The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือเส้นทางยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนและโฮมสเตย์ให้ได้รับมาตรฐาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by punnaphas.ji, 2021-12-15 22:29:27

คู่มือเส้นทางยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนและโฮมสเตย์ให้ได้รับมาตรฐาน

คู่มือเส้นทางยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนและโฮมสเตย์ให้ได้รับมาตรฐาน

ฝ่ายพัฒนาธรุ กิจผปู้ ระกอบการรายย่อยและองคก์ รชุมชน
สายงานพัฒนาธุรกิจผูป้ ระกอบการรายยอ่ ยและ SMEs Startup

สารบญั 5
เสน้ ทางการยกระดับทอ่ งเทยี่ วชมุ ชนและโฮมสเตยส์ ูม่ าตรฐาน

ชลิ ชลิ กับมาตรฐานทอ่ งเทีย่ วปลอดภัย
ด้านสุขอนามยั
P.27-30

กา้ วแรกสู่การท่องเทีย่ ว เส้นทางสทู่ ่ีพัก
โดยชุมชน ท่ไี ม่เปน็ โรงแรม
P.3-8
P.13-20
1
3

2 4

สถานีเปล่ยี นบ้าน เสน้ ทางแวะพัก
เปน็ โฮมสเตย์ ณ ที่พักนกั เดนิ ทาง
P.9-12
P.21-26

6 6 สถานี
7 สู่มาตรฐานโฮมสเตยไ์ ทย
P.31-48

สถานีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

8 6 ชุมชนตน้ แบบ Style GSB
P.59-64

ใหอ้ อมสนิ ดแู ลคณุ
P.69-72
10

เส้นชัยสู่มาตรฐาน 9 11
โฮมสเตยไ์ ทย
P.49-58 เพือ่ นบา้ นธนาคารออมสนิ เอกสารอา้ งองิ
Airbnb P.73
P.65-68



01

ก้าวแรกสูก่ ารทอ่ งเทย่ี วโดยชุมชน
First step to Community Tourism

 มาตรฐานการทอ่ งเท่ียวโดยชมุ ชน
 ความหมายของการทอ่ งเที่ยวโดยชุมชน
 หลกั การท่องเท่ยี วโดยชุมชน
 เปา้ หมายการพฒั นาการทอ่ งเทย่ี วโดยชุมชน
 เกณฑ์การพฒั นาการท่องเท่ยี วโดยชมุ ชน

มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชมุ ชน
CBT THAILAND STANDARD

หลักเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการเตรียมความพร้อม
เพ่ือใหช้ ุมชนมีแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากฐานทรัพยากรที่
มีอย่างมีอัตลักษณ์ และเกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของชุมชนตนเอง
ทาให้ชุมชนเกิดรายได้ มีอาชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งประกอบด้วย
หลกั เกณฑ์ 6 ดา้ น ดงั น้ี

1. ด้านการจดั การเศรษฐกิจ สังคม และคณุ ภาพชวี ติ ทด่ี ี
2. ดา้ นการบรหิ ารจดั การท่องเท่ยี วโดยชุมชน
3. ด้านการอนรุ กั ษ์ และสง่ เสริมมรดกทางวัฒนธรรมชมุ ชน
4. ด้านการจดั การทรัพยากรธรรมชาติ หรอื สง่ิ แวดล้อมอยา่ งยัง่ ยืน
5. ด้านคุณภาพการบริการการท่องเท่ียวโดยชุมชน
6. ด้านส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ การทางานร่วมกันระหว่างชุมชน

กับผ้ปู ระกอบการด้านการเขา้ ถึงตลาด และการทางานร่วมกับผู้ประกอบการ
นาเทีย่ วภายนอก

5

ความหมายของการทอ่ งเทยี่ วโดยชุมชน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน หมายถึง การท่องเท่ียวทางเลือกที่บริหาร
จัดการโดยชุมชนอย่างสร้างสรรค์และมีมาตรฐานก่อให้เกิดการเรียนรู้
เพ่ือนาไปสู่ความยัง่ ยืนของสงิ่ แวดลอ้ ม วฒั นธรรมทอ้ งถ่นิ และคณุ ภาพชวี ติ ท่ีดี

หลักการทอ่ งเท่ยี วโดยชุมชน

1. ชุมชนเป็นเจ้าของ
2. ชาวบ้านเขา้ มามสี ่วนร่วมในการกาหนดทศิ ทางและตดั สินใจ
3. ส่งเสริมความภาคภมู ิใจในตนเอง
4. ยกระดับคณุ ภาพชีวติ
5. มคี วามยง่ั ยืนทางดา้ นส่ิงแวดลอ้ ม
6. คงเอกลกั ษณ์และวฒั นธรรมทอ้ งถน่ิ
7. กอ่ ใหเ้ กิดการเรยี นรรู้ ะหวา่ งคนตา่ งวฒั นธรรม
8. เคารพในวฒั นธรรมท่แี ตกตา่ งและศักดิ์ศรคี วามเปน็ มนษุ ย์
9. เกิดผลตอบแทนที่เปน็ ธรรมแกค่ นท้องถิ่น
10. มกี ารกระจายรายได้สู่สาธารณประโยชน์ของชมุ ชน

6

เป้าหมายการพฒั นาการทอ่ งเทีย่ วโดยชุมชน

• เสรมิ สรา้ งศกั ยภาพใหช้ มุ ชนสามารถเชือ่ มโยงรบั ประโยชน์จากการทอ่ งเท่ียว
• ชมุ ชนสามารถบริหารจดั การและเชอ่ื มโยงผลประโยชนต์ ่าง ๆ จากการท่องเทย่ี วได้
• วิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถ่ินได้รับการอนุรักษ์และเพ่ิมมูลค่า ช่วยการพัฒนา

ท้องถนิ่ เปน็ ไปอย่างสมดุลและยงั่ ยนื
• นามาซงึ่ รายได้เสริมในชมุ ชนและสงิ่ แวดล้อมทด่ี ีนา่ อยู่
• ความอยดู่ ีมสี ุขของคนในชุมชนทอ้ งถิน่

เกณฑก์ ารพฒั นาการทอ่ งเที่ยวโดยชมุ ชน

เกณฑ์การพัฒนาการท่องเท่ียวโดยชุมชนนั้นถือเป็นเคร่ืองมือสาคัญในการ
วางแผน ดาเนินการ และประเมินผลการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ขององค์การ
บ ริ ห า ร ก า ร พั ฒ น า พื้ น ท่ี พิ เ ศ ษ เ พื่ อ ก า ร ท่ อ ง เ ท่ี ย ว อ ย่ า ง ย่ั ง ยื น ( อ ง ค์ ก า ร ม ห า ช น )
โดยมีองค์ประกอบ 5 ด้าน ดงั นี้

1. กลุ่มท่องเท่ยี วชมุ ชนมกี ารจัดการอยา่ งย่ังยนื
2. การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีการกระจายผลประโยชน์สู่ท้องถิ่นสังคม และ

คณุ ภาพชวี ติ
3. การทอ่ งเทย่ี วโดยชุมชนมีการอนุรกั ษ์ และสง่ เสริมมรดกทางวฒั นธรรม
4. ดา้ นการจดั การทรัพยากรธรรมชาติ หรอื ส่งิ แวดลอ้ มอย่างเป็นระบบและยงั่ ยืน
5. ดา้ นบรกิ าร และความปลอดภยั

7

8



02

สถานีเปลีย่ นบ้านเป็นโฮมสเตย์
Station change your home into a Homestay

 โฮมสเตยค์ ืออะไร
 โฮมสเตย์ที่ดีตอ้ งมคี ณุ สมบตั อิ ยา่ งไร

ความหมายโฮมสเตย์

“โฮมสเตย์” หมายถึง การท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่ง ท่ีนักท่องเที่ยวจะต้อง
พักรวมกับเจ้าของบ้านชายคาเดียวกัน โดยมีห้องพักหรือพื้นที่ใช้สอยภายใน
บ้านเหลือ สามารถนามาดัดแปลงให้นักท่องเที่ยวพักได้ช่ัวคราว ซ่ึงมีจานวน
ไม่เกิน 4 ห้อง มีผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คน โดยมีค่าตอบแทนและจัดบริการ
ส่ิงอานวยความสะดวกตามสมควร อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการ
เพ่ือหารายได้เสริม ซึ่งเป็นไปตามบทนิยามคาว่า “โรงแรม” แห่งพระราชบัญญัติ
โรงแรม พ.ศ.2547 และได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยว ตามหลักเกณฑ์
ทกี่ รมการท่องเท่ียวกาหนด

รายละเอยี ดพระราชบญั ญตั ิ
โรงแรม พ.ศ.2547

11

โฮมสเตยท์ ่ีดีตอ้ งมคี ุณสมบตั อิ ย่างไร

• เจ้าของบ้าน และสมาชิกในครอบครัวต้องถือว่าการทาโฮมสเตย์เป็นเพียง
รายได้เสริมนอกเหนือจากรายได้หลักของครอบครวั

• มีห้องพักหรือพ้ืนท่ีใช้สอยภายในบ้านเหลือ และไม่ได้ใช้ประโยชน์สามารถ
นามาดัดแปลงให้นกั ทอ่ งเทยี่ วเขา้ พกั ได้ไม่เกิน 4 ห้อง หรือนักท่องเที่ยวพกั
ได้ไม่เกิน 20 คน ต่อหลงั

• นักท่องเท่ียวต้องเข้าพักค้างแรมในบ้านเดียวกันกับเจ้าของบ้าน โดยมีโอกาส
แลกเปลี่ยนเรยี นร้วู ัฒนธรรม และวิถีชีวติ ระหวา่ งกัน

• สมาชิกในครอบครัวต้องมีความยินดี และเต็มใจท่ีจะรับนักท่องเที่ยว
ให้เข้ามาพักค้างแรมในบ้านชายคาเดียวกันกับเจ้าของบ้าน พร้อมทั้ง
ถา่ ยทอดวัฒนธรรมอนั ดงี ามของทอ้ งถิ่นนน้ั แก่นกั ท่องเท่ียว

• เจ้าของบ้าน และสมาชิกในครอบครัวให้ความรว่ มมือกับชุมชนในการจดั การ
โฮมสเตยเ์ ปน็ อย่างดี

• บา้ นท่ีจดั ทาโฮมสเตยจ์ ะต้องมีเลขที่ ซึ่งออกโดยส่วนราชการ
• ท่ีต้ังของโฮมสเตย์ต้องไม่ต้ังอยู่ในพ้ืนที่อนุรักษ์ เช่น เขตอุทยานแห่งชาติ

เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช หากตั้งอยู่จะต้องได้รับอนุญาตจาก
เจ้าของพ้นื ที่เป็นลายลกั ษณอ์ กั ษรแลว้

12



03

เส้นทางสู่ทีพ่ ักทีไ่ ม่เป็นโรงแรม
Road To "alternative accommodation"

 ความหมายของสถานทพี่ กั ที่ไมเ่ ปน็ โรงแรม
 คุณสมบัติของผู้ยืน่ ขอสถานที่พกั ทไ่ี มเ่ ปน็

โรงแรม
 ขนั้ ตอนการดาเนนิ การจดแจ้ง
 เอกสารประกอบการจดแจ้ง
 สถานท่ีในการจดแจ้ง
 ระยะเวลาดาเนนิ การ
 ตัวอย่างแบบฟอร์ม

ความหมายของสถานที่พักท่ีไม่เป็นโรงแรม

ตามกฎกระทรวงกาหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ
โรงแรม พ.ศ. 2551 ข้อ 1 ระบุไว้ดังน้ี “ให้สถานท่ีพักที่มีจานวนห้องพัก
ในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน 4 ห้อง และมีจานวนผู้พัก
รวมกันทั้งหมดไม่เกิน 20 คน ซึ่งจัดต้ังข้ึนเพื่อใหบ้ ริการท่ีพักช่ัวคราวสาหรับคน
เดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน อันมีลักษณะเป็นการประกอบ
กิจการเพ่อื หารายได้เสริม และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรี
กาหนด ไมเ่ ป็นโรงแรมตาม (3) ของบทนิยามคาวา่ “โรงแรม” ในมาตรา 4”

ดังน้ัน ถ้าคุณเป็นเจ้าของที่พักท่ีมีห้องพักไว้รับรองลูกค้าไม่เกิน 4 ห้อง
และสามารถรับรองลูกค้าได้ครั้งละไม่เกิน 20 คน คุณก็ไม่ต้องย่ืนขอใบอนุญาต
ประกอบธรุ กจิ โรงแรม

แต่อย่างไรก็ตาม กรมการปกครอง กาหนดให้สถานที่พักท่ีไม่เป็นโรงแรม
ตามกฎกระทรวงฯ จะต้องดาเนินการจดแจ้งสถานที่พักท่ีไม่เป็นโรงแรม
กับกรมการปกครอง โดยคุณสามารถดาวน์โหลด แบบฟอร์มแบบหนังสือ
แจ้งสถานที่พักท่ีไม่เป็นโรงแรม พร้อมแนบเอกสารและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
โดยสามารถศึกษารายละเอยี ดไดใ้ นลาดบั ถัดไป

QR CODE สาหรบั ดาวนโ์ หลด แบบฟอร์มแบบหนังสอื แจ้ง
สถานทพ่ี ักท่ีไมเ่ ป็นโรงแรม

15

คณุ สมบตั ขิ องผ้ยู ืน่ ขอสถานที่พกั ที่ไม่เปน็ โรงแรม

1. มสี ัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ากว่า 20 ปีบรบิ รู ณ์
3. มีภมู ิลาเนาหรือถิน่ ทีอ่ ยใู่ นราชอาณาจักรไทย
4. ไม่เป็นบคุ คลลม้ ละลาย
5. ไมเ่ ปน็ บคุ คลคนไร้ความสามารถหรอื คนเสมือนไรค้ วามสามารถ
6. ไม่เคยได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงท่ีสุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษ

สาหรับความผดิ ทีไ่ ดก้ ระทาโดยประมาทหรอื ความผิดลหุโทษ
7. ไม่เคยต้องคาพิพากษาถึงท่ีสุดว่าเป็นผู้กระทาผิดในความผิดเก่ียวกับ

เพศตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายเก่ียวกับยาเสพติด
ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกัน และปราบปราม
การค้าหญิงและเด็ก หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการ
ปอ้ งกนั และปราบปรามการค้าประเวณี
8. ไม่เปน็ ผูอ้ ยใู่ นระหว่างถูกสัง่ พกั ใชใ้ บอนุญาต
9. ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือเคยถูกเพกิ ถอนใบอนุญาตโดยเหตุอน่ื ท่ี
มิใชเ่ หตุตาม (6) แต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแลว้ ไม่นอ้ ยกว่าสามปี

ข้นั ตอนการดาเนินการจดแจง้ สถานทพ่ี ักที่ไม่เปน็ โรงแรม

1. ย่ืนเอกสารและหลักฐานประกอบการจดแจ้ง การตรวจสอบเอกสาร

ผู้ประกอบการย่ืนคาขอแบบหนังสือแจ้งสถานท่ีพักที่ไม่เป็นโรงแรม

ใชเ้ วลา 1 วัน

2. เจ้าหนา้ ทผ่ี รู้ ับผิดชอบพิจารณาตรวจสอบข้อมูล ใชเ้ วลา 4 วัน

3. จัดเจ้าหน้าท่ีไปตรวจสถานท่ีพักที่ไม่เป็นโรงแรม แจ้งหน่วยงาน

ที่เก่ียวข้องตรวจสอบประวัติ และอนุมัติลงนามหนังสือแจ้งสถานที่พัก

ทไ่ี มเ่ ป็นโรงแรม ใชเ้ วลา 35 วนั 16

เอกสารและหลักฐานประกอบการจดแจ้ง

• หนงั สือสาคญั แสดงกรรมสทิ ธหิ์ รอื สทิ ธิครอบครองทีด่ นิ 1 ชุด
• ทะเบยี นบ้าน และสาเนาทะเบยี นบา้ น 1 ชดุ
• หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของอาคาร หรือหนังสือแสดงความยินยอม

ให้ใช้อาคาร หรือสถานท่ีท่ีขออนุญาตประกอบกิจการพาณิชย์ในกรณี
ทีอ่ าคารหรอื สถานทน่ี นั้ เป็นของผอู้ น่ื 1 ชุด
• แผนทแี่ สดงทีต่ ั้งของสถานทพี่ ักโดยสงั เขป 1 ชุด
• สาเนาทะเบยี นบา้ น และบัตรประชาชน 1 ชุด

สถานท่แี จง้ ขอรับแบบหนงั สอื แจง้ สถานท่พี ักท่ีไม่เปน็ โรงแรม

1. เขตกรุงเทพมหานคร ย่ืนคาขอได้ท่ี ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3
สานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง (วังไชยา) ถนนนครสวรรค์
เขตดสุ ิต กรุงเทพมหานคร โทร 02-3569559

2. ต่างจังหวดั ยน่ื คาขอไดท้ ่ี ที่วา่ การอาเภอที่สถานท่พี ักนั้น ๆ ต้งั อยู่

ระยะเวลาดาเนนิ การ

ระยะเวลาในการดาเนินการรวม : 40 วนั (ไมร่ วมวนั หยุดราชการ)

17

ตวั อย่างแบบฟอรม์ หนงั สอื แจง้ สถานที่พกั ท่ไี มเ่ ปน็ โรงแรม
18

19

20



04

เส้นทางแวะพัก ณ ที่พักนกั เดินทาง
Take a break at “ Home Lodge"

 ความหมายท่พี กั นกั เดินทาง
 คุณสมบัติของผู้ยื่นคาขอที่พักนักเดนิ ทาง
 เอกสารประกอบการจดแจง้
 ตัวอย่างแบบฟอรม์

ความหมายท่ีพกั นักเดนิ ทาง (Home Lodge)

ท่ีพักนักเดินทาง หมายถึง ท่ีพักที่ให้บริการแก่นักท่องเท่ียว โดยมีอัตรา
ค่าบริการ และจัดให้มีบริการสิ่งอานวยความสะดวกตามสมควร โดยมีจานวน
หอ้ งพกั ไม่เกิน 4 ห้อง และรองรบั ไดไ้ ม่เกิน 20 คน มีลักษณะเป็นการประกอบ
กิจการเพอื่ หารายได้เสริมซึ่งเปน็ ไปตามพระราชบญั ญัติโรงแรม พ.ศ.2547

คุณสมบัติของผยู้ นื่ คาขอท่พี กั นักเดินทาง

เปน็ บคุ คลธรรมดา มสี ัญชาตไิ ทย หรอื นิตบิ คุ คล ท่ีให้บริการด้านที่พักตาม
นยิ ามของท่ีพกั นักเดินทาง HOME LODGE

เอกสารและหลักฐานประกอบการจดแจง้

• ทะเบยี นบ้านและสาเนาทะเบียนบา้ น 1 ชุด
• ภาพถา่ ยประกอบการพจิ ารณา 1 ชุด
• แผนทแ่ี สดงที่ตัง้ โดยสังเขป 1 ชุด
• สาเนาหลักฐานการจดแจ้งสถานที่พักทีไ่ มเ่ ปน็ โรงแรม 1 ชุด

QR Code Download ใบสมคั รขอรบั การพจิ ารณา
ตามเกณฑค์ ณุ ภาพที่พกั นกั เดินทาง (Home Lodge)

23

24

25

ตวั อย่างแบบฟอรม์ ขอรบั การพจิ ารณาตามเกณฑ์คุณภาพท่ีพกั นกั เดินทาง
(Home Lodge)

26



05

ชิล ชิล กบั มาตรฐานทอ่ งเท่ียวปลอดภยั
ดา้ นสขุ อนามยั

Chilling with“ SHA"

 มาทาความรู้จกั กับ มาตรฐานท่องเที่ยว
ปลอดภยั ด้านสขุ อนามัย

 ข้ันตอนการลงทะเบยี น มาตรฐานทอ่ งเท่ียว
ปลอดภัยดา้ นสุขอนามัย

มาทาความรู้จกั กบั มาตรฐานท่องเที่ยวปลอดภัยด้านสขุ อนามยั

SHA หรือ Amazing Thailand Safety
& Health Administration มีชื่อเต็มในภาษาไทยว่า
โ ค ร ง ก า ร ย ก ร ะ ดั บ อุ ต ส า ห ก ร ร ม ท่ อ ง เ ที่ ย ว ไ ท ย
มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย เป็นโครงการ
ความร่วมมือของการท่องเท่ียวแห่งประเทศไทย
(ททท.) กระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬา กับกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการ
สขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
โดยนามาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขผนวกกับมาตรฐาน
การให้บริการท่ีมีคุณภาพของสถานประกอบการ เพ่ือสร้างความม่ันใจ
แก่นักท่องเท่ียวว่าทุกคนจะได้รับประสบการณ์ท่ีดี มีความสุข และ
ความปลอดภัยดา้ นสขุ อนามยั จากสนิ คา้ และบริการประเทศไทย
โดยกิจการที่สามารถขอรับมาตรฐาน SHA ได้ มี 10 หมวด ได้แก่
1. ภัตตาคาร/รา้ นอาหาร 2. โรงแรม/ที่พัก และสถานท่ีจดั ประชุม 3. นันทนาการ
และสถานที่ท่องเท่ียว 4. ยานพาหนะ 5. บริษัทนาเที่ยว 6. สุขภาพและความงาม
7. ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า 8. กีฬาเพ่ือการท่องเท่ียว 9. โรงละคร
โรงมหรสพและการจัดกจิ กรรม 10. รา้ นค้าของทร่ี ะลึกและร้านค้าอืน่ ๆ

29

ข้นั ตอนการลงทะเบยี น มาตรฐานทอ่ งเที่ยวปลอดภยั ดา้ นสุขอนามัย

สามารถศึกษาข้นั ตอนการลงทะเบียนได้
โดยการแสกน QR CODE

30



06

6 สถานี สมู่ าตรฐานโฮมสเตยไ์ ทย
6 Station to“ Homestay Standard"

 สถานีที่ 1 การบรหิ ารจัดการ
 สถานที ่ี 2 การตลาดและสอ่ื โซเชียล
 สถานที ี่ 3 ความสะอาดและความปลอดภยั
 สถานที ี่ 4 การท่องเท่ียว
 สถานที ี่ 5 การบรกิ าร
 สถานที ่ี 6 การนาเสนออัตลกั ษณ์

6 สถานี สูม่ าตรฐานโฮมสเตยไ์ ทย

ภายใต้โครงการ GSB Happy Homestay โฮมสเตยไ์ ทยนา่ อยู่

สถานที ่ี 1 ดา้ นการบรหิ ารจดั การชมุ ชนและการบรหิ ารจัดการทางการเงนิ
• ด้านการบรหิ ารจดั การชมุ ชน
การทาโฮมสเตย์จาเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี โดยต้องคานึงถึงบริบท

ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ต้องรักษาสมดุลระหว่าง
3 ปัจจัยนี้ เพราะหากละเลยปัจจัยใดปัจจัยหน่ึงไป อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อชุมชนได้
เช่น หากสนใจแต่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ มุ่งหวังแต่ให้เกิดรายได้และผลกาไร จาก
การท่องเที่ยว ทาให้เปิดรับนักท่องเที่ยวเข้ามาพักในชุมชนมากเกินไป โดย ท่ี
ไม่ได้คานึงถึงการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน อาจส่งผลให้เกิดปัญหา
เรื่องการจดั การขยะจากนักท่องเท่ียว เป็นต้น

ท้ังน้ี การบริหารจัดการโฮมสเตย์ อย่ างมีประสิ ทธิ ภาพโดยคานึ งถึง ปัจจั ย
ท้ัง 3 ด้าน ที่กล่าวไปเบ้ืองต้นนั้น ทรัพยากรบุคคลถือเป็นส่ิงที่มีความสาคัญเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากการทาโฮมสเตย์จาเป็นต้องอาศัยการขับเคล่ือนจากคนในชุมชนเป็นหลัก
ซึ่งหากคนในชมุ ชนมกี ารจัดตั้งกลุ่มโฮมสเตย์ท่ีมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการแบ่งหน้าที่และ
บทบาทความรับผิดชอบ รวมไปถึงมีข้อตกลงร่วมกันของกลุ่ม ย่อมจะส่งผลให้การ
บริหารจัดการชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเท่ียวท่ีเข้ามาพัก มีแนวโน้มที่จะเป็นไปอย่าง
มปี ระสิทธิภาพมากข้นึ

ในหลาย ๆ ชุมชน กลุ่มโฮมสเตย์มักจะอยู่ภายใต้โครงสร้างใหญ่ของ
กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีการแบ่งหน้าที่และบทบาทออกไปเป็นหลาย ฝ่าย
ตามบริบทการทางานของพื้นที่นั้น ๆ โดยกลุ่มโฮมสเตย์จะทาหน้าท่ีประสานงาน
กับกลุ่มอ่ืน ๆ ท่ีอยู่ภายใต้โครงสร้างใหญ่ของกลุ่มท่องเท่ียว เพื่อให้บริการและต้อนรับ
นักท่องเที่ยวท่มี าเยือนชุมชน

33

ตวั อยา่ งตามภาพ

ประธาน

ทปี่ รกึ ษา ประชาสมั พันธ์
ประสานงาน

การตลาดและขาย

กลมุ่ โฮมสเตย์ กลมุ่ รถ กลมุ่ กจิ กรรม กลมุ่ อาหาร กลมุ่ ผนู ้ าเทยี่ ว การเงนิ
การทอ่ งเทยี่ ว หัวหนา้ / หวั หนา้ /
หัวหนา้ / หวั หนา้ / ผปู ้ ระสาน ผปู ้ ระสาน
ผปู ้ ระสาน ผปู ้ ระสาน หัวหนา้ สมาชกิ ไกด์
กจิ กรรม
สมาชกิ สมาชกิ สมาชกิ

ท้ังน้ีสมาชิกของกลุ่มโฮมสเตย์ต้องมีการตกลงบทบาทหน้าท่ีกันให้ชัดเจน รวม
ไปถึงสร้างกฎกติกาในการทางานร่วมกัน เพื่อให้การทางานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยสามารถเริม่ ได้อยา่ งง่าย ๆ ดังน้ี

1. สรุปจานวนสมาชิกและจานวนของบ้านพักโฮมสเตย์ท่ีจะเข้ามาร่วมกลุ่ม
ใหแ้ นช่ ดั

2. แบง่ บทบาทหน้าท่ี เช่น ประธานกลมุ่ รองประธานกลุ่ม เหรัญญิกกลุ่ม และ
สมาชิกคนอน่ื ๆ ทาหน้าทค่ี ณะกรรมการกล่มุ เปน็ ต้น

34

3. สรปุ หน้าทข่ี องแต่ละตาแหนง่ ให้ชัดเจน เชน่
ประธานกลุ่ม ทาหน้าที่ดูแลภาพรวมการทางานของกลุ่มให้เป็นไปอย่าง
มีประสิทธิภาพ และคอยประสานงานภายในกลุ่มโฮมสเตย์เมื่อมีนักท่องเที่ยวต้องการ
เข้ามาพัก เพื่อให้เกิดการจัดสรรบ้านพักตรงตามความต้องการของนักท่องเท่ียว
และกตกิ าของสมาชิกในกลมุ่ อาทิ การหมุนเวยี นบ้านพัก เปน็ ตน้
รองประธานกลุม่ มหี นา้ ท่ชี ว่ ยเหลอื และสนบั สนนุ การทางานของประธานกลุ่ม
ใหด้ าเนนิ ไปอย่างราบรื่น และทาหน้าที่แทนเมอื่ ประธานกลุม่ ไม่สามารถทาหน้าทไ่ี ด้
เหรัญญิก ดูแลจัดการเร่ืองการเงินของกลุ่มให้เป็นไปอย่างโปร่งใส มีการ
จดบนั ทกึ รายรับ-รายจา่ ยของกล่มุ รวมท้ังจานวนผูเ้ ขา้ พกั ในบา้ นแต่ละหลงั
คณะกรรมการ สาหรับสมาชิกคนอ่ืน ๆ ในกลุ่ม มีหน้าที่สนับสนุนการทางาน
ของกลุ่มให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มทั้งในเรื่อง
มาตรฐานการให้บริการทพี่ กั และการทางานภายในของกลุม่
4. การสร้างกฎกติกา เม่ือมีโครงสร้างการทางานที่ชัดเจนแล้ว กลุ่มโฮมสเตย์
ต้องสร้างกฎกติกาในการทางานร่วมกัน เช่น แนวทางในการหมุนเวียนบ้านพัก
การกาหนดจานวนผู้เข้าพัก มาตรฐานการให้บริการ การนัดหมายประชุม การกาหนด
คาแนะนาสาหรับผ้เู ข้าพัก ช่วงเวลาเขา้ พกั เป็นตน้
อย่างไรกต็ ามโครงสรา้ งกล่มุ โฮมสเตยข์ องแตล่ ะพ้นื ที่ยอ่ มมคี วามแตกต่างกันไป
ตามบริบทของพื้นที่น้ัน โดยขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกันของผู้มีส่วน เก่ียวข้อง
ในการทาโฮมสเตย์ ซง่ึ การแบ่งหนา้ ทคี่ วามรับผิดชอบยอ่ มสมั พนั ธก์ ับทกั ษะความสามารถ
และความชานาญเฉพาะทางของบุคคลนน้ั ๆ เพ่อื กอ่ ใหเ้ กดิ ประโยชน์สูงสดุ ในการทางาน

35

• การบรหิ ารจัดการทางการเงิน
นอกจากการบริหารทรัพยากรบุคคลในกลุ่มโฮมสเตย์ให้เกิดประสิทธิภาพโดย

การมีโครงสร้างกลุ่มและกฎกติการ่วมกันที่ชัดเจนแล้ว อีกส่ิงหนึ่งท่ีมีความสาคัญเป็น
อย่างมากต่อการทางาน คือ การบริหารจัดการทางการเงิน โดยส่ิงที่ชุมชนต้องคานึงถึง
ในการทาโฮมสเตย์ ประกอบด้วย

การต้ังราคาโฮมสเตย์ โดยต้องเป็นราคาท่ีมีความเป็นธรรมและเหมาะสมกับ
บริการทนี่ กั ทอ่ งเที่ยวทีไ่ ด้รบั และในอีกแงห่ น่งึ ต้องเปน็ ราคาท่ีชมุ ชนจะไมข่ าดทนุ ซ่ึงการ
ตั้งราคาโฮมสเตย์จาเป็นต้องทราบต้นทุนท่ีเกิดขึ้น เพราะหากเราทราบต้นทุนในการ
ให้บริการบ้านพัก ก็ย่อมทาให้เราสามารถกาหนดราคาท่ีเหมาะสมได้ ซึ่งโดยทั่วไปราคา
ของโฮมสเตย์ เฉล่ียอยู่ที่ประมาณ 200 –500 บาท/คน/คืน ประกอบด้วยที่พัก 1 คืน
พร้อมอาหารเช้า 1 ม้ือ ทั้งนี้ราคาของโฮมสเตย์ขึ้นอยู่กับรูปแบบบ้านพักและการให้บริการ

ตวั อย่างต้นทนุ
• คา่ น้าตอ่ วนั
• ค่าไฟตอ่ วนั
• คา่ อินเตอร์เนต็ หรือไวไฟ (ถ้ามกี ารใหบ้ ริการนักท่องเท่ยี ว)
• คา่ แรงเจ้าของบา้ น ในการดแู ลผูเ้ ขา้ พักและเตรยี มความพรอ้ มของบา้ น
• คา่ อาหารเช้าและนา้ ด่มื
• ค่านา้ ดม่ื ท่จี ดั เตรียมให้เพม่ิ เตมิ
• อ่ืน ๆ เช่น กระดาษชาระ คา่ อุปกรณ์ทาความสะอาด เป็นต้น

36

การบันทึกรายได้ และจานวนผู้เข้าพัก เพ่ือให้เห็นภาพรวมของรายได้
และจานวนผู้เข้าพักบ้านโฮมสเตย์ของกลุ่ม โดยสามารถจดบันทึกลงสมุด หรือเคร่ือง
คอมพวิ เตอรต์ ามความถนดั ของแตล่ ะชุมชน

ทั้งนี้ควรมีการเก็บบันทึกข้อมูลทุกคร้ังท่ีมีผู้เข้ามาใช้บริการโฮมสเตย์ เพ่ือให้
เกิดความโปร่งใสในการทางาน และเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ถูกต้องเม่ือต้องการใช้งาน
โดยการบันทึกข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลสถิติที่กลุ่มโฮมสเตย์สามารถนาไปใช้
ประโยชน์ได้ อาทิ ใช้เป็นข้อมูลประกอบโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณ
หรือการสนับสนนุ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เปน็ ต้น

ข้อตกลงในการหักรายได้ส่วนหน่ึงเข้ากองกลางของกลุ่ม โดยกองกลาง
ท่ีทางกลุ่มช่วยกันสะสมจะเป็นประโยชน์ต่อการทางานของกลุ่มในหลายประการ อาทิเช่น
เปน็ คา่ โทรศัพท์ในการติดต่อประสานงานกับนักท่องเที่ยว เป็นค่าเดินทางสาหรับสมาชิก
กลุ่มในการเข้าร่วมอบรม เป็นต้น ซึ่งการหักเงินเข้ากองกลาง สามารถหักจากค่าท่ีพัก
ได้หลายรูปแบบ อาทิ หักเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น 10 เปอร์เซ็นต์ หรือหักเป็นจานวนเงิน
ทช่ี ดั เจน เชน่ หกั 10 บาท จากค่าที่พกั ของนกั ท่องเทีย่ วทุก ๆ 1 คนต่อ 1 คืน เป็นตน้

37

สถานที ่ี 2 ด้านการตลาด และ โซเชยี ลมีเดยี
ปัจจุบันมีการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการทาการตลาดและประชาสัมพันธ์

เป็นอย่างมาก โดยเฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นส่ือออนไลน์ท่ีคนไทยใช้กันมากท่ีสุด
เป็นอันดับ 1 ถือเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ท่ีใช้งานง่าย และสามารถเข้าถึงผู้คน
ได้ไม่จากัดพื้นที่ และคนในชุมชนเองก็ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร
ดังนั้น เฟซบุ๊กจึงเป็นอีกหน่ึงเครื่องมือโซเชียลมีเดียท่ีเหมาะสาหรับเป็น ช่องทาง
การประชาสมั พนั ธ์ของชมุ ชน

ท้ังนี้ นอกจากการใช้เฟซบุ๊กส่วนตัวในการประชาสัมพันธ์การท่องเท่ียว
และบ้านพักโฮมสเตย์ของชุมชนแล้ว ควรจะมีการทาเพจเฟซบุ๊กท่ีเป็น ทางการ
ของกลุ่มโฮมสเตย์หรือกลุ่มท่องเท่ียวชุมชนด้วย เพื่อเป็นช่องทางหลักในการ
ประชาสัมพันธ์และการขาย โดยต้องมอบหมายหน้าท่ีคนดูแลเฟซบุ๊กหลักของกลุ่ม
ให้ชัดเจน เพ่ือให้เกิดความเคลื่อนไหวของข่าวสารและคอยตอบคาถามนักท่องเท่ียว
ทสี่ ง่ มาทางเฟซบุ๊ก โดยหนา้ ทีน่ ี้มักเรยี กกันวา่ แอดมินเพจ

38

เมื่อเรามีเพจเฟซบุ๊กของกลุ่มเป็นท่ีเรียบร้อยแล้ว สิ่งหน่ึงท่ีเราต้อง
ให้ความสาคัญ คือ เนื้อหาท่ีเราจะทาการประชาสัมพันธ์ผ่านเฟซบุ๊ก ทั้งนี้ ทางชุมชน
สามารถเร่ิมต้นทาเน้ือหาท่ีน่าสนใจและดึงดูดนักท่องเท่ียวได้อย่างง่าย ๆ โดยอาศัย
เคล็ดลบั เหลา่ น้ี

1. การโพสตห์ ลากหลายรูปแบบ เชน่ รูปภาพ ขอ้ ความ วดิ โี อ เปน็ ตน้
2. คานึงถึงเวลาท่ีจะโพสต์ โดยเวลาท่ีเหมาะสมในการโพสต์ ได้แก่ ช่วงเช้า
(07.00 - 09.00 น.) ช่วงพักเที่ยง (12.00 - 13.00 น.) ช่วงเลิกงาน (18.00 - 23.00 น.)
และโพสตอ์ ยา่ งสม่าเสมอ ประมาณ 1 - 3 คร้ังต่อสัปดาห์
3. เนื้อหาที่โพสต์ ควรกระชับ ไม่ยืดเย้ือ ใช้ภาษาท่ีเข้าใจง่าย และหาก
จะโพสต์ข้อความที่มีเน้ือหาเยอะ ควรให้ 6 บรรทัดแรกมีความน่าสนใจ เพื่อดึงดูด
ให้คนกดเข้าไปอ่าน รวมถึงภาษาท่ีใช้ควรเป็นภาษาท่ีดึงดูดความสนใจ เช่น ใช้การ
ต้งั คาถาม หรือใชค้ าเปรยี บเทยี บใหเ้ ห็นภาพ เป็นตน้

39

สถานีที่ 3 ดา้ นความสะอาด ความปลอดภยั และ ดา้ นสิ่งแวดลอ้ ม
ท้ังนี้การทาโฮมสเตย์ต้องให้ความสาคัญกับความสะอาด ความปลอดภัย และ

ด้านส่ิงแวดล้อม เป็นอย่างมาก โดยทางกลุ่มโฮมสเตย์ต้องมีการตกลงร่วมกันเพ่ือให้
บ้านพักแต่ละหลังมีมาตรฐานในด้านความสะอาด ความปลอดภัย และ ด้านส่ิงแวดล้อม
ไปในทิศทางเดียวกัน เพ่ือใหน้ กั ทอ่ งเทีย่ วที่เข้าพักรู้สึกสบายใจ และประทับใจกับการเข้า
รบั บรกิ าร โดยในเบ้อื งตน้ ส่งิ ทีก่ ลมุ่ โฮมสเตย์ตอ้ งคานึงถงึ ดังนี้

ดา้ นความสะอาด
บริเวณบ้านพักทั้งภายในและภายนอกสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย
ท่ีพักท่ีนอนสะอาดและสบาย เป็นสัดส่วน ห้องอาบน้า และห้องส้วมสะอาด มิดชิด
ภาชนะบรรจุอาหารสะอาด และอาหารถูกสุขอนามัย แก้วน้าสะอาด และมีน้าด่ืม
ทส่ี ะอาด
ด้านความปลอดภัย
บริเวณบ้านพักท้ังภายในและภายนอก ห้องพัก ห้องน้า ต้องไม่มีอุปกรณ์
หรือส่ิงของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่นักท่องเที่ยววางอยู่ไม่เป็นที่ หากมีควรเก็บ
ให้มิดชิดและเป็น ระเบียบ มีกล่องปฐมพยาบาลไว้ประจาบ้านพักทุกหลัง
โดยเจ้าของบ้านต้องหม่ันตรวจเช็คชนิดของยา และอายุการใช้งานของยาอย่างสม่าเสมอ
เพื่อให้พร้อมใช้งานเม่ือเกิดเหตุ เจ้าของบ้านควรรู้ และเข้าใจหลักปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เพื่อคอยช่วยเหลือนักท่องเท่ียวท่ีเข้าพัก หากเกิดเหตุฉุกเฉินควรมีเบอร์โทรศัพท์ของ
เจ้าของบ้านพัก และเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานที่เก่ียวข้อง กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินติดไว้ที่
บ้านพักที่นักท่องเที่ยวสามารถสังเกตเห็นได้ บางชุมชนอาจมีการจัดเวรยามดูแล
ความปลอดภัย

40

ด้านส่ิงแวดล้อม
ให้ความสาคัญกับการจัดสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บ้านพักให้น่าอยู่ โดยการเพ่ิม
พ้ืนที่สีเขียวจะช่วยทาให้บรรยากาศของบ้านพักน่าอยู่มากข้ึน เช่น การจัดสวนหย่อม
ปลูกต้นไม้ที่ให้ร่มเงา ปลูกดอกไม้ เป็นต้น นอกจากน้ีการนาวัสดุจากธรรมชาติ
มาประยกุ ตเ์ ปน็ ของใช้ หรือของประดับตกแต่งบ้านก็สามารถทาให้นักท่องเที่ยวประทับใจได้
เชน่ ปา้ ยช่อื โฮมสเตยจ์ ากเศษไม้เหลอื ใช้ เปน็ ต้น
ลดการใชพ้ ลาสติกทีไ่ ม่สามารถย่อยสลายได้ในการบริการนักท่องเที่ยว เช่น ลด
การใช้หลอดพลาสติก ถุงพลาสติก ขวดน้าพลาสติก เป็นต้น โดยเจ้าบ้านควรใช้ภาชนะ
และอุปกรณ์ที่สามารถนากลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ต้องใส่ใจเร่ืองความสะอาดของภาชนะ
และอปุ กรณด์ ้วย หรือการใช้วัสดุจากธรรมชาติ
เม่ือมีนักท่องเที่ยวมาพักที่บ้าน ย่อมทาให้เกิดขยะท่ีมากขึ้น ดังน้ัน
เจ้าบ้านควรมีการจัดการขยะท่ีมีประสิทธิภาพ เช่น แยกประเภทขยะให้ชัดเจน นาขยะ
ไปตอ่ ยอดหรอื ใช้ประโยชน์ เปน็ ต้น
มีการกาหนดข้อปฏิบัติสาหรับนักท่องเที่ยวในด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ทิ้งขยะ
ลงถัง ห้ามทิง้ ของเสยี ลงในแมน่ ้า เป็นตน้

41

สถานีท่ี 4 ด้านการทอ่ งเทย่ี ว
กิจกรรมการท่องเท่ียวในชุมชนเป็นอีกบริการหนึ่งที่เจ้าของ บ้านพัก

โฮมสเตย์สามารถนาเสนอให้กับนักท่องเท่ียวได้ โดยการออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวให้มี
ความน่าสนใจและสร้างสรรค์เป็นกระบวนการท่ีมีความสาคัญ เน่ืองจากกิจกรรม
ท่องเท่ียวของชุมชนเป็นเคร่ืองมือที่นาเสนอภูมิปัญญา อัตลักษณ์ ประเพณีวัฒนธรรม
และวถิ ชี ีวติ ของชุมชนแกน่ ักทอ่ งเทย่ี ว ซ่ึงการออกแบบกจิ กรรมท่ีน่าสนใจ และตอบโจทย์
นักท่องเที่ยว จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนได้มากข้ึน และ
ทาใหก้ ารทอ่ งเทย่ี วของชุมชนนัน้ เป็นทร่ี ู้จักมากขึน้ ดว้ ย

ทั้งน้ี ในกระบวนการออกแบบกิจกรรมท่องเท่ียวจาเป็นต้องคานึงถึงปัจจัย
ต่าง ๆ ดังนี้

นักท่องเที่ยว ลักษณะของนักท่องเที่ยวที่เราต้องการให้มาท่องเท่ียวในชุมชน
ของเรา เชน่ ชาวไทย/ต่างชาติ ช่วงอายุของนักท่องเที่ยว เป็นต้น ทั้งนี้ ทางชุมชนอาจมุ่ง
เป้าหมายไปที่กลุ่มนักท่องเท่ียวท่ีเดินทางมาใช้บริการบ่อย ๆ หรือกลุ่มนักท่องเท่ียว
ท่ีชุมชนมองว่าเหมาะกับบริการด้านการท่องเที่ยวของตนเอง โดยอาศัย ข้อมูล
จากปร ะสบก ารณ์ท่ีผ่ านมา ในการ กาหน ดลักษณ ะของกลุ่มนัก ท่องเ ที่ยว เ ป้ าหมา ย
ให้ชัดเจนขึ้น เช่น กลุ่มเป้าหมายคือ วัยทางานก่อนเกษียณอายุ 45-60 ปี ซ่ึงเป็นวัย
ทมี่ ีกาลงั ซื้อสนิ คา้ ค่อนขา้ งสงู เปน็ ต้น

เอกลักษณ์และความน่าสนใจของชุมชน สิ่งที่เป็นจุดเด่นของชุมชน
ท่ีต้องการนาเสนอนักท่องเที่ยว เช่น ประเพณี วัฒนธรรม งานหัตถกรรม ธรรมชาติ
เปน็ ตน้

ความสามารถในการรองรับ ทั้งในด้านของสถานท่ีและทีมทางานด้าน
การท่องเท่ียวต้องสอดคล้องกับนักท่องเที่ยวท่ีมา เพ่ือให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการ
ทางาน เช่น พื้นที่สาหรับจัดกิจกรรมสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้กี่คนต่อคร้ัง
บ้านโฮมสเตย์รบั คนได้เท่าไหร่ เปน็ ต้น

42

สถานที่ สถานที่ท่ีใช้ทากิจกรรมต้องมีความสะอาด ปลอดภัย และเหมาะสม
กับปรมิ าณของนักทอ่ งเท่ียว และกิจกรรมทใี่ หน้ ักท่องเทีย่ วทา

รูปแบบกิจกรรม ต้องเป็นกิจกรรมที่สามารถนาเสนอเอกลักษณ์ของชุมชน
ทาให้นักท่องเที่ยวเกิดการเรียนรู้และแลกเปล่ียนกับคนในชุมชน เกิดเป็นประสบการณ์
ใหมท่ ่ีนกั ทอ่ งเทีย่ วประทับใจ

พาหนะ กรณีที่มีพาหนะท้องถ่ินภายในชุมชน สามารถนามาปรับใช้สาหรับ
ทากิจกรรมได้ เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับนักท่องเท่ียว และยังนาเสนอ
วถิ ีชวี ิตของคนในชุมชนด้วย

ต้นทุน ราคา ในการทาท่องเที่ยวย่อมมีต้นทุนเกิดขึ้น ดังน้ันชุมชนจาเป็นต้อง
คานวณต้นทุนที่เกิดข้ึนให้ชัดเจน ก่อนที่จะนาเสนอราคากิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยว
เช่น การคิดต้นทุนค่ากิจกรรมเวิร์คช็อปทางานหัตถกรรมชุมชน กิจกรรมล่องแก่ง
กิจกรรมเดนิ ป่า เปน็ ต้น

ระยะเวลา นาเสนอกิจกรรมท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับ ระยะเวลา
ทน่ี กั ท่องเท่ยี วสามารถทากจิ กรรมได้ เช่น กิจกรรมทีเ่ หมาะกับระยะเวลาคร่งึ วัน กจิ กรรม
ทเ่ี หมาะกับระยะ 1 วนั เปน็ ตน้

43

สถานีท่ี 5 ดา้ นการบรกิ าร อาหารและเครือ่ งดืม่
• การเป็นเจา้ บา้ นทดี่ ีในการต้อนรับนกั ท่องเทีย่ ว
เจ้าบ้านหมายถึงบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้านเรือน ในอุตสาหกรรมท่องเท่ียว

หมายรวมถึง ประชาชน พ่อค้า แม่ค้า นักเรียน และผู้ประกอบการอาชีพใด ๆ ในท่ีน้ี
รวมถึงผู้คนในชุมชนท่ีอาศัยอยู่ในท่องถ่ินท่ีเป็นแหล่งท่องเท่ียวนั้น ๆ การเป็นเจ้าบ้านท่ีดี
จึงหมายถึงกลุ่มบุคคลเหล่าน้ีมีความเป็นมิตร มีความเช่ือมั่น รอบรู้เรื่องราวในท้องถิ่น
ให้การตอบรับ ดูแลผู้มาเยือนหรือนักท่องเที่ยวให้มีความสุข และรู้สึกปลอดภัย
เพราะเมื่อผู้มาเยือนได้รับความมีอัธยาศัยไมตรี และเจ้าบ้านให้การตอบรับอย่างอบอุ่น
ยอ่ มทาใหผ้ ู้มาเยอื นเกิดความประทับใจ

ปจั จยั สาคญั ในการเปน็ เจา้ บ้านที่ดี
บุคลิกภาพ ได้แก่ กิริยาท่าทาง น้าเสียง การพูดจา ความยิ้มแย้มแจ่มใส
มคี วามจรงิ ใจ
ความรู้ ผู้ท่ีเป็นเจ้าบ้านต้องมีความรู้ต่าง ๆ เก่ียวกับสถานที่และสิ่งต่าง ๆ
ในชุมชนของตนเอง ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์/สินค้า/บริการ ท่ีเสนอให้กับ
นกั ท่องเที่ยว เป็นตน้
ทักษะ ความน่าเชื่อถือของเจ้าบ้านในสายตานักท่องเท่ียวน้ัน เป็นผล
มาจากการฝึกฝนทักษะ ยิ่งฝึกฝนบ่อย ๆ ย่ิงทาให้เกิดความชานาญ ส่งผลให้
ความน่าเช่ือถอื มีมากขน้ึ
ทัศนคติ เจ้าบ้านที่ดีต้องมีทัศนคติที่ดี มีความเช่ือม่ันในตนเอง มีความสุข
ในการทางาน มองโลกในแง่ดี ตระหนักถึงความสาคัญของการบริการ คือ มีความเป็น
เจา้ บ้านท่มี ีจติ ใจของการบรกิ าร

44

• อาหารและเคร่อื งด่มื
อาหาร นอกจากจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสาคัญต่อการดารงชีวิตของมนุษย์แล้ว

ยังถือเป็นเครื่องมือในการบอกเล่าวิถีชีวิต วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ของชุมชนได้ด้วย
ดังนั้น เจ้าบ้านควรให้ความสาคัญกับการจัดเตรียมอาหารให้กับนักท่องเที่ยวท่ีมาพัก
โฮมสเตย์ ในเบ้ืองต้นปัจจัยที่เจ้าบ้านควรคานึงถึงในการจัดเตรียมอาหารและเคร่ืองด่ืม
มีดังน้ี

เมนอู าหารและเคร่ืองดมื่ โดยเจ้าบ้านสามารถนาเสนอเมนูอาหารพ้ืนบ้านหรือ
อาหารท้องถิ่นไว้ในสารับได้ ท้ังน้ี ความ หลากหลายของเมนูอาหาร ควร
มีความเหมาะสมกับแต่ละม้ืออาหาร และราคาของอาหารท่ีชุมชนได้ต้ังไว้ อีก ท้ัง
ต้องคานึงถึงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารด้วย เช่น มื้อเช้า ไม่ควรเป็นอาหาร
ที่หนักจนเกินไป อาจเป็นข้าวต้มและขนมว่างที่เหมาะสาหรับรับประทานช่วงเช้า
เช่น ปาท่องโก๋ น้าเต้าหู้ เป็นต้น หรือหากชุมชนต้องการจัดเป็นสารับอาหารก็ทาได้
เช่นกัน โดยเมนูอาหารอาจอยู่ที่ 2 - 3 เมนู หรือในส่วนของอาหารเย็นท่ีเป็นม้ือท่ี
ค่อนข้างหนักกว่ามื้ออื่น ๆ สามารถจัดเมนูอาหารท่ีหลากหลาย อาจจัดเมนูอาหาร
ที่ 3 - 5 เมนู พร้อมของหวานหรือผลไม้ อย่างไรก็ตามชุมชนต้องคานึงถึงต้นทุน
ของอาหารในแต่ละม้ือให้ดี และไม่ควรเตรียมอาหารปริมาณมากเกินความจาเป็น เพ่ือให้จัด
อาหารได้อยา่ งเหมาะสมและไม่ขาดทนุ

ความสะอาดและสุขอนามัย เป็นส่ิงที่เจ้าบ้านต้องให้ความสาคัญเป็นอย่างมาก
โดยสิง่ ที่ต้องคานึงถึง ประกอบด้วย

วตั ถุดิบทใ่ี ชป้ ระกอบอาหาร เช่น เนือ้ สตั ว์ ผกั ขา้ ว เคร่ืองปรงุ นา้ เปน็ ตน้ ตอ้ ง
ม่ันใจว่ามีความสะอาด ไม่มีการปนเป้ือนของสารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ผลิตจาก
แหลง่ ผลิตที่เชื่อถอื ได้ และกอ่ นนาอาหารสดมาปรงุ ควรล้างใหส้ ะอาดเสยี กอ่ น

45

อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร และภาชนะสาหรับบรรจุอาหาร เช่น หม้อ
กระทะ จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้า เป็นต้น ต้องสะอาด ไม่ทาจากวัสดุท่ีเป็นพิษ
ไม่มีคราบสิ่งสกปรกติดอยู่ โดยเจ้าบ้านต้องหม่ันตรวจตราความสะอาดอยู่เสมอ
และควรจัดวางอุปกรณ์และภาชนะเหล่าน้ีในที่มิดชิดและถูกสุขลักษณะ เพ่ือป้องกัน
ฝนุ่ และสัตวม์ าปัสสาวะหรอื อุจจาระใส่ เชน่ แมลง หนู เปน็ ตน้

สถานทใี่ นการปรุงอาหาร ต้องสะอาดและถูกสุขลักษณะ มีการจัดเก็บอุปกรณ์
อยา่ งเปน็ ระเบยี บ และป้องกนั สตั วไ์ มใ่ หเ้ ขา้ ไปในบริเวณประกอบอาหาร

ผู้ประกอบอาหาร ควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังประกอบอาหารทุกครั้ง
และควรแต่งกายให้เหมาะสม เช่น สวมผ้ากันเป้ือน สวมหมวกคลุมผม หรือเก็บผม
ให้มิดชดิ เพ่อื ป้องกนั การปนเปอื้ นของเสน้ ผมในอาหาร เป็นตน้

การตกแต่งและนาเสนออาหาร เป็นอีกสิ่งหน่ึงที่สามารถเล่าเร่ืองราว
ของชุมชนและสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเท่ียวได้ โดยชุมชนสามารถประยุกต์
วัสดุท่ีหาได้ในท้องถิ่นมาใช้ในการตกแต่งอาหาร อาทิ ใบตอง ผักพื้นบ้าน ดอกไม้ เป็นต้น
นอกจากน้ี ยังสามารถปรับเปล่ียนจากการใช้จานชามปกติในการใส่อาหารมาเป็นวัสดุ
ธรรมชาติหรือเครื่องจักสานของชุมชน เช่น กระบอกไม้ไผ่ ตะกร้าสาน กระด้ง เป็นต้น
ท้ังน้ีชุมชนไม่จาเป็นต้องลงทุนในการซื้อภาชนะที่มีราคาแพงมาใช้ เพียงแต่ประยุกต์สิ่ง
ทมี่ อี ย่รู อบตัวอยา่ งสรา้ งสรรคก์ ็สามารถทาให้นักทอ่ งเที่ยวประทับใจได้

46

สถานที ี่ 6 ด้านการนาเสนออตั ลกั ษณช์ มุ ชน มนต์เสนห่ ์ของโฮมสเตย์
ชุมชนสามารถนาเสนอภูมิปัญญา วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของท้องถิ่นให้กับ

นักท่องเที่ยวท่ีมาพักยังโฮมสเตย์ได้หลากหลายวิธี โดยสามารถนาเสนอผ่านกิจกรรม
ท่องเที่ยว อาหาร และบ้านพักโฮมสเตย์ เพ่ือสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเท่ียว
ซึ่งชมุ ชนสามารถทาไดอ้ ยา่ งง่าย ๆ ดงั นี้

อาหาร
นาเสนออาหาร ขนม เครื่องดื่ม ของท้องถ่ินให้กับนักท่องเท่ียวพร้อม
บอกเล่าความเป็นมา วิธีการทา และความสาคัญของเมนูดังกล่าวจัดแต่งอาหาร
ให้สวยงาม โดยนาวัสดุท่ีหาได้ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ใน การจัดสารับอาหาร
ให้น่าสนใจและแสดงออกถึงความเป็นชุมชน อาทิ นาเครื่องปั้นดินเผาท่ีผลิต
โดยชมุ ชนมาใชบ้ รรจุอาหารและเครือ่ งด่ืมใหก้ บั นกั ท่องเท่ยี ว เป็นตน้
จัดกิจกรรมดา้ นอาหารให้ท่องเท่ียวได้มีประสบการณ์เรียนรู้ร่วมกับชุมชนมากข้ึน
เช่น การพาไปชมแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหาร หรือแม้แต่การพานักท่องเที่ยว
ไปหาวัตถุดิบและนากลับมาประกอบอาหารร่วมกับเจ้าบ้าน ซ่ึงกิจกรรมเหล่าน้ีจะทาให้
เกิดการแลกเปล่ยี นเรื่องราวของชมุ ชนระหวา่ งเจ้าบ้านและนกั ทอ่ งเท่ียวมากยิ่งขน้ึ
กิจกรรมทอ่ งเที่ยว
ชุมชนสามารถประยุกต์วิถีชีวิตที่เป็นอยู่ให้เป็นกิจกรรมสาหรับนักท่องเท่ียวได้
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักท่องเท่ียวและคนในชุมชน โดยอาจแบ่งง่าย ๆ
เปน็ 2 ประเภท คือ
กิจกรรมที่สามารถทาได้ท้ังปี อาทิ กิจกรรมทาอาหารท้องถิ่นร่วมกับเจ้าของ
บ้านพักโฮมสเตย์ กิจกรรมทอผ้า กิจกรรมจักสานไม้ไผ่ กิจกรรมป้ันเครื่องป้ันดินเผา
กจิ กรรมจบั ปจู ับปลาในลานา้ เปน็ ต้น
กิจกรรมเฉพาะฤดูกาล อาทิ กิจกรรมดานา กิจกรรมเกี่ยวข้าว กิจกรรม
ในงานประเพณปี ระจาปีของชมุ ชน เป็นตน้
ในการนาเท่ียว ชุมชนต้องมีการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของวิถีชีวิต
วัฒนธรรม และภูมิปัญญาต่าง ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าใจด้วย เพื่อให้นักท่องเท่ียว
ไดซ้ มึ ซับองคค์ วามรทู้ ี่เปน็ เอกลกั ษณ์เฉพาะถิน่ ของชุมชน

47

บ้านโฮมสเตย์
นอกจากการจัดบ้านโฮมสเตย์ให้สะอาด ปลอดภัย เพื่อเตรียมพร้อมรองรับ
นักท่องเท่ียวที่จะเข้ามาพักแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มมนต์เสน่ห์ให้กับ
บา้ นโฮมสเตยไ์ ด้ อาทิ
การเป็นเจ้าบ้านท่ีดี ท่ีนอกจากจะต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยมิตรไมตรี
และการดูแลที่ดีแล้ว ยังต้องสามารถบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนแก่นักท่องเที่ยวได้
เพือ่ ให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปล่ยี นประสบการณร์ ะหวา่ งกนั
การตกแต่งโฮมสเตย์ให้สวยงามและมีเอกลักษณ์ ไม่จาเป็นต้องใช้วัสดุราคา
แพง หรือต้องตกแต่งให้มีความหรูหรา แต่ชุมชนสามารถนาสิ่งท่ีหาได้ใน ท้องถ่ิน
มาตกแต่งได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งบริเวณรอบบ้านด้านนอกหรือบริเวณ
ในบ้าน การทาป้ายบ้านพัก ราวแขวนผ้า โต๊ะเก้าอี้สาหรับรับแขก โดยวัสดุดังกล่าว
อาจเป็นวัสดุจากธรรมชาติ เช่น เศษไม้เก่า ไม้ไผ่ ดอกไม้ที่หาได้ในท้องถิ่น เป็นต้น หรือ
อาจเป็นงานฝมี อื ของคนในชุมชนก็ได้ เช่น งานจกั สาน ผ้าทอ เครือ่ งปั้นดนิ เผา เปน็ ต้น

48


Click to View FlipBook Version