การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยการใช้เกมทางทางภาษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร Improving Chinese pronunciation skills using language games of Mathayom 5 students at Prajaksilpakarn School กัญญารัตน์ ศรีถาน Kanyarat Srithan นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี Students in the Bechelor of Education program Chinese language teaching major Udon Thani Rajabhat University บทคักย่อ รายงานนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที5/2 ที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมทางภาษาระหว่างก่อนเรียนและหลัง เรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร จังหวัดอุดรธานี ได้ จากการสุ่มแบบกลุ่ม จ านวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีน และ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน วิชาภาษาจีน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ สรุปผลการใช้แผนได้ดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เกมทางภาษาคิดเป็นร้อยละ 87.40 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมทาง ภาษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค ำส ำคัญ : การอ่านออกเสียงภาษาจีน , เกมทางภาษา , แผนการจัดการเรียนรู้ *ผู้ประสานงาน กัญญารัตน์ ศรีถาน อีเมล : [email protected]
บทน า ปัจจุบันในสังคมไทย มีความเจริญก้าวหน้าและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านต่างๆและหนึ่ง ในนั้นก็คือภาษา และภาษาจีนก็เป็นภาษาต่างประเทศที่มีคนเลือกเรียนมากที่สุด ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา และเป็นภาษาที่คนทั่วโลกใช้มากที่สุด รองมาจากภาษาอังกฤษ เพราะ ประเทศจีนไม่เพียงมีจ านวนประชากรเยอะเพียงแต่อย่างเดียว แต่การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของ ประเทศจีนก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ประเทศจีนก าลังมีอิทธิพลต่อการค้า ขาย การลงทุนในอนาคต และมีแนวโน้มให้เห็นว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจประเทศจีนมีการเติบโตอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ภาษาจีนกลายเป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่ให้ความส าคัญมากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ใน ปัจจุบันที่เรียนภาษาจีนเพิ่มขึ้น หากมองถึงความส าคัญของภาษาจีนนั้น ภาษาจีนกลางเป็นภาษาที่ส าคัญของ ทวีปเอเชียมานาน เนื่องจากประเทศจีนเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่หนึ่งในสองของทวีป ดังนั้นการบันทึก ความรู้ และวิทยาการต่างๆ จึงเป็นภาษาจีนไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านปรัชญาประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็น ต้น ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ต่างๆ ทั้งขนาดของประเทศจ านวนประชากร การเมือง การปกครอง และ เศรษฐกิจที่ มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ท าให้ภาษาจีนกลางเป็นหนึ่งในห้าภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติยิ่งเพิ่ม ความส าคัญให้กับภาษาจีนกลางเป็นอย่างมากการที่คนต่างประเทศอย่างเช่น คนไทยมีโอกาสที่จะศึกษา ภาษาจีนกลาง ถือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่ใช้ภาษาจีนกลางเพื่อการสื่อสารทั่วไปแล้ว เรายังสามารถ ใช้ภาษาเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ทั้งในระดับบุคคลและระดับประเทศ เช่น การศึกษาความรู้ วิทยาการ การประกอบธุรกิจการลงทุน และการสร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ภาษาจีนนับว่าเป็น กุญแจความรู้สู่โลกสื่อสารยุคใหม่ ผู้ที่สามารถใช้ภาษาจีนกลางในการติดต่อสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งจะ กลายเป็นบุคคลที่เป็นที่ต้องการของ ตลาดแรงงานที่ก าลังต้องการอยู่ในขณะนี้ (วรารักษ์ พูนวิวัตน์, 2557) ลักษณะของผู้เรียนภาษาจีนในศตวรรษที่ 21 นั้นจะเรียนรู้ก่อนอื่นจะต้องเข้าถึงวัฒนธรรมของภาษานั้นๆ ก่อน ปลูกฝังทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภาษาจีนตั้งแต่ เด็ก และต้องปรับเปลี่ยนจากการเรียนรู้แบบเดิมๆ จากการที่เน้นทางด้าน “ความรู้” มาเน้นทางด้าน “ทักษะ” ทั้ง 4 ด้าน คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้สอนเป็นผู้คอยชี้แนะ เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผู้สอนและผู้เรียนต่างมีบทบาท ส าคัญในการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ครูเป็นผู้ริเริ่มสร้างบรรยากาศ นักเรียนเป็นผู้ตอบสนองและเพิ่ม สีสันให้กับชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใคร่รู้ และมีเจตคติที่ดีต่อภาษาจีน ตั้งแต่วัยเด็ก กระตุ้น ยั่วยุ ให้ผู้เรียนอยากที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา มีการใช้สื่อประกอบในการทบทวนความรู้เดิม เพื่อ เชื่อมโยง ประสบการณ์และความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ของผู้เรียน เช่น เกม รูปภาพ หรือแม้กระทั่งตัวผู้สอนเองก็ใช้ เป็น สื่อการเรียนรู้ได้เช่นกัน พยายามค้นหาสิ่งใหม่ๆ ที่เร้าให้ผู้เรียนคิดหาค าตอบเปิดโอกาสให้ได้ค้นหาค าตอบอย่าง เต็มที่ เป็นที่ทราบกันดีว่าทักษะการอ่านมีความส าคัญมากต่อการด าเนินชีวิตประจ าวัน และยังเป็น ทักษะที่ ควรให้ความส าคัญในการติดต่อสื่อสารรวมทั้งการแสดงความคิด ความรู้สึก และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่เรียนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศผู้เรียนควรเรียนรู้การอ่านออกเสียงเป็นส าคัญ
เพราะการอ่านออกเสียงมีความสัมพันธ์กับการสะกดค า การอ่านออกเสียงจะท าให้ผู้เรียนได้ฝึกสะกดค าและ ออกเสียงของภาษานั้นได้ถูกต้องและชัดเจน ดังนั้นนักวิจัยทางภาษา (วรรณีโสมประยูร, 2553, Boyd, 1970 อ้างถึงใน อาภาภรณ์ ดิษฐเล็ก, 2554, ) จึงกล่าวว่า การอ่านและการสะกดค ามีความสัมพันธ์กันในแง่ของการ ใช้ทักษะทางภาษามากพอสมควร ท าให้สามารถอ่านออกได้ถูกต้องและแม่นย ากว่าค าที่เขาอ่านไม่ออก ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ส าคัญที่สุด การออกเสียงคือส่วนประกอบที่ส าคัญของภาษา การออก เสียงกับความสามารถทางภาษามีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง การออกเสียงเป็นพื้นฐานที่ ส าคัญของการเรียนการ สอนภาษาต่างประเทศ นักเรียนจะต้องรู้และท าความเข้าใจความรู้พื้นฐาน ด้านการออกเสียงให้ดี การเรียน ภาษาแต่ละภาษาต่างเริ่มต้นจากการออกเสียง การออกเสียง เปรียบเสมือนเปลือกที่ห่อหุ้มภาษาเมื่อเรา สามารถเข้าใจถึงการออกเสียงอย่างแท้จริงแล้ว เราถึง จะสามารถเข้าใจได้ว่าผู้อื่นพูดอะไร การออกเสียงที่ ถูกต้องชัดเจน จะสามารถแสดงถึงความหมาย ที่ต้องการจะสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะสื่อออกมา หาก ไม่สามารถออกเสียงได้อย่างชัดเจน ผลกระทบอย่างน้อยจะท าให้ผู้ฟังไม่เข้าใจกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อออกมาใน การเรียนภาษาจุดมุ่งหมายคือ เพื่อการสื่อสาร ดังนั้น ในการเรียนภาษาจีนเบื้องต้นจะต้องให้ ความส าคัญใน เรื่องของการออกเสียงเป็นอันดับแรก ซึ่งการออกเสียงจะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกับ ผู้เรียนโดยตรง จะท าให้มี ทักษะที่ดีในเรื่องการสื่อสาร และสามารถต่อยอดในการเรียนภาษาจีน ในระดับสูงต่อไป จากการศึกษาและส ารวจสภาพปัญหาการเรียนภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน ประจักษ์ศิลปาคาร อ าเภอเมืองอุดรธานีจังหวัดอุดรธานีตลอด1ปีการศึกษา พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5/2 มีปัญหาในเรื่องทักษะการอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ภาษาจีน ไม่ถูกต้องและชัดเจน เมื่อนักเรียนมีปัญหาในด้านการอ่านจะท าให้มีอุปสรรคยากต่อการสื่อสาร เพราะถ้าอ่านออกเสียงผิด จะท าให้ สื่อความหมายผิดตามไปด้วย จากการสังเกตพบว่าประการแรก คือ พยัญชนะบางตัวในภาษาจีนมีแต่ใน ภาษาไทยไม่มีก ากับ (Zh=จร Ch=ชร Sh=ซร) ประการที่สอง คือ การผันเสียงในวรรณยุกต์ในภาษาจีนต่าง จากการผันเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยจึงท าให้นักเรียนเกิดความสับสนและผันวรรณยุกต์ผิดจากการ สังเกต พบว่าเสียงวรรณยุกต์ที่ออกเสียงผิดบ่อยที่สุดคือเสียงที่สามในภาษาจีน อีกทั้งผู้เรียนมีโอกาศเรียนภาษาจีน เพียง1 คาบ/สัปดาห์เวลาค่อนข้างน้อยในการเรียนภาษจีน ผู้วิจัยจึงได้ประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาโดยการจัด กิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้เกมขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างการอ่านออกเสียงภาษาจีน ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ฝึกตั้งแต่การอ่านออกเสียง พยัญชนะ สระ และเสียงวรรณยุกต์ในระบบสัทอักษรภาษาจีน จากนั้นน าพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มา ผสมกันให้นักเรียนได้ฝึกการสะกดและผันเสียงวรรณยุกต์ โดยการน าเกมที่เกี่ยวข้อง เช่น บิงโก รถไฟค าศัพท์ จับคู่หรรษา หรือการดูค าศัพท์แล้วอ่านออกเสียงได้ และเกมอื่นๆ จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า ฉัตรกมล ประจวบลาภ กล่าวว่าการใช้เกม เป็นการเรียนรู้ผ่านเกมซึ่งเป็น นวัตกรรมสื่อสารการเรียนรู้ที่ออกแบบโดยสอดแทรกเนื้อหาบทเรียนลงไปในเกมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ เรียนรู้ลงมือเล่นและฝึกปฏิบัติในการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยในขณะที่ลงมือเล่น ผู้เรียนจะได้รับทักษะและความรู้ จากเนื้อหาบทเรียนไปด้วยท าให้ผู้เรียนได้รับความรู้และความเพลิดพลินไปพร้อมๆกัน และชักจูงให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้จนกระทั้งเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดท าให้ผู้วิจัยสนใจที่จะพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้เกม ทางภาษา ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และคาดว่าวิธีการที่กล่าวไปข้างต้นจะสามารถพัฒนาและ ส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้ดียิ่งขึ้นและท าให้นักเรียนมีเจต คติที่ดีต่อการเรียนภาษาจีน อีกทั้งยังสามารถน าไปใช้ในการศึกษาระดับที่สูงขึ้น และส่งผลให้คนไทยมีศักยภาพ การสื่อสารกับประชากรประเทศจีนในประชาคมโลกได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ก าหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยการใช้เกมทางทางภาษา ก่อนเรียน–หลัง เรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วย กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมทางภาษา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน สมมติฐานของการวิจัย 1.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมทางภาษามีทักษะการอ่านออก เสียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ75 ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม วิธีด าเนินการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/2โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร จังหวัด อุดรธานี ปีการศึกษา 2566 จ านวน1 ห้องเรียน28 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้จากกาเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จ านวน 1 ห้องเรียน จ านวน28 คน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2.1 แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เกมทางภาษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบ จ านวนทั้งสิ้น 8 แผน รวม 8 ชั่วโมง เกมทำงภำษำ ผลสมัฤทธ์ิทำงกำรเรียนภำษำจีนของ นกัเรียนช้นัมธัยมศึกษำปีที่5
2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้เกมทาง ภาษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบอัตนัย จ านวน 3 ข้อ 20 คะแนน แต่ละข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 มีความยากง่ายระหว่าง 0.55 ถึง 0.85 ค่าอ านาจจ าแนกของ ข้อสอบรายข้อ มีค่าตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.40 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล การด าเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยด าเนินการทดลองและเก็บข้อมูลกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร อ าเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีการด าเนินการทดลองและเก็บข้อมูลในแต่ละ ขั้น มีดังนี้ 3.1 เตรียมนักเรียนก่อนด าเนินการสอน โดยแนะน าวิธีการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ เกมทางภาษา ให้นักเรียนมีความรู้การสร้างข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียน ขั้นตอนการเรียนและบทบาท วิธีการปฏิบัติตนในการเรียนวิชาภาษาจีน ใช้เวลา 1 ชั่วโมงในสัปดาห์แรกก่อนท าการทดลอง 3.2 ท าการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาจีน ใช้เวลา 1 ชั่วโมงในสัปดาห์แรกก่อนท าการทดลอง 3.3 ด าเนินการทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เกมทางภาษา เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาจีน กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้น จ านวน 8 แผน ใช้เวลา 8 ชั่วโมง 3.4 ท าการทดสอบหลังเรียน (Posttest) หลังจากการทดลองสอนสิ้นสุดลง โดยใช้แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนฉบับเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อนการทดลอง โดยใช้เวลา 1 ชั่วโมง และใช้แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางการอ่านออกเสียงภาษาจีนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ เกมทางภาษา เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาจีน โดยใช้เกมทางภาษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของโรงเรียน ประจักษ์ศิลปาคาร ผู้วิจัยได้ทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/2 โรงเรียนประจักษ์ ศิลปาคาร ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง(Puposive Sampling) ผลการศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาจีน ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เกมทางภาษา ผู้วิจัยได้ด าเนินการศึกษาผลสัมฤทธิ์และเก็บข้อมูลในการวิจัย เรื่องการอ่านออกเสียงภาษาจีน โดยใช้ เกมทางภาษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 มีรายละเอียดดังแสดงในตาราง
ตารางที่ 4.1 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องการอ่านออกเสียง ภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 เลขที่ คะแนน เลขที่ คะแนน ก่อน เรียน หลัง เรียน ความก้าวหน้า ก่อน เรียน หลัง เรียน ความก้าวหน้า 1 9 15 6 16 8 16 10 2 10 18 8 17 12 18 6 3 8 16 8 18 11 16 5 4 7 14 7 19 9 15 8 5 9 12 3 20 10 17 7 6 11 14 3 21 8 15 7 7 12 18 6 22 8 13 5 8 7 13 11 23 9 16 7 9 7 17 10 24 10 18 8 10 6 12 6 25 11 17 6 11 9 15 6 26 14 19 5 12 9 14 5 27 8 16 8 13 10 16 6 28 9 19 10 14 6 12 8 เฉลี่ย 9.14 15.61 7.07 15 9 16 7 ร้อยละ 51.20 87.40 39.60 จากตารางที่ 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมทางภาษา เรื่องการอ่านออกเสียงภาษาจีน โดยใช้ เกมทางภาษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.14 คิดเป็นร้อยละ 51.20 และ หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 15.61 คิดเป็นร้อยละ 87.40 คะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เพิ่มขึ้น 7.07 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 39.60 นั้นคือนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนไม่น้อยกว่า ร้อยละ75 จากการวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนวิชาภาษาจีนของนักเรียน ก่อนเรียนหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้เกมทางภาษา ซึ่งมีคะแนนเต็มก่อนเรียนและหลังเรียน 20 คะแนน และเปรียบเทียบคะแนนวิชา ภาษาจีนก่อนเรียนและหลังเรียน ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 4.2
ตารางที่ 4.2 การเปรียบเทียบคะแนนวิชาภาจีนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน การทดสอบ คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ S.D. t ก่อนเรียน หลังเรียน 20 20 9.14 15.61 51.20 87.40 1.86 2.06 ** มีนัยส าคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนที่ใช้เกมทางภาษาได้คะแนนเฉลี่ยก่อน เรียน เท่ากับ 9.14 คิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 51.20 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 15.61 คิด เป็นร้อยละเฉลี่ย 87.40 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงขึ้น มากกว่าร้อยละ75 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนที่เรียนโดยใช้เกมทางภาษามีคะแนน เฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน การอภิปรายผล ผลการศึกษาการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมทางภาษาวิชาภาษาจีน เรื่อง การพัฒนาทักษะการ อ่านออกเสียงภาษาจีน โดยใช้เกมทางภาษาจีน ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประเด็นในการน ามาอภิปรายผลตามล าดับ ดังนี้ 1. ผลการศึกษาทักษะด้านการอ่านออกเสียงภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครูผู้สอนได้ ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ให้นักเรียนทดสอบอ่านออกเสียง พบว่าก่อนที่จะให้นักเรียนฝึกทักษะการอ่านออก สียงภาษาจีน โดยใช้เกมมีนักเรียนที่ไม่สามารถอ่านออกเสียง zh/ ch/ sh/ r /u ได้ชัดเจนถูกต้องตามหลักการ อ่านออกเสียง การไล่เสียงวรรณยุกต์ทุกเสียงยังออกเสียงเพี้ยน การประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ยังขาด ความคล่องแคล่วและความถูกต้อง แต่หลังจากฝึกจากการฝึกทักษะการอ่านออดเสียงภาษาจีน โดยใช้เกม ครูผู้สอนได้ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ชุดเดิมให้นักเรียนทดสอบอ่านออกเสียง พบว่านักเรียนสามารถอ่าน ออกเสียงได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้อง จึงท าให้นักเรียนมีผลการเรียนเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐานของ สิริวรรณ ใจกระเสน (2554) กล่าวไว้ว่า เกมมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจพร้อม เรียนรู้ตลอกเวลา เกิดความสนุกสนาน กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ และมีเจตคติทีดีต่อรายวิชา และยังสอดคล้อง กับแนวคิดของ ทิศนา แขมณี (2554) ที่เสนอแนวคิดว่า การเรียนรู้โดยใช้เกมจะท าให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่อง ต่างๆ อย่างสนุกสนานและท้ายทายความสามารถของตนเอง เป็นวิธีการสอนที่เปิดโอกาศให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือ ปฏิบัติจนเกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้จึงท าให้กลุ่มทดลองมีทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีน เพิ่มขึ้น จนน าไปสู่ผลการเรียนที่ดี 20.81
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านออกเสียงภาษาจีนองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน โดยใช้วิธีสอนโดยเกมทางภาษา อย่างมีนัยส าคัญที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ ก าหนดไว้ แสดงว่าวิธีสอนโดยใช้เกมทางภาษา ท าให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาจีนใน ระดับที่สูงขึ้น และนักเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฝึกฝนในการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอน โดยใช้เกมทางภาษาอย่างต่อเนื่อง ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จ านวน 8 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวม 8 ชั่วโมง ทั้งนี้เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนโดยใช้เกมทางภาษานี้จะช่วยให้นักเรียนได้ พัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเสียงภาษาจีน อ่านค าศัพท์พื้นฐาน ในการจัดกิจกรรม นักเรียนได้มีการ ฝึกซ้ าจนช านาญ มีใบงานที่ช่วยเสริมให้นักเรียน ได้ฝึกทักษะจากสิ่งที่เรียนรู้หลังการฝึกทักษะแล้วมีการสรุป ซ้ าให้เกิดความคิดรวบยอดของบทเรียนด้วยวิธีต่างๆ จึงส่งผลให้การสอนโดยวิธีสอนโดยใช้เกมทางภาษา มีผล ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สอดคล้องกับ ผลการวิจัยของ ประไพ สุวรรณสารคุณ (2553) และสิริวรรณ ใจกระเสน (2554) กล่าวไว้ ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของ ทิศนา แขมมณี(2554) ที่ได้เสนอแนวคิดว่า เกมช่วยให้ผู้เรียนได้รับความสนุกสนาน ได้มีส่วน ร่วมในการเรียนรูสูงและเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง ท าให้ผู้เรียนสามารถจดจ าสิ่งที่เรียนรู้อย่างแม่นย าและ คงทนยาวนาน ข้อเสนอแนะ จากผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมทางภาษา วิชาภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงโดยใช้เกมทางภาษา ผู้วิจัยให้ข้อเสนอแนะในการวิจัย และ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ควรให้นักเรียนได้ฝึกการอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระเดี่ยว สระประสม รูปประโยคอย่างต่อเนื่อง และให้นักเรียนได้ฝึกอ่านออกเสียงที่หลากหลายเพื่อที่จะได้ออกเสียงที่ถูกต้องและชัดเจน และมีรางวัลกระตุ้น เพื่อให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียน เช่นการชมเชย การสร้างก าลังใจ ยิ้ม ปรบมือจากครูหรือนักเรียนร่วมชั้น 1.2 ในการจัดท าเกม เพื่อใช้ในเป็นสื่อในการจักการเรียนการสอนแบบเป็นเกมทางภาษา ควรมีกฎ กติกาของเกมที่ยืดหยุ่นตามความแตกต่างของผู้เรียน และนอกจากเล่นเกมสนุกแล้วก็ต้องทบทวนบทเรียนใน เรื่องที่สอนให้มากที่สุด รวมไปถึงเรื่องเวลาต้องค านึงถึงผู้เล่นต้องเล่นให้จบเกมและมีผู้แพ้ ผู้ชะภายในชั่วโมงที่ สอน 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรท าวิจัยโดยใช้เกมที่หลากหลายในหน่วยการเรียนรู้อื่นๆ และระดับชั้นอื่นๆ ตามช่วงวัยและ ตามความเหมาะสม 2.2 ควรท าวิจัยศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการออกเสียงภาษาจีนโดยใช้เกมทางภาษา โดยใช้รูปแบบการสอนอื่นๆ เช่น การอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยเพลง การอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยสื่อมัลติมิ เดีย เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง ฉัตรกมล ประจวบลา. Game-Based Learning กับการพัฒนาการเรียนการสอนทางการ พยาบาล. วารสารกองพยาบาล. ปีที่ ๔๓ ฉลับที่ ๒ ๒๕๕๙ ทิศนา แขมมณี. (2554). การปฏิรูปทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ ประไพ สุวรรณสารคุณ. (2554). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้เกม วิทยาศาสตร์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัว จังหวัดล าพูน. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วรรณี โสมประยูร. (2553). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความส าคัญของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ตัวกระบวนการสอบอ่าน KWLSA The Capability Development of Reading Comprehension For Mathayomsuksa 1 Students by KWLSA Reading Orocess (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา วราลักษณ์ พูนวิวัฒน์. (2557). ระบบเสียงภาษาจีนกลาง. (ม.ป.ท)คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ : (ม.ป.พ) สิริวรรณ ใจกระเสน. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะกดค ายากของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา โงเรียนวัดบ้านม่วง อ าเภอบ้าน โป่ง จังหวัดราชบุรี. มหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร. อาภาภรณ์ ดิษฐเล็ก. (2554). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงค าศัพท์ในแบบเรียนวิชา ภาษาไทยของนักเรียนชาวจีน:กรณีศึกษานักเรียนวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการอาชีพ มรฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (Unpublished Master’s thesis). มหาลัย วิทยาลัยราชพฤกษ์, นนทบุรี