The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ตัวละครชายในวรรณคดีไทย.....

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2022-02-07 22:07:09

ตัวละครชายในวรรณคดีไทย.....

ตัวละครชายในวรรณคดีไทย.....

ชาย

ใ น ว ร ร ณ ค ดี ไ ท ย

ผู้เขียน: นางสาวจิราวรรณ จันทา รหัส 028

ไม่เพี ยงแต่ "นาง"
ใ น ว ร ร ณ ค ดี ที่ น่ า ส น ใ จ
เ เหรื่ลิ่อาง "นาย"
ก็ มี น่ า ส น ใ จ
ไม่แพ้ กัน

คำนำ

หนังสืออิเลกทรอนิกส์เรื่องชายในวรรณคดีไทยฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อ

ต้องการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ทางด้านวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
โดยเนื้อหาภายในเล่มได้รวบรวมเหล่าตัวละครชายในวรรณคดีของไทย
ไว้มากมาย เช่น พระอภัยมณี ขุนแผน ขุนช้าง พระลอ เป็นต้น

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านจะได้รับข้อมูลความรู้ในเรื่องนี้
และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจงานทางด้านวรรณคดี และวรรณกรรม
ไทยสืบไป

1.พระราม รีส | ห น้ า 4

พระราม คือ พระนารายณ์อวตารลงมา

กำเนิดเป็นพระราชโอรส
ของท้าวทศรถ กับ นางเกาสุริยา เพื่อจะ

ปราบทศกัณฐ์ พระรามมีพระอนุชาต่าง

พระมารดา ๓ พระองค์ คือ พระพรต
พระลักษมณ์ และพระสัตรุต ซึ่งต่างก็มี
ความรักใคร่กันอย่างมาก พระมเหสีของ

พระราม คือ นางสีดา พระรามมีกายสีเขียว

สามารถปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์มีสี่กร

ได้อาวุธประจำพระองค์ คือ ศรซึ่งเป็นอาวุธ

วิเศษ ที่ได้ประทานมาจากพระอิศวร
บทบาทที่สำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ ได้แก่
- เมื่อเยาว์วัยพระรามได้รับการศึกษา

ศิลปศาสตร์ กับสำนักฤาษีสวามิตร
หรือวิศวามิตร มีความเก่งกล้า ถึงกับฆ่า
กากนาสูร และสวาหุ ซึ่งมารบกวนเหล่า
ฤาษีชีไพร
- ท้าวชนกจักรวรรดิ์(ฤาษีชนก) ได้ให้หมู่

กษัตริย์มาประลองยกศรรัตนธนู เพื่ออภิเษก

กับนางสีดา
พระรามก็สามารถยกรัตนธนูได้สำเร็จ
และได้อภิเษกกับนางสีดา ระหว่างเดินทาง

กลับกรุงอโยธยา สามารถปรารามสูร
และได้รับศรจากรามสูร
- ได้ฆ่าพระยาขร และพระยาทูษณ์ พี่ชาย

ของนางสำมนักขา
- ระหว่างออกเดินป่า ได้ปราบพิราบยักษ์
- ได้ช่วยสุครีพปราบพาลี
- ไปรบกับทศกัณฐ์ และได้ฆ่าทศกัณฐ์
ได้สำเร็จ
- สถาปนาพิเภกให้ครองกรุงลงกา

2. พระสังข์

พระสังข์เป็นตัวเอก จากวรรณคดีไทย

เรื่องสังข์ทอง ที่มีรูปงามตามแบบ
การสร้างตัวเอก
ในวรรณคดีไทย ทั่วไป แต่ในตอนเด็ก

ปรากฏเป็น 2 รูป คือ รูปหอยสังข์กับ
รูปกุมาร ส่วนตอนเป็นหนุ่มก็มี 2 รูป
เช่นเดียวกัน คือ รูปเงาะกับรูปทอง
ทั้งรูปหอยสังข์และรูปเงาะเปรียบเสมือน
“เกาะ” คุ้มครองพระสังข์

พระสังข์ ผู้มีจิตใจดีงาม มีความเก่ง

กล้าสามารถ แต่เป็นคนถ่อมตัว ไม่โอ้อวด

โดยแปลงร่างเป็นเจ้าเงาะป่าบ้าใบ้ ในที่สุด

ก็ได้เป็นกษัตริย์ครองเมืองถึง 2 เมือง

ลักษณะนิสัย เชิงบวกของพระสังข์
มีหลายอย่างนับตั้งแต่รูปร่างหน้าตา
รวมไปถึงลักษณะนิสัยบางประการ
เช่น ความกตัญญู ความสามารถ
ความรอบครอบเฉลียวฉลาด เป็นผู้ที่มี
บุญญาธิการ

3. ขุนแผน

หรือพรายแก้ว

นักรักและนักรบที่ไม่ยอมเป็นรองใคร
มีนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นที่รักแก่บุคคล

ทั่วไปบุคคลที่ขุนแผนยอมอ่อนข้อให้มีเพียง

สองคน คือ สมเด็จพระพันวษา เจ้าแผ่นดิน

แห่งกรุงศรีอยุธยา และนางทองประศรี

ขุนแผนเป็นคนที่เจ้าชู้หาตัวจับได้ยาก
แม้ว่าขุนแผนจะเป็นผู้มีฤทธิ์เดชเป็นที่ยำเกรง

แต่ในด้านอื่น ขุนแผนเป็นรองขุนช้างอยู่
สองประการใหญ่ คือ ความรักเดียวใจเดียว

และความร่ำรวย ด้วยความเจ้าชู้ของขุนแผน

นอกจากหน้าตาจะหล่อเหลาเอาการแล้ว
ยังเป็นคนพูดจาอ่อนหวาน และถนัดการใช้

คาถามหาละลวย หากพบเห็นใครแล้วนึกชอบ
ก็จะเกี้ยวพาราสี ซ้ำยังเป่าคาถาจนสาวหลง
กันงมงายนอกเหนือจากนางพิมพิลาไลย หรือ

นางวันทองซึ่งเป็นหญิงคนแรกในดวงใจ
ของขุนแผนแล้ว ยังมีผู้หญิงอีก 4 คน ที่ตก

เป็นเมียของขุนแผน คือ นางสายทอง นางลาว

ทอง นางแก้วกิริยา และนางบัวคลี่ โดยรวม

แล้วขุนแผนมีเมียถึง 5 คนด้วยกัน

4. พรายงาม

พลายงาม มีตำแหน่งราชการเป็น
จมื่นไวยวรนาถ ซึ่งมักเรียกสั้น ๆ ว่า พระไวย
หรือหมื่นไวย เป็นลูกของขุนแผนกับนางวันทอง

แต่ไปคลอดที่บ้านของขุนช้าง เพราะนางวันทอง

ถูกขุนช้างฉุดไปขณะที่ท้องแก่ ยิ่งโตพลายงาม
ก็ยิ่งละหม้ายคล้ายขุนแผนมากขึ้น ทำให้ขุนช้าง

เกลียดชัง วันหนึ่งจึงหลอกพลายงามไปฆ่าในป่า

แต่โหงพรายของขุนแผนมาช่วยไว้ นางวันทองจึง

ให้พลายงามไปอยู่กับนางทองประศรีผู้เป็นย่า
ที่กาญจนบุรี พลายงามได้เรียนวิชาจากตำรา
ของพ่อจนเชี่ยวชาญมีความสามารถเช่นเดียวกับ

ขุนแผน ต่อมาได้อาสายกทัพไปรบกับเชียงใหม่

แล้วถือโอกาสขออภัยโทษให้ขุนแผนออกจากคุก

เมื่อกลับจากสงครามก็ได้ตำแหน่งเป็น
จมื่นไวยวรนาถ และมีภรรยา 2 คน คือ
นางศรีมาลา และ นางสร้อยฟ้า

5. ขุนช้าง

ขุนช้างมีลักษณะรูปชั่วตัวดำหัวล้าน
มาแต่กำเนิด นิสัยเจ้าเล่ห์เพทุบายเป็นบุตรของ

ขุนศรีวิชัยและนางเทพทองซึ่งมีฐานะร่ำรวย

ขุนช้างแม้จะเกิดมาเป็นลูกเศรษฐีแต่ก็อาภัพ

ถูกแม่เกลียดชังเพราะอับอายที่มี ลูกหัวล้าน

จึงมักถูกแม่ด่าว่าอยู่เสมอและไม่ว่าจะเดินไป

ทางใดก็จะเป็นที่ขบขันล้อเลียนของชาวบ้าน

ทั่วไปเสมอ พอเป็นหนุ่มก็ได้นางแก่นแก้วเป็น

ภรรยาอยู่ด้วยกันได้ปีกว่านางก็ตาย จึงหันมา

หมายปองนางพิมพิลาไลยแต่นางไม่ยินดีด้วย

และได้แต่งงานกับพลายแก้ว แต่ขุนช้างก็ยัง
ไม่ลดความพยายามคงใช้อุบายจนได้แต่งงาน

กับนางสมใจปรารถนา

ข้อดีของขุนช้าง คือรักเดียวใจเดียว
และเลี้ยงดูนางวันทองเป็นอย่างดีทำให้นางวัน

ทองเริ่มเห็น ใจขุนช้าง

6. พระลอ

พระลอ (พระลอดิลกล่มฟ้า แปลว่าผู้งาม

เสมอลอยลงมาจากฟ้า)
โอรสของท้าวแมนสรวงกับพระนางบุญเหลือ

เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ก็ได้เป็นกษัตริย์

ครองเมืองสรวงสืบต่อไป รูปโฉมที่งดงามยิ่ง

ของพระลอถูกบรรยายไว้โดยละเอียดว่าใบหน้า

งามดุจเดียวกับดวงจันทร์นัยน์ตางามดั่ง
เนื้อทราย คิ้วโก่งเหมือนเกาทัณฑ์ หู งาม

เหมือนกลีบดอกบัวแก้มงามปลั่งดั่งทอง
จมูกงามดุจเทพนฤมิตให้ ฯลฯ กล่าวคือ
พระลองามหมดจดจากเกศาจรดพระเท้า

พระลอเป็นตัว ละครที่ต้องต่อสู้กับความ
ขัดแย้งในใจตนมากที่สุดในเรื่อง เช่นอาการ

ห่วงหน้าพะวงหลังเมื่อต้องจากเมืองสรวงไป

อาการวิตกหวาดกลัวต่อ ความหายนะที่รออยู่

ข้างหน้ากับการเผชิญชะตากรรมของตน
อย่างไม่ท้อถอย

7. พระอภัยมณี

พระอภัยมณี เป็นโอรสของท้าวสุทัศน์กษัตริย์
แห่งกรุงรัตนา กับนางปทุมเกสร มีน้องชายชื่อ
ศรีสุวรรณ พระอภัยมณีไปเรียนวิชาเป่าปี่ จนเชี่ยวชาญ

สามารถทำให้ผู้ที่ได้ยินเสียงปี่ เคลิ้มหลับได้ แต่ท้าวสุทัศน์

ไม่พอใจ ถึงขับไล่ออกจากเมืองไปพร้อมกับศรีสุวรรณ

และในระหว่างเดินทางพระอภัยมณีถูกนางผีเสื้อสมุทร

ลักพาตัวไปอยู่กับนางในถ้ำ จนมีลูกชายด้วยกัน
ชื่อสินสมุทร

ต่อมาพระอภัยมณีก็พาสินสมุทรหนีไปอยู่กับโยคี
ที่เกาะแก้วพิสดาร แล้วได้พบกับนางสุวรรณมาลี
ธิดาของท้าวสิลราช ครั้นได้แต่งงานกับนางแล้ว
ก็ต้องทำสงครามกับอุศเรนซึ่งเป็นคู่หมั้นนาง
จนอุศเรนตาย นางละเวงวันฬาน้องสาวของอุศเรน
คิดแก้แค้นจึงต้องทำสงครามกัน

พระอภัยมณีละเวงถูกนางทำเสน่ห์ให้หลงใหลนาง
จนตามไปอยู่ในเมืองลังกาด้วย และนางยังยุให้พระอภัย

ทำสงครามกับฝ่ายเดียวกัน กระทั่งโยคีแห่งเกาะแก้ว

พิสดารมาเทศนาโปรดสงครามจึงยุติลง ในบั้นปลายชีวิต

พระอภัยมณีไปบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญศีลอยู่ที่เข้าสิงคุตร์

8. สุดสาคร

สุดสาครเป็นบุตรของพระอภัยมณีกับนางเงือก
ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง โยคีนำมาเลี้ยงไว้ตั้งแต่
เพิ่งคลอดและสั่งสอนวิชาต่าง ๆ ให้แตกฉาน
เมื่ออายุได้ ๓ ขวบ ก็จับม้านิลมังกรมาได้ โยคีแนะนำ

ให้สุดสาครตามหาพ่อโดยให้ไม้เท้าวิเศษไว้ป้องกันตัว

และบวชเป็นโยคีให้ ระหว่างเดินทางถูกชีเปลือยแก่

หลอกไปผลักตกเหว แล้วยึดไม้เท้ากับม้านิลมังกรไป

แต่ไม่นานม้าก็หนีกลับมาหา โยคีตามไปช่วยสุดสาคร

ขึ้นจากเหวได้สุดสาครจึงเลี้ยงไว้เป็นลูกบุญธรรม

สิบปีผ่านไปสุดสาครก็ขออำลาไปตามหาพระอภัยมณี

หัสไชยและนางเสาวคนธ์โอรสธิดาของสุริโยไทย
ขอตามไปด้วยแล้วทั้งสามก็ตามหาพระอภัยมณี
จนพบ ต่อมาสุดสาครได้แต่งงานกับนางเสาวคนธ์

แล้วเป็นกษัตริย์ครองเมืองลังกา

9. ซมพลา
ซมพลาเป็นตัวเอกของเรื่องเงาะป่า เป็นผู้ที่ทำให้เกิด

ปัญหาอันเป็นเหตุให้ตนเอง ลำหับและฮเนาต้องพบ

จุดจบด้วยเพราะความรัก คุณสมบัติของซมพลามีดังนี้
-แข็งแรงกล้าหาญ
ซมพลาเป็นตัวละครเด่นฝ่ายชาย เขามีความสามารถ

ในการล่าสัตว์ และมีวิทยาอาคมต่าง ๆ มากมายสมกับ

เป็นเงาะป่า ซมพลาเป็นเงาะหนุ่มรูปร่างใหญ่
มีกำลังมาก แข็งแรงและกล้าหาญ มีฝีมือการใช้อาวุธ

โดยเฉพาะลูกดอก
-มีใจมั่นคง
เมื่อซมพลาหลงรักนางลำหับ แม้รู้ว่านางมีคู่หมั้นแล้ว

นั่นก็คือฮเนา แต่ซมพลาก็ยังตัดใจไม่ได้
กลับหาทางที่จะพบนางและออกปากฝากรัก และในที่สุด

ก็พานางไปอยู่ด้วยกันในถ้ำกลางป่า แสดงให้เห็นว่า
ซมพลานั้นเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคงในความรัก
-ไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์ทางสังคม
เห็นได้จากการที่ซมพลานั้นหาทางที่จะใกล้ชิดผูกจิต
รักใคร่กับนางลำหับ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่านางนั้นมีคู่หมั้นอยู่แล้ว

หากนางมาอยู่กับตนชาวบ้านจะมองนางลำหับไปในทาง

ไม่ดี ซมพลาไม่ได้คิด เพราะซมพลาคิดแต่เพียงว่า
หากไม่ได้ครอบครองนางลำหับจะเสียเชิงชาย จะอายคน

คิดจะลักพานางลำหับหนี
-มีความฉลาดรอบคอบ
ซมพลามีความฉลาดรอบคอบที่ใช้ความกล้าหาญ
และความรู้ของตนเพื่อชักนำให้ไม้ไผ่มาเป็นพ่อสื่อ
ให้ตนเองได้พบกับนางลำหับ เพราะซมพลารู้ตัวดีว่าไม้ไผ่

และคนังนั้นคงนิยมชมชื่นตน ไม่เช่นนั้นคงไม่มาขอ
เรียนวิชาเป่าลูกดอก ครั้นได้รู้ความจริงจากปากไม้ไผ่

10. อิเหนา

อิเหนาหรือระเด่นมนตรี เป็นโอรสของท้าวกุเรปัน

และประไหมสุหรีนิหลาอระตา แห่งกรุงกุเรปัน

อิเหนาเป็นชายรูปงามมีเสน่ห์ เจรจาอ่อนหวาน
นิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริช และกระบี่

เป็นอาวุธ ท้าวกุเรปันได้สู่ขอบุษบาหนึ่งหรัดธิดา
ของท้าวดาหาเป็นคู่ตุนาหงันของอิเหนาตั้งแต่เด็ก

ครั้นอิเหนาโตเป็นหนุ่มได้พบ จินตะหราวาตี
และหลงใหลนางมาก จึงปฏิเสธไม่ยอมแต่งงาน
กับบุษบา แต่พอได้พบกับบุษบาก็หลงรักนาง
จนกระทั่งลักพาตัวนางไปขณะที่นางกำลังจะเข้าพิธ

วิวาห์กับระตูจรกา ทำให้องค์ปะตาระกาหลาโกรธ

อิเหนาจึงบันดาลให้ลมหอบนางไปเสีย จากนั้น
อิเหนาก็ปลอมตัวเป็นโจรป่าชื่อ มิสารปันหยี
ออกติดตามหานางจนทั่วแผ่นดินชวาก็ไม่พบ
จึงตัดสินใจบวชเป็นฤาษี ใช้ชื่อว่า กัศมาหรา
ได้รับความทุกข์ทรมานใจแสนสาหัสกว่าจะได้พบ
นางบุษบาอีกครั้ง ภายหลังอิเหนาได้เป็นกษัตริย์

ครองเมืองกุเรปันมีมเหสีถึง 10 องค์

11. พระลักษณ์

พระลักษมณ์ คือพญาอนันตนาคราชที่ประทับ

ของพระนารายณ์มาเกิด มีกายสีทองเป็นพระโอรส

ของท้าวทศรถกับนางสมุทรเทวีมีพระอนุชาร่วม

พระมารดา คือพระสัตรุตพระลักษมณ์มีความจงรัก

ภักดีต่อพระรามมากเมื่อพระรามต้องออกเดินป่า

ถึง๑๔ปีพระลักษมณ์ก็ได้ติดตามได้วย และยังช่วย
ออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญ

พระลักษณ์ มีพระวรกายสีเหลืองดั่งทองทา
(เป็นพญาอนันตนาคราชอวตารลงมาพร้อมพระราม)

เมื่อครั้งพระรามต้องเสด็จออกเดินดงตาม
พระประสงค์ของนางไกยเกษีพระลักษณ์ก็ได้ทูลขอ

ตามเสด็จไปด้วย ครั้งแรกพระรามทรงไม่อนุญาต

แต่พระลักษณ์ทรงยืนกราน จึงตามเสด็จด้วยความ

จงรักภักดี ทรงเคียงคู่พระรามเสมอในระหว่าง
เกิดศึกกรุงลงกา และเมื่อพระรามต้องเสด็จเดินดง

เป็นครั้งที่สอง ก็ได้ทูลขอเสด็จตามไปด้วยอีก
ทรงร่วมผจญหมู่มารและเหล่าศัตรูเคียงคู่พระราม
มาหลายครั้งหลายครา

12. ท้าวกุเรปั น

ท้าวกุเรปัน กษัตริย์ผู้ครองกรุงกุเรปัน
มีมเหสี 5 องค์ ท้าวกุเรปันมีโอรสองค์แรกกับลิกู คือ
กะหรัดตะปาตี และมีโอรสธิดากับประไหมสุหรี
ในเวลาต่อมาคือ อิเหนากับวิยะดา ท้าวกุเรปันมี
น้องชายร่วมพระบิดามารดาเดียวกันอีก 3 องค์
ซึ่งได้เป็นกษัตริย์ครองเมืองต่างๆ คือ ท้าวดาหา,
ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปันนั้น
ทรงหยิ่งทระนงในศักดิ์ศรีของวงศ์อสัญแดหวา
มีลักษณะนิสัย คือเป็นผู้ถือยศศักดิ์ไม่ไว้หน้าใคร
ไม่เกรงใจใคร เช่น ในราชสาส์นถึงระตูหมันหยา
กล่าวตำหนิระตูหมันหยาอย่างไม่ไว้หน้าว่า เป็นใจให้

จินตะหราแย่งคู่หมั้นบุษบา สอนลูกให้ยั่วยวนอิเหนา

เป็นต้นเหตุให้บุษบาร้างคู่ตุนาหงันในพระราชสาส์น

ของท้าวกุเรปันถึงอิเหนาได้ยกความผิดให้จินตะหรา

จึงมีลักษณะเป็นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ แต่ไม่มีเมตตา

ถือยศศักดิ์ และที่ต้องช่วยดาหานั้น เพราะถ้าดาหาแพ้

หมายถึงกษัตริย์วงศ์เทวาพ่ายแพ้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็น

เรื่องที่น่าอายอย่างยิ่ง

บรรณานุกรม

สุรศักดิ์ โสดา. (2560). ตฺ ัวละครในวรรณคดีไทย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2565,
เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com

สราญรัตน์ ไว้เกียรติ์. (2560). วฺ ิเคราะห์ตัวละครชายในวรรณคดีไทย. (ออนไลน์).
สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2565, เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.com

อาภากร หนักไหล่ . (2559). ตฺ ัวละครชายในวรรณคดีไทย. (ออนไลน์).
สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2565, เข้าถึงได้จาก: https://ithesis-ir.su.ac.th/


Click to View FlipBook Version