไว้ อยู่ในพงศาวดาร
สมัยเจา้ เมอื งเรอื งรงุ่ ครองเมืองเชียงรงุ้ รฎั ฐาน
ครองเมืองเงินยางประมาณ พอศอหนง่ึ แปดศูนยส์ ่ี

๖. แทนพระราชบดิ า ความเปน็ มาท้าตามหนา้ ท่ี
ผญาเจา้ เมืองทา่ นนี้ ขยายอ้านาจ.....อย่างแรง
รวบรวมหวั เมืองต่างๆ ไปทัว่ ทุกหัวระแหง
พระองค์มีความเขม้ แข็ง วางแผงรวมเมอื งน้อยใหญ่

๗. รวบรวมเป็นแควน้ โยนก เปน็ มรดกสมความอยากได้
ขยายอา้ นาจลงมาทางใต้ มาสร้างเปน็ เมือง....เชียงราย
พอศอนง่ึ แปดศนู ยห์ า้ เจา้ ฟา้ มคี วามมน่ั ใจ
คา้ สั่งพญาเมง็ ราย สัง่ ใหไ้ พร่พลข้าทาส

๘. เม่ือพอศอนง่ึ แปดน่ึงหก หลายเมอื งได้ตกอยใู่ ต้อา้ นาจ
ท่านเป็นเจ้าเมืองเปรื่องปราชญ์ ไปเสยี คู่ที.่ ..คู่ทาง (ไปทุก ๆ เรื่อง)
นงั่ แพมาตามนา้ กก จากตะวันตกจนถึงรุ่งสาง
มาจนถึงเขตเมืองฝาง พระองค์ทรงพลางสงั เกต

๙. เป็นทีน่ ่าอยนู่ ่ากนิ เพราะเป็นแดนดนิ เกษตร
ไดเ้ ห็นภมู ิประเทศ ทรัพยากร....แผน่ ดิน
เป็นเมอื งอ่ขู ้าวอนู่ ้า มาถงึ ท่ีท้ามาหากนิ
มงั รายพ่อจา้ แผ่นดนิ จึงได้ตดั สนิ ใจอยู่

๑๐. เสนาอา้ มาตย์ทั้งหลาย ต่างกม็ ีใจชื่นสู้
พระองค์มีความรอบรู้ เหตกุ ารณ์ทางหนา้ ....ตอ่ ไป
ในดา้ นตีคลีพชิ ิต พระองค์ทรงคดิ ในใจ
มิให้เสยี เชน่ เชิงชาย พญามงั รายมหาราช

๑๑. เมื่อทา่ นมีจดุ ประสงค์ ม่นั คงในความสามารถ
กองทัพเร่งรุกอุกอาจ เอาเมืองหร.ิ ..ภุญไชย
สั่งให้ร้ีพลโยธา ต้ังขบวนมาเปน็ สาย
ถงึ แมห้ นทางจะไกล พระองค์ว่าใกล้แค่คบื

๑๒. ล้าพูนเมืองขมุ ทรพั ย์ ทหารสายลบั ไปสืบ
ใหไ้ ด้รแู้ นวแถวถืบ (ละแวกนั้น) ตกเหนอื ออกใต้ใกล้เคียง
เพราะเปน็ คา้ สัง่ เจา้ ฟา้ ใครบก่ ล้าออกปากเสียง
ขนึ้ ถึงดอยหนิ ดินเพยี ง(ดินราบ) ไดย้ ินแตเ่ สียงสตั ว์ปา่

๑๓. บา้ งก็บ่นว่าทุกข์ลา้ ทุกข์เหลือ เหน็ รอยเสือเทว(เดนิ )ไปก่อนหนา้
ไดย้ นิ เสยี งบ่างโอล่า พอจะเป็นบ้า...เปน็ วนิ
เทวจนแข้งสั่นถาบถาบ กลัวเสอื มาคาบไปกนิ
พากนั ข้นึ บกตกดนิ มีทึง (ท้ัง)ลูกน้อยห้อยหิ่ง

๑๔. พอ่ งไส้หดอยูร่ ูคอ ป่มู ูลสอลอเปน็ คนขี้หม้ิง (ขี้โมโห)
ปด(ยกลง)ครวั หาบบ่าขวา้ งท้ิง ถบี บ่าหิน (ลูกหนิ ) กลิ้ง....ลงดอย
ยามตะวันใกลต้ กดนิ ได้ยนิ เสียงนกข้องขอย
พากันย้งั (หยดุ ) ตามเถิ้มดอย (ตนี ดอย) แปง(ท้า)ตาเหม่อลอยจับเจ่า

๑๕. เมอื่ พน้ จากดอยหัวโท พากนั ไชโยโหซ่ ้าว (ตะโกนเสียงดัง)
พน้ แล้วพออดิ ใบ้อดิ เง่า (เหน่ือยมาก) พอเป็นสะล่ึง...สะตึง (หยุดน่งิ )
บึด (เดยี๋ ว) ก็ขึ้นบกตกนา้ พอเปน็ แข้งสึงขาสึง (ขากา้ วไม่ออก)
เม่ือใดหนอมันจะถึง บางคนเขาก็เหนอื่ ยอ่อน

๑๖. พ่องก็ขอเจ้าพอ่ พญา พอขอเวลาพักผ่อน
สงสารเขาหมู่หละอ่อน (เดก็ ) เขาจะหมดเรยี่ ว....หมดแรง
ไปถงึ ปากทางปงิ โค้ง จะพักน่ึงเข้าหุงแกง
พ่องตา้ น้าพริกตาแดง พอ่ งเอาบ่าแตง (แตงกวา) มาปอก

๑๗. อันหมเู่ ขาเป็นผชู้ าย เอาปนื สะพายคนบอก (กระบอก)
พ่องก็ได้เห็น(อเี ห็น)ได้รอก(กระรอก) ได้แผวงเู ห่าเต่าคลาน
ลางคนก็ไดไ้ กป่ ่า เอามาลาบสา้ สู่กนั (ทานด้วยกนั )
ลางพอ่ งได้แผวช้ินฟาน เอาทา้ ช้ินส้าชิน้ จมุ่

๑๘. คนใดได้กินลาบฟาน เหมอื นได้นอนโทยแม่มานหนุ่ม (คนท้องสาว)
ไดย้ ินคาอู้ (ค้าพดู ) อยุ้ จุ้ม ตะก่อน (เมื่อก่อน) เพิ่น (เขา)เล่า...นทิ าน
บอ่ ใช่บวั ซอนขา้ เจ้า แกล้งเอามาเลา่ ประจาน
สมยั เม่อื เราพามาน (ทอ้ ง) ผวั บ่นอนใกล้สักเทื่อ

๑๙. เขยี นไปก็ทงึ ม่วน (สนุก) ไป หมอนข้ีไคลจนพอเป็นเห่ือ(เหงือ่ )
เมอ่ื ใดกบ็ ่อถงึ สกั เทอ่ื ใครน่ อน (อยากหลับ) เป็นเทื่อ....เปน็ ที
นงั่ เขียนจนมือเป็นง่วย คนชว่ ยกซ็ ้าบม่ ี
หมายจะนง่ั ฮ้าวมูลี (สูบบุหร่ี) ซ้ากลวั มะเรง็ กินปอด

๒๐. ถ้าวา่ มเี สียงเอา้ อด๊ึ (เสยี งอึกทึก) มนั ชา่ งคึดอะหยงั บ่าฮอด (คิดไม่ออก)

ไวเ้ วลาหมู่เขาพักจอด เขาก็อดี ออด (อึดอาด) หลายคน

พ่องนอนหลับอย่างกับ (เหมือน) งัว (ววั ) ตา่ ง ลางพ่องก็ก้ัง (ละเมอ) ลางพ่องก็ขน (กรน)

พอ่ งกน็ อนผายลมโกรน๋ ออกทงึ ทางบนทางลุ่ม (ลา่ ง)

๒๑. ลางพ่องเป็นบ่สบาย พวกผู้ชายชว่ ยกันหอบอุ้ม
เมือ่ ถึงเมื่อแจ้งสลู้ม (เชา้ ตรู่) เหน็ พ่อพญา....มังราย
ท่านไดเ้ สด็จประพาส กบั หมขู่ า้ ราชทังหลาย
ชมตามปา่ เขาเนาไพร เป็นท่ีพอพระทยั ตลอด

๒๒. ขน้ึ ไปกอย (มอง) บนดอยจอมหด พระองค์ใจจดใจจอด
อากาศก็ดสี ดุ ยอด พระองค์ทรงทอดกายา
เห็นแต่ภเู ขารอบขา้ ง กว้างสุดเช่นหเู ชน่ ตา (สุดสายตา)
เลยสง่ั ให้หมเู่ สนา สรา้ งเป็นพลับพลาหอค่าย

๒๓. เป็นท่สี ะสมเสบยี ง ช่วยกนั ล้าเลียงไวไ้ ช้
ปลกู แผวต้นหมากรากไม้ สร้างแผวหอห้อง...เรือนชัย
เมืองพรา้ วหรือวา่ เมืองปา่ ว ช่ือเคา้ แท้ช่ือเวียงหวาย
สมยั พญามังราย ไปสรา้ งสา้ นกั พกั ผ่อน

๒๔. เม่ือปีหนงึ่ แปดสองสาม เชิญท่านติดตามเหตุการณ์ตะกอ่ น (เมื่อก่อน)
สมัยเชน่ พอ่ อ้ยุ แมห่ ม่อน ประวัติของภมู แิ ผน่ ดนิ
สร้างมาแต่เก่าเดิมออน นครแช่สักวงั หิน
ตามประวัติศาสตร์แผน่ ดนิ เพนิ่ สร้างก่อนเวียงเชียงใหม่

๒๕. ทา่ นสร้างยังบ่ทนั เสร็จ ก็ได้เสด็จล่องลงทศิ ใต้
เพราะท่านมาคดึ ใจได้ เร่ืองเมืองหริ....ภญุ ไชย
สมนามมังรายขุนศึก สร้างเป็นแผน่ ปึกขยาย
อู้ (พดู ) ถงึ เหลี่ยมเล่หเ์ พทบุ าย มังรายบ่มไี ผ (ใคร) เท่า

๒๖. การจักเป็นใหญ่เป็นโต เหมอื นเลน่ ไฮโลจะต้องเขยา่
โทยตามเลือดเน้ือเช้ือเจ้า อ้านาจของราช....เบ้ืองบน
ไดท้ า้ สญั ญาผูกมดั พระสหายกษตั รยิ ์สองตน(องค)์
ทา่ นจะได้สร้างมณฑล เพอ่ื ไพร่ฟ้าข้าคนไดอ้ ยู่

๒๗. เพอื่ ป้องกนั การรุกลาม การท้าสงครามต่อสู้
ทังสามพญาทา่ นรู้ ได้ทา้ สญั ญา....สาบาน
โดยความยนิ ดีอ่อนน้อม เราตอ้ งได้พร้อมใจกั
ถา้ หากใคร ถูกรุกราน ตอ้ งทา้ ตามสาบานอย่างหมดหว่ ง

๒๘. มพี อ่ ขนุ รามคา้ แหง นามแฝงท่านว่าพระร่วง
ขุนง้าเมืองราชบาทบว่ ง ดม่ื น้ามนตส์ รวง...สาบาน
พอศอหนง่ึ พนั แปดร้อยสามสิบ ต่างตนต่างจิบแล้วจบั มือกนั
ถา้ หากใคร ผดิ ค้าสาบาน หอ้ื (ให้) ตายดว้ ยคมหอกคมดาบ

๒๙. มุ่งเขา้ หรภิ ุญไชย ชาวเมอื งทังหลายแตกกนั ยาบยาบ(แตกตนื่ )
บางพ่องเลอื ดจนพออาบ พอ่ งเป็นล้มลุกคลุกคลาน
พากนั หนเี อาตัวรอด ลองมาคดึ ฮอด (คิดถงึ อดีต) เหตุการณ์
บา้ นเมอื งเกดิ ศึกกันดาร แสนทรมานแท้วา่

๓๐. อา้ ยฟา้ เปน็ นายทหาร ก่อกวนรกุ รานปนั่ บา้
พอศอหนงึ่ แปดสามห้า ได้ตกเป็นข้า....มังราย
ถา้ หากคนใดฮึดฮัด เพนิ่ เอาดาบพดั (ฟัน) คอตาย
ค่อยฟงั เรื่องราวตอ่ ไป มันจะเปน็ จะใดแถมน่อ

๓๑. จากน้นั ก็นา้ ขบวน ตีกอ่ กวนเมืองเขลางค์ต่อ
แม่ไหห้ าลกู ลูกไหห้ าพอ่ หนกี นั ละว่นุ ละวาย
ลางพอ่ งจนขใี้ ส่เท่ว (กางเกง) พอ่ งปดื (เปดิ ) ซนิ่ (ผา้ ถุง) เยี่ยว (ฉ่ี) สอ่ งหนา้ คนหลาย
คึดผอ่ (คดิ ด)ู เอาเทอะคนกง้ั (ลืมตัว)ตาย พ่องเป๋ีย (หยบิ ) งาไซ มาแพง (ท้า) หมวก

๓๒. บางพ่องก็ลน่ (ว่งิ ) ผลดั มน บางคนก็ไปหมอบ (หลบ) จอมปลวก
ยะหยัง (ท้าอะไร) ทึงบส่ ะดวก เพราะเปน็ ค้าส่งั ...อาญา
ท่านได้รวบรวมเขตแควน้ ให้เปน็ ปกึ แผ่นแน่นหนา
เป็นอาณาจักรลา้ นนา ไมใ่ ห้ใครมากดขี่

๓๓. ส่วนเมอื งหริภญุ ไชย ท่านไดม้ อบหมายหนา้ ที่
ใหข้ ุนอา้ ยฟ้านี้ เปน็ ผคู้ รองราชย์ต่อไป
เม่ือทา่ นท้าศึกแล้วเสรจ็ เสด็จไปพักผ่อนใจ
ชมนกชมไม้ใกล้ไกล เปน็ การระบายความเครียด

๓๔. ไดเ้ มืองหละพูน (ล้าพนู ) มาครอง พระองค์ไตร่ตรองไว้อย่างละเอยี ด
ไดพ้ ักผ่อนกายคลายเครยี ด จิตใจละเอยี ดในธรรม
ท่านทรงดลุ ยพินจิ ชวี ิตเปน็ ไปตามกรรม
แล้วก่อสรา้ งเวียงกุมกาม เปน็ รูปธรรมสัดสว่ น

๓๕. ระดเู ดอื นห้าเดือนหก ฝนไม่ตกแท้หาชาดม่วน (สนุกสนาน)

กลางวัสสา (พรรษา) น้านอง (นา้ ท่วม) ป่ันปว่ น หนีขนึ้ บนควั่น...บนเทิง(เพดาน)

แสนสกปรกโสโครก ความวิปโยคมาเถิง(ถงึ )

พระองค์มาคดิ รา่ เพิง (ร้าพึง) เลยเกิดพระทัยไหวหวัน่

๓๖. ตอนนน้ั เจา้ พ่อมังราย เลยจัดการย้ายออกจากทนี่ ั่น
เปน็ หว่ งชาวเมอื งชาวบ้าน กลวั จะล้าบาก....วันลนู (ภายหลัง)
ส่ังใหเ้ ขาอพยพ ครอบครัวผา่ ลุน้ ผา่ จู๋น (พะรงุ พะรงั )
น้าใจมงั รายพอ่ ขุน คึดหา(คดิ ถงึ )ข้อมูลสังเกต

๓๗. พอนา้ ลดแหง้ ลงถอย เสดจ็ เชิงดอยนเิ วศน์
ท่านหนั (เหน็ ) ภมู ปิ ระเทศ ท่ีนี้มันหัง...สมควร
ต้ังปณิธานไวห้ มัน่ จะสรา้ งคึดบ้านไรน่ าและสวน
เป็นทรี่ าบลมุ่ ชุ่มชวน (ช่มุ ชน้ื ) แก่การท้าสวนทา้ ไร่

๓๘. แหงนผอ่ (มอง) ทางบนมนี า้ ตกฝอย ทางตีนดอย (เชงิ เขา) กม็ ีน้าแม่ใหญ่
จะเร่ิมสรา้ งเมืองเชียงใหม่ ต้องหาฤกษ์งาม....ยามชยั
ส่งราชสารบอกข่าว เถิง(ถึง)องค์ท่านท้าวสหาย
เมอื งพะเยาและสุโขทัย สองภวู นยั จอมปราชญ์

๓๙. ทั้งสามพ่อทา้ วพญา ทรงพระปรชี าสามารถ
ทา้ ประโยชนห์ ้อื ประชาราษฎร์ โดยไมห่ วงั ผล...ตอบแทน
สร้างใหเ้ ป็นสดั เปน็ สว่ น โดยความรบี ด่วนตามแผน
ทา่ นไดจ้ ับมือถือแขน ก่อนจะสร้างเมืองเชยี งใหม่

๔๐. ขอย้อนพดู ถงึ อดตี ผา่ นมา เมืองลา้ นนาไม่ใช่เปน็ เมืองใหญ่
เป็นแตห่ ย่อมหญ้าปา่ ไม้ เป็นแต่ปา่ ดง.....พงไพร
มแี ต่ชาวป่าชาวลว๊ั ะ เขา้ มาเพงิ พะอาศัย (พึ่งพาอาศัย)
เมื่อยงั ไม่ได้เป็นไทย อยู่กนั เป็นลอมเปน็ บ่อน (อยู่คนละท่ีคนละทาง)

๔๑. หากนิ ฮ่อมไผรูมัน (ของใครของมนั ) เม่ือเช่นโบราณสมยั ตะกอ่ น (เมื่อก่อน)
ข้าพเจา้ จะขอเล่ายอ้ น ไมม่ ชี งิ เด่น...ชงิ ดี
ไม่มเี ส้ือผ้าอาภรณ์ สะลี (ที่นอน) ทีน่ อน แวน่ (กระจก) หวี
น่งุ แตห่ นังเสอื หนังหมี อย่ตู ามวิถีคนป่า

๔๒. เป็นทอี่ ุดมสมบูรณ์ มงั่ มลู ไปด้วยนา้ ทา่
เป็นทวิ ทศั น์งามแทง้ ามว่า ตน้ ไม้ในป่า...ลา้ เรียง
ไม้เปาแดงดูแ่ งะ เปน็ ปา่ ไม้ตงึ (ไมส้ ัก) ไม้เหยี ง
ไม้เก็ดไม้กอกมนั ออกล้าเรียง ออกตามดนิ เปยี งดอยหล่ิง (ตะหลิ่งชัน)

๔๓. เปน็ ป่าสักทองสกั ไข เป็นท่ีอาศัยสัตวส์ ิง่
พากันหกเลน่ วงิ่ อยูต่ ามไม้ไผ.่ ..กอซาง
มแี ผววอกก้างบ่างแบ้ว ทงั เสือโคร่งแผ้วฟานกวาง
ตามทเี่ พิ่นเล่าใหฟ้ ัง เรายงั บ่ไม่ทน้ ไดเ้ กิด

๔๔. วาระดถิ ีเข้ามา สามพญาเอาต้ารามาเปดิ
เหน็ ว่าได้ยามดีเลศิ วาระประเสรฐิ .....มงคล
จะสร้างเมืองหลวงล้านนา มีพ่อพญาสามตน
วางแผน่ ศลิ าฤกษ์ลง แล้วส่งั ไพรพ่ ลขา้ ราษฎร์

๔๕. ผู้ชายพากันขดุ ดิน พวกผูห้ ญงิ เอายู (ไมก้ วาด) มากวาด
หมู่เป็นหวั หนา้ ราษฎร์ มาช่วยกนั ผ่อ...กันแยง (ช่วยกันด)ู
อนั หมแู่ ม่ยิงคนเฒา่ พากันนง่ึ ขา้ วหงุ แกง
ชักเชือกหมายหลักปกั แยง พ่องกอ่ ก้าแพงขดุ ฮ่อม (รอ่ ง)

๔๖. พ่องก็ขดุ หลมุ ฝงั เสา ถ้าเป็นงานเบาหื้อหละออ่ นเหมยี ดต้อม (รวมกนั )
หมู่ทเ่ี ฒา่ หัวเหงาะหวั หง่อม ช่วยกนั ดาครอบ....ดาครัว (เตรียมข้าวของ)
แม่รา้ งนางสาวเตื่อม (เตรียม) ค้า ชว่ ยกันตักน้าหาบฟนื
มนั หยังมาแนน่ มาหน๋วั (มาก) ใครห่ ัว (หวั เราะ) เสียงน้อยเสียงใหญ่

๔๗. ถงึ เขาจะอดิ ริมตาย ก็ทึงภูมใิ จจะได้เมืองใหม่
ช่วยกนั สรา้ งคมุ้ สรา้ งค่าย สร้างหอระจะ๊ (ราชา)...มณเฑียร
ที่เปน็ เขตวัดเชียงมั่น น้นั เป็นทีส่ ถิตเสถยี ร
ช่วยกันขยนั หม่ันเพยี ร จนได้สา้ เรจ็ ลลุ ว่ ง

๔๘. ไดก้ ่อก้าแพงขดุ คือตรีบูรณ์ (ขดุ รอ่ งลอ้ มรอบ) หื้อมันสมดุลโชติช่วง

พอ่ ขุนมังรายได้ขอพระรว่ ง บันทึกเป็นประวตั ิต้านาน

ลงแผน่ ศลิ าจารกึ บนั ทึกเป็นประวตั ิการณ์

ถา้ ใครอยากรูต้ ้านาน ขอให้พากันไปอ่าน

๔๙. จะได้รเู้ รื่องราวดี ตัวขอมบาลีเพิน่ เขียนไวท้ ี่นั่น
วนั เดอื นปีพอศอนัน้ ทา่ นเขยี นไว้เปน็ ....ต้านาน
พอศอหนึง่ แปดสามเก้า บา่ ยสโ่ี มงเช้าปีรวายสนั (ปวี อก)
เดอื นแปดออกมาแปดค่า้ เปน็ วัน พฤหัสจดั การเป็นข้ัน

๕๐. วันท่สี บิ สองเมษายน พญาสามตนแพง(สรา้ ง)วดั เชียงม่ัน
ไวเ้ ป็นคเู่ มืองคูบ่ ้าน ได้สกั การะ...บูชา
สรา้ งพระพทุ ธปฎิมากรณ์ ใหร้ าษฎร์ไหวส้ า
เป็นของโบราณล้านนา สบื มาเท่าฮอดบา่ เด่ยี ว (ถึงปัจจุบนั นี้)

๕๑. คนรุน่ สมยั นี้นา ทางวดั ทางวาเขาบข่ ้องเกยี่ ว
จา้ งก้า (เปน็ แต่) ซ้ือผา้ ซ้ือเถว่ (กางเกง) ไมร่ ทู้ างศีลทางทาน
ฝีเทา้ ผมี อื ของคนรุ่นเกา่ ทา้ ไวใ้ ห้ลูกหลานหัน (เหน็ )
ขอเทอะเจา้ ลกู เจ้าหลาน ชว่ ยกันสืบสานเก็บเหมยี ด (รวบรวมไว)้

๕๒. ค้าวา่ บุรุษสตรี เปน็ ของที่ดีมีเกยี รติ
ขออยา่ ประณามหยามเหยยี ด จารตี ท้านอง...คลองธรรม
ความรหู้ ามีนักแท้ แต่ไม่ได้ปฎบิ ตั ิตาม
ขนาดทเุ จา้ (พระ) เทศนธ์ รรม ยงั ท้าเปน็ หูหนวกตาบอด

๕๓. ชวนกันเขา้ คลบั เข้าบาร์ สนุกเฮฮาหวนั ๆ กอดๆ
อู้ (พดู ) กันเสยี งออ้ นเสยี งออด เอามือล้วงสอด...ซวามแอว (จับเอว)
ข้คี รั่งมันอยใู่ กลไ้ ฟ เพน่ิ ชวนไปไหนกแ็ ผว (ถงึ )
ผลสุดท้ายอุม้ ลกู น้อยคบี แอว มาเพง่ิ คนเฒา่ บ่าเกา่

๕๔. พดู ถึงเชยี งใหม่เมืองงาม วฒั นธรรมไมเ่ คยหมองเศร้า
พญามงั รายพ่อเจา้ ท่านปกครองมา...อยา่ งดี
ปกครองประชาไพร่ฟ้า พระชนมเ์ จ็ดสิบสองปี
บุญของเมืองนพบรุ ี ใต้บารมเี จ้าราชย์

๕๕. ตอนท่านพญามงั ราย เสดจ็ พระชนม์วายมวยมรนาถ
เพราะต้องอัสนยี บาต มว้ ยมรณาถวาวาย (ตาย)
ขอไหวว้ อนส่งิ ศักดิ์สิทธิ์ น้อมมะโนจติ ถวาย
วญิ ญาณพ่อขนุ มังราย โปรดสขุ สบายดว้ ยเถิด

วางเพลง………

ซอพ้ืนเมอื ง เรอ่ื ง ตานานพระบรมธาตุเจ้าดอยสเุ ทพ
ทา้ นองซอเพลงอื่อ ประพันธโ์ ดย แม่ครูบัวซอน ถนอมบญุ

๑. วนั ตามเิ จติยงั พระธาตุพุทธงั ศาสดาเอก
สงู เสยี ดฟ้าเสยี ดเมฆ คู่เมืองเจยี งใหม่ล้านนา
พระธาตุสเุ ทพองคใ์ หญ่ ท่ีเอาไดไ้ หวไ้ ดส้ า
จะขอเล่าความเป๋นมา ประวัตขิ ององคพ์ ระธาตุ

๒. ถา้ จะนบั เป็นเวลา ล่วงเลยมาทึงเมนิ ขะหนาด
ในดา้ นประวตั ิศาสตร์ ศิลปะศาสตร์โบราณ
บางคนเพิ่นกร็ ู้แลว้ ไปแอ่ว (เทย่ี ว) นมัสการ
แตว่ ่าต้นตอต้านาน ยังบร่ ู้ฐานถ้วนถี่

๓. เจ็ดร้อยกวา่ ปีผา่ นมาแลว้ นอ ตั้งแตพ่ อศอหนึ่งเจ็ดหกส่ี
แผ่นดินเจยี งใหมแ่ ห่งนี้ สมยั พระเจา้ กอื นา
เป็นกษตั รยิ ์องค์ทหี่ ก ทา่ นไดป้ ้องปกรักษา
แหง่ ราชวงศร์ าชา มหามงั รายเจ้าพ่อ

๔. ได้มีพุทธศาสนา ลัทธลิ ังกาเกิดก่อ
ท่ใี นเมืองมอญพนุ้ นอ่ ตามเพิ่นเลา่ ต่อกันมา
ได้มมี หาเถระ พระในประเทศลังกา
ได้น้าเอาศาสนา เขา้ มาในเมอื งพม่า

๕. ได้มีความเจริญรงุ่ เรือง บ้านเมืองกด็ เู ข้าทา่
ตอนน้ันชาวเมอื งพม่า เล่อื มใสในพทุ ธคุณ
ต่อพระมหาเถระ เผยแผธ่ รรมะเกื้อหนุน
ท่านเปน็ ผพู้ า้ เพ็ญบุญ เทดิ ทนู เปน็ นกั บุญเอก

๖. จาวเมืองไดพ้ ร้อมใจกนั ไหวส้ านและอภเิ ษก
ขนานนามฉายาเอก ช่ือว่าพระอุทมุ พร
บุพผามหาสวามี เป็นมงคลนามนสุ รณ์
พระกิตตคุ ุณขจร ไปทั่วนครมะละแหม่ง


Click to View FlipBook Version