The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Phadsayanin.s, 2021-10-22 02:57:12

Portfolio

Portfolio

แบบประเมินโครงการเสริมหลักสูตร







บันทึกความรู้สึกที่มีต่อการฝึกประสบการณ์
วิชาชีพศึกษาศาสตร์

ขณะนี้การฝึกประสบการณ์วิชาชีพศึกษาศาสตร์ได้สิ้นสุดลงแล้ว
ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นต่อการฝึกประสบกรณ์วิชาชีพศึกษาศาสตร์ดังนี้

"ปัญหาใดบ้างที่สามารถแก้ได้ และปัญหาใดบ้างไม่สามารถแก้ไขได้เลย"

ปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ คือ เมื่อต้องจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ทำให้ในช่วงแรก
ของการเก็บคะแนนจะเป็นการถ่ายคลิปวิดีโอส่งเพื่อดูการปฏิบัติทักษะ เเละเน้นการปฏิบัติทักษะ แต่
พบว่านักเรียนไม่ค่อยส่งคลิปวิดีโอ จึงใช้เกมเป็นสื่อในการสอนนักเรียนแทน ซึ่งนักเรียนกลับให้
ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าการถ่ายคลิปวิดีโอ จึงสอบถามนักเรียนว่าชอบการเรียน
การสอนแบบถ่ายคลิปวิดีโอหรือการเรียนการสอนในรูปแบบเกมมากกว่ากัน ทำให้ได้ข้อสรุปในการ
จัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนสนใจ

ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้เลย คือ ปัญหาการเข้าเรียนของนักเรียน เนื่องจากการจัดการ
เรียนการสอนเป็นในรูปแบบออนไลน์ ครูไม่ได้เจอนักเรียนโดยตรง ซึ่งถ้านักเรียนคนไหนไม่เข้าเรียน
ครูจะไม่รู้ว่านักเรียนคนนั้นเป็นใคร ยังมีตัวตนอยู่หรือไม่ ทำให้การติดตามนักเรียนเป็นไปได้ยาก
เพราะต้องแจ้งไปยังอาจารย์ประจำวิชาให้อาจารย์ประจำวิชาแจ้งไปที่อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อติดตาม
นักเรียนที่ไม่เข้าเรียน

"ประโยชน์ที่ได้รับต่อการทำงานในอนาคต"

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับต่อการทำงานในอนาคต ดิฉันคิดว่าได้ประสบการณ์จากการสอนใน
หลายเรื่อง เช่น เรื่องการทำแผนการจัดการเรียนรู้ การทำสื่อการสอน การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน
สถานการณ์จริง เมื่อเราได้มีประสบการณ์ในการสอนแล้วเรารู้เเนวทางในการสอนแล้วทำให้เรา
สามารถคิดแนวทางการจัดการเรียนรู้ได้ การใช้สื่อการสอนที่เราได้ไปศึกษาและค้นหาจากแหล่ง
ข้อมูลต่างๆทำได้ง่ายขึ้น เพราะเราผ่านการสอนมาแล้วหนึ่งภาคการศึกษา การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ก็อาจจะทำได้ดีมาขึ้น

บันทึกความรู้สึกที่มีต่อการฝึกประสบการณ์
วิชาชีพศึกษาศาสตร์

"แนวคิดที่จะยึดเป็นหลักในการทำงานในอนาคต"

การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งกับครูพี่
เลี้ยง อาจารย์นิเทศ รวมถึงให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมออกความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการ
สอน รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้อื่น และนำมาปรับแก้เพื่อให้ได้การจัดการเรียนการสอน
ที่เกิดประสิทธิภาพ การร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย หรือขอความคิดเห็นจากหลาย ๆ ฝ่าย ทำให้เชื่อมโยง
กับการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะเรา
ทำงานกับคนมากหน้าหลายตา เราควรรู้จักเขา รู้จักเรา และเอาใจเขามาใส่ใจเรา จะทำให้การทำงานร่วม
กันเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

"จากประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับ มีผลทำให้เจตคติต่อวิชาชีพครูเปลี่นไป หรือไม่"

ก่อนอื่นต้องพูดถึงทัศนคติที่มีต่อวิชาชีพครูในตอนแรกเริ่มก่อน ทัศนคติที่มีต่อวิชาชีพครูตั้งแต่
แรกเริ่มของตัวดิฉัน คือ ครูต้องเป็นผู้สั่งสอนความรู้ ความดีงาม และความถูกต้องให้แก่ศิษย์ ครูต้อง
เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์ และครูต้องมีความเมตตากรุณาให้แก่ศิษย์ ซึ่งจากประการณ์ที่ได้รับจาก
การสอนทำให้ดิฉันกลับมาพิจารณาตัวเองว่า ทัศนคติตอนนี้กับแรกเริ่มมันต่างกันหรือไม่ และก็ได้คำ
ตอบว่า ทัศนคติที่มีต่อวิชาชีพครูไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ประสบการณ์ที่ได้รับจากการสอน
ทำให้เรารู้ว่ามันไม่ง่ายเลยในการเป็นครู มันเหนื่อยกว่าที่คิดไว้เยอะมาก เราไม่รู้ว่าการทำงานร่วมกับ
นักเรียนเป็นอย่างไร นักเรียนคิดอย่างไรกับเราบ้างในช่วงแรกที่เข้าปสอน แต่พอได้สอนเองได้เรียนรู้
เองทำให้รู้ว่าเราอยากพัฒนาตนเองให้เป็นครูในแบบที่เราคิดในทัศนคติของเรา ซึ่งบางครั้งการได้รับ
กำลังใจจากนักเรียนก็ทำให้เรามีกำลังใจที่จะพัฒนาตนเองให้มากยิ่งขึ้น

ลงนาม
นางสาวพรรษญาณิน สมศรี
นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ

20/ตุลาคม/2564

บันทึกความรู้สึกที่มีต่อการประเมินผลการฝึกประสบการณ์
วิชาชีพศึกษาศาสตร์ด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นต่อแฟ้มสะสมผลงานวิชาการฝึกประสบการณ์
วิชาชีพศึกษาศาสตร์ดังนี้

"คุณภาพงาน"

แฟ้มสะสมผลงานนี้เป็นแฟ้มที่แสดงให้เห็นการทำงานของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ว่าได้
ประสบการณ์จากการฝึกสอนจริงอย่างไรบ้าง และเป็นการรวบรวมแผนการเรียนรู้ที่ประทับใจืตลอด
จนบันทึกความรู้สึกต่าง ๆ ที่มีในช่วงที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ และการประเมินจากการนิเทศของ
อาจารย์นิเทศก์ และครูพี่เลี้ยง ทำให้นิสิตได้ข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการสอน การใช้
สื่อ และการจัดแผนการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น แฟ้มสะสมผลงานงานแสดงให้เห็นการทำงาน ความสามารถ
และศักยภาพในการทำหน้าที่ในบทบาทของครูอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเห็นถึงความตั้งใจ และรวมถึงการ
รวบรวมผลงานในระหว่างที่ฝึกประสบการณ์วิชชาชีพศึกษาศาสตร์

"ความภูมิใจในการทำงาน"

ภูมิใจในการทำงานของตนเองและรู้สึกประสบความสำเร็จจากการฝึกประสอบการวิชาชีพเพิ่มขึ้น
อีกหนึ่งขั้น ที่สามารถจัดการเรียนการสอนใรูปแบบออนไลน์และสามารถสอนให้นักเรียนเกิดความรู้
เข้าใจ และเกิดความสนุกสนานภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ได้เห็นพัฒนาการในหลาย ๆ เรื่องของตนเอง
เช่น เลือกรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การใช้สือการสอนที่น่าสนใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และ
การกล้าแสดงออกเมื่อต้องอยู่หน้าชั้นเรียนมากขึ้น

"ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำแฟ้มสะสมผลงาน"

ทำให้เห็นการพัฒนาของตนเอง รู้ข้อดีและข้อเสียที่ต้องปรับปรุงพัฒนา ได้รวบรวมการทำงานไว้
เพื่อดูพัฒนาการในการทำงานของตนเอง ทำให้ไม่หยุดพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น

บันทึกความรู้สึกที่มีต่อการประเมินผลการฝึกประสบการณ์
วิชาชีพศึกษาศาสตร์ด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

"อุปสรรค์หรือปัญาในการทำแฟ้มสะสมผลงาน"

1. ไม่เก่งเรื่องการตกแต่งทำให้ไม่มั่นใจว่าจะทำแฟ้มสะสมผลงานออกมาได้ดีหรือไม่ดี
2. ไม่รู้หัวข้อทำให้ตอนเริ่มทำแฟ้มสะสมผลงานไม่รู้ว่าจะเริ่มทำจากหัวข้อไหนก่อนหรือหลัง

"ข้อเสนอแนะของนิสิตในการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน เพื่อการประเมินนิสิตในรุ่น
ถัดไป"

จัดการประชุมเพื่อชี้แจงหัวข้อที่ต้องใส่ลงในแฟ้มสะสมผลงานให้ชัดเจน มีตัวอย่างเป็นรูปร่างให้
ดู เพื่อนิสิตที่นึกภาพรายละเอียดในชิ้นงานไม่ออก

ลงนาม.........................................
(..............................................)
ผู้ประเมิน
............/.........../.............















































แบบประเมินแฟ้มสะสมผลงาน









ภาคผนวก

โครงการพิเศษ
ภายในโรงเรียน

บรรยากาศ
การสอน

สื่อการสอน

Thank you


Click to View FlipBook Version