The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความวิจัย CLT-พิมพ์มาดา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความวิจัย CLT

บทความวิจัย CLT-พิมพ์มาดา

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ด้านทักษะการพูดโดยใช้ กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี Developing of academic achievement in Thai language subjects Speaking skills using the role-playing process - according to the Communication Language Teaching (CLT) guidelines of Mathayom 1 students at Kumphawapi School พิมพ์มาดา มะโนศิลป์๑* และกมลมาลย์ รักศรีอักษร๒ Pimmada Manosil๑* and Kamonman Raksriaksorn๒ ๑นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ๒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ๑ Student of Bachelor of Education Program in Thai, Faculty of Education, Udon Thani Rajabhat University ๒Assistant Professor Dr., Faculty of Humanities and Social Sciences, Udon Thani Rajabhat University บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทย ด้านทักษะการพูด โดยใช้กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อ การสื่อสาร (CLT) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี ๒)เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ด้านทักษะการพูด ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ด้านทักษะ การพูด โดยใช้กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี * ผู้ประสานงาน: นางสาวพิมพ์มาดา มะโนศิลป์ อีเมล: [email protected]


ได้คะแนนทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ ๕.๖๘ คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๒๙ โดยมีส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๔.๒๓ และได้คะแนนทดสอบหลังเรียนเท่ากับ ๙.๗๓ คิดเป็นร้อย ละ ๘๑.๐๔ โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๑.๙๗ พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของ นักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ค ำส ำคัญ: ทักษะการพูด, กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร Abstract The objectives of this research are 1) to develop academic achievement in Thai language subjects; Speaking skills Using the role-playing process - according to the principles of communicative language teaching (CLT) of Mathayom 1 students at Kumphawapi School. 2) To compare academic achievement in Thai language subjects Speaking skills Between before class and after class Using the role-playing process - according to the principles of communicative language teaching (CLT) of Mathayom 1students at Kumphawapi School. The research results found that Results of the development of academic achievement in Thai language subjects Speaking skills Using the role-playing process - according to the principles of communicative language teaching (CLT) of Mathayom 1students at Kumphawapi School. Received a pre-test score of 5.68, equivalent to 47.29 percent, with a standard deviation of 4.23, and received a post-test score of 9.73, equivalent to 81.04 percent, with a standard deviation of 1.97 It was found that the students' post-test scores were higher than before, with statistical significance at the .05 level. Keyword: Speaking skills, Role-playing, communicative language teaching บทน ำ การพูดมีความส าคัญและมีบทบาทมากในชีวิตประจ าวัน เพราะมีส่วนช่วยเสริม ความเจริญก้าวหน้าแก่ บุคคลทั่วไปไม่ว่าผู้นั้นจะมีอาชีพอะไร ด าเนินงานใหญ่หรือเล็กแค่ไหน


ล้วนแต่มีความจ าเป็นต้องฝึกให้มีความสามารถในการพูดอย่างมีประสิทธิภาพทั้งสิ้น ความส าเร็จอยู่ที่การพูด การพูดจึงมีความส าคัญมากส าหรับบุคคลทุกอาชีพซึ่งน่าจะ กล่าวได้ ว่า การพูดเป็นประตูสู่ความส าเร็จต่อการประกอบอาชีพ แต่ปัจจุบันพบปัญหาการใช้ภาษาไทยที่สื่อสารกันแบบไม่ถูกต้อง พระมหานพรัตน์ ขนฺติธมฺโม และคณะ (๒๕๖๓) กล่าวไว้ในบทความเหลียวหลัง-แลหน้า การใช้ภาษาไทยวิบัติ ในสังคมยุคนิวนอร์มอลที่ต้องการให้บทความสะท้อนถึงคุณค่าความเป็นศาสตร์และศิลป์ของ ภาษาไทยที่สร้างสรรค์ขึ้นจากบรรพบุรุษและเป็นมรดกอันล้ าค่าที่ตกทอดมาสู่คนรุ่นปัจจุบัน โดยให้ข้อสังเกตว่ามุมมองของสังคมบางกลุ่มก็มีความกังวลว่าคนไทยรุ่นใหม่ซึ่งใช้เวลาส่วน ใหญ่หมดไปกับการสื่อสารในโลกออนไลน์จะเคยชินกับการใช้ภาษาไทยเน็ตและน ามาใช้ สื่อสารในภาษาพูดและภาษาเขียนในชีวิตประจ าวัน ปัญหานี้ครูควรเป็นต้นแบบส่งเสริมการ ใช้ภาษาไทย เพราะจะมีส่วนช่วยอนุรักษ์ คุณค่าของภาษาไทยนี้ไว้ โดยค้นคว้าทฤษฎีที่จะ น ามาปรับใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้ประสบผลส าเร็จ แนวคิดการสอนเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching: CLT) เป็นกลุ่มแนวคิดที่เน้นพัฒนาทักษะความสามารถในการน าภาษาไปใช้ที่ไม่ได้มีลักษณะการ จัดการเรียนการสอนแบบตายตัว แต่เป็นกลุ่มแนวทางการปฏิบัติที่ครู้ผู้สอนสามารถปรับใช้ โดยอิงพื้นฐานของแนวคิดการพัฒนาทักษะ การน าไปใช้เพื่อประกอบกิจกรรมใน ชีวิตประจ าวัน (Ments, ๑๙๘๖, หน้า ๔๑)การศึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม แนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร พบว่าแนวคิดนี้เป็นกระบวนการการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นการฝึกให้ผู้เรียนใช้ภาษา ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งใน สถานการณ์จริงและสถานการณ์จ าลองในห้องเรียน ซึ่งเป็นการสอนที่ไม่เน้นหลักไวยากรณ์ แต่จะมีการสอดแทรกไวยากรณ์จึงท าให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจ ที่จะน าแนวคิดการสอนเพื่อการสื่อสาร มาใช้ในการพัฒนาทักษะด้านการพูดเนื่องจากผู้เรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี อ าเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี พบว่า ผู้เรียน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความสามารถและกล้าแสดงออก แต่อาจจะยังใช้ทักษะการพูดที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการ และสถานการณ์จริงได้ จากสภาพปัญหาเหล่านี้ ส่งผลกระทบให้ผู้เรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยอยู่ในระดับปานกลาง และมีความสามารถด้านทักษะการ พูดยังไม่เพียงพอเท่าที่ควร


จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้ท าการศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการสอนต่างๆ จาก ต ารา บทความ และ วิทยานิพนธ์ เพื่อที่จะน ามาปรับปรุงวิธีการสอนของตน ให้มี ประสิทธิภาพทั้งด้านความรู้ เพิ่มพูนทักษะ และสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อมๆ กัน พบว่า กิจกรรมบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็น ธรรมชาติ ทั้งยังส่งผลต่อเจตคติที่ดีต่อการพูดของผู้เรียน โดยนอกจากกิจกรรมบทบาทสมมติ จะสามารถท าให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการพูดของตนเองได้อย่างแท้จริง อีกทั้งยังท าให้ผู้เรียน เกิดความเข้าใจและใช้หลักการพูดไปใช้ในการพูดสื่อสารในสถานการณ์จริงได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมอีกด้วย เมื่อผู้วิจัยได้ท าการศึกษาค้นคว้าถึงวิธีการน ากิจกรรมบทบาทสมมติไปใช้ พบว่า การ จัดการเรียนการสอน ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ถือเป็นวิธีการสอนภาษาที่ จ าเป็นต้องสอดแทรกกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสื่อสาร เพื่อให้ได้มาซึ่งประสบการณ์ ในการสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองจริงๆ ในแต่ละสถานการณ์ ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะท าให้ผู้เรียนเกิดความ มั่นใจและเกิดความแม่นย าในโครงสร้างภาษาตลอดจนจะท าให้ผู้เรียนมี ความสามารถในการ ใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วในล าดับต่อมา (วรรณพรรณ เลิศวัตรกานต์, ๒๕๕๖) จากประโยชน์ของกิจกรรมบทบาทสมมติและการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษา เพื่อการสื่อสารดังกล่าว ท าให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะพัฒนาทักษะการพูดการพัฒนาทักษะ การพูดภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ส าหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี โดยการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ ตามแนวการ สอนภาษาเพื่อการสื่อสารซึ่งเป็นการสร้างโอกาสในการพูดของผู้เรียนให้ สอดคล้องกับการจัดสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียน ซึ่งจะท าให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทักษะการพูดและ พัฒนาการด้านทักษะการพูดที่สูงยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย ๑) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ด้านทักษะการพูด โดยใช้ กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี


๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ด้านทักษะการพูด ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอน ภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี สมมติฐานการวิจัย ๑. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ บทบาทสมมติตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร(CLT) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทย ด้านทักษะการพูดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ๒. พัฒนาแนวทางการสอนทักษะการพูด รายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ-ตามแนวการ สอนภาษาเพื่อการสื่อสาร(CLT) ขอบเขตกำรวิจัย ๑) กลุ่มเป้ำหมำย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๒ ที่ก าลัง ศึกษาในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนกุมภวาปี จ านวน ๔๐ คน ๒) ตัวแปรที่ศึกษำ ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการพัฒนาทักษะการพูด โดยใช้ กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปีที่เรียนวิชาภาษาไทยด้านการพัฒนาทักษะการพูด โดยใช้กระบวนการ บทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือเพื่อใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเครื่องมือที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น ประกอบด้วย ๑) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านทักษะการพูด จ านวน ๕ แผน ทั้งหมด ๒ สัปดาห์ เป็นเวลา ๕ ชั่วโมง ดังนี้ ๑.๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง การพูดแนะน าตนเอง ๑.๒ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง การพูดโฆษณา


๑.๓ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่อง การพูดแสดงความคิดเห็น ๑.๔ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔ เรื่อง การพูดในโอกาสต่างๆ ๑.๕ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕ เรื่อง การพูดแนะน าสถานที่ ๒) แบบประเมินวัดผลสมฤทธิ์ทักษะการพูด รายวิชาภาษาไทยโดยใช้กระบวนการ บทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๑ เป็นแบบประเมินก่อนเรียนและหลังเรียน วิธีด ำเนินกำรวิจัย ๑.แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยด้านการพัฒนาทักษะการพูด โดยใช้กระบวนการ บทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ผู้วิจัยมีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้ ๑.๑ ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการ จัดการเรียนรู้แบบการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ๑.๒ ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ๑.๓ ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนกุมภวาปี อ าเภอกุมภวาปี ปีการศึกษา ๒๕๖๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๑.๔ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ กิจกรรม บทบาทสมมติตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร จ านวน ๕ แผน รวม ๕ คาบ ๑.๕ น าแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยเพื่อพิจารณา ความถูกต้องของแผนการจัดการเรียนรู้ แล้วน ามาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ๑.๖ น าแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ ที่ปรึกษาวิจัย แล้วน าไปให้ผู้เชี่ยวชาญจ านวน ๓ ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม ความ สอดคล้องและความเป็นไปได้ ระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล จากนั้นน าคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item – Objective Congruence : IOC) ระหว่างองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ จะต้องได้ค่าดัชนี ความสอดคล้องของทุกองค์ประกอบตั้งแต่ ๐.๕ ขึ้นไป ๑.๗ ปรับปรุง และแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ


๑.๘ น าแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปทดลองใช้กับนักเรียน ที่ก าลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ของการวิจัย และได้มาโดยการสุ่มเจาะจง จ านวน ๔ คน (ทดลองเดี่ยว) ซึ่งประกอบด้วย นักเรียนที่มีความสามารถทางภาษาไทยอยู่ในระดับสูง ๑ คน ปานกลาง ๒ คน และต่ า ๑ คน เพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการใช้ส านวนภาษา ๑.๙ น าแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปทดลองใช้กับนักเรียน ที่ก าลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ของการวิจัย และได้มาจากการสุ่มเจาะจงจ านวน ๑๒ คน (ทดลองกลุ่มเล็ก) ประกอบด้วย นักเรียนที่มีความสามารถอยู่ในระดับสูง ๓ คน ปานกลาง ๖ คน และต่ า ๓ คน เพื่อหา ข้อบกพร่องแล้วปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ สรุปผลกำรวิจัย จากการวิเคราะห์ข้อมูลในการท าวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทย ด้านทักษะการพูดโดยใช้กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อ การสื่อสาร (CLT) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปีสรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ ตำรำงที่ ๑ ตารางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยด้านทักษะการพูด (N = ๔๐)


ตำรำงที่ ๑(ต่อ) ตารางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยด้านทักษะการพูด (N = ๔๐)


จากตารางที่ ๑ พบว่าได้คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนจากการท าแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ ๕.๖๘ คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๒๙ โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ ๑.๐๖ ส่วนคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนเท่ากับ ๔๔.๓๓ คิดเป็นร้อยละ ๗๓.๘๘ โดยมี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๒.๑๑ และได้คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนจากการท าแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ ๙.๗๓ มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๖ คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๐๔ ตำรำงที่ ๒ ตารางเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (n =๔๐) การทดสอบ ร้อยละ n คะแนนเต็ม x̄ S.D. ก่อนเรียน ๔๗.๒๙ ๔๐ ๑๒ ๕.๖๘ ๑.๐๖ หลังเรียน ๘๑.๐๔ ๔๐ ๑๒ ๙.๗๓ ๐.๖ ที่มำ: พิมพ์มาดา มะโนศิลป์ (๒๕๖๖ :๖๖) จากตารางที่ ๒ พบว่าผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ด้าน ทักษะการพูด โดยใช้กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปีมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ ๕.๖๘ คะแนน และ ๙.๗๓ คะแนนตามล าดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังการ จัดการเรียนรู้พบว่าคะแนนสอบหลังการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ อภิปรำยผล ๑. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี ที่เรียนโดยใช้กระบวนการ บทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) มีคะแนนแบบประเมินการพูด ๕ แผนการสอนเฉลี่ยเท่ากับ ๙.๗๓ คิดเป็น ร้อยละ ๘๑.๐๔ ซึ่งปัจจัยส าคัญที่ท าให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการโดยใช้ กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านเกณฑ์ การประเมินผลในระดับ ดี เนื่องมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้


๑.๑ ผู้สอน กระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๕๑: ๒๐) ได้กล่าวว่า ผู้สอนต้องศึกษา หลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะส าคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แล้วจึงพิจารณา ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัด และประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่ก าหนด ซึ่ง ในการท าวิจัยในครั้งนี้ ครูผู้สอนมีหน้าที่ และบทบาทส าคัญไปตั้งแต่การเตรียมการสอน การ คิดวิเคราะห์เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด ตลอดจนการท า สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับกิจกรรมในชั้นเรียน และสามารถท าให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๒ ที่เรียนโดยใช้โดยใช้กระบวนการ บทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ผ่านเกณฑ์การประเมินคิดเป็น ร้อยละ ๑๐๐ ๑.๒ ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะต้องมีบทบาท และหน้าที่ส าคัญในการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ ดังที่ กระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๕๑: ๒๐) ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้เรียน ดังนี้ ๑) ก าหนดเป้าหมาย วางแผนและรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง ๒) เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อความรู้ ตั้งค าถาม คิดหาค าตอบหรือหา แนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ ๓) ลงมือปฏิบัติจริงสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และน า ความรู้ไปปรับใช้ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ๔) มีปฏิสัมพันธ์ ท างาน ท ากิจกรรมร่วมกับ กลุ่มและครู๕) ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง จากการท าวิจัยครั้งนี้ท าให้มองเห็นถึงความสามารถของผู้เรียนที่มีการพัฒนา สืบเสาะค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมจน ท าให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี ซึ่งการศึกษาเรื่องทักษะการพูด โดยใช้โดยใช้กระบวนการบทบาท สมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ นักเรียนได้ฝึกการหาความรู้ด้วยตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันตลอดจนรับผิดชอบใน หน้าที่ของตนที่ได้รับมอบหมาย มีความสามารถในการใช้ความคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ไข ปัญหาด้วยตนเองอย่างเต็มความสามารถท าให้งานที่ได้รับมอบหมายประสบความส าเร็จ ทั้งนี้ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ด้านทักษะการพูด โดยใช้กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามหลักการและ


ขั้นตอนการสร้างอย่างมีระบบและวิธีการที่เหมาะสม กล่าวคือ ผู้วิจัยศึกษาหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คู่มือครู และเนื้อหา ตลอดจนศึกษากระบวนการ จัดการเรียนรู้รูปแบบ กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) อีกทั้งยังผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะน าไปทดลองใช้ รวมไปถึง ผู้เรียนที่ให้ความร่วมมือในการท ากิจกรรมจนสามารถท าให้การเรียนการสอนประสบ ผลส าเร็จ ๑.๓ กระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนว การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน อย่างแท้จริง โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ด้วยตนเองโดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม และเน้น ผู้เรียนเป็นส าคัญอีกด้วย โดย นูนัน (Nunan,๑๙๙๑) ได้กล่าวไว้ว่า การสอนภาษาตามแนว ทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร มักเน้นการใช้ภาษาของผู้เรียนมากกว่าเน้นถึงหลักเกณฑ์ การใช้ภาษา ดังนั้น การเรียนการสอนแนวนี้จะต้องเน้นการท ากิจกรรมเพื่อการฝึกฝนการใช้ ภาษาให้ใกล้เคียงสถานการณ์จริงมากที่สุด และการที่ผู้เรียนจะสามารถใช้ภาษาเพื่อการ สื่อสารนั้น ผู้เรียนต้องมีทักษะความสามารถทั้ง ๔ ด้าน นั่นคือ ความสามารถในด้านกฎเกณฑ์ ไวยากรณ์ ความสามารถด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคม ความสามารถด้านความสัมพันธ์ของ ข้อความ และความสามารถด้านการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย โดยอาศัยกระบวนการ สอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching - CLT) ๕ ขั้นตอนดังนี้ ๑) ขั้นน าเข้าสู่บทเรียน (Warm up/Lead in) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดความพร้อม และอยากรู้ อยากเรียนในบทใหม่ เนื้อหาจะเชื่อมโยงไปสู่สาระส าคัญของบทนั้นๆ ๒) ขั้นน าเสนอ (Presentation) ในขั้นนี้ครูจะให้ข้อมูลทางภาษาแก่นักเรียน มีการน าเสนอ ศัพท์ใหม่ เนื้อหาใหม่ให้เข้าใจทั้งรูปแบบและความหมาย ๓) ขั้นฝึก (Practice) ในขั้นนี้ นักเรียนจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เรียนมาแล้วในขั้นน าเสนอ โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนใช้ภาษา ได้ถูกต้อง ขณะเดียวกันก็เน้นเรื่องการใช้ภาษาให้คล่องแคล่ว (fluency) ๔) ขั้นการใช้ภาษา (Production) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนน าค าหรือประโยคที่ฝึกมาแล้วมาใช้ในสถานการณ์ ต่างๆ ในรูปแบบกิจกรรมหลากหลาย เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว (fluency) และเกิดความ สนุกสนาน และ ๕) ขั้นสรุป (Wrap up) เป็นขั้นสุดท้ายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในแต่ละชั่วโมง จุดประสงค์คือ เพื่อสรุปสิ่งที่ได้เรียนแล้ว กิจกรรมที่เสนอแนะไว้อาจจะเป็น


การน าเสนอรายงานของกลุ่ม ท าแบบฝึกหัดเพื่อสรุปความรู้ หรือเล่นเกมเพื่อทดสอบสิ่งที่ เรียนมาแล้ว เมื่อน ากระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบกระบวนการบทบาทสมมติ-ตาม แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนา ทักษะการพูด พบว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบกระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนว การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) จะเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ ซึ่งครูเป็นเพียงผู้เคยแนะน า โดยนักเรียนจะลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะ การคิด วิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การท างานเป็นกลุ่มการสื่อสาร รวมทั้งเกิดการใฝ่รู้ และสามารถ น าความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจ าวันได้ ๑.๔ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี ที่เรียนโดยใช้ กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) มีคะแนนแบบ ประเมินการพูด ๕ ชุดการทดสอบเฉลี่ยเท่ากับ ๙.๗๓ คิดเป็น ร้อยละ ๘๑.๐๔ โดยผ่านเกณฑ์ การประเมินระดับ ดีทุกคน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ พรรณิพา สิงห์สีโว (๒๕๔๗) ได้ศึกษา การ พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ กิจกรรมบทบาทสมมติของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านโนนสะอาดนาดี ผลการวิจัยโดยสรุป ช่วยให้นักเรียนเกิดความต้องการในการสื่อสาร นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ กิจกรรมด้วยตนเองท าให้มีการพัฒนาด้านการพูดมากขึ้น และการแสดงบทบาทสมมุติช่วยให้ นักเรียนเกิดความมั่นใจในภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริง และสามารถพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนได้ดีขึ้น ๒. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๒ ที่เรียนโดยใช้กระบวนการบทบาทสมมติ-ตาม แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) มีคะแนนแบบประเมินก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ ๕.๖๘ คิดเป็น ร้อยละ ๔๗.๒๙ โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๑.๐๖ และได้คะแนนเฉลี่ยหลัง เรียนมาจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ ๙.๗๓ คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๐๔ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ บัวลักษณ์ เพชรงาม (๒๕๖๑) ได้ศึกษา การ พัฒนาทักษะการพูด เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฏีกา โดยใช้กิจกรรมบทบาท สมมติตามแนวการ สอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียน


สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผลการเปรียบเทียบคะแนน ผลสัมฤทธิ์ทักษะการพูดเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฏีกา ก่อนและหลังการใช้ กิจกรรมบทบาทสมมติตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทักษะ การพูดหลังเรียน (=๒๓.๕) สูงกว่าก่อนเรียน (=๑๕.๓๓) โดยมีค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนน (D) อยู่ที่ D=๘.๑๗ แสดงให้เห็นว่า การเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติตามแนวการสอนภาษา เพื่อการสื่อสารท าให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยด้านทักษะการพูด โดยใช้ กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ แล้วพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการ สอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) สามารถน าไปใช้ในการเรียนการสอน เรื่อง ทักษะการพูด ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น สามารถน า ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยด้านทักษะการพูด โดยใช้กระบวนการ บทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปีเป็นกิจกรรมที่เหมาะสม สอดคล้องกับวัยของผู้เรียน และเน้นผู้เรียน เป็นส าคัญ เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ทุกขั้นตอนให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดเชื่อมโยงความรู้ที่มีเข้ากับความรู้ใหม่และฝึกการคิด สร้างสรรค์ อีกทั้งฝึกการท างานร่วมกับผู้อื่น เมื่อจัดกระบวนการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว พบว่า ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการพูดแบบต่างๆและสามารถพูดแบบต่างๆได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ ผู้เรียนใช้ภาษาในการสื่อสารในชีวิตประจ าวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ด้านทักษะการ พูด โดยใช้กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนกุมภวาปี ดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้


๑. ข้อเสนอแนะทั่วไป ๑.๑ การจัดเตรียมสื่อประกอบการสอน ความพร้อมของแหล่งการเรียนรู้ครู ควรจัดเตรียมให้ ๑.๒ ครูควรมีการอธิบายและชี้แจงขั้นตอนอย่างละเอียด เพื่อให้นักเรียนเกิด ความเข้าใจเมื่อเจอปัญหา และคอยกระตุ้นนักเรียนระหว่างด าเนินกิจกรรมเมื่อพบว่านักเรียน ขาดความสนใจ หรือไม่ให้ความร่วมมือ ๑.๓ การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนว การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) มีขั้นตอนอยู่จ านวนมาก เมื่อน ามาจัดกิจกรรมในชั้น เรียนจริง ๆ ต้องใช้ระยะเวลามากในการท ากิจกรรม ดังนั้นครูผู้สอนต้องมีการจัดกิจกรรมให้ เหมาะสมกับระยะเวลา ๒. ข้อเสนอแนะในกำรศึกษำครั้งต่อไป ๒.๑. ควรมีการน ากระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการบทบาท สมมติ-ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ไปใช้กับเนื้อหาที่มีลักษณะของหลักการ ใช้ภาษา เช่น การอ่านสะกดค า ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย รวมไปถึงการเรียนการสอน รายวิชาอื่น ๆ เช่น ภาษาต่างประเทศ เป็นต้น ๒.๒ ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทย เรื่องชนิดและหน้าที่ของค า โดยใช้กระบวนการบทบาทสมมติ-ตามแนวการสอน ภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ส าหรับนักเรียนระดับชั้นอื่น ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในหลักการพูดและสามารถพัฒนาการพูดที่ดียิ่งขึ้น เอกสำรอ้ำงอิง กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (๒๕๕๑). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๖๓). กำรสอนภำษำไทย. สืบค้น ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖, จาก https://www.moe.go.th/ บัวลักษณ์ เพชรงาม. (๒๕๖๑). กำรพัฒนำทักษะกำรพูด เรื่อง ขุนช้ำงขุนแผน ตอน ขุนช้ำง ถวำยฎีกำ โดยใช้กิจกรรมบทบำทสมมติตำมแนวกำรสอนภำษำเพื่อกำรสื่อสำร


ส ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษำปีที่ ๖ โรงเรียนสำธิตมหำวิทยำลัยรำชภัฏสวน สุนันทำ. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พระมหานพรัตน์ ขนฺติธมฺโม (ศิลากุล), เจษฎา จันทนาภรณ์ และ ไกรเทพ ผลจันทร์. (๒๕๖๓). เหลียวหลัง-แลหน้าการใช้ภาษาไทยวิบัติในสังคมยุคนิวนอร์มอล. ว า ร ส า ร ศึ ก ษ า ศ า ส ต ร์ ม ม ร, ๘ ( ๒ ) , ๑๓๔ - ๑ ๓ ๕ . สื บ ค้ น จ า ก http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view. วรรณพรรณ เลิศวัตรกานต์. (๒๕๕๖). กำรพัฒนำชุดกิจกรรมโดยเน้นงำนปฏิบัติเพื่อฝึก ทักษะกำรฟังและพูด ภำษำอังกฤษเพื่อกำรสื่อสำร สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษำปีที่ 5 โรงเรียนมำรีวิทยำ. ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา เทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิปากร Hyme, H.H.D. On Communicative Competence in the Communicative Approach to the Language Teaching, Londod, Oxford University Press, 1972. Ments, V. M. (1986). The Effective Use of Role Play: Practical techniques for improving learning. London: Kogan Page. Nunan, D. Communicative tasks and the language curriculum. TESOL Quarterly, 25(2), 1991.


Click to View FlipBook Version