1/14 ชาเขียว ภญ.ศิรินภา เซี่ยงหลิว กองการแพทย์ทางเลือก บทน า เมื่อนึกถึงเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพต้องนึกถึงชาเขียว ชาเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมอันดับสองของโลก ผู้คนดื่ม เพื่อรสชาติและผลที่ได้จากการกระตุ้น ชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความอ้วน ลดระดับ น้้าตาลในเลือดและระดับอินซูลินในเลือด ลดโคเลสเตอรอล มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง เพิ่มการใช้พลังงานและการ สลายไขมัน (fat oxidation) เป็นต้น พืชสมุนไพร ผลิตภ ัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นผล ิตภ ัณฑ์สุขภาพที่ได้รับความน ิยมเป็น อย่างมากจากผู้บริโภคส้าหรับการดูแลและบ้ารุงร่างกายทั้งเพื่อตนเองและคนในครอบครัว โดยมีความเชื่อว่า สม ุนไพร ผลิตภ ัณฑ์อาหาร และผล ิตภ ัณฑ ์เสร ิมอาหารที่ผล ิตมาจากพืชธรรมชาต ิม ีคุณภาพและ ประส ิทธิภาพด ีจะช่วยบ้ารุงร่างกาย ให้มีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างดี บทความนี้ได ้รวบรวมข ้อม ูลของพืชที่เรียกว่า ชาเขียว ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายใน การแพทย์แผนจีน เป็นยาเย็น ใช้แก้กระหายน้้า ท้าให้ชุ่มคอ แก้ง่วง ท้าให้ตาสว่าง ช่วยย่อยอาหาร ปัจจุบันมีการวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่หลากหลาย ในรูปแบบ เช่น ผล ิตภัณฑ ์เสร ิม อาหาร และเครื่องดื่ม บทความนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยอนุกรมวิธาน (Taxon) สารส้าคัญ คุณสมบัติและ สรรพคุณ ผลการวิจัย ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ขนาดรับประทาน ผลข้างเคียง (Side effects)ข้อควรระวัง ชาเขียว ปฏิกิริยากับยา(Interactions) เพื่อเป็นประโยชน์ข้อมูลความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค แพทย์ บุคลากรทาง การแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนส่งเสริมการบริโภคพืชสมุนไพรจากธรรมชาติมาเป็นอาหารแทนยา เพื่อป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย ค าส าคัญ ชาเขียว; โพลิฟีนอล; คาเทชิน; สารต้านอนุมูลอิสระ; ต้านมะเร็ง.
2/14 รูปภาพ ชาเขียว รูปภาพ ชาเขียว ชาเขียว ชื่อสามัญ (Common name) Green Tea ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name) Camellia sinensis L. (O.) Ktunze
3/14 สปีชีส์ย่อย (Subspecies) 1) Camellia sinensis var. sinensis (Chinese tea) 2) Camellia sinensis var. assamica หรือ Camellia sinensis Kuntze var. assamica (Mast) Kitam (Assam tea) วงศ์(Family) Theaceae , Ternstoremiaceae ชาเขียว (Green Tea) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis L. (O.) Ktunze สปีชีส์ย่อย 1) Camellia sinensis var. sinensis (Chinese tea) 2) Camellia sinensis var. assamica หรือ Camellia sinensis Kuntze var. assamica (Mast) Kitam (Assam tea) อยู่ในวงศ์ Theaceae , Ternstoremiaceae ในการเตรียมชาเขียว โดยน้าใบชาสดที่เก็บเกี่ยวแล้วมาพักให้สลด แล้วเอาไปอบไอน้้า หรือ คั่วในกระทะทันที เพื่อยับยั้งกระบวนการหมัก ท้าให้เอนไซม์ polyphenol oxidase ถูกยับยั้ง (inactivate) จากนั้นน้าไปผึ่งลม ตากแดดให้แห้ง หรือน้าไปผ่านการรีด หรืออบแห้ง การเตรียมสารสกัดชาเขียว ใบชาจะถูกแช่ในน้้าร้อน (infusion) แล้วท้าให้แห้ง เพื่อให้ได้สาร สกัดเข้มข้น รูปภาพ ชาเขียว
4/14 หน่วยอนุกรมวิธาน (Taxon) ของชาเขียว รูปภาพ หน่วยอนุกรมวิธาน (Taxon) ของชาเขียว จาก http://www.efloras.org/object_page.aspx?object_id=93797&flora_id=2
5/14 ชา มีสารส้าคัญ ได้แก่ 1) คาเฟอีน (Caffeine) 1% - 4% 2) สารกลุ่มโพลิฟีนอล (Polyphenols) คือ 2.2) ฟลาโวนอยด์(Flavonoids) เช่น ไมริซิติน (myricetin), เคอร์ซิติน (quercetin), แคมป์เฟอรอล (kaempferol) 2.3)คาเทชิน (Catechins) เช่น อีพิแกลโลคาเทชิน-3-แกลเลต (Epigallocatechin-3-gallate (EGCG)) 3) ธีโอฟิลลีน (Theophylline) 4) ธีโอโบรมีน (Theobromine) 5) เธียซาโพจีนอล เอ, บี, ซี, ดี, อี (Theasapogenol A, B, C, D, E) 6) เธียโฟลิซาโพนิน (Theafolisaponin) 7) บาริ่งโทจีนอล ซี (Barringtogenol C) 8) แซนทีน (Xanthine ) 9) กอลโลแทนนิค แอซิด (Gallotannic acid ) 10) วิตามิน ซี (Vitamin C) 11) น้้ามันหอมระเหย สารสกัดจากชาเขียวมีสารโพลีฟีนอลในระดับสูงสุด ให้สารส้าคัญปริมาณมาก คือ epigallocatechin gallate ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด โพลีฟีนอลของชาเขียวเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แข็งแกร่ง การหมักและการแปรรูปเพื่อท้าให้เป็นชาด้าจะลดปริมาณโพลีฟีนอลลง โดยเปลี่ยนแปลงไปเป็น theaflavins และ thearubigins ทั้งชาเขียวและชาด้ามีคาเทชิน (catechins) และแทนนิน (tannins) ใน ปริมาณแตกต่างกัน คุณสมบัติและสรรพคุณ ใบ และราก รสฝาดขม หวานชุ่มเล็กน้อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ปอดและม้าม ใบ ใช้แก้กระหายน้้า ท้าให้ชุ่มคอ แก้ง่วงท้าให้ตาสว่าง แก้บิด ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้ ปวดศีรษะ หน้ามืดตามัว แก้ร้อนใน ราก ช่วยกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น แก้โรคหัวใจบวมน้้า ช่วยขับปัสสาวะ ต้านเชื้อ แก้ปากเป็นแผล แก้ตับอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แผลไฟไม้น้้าร้อนลวก เมล็ดและน้้ามัน ใช้เป็นยาภายนอก แก้แผลไฟไหม้น้้าร้อนลวก แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
6/14 ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีรายงานยืนยันฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลายของสารสกัดชาเขียว เช่น 1. ฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน (Antioxidant activity) พบว่า สารกลุ่มโพลิฟีนอล (Polyphenols) คือ สารคาเทชิน (Catechins) เช่น อีพิแกลโลคาเทชิน-3-แกลเลต (Epigallocatechin-3-gallate (EGCG)) ออกฤทธิ์ทั้งยับยั้งและก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากกลไกทั้งสองอย่างร่วมกัน (combination) ส่งผลต่อฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน สารกลุ่มคาเทชินในชาเขียวออกฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ โดยจับกับโลหะหนักที่กระตุ้นการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ (chelating redox active transition metal ions) ได้ เป็นอย่างดี รวมทั้งยับยั้ง redox sensitive transcription factors ยังยั้งเอนไซม์ pro-oxidant กระตุ้น การสร้าง phase II detoxification enzymes เช่น glutathione S-transferases และกระตุ้นการสร้าง เอนไซม์ต้านการเกิดออกซิเดชัน เช่น superoxide dismutases อนึ่งอนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลที่ไม่คงตัว ตัวโครงสร้างขาดประจุอิเล็กตรอนไป 1 ตัว ท้าให้มีความเสถียร ต่้า และไวต่อการเกิดปฏิกิริยากับชีวโมเลกุลระดับเซลล์ในร่างกายของมนุษย์แหล่งที่มาของอนุมูลอิสระ คือ (1) มาจากภายในร่างกาย (endogenous reactive species) เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมโดยเฉพาะใน ไมโตคอนเดรีย (2) อนุมูลอิสระจากภายนอกร่างกาย (exogenous reactive species) เช่น โลหะหนักจาก ควันบุหรี่ ลิปสติก ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ควันรถ เป็นต้น อนุมูลอิสระ ได้แก่ (1) อนุมูลอิสระของ ออกซิเจนที่ไวต่อปฏิกิริยา (Reactive oxygen species หรือ ROS) เช่น hydrogen peroxide (H2O2 ) , hydroxyl radical (HO• ) และsuperoxide anion radical (O2 •−) (2) อนุมูลอิสระไนโตรเจนที่ไวต่อ ปฏิกิริยา (Reactive nitrogen species หรือ RNS) เช่น nitrogen dioxide radical (NO2 • ) และnitric oxide radical (NO• ) ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้ถ้ามีปริมาณที่มากสามารถท้าให้เกิดความเป็นพิษจ้าเพาะท้าให้ เกิดมะเร็งได้ การทดลองการคลินิก พบว่า การให้ชาเขียว ครั้งละ 1 ถ้วย วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ซึ่งเท่ากับสารคาเทชิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน ในอาสาสมัครสุขภาพดี เป็นเวลา 6 สัปดาห์ มีผลเพิ่มระดับการต้านออกซิเดชัน โดย วิธีการทดสอบ 2, 2-azobis (3-ethylbenzothialzoline-6- sulfonic acid) หรือ ABTS และลดระดับ เปอร์ ออกไซด์(peroxide) ในพลาสมาอย่างมีนัยส้าคัญ จากการวิจัยของ Jatuworapruk และคณะ โดยการให้สารสกัดชาเขียว 6 แคปซูลต่อวัน สารสกัดชาเขียว 1 แคปซูล เท่ากับ ใบชาแห้ง 1 กรัม ซึ่งมีปริมาณอีพิแกลโลคาเทชิน-แกลเลต (Epigallocatechin-gallate (EGCG)) 62.5 มิลลิกรัม ในอาสาสมัครสุขภาพดี เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ส่งผลให้เพิ่มความสามารถในการต้าน ออกซิเดชันในซีรัม (serum antioxidation capacity) จากการวิจัยของ Basu และคณะ พบว่า การให้สารสกัดชาเขียว 2 แคปซูลต่อวัน หรือเครื่องดื่มชา เขียว 4 ถ้วยต่อวัน ในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีโรค metabolic syndrome หรือโรคอ้วนลงพุงร่วมด้วย เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เพิ่มความสามารถในการต้านออกซิเดชันในเลือดและระดับกลูตาไธโอนในเลือดอย่างมีนัยส้าคัญ 2. ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง (Cancer Chemopreventive effects) จากการศึกษาแนะน้าว่าสารกลุ่มโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาเขียวอาจ ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิด หรืออาจชะลอการเติบโตของมะเร็งบางประเภท มีการศึกษาในมนุษย์ แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่หลากหลาย
7/14 2.1) ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง สารกลุ่มโพลิฟีนอล (Polyphenols) คือ สารคาเทชิน (Catechins) ออก ฤทธิ์ในการต้านมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็ง กระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งล้าไส้ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งล้าไส้ใหญ่ สารคาเทชิน (Catechins) ออกฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง โดยมีกลไกในการออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงในการ ท้าให้เกิดเซลล์ตาย (apoptosis) เพิ่มการท้างานของ pro-apoptotic protiens ลดการท้างานของ antiapoptotic protiens ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยยับยั้งการสร้างหลอดเลือด (inhibition of angiogenesis) กระตุ้นการท้างานของอินเตอร์ลิวคิน (interleukins) นอกจากนี้ยังยับยั้งขบวนการออกซิเดชัน ของไขมัน รวมถึงการต้านการอักเสบ 2.2) ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง สารกลุ่มโพลิฟีนอล (Polyphenols) คือ สารฟลาโวนอยด์(Flavonoids) เช่น ไมริซิติน (myricetin), เคอร์ซิติน (quercetin), แคมป์เฟอรอล (kaempferol) และสารคาเทชิน (Catechins) เช่น อีพิแกลโลคาเทชิน-3-แกลเลต (Epigallocatechin-3-gallate (EGCG)) ออกฤทธิ์ในการต้าน มะเร็ง ดังนี้ (1) ไมริซิติน (myricetin) ฤทธิ์ในการต้านมะเร็งโดยชักน้าการตายแบบอะพอพโตซิส (apoptotic pathways) โดยผ่านทางวิถีไมโทคอนเดรียและวิถีภายนอก ลดการแสดงออกของ antiapoptotic proteins เพิ่มการแสดงออกของ proapoptotic proteins หยุดวงวัฏจักรของเซลล์ที่ระยะ G2/M (2) แคมป์เฟอรอล(kaempferol)ฤทธิ์ในการต้านมะเร็งโดยชักน้าการตายแบบอะพอพโตซิส (apoptotic pathways) โดยผ่านทางวิถีไมโทคอนเดรียลดการแสดงออกของ antiapoptotic proteins เพิ่ม การแสดงออกของ p53 และ proapoptotic proteins หยุดวงวัฏจักรของเซลล์ที่ระยะ G2/M ยับยั้งการ ท้างานของ NFKB ในเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ยับยั้ง การอักเสบที่เกิดจากเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการดื้อยาแบบหลายขนาน ยับยั้งการอักเสบโดยการยับยั้งการท้างาน ของ NFKB ในเซลล์มาโครเฟจที่ถูกกระตุ้น แคมป์เฟอรอลพบในผักผลไม้หลายชนิด เช่น ชา บร็อกโคลี มะเขือเทศ สตรอเบอร์รี่ องุ่น แปะก้วย มะรุม มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายชนิด เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้าน เชื้อแบคทีเรีย ต้านมะเร็ง มีรายงานพบว่า การรับประทานอาหารที่มีแคมป์เฟอรอลเป็นส่วนประกอบสามารถ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ (3) เคอร์ซิติน (quercetin) พบในผักผลไม้หลายชนิด เช่น ชาเขียว แอปเปิ้ล หอมแดง องุ่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดฝอย ต้านการอักเสบ ต้านเซลล์มะเร็ง ต้านไวรัสใน หลอดทดลอง (4) สารคาเทชิน (Catechins) เช่น อีพิแกลโลคาเทชิน-3-แกลเลต (Epigallocatechin-3- gallate (EGCG)) ฤทธิ์ในการต้านมะเร็งโดยชักน้าการตายแบบอะพอพโตซิส (apoptotic pathways) โดย ผ่านทางวิถีภายนอก ลดการแสดงออกของ antiapoptotic proteins เพิ่มการแสดงออกของ proapoptotic proteins หยุดวงวัฏจักรของเซลล์ที่ระยะ G1 ยับยั้งการท้างานของ NFKB ในเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการสร้าง หลอดเลือดใหม่ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการอักเสบที่เกิดจากเซลล์มะเร็ง 3. ฤทธิ์ในการขับปัสสาวะอ่อน ๆ เนื่องจากในใบชาเขียว มีสารคาเฟอีน (Caffeine) และสารธีโอฟิลลีน (Thephylline) สารเหล่านี้มีฤทธิ์ยับยั้งการท้างานของท่อดูดซึมน้้าในไต จึงมีผลในการขับปัสสาวะได้มากขึ้น
8/14 สารคาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะอาหาร ท้าให้หลั่งสารน้้าย่อยของกระเพาะมากขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรค แผลในกระเพาะอาหาร ห้ามดื่มน้้าชา 4. ฤทธิ์ในการลดระดับน้้าตาลในเลือดและระดับอินซูลินในเลือด ลดโคเลสเตอรอล การวิจัยในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยให้สารสกัดชาเขียว 379 มิลลิกรัมต่อวัน เป็น เวลา 3 เดือน มีผลลดความดันโลหิต ทั้งค่า systolic และ diastolic อย่างมีนัยส้าคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่ม ควบคุม ระดับน้้าตาลในเลือดและระดับอินซูลินในเลือดลดลงอย่างมีนัยส้าคัญ และลดความต้านทานอินซูลิน (insulin resistance) ลดระดับ LDL, triglycerides และโคเลสเตอรอล เพิ่มระดับ HDL 5. ฤทธิ์ในการลดความอ้วน การวิจัยในอาสาสมัคร มีดัชนีมวลกายเกิน 25 กก./ตรม. ได้รับชาเขียว เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ชาเขียวสามารถลดน้้าหนักในคนไทยได้อย่างมีนัยส้าคัญ ในสัปดาห์ที่ 8 โดยเพิ่มการใช้พลังงานและการสลาย ไขมัน (fat oxidation) 6. ฤทธิ์ของสารสกัดจากกากชาเขียว ต่อการเรียนรู้และความจ้า ในสัตว์ทดลองหนูที่มีอายุมาก และในสัตว์ทดลองที่เป็นแบบจ้าลองของโรคอัลไซเมอร์ได้รับสารสกัด จากกากชาเขียว ติดต่อกันเป็นเวลา 90 วัน ขนาด 300 มก./กก. ช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และ ความจ้า โดยการท้างานของชาเขียวและกากชาเขียวเกี่ยวข้องกับระดับการท้างานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ superoxide Dismutase (SOD) และglutathione peroxidase (GPx) ในสมองส่วน hippocampus มากกว่าเกิดจากสารคาเฟอีนที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท 7. มีการน้าสารสกัดจากใบชาเขียว มาทดลองกับหัวใจที่อยู่นอกร่างกายกบ พบว่า มีฤทธิ์กระตุ้นการ บีบตัวของหัวใจกบ และมีผลต่อการเต้นของหัวใจให้แรงขึ้นชัดเจน 8. สารคาเฟอีน (Caffeine) และสารธีโอฟิลลีน (Thephylline) มีฤทธิ์ท้าให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัว ท้าให้หัวใจถูกกระตุ้นและมีผลท้าให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ขนาดรับประทาน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องดื่ม ส้านักงานคณะกรรมการอาหารและยา ก้าหนดสารส้าคัญ คือ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) , คาเทชิน (Catechins) เช่น อีพิแกลโลคาเทชิน-3-แกลเลต (Epigallocatechin-3-gallate (EGCG)) ส่วนที่ใช้คือ ยอดอ่อน, ใบ, ใบและ ตาดอก ชาเขียว ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม คือ การชงใบชา 1 - 2 ช้อนชาในน้้าร้อน วันละ 3 ถ้วย ดื่มระหว่างมื้ออาหาร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งนี้การดื่มชาเขียวในปริมาณสูงอาจส่งผลให้นอน ไม่หลับได้
9/14 ผลข้างเคียง (Side effects) 1. ชาเขียวสามารถท้าให้เกิดผลข้างเคียงเนื่องจากสารคาเฟอีน สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงความวิตกกังวล ความหงุดหงิดและปัญหาการนอนหลับ มีโอกาสมากขึ้นถ้าแพ้คาเฟอีนหรือทานในปริมาณมาก ผลข้างเคียงที่ พบได้น้อยกับชาเขียวมากกว่าเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีคาเฟอีน เนื่องจากใบถูกแช่ในเวลาอันสั้น 2. ปริมาณฟลูออไรด์ของชาเขียวอาจช่วยป้องกันฟันผุ แต่ชายังมีกรดแทนนิค ซึ่งอาจท้าให้เกิดคราบ ชาที่ฟันได้ 3. สารสกัดจากชาเขียวอาจท้าให้เกิดปัญหาตับ อาการอาจรวมถึงสีเหลืองที่ผิวหนังหรือตาขาว คลื่นไส้และปวดท้อง หากคุณมีอาการเหล่านี้ให้หยุดใช้ชาเขียวและไปพบแพทย์ทันที ข้อควรระวัง 1. ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ ไม่ควรรับประทาน 2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรรับประทานมากเกินควร 3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ห้ามดื่มน้้าชา 4. ผู้หญิงที่ก้าลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรปรึกษาผู้ให้บริการทางการแพทย์ก่อนทานยาสมุนไพร ทุกครั้ง ชาเขียวปฏิกิริยากับยา (Interactions) 1. ชาเขียวอาจเปลี่ยนผลของยา เช่น nadolol, beta-blocker ที่ใช้ส้าหรับความดันโลหิตสูงและ ปัญหาหัวใจ ชาเขียวอาจป้องกันไม่ให้ nadolol ลดความดันโลหิตได้มากเท่าที่ควร 2. เนื่องจากชาเขียวท้าหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นอย่างอ่อนโยน จึงไม่ควรใช้ร่วมกับสารกระตุ้นอื่น ๆ เพราะชาเขียวอาจเปลี่ยนผลกระทบของยาอื่น ๆ ได้ 3. ชาเขียวยับยั้งเอนไซม์CYP3A4 มีรายงานผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูงได้รับยา Simvastatin ร่วมกับชาเขียวแล้วมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เมื่อตรวจสอบระดับยา Simvastatin ในเลือด พบว่า มีระดับ ยา Simvastatin สูงขึ้นกว่าปกติ 4. ชาเขียวต้านฤทธิ์ยา Sunitinib ซึ่งเป็นยารักษาโรคมะเร็ง (Anticancer) และการเกิดการ ตกตะกอนของยา Sunitinib มีรายงานผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ ที่ได้รับ Sunitinib เพื่อรักษาภาวะดังกล่าว มี ผลท้าให้ภาวะบวมที่หน้าและมีเลือดคั่งที่ตาจากมะเร็งลดลง แต่เมื่อรับประทานร่วมกับชาเขียว พบว่า มีอาการ ดังกล่าวกลับมา นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์ในหลอดทดลองพบว่าอาจเกิดจากการตกตะกอนของยา Sunitinib 5. การรับประทานชาเขียวร่วมกับ Folic acid 5 mg มีรายงานการวิจัย RCT (cross over) ใน อาสาสมัครสุขภาพดีท้าให้เกิดผล คือ ลดชีวปริมาณออกฤทธิ์(bioavailability) หรือปริมาณยาที่ปรากฏอยู่ใน เนื้อเยื่อร่างกาย ส่งผลลดค่าการดูดซึม (absorption) และค่าการน้าส่งสาร (transportation) ของ Folic acid ส่งผล Cmax (27.4%) และAUC0-(39.9%) เมื่อเทียบกับการรับประทานยาร่วมกับน้้าเปล่า
10/14 เอกสารอ้างอิง 1. วิทยา บุญวรพัฒน์, สารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. , สมาคมศาสตร์การแพทย์แผน จีนในประเทศไทย , (น. 200). กรุงเทพ: สมาคมศาสตร์การแพทย์แผนจีนในประเทศไทย. 2. สายพันธุ์ชาในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. [21 กรกฎาคม 2563]; สืบค้นจาก: http://web2.mfu.ac.th/other/teainstitute/?p=297&lang=th 3. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับชา. [อินเทอร์เน็ต]. [21 กรกฎาคม 2563]; สืบค้นจาก: https://sites.google.com/site/ggreenteaforlife/reuxng-na-ru-keiyw-kab-cha-1 4. Camellia sinensis var. sinensis. [Internet]. [2020 July 21]; Available from: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=242310233 5. Camellia sinensis var. sinensis (L.) Kuntze, ; Acta H. Petrop. 10: 195 (1887). [Internet]. [2020 July 21]; Available from: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=110&taxon_id=242310233 6. Camellia sinensis var. sinensis. [Internet]. [2020 July 21]; Available from: http://www.efloras.org/object_page.aspx?object_id=93797&flora_id=2 7. Green Tea Extract. [Internet]. [2020 July 21]; Available from: https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?contenttypeid=19&cont entid=GreenTeaExtract 8. Tea The Nutrition Source. [Internet]. [2020 July 21]; Available from: https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/food-features/tea/ 9. Balentine DA, Wiseman SA, Bouwens L C. The chemistry of tea flavonoids. Crit Rev Food Sci Nutr. 1997; 37(8):693-704. 10. Chen AY, Chen YC. A review of the dietary flavonoid, kaempferol on human health and cancer chemoprevention. Food Chem. 2013; 138(4):2099-107. 11. Formica JV, Regelson W. Review of the biology of Quercetin and related bioflavonoids. Food Chem Toxicol. 1995; 33(12):1061-80. 12. Hodgson JM, Croft KD. Tea flavonoids and cardiovascular health. Mol Aspects Med. 2010; 31(6):495-502. 13. Coppock RW, Dziwenka M. Green Tea Extract. Nutraceuticals. Elsevier B.V. 2016. 14. Harbowy ME, Balentine DA. Tea Chemistry. Critical Reviews ill Plant Sciences. 1997; 16(5): 415-80. 15. Botten D, Fugallo G, Fraternali F, Molteni C. Structural Properties of Green Tea Catechins. J. Phys. Chem. 2015; 119(40):12860–7. 16. Braicu C, Ladomery MR, Chedea VS, Irimie A, Berindan-Neagoe I. The relationship between the structure and biological actions of green tea catechins. Food Chemistry. 2013; 141:3282–9.
11/14 17. Valko M, Leibfritz D, Moncol J, Cronin MTD, Mazur M, Telser J. Free radicals and antioxidants in normal physiological functions and human disease. Int J Biochem Cell Biol. 2007; 39(1):44-84. 18. Clark J, You M. Chemoprevention of lung cancer by tea. Molecular Nutrition & Food Research. 2006; 50(2):144-51. 19. Lu G, Liao J, Yang G, Reuhl KR, Hao X, Yang CS. Inhibition of Adenoma Progression to Adenocarcinoma in a 4-(Methylnitrosamino)-1-(3-Pyridyl)-1-Butanone–Induced Lung Tumorigenesis Model in A/J Mice by Tea Polyphenols and Caffeine. Cancer Research. 2006; 66:11494-501. 20. Simons CC, Hughes LA, Arts IC, Goldbohm RA, van den Brandt PA, Weijenberg MP. Dietary flavonol, flavone and catechin intake and risk of colorectal cancer in the Netherlands Cohort Study. Int J Cancer. 2009; 125(12):2945-52. 21. Kim YS, Kim CH. Chemopreventive role of green tea in head and neck cancers. Integr Med Res. 2014; 3(1): 11–5. 22. Dorai T, Aggarwal BB. Role of chemopreventive agents in cancer therapy. Cancer Lett. 2004; 215(2):129-40. 23. Kanadzu M, Lu Y, Morimoto K. Dual function of (−)-epigallocatechin gallate (EGCG) in healthy human lymphocytes. Cancer Lett. 2006; 241(2):250-5. 24. Shimizu M, Shirakami Y, Moriwaki H. Targeting receptor tyrosine kinases for chemoprevention by green tea catechin, EGCG. Int J Mol Sci. 2008; 9(6):1034-49. 25. Tachibana H. Molecular basis for cancer chemoprevention by green tea polyphenol EGCG. Forum of Nutrition. 2009; 61:156-69. 26. Ahmed S, Marotte H, Kwan K, Ruth JH, Campbell PL,Rabquer BJ, Pakozdi A, Koch AE. Epigallocatechin-3-gallate inhibits IL-6 synthesis and suppresses transsignaling by enhancing soluble gp130 production. Proc Natl Acad Sci U S A. 2008; 105(38): 14692–7. 27. Erba D, Riso P, Bordoni A, Foti P, Biagi PL, Testolin G. Effectiveness of moderate green tea consumption on antioxidative status and plasma lipid profile in humans. J Nutr Biochem. 2005; 16(3):144-9. 28. Jatuworapruk K, Srichairatanakool S, Ounjaijean S, Kasitanon N, Wangkaew S, Louthrenoo W. Effects of green tea extract on serum uric acid and urate clearance in healthy individuals. J Clin Rheumatol. 2014; 20(6):310-3. 29. Bogdansk P, Suliburska J, Szulinska M, Stepien T, Pupek-Musialik D, Jablecka A. Green tea extract reduces blood pressure, inflammatory biomarkers, and oxidative stress and improves parameters associated with insulin resistance in obese, hypertensive patients. Nutr Res. 2012; 32(6):421-7.
12/14 30. Basu A, Betts NM, Mulugeta A, Tong C, Newman E, Lyons JT. Green tea supplementation increases glutathione and plasma antioxidant capacity in adults with the metabolic syndrome. Nutr Res. 2013; 33(3):180-7. 31. A Little About Quercetin. [Internet]. [2020 July 21]; Available from: https://www.quercetin.com/ 32. Metabolic Syndrome : Dangerous signs required management. [Internet]. [2020 July 21]; Available from: http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=2278 33. พรนรินทร์ เทพาวราพฤกษ์. การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากกากชาเขียว ต่อการเรียนรู้และความจ้า. [อินเทอร์เน็ต]. [21 กรกฎาคม 2563]; สืบค้นจาก: https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/1/229672 34. มนทิรา ประโภชนัง. 2550. ประสิทธิภาพของชาเขียวในการลดน้้าหนักคนไทยที่อ้วน. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสรีรวิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [อินเทอร์เน็ต]. [21 กรกฎาคม 2563]; สืบค้นจาก: https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/2/213786 35. Green Tea Extract. [Internet]. [2020 July 21]; Available from: https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?contenttypeid=19&cont entid=GreenTeaExtract 36. Suttana W, Mankhetkorn S, Poompimon W, Palagani A, Zhokhov S, Gerlo S, et al. Differential chemosensitization of P-glycoprotein overexpressing K562/Adr cells by withaferin A and Siamois polyphenols. Molecular cancer. 2010; 9:99. 37. Hamalainen M, Nieminen R, Vuorela P, Heinonen M, Moilanen E. Anti-inflammatory effects of flavonoids: genistein, kaempferol, quercetin, and daidzein inhibit STAT-1 and NF-kappaB activations, whereas flavone, isorhamnetin, naringenin, and pelargonidin inhibit only NF-kappaB activation along with their inhibitory effect on iNOS expression and NO production in activated macrophages. Mediators Inflamm. 2007; :45673. 38. Zhang Q, Zhao XH, Wang ZJ. Cytotoxicity of flavones and flavonols to a human esophageal squamous cell carcinoma cell line (KYSE-510) by induction of G2/M arrest and apoptosis. Toxicol In Vitro. 2009; 23:797-807. 39. Wang IK, Lin-Shiau SY, Lin JK. Induction of apoptosis by apigenin and related flavonoids through cytochrome c release and activation of caspase-9 and caspase-3 in leukaemia HL-60 cells. Eur J Cancer. 1999; 35:1517-25. 40. Luo H, Rankin GO, Li Z, Depriest L, Chen YC. Kaempferol induces apoptosis in ovarian cancer cells through activating p53 in the intrinsic pathway. Food Chem. 2011; 128:513-9. 41. Siegelin MD, Gaiser T, Habel A, Siegelin Y. Myricetin sensitizes malignant glioma cells to
13/14 TRAIL-mediated apoptosis by down-regulation of the short isoform of FLIP and bcl-2. Cancer Lett. 2009; 283(2):230-8. 42. Beltz LA, Bayer DK, Moss AL, Simet IM. Mechanisms of cancer prevention by green and black tea polyphenols. Anticancer Agents Med Chem. 2006; 6:389-406. 43. Kundu JK, Surh YJ. Epigallocatechin gallate inhibits phorbol ester-induced activation of NF-kappa B and CREB in mouse skin: role of p38 MAPK. Ann N Y Acad Sci. 2007; 1095:504-12. 44. Thangapazham RL, Singh AK, Sharma A, Warren J, Gaddipati JP, Maheshwari RK. Green tea polyphenols and its constituent epigallocatechin gallate inhibits proliferation of human breast cancer cells in vitro and in vivo. Cancer Lett. 2007; 245:232-41. 45. Basu A, Haldar S. Combinatorial effect of epigallocatechin-3-gallate and TRAIL on pancreatic cancer cell death. Int J Oncol. 2009; 34:281-6. 46. Onoda C, Kuribayashi K, Nirasawa S, Tsuji N, Tanaka M, Kobayashi D, et al. (-)- Epigallocatechin-3-gallate induces apoptosis in gastric cancer cell lines by downregulating survivin expression. Int J Oncol. 2011; 38:1403-8. 47. Lin HY, Hou SC, Chen SC, Kao MC, Yu CC, Funayama S, et al. (-)-Epigallocatechin gallate induces Fas/CD95-mediated apoptosis through inhibiting constitutive and IL-6-induced JAK/STAT3 signaling in head and neck squamous cell carcinoma cells. J Agric Food Chem. 2012; 60:2480-9. 48. Berindan-Neagoe I, Braicu C, Tudoran O, Balacescu O, Irimie A. Early apoptosis signals induced by a low dose of epigallocatechin 3-gallate interfere with apoptotic and cell death pathways. J Nanosci Nanotechnol. 2012; 12:2113-9. 49. Lim YC, Cha YY. Epigallocatechin-3-gallate induces growth inhibition and apoptosis of human anaplastic thyroid carcinoma cells through suppression of EGFR/ ERK pathway and cyclin B1/CDK1 complex. J Surg Oncol. 2011; 104:776-80. 50. AA Izzo, Interactions between herbs and conventional drugs: overview of the clinical data. Medical Principles and Practice. 2012; 21(5): 404-28. 51. J Ge, B-X Tan, Y Chen, L Yang, X-C Peng, H-Z Li, H-J Lin, Y Zhao, M Wei and K Cheng, Interaction of green tea polyphenol epigallocatechin-3-gallate with sunitinib: potential risk of diminished sunitinib bioavailability. Journal of molecular medicine. 2011; 89(6): 595-602. 52. NC Alemdaroglu, U Dietz, S Wolffram, H Spahn‐Langguth and P Langguth, Influence of green and black tea on folic acid pharmacokinetics in healthy volunteers: potential risk of diminished folic acid bioavailability. Biopharmaceutics & drug disposition. 2008; 29(6): 335-48.
14/14 53. ชาเขียว ( Green Tea )... ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์. [อินเทอร์เน็ต]. [21 กรกฎาคม 2563]; สืบค้นจาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/185/%E0%B8%8A%E0%B8%B2 %E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-Green-Tea- %E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0% B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB %E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B 8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C/