The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by fg.fone-ii, 2021-03-22 02:52:20

ebook ฉบับแก้ไข

ebook ฉบับแก้ไข

กระบวนการจัดการเรยี นการสอนหรือกจิ กรรม วิธกี ารวดั และประเมินผลโดยสรปุ

ในชว่ งเวลาปกติ การวัดผลเป็นการสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติในรูปแบบปกติ
แต่ในช่วงที่มีคาส่ังปิดสถานศึกษา ซ่ึงไม่สามารถใช้การสอบปกติได้ จัดการวัดผลโดยการ
สอบออนไลนเ์ ต็มรูปแบบ ทั้งในรายวิชาบรรยาย และรายวิชาปฏิบัติการ โดยผ่านระบบ lms
ของมหาวิทยาลัยสงขลานครนิ ทร์
อนึ่ง ในระหว่างภาคฤดูร้อน นักศึกษาส่วนหน่ึงต้องลงทะเบียนเน่ืองจากสอบตกในรายวิชา
ดังกล่าวในภาคการศึกษาก่อนหน้าน้ี การวัดผลนักศึกษากลุ่มน้ี ใช้การสอบปากเปล่าผ่าน
line call

ผลงาน/ผลลพั ธ์ทีไ่ ดจ้ ากการเรียน

การใช้ส่อื การสอนประกอบการจัดการเรียนการสอนในช่วงท่ีสามารถจัดการเรียน
การสอนตามปกติได้ นักศึกษาสามารถใช้สื่อประกอบการสอนตามระบุข้างต้น เพื่อประกอบ
การศึกษาด้วยตนเอง และการทบทวนก่อนสอบ รวมถึงใช้ศึกษาก่อนเข้าเรียนในแต่ละวัน
เพื่อเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนและเข้าปฏิบัติการ ซึ่งทาให้การจัดการเรียนสอนราบรื่น กระชับ
และเป็นไปตามวัตถุประสงค์รายวิชาได้มากข้ึน โดยภาพรวม จากการสอบถามนักศึกษา
นักศึกษาสามารถเข้าถึงและใช้ส่ือประกอบการสอนดังกล่าวได้ผลดี นอกจากนั้น การศึกษา
ด้วยตนเองก่อนเข้าเรียน ยังช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการเข้าเรียน
มากข้ึน และเรียกความสนใจจากนักศึกษาในภาพรวมไดด้ ขี นึ้
สาหรับในช่วงที่ต้องงดการเรียนการสอน ถึงแม้การใช้ส่ือการเรียนการสอนดังกล่าวจะไม่
สามารถทดแทนการสอนในชั้นเรียน โดยเฉพาะอย่างย่ิงการเรียนในห้องปฏิบัติการและ
การศึกษาพืชตัวอย่างในสวนสมุนไพร แต่ส่ือการสอนท่ีใช้สามารถทดแทนการจัดการเรียน
การสอนทางไกล และทาให้สามารถบริหารจัดการรายวิชาใหแ้ ลว้ เสรจ็ ตามวตั ถปุ ระสงค์

ถอดบทเรียนการเรยี นรู้ (lesson learned) และแนวทางการพฒั นากระบวนวิชา

โดยภาพรวม การใช้วิธกี ารจัดการเรียนการสอนโดยส่ือออนไลน์ มีประโยชน์อย่าง
มากในฐานะส่ือเพื่อช่วยเสริมการเรียนตามปกติ เพื่อให้นักศึกษาสามารถศึกษาด้วยตนเอง
ด้วยจังหวะเวลา และความสามารถของแต่ละบุคคล รวมถึงทาให้นักศึกษาสามารถเข้าถึง
บทเรียนไดท้ ดั เทยี ม ไม่มคี วามแตกตา่ งระหว่างกลุ่มนักศึกษา โดยเฉพาะที่มีการสาธิตวิธีการ
หรือเทคนิคปฏิบัติเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการใช้ส่ือดังกล่าว จะช่วยให้การเรียนการ
สอนดาเนินต่อไปได้ การใช้ส่ือการสอนในลักษณะนี้ในช่วงที่ต้องจัดการเรียนการสอน
ทางไกล ยังคงไม่สามารถทดแทนการเรียนการสอนตามปกติได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงไม่
สามารถสรา้ งสอ่ื เพื่อใชท้ ดแทนหรือประกอบการสอนได้ในทุกเน้ือหาที่มีความจาเป็นตามระบุ
ในวตั ุประสงค์ของรายวิชาและของหลักสูตร ภายใต้ข้อจากัดของเวลาและการปรับเปล่ียน
กระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างกระทันหันในขณะท่ีต้องงดการเรียนการสอน
เ น้ื อ ห า ที่ ป ร า ก ฏ ใ น ส่ื อ ส่ ว น ห น่ึ ง เ ป็ น เ น้ื อ ห า ห รื อ รู ป แ บ บ ซึ่ ง ค ว ร ใ ช้ ป ร ะ ก อ บ ก า ร ส อ น ใ น
ห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติการโดยตรง การนามาใช้ทดแทนการเรียนในช้ันเรียน ทาให้ไม่
สามารถนาเสนอรายละเอียดบางประการ ทั้งน้ี บางส่วนของสื่อเหล่านี้ อาจนามาปรับปรุง
เพ่อื จดั ทาสอ่ื ที่เหมาะสมสาหรบั การศึกษาด้วยตนเองไดม้ ากข้ึน

52

17 ปฏิบตั กิ ารเภสชั วเิ คราะห์ 2
(Pharmaceutical Analysis Laboratory II)

มหาวิทยาลยั : จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลั

หนว่ ยกิต : 1(0-3-0)

นักศึกษาชัน้ ปีทเ่ี รียน : ชนั้ ปีที่ 4

จานวนนกั ศกึ ษาในช้นั เรียน : 71 คน

ผ้รู บั ผดิ ชอบกระบวนวชิ า/ทมี สอน

รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.พรชัย โรจน์สทิ ธิ์ศักดิ์ (ผปู้ ระสานงานรายวิชา)

อาจารย์ ดร.ภก.วรธัช ฐติ ิกรพงศ์ (ผ้สู อน)

ววตั ตั ถถปุ ปุ รระะสสงงคค์กก์ าารรเเรรยี ยี นนรรขู้ ูข้ อองงกกรระะบบววนนววิชชิ าา

เพ่ือให้นิสิตสามารถทดสอบและวิเคราะห์เภสัชภัณฑ์โดยใช้เคร่ืองมือ gas
chromatography รวมทัง้ การแปลผลการวิเคราะห์ได้

แแนนววคคิดิดกกาารรจจัดดั กกาารรเเรรียยี นนรรู้ ู้ททีส่ ่สี ะะททอ้ อ้ นนกกาารรจจัดดั กกาารรเเรรยี ยี นนกกาารรสสออนนแแบบบบ aaccttiivveelleeaarrnniinngg

การออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการถือเป็นส่วนหนึ่งของการ
จัดการเรียนการสอนแบบ active learning แต่ทั้งนี้ข้อจากัดของการสอนในหัวข้อ gas
chromatography คือ มีเคร่ืองมือแค่เพียง 1 เครื่องเพ่ือให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติการและทาความ
เข้าใจในการทางานของเคร่ืองมือ จึงได้ออกแบบการเรียนการสอนโดยแบ่งนิสิตเป็น 2 กลุ่ม
และสลับการทากิจกรรมภายในชั่วโมงปฏิบัติการ และจัดกิจกรรมเป็น 2 ตอน ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 เปน็ ขัน้ ตอนการฝึกปฏบิ ตั ิ และตอนที่ 2 เป็นการค้นหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเสริมความรู้
ภาคปฏิบัติการด้วย assignment เพ่ือส่งเสริมทักษะการค้นคว้า การทางานเป็นทีม รวมท้ัง
การสื่อสารเนอ่ื งจากชดุ คาถามเปน็ คาถามที่ต่อเน่ืองกัน แต่ทั้งนี้ในสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโคโรนาไวรัส (COVID-19) จงึ ไดอ้ อกแบบการเรียนการสอนเป็นแนวทาง Proxy-lab โดย
ให้ตัวแทนนิสิตที่พักอาศัยใกล้พื้นท่ีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประมาณ 6 คนเข้ามาทาการ
ทดลอง และบันทึกวดี ีโอในระหวา่ งการปฏิบตั ิการ เพื่อใหเ้ ปน็ สื่อในการจัดการเรียนการสอน

กระบวนการจดั การเรยี นการสอนหรอื กจิ กรรม วิธกี ารวดั และประเมินผลโดยสรุป

เน่ืองด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส (COVID-19) ทาให้การ
จดั การเรยี นการสอนในหัวข้อ gas chromatography เปลี่ยนแปลงไป โดยปรับการเรียนการ
สอนให้อยู่ในรูปแบบ Proxy-labโดยให้ตัวแทนนิสิตที่พักอาศัยใกล้พื้นท่ีจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัยประมาณ 6 คนเข้ามาทาการทดลอง และบันทึกวีดีโอในระหว่างการปฏิบัติการ
เพ่ือให้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน หลังจากได้วีดีโอได้โพสต์ขึ้นในระบบ LMSของ
คณะฯ เพ่อื ให้นสิ ิตได้ศึกษา ในระหวา่ งการจัดการเรยี นการสอน ไดด้ าเนนิ การดงั น้ี

53

1. แบบทดสอบก่อนบทเรียน เพื่อสารวจความเข้าใจเบ้ืองต้นเก่ียวกับการ

ปฏิบัติการ โดยข้อคาถามจะมีความเก่ียวข้องกับเนื้อหาที่จะทาปฏิบัติการ และผสานองค์

ความรู้จากรายวิชาบรรยาย (เภสัชวิเคราะห์ 2; Pharmaceutical analysis II) ใช้เวลา

ประมาณ 10 นาที ผา่ นระบบ LMS ที่คณะใช้

2. บรรยายโดยย่อซ่ึงเก่ียวข้องการเรียนรู้เครื่องมือ การทางานของเคร่ืองมือ

รวมท้ังกิจกรรมการปฏิบัติการ โดยในหัวข้อปฏิบัติการน้ีนี้มี 2 กิจกรรมย่อยเพ่ือเพ่ิมพูน

ความเข้าใจเก่ียวกับการใช้งานเคร่ืองมือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์ การศึกษาความ

เหมาะสมของระบบ (system suitability) รวมท้ังการประยุกต์และการนาไปใช้ประโยชน์

โดยจัดกาเรียนการสอนผา่ นระบบ ZOOM meeting

3. ในขั้นตอนท่ีนสิ ติ ต้องมาปฏิบัติงานจริง ใช้วีดีโอสาธิตท่ีได้ถ่ายทาล่วงหน้าแล้ว

มาใช้ประกอบการเรียนรู้เพื่อให้นิสิตเข้าใจกระบวนการเตรียมสาร กระบวนการวิเคราะห์

และการแปลผล

4. นิสิตกลุ่มสาธิต ได้อธิบายในแต่ละข้ันตอนให้เพ่ือนนิสิตได้เข้าใจ และแบ่งนิสิต

สาธิต เข้าไปอยู่ในแต่ละกลุ่มย่อยเพื่อช่วยอธิบายและให้ข้อมูลเก่ียวกับการทาปฏิบัติการ

รวมทัง้ ช่วยเป็นพเ่ี ล้ยี งในข้นั ตอนการแปลผลและวิเคราะหผ์ ล

5. นิสิตจัดทารายงานการทดลอง โดยใช้ผลการทดลองของนิสิตกลุ่มสาธิตมา

แปลผล สรุปผล และวิเคราะห์วจิ ารณ์การทดลอง

6. นิสิตตอบคาถามท้ายการทดลอง ที่เป็นคาถามเสริมความรู้และการนา gas

chromatography ไปใช้ประโยชน์ โดยคาถามเป็นคาถามที่ต่อเน่ืองและอาศัยองค์ความรู้ที่

สอดคล้องกัน เช่น (A) Residual solvent มกี ี่ประเภท โดยแบ่งตามอะไร และยกตัวอย่าง

ของแตล่ ะประเภท (B) Permitted Daily Exposure (PDE) คอื อะไร มี

ความเก่ียวข้องอย่างไรกับ residual solvent (C) จงอธิบายวิธีการวิเคราะห์ปริมาณเอทา

นอลในหัวข้อ Residual solvent และมีข้อกาหนดปริมาณเป็นเท่าไหร่ (D) ในตารายา

USP42 ระบุว่า Digoxin ต้องตรวจ residual solvent จากข้อมูลดังกล่าวสามารถ

วิเคราะห์ปริมาณ residual solvent นัน้ ด้วยวิธีการใด และอธิบายรายละเอียดของวิธีการ

เป็นต้น ซง่ึ ทาใหน้ ิสติ ต้องทางานรว่ มกันเป็นทีม มีการสื่อสาร

วิธีการวัดและประเมินผล ใช้วิธีการประเมินจากรายงานการทดลอง โดย

หลังจากท่นี สิ ิตส่งรายงานแล้วจะ feedback ข้อมูลความถูกต้องและครบถ้วนของผลการ

ทดลองและข้อคาตอบทา้ ยปฏิบตั ิการไปยงั นิสิตเพอ่ื สร้างความเข้าใจ และการสอบวัดความรู้

แบบขอ้ เขียนเพื่อวดั ความเข้าใจในการเรยี นของนิสิต

ผลงาน/ผลลัพธท์ ไ่ี ด้จากการเรียน

1 นิสิตในกลุ่ม proxy lab สามารถเป็นพ่ีเล้ียงให้กับนิสิตทางไกลในการให้
คาปรึกษาในการปฏิบัติการทดลองนี้ ทั้งการอธิบายข้ันตอนการปฏิบัติการ การแปลผลและ
การวเิ คราะห์ผล

2 นิสิตทางไกลได้เรียนรู้เทคนิคและข้ันตอนผ่านกลุ่มสาธิต โดยผู้สอนได้ช้ีบ่งถึง
จุดวิกฤต และความคลาดเคลื่อน (error) ของนิสิตกลุ่มสาธิต เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับ
นสิ ติ ในภาพรวมเพ่ือลดความคลาดเคลอ่ื นในการเรียนการสอนหวั ขอ้ อ่นื ๆ

3 ความแตกต่างของผลลัพธ์การเรียนร้รู ะหว่างนิสิต 2 กลุ่มอยู่ในระหว่างการ
จดั การสอบ และการประเมนิ ความพงึ พอใจและขอ้ คดิ เหน็ ซงึ่ จะได้ในวนั ที่ 15 ต.ค. 2563

54

ถอดบทเรยี นการเรยี นรู้ (lesson learned) และแนวทางการพัฒนากระบวนวชิ า

การจดั ทา proxy lab อาจเป็นแนวทางหน่ึงในการจัดการเรียนการสอน
ในรายวิชาปฏิบัติการที่มีข้อจากัดในการเข้าถึงเคร่ืองมือ และการออกแบบกิจกรรม
ต้องอาศัยทีมทางานที่ดี ตั้งแต่กลุ่มนิสิตตัวแทน กลุ่มงานนวัตกรรมการศึกษา
รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ประจาภาควิชา เพ่ือทาให้ได้สื่อท่ีเป็นจริงในสถานการณ์ท่ี
เสมือนนิสิตได้เข้ามาฝึกปฏิบัติการ ทั้งน้ีนิสิตกลุ่มสาธิตจะเป็นกลุ่มท่ีได้รับ
ประสบการณต์ รง และสามารถอธบิ ายสื่อสารให้เพื่อนเข้าใจด้วยภาษาท่ีนิสิตเข้าใจได้
ง่ายกว่าอาจารย์อธิบาย ทาให้การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์วิกฤตเกิดขึ้น
ได้ แตอ่ ย่างไรก็ตามการพฒั นาการเรียนการสอนในรูปแบบน้ี ควรปรับให้ส่ือวิดีโอน้ีมี
ความยาวลดลงโดยตัดต่อในแต่ละขั้นตอน เหลือเพียงประมาณ 5-10 นาทีต่อคลิป
โดยแบง่ เป็นขั้นตอนย่อย เชน่ ขน้ั ตอนการเตรยี มสารสาหรับการวิเคราะห์ การศึกษา
องค์ประกอบของเคร่ืองมือ ข้ันตอนการตั้งโปรแกรมสาหรับการวิเคราะห์ ขั้นตอน
การวิเคราะห์และแปลผล ซ่ึงจะทาให้นิสิตเกิดความสนใจในการเข้าศึกษาวีดีโอและ
สรา้ งการเรยี นรูไ้ ดม้ ากขน้ึ

55

กลุ่มวชิ ำ
ดำ้ นกำรบรบิ ำล
ทำงเภสัชกรรม

55

1 เภสัชกรรมคลนิ กิ 3

มหาวิทยาลยั : มหาวิทยาลยั หวั เฉยี วเฉลมิ พระเกยี รติ
หนว่ ยกติ : 2(0-6-0)
นกั ศึกษาชัน้ ปีทเ่ี รียน : ชน้ั ปที ี่ 5
จานวนนกั ศกึ ษาในช้นั เรยี น : 40 คน
ผรู้ บั ผดิ ชอบกระบวนวิชา/ทมี สอน

ทมี สอน

วัตถปุ ระสงคก์ ารเรียนร้ขู องกระบวนวิชา
ประยกุ ต์ใชค้ วามรู้เภสัชกรรมในสถานการณจ์ ริงได้

แนวคดิ การจดั การเรยี นรู้ ทสี่ ะท้อนการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning
นศภ. เรียนรู้จากกรณีศกึ ษาจริง ต้องคน้ ปญั หา สืบคน้ ข้อมูลด้วยตัวเอง เข้า

มาปรกึ ษาอาจารย์

กระบวนการจดั การเรียนการสอนหรือกจิ กรรม วธิ กี ารวดั และประเมนิ ผลโดยสรปุ
สอบข้อเขยี นเปน็ กรณีศกึ ษา

ผลงาน/ผลลพั ธท์ ี่ไดจ้ ากการเรียน
นักศกึ ษามีความเข้าใจในการประยุกตใ์ ช้ความรู้ทางเภสชั กรรมมากขึ้น

ถอดบทเรยี นการเรยี นรู้ (lesson learned) และแนวทางการพัฒนากระบวนวชิ า
นักศกึ ษาขาดกระบวนการคดิ วเิ คราะห์ อย่างมาก ขาดการเรยี นรจู้ าก

สถานการณ์จรงิ ต้งั แตช่ น้ั ปตี ้นๆ

57

2 แนะนาการฝกึ ปฏบิ ตั กิ ารบรบิ าลเภสชั กรรม

มหาวิทยาลยั : มหาวิทยาลัยหวั เฉยี วเฉลมิ พระเกยี รติ
หน่วยกิต : 2(1-3-0)
นักศึกษาชั้นปีทีเ่ รยี น : ช้นั ปีที่ 5
จานวนนกั ศกึ ษาในชน้ั เรียน : 40 คน
ผรู้ บั ผิดชอบกระบวนวชิ า/ทมี สอน

ทีมสอน

วัตถปุ ระสงค์การเรียนรู้ของกระบวนวชิ า

ประยุกต์ใช้ความรู้เภสชั กรรมในสถานการณจ์ รงิ ได้
แนวคิดการจดั การเรียนรู้ ทสี่ ะทอ้ นการจดั การเรียนการสอนแบบ active learning

นักศึกษาเภสัชศาสตร์เรียนรู้จากกรณีศึกษาจริง ต้องค้นปัญหา สืบค้นข้อมูลด้วย
ตัวเอง เข้ามาปรกึ ษาอาจารย์

กระบวนการจัดการเรยี นการสอนหรอื กิจกรรม วิธกี ารวัดและประเมนิ ผลโดยสรุป
สอบข้อเขียนเป็นกรณีศกึ ษา

ผลงาน/ผลลพั ธท์ ่ไี ดจ้ ากการเรยี น

นักศึกษามคี วามเข้าใจในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางเภสัชกรรมมากขึน้

ถอดบทเรียนการเรียนรู้ (lesson learned) และแนวทางการพัฒนากระบวนวชิ า

นกั ศกึ ษาขาดกระบวนการคิดวเิ คราะห์ อยา่ งมาก
ขาดการเรยี นร้จู ากสถานการณ์จริงตั้งแต่ชั้นปตี ้นๆ

58

3 เตรยี มความพรอ้ มทกั ษะทางบรบิ าลเภสชั กรรมในโรงพยาบาล
(skill preparation for pharmaceutical care in hospital)

มหาวทิ ยาลัย : มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่

หน่วยกติ : 1(0-3-0)

นักศกึ ษาชั้นปที ่ีเรียน : ช้นั ปที ่ี 5

จานวนนกั ศกึ ษาในช้ันเรียน : 76 คน

ผู้รบั ผดิ ชอบกระบวนวชิ า/ทีมสอน

อาจารย์ ภญ.สุธนิ ี แต้โสตถิกลุ

อาจารย์ ภญ.มันติวรี ์ น่ิมวรพนั ธ์ุ

อาจารย์ ภก.วนั ชนะ สิงหห์ นั

อาจารย์ ภญ.วรธิมา สีลวานชิ

อาจารย์ ภก.สินธวุ์ ิสทุ ธ์ิ สุธีชัย

อาจารย์ ภก.ภทั รพันธ์ สขุ วุฒิชยั

อาจารย์ ภก.นเรนทร์ฤทธิ์ กรณุ า

วตั ถุประสงคก์ ารเรียนรขู้ องกระบวนวชิ า

นกั ศึกษาสามารถอธบิ ายโรคและความผิดปกตใิ นผปู้ ่วยแตล่ ะ
ราย สามารถรวบรวมขอ้ มลู เพื่อประเมินปัญหาเก่ยี วกับโรค
และยา สามารถวเิ คราะห์ปญั หาเก่ยี วกับยาท่ีเกดิ ขึ้น สามารถ
วางแผนและเสนอแนวทางแกไ้ ขหรอื ป้องกันปัญหาทางยา โดย
สื่อสารกบั ผปู้ ว่ ยหรอื บุคลากรทางการแพทยอ์ ยา่ งเหมาะสม

แนวคิดการจดั การเรยี นรู้ ทสี่ ะทอ้ นการจดั การเรยี นการสอนแบบ active learning

Case-based learning โดย IT สนับสนุนการเรียนรู้และทบทวนองค์ความรู้พื้นฐาน
กอ่ นเร่มิ ปฏบิ ตั ิการจริง

59

กระบวนการจัดการเรียนการสอนหรอื กิจกรรม วธิ ีการวดั และประเมนิ ผลโดยสรปุ

เป็นสถานการณ์จาลองให้นักศึกษาวิเคราะห์และแก้ไข 5 คร้ัง เป็น
สถานการณ์ต่อเน่ือง แต่ละครั้งมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ให้นักศึกษาเรียนรู้เป็นกลุ่มโดย
ผลัดกันเป็นผู้นา โดยมีอาจารย์ประจากลุ่มทาหน้าท่ีเป็น facilitator และแสดงบทบาท
สมมติ (ผู้ป่วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร) วัดผลการเรียนโดยคิดเป็นคะแนนกลุ่ม
คะแนนรายบคุ คล คะแนนงานมอบหมาย และคะแนนสอบย่อย

ผลงาน/ผลลพั ธ์ท่ไี ดจ้ ากการเรียน

กลุ่มนักศึกษาร่วมกันประเมินและแก้ไข
สถานการณ์ได้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่
ล ะ ค รั้ ง นั ก ศึ ก ษ า เ ห็ น ภ า พ ง า น ข อ ง เ ภ สั ช ก ร
โรงพยาบาล และเตรยี มพร้อมให้นกั ศึกษาได้พัฒนา
ทักษะเฉพาะตนในกระบวนวิชาถัดไป การใช้ IT มี
บทบาทส่งเสริมให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลได้อย่าง
รวดเร็ว แต่จาเป็นต้องพัฒนาการตีความการคิด
วิเคราะห์ และดัดแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
เฉพาะราย

ถอดบทเรียนการเรยี นรู้ (lesson learned) และแนวทางการพัฒนากระบวนวิชา

นักศึกษาแต่ละรายมี
ความพร้อมในการสืบค้นข้อมูลทาง
IT แตต่ อ้ งสง่ เสรมิ ทักษะการอ่าน
คดิ วิเคราะห์ ดัดแปลงข้อมูลใหใ้ ช้ใน
สถานการณ์จรงิ ได้

60

4 หลกั การพน้ื ฐานทางเภสชั จลนศาสตร์
(Fundamental of Pharmacokinetics)

มหาวทิ ยาลยั : มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่

หนว่ ยกติ : 3(3-0-6)

นกั ศกึ ษาชนั้ ปที เ่ี รยี น : ช้นั ปที ่ี 3

จานวนนกั ศกึ ษาในชน้ั เรยี น : 125 คน

ผรู้ ับผดิ ชอบกระบวนวชิ า/ทมี สอน

1. รองศาสตราจารย์ ภก.โชคชัย วงศส์ ินทรัพย์ ผรู้ ับผดิ ชอบกระบวนวชิ า

2. รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.บราลี ปญั ญาวธุ โธ ผู้รว่ มรบั ผดิ ชอบกระบวนวชิ า

3. รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.กนกพร นิวฒั นนันท์

4. ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ภญ.ปาจรีย์ ศรีอทุ ธา

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อรณุ รัตน์ ลักษณ์ศริ ิ

วัตถปุ ระสงค์การเรียนรขู้ องกระบวนวชิ า

นกั ศึกษาสามารถ
1 อธิบายหลักการพื้นฐานทางเภสชั กรรมชีวภาพและเภสัชจลนศาสตร์ และการ
ประยุกต์ใช้ทางเภสชั กรรมได้
2 คานวณหาคา่ ตวั แปรทางเภสชั จลนศาสตร์ได้

แนวคดิ การจัดการเรยี นรู้ ที่สะท้อนการจัดการเรยี นการสอนแบบ active learning

1 มกี ารจัดการเรียนการสอนทั้งแบบ Onsite
พร้อมกบั การสอนออนไลน์ผ่าน Zoom และบนั ทึก VDO
การสอน อัพโหลดไว้ ใน KC Moodle เพ่อื ใหน้ กั ศกึ ษา
สามารถเลอื กเรียนได้ตามความสะดวก และทบทวนได้
ตามความต้องการ
2 มแี บบฝกึ หดั หรอื งานมอบหมาย ใหน้ ักศกึ ษาได้
ฝกึ การนาความรู้ที่เรียนมาใชแ้ กป้ ัญหาในทางเภสัช
กรรม เสริมทักษะการสบื ค้นขอ้ มูล การคิดวิเคราะห์
การคานวณและแกไ้ ขปัญหา

61

กระบวนการจดั การเรยี นการสอนหรือกจิ กรรม วิธกี ารวดั และประเมนิ ผลโดยสรปุ
1. บรรยายโดยอาจารย์ ร่วมถกแถลง ทาแบบฝึกหัดและงานมอบหมาย

สอดแทรกจริยธรรมและบทบาทวิชาชีพของเภสัชกรในการนาความรู้และทักษะ
พ้นื ฐานทางเภสัชจลนศาสตร์ไปแก้ปญั หาทางเภสชั กรรมด้านต่างๆ

2. การวัดผลโดยการสอบ(ร้อยละ 90) และการทาแบบฝึกหัดและงาน
มอบหมายต่างๆ (รอ้ ยละ 10)
ผลงาน/ผลลพั ธท์ ไ่ี ด้จากการเรียน

ยงั ไม่ได้ประเมนิ ผล เพราะเปดิ เทอม 8 กค 63
ถอดบทเรยี นการเรียนรู้ (lesson learned) และแนวทางการพัฒนากระบวนวิชา

ยังไม่ไดป้ ระเมนิ ผล เพราะเปดิ เทอม 8 กค 63

62

5 เภสัชกรรมโรงพยาบาล
(Hospital Pharmacy)

มหาวิทยาลยั : มหาวทิ ยาลยั หัวเฉยี วเฉลมิ พระเกียรติ

หน่วยกติ : 2-0-0

นกั ศกึ ษาช้ันปที ี่เรยี น : ช้นั ปที ี่ 4

จานวนนักศกึ ษาในช้ันเรียน : 71 คน

ผูร้ บั ผิดชอบกระบวนวชิ า/ทีมสอน

อาจารย์ ภก.บรรณสรณ์ เตชะจาเริญสุข

วัตถปุ ระสงคก์ ารเรยี นร้ขู องกระบวนวชิ า

1. เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงระบบงาน การ
บริหารงานของเภสัชกรโรงพยาบาล และการจัดการเชิง
ระบบเพ่อื คน้ หาโอกาสพฒั นางาน

2. เ พื่ อ ใ ห้ นั ก ศึ ก ษ า ท ร า บ ถึ ง ร ะ บ บ ป ร ะ กั น
คุณภาพโรงพยาบาลของประเทศไทยและองค์กรระหว่าง
ประเทศ ได้แก่ The Joint Commission

3. เ พ่ื อ ใ ห้ นั ก ศึ ก ษ า ท ร า บ บ ท บ า ท ห น้ า ท่ี
รบั ผดิ ชอบของเภสัชกรโรงพยาบาล

4. เ พ่ื อ ใ ห้ นั ก ศึ ก ษ า เ ข้ า ใ จ แ ล ะ รั บ รู้ ก า ร น า
มาตรฐาน หลักการ มาลงสู่การปฏิบัติในงานเภสัชกรรม
โรงพยาบาล

5. เพ่ือให้นักศึกษาเข้าใจและรับรู้มาตรฐาน
ระบบยาและวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล

6. เพ่ือให้นักศึกษาเข้าใจและรับรู้หลักการ
บริหารความเสี่ยง

63

แนวคิดการจัดการเรยี นรู้ ท่ีสะท้อนการจดั การเรยี นการสอนแบบ active learning
นักศึกษาจะได้เรียนการฝึกคิดอย่างเป็นระบบจากการเรียนรู้ผ่านการบรรยายก่อน

จากฝึกการใช้แนวคิดการการพัฒนาคุณภาพในสถานการณ์จาลองการไขปัญหาด้วย PDCA
การบริหารความเสย่ี ง จากน้นั นาเสนอและแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาในช้ันเรียน ซ่ึงส่งเสริมให้เกิด
ทักษะการเรียนรู้ มีความคิดเชื่อมโยงในการบริหารจัดการระบบยาโรงพยาบาลเชิงระบบ และ
สามารถใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้เป็นแนวคิดด้านการพัฒนาคุณภาพในสถานพยาบาลจาก
วารสารที่มีชอื่ เสยี งในด้านน้ี

กระบวนการจัดการเรยี นการสอนหรือกจิ กรรม วธิ กี ารวดั และประเมนิ ผลโดยสรุป
การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค และการนาเสนอแนวคิดการพัฒนาในชนั้ เรยี น

ผลงาน/ผลลพั ธท์ ไ่ี ด้จากการเรยี น
เม่ือนักศึกษาออกไปฝึกงานวิชาชีพภาคบังคับ มีเสียงสะท้อนว่าสามารถเชื่อมโยง

ระบบงานเภสัชกรรมในโรงพยาบาลที่ตนเองฝึก ณ แหล่งฝึกได้ มีการนาเสนอการใช้องค์
ความรู้ท้ังหมดที่ได้เรียนในรายวิชาในการทากิจกรรม Workshop และวิเคราะห์ลองปฏิบัติใน
ห้องเรยี น

ถอดบทเรียนการเรียนรู้ (lesson learned) และแนวทางการพฒั นากระบวนวิชา
จากสถานการณ์ COVID-19 สง่ ผลใหต้ ้องปรับแผนการสอนไปอยู่ในรปู แบบออนไลน์

ซ่ึงระบบ platform class ออนไลนม์ คี วามสะดวกและชว่ ยให้การแลกเปลย่ี นในชน้ั เรยี นมี
ประสิทธิภาพมากขนึ้ (กาลงั อยูใ่ นระหว่างการบรรยาย ยังไมไ่ ด้มีการดาเนินการ) ในสว่ นของ
การบรรยายดาเนินกิจกรรมอภิปรายกลุม่ โดยใหน้ ักศึกษาค้นคว้าข้อมลู จากนนั้ วิเคราะหแ์ ละ
นาเสนอแลกเปลยี่ นกับอาจารย์ผ้รู ่วมสอนในรายวชิ ากบั เพื่อนในชนั้ เรียน

64

6 เภสัชบาบดั 6
(Pharmacotherapy VI)

มหาวทิ ยาลยั : มหาวิทยาลยั หัวเฉียวเฉลมิ พระเกยี รติ

หนว่ ยกิต : 1(1-0-0)

นักศึกษาชนั้ ปที ่ีเรียน : ชัน้ ปที ี่ 5

จานวนนักศึกษาในชั้นเรยี น : 80 คน

ผรู้ ับผิดชอบกระบวนวิชา/ทีมสอน

อาจารย์ ภก.ขัตติยะ มง่ั คงั่ ผ้รู ับผดิ ชอบ

อาจารย์ ภญ.วิชชุตา เพชรชู

ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ ภญ.นิตยธ์ ิดา ภทั รธีรกุล

วตั ถุประสงค์การเรยี นรขู้ องกระบวนวิชา

นักศึกษาเรียนรู้และเข้าใจกลวิธีในการปฏิบัติ กฎข้อบังคับต่างๆ ใน
การปฏิบัติอันเป็นประเด็นสาคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง และจะเรียนรู้ถึงมาตรฐานใน
การบาบดั รกั ษาและการเลอื กใชย้ ามะเร็งแต่ละชนิด

แนวคดิ การจดั การเรยี นรู้ ท่สี ะทอ้ นการจดั การเรยี นการสอนแบบ active learning

1. เปน็ การเรียนการสอนทีพ่ ัฒนาศกั ยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิดการแก้ปัญหา
และการนาความร้ไู ปประยกุ ต์ใช้

2. เปน็ การเรียนการสอนทีเ่ ปดิ โอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
สงู สุด

3. ผู้เรียนสรา้ งองคค์ วามร้แู ละจัดระบบการเรียนรูด้ ้วยตนเอง
4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ท้ังในด้านการสร้างองค์ความรู้ การ
สรา้ งปฏสิ มั พนั ธ์รว่ มกันร่วมมือกนั มากกวา่ การแขง่ ขนั
5. ผู้เรียนเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทางาน การแบ่ง
หนา้ ท่คี วามรบั ผิดชอบ
6. เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียน อ่าน พูด ฟัง คิด อย่างลุ่มลึก
ผู้เรยี นจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรูด้ ้วยตนเอง
7. เปน็ กจิ กรรมการเรียนการสอนทเ่ี น้นทักษะการคิดขนั้ สูง
8. เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ
และหลักการความคดิ รวบยอด
9. ผู้สอนจะเป็นผู้อานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้
ปฏิบตั ดิ ้วยตนเอง
10.ความรเู้ กดิ จากประสบการณ์การสร้างองค์ความรู้และการสรุปทบทวนของ
ผู้เรียน

65

กระบวนการจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรม วิธีการวดั และประเมนิ ผลโดยสรุป

วิธีสอนแบบใชโ้ สตทัศนวสั ดุคือ VDO เรื่อง Basic concept in Lung & prostate
cancer treatment โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 60 นาที แล้วให้
ผูเ้ รยี นแสดงความคิดเห็น หรอื สะท้อนความคิดเกี่ยวกับส่ิงท่ีได้ดู โดยวิธีการพูดโต้ตอบกันใน
ประเดน็ ทส่ี งสยั และรว่ มกันสรุป ผ่านทาง MS team การวัดและประเมนิ ผลใชข้ ้อสอบปรนัย

ผลงาน/ผลลัพธท์ ่ไี ด้จากการเรยี น
สามารถเรียนรู้วิธีในการรักษาและเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมสาหรับการผู้ป่วย

โรคมะเร็ง

ถอดบทเรยี นการเรียนรู้ (lesson learned) และแนวทางการพฒั นากระบวนวิชา
วธิ ีการสอนเพ่มิ
- บรรยายการสอน
- กรณีศกึ ษา
- สื่อการสอนเพม่ิ
- เอกสารคาสอน
- Power Point
- วีดิทศั น์
- ตอบคาถามออนไลน์
- รปู แบบการสอนใช้ 5 E-learning cycle model

66

7 เภสชั ศาสตรส์ นเทศ
(Drug Information Round)

มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหดิ ล

หน่วยกิต : 1(0-3-1)

นกั ศึกษาช้นั ปีทเ่ี รยี น : ชัน้ ปที ่ี 5

จานวนนกั ศึกษาในช้นั เรยี น : 66 คน

ผรู้ ับผิดชอบกระบวนวชิ า/ทมี สอน

คณาจารย์สาขาเภสชั กรรมคลนิ ิก

วัตถปุ ระสงค์การเรยี นรู้ของกระบวนวิชา
เพอ่ื พฒั นาทกั ษะในการตอบคาถาม สืบค้นข้อมลู และประเมินวรรณกรรมด้านการแพทย์

แนวคดิ การจัดการเรียนรู้ ท่ีสะท้อนการจดั การเรียนการสอนแบบ active learning

วิชานี้อยู่ในชั้นปีที่ 5 ท่ีนักศึกษาเภสัชศาสตร์ได้ผ่านการเรียนหลักการพื้นฐาน
มาแล้ว ดังน้ันการสอนแบบ active learning น่าจะช่วยให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์มีโอกาส
นาหลกั การที่เรยี นไปแลว้ มาใชใ้ นภาคปฏิบตั ผิ ่านกระบวนการลองผิดลองถูกดว้ ยตนเอง

67

กระบวนการจดั การเรียนการสอนหรือกจิ กรรม วิธีการวัดและประเมนิ ผลโดยสรปุ

ให้ assignment ก่อนเข้าเรียนในรูปแบบ vdo เอกสารท่ีต้องอ่านก่อน
เข้าเรียน แบบฝึกหัด โดยพิจารณาให้การทา assignment น้ีเสร็จส้ินภายในเวลา 1
ชม. (ตามข้อกาหนดหน่วยกิต) เมื่อถึงคาบเรียนจะแบ่งนักศึกษาให้ทากิจกรรม
กลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสอภิปรายความเห็นของแต่ละคนที่ทา assignment
ซ่ึงเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้อีกลักษณะหน่ึง หลังจากนั้น จึงเป็นการอภิปราย
รวมกลุ่มใหญ่โดยมีอาจารย์เป็นผู้นาอภิปราย ซึ่งการวัดผลจะทาผ่านการนาเสนอ
และการสอบข้อเขยี น

ผลงาน/ผลลพั ธ์ทไี่ ดจ้ ากการเรยี น

นักศึกษาสามารถตอบคาถามได้ตามแนวทางมาตรฐาน และประเมิน
เลือกใชแ้ หล่งขอ้ มูลประกอบการตอบคาถามไดอ้ ยา่ งเหมาะสม

ถอดบทเรยี นการเรียนรู้ (lesson learned) และแนวทางการพัฒนากระบวนวชิ า

การเตรียมการสอนเช่นนี้ควรพจิ ารณาร่วมกับรายวชิ าอื่นๆ ทนี่ กั ศึกษาเรยี น
อยู่ในขณะน้ันดว้ ย เพื่อใหเ้ กิดการมอบหมายงานในปริมาณท่ีเหมาะสม เชน่ ชว่ งใกล้สอบ
หรอื สอบนอกตารางทเี่ พ่ิมเติมมาจากปกติ รวมถงึ การทากจิ กรรมในหอ้ งเรียนท่ีเป็น
active learning น้นั จาเป็นต้องอาศัยความกระตือรือร้นของนักศึกษาในการอภิปราย
ดังนนั้ อาจารย์จึงต้องกระตนุ้ หรอื สร้างบรรยากาศของการอภิปรายให้นักศึกษารสู้ ึก
ปลอดภัยท่ีจะแสดงความคิดเหน็ ของตนเอง รวมถึงช่วยใหอ้ าจารย์คุมเวลาในการสอน
ไดด้ ีข้นึ บรรลเุ ปา้ หมายของการสอนและลดปัญหาการเลกิ เรียนช้า โดยแนวทางการ
แกไ้ ขจาเป็นตอ้ งพจิ ารณาในระดับของคณะหรอื ภาควชิ าท่ีรบั ผดิ ชอบการสอนในแต่ละ
ภาคการศกึ ษาเพ่อื ใหส้ ามารถเกลยี่ กจิ กรรมใหม้ ีความเหมาะสม

68

8 เภสชั กรรมชมุ ชน
(community pharmacy)

มหาวทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม

หน่วยกติ : 1(0-3-1)

นักศกึ ษาชน้ั ปีทเ่ี รยี น : ช้นั ปีที่ 5

จานวนนักศกึ ษาในชัน้ เรยี น : 102 คน

ผรู้ บั ผดิ ชอบกระบวนวชิ า/ทีมสอน

ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญผ.พยอม สขุ เอนกนันท์ โอลส์ นั

วัตถุประสงคก์ ารเรยี นร้ขู องกระบวนวชิ า

1. นิสิตเข้าใจและอธิบายการจัดการสถาน
ประกอบการเภสัชกรรมชมุ ชนและการบรกิ ารธรุ กจิ

2. นิ สิ ต ส า มา ร ถ อ ธิ บ า ยก ฎ ห ม า ย แ ล ะ
จรยิ ธรรมของงานเภสัชกรรมชุมชน

3. นิสิตทราบทิศทางการพัฒนาร้านยาใน
ปจั จบุ นั ทงั้ ในประเทศ ได้แก่ ร้านยาคุณภาพ การสร้าง
เครือขา่ ยในชมุ ชนและระดับประเทศ

4. นสิ ิตสามารถวิเคราะห์อาการและอาการ
แสดง สามารถให้บริการยารักษาโรคเจ็บป่วยท่ัวไป
และโรคเร้ือรัง สามารถให้คาแนะนาเพ่ือส่งเสริมการ
ดูแลสขุ ภาพของตนเอง และการใช้ยาด้วยตนเอง
5. นสิ ิตเขา้ ใจและสามารถการใชห้ ลกั ฐานงานวิจัยมา
ประยกุ ตใ์ ช้ในการใหบ้ ริการยากับผ้ปู ่วย

69

แนวคดิ การจดั การเรียนรู้ ท่สี ะทอ้ นการจดั การเรียนการสอนแบบ active learning
การมสี ว่ นรว่ ม

กระบวนการจดั การเรยี นการสอนหรือกิจกรรม วธิ ีการวดั และประเมินผลโดยสรปุ
สอนออนไลน์ สง่ งาน และนาเสนอออนไลน์

ผลงาน/ผลลัพธท์ ี่ได้จากการเรียน
นิสติ สามารถทากิจกรรมและผลลัพธ์การเรียนรไู้ ด้ตามเกณฑ์

ถอดบทเรียนการเรยี นรู้ (lesson learned) และแนวทางการพัฒนากระบวนวิชา
mixed method น่าจะชว่ ยเพิม่ ผลลพั ธก์ ารเรยี นรู้

70

9 ยาใหม่
(New drugs)

มหาวิทยาลยั : มหาวทิ ยาลัยพายัพ

หน่วยกติ : 3(3-0-6)

นักศึกษาชั้นปที เ่ี รยี น : ชน้ั ปที ่ี 5

จานวนนักศกึ ษาในชน้ั เรียน : 60 คน

ผูร้ บั ผดิ ชอบกระบวนวชิ า/ทมี สอน

อาจารย์ ภก.เอกพนธ์ หริ ัตนพันธ์ุ

วัตถปุ ระสงค์การเรยี นร้ขู องกระบวนวชิ า

1. เพือ่ ใหน้ ักศกึ ษาสามารถประเมินยาใหม่ประเภทตา่ งๆ ตามหวั ขอ้ ทก่ี าหนดให้
2. เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาทักษะความสามารถในการเปรียบเทียบและวิเคราะห์
ขอ้ มลู ทีไ่ ด้จากทางวทิ ยาศาสตร์การแพทย์ และจากทางบรษิ ทั ผ้ผู ลิต
3. เพ่ือให้นักศึกษาพัฒนาทักษะความสามารถในการค้นคว้าข้อมูลจาก
วรรณกรรม หรือเอกสารทางวชิ าการท้ังในและต่างประเทศ
4. เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาทักษะความสามารถในการรวบรวมข้อมูลเก่ียวกับยา
ใหม่ แลว้ นามาเรียบเรยี งดว้ ยภาษาทเ่ี ข้าใจง่าย และมีความชัดเจน รวมท้ังพัฒนาทักษะด้าน
การนาเสนอดว้ ยความม่ันใจ
5. มจี ริยธรรมจรรยาบรรณทางวชิ าการและวชิ าชีพ
6. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางเภสัชศาสตร์
รวมทัง้ ประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใชเ้ ครือ่ งมอื ท่ีเหมาะสมกบั การแกไ้ ขปัญหา
7.มคี วามรบั ผิดชอบในการกระทาของตนเองและรับผิดชอบตอ่ สาธารณะชน

71

แนวคิดการจัดการเรยี นรู้ ทสี่ ะท้อนการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning
จดั ทา Flipped Classroom (จะทดลองในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563)

กระบวนการจดั การเรียนการสอนหรอื กิจกรรม วิธีการวดั และประเมินผลโดยสรุป
จัดทา Flipped Classroom (จะทดลองในภาคการศึกษาที่ 2 ปกี ารศึกษา 2563)

ผลงาน/ผลลัพธท์ ไี่ ด้จากการเรยี น
จัดทา Flipped Classroom (จะทดลองในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563)

ถอดบทเรียนการเรียนรู้ (lesson learned) และแนวทางการพฒั นากระบวนวชิ า
จัดทา Flipped Classroom (จะทดลองในภาคการศึกษาท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563)

72

10 การสอื่ สารเพอ่ื การปฏบิ ตั วิ ชิ าชพี เภสชั กรรม
(Communication for Pharmacy Practice)

มหาวทิ ยาลยั : มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์

หน่วยกติ : 3(3-0-6)

นกั ศึกษาชัน้ ปีท่เี รยี น : ชัน้ ปที ี่ 5

จานวนนกั ศกึ ษาในชน้ั เรียน : 26 คน

ผูร้ บั ผดิ ชอบกระบวนวิชา/ทีมสอน

ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สชุ าดา สูรพันธุ์

อาจารย์ ดร.พ.ท.หญิง ภญ.ศนิตา หริ ัญรศั มี

อาจารย์ ดร.ภญ.ปวลี เนียมถาวร

อาจารย์ ดร.ภญ.กิตตยิ า จนั ทรธานีวัฒน์

อาจารย์ ภก.ปรฬุ ห์ รุจนธารงค์

ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นชุ นาถ บรรทุมพร

รองศาสตราจารย์ พญ.วนิดา เปาอินทร์

ภก.สทุ ธพิ งศ์ หนูฤทธ์ิ

วตั ถปุ ระสงคก์ ารเรียนรู้ของกระบวนวชิ า

เพอื่ ให้นกั ศกึ ษาสามารถอธิบาย เข้าใจ และเกดิ ทศั นคติทด่ี เี กีย่ วกับ
1 หลักการและความสาคัญของการสื่อสาร และการส่ือสารในบริบท

ของวิชาชพี เภสชั ศาสตร์
2 การสื่อสารโดยใช้จิตวิทยาการโน้มน้าว การสร้างแรงจูงใจ และการ

เสรมิ สร้างพลังอานาจ เพือ่ ปรบั เปล่ียนพฤตกิ รรมผู้ปว่ ย
3 การส่ือสารของบุคลากรทางการแพทย์ และการส่ือสารในงานบริบาล

เภสัชกรรมในสถานการณต์ ่าง ๆ

แนวคดิ การจดั การเรยี นรทู้ สี่ ะทอ้ นการจดั การเรยี นการสอนแบบ active learning

ผู้เรียนมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติฝึกทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วยจาลองใน
สถานการณจ์ าลองตา่ งๆ ในกลุ่มย่อย มกี ารคิดวเิ คราะห์ในสิ่งท่ีได้ปฏิบัติ เพ่ือการ
พัฒนา รวมทั้งการฝึกการนาเสนออย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีทีมเภสัชกร
ผเู้ ชย่ี วชาญชว่ ยชแี้ นะผูเ้ รยี นรายบุคคล

73

กระบวนการจดั การเรียนการสอนหรือกิจกรรม วธิ ีการวัดและประเมนิ ผลโดยสรปุ

แบง่ การเรียนการสอนเป็น 2 สว่ น คือ
1. การฟังบรรยาย การอภิปรายกรณีศึกษา และกิจกรรมในชั้นเรียน มีหัวข้อ
ดงั ตอ่ ไปน้ี

- Principles of effective communication in pharmacy services
- Professional ethics and laws in communication
- Barriers to communication / Nonverbal communication

Communication Process: Encoding and Decoding
- Relationship development and therapeutic communication
- Active listening & empathic responding
- Empowerment & Motivational interviewing
- Interprofessional communication
ประเมินผล: สอบข้อเขียน (30%)
2. การฝกึ ปฏิบตั ิกลุ่มย่อย มหี ัวขอ้ ดังต่อไปนี้
- Presentation skills: Presentation Like a Pro
- Workshop 1,2,3: Communication skills in pharmacy practice
ประเมินผล: สอบปฏบิ ตั ิ (30%) งานมอบหมาย และกิจกรรมในชน้ั เรยี น (40%)

ผลงาน/ผลลัพธ์ที่ไดจ้ ากการเรียน

นักศึกษาประเมินความพึงพอใจต่อรายวิชานี้ในระดับดีถึงดีมาก นักศึกษาเห็น
ประโยชน์จากการเรียน สามารถเชื่อมโยงความสาคัญของทักษะการสื่อสารกับการฝึก
ปฏิบัติงานวิชาชีพ ท้ังการสื่อสารกับผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ และการนาเสนองาน
อย่างเปน็ ทางการ เน่อื งด้วยจานวนนักศึกษาต่อช้ันเรียนมีไม่มาก ทาให้การเรียนมีประสิทธิผลที่
ดี นกั ศึกษาไดร้ ับคาแนะนาในระหว่างเรียนเฉพาะราย มีบรรยากาศการเรียนท่ีดี นักศึกษามีส่วน
ร่วมแสดงความคิดเหน็ ตอบคาถาม และสนใจการเรียนดมี าก

ถอดบทเรยี นการเรียนรู้ (lesson learned) และแนวทางการพฒั นากระบวนวิชา

ใน workshop กลมุ่ ยอ่ ย อาจารยผ์ ้สู อนมบี ทบาททสี่ าคัญในการนากระบวนการการ
เรียนรู้ ซง่ึ มีความแตกต่างกันในแตล่ ะกลุ่มยอ่ ย การสรา้ งบรรยากาศของการพดู คุย การให้
feedback การตั้งคาถาม และการแก้ไขปญั หา

การเตรยี มผูป้ ว่ ยจาลองมีความสาคัญต่อความสมจรงิ และการบรรลเุ ป้าหมายการ
เรยี นรทู้ ่อี อกแบบไว้ จึงตอ้ งมรี ายละเอยี ดของบท และมีการซักซอ้ มที่มากพอ

การประชุมในกลุ่มอาจารย์ผู้สอนเพ่ือเตรยี มสถานการณใ์ นแตล่ ะ workshop และ
การประเมนิ ผล ถอดบทเรียนหลงั workshop แตล่ ะครั้ง ชว่ ยให้รบั มอื กับการจัดการในคร้ัง
ต่อไปไดด้ ีขึ้น

74

11 ปฏบิ ตั กิ ารเภสชั บาบดั 1

มหาวิทยาลยั : มหาวทิ ยาลัยหัวเฉียวเฉลมิ พระเกียรติ

หนว่ ยกติ : 1 (0-1/3-0)

นกั ศึกษาชั้นปีท่ีเรียน : ชั้นปีท่ี 3

จานวนนกั ศกึ ษาในชนั้ เรยี น : 40 คน

ผูร้ ับผดิ ชอบกระบวนวิชา/ทมี สอน

ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ภญ.ศิรประภา ทับทิม

วตั ถุประสงค์การเรียนรขู้ องกระบวนวชิ า

1. เพื่อประยกุ ตใ์ ชค้ วามรู้เก่ียวกบั เภสัชบาบดั และเภสชั วิทยาในการดแู ลผปู้ ่วย
2. เพื่อให้นักศึกษาได้มีแนวคิดเบื้องต้นในการวางแผนการดูแลหรือจัดการปัญหา
เกี่ยวกับยาในผู้ป่วยอันได้แก่ การทดลองค้นหาปัญหาเก่ียวกับยา การเข้าใจเกี่ยวกับ
ผลการรักษาท่ีต้องการ การวางแผนการรักษาเบ้ืองต้น การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและการ
ประเมินผลการรักษาทงั้ ในแงป่ ระสิทธภิ าพและความปลอดภัย

แนวคดิ การจดั การเรยี นรู้ ทีส่ ะท้อนการจัดการเรยี นการสอนแบบ active learning

การให้นักศึกษาแต่ละคนได้ฝึกคิดวิเคราะห์กรณีศึกษาในแง่มุมต่างๆ ในรายวิชา
โดยเฉพาะอย่างย่ิงรายวิชาน้ีซึ่งเป็นรายวิชาแรกในกลุ่มวิชาปฏิบัติการด้านเภสัชบาบัด โดยมี
ข้อคาถามช้ีนาให้นักศึกษาได้ลองคิดซึ่งอาจมีส่วนช่วยให้นักศึกษามีมุมมองเกี่ยวกับการ
วิ เ ค ร า ะ ห์ ก ร ณี ศึ ก ษ า ผู้ ป่ ว ย ซ่ึ ง จ ะ มี ก า ร เ ช่ื อ ม โ ย ง ร ะ ห ว่ า ง ค ว า ม รู้ ค ว า ม เ ข้ า ใ จ ด้ า น พ ย า ธิ
สรรี วิทยา เภสัชวิทยาและแนวทางการรักษาโรคต่างๆ เพ่ือดูแลผู้ป่วยเฉพาะราย โดยจะเร่ิม
จากกรณีศึกษาง่ายๆ ท่ีไม่ซับซ้อน หลังจากแต่ละคนได้ฝึกคิดวิเคราะห์แล้ว จึงให้มีการ
รวมกลุ่มและอภิปรายร่วมกันโดยมีอาจารยเ์ ป็น facillitator

การฝึกให้นักศึกษาได้เร่ิมอ่านงานวิจัยทางคลินิกโดยเฉพาะอย่างย่ิงงานวิจัยที่เป็น
landmark และนาไปสู่การปรับเปล่ียนแนวทางการรักษาจะช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะด้าน
การคิดวเิ คราะห์และการใช้ภาษาด้วย

75

กระบวนการจัดการเรยี นการสอนหรอื กจิ กรรม วิธกี ารวดั และประเมนิ ผลโดยสรุป

เนื่องจากเป็นรายวิชาแรกในกลุ่มรายวิชาด้านปฏิบัติการเภสัชบาบัดซ่ึงมี 3
รายวิชาคือ ปฏิบัติการเภสัชบาบัด 1,2,3 ดังนั้นในรายวิชาปฏิบัติการเภสัชบาบัด 1 ซึ่งเป็น
รายวิชาแรกน้ีได้ออกแบบให้นักศึกษาแต่ละคนได้วิเคราะห์กรณีศึกษาโดยมีข้อคาถามชี้นา
โดยใช้เวลาประมาณ 1 ช่ัวโมง หลังจากน้ันจะให้นักศึกษารวมกลุ่มและร่วมอภิปรายใน
กรณีศึกษาดังกล่าวอีกประมาณ 1 ชั่วโมง โดยมีอาจารย์ประจากลุ่มเป็น facillitator โดย
นักศึกษาแต่ละกลุ่มเขียนวิเคราะห์กรณีศึกษาอย่างง่ายลงใน whiteboard เล็กของแต่ละ
กลุ่ม เพื่ออาจารย์ได้เห็นและให้ข้อเสนอแนะได้ และในช่ัวโมงสุดท้ายอาจารย์ท่ีเป็นหัวหน้า
lab ในวันนั้นจะอภิปรายรวมโดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มแสดงความคิดเห็นในแต่ละประเด็น
กอ่ นทีอ่ าจารย์หัวหน้า lab จะสรุปในประเด็นขอ้ คาถามต่างๆ ในกรณศี ึกษานัน้ ๆ

อย่างไรก็ตามในบาง lab อาจารย์อาจให้นักศึกษาได้รวมกลุ่มอภิปราย
กรณีศกึ ษาตั้งแต่ต้นชั่วโมงและมีการนาเสนอหน้าห้อง หรือในบาง lab อาจารย์อาจจัดให้
นักศึกษามีการเวียนสถานีเพื่อศึกษากรณีศึกษาต่างๆ และอภิปรายกับอาจารย์ประจา
สถานโี ดยใช้เวลาประมาณสถานีละ 30 นาที เปน็ ตน้ ประเมนิ ผลโดยการสอบขอ้ เขียน

ในรายวิชาได้มีการแบ่งกลุ่มให้นักศึกษาได้ฝึกอ่านงานวิจัยทางคลินิกโดยเฉพาะ
อย่างย่ิงงานวิจัยท่ีเป็น landmark trial โดยใช้เวลานอกห้องเรียนและมีอาจารย์ประจา
กลุ่มคอยให้คาปรกึ ษากอ่ นมีกาหนดนาเสนอในหอ้ งเรยี น

ผลงาน/ผลลพั ธ์ท่ไี ดจ้ ากการเรยี น

คาดหวังว่านักศึกษาจะได้มีทักษะและแนวคิดเบ้ืองต้นในการวางแผนการดูแล
หรือจัดการปัญหาเกี่ยวกับยาในผู้ป่วยอันได้แก่ การทดลองค้นหาปัญหาเก่ียวกับยา การ
เข้าใจเกี่ยวกับผลการรักษาที่ต้องการ การวางแผนการรักษาเบื้องต้น การให้ความรู้แก่
ผ้ปู ว่ ยและการประเมินผลการรักษาทงั้ ในแงป่ ระสิทธิภาพและความปลอดภัย

ถอดบทเรียนการเรยี นรู้ (lessonlearned) และแนวทางการพัฒนากระบวนวิชา

การฝึกวเิ คราะห์กรณีศึกษาผู้ป่วยไม่ใช่เร่ือง
งา่ ย สว่ นหน่งึ เน่ืองจากการรกั ษาผู้ป่วยในหลายกรณีมี
แนวปฏบิ ัตไิ ด้หลายแบบ การฝึกให้นักศึกษาได้มีมุมมอง
เพือ่ นาไปสกู่ ารจัดการกับปัญหาของผู้ป่วยในอนาคตใน
ฐานะเภสัชกรจาเป็นต้องอาศัยการช้ีแนะจากอาจารย์
ในประเด็นต่างๆ การให้ตัวอย่างแนวคิดจากอาจารย์
เป็นเร่ืองสาคัญซ่ึงจะมีส่วนช่วยให้นักศึกษาได้มีความ
เขา้ ใจและคิดวิเคราะหด์ ว้ ยตนเองได้ในอนาคต

76

12 ปฏิบตั กิ ารเภสชั กรรมปฏบิ ตั ิ 2
(Pharmacy practice laboratory 2)

มหาวิทยาลัย : จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั

หน่วยกติ : 1(0-3-0)

นักศึกษาช้นั ปที ี่เรยี น : ชน้ั ปที ่ี 4

จานวนนกั ศกึ ษาในช้ันเรียน : 151 คน

ผ้รู ับผิดชอบกระบวนวชิ า/ทีมสอน

รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ธิติมา เพง็ สุภาพ

อาจารย์ ดร.ภญ.ทัดตา ศรบี ุญเรือง

และคณาจารย์

วตั ถุประสงค์การเรยี นรขู้ องกระบวนวิชา
ให้ผู้เรียนมีทักษะการส่งมอบยาที่ดี ทักษะการให้บริบาลทางเภสัชกรรม

เบ้อื งตน้ และทกั ษะในการจัดทาขอ้ มูลของผ้ปู ่วย

แนวคดิ การจดั การเรียนรู้ ทส่ี ะทอ้ นการจดั การเรยี นการสอนแบบ active learning
นิ สิ ต จ ะ มี ส่ ว น ร่ ว ม ใ น กิ จ ก ร ร ม ทุ ก ค า บ ข อ ง ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น

กระบวนการจัดการเรียนการสอนหรอื กจิ กรรม วธิ กี ารวดั และประเมินผลโดยสรุป

Role play, Think pair share, Case-based study, Group
discussion, feedback, วัดและประเมินผลราบคาบและการสอบ OSPE

77

ผลงาน/ผลลพั ธ์ทไ่ี ดจ้ ากการเรยี น
นิสิตที่มีทักษะตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ การส่งมอบยาท่ีดี ทักษะการให้

บริบาลเบ้ืองต้น การจัดทาข้อมูลประวัติผู้ป่วย และการทางานเป็นทีม เพื่อให้นิสิต
สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพท่ีสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ
ต่อไป
ถอดบทเรยี นการเรียนรู้ (lesson learned) และแนวทางการพัฒนากระบวนวชิ า

เรยี นรกู้ ารออกแบบการเรยี นการสอน ฝึกทักษะออนไลนภ์ ายใต้
สถานการณ์ COVID-19 ตอ้ งอาศยั ความรว่ มมือจากทีมผูส้ อนและนสิ ติ ตอ้ งมี
ความชัดเจนในการสือ่ สารทักษะทค่ี วรจะไดห้ ลงั จากการฝึกปฏิบตั แิ ละการนาไปใช้
ในอนาคต กระบวนจะดมี ากขึ้น ขอ้ เสนอจากนสิ ติ หากมกี ารพัฒนาการใชผ้ ปู้ ่วย
จาลองเพอื่ ใหส้ ถานการณ์สมจริงมากยิ่งขึ้น

78

13 การฝกึ ปฏบิ ตั งิ านการบรบิ าลทางเภสชั กรรมดา้ นเภสชั กรรมชมุ ชนขนั้ สงู
(Pharmaceutical Care Clerkship in Advanced Community Pharmacy)

มหาวทิ ยาลัย : มหาวิทยาลยั สงขลานครนิ ทร์

หน่วยกติ : 4 (0-16-0)

นักศึกษาชั้นปที ีเ่ รยี น : ชัน้ ปีท่ี 6

จานวนนกั ศกึ ษาในชน้ั เรียน : 12 คน

ผู้รบั ผิดชอบกระบวนวชิ า/ทีมสอน

อาจารย์ ภก.ทวีศักด์ิ มณโี รจน์

รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิริมา มหทั ธนาดลุ ย์

ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วรนชุ แสงเจรญิ

อาจารย์ ภญ.อรวรรณ แซ่ลมิ่

อาจารย์ ภญ.ดษิ ยา วฒั นาไพศาล

อาจารย์ ภญ.นดั ดาภรณ์ บัวศรี

ภญ.สรียา เชาวกิจเจริญ

ภญ.ปทั มา เผือกนอ้ ย

วัตถุประสงค์การเรยี นรู้ของกระบวนวิชา

เพื่อให้นสิ ติ /นักศึกษาที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมด้าน
เภสชั กรรมชุมชนขนั้ สงู มีความสามารถดงั น้ี

1. อธิบายและประยุกต์แนวคิดการบริบาลทางเภสัชกรรมมาใช้ในสถาน
ปฏบิ ตั ิการเภสชั กรรมชุมชนได้

2. ให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยท่ีมีโรคเร้ือรัง โดยการหาประวัติ
ประเมินข้อมูล และตัดสินใจในการจ่ายยาหรือส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ ติดตามในระยะ
ยาว และจัดทาแฟ้มประวัติการรักษาได้ โดยมุ่งเน้นการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วย
โรคติดบุหรี่

3. สามารถคัดกรองโรคเร้ือรัง โดยเฉพาะกลุ่มภาวะโรคเมตาโบลิก (เบาหวาน
ความดัน และโรคอ้วน)
โรคหลอดเลอื ดสมอง และโรคหอบหืดและปอดอุดก้ันเร้อื รังได้

4. สามารถให้คาแนะนาการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ท่ีมีความเส่ียงต่อการเกิด
โรคเรอ้ื รงั ได้

5. สามารถค้นหาและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม

6. สามารถใหบ้ ริการดา้ นการสรา้ งเสริมสุขภาพเชิงรุกกบั ชุมชนได้
7. สามารถออกแบบโครงการเพ่ือพฒั นางานในร้านยาได้

79

แนวคดิ การจัดการเรยี นรู้ ทส่ี ะท้อนการจดั การเรียนการสอนแบบ active learning

Learning by doing: นกั ศึกษาเรยี นรจู้ ากกรณศี ึกษาจริง โดยมีอาจารยเ์ ป็นท่ีปรึกษา

กระบวนการจดั การเรียนการสอนหรอื กจิ กรรม วิธกี ารวัดและประเมนิ ผลโดยสรุป

เน่ืองจากสถานการณ์ COVID-19 ทาให้มีการจัดการเรียนการสอนผ่านช่องทาง
ออนไลน์ ไดแ้ ก่ Google meet, Line, Facebook โดยอาจารย์เป็นผู้ส่งแฟ้มข้อมูลผู้ป่วยให้กับ
นักศึกษาเพ่ือติตามผู้ป่วย โดยให้เวลานักศึกษาในการประเมินผู้ป่วย จากน้ันทาการอภิปราย
กบั อาจารย์ผา่ นช่องทางออนไลนเ์ พอ่ื พิจารณาความเหมาะสมของแนวทางในการดูแลผู้ป่วยท่ี
นักศกึ ษาวางแผนไว้ จากนั้นจงึ ใหน้ ักศึกษาโทรศพั ท์ตดิ ตามผู้ป่วย
กจิ กรรมในการฝึกปฏิบัตงิ าน

1. การบรบิ าลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคตดิ บุหร่ี
2. การคัดกรองผปู้ ่วยโรคเร้ือรัง
3. การใหค้ วามรู้ในองคก์ ร และนาไปเผยแพร่ใน Facebook : ร้านยาเภสชั ฯ ม.อ.
4. การเขียนโครงการเพื่อพัฒนางานในรา้ นยา
5. การนาเสนอกรณศี ึกษา และ Journal club
การวดั และประเมินผล ยึดตามแบบประเมินการฝึกปฏิบัติงาน Community Pharmacy ดังนี้
1. แบบประเมินความประพฤติและทัศนคตขิ องนสิ ิต/นักศึกษา
2. แบบประเมนิ ทกั ษะการฝึกปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมด้านเภสัชกรรม
ชมุ ชนข้ันสงู
3. แบบประเมินการนาเสนอกรณศี ึกษา
4. แบบประเมินการนาเสนอและวิพากษว์ รรณกรรมปฐมภูมิ
5. แบบประเมินการใหค้ วามรูบ้ ุคลากรในองค์กร
6. แบบประเมินโครงการพฒั นางานในรา้ นยา

ผลงาน/ผลลัพธท์ ไ่ี ด้จากการเรยี น

นิสิตที่มีทักษะตามวัตถุประสงค์ได้แก่ การส่งมอบยาท่ีดี ทักษะการให้บริบาล
เบ้ืองต้น การจัดทาข้อมูลประวัติผู้ป่วย และการทางานเป็นทีม เพื่อให้นิสิตสามารถนาไป
ประยกุ ตใ์ ชใ้ นการฝึกปฏิบัติงานวชิ าชีพที่สถานพยาบาลนะดบั ปฐมภูมิต่อไป

ถอดบทเรยี นการเรยี นรู้ (lesson learned) และแนวทางการพัฒนากระบวนวิชา

ถอดบทเรียนการเรียนรู้: จากการสัมภาษณ์นกั ศึกษาเมื่อสน้ิ สุดการปฏบิ ัติงาน
พบวา่ นักศกึ ษาได้รับประโยชน์จากการฝึกปฏิบัติงาน โดยเฉพาะทกั ษะด้านการสือ่ สาร และ
นักศึกษามีความมั่นใจในการดูแลผปู้ ่วยเลกิ บุหรี่เพ่ิมมากข้ึน

แนวทางการพัฒนากระบวนวชิ า: สามารถนาคาแนะนาของนักศึกษามาใชใ้ นการ
พฒั นากจิ กรรมการฝึกงานตอ่ ไป

80

14 การฝกึ ปฏบิ ตั งิ านการคมุ้ ครอง ผบู้ รโิ ภคดา้ นสขุ ภาพ 2
(HEALTH CONSUMER PROTECTION CLERKSHIP II)

มหาวิทยาลัย : มหาวทิ ยาลัยสงขลานครินทร์

หนว่ ยกิต : 4(0-16-0)

นักศกึ ษาชน้ั ปที เี่ รียน : ช้นั ปที ่ี 6

จานวนนกั ศึกษาในช้นั เรยี น : 6 คน

ผรู้ บั ผดิ ชอบกระบวนวชิ า/ทีมสอน

1. อาจารย์ ภญ.ดษิ ยา วฒั นาไพศาล

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์

วตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรขู้ องกระบวนวชิ า

1. อธบิ ายบทบาทหนา้ ทขี่ องเภสัชกร โครงสร้างองคก์ ร และวเิ คราะห์ความเชื่อมโยงของ
หน่วยงานตา่ งๆ ทเ่ี กี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภคได้

2. สืบค้น ตคี วาม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สบื สวน ประมวลหลกั ฐาน และจัดทาเอกสารที่
เกี่ยวข้องกับการบังคบั ใช้กฎหมายหรือการส่อื สารความเสีย่ งต่อผู้บรโิ ภคได้

3.รวมรวมขอ้ มลู จดั ระเบยี บข้อมลู และวเิ คราะหข์ อ้ [มลู จากฐานข้อมลู ยาและผลติ ภัณฑ์
สขุ ภาพ เพ่อื วางแนวทางการกากับดูแลยาและผลติ ภณั ฑส์ ขุ ภาพท้ัง Pre- และ Post-
marketing

4.วิเคราะหป์ ัญหา จัดลาดับความสาคัญของข้อมูลในฐานข้อมูลยาและผลิตภัณฑ์สขุ ภาพ
เพ่อื หาสิ่งบอกเหตุ(trigger) และสร้างเครือ่ งมือในการค้นหาและตดิ ตาม(trigger tools) แกไ้ ข
ปญั หาเกี่ยวกบั ยาและผลติ ภณั ฑ์สขุ ภาพได้ รวมทง้ั วางแนวทางการนาเครอื่ งมอื ไปใช้ประโยชน์

แนวคดิ การจดั การเรยี นรู้ ทส่ี ะทอ้ นการจดั การเรยี นการสอนแบบ active learning

เรยี นรู้จากการฝกึ ปฏิบัตจิ ริง โดยฝกึ รวบรวม วิเคราะหข์ อ้ มูล
จากฐานขอ้ มลู ยาและผลติ ภณั ฑส์ ขุ ภาพเพื่อให้ทราบปญั หาที่
แท้จริงและเสนอแนวทางกากับดูแลยา และผลิตภณั ฑ์สขุ ภาพใน
หน่วยงานท่เี ก่ยี วข้องทุกระดับท้ังในแงข่ องการดาเนินการ เพื่อ
ปอ้ งกนั ปัญหาและบทลงโทษเม่อื กระทาความผิดตามกฎหมาย

81

กระบวนการจดั การเรยี นการสอนหรอื กจิ กรรม วิธกี ารวดั และประเมนิ ผลโดยสรปุ

เป็นการฝกึ ปฏิบตั ิงาน อภปิ ราย ส่งงาน และนาเสนอแบบออนไลนท์ ั้งหมด ประเมินผล
โดยใชแ้ บบฟอรม์ ตามค่มู อื ฝกึ ปฏิบตั งิ าน ประกอบดว้ ยกิจกรรมดงั ต่อไปนี้

1. การประเมนิ และวภิ าคขอ้ มูลปัญหาการค้มุ ครองผู้บรโิ ภคด้านผลติ ภณั ฑ์
สขุ ภาพ (อาการไมพ่ งึ ประสงค์ ผลิตภัณฑ์ทตี่ ้องสงสัย และโฆษณาเกนิ จรงิ ) พร้อม
จัดทาเป็นข้อเสนอแนวทางการจดั การปัญหาอาการไมพ่ ึงประสงค์ ผลิตภณั ฑท์ ่ตี อ้ ง
สงสัย โฆษณาเกนิ จรงิ

2. การวิพากษ์วรรณกรรมปฐมภูมิ (journal club)
3. การใหค้ วามรู้ในองคก์ ร (academic in-service)
4. การให้ความรู้ในรูปแบบอ่ืนๆ เช่น การใหข้ อ้ มลู ประชาชนท่วั ไปผา่ นชอ่ งทาง
ส่อื สารตา่ งๆ เขียนบทความวิชาการเผยแพร่บุคลากรสาธารณสุข การจัดทา
ข้อเสนอเชงิ นโยบาย
5. การนาเสนอขอ้ มูลประเด็นที่น่าสนใจและแนวทางการจดั การปญั หา

ผลงาน/ผลลพั ธท์ ไ่ี ดจ้ ากการเรยี น

นกั ศกึ ษาสามารถวิเคราะห์และสารวจปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
สุขภาพจากสือ่ ออนไลน์ด้วยตนเอง วางแผนการเก็บข้อมูล และ
นาเสนอผลการเก็บข้อมูลเพ่ือเป็นข้อมูลสาหรับวางแผนเชิง
นโยบายต่อไป รวมท้ังได้วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับฐานข้อมูล ใน
แง่ของการเข้าใช้งาน การรายงานผลเพ่ือพัฒนาฐานข้อมูลให้มี
การกรอกข้อมูลมีความสมบูรณ์มากข้ึนและสะดวกต่อผู้ใช้งาน
ต่อไป

ถอดบทเรยี นการเรยี นรู้ (lesson learned) และแนวทางการพฒั นากระบวนวชิ า

มีกระบวนการ reflection และ feedback เกือบทุก
สัปดาห์ตลอดระยะเวลาการฝึกงาน ซ่ึงส่วนใหญ่
นักศึกษาต้องการออกไปฝึกปฏิบัติงานที่สถานที่จริงเพื่อ
ส่งเสริมการเรียนรู้มากกว่าการฝึกแบบออนไลน์ แต่การ
ฝึกแบบออนไลน์ช่วยให้นักศึกษาสามารถอภิปรายกับ
อาจารย์ประจาแหล่งฝึกได้หลากหลายมากกว่าการไปฝึก
ปฏบิ ัติ งานจรงิ ในแหลง่ ฝกึ เดยี ว

82

15 เภสชั กรรมบาบดั 1

มหาวทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลยั สงขลานครินทร์

หนว่ ยกิต : 3-0-6

นกั ศกึ ษาช้ันปที ่เี รยี น : ชัน้ ปที ี่ 3

จานวนนกั ศกึ ษาในช้นั เรยี น : 95 คน

ผรู้ ับผดิ ชอบกระบวนวิชา/ทมี สอน

อาจารย์ ดร.ภญ.อารรี ัตน์ ลีละธนาฤกษ์

ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ธนนรรจ์ รัตนโชตพิ านชิ

ทีมอาจารยผ์ ู้สอนปี 3 เทอม 2

วัตถุประสงค์การเรยี นรขู้ องกระบวนวชิ า

นิสิตมีความสามารถในการซักประวัติ การสื่อสารเบื้องต้น การตรวจร่างกาย
เบื้องต้น ทราบหลักการใช้ยาเบ้ืองต้น ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา การจัดการอาการ
ข้างเคยี ง ปฏิกิริยาระหวา่ งยา คดิ วิเคราะห์ ทางานเป็นทีม

แนวคดิ การจัดการเรียนรู้ ทีส่ ะท้อนการจดั การเรียนการสอนแบบ active learning

การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning ผ่านกิจกรรมบูรณาการการ
เรียนการสอนของรายวิชาปี 3 เทอม 2 ร่วมกับอีก 7 รายวิชา เพ่ือมีวัตถุประสงค์ให้นิสิต
สามารถ

- ค้นหาปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยได้ และแก้ปัญหา/ป้องกัน/ส่งเสริมสุขภาพ
เบอื้ งตน้ (ท่วั ไป)

- สามารถสอื่ สารกบั ผปู้ ่วยไดเ้ ข้าใจ และสมั ภาษณซ์ กั ประวตั ผิ ปู้ ่วยได้
- เรียนรูก้ ารทางานเป็นทีม
- มีความคดิ สร้างสรรค์ในการแกไ้ ขปัญหาใหแ้ ก่ผปู้ ่วย
- เหน็ อกเหน็ ใจผู้อ่นื
การจัดกิจกรรมมีแนวคิดจากการที่ต้องการให้นิสิตได้ฝึกทักษะและเพ่ิมพูน
ความรู้จากทุกรายวิชา ผ่านการทากิจกรรม 1 กิจกรรม เพ่ือลดภาระงานของนิสิต และยัง
ช่วยทาให้นิสิตสามารถบูรณาการความรู้ของทุกรายวิชาในการดูแลผู้ป่วย หรือ "พ่อฮักแม่
ฮกั " ในชุมชนท่ีนิสติ เคยไปดูแลตอนอย่ชู นั้ ปี 3 เทอม 1

83

กระบวนการจดั การเรยี นการสอนหรือกิจกรรม วธิ กี ารวดั และประเมินผลโดยสรุป
ภาพรวมของการจดั กิจกรรมคือ การทากิจกรรมกลุ่ม โดยการแบ่งนิสิตเป็นกลุ่มละ

4 คน เพื่อดูแลผู้ป่วยในชุมชนที่นิสิตเคยไปตอนอยู่ปี 3 เทอม 1 นิสิตจะต้องใช้ความรู้ของ
รายวิชาเภสัชกรรมบาบดั เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกายเบื้องต้น และค้นหาปัญหาสุขภาพของ
ผู้ป่วย ประเมินการใช้ยา และแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย โดยในการเยี่ยมบ้านคร้ังนี้นิสิตจะต้อง
ศกึ ษายาวา่ มีกลไกการออกฤทธ์อิ ย่างไร (เภสชั วทิ ยา) อาการขา้ งเคียง ค้นหาสมุนไพรท่ีผู้ป่วยใช้
(สมนุ ไพรและผลิตภณั ฑธ์ รรมชาติ) รูปแบบยาที่ผู้ป่วยใช้ การเก็บรักษายา การประเมินคุณภาพ
ยาและการปนเป้ือน (การควบคุมคุณภาพทางเภสัชกรรม และ สมุนไพรและผลิตภัณฑ์
ธรรมชาติ) และมกี ารคดิ วิเคราะห์คุณสมบัติยาจากรายวิชาเคมีทางยา ประเมินผลลัพธ์การทา
กิจกรรมผ่านการประเมินทักษะการเยี่ยมบ้านของนิสิตโดยอาจารย์ประจากลุ่ม ประเมินการ
แก้ไขปัญหาจากการนาเสนอผลงาน ประเมินการทางานเป็นทีมผ่านการทาแบบประเมินเพื่อน
ประเมนิ เพอ่ื น และยงั มกี ารจดั สอบ OSCE เพอื่ ประเมนิ ทักษะการซักประวตั ิในตอนท้ายเทอม

ผลงาน/ผลลัพธท์ ่ีได้จากการเรียน

นิสิตสามารถเข้าใจบริบทของผู้ป่วยมากขึ้น โดยจากการประเมินตนเองของนิสิต
พบวา่ นิสิตมีความมัน่ ใจในการสือ่ สาร การตรวจร่างกาย การใช้เคร่ืองมือวัดความดันโลหิตมาก
ข้นึ เปน็ ตน้

ถอดบทเรยี นการเรียนรู้ (lesson learned) และแนวทางการพฒั นากระบวนวิชา

นสิ ิตสามารถเรยี นรู้และเขา้ ใจผู้ปว่ ยมากขน้ึ แต่กระบวนการเรยี นรู้จะตอ้ งใช้เวลาใน
การฝึกฝนจาเปน็ ตอ้ งมีการทบทวนความรูน้ สิ ติ อยูเ่ สมอ

84

16 การบรบิ าลทางเภสชั กรรม
(Pharmaceutical Care)

มหาวิทยาลยั : มหาวิทยาลัยวลยั ลกั ษณ์
หนว่ ยกติ : 3-3-8
นักศกึ ษาช้นั ปีท่เี รยี น : ช้นั ปีที่ 4
จานวนนักศกึ ษาในช้นั เรยี น : 69 คน
ผู้รบั ผิดชอบกระบวนวิชา/ทีมสอน : อาจารย์ ดร.ภก.สุรยิ น อยุ่ ตระกูล

วัตถุประสงคก์ ารเรียนรู้ของกระบวนวชิ า

เพือ่ ให้นักศกึ ษามีความร้คู วามเข้าใจและสามารถอธบิ ายบทบาทและหน้าท่ีของเภสัช
กรในการบริบาลทางเภสัชกรรมได้ สามารถอธิบายหลักการท่ีเกี่ยวข้องกับการบริบาลทาง
เภสัชกรรม เช่น ระบบการจัดการยาในโรงพยาบาล การประเมินและติดตามอาการไม่พึง
ประสงค์จากการใช้ยา การประสานรายการยา การตรวจสอบความเหมาะสมในการใช้ยา
(DUE) การจัดการกับความคลาดเคลื่อนทางยา และระบบการประกันคุณภาพของฝ่าย
เภสัชกรรม

แนวคดิ การจดั การเรียนรู้ ทีส่ ะท้อนการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning

เน่ืองจากการเรียนรบู้ ทบาทหน้าทข่ี องเภสัชกรในด้านต่าง ๆ จาเป็นต้องอาศัยการ
ปฏิบัติจริงจึงสามารถเห็นภาพและเข้าใจได้ชัดเจน จึงมีการจัดกิจกรรมทั้งในรูปแบบ
สถานการณ์จาลองในหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารและพานักศึกษาไปยังสถานที่จริงเพ่ือให้ได้สังเกตและฝึก
ปฏิบตั ิ

85

กระบวนการจดั การเรยี นการสอนหรอื กจิ กรรม วิธกี ารวดั และประเมนิ ผลโดยสรปุ

การเรยี นร้จู ากการใช้กรณศี ึกษาเป็นฐาน (case-based learning) วัดผลโดย
การนาเสนอผลงาน การเรยี นรู้ภาคสนาม (fieldwork) วดั ผลโดยการประเมิน
พฤตกิ รรมการเรยี นรูจ้ ากอาจารย์ และการนาเสนอผลงานของนกั ศึกษา

ผลงาน/ผลลพั ธท์ ไ่ี ดจ้ ากการเรยี น

1. นกั ศกึ ษาเขา้ ใจระบบการทางานของเภสชั กรในโรงพยาบาลต่างๆ ผ่าน
การศึกษาดูงานในสถานทจี่ ริง

2. นักศึกษาสามารถคน้ หาปัญหาจากใบส่งั ยาในโรงพยาบาลไดผ้ า่ นกรณีศกึ ษา
3. นกั ศกึ ษาสามารถออกแบบ เสนอแนะ วิธีจัดการกับความเสี่ยงด้านยาตา่ งๆ
ได้ผ่านกรณีศกึ ษา
4. นักศกึ ษาสามารถซักประวัติผปู้ ่วยเพ่อื หาขอ้ มลู การใช้ยาและแกไ้ ขปัญหา
เบอื้ งต้นใหผ้ ูป้ ว่ ยไดผ้ า่ นการเยี่ยมบา้ นผปู้ ่วยในชุมชน

ถอดบทเรยี นการเรยี นรู้ (lesson learned) และแนวทางการพฒั นากระบวนวชิ า

นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์
ของรายวิชา แต่ยังไม่เข้าใจกระบวนการทางานท่ี
มอบหมายที่ชัดเจน อาจเนื่องจากสถานการณ์โรคโค
วิด-19 ทาให้นักศึกษากลุ่มน้ีไม่ได้ผ่านการศึกษาดูงาน
ก่อนภาคบังคับ นักศึกษาจึงขาดประสบการณ์จริงใน
โรงพยาบาลและร้านยา ทาให้กิจกรรมในรายวิชาไม่
สามารถจัดกิจกรรมท่ีเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ได้มาก
ดั ง นั้ น ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น ใ น ปี ถั ด ไ ป จึ ง อ า จ ส า ม า ร ถ
มุ่งเ น้นกระบวนการเ รีย นรู้ที่ สูงขึ้ นกว่ านี้ เช่น ใ ห้
นกั ศึกษาได้ฝึกเก็บ ADR หรือ DUE จริง มากกว่าเพียง
การศึกษาดูงานเพราะนักศึกษาน่าจะมีประสบการณ์
จรงิ ในโรงพยาบาลและรา้ นยามาแล้ว

86


Click to View FlipBook Version