The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Callmex Jxn, 2022-07-09 09:37:38

บุคคลสำคัญ(นายจตุพร รัตนวราหะ)

นายจตุพร รัตนวราหะ

นายจตุพร รัตนวราหะ

บุคคลสำคัญ

ประวัติ

นาย จตุพร รัตนวราหะ (ต้อย) เกิดวันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2479 (80 ปี) เป็น ศิลปินกรม
ศิลปากร ผู้ได้รับพระราชทานครอบและรับมอบกระบวนท่ารำเพลง หน้าพาทย์องค์พระพิราพ ,ได้
กราบทูลสอนโขนถวาย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และ มีผลงานการแสดงเป็นตัวเอกในเรื่อง
รามเกียรติ์ บทยักษ์ใหญ่ ทศกัณฐ์ เป็นบทที่อยู่ในความทรงจำของคนรักโขนกรมศิลปากรมา
นานกว่า ๔๐ ปี เป็นผู้ร่วมงานเคียงข้าง ศ.มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในการก่อตั้งและสร้างสรรค์
โขนธรรมศาสตร์ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านศิลปะการแสดงของรัฐ
นอกจากนี้มีผลงานโดดเด่นอื่นๆทางด้าน โขน และ ละคร ทั้งด้านการเป็นศิลปินผู้แสดง เป็นผู้
สอน ผู้เผยแพร่ทั้งทางด้านปฏิบัติและทฤษฎี ปัจจุบันแม้จะเกษียณอายุราชการแล้ว ก็ยังทำงาน
ด้านการเผยแพร่ศิลปการแสดงอยู่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) พุทธศักราช ๒๕๕๒

01 เริ่มเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2500
ตำแหน่งศิลปินสำรอง แผนกนาฎศิลป กองการสังคีต

02 พ.ศ. 2521-2525 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ
วิทยาลัยนาฏศิลป์อ่างทอง

03 พ.ศ. 2526-2530 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ วิทยาลัย
นาฏศิลปอ่างทอง

04 พ.ศ. 2531-2540 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ วิทยาลัย
นาฏศิลปสุโขทัย

05 พ.ศ. 2540 เกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการ
ระดับ 9 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย

06 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย สำนักการ
สังคีต กรมศิลปากร

ประวัติการรับราชการ

เกียรติยศที่ภาคภูมิใจ

การต่อกระบวนรำหน้าพาทย์องค์ พระพิราพ
หน้าพระที่นั่ง

การกราบทูลสอนโขนถวายสมเด็จพระบรมโอ
รสาธิราชฯ

ศิลปินแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2552

ผลงานสร้างสรรค์ด้านการแสดง

เมื่อสมัยที่ นาย จตุพร รัตนวราหะ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ
วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ได้สร้างสรรค์การแสดงชุดใหม่ที่สอดคล้อง
กับวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวสุโขทัยให้กับชาว
วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยได้นำออกแสดงและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ได้
รับชมมาจนกระทั่งทุกวันนี้คือ

2. ฟ้อนตะคัน พ.ศ. 2533

"ตะคัน" หมายถึง ถ้วยดินปั้ นขนาดเล็ก ในถ้วยหล่อเทียนขี้ผึ้ง มีไส้เทียน โผล่ออกมา
เพื่อใช้จุดให้เกิดแสงสว่าง ในถ้วยเทียน หรือตะคันนี้มีมาแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี
เมื่อ ๗๐๐ ปีที่ผ่านมา วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยในสมัยของผู้อำนวยการจตุพร รัตน
วราหะ ร่วมกับคณะครูภาควิชานาฏศิลป์ไทย และดุริยางค์ไทย ประดิษฐ์ท่ารำและดนตรี
ประกอบเพื่อให้เกิดความสุนทรีย์ของการนำ ตะคันไปบูชาพระรัตนตรัย จึงนำตะคันมา
ใช้เป็นอุปกรณ์ในการแสดง เพื่อเป็นสื่อชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักร
สุโขทัย และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยในสมัยนั้น

3. ระบำเบญจรงค์ พ.ศ. 2534

ระบำเบญจรงค์ เป็นระบำชุดใหม่ที่ประกอบด้วย เนื้อร้องที่กล่าวถึงคุณค่า ความ
สำคัญของเครื่องถ้วยเบญจรงค์ ซึ่งเป็นศิลปหัตถกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความ
เป็นไทย อธิบายถึงความงดงามอันแฝงด้วยความงามในทางศิลปะของสีเบญจรงค์
อันได้แก่ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สะอาด มีคุณค่า สีดำ หมายถึง ความเศร้าโศก
มืดมนแต่แฝงด้วยอำนาจอันน่าเกรงขาม สง่า สีแดง หมายถึง ความสุข อบอุ่น ร้อน
แรง กล้าหาญ สีเหลือง หมายถึง ความสว่างไสว สดใส ความยั่งยืน มั่นคง สีเขียว
หมายถึง ความสดชื่น ความเจริญ งอกงาม ความปลอดภัย

ผลงานทางด้านวิชาการ

คู่มือการฝึกหัดโขนเบื้องต้น
รามายณะของอินโดนีเซีย แปล
หนังสือเพลงหน้าพาทย์ ซึ่งอธิบายเพลงหน้า
พาทย์ในมุมมองของผู้แสดงโขนไว้อย่าง
ชัดเจน และเป็นก้าวแรกที่เชื่อมโยงความรู้
ดนตรีไทยและนาฏศิลป์โขน ปัจจุบันใช้เป็น
ตำราอ้างอิงในวงการศึกษา
รามเกียรติ์ ร้อยแก้ว เขียนลงในวารสาร
วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยทุกเดือน

ละครพูดเรื่อง"เล็กโพธิ์ดำ
วีซีดี บันทึกการแสดงเรื่องจุดเด่นของทศ
กัณฐ์ รำลงสรงชมตลาด ฉุยฉายทศกัณฐ์
ลงสวน, ฉุยฉายหนุมานแปลง , เกี้ยวนาง
นางลอย, ชูกล่องดวงใจ แจกในงานครบ 6
รอบ วันที่ 9 ธันวาคม 2551

ประสบการณ์ด้าน การฝึกหัดและการออกแสดง
การแสดง เริ่มฝึกหัดเป็นตัวยักษ์ กับนายยอแสง ภักดี
เทวา และนายอร่าม อินทรนัฎ
เป็นผู้แสดงโขน – ละคร ให้ประชาชนทั้งชาว
ไทยและชาวต่างประเทศชม ณ โรงละคร
ศิลปากร โรงละครแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล
และไปเผยแพร่ผลงานทางด้านการแสดงใน
ต่างประเทศหลายครั้ง

ผลงานด้านการแสดงโขน

การแสดงและการสอนในราชการกรมศิลปากร
แก้ไข

แสดงเป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น ทศ
กัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ไมยราพ เสนายักษ์
ม้าอุปการ เป็นต้น
เป็นผู้สอน นาฏศิลปินโขนยักษ์ ใหญ่ การ
แสดงและการสอนร่วมกับ ศาสตราจารย์
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ผลงานด้านการแสดงละคร สรุปผลงาน

ได้รับการคัดเลือกจากท่านผู้หญิงแผ้ว สนิท ทศกัณฐ์ อสุรา พญายักษ์ ทั้งสิบพักตร์
วงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ ให้แสดงเป็นซม ยี่สิบกร สุนทรศรี
พลา ในละครเรื่องเงาะป่า เป็นคนแรกของ สมศักดิ์ สมร้าย ชายชาตรี สมเสน่ห์ อสุรี มี
กรมศิลปากร พึงยล
แสดงเป็นหลวิชัย ในละครเรื่องคาวี เป็นจอมราพณ์ เมืองมาร ผ่านลงกา เป็น
แสดงเป็นเสนาไทย ในละครเรื่องขุนช้าง – ศรัทธา เกรงกลัว ทั่วแห่งหน
ขุนแผน ตอน พระไวยแตกทัพ เป็นต้น เป็นที่รัก ที่บูชา อสุรชน เป็นจอมพล ลือนาม
ในรามเกียรติ์

- ร้องเพลงทองย่อนรวบ-
ครูจตุพร รัตน วราหะ สืบศิลปะ นาฏกรรม
เลิศล้ำเขียน
สวมบทบาท มารร้าย ได้แนบเนียน มิผิด
เพี้ยน ยักษ์ใหญ่ ให้ลือชา
คราออกรบ เกรี้ยวกราด มาดนักเลง ยาม
ครื้นเครง ออกสำรวล ชวนหรรษา

จัดทำโดย

นายณัฐดนัย ภักดีพฤฒินันท์ เลขที่ 19


Click to View FlipBook Version