The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การเลือกสาขาวิชาที่สอดคล้องกับอาชีพ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by มัสรา หงษ์สัมฤทธิ์, 2023-11-28 09:26:26

คุยเฟื่องเรื่องอาชีพ

การเลือกสาขาวิชาที่สอดคล้องกับอาชีพ

Keywords: หลักสูตรสาขาวิชา

คุย คุ เฟื่อ ฟื่ งเรื่อ รื่ งอาชีพ ชี ก้าวทันโลกอาชีพชียุคดิจิดิทัจิ ทัล กิจกรรมแนะแนว มัสมัรา หงษ์สัมสัฤทธิ์ โรงเรียรีนเบญจมราชูทิศ จังจัหวัดวั ปัตตานี


นางมัสรา หงษ์สัมฤทธิ์ คุยเฟื่องเรื่องอาชีพ รู้จักโลกของอาชีพ 1. ลักษณะงาน งานที่จะต้องทําเป็นประจํามีลักษณะอย่างไร ผู้ทำงานจะต้องทํา อะไรบ้าง เป็นงานที่ทําให้เกิด ความเพลิดเพลินหรือก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย งานใหญ่หรืองานเล็ก มีความรับผิดชอบที่สําคัญหรือไม่ ต้อง เกี่ยวข้องกับตัวเลข สิ่งของ หรือคน ต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ มากหรือไม่ ต้องนั่งทำงาน ยืนทำงาน ต้องเดินทาง หรือไม่ นักเรียนควรศึกษาลักษณะงานแต่ละอาชีพ ว่างานแต่ละอย่างนั้นมีลักษณะการปฏิบัติงานอย่างไร มีจุดดี จุดเด่นอย่างไร 2. คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ ศึกษาถึงรายละเอียดของคุณสมบัติที่งานแต่ละอาชีพต้องการ ต้องมี ความสามารถพิเศษด้านใดบ้าง มีข้อจํากัดในการประกอบอาชีพอย่างไร ได้มีการ กําหนดช่วงอายุในการทำงาน และเกษียณไว้อย่างไร อาชีพนั้นๆ โดยทั่วไปเป็นอาชีพสําหรับเพศหญิง หรือเพศชาย หรือให้โอกาสแก่ทั้งหญิง ทั้งชาย หรือให้โอกาสแก่เพศใดเพศหนึ่งมากกว่า 3. โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ อาชีพนั้นๆ จะมีความก้าวหน้าเพียงใด จะต้องมีการศึกษา อบรมเพิ่มเติม มี ความสามารถหรือประสบการณ์อย่างไรจึงจะได้เลื่อนขั้นมากน้อยเพียงใด การประกอบ อาชีพเดิมนําไปสู่อาชีพ ใหม่หรือไม่ 4. ตลาดแรงงาน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการผู้ทำงานในด้านต่างๆ ในปัจจุบัน และ การพยากรณ์ที่จะมี ความต้องการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในอนาคต ซึ่งอาจจะเป็นตัวกําหนดได้ว่า ถ้านักเรียน เรียนจบในสาขานั้นๆ แล้ว นักเรียนมีโอกาสในการมีงานทํามากน้อยเพียงใด ภาพที่ 1การประกอบอาชีพด้านพาณิชยกรรมและบริการ ที่มา : (กรุงเทพธุรกิจ. 2565 : ออนไลน์) กลุ่มสาขาวิชาและอาชีพจําแนกตามระบบ ISCED (International Standard Classificationof Education) 1. กลุ่มสาขาวิชาศึกษาศาสตร์และการฝึกหัดครู 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาและฝึกประสบการณ์ในการเป็นครู เรียนรู้เทคนิควิธีการสอน การวัดและประเมินผลการเรียน การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา วิทยาและพฤติกรรมการเรียนรู้ การจัด กิจกรรมการเรียนการสอน 2) สาขาที่เปิดสอน ได้แก่ การศึกษาปฐมวัย การประถมศึกษา การวัดผลการศึกษา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ทั่วไป ภูมิศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จิตวิทยา จิตวิทยา ฝรั่งเศส


นางมัสรา หงษ์สัมฤทธิ์ ประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีการศึกษา ศิลปศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา พลศึกษา .ศึกษา ธุรกิจศึกษา บรรณารักษ์ ศาสตร์ ดนตรี สุขศึกษา การศึกษานอกระบบ คหกรรมศาสตร์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรมศิลป์ ภาพที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มา : (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2563 : ออนไลน์) 5) ลักษณะอาชีพ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการสอน การฝึกอบรม การให้ความรู้ และ ครางเสริม ประสบการณ์ชีวิตแก่นักเรียน การบริหารสถานศึกษา การนิเทศ 6) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ รักเด็ก มีความเมตตา ใฝ่หาความรู้ ชอบที่จะ ทอดความรู้ให้แก่ ผู้อื่น ช่างสังเกต จิตใจมั่นคง ชอบใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา มีคุณธรรม สุภาพอ่อนโยน 7) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนเน สถานศึกษาระดับ ต่างๆ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ศึกษานิเทศก์ นักแนะแนว นักวิชาการ เจ้าหน้าที่โสตศึกษา นักจิตวิทยา บรรณารักษ์ 2. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ ศาสนา และเทววิทยา 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านภาษา ปรัชญา โบราณคดี และศาสนา 2) สาขาที่เปิดสอน ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาบาลีสันสกฤต ภาษารัสเซีย ภาษามลายู ภาษาอาหรับ โบราณคดี บรรณารักษศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา 5) ลักษณะอาชีพ ทำงานเกี่ยวกับการใช้ภาษา งานติดต่อสื่อสาร งานแปล การ สร้างสรรค์บทกวี บทประพันธ์ งานค้นคว้าวิจัยเรื่องราวในอดีต 6) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพรักการอ่านหนังสือ มีความสามารถทางภาษา ชอบการแสดงออก ที่ต้องใช้ภาษา มีความคิด สร้างสรรค์ ช่างสังเกต ชอบวิเคราะห์วิจารณ์ 7) ลักษณะอาชีพตำแหน่ง งานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ มัคคุเทศก์ เจ้าหน้าที่งานแปล เลขานุการ เจ้าหน้าที่โบราณคดี ล่าม นักเขียนเจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ภาพที่ 3 อาชีพมัคคุเทศก์ ที่มา : (Jobschiangrai.com 2564 : ออนไลน์)


นางมัสรา หงษ์สัมฤทธิ์ 3. กลุ่มสาขาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาและฝึกประสบการณ์ทางด้านศิลปะ 2) สาขาที่เปิดสอน จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปะไทย มัณฑนศอบ การออกแบบนิเทศ ศิลป์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ประยุกต์ศิลปศึกษา เครื่องเคลือบดินเผา ดุริยางคศิลป์ นฤมิตศิลป์ นาฏยศิลป์ ศิลปะการละคร เซรามิกส์ 5) ลักษณะอาชีพ ทำงานเกี่ยวข้องกับการออกแบบตกแต่ง การประดิษฐ์งานศิลปะ การวาด การปั้น การแกะสลัก งานด้านนาฏศิลป์ ดนตรี การแสดง การออกแบบนิทรรศการ การ ออกแบบจัดสวน จัดทําฉาก ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพที่ 4 อาชีพนักแสดงละครเวที ที่มา : (Jobthai. 2565 : ออนไลน์) 6) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ รักงานศิลปะ มีความสามารถในการแสดงออก ด้านศิลปะแขนง ใดแขนงหนึ่ง มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ สนใจสิ่งสวยงาม 7) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ จิตรกร ปฏิมากร มัณฑนากร ช่างศิลป์ ช่างภาพ นักดนตรี นักแต่งเพลง ช่างออกแบบผลิตภัณฑ์ นักแสดง 4. กลุ่มสาขาวิชานิติศาสตร์ 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมาย การตีความกฎหมาย การใช้ กฎหมาย การดําเนินคดีทางศาล 2) สาขาที่เปิดสอน สาขานิติศาสตร์ 5) ลักษณะอาชีพ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายที่ดิน กฎหมายภาษีอากร ฯลฯ การดําเนินคดีแพ่ง และ คดีอาญา การให้คําแนะนําและ ปรึกษาทางกฎหมาย การพิพากษาคดี 6) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ เป็นผู้รักความยุติธรรม รักการอ่าน มีความจําดี ชอบการตีความ ชอบแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์ การโต้แย้งโดยใช้เหตุผล ช่างสังเกต ละเอียด รอบคอบ ถนัดการใช้ภาษาทั้ง การเขียนและการพูด 7) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงาน หรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ ทนายความ นิติกรประจํา หน่วยงาน ที่ปรึกษาทางกฎหมาย อัยการ ผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่สรรพากร เจ้าหน้าที่ สินเชื่อ ตํารวจ เจ้าหน้าที่ ที่ดิน


นางมัสรา หงษ์สัมฤทธิ์ ภาพที่ 5 อาชีพทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา ที่มา : (Jobschiangrai.com 2564 : ออนไลน์) 5. กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ 5.1 สาขาสังคมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ และความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับ สิ่งแวดล้อม 2) สาขาที่เปิดสอน การปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์การเงิน เศรษฐศาสตร์การเกษตร ประวัติศาสตร์ จิตวิทยา ภูมิศาสตร์ 5) ลักษณะอาชีพ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน งานฝึกอบรม และเผยแพร่ งาน วิเคราะห์นโยบายและแผน งานสํารวจวิจัย งานบริหาร งานให้คําปรึกษา งานบริการ ข่าวสารข้อมูล 6) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ สนใจเรื่องราวความเป็นอยู่ของมนุษย ความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มีความคล่องแคล่ว ชอบช่วยเหลือสังคม รู้จักการจูงใจคน 7) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักปกครอง ปลัดอําเภอ นัก สังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักเศรษฐศาสตร์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและ แผน เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล พัฒนากร 5.2 สาขาการบริหาร พาณิชยการ และธุรกิจ 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจ การทํา บัญชี การจัดการสํานักงาน การบริหารการเงินและการธนาคาร การตลาด งานประกันภัย ภาษา สําหรับธุรกิจ การบริหารงานบุคคล ธุรกิจ กรขนส่งทางเรือ การบริหารงานโรงแรม 2) สาขาที่เปิดสอน บัญชี การเงินการธนาคาร การบริหารธุรกิจ เลขานุการ สถิติ การโรงแรมและการ ท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ธุรกิจ พาณิชย์นาวี การบริหารงานบุคคล การจัดการ ขนส่งระหว่าประเทศ ประกันภัย เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ 5) ลักษณะอาชีพ ทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์วางแผน การทําบัญชี การจัดเก็บข้อมูล การ บริหารงานบุคคล งานธุธรการ งานสารบรรณ งานติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ งานประกันภัย ธุรกิจการขนส่ง 6) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ สนใจทางด้านเศรษฐกิจ ชอบคิดคํานวณ วางแผน มีความ ละเอียดรอบคอบ กล้าตัดสินใจ คล่องแคล่ว 7) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ บริหารงานบุคคล นักบัญชี พนักงาน ธนาคาร เจ้าหน้าที่การเงิน สมุห์บัญชี เจ้าหน้าที่ธุรการ เลขานุการ เจ้าหน้าที่ ประกันภัย


นางมัสรา หงษ์สัมฤทธิ์ นักวิจัยตลาด เจ้าหน้าที่ วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่ สรรพากร เจ้าหน้าที่การคลัง เจ้าหน้าที่ คอมพิวเตอร์ ภาพที่ 6 อาชีพนักวิจัยการตลาด ที่มา : (SME Thailand Club. 2562 : ออนไลน์) 5.3 สาขาการสื่อสารมวลชนและเอกสาร 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสาร การใช้สื่อประเภทต่างๆ การเขียนข่าว การ ผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ การถ่ายภาพ การออกแบบโฆษณา การประชาสัมพันธ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพถ่าย วาทศิลป์ งานสารนิเทศ ภาพที่ 7 อาชีพดีเจ ที่มา (MTHAI. 2559 : ออนไลน์) 4) ลักษณะอาชีพ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ การทําข่าว งานโฆษณา งานแสดงการ เขียนบทความบรรณาธิการ การรายงานข่าว เทคโนโลยีการพิมพ์ การกํากับภาพยนตร์ การเขียนสารคดี บท วิจารณ์ การจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ 5) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ มีความสามารถในการใช้ภาษา กล้าแสดงออก ชอบการเข้า สังคม สนใจสภาพแวดล้อมรอบตัว มีความคล่องแคล่ว มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทันสมัย 6) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ คอลัม นิสต์ เจ้าหน้าที่ผลิตรายการ ผู้ผลิตภาพยนตร์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้ประกาศ ผู้ผลิตงานโฆษณา ผู้เขียน บทโทรทัศน์ วิทยุ นักจัดรายการ พิธีกร 5.4 สาขาคหกรรมศาสตร์ 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและครอบครัว การใช้ และพัฒนาวัสดุ เพื่อประโยชน์สุขของบุคคล ครอบครัว และชุมชน งานโภชนาการ งานเสื้อผ้าและ เครื่องแต่งกาย 2) สาขาที่เปิดสอน อาหารและโภชนาการ ผ้าและเครื่องแต่งกาย พัฒนาการ ครอบครัวและเด็ก บ้าน และศิลปสัมพันธ์ คหกรรมศาสตร์ บ้านและชุมชน


นางมัสรา หงษ์สัมฤทธิ์ 5) ลักษณะอาชีพ ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า งานตรวจสอบและวิจัย งานฝึกอบรม และเผยแพร่ความรู้ งานประกอบอาหาร ภาพที่ 8 นักออกแบบแฟชั่น ที่มา: (Posttoday.com 2565 : ออนไลน์) 6) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ สนใจเกี่ยวกับการเป็นอยู่ของมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต มี ความคิดสร้างสรรค์ มีความประณีต 7) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักออกแบบ ตัดเย็บเสื้อผ้า นัก โภชนาการ ครู-อาจารย์เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม 6. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การค้นคว้า พิสูจน์ ทดลองวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 2) สาขาที่เปิดสอน ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ธรณีวิทยา วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ ทั่วไป วิทยาศาสตร์ทางทะเล พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา เทคโนโลยีทางทะเล วิทยาศาสตร์ ทางภาพถ่าย เทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ ภาพที่ 9 นักวิทยาศาสตร์ ที่มา : (กรุงเทพธุรกิจ. 2563 : ออนไลน์) 5) ลักษณะอาชีพ ทำงานในห้องปฏิบัติการเพื่อค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ หรือปฏิบัติ งานวิจัยในพื้นที่ ธรรมชาติ ให้บริการข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ การปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ การสํารวจและพยากรณ์ การ ทดสอบผลิตภัณฑ์ 6) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี ชอบค้นคว้าทดลอง ช่างสังเกต มีความละเอียดรอบคอบ ชอบการแก้ปัญหา ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ


นางมัสรา หงษ์สัมฤทธิ์ 7) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่สถิติ นักธรณีวิทยา เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยา นักคอมพิวเตอร์ นักวิชาการ ทางด้านวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ควบคุม 7. กลุ่มวิชาแพทยศาสตร์และวิชาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบของร่างกาย สุขภาพอนามัย การดูแลรักษา การ ให้บริการ การวินิจฉัยโรค การตรวจ การส่งเสริมสุขภาพและอนามัย การใช้ อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ การดูแลผู้ป่วย โรคและการบําบัดรักษา 2) สาขาวิชาที่เปิดสอน แพทย์ พยาบาล กายภาพบําบัด รังสีเทคนิค เภสัชศาสตร์ สัตวแพทย์ ทันต แพทย์ เทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม บริการสาธารณสุข โภชนวิทยา สุขศึกษา ภาพที่ 10 นักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มา : (คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. 2565 : ออนไลน์) 5) ลักษณะอาชีพ การตรวจวินิจฉัย ค้นคว้า วิเคราะห์ ทดลอง และให้บริการด้านการรักษาและดูแล สุขภาพอนามัย การฟื้นฟูสมรรถภาพ การป้องกันโรค 6) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ สนใจเกี่ยวกับการค้นคว้าทดลอง ใฝ่หาความรู้ ใช้เหตุผลในการ คิดวิเคราะห์ มีความสุขุม ละเอียดรอบคอบ มีเมตตา กล้าตัดสินใจ ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่พิการทางกาย ใจเย็น 7) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่รังสี เทคนิค เจ้าหน้าที่ วิทยาศาสตร์การแพทย์ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 8. กลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ 8.1 วิศวกรรมศาสตร์ 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการคํานวณในระดับสูง การออกแบบ การผลิต การ ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องมือทางด้านอุตสาหกรรม 2) สาขาที่เปิดสอน วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรม โลหการ วิศวกรรม คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเรือ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมสํารวจ วิศวกรรม สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเหมืองแร่และ โลหะวิทยาวิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกรรมอุตสาหกรรม วิศวกรรม การผลิต วิศวกรรมระบบควบคุมและ เครื่องมือวัด วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรม อาหาร วิศวกรรมการบินและอากาศยาน วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ


นางมัสรา หงษ์สัมฤทธิ์ ภาพที่ 11 คณะวิศวกรรม ที่มา : (Dek-D. 2562: ออนไลน์) 5) ลักษณะอาชีพ ทำงานด้านการคํานวณ วางแผนการติดตั้ง การสร้าง การควบคุม งานต่างๆ การ นําความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ คิดค้น ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ 6) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ ชอบคิดคํานวณ มีความถนัดทางด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความละเอียดรอบคอบ 7) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิศวกร 8.2 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบอาคาร การวางผังเมือง 2) สาขาที่เปิดสอน สถาปัตยกรรม การออกแบบอุตสาหกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมภายใน การออกแบบชุมชนเมืองเคหการ 3) คณะที่เปิดสอน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะ พัฒนาการเศรษฐกิจ 5) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ มีความสามารถและมีพื้นฐานทางศิลปะ รักศิลปะ มีความคิดริเริ่ม และจินตนาการ มีความคิดในลักษณะที่เป็นตรรกศาสตร์ สามารถถ่ายทอด เป็นภาพและรูปธรรมที่เห็นได้ มี จรรยาบรรณวิชาชีพ 6) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ สถาปนิก นักออกแบบ 9. กลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ วนศาสตร์ และการประมง 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษา สังเกต วิเคราะห์ วิจัย ผลิต ป้องกัน ส่งเสริม เผยแพร่ จัดการ อนุรักษ์ และแปรรูปผลิตผลด้านการเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ประมง และป่าไม้ 2) สาขาที่เปิดสอน วิชากีฏวิทยา เกษตรกลวิธาน พืชศาสตร์ พืชสวน พืชไร่ วนศาสตร์ การจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ ปฐพีศาสตร์ อารักขาพืช สัตวบาล สัตวแพทยศาสตร์ การประมง ฯลฯ 5) ลักษณะอาชีพ ทำงานเกี่ยวกับการผลิต การบํารุงรักษา การจัดการ การแปรรูปผลผลิตทาง การเกษตร การอนุรักษ์ การเผยแพร่ การวิจัย การส่งเสริม การป้องกัน 6) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ รักธรรมชาติ ขยัน อดทน ชอบงาน กลางแจ้ง การค้นคว้า ทดลอง สุขภาพแข็งแรง


นางมัสรา หงษ์สัมฤทธิ์ 7) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ เกษตรกร นักวิชาการป่าไม้ เจ้าหน้าที่ประมง เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ นักวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดิน เจ้าหน้าที่ปราบศัตรูพืช เจ้าหน้าที่ สหกรณ์ 10. กลุ่มสาขาวิชาอื่นๆ 1) ลักษณะการศึกษา เป็นการศึกษาในสาขาวิชาที่ไม่ได้จัดอยู่ใน 9 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ พัฒนา สังคม สังคมสงเคราะห์ พลศึกษา วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น 4) บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ สนใจเรื่องของคน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนา คุณภาพชีวิต ชอบ ช่วยเหลือผู้อื่น 5) ลักษณะอาชีพตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้แก่ นักสังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่ การกีฬา ครู-อาจารย์ พัฒนากร เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม นักวิจัย


คุย คุ เฟื่อ ฟื่ งเรื่อ รื่ งอาชีพ ชี


Click to View FlipBook Version