The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การสำรวจทางทะเล การสำรวจทางทะล การสำรวจทางทะเลของยุโรปเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1450-1750 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้ เคียงกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป และต่างก็มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์ยุโรปในยุค ใหม่ กล่าวได้ว่า

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chindamnee, 2021-10-11 08:50:50

การสำรวจทางทะเล การสำรวจทางทะล การสำรวจทางทะเลของยุโรปเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1450-1750 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้ เคียงกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป และต่างก็มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์ยุโรปในยุค ใหม่ กล่าวได้ว่า

การสำรวจทางทะเล การสำรวจทางทะล การสำรวจทางทะเลของยุโรปเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1450-1750 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้ เคียงกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป และต่างก็มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์ยุโรปในยุค ใหม่ กล่าวได้ว่า

การสำรวจทางทะเล

การสำรวจทางทะเล
การสำรวจทางทะล
การสำรวจทางทะเล
ของยุโรปเริ่มต้นเมื่อ
ค.ศ. 1450-1750 ซึ่ง
เกิดขึ้นในช่วงเวลา
ใกล้ เคียงกับยุคฟื้ นฟู
ศิลปวิทยาการของ
ยุโรป และต่างก็มี
บทบาทสำคัญต่อ
ประวัติศาสตร์ยุโรปใน
ยุค ใหม่ กล่าวได้ว่า
การฟื้ นฟูศิลปวิทยา
การเป็ นพื้ นฐานสำคัญ
ทำให้เกิดการสำรวจ
ทางทะเล ซึ่งเป็น ผล
ให้ยุโรปเผยแพร่
วัฒนธรรมของตนไปสู่
ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก

ได้ในเวลาต่อมา
สาเหตุของการสำรวจ

ทางทะเล มีดังนี้

1. การมีวิทยาการที่
ก้าวหน้า ในสมัยฟื้นฟู
ศิลปวิทยาการ ชาว
ยุโรปได้เริ่มหันมาสนใจ
ศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบๆ
ตัว และผลจากการ
ติดต่อกับโลกตะวัน
ออกในสมัยสงครามครู
เสด รวมทั้ง การขยาย
ตัวของเมืองในระยะ
เวลาใกล้เคียงกัน ทำให้
ชาวยุโรปได้สัมผัสกับ
อารยธรรมความเจริญ
ของโลกตะวันออก
หลายอย่าง โดยเฉพาะ

ทางด้านปรัชญา
คณิตศาสตร์ และ

ดาราศาสตร์

ทำให้ ปัญญาชนเริ่มตรวจสอบความรู้ของตนและ
ค้นหาคำตอบให้กับตนเองเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว
ซึ่งผลักดันให้ชาวยุโรปหันมาสนใจต่อความลี้ลับของ
ท้องทะเลที่กั้นระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวัน
ตก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของ

โตเลมี (PTOLEMY) นักดาราศาสตร์และ นัก
คณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงที่ตั้งของทะเล
เมดิเตอร์เรเนียน ดินแดนริมฝั่งทะเลคาบสมุทร ไอ
บีเรีย จนถึงดินแดนฝั่งทะเลตอนเหนือของทวีป

แอฟริกา

รวมทั้งดินแดน
ทางด้านตะวัน
ออกที่ เป็นผืน
แผ่นดินใหญ่ถึง
อินเดียและจีน
นอกจากนี้ความรู้
ในการใช้เข็มทิศ
และการพัฒนารูป
ทรง และขนาด
ของเรือให้แข็ง
แรงทนทานต่อ
สภาพลมฟ้ า
อากาศ สามารถที่
จะเดินทางไกลได้
ดีขึ้น ทำให้ชาติ
ตะวันตกหลั่งไหล
สู่โลกตะวันออก
อย่างกว้างขวาง

2. แรงผลักดันทางด้านการค้า เมื่อพวกมุสลิม
สามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล และ
ดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ทั้งหมดใน
ค.ศ. 1453 ทำให้การค้าทางบกระหว่างโลก

ตะวันออกกับโลกตะวันตกหยุดชะงัก แต่
สินค้าต่างๆ จากตะวันออก เช่น ผ้าไหม
เครื่องเทศยาต่างๆ ยังเป็นที่ต้องการของ
ตลาดตะวันตก ซึ่งหนทางเดียวที่พ่อค้าจะ
ติดต่อค้าขายได้ก็คือ การติดต่อค้าขายทาง
ทะเล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสำรวจเส้นทางทาง
ทะเล เพื่อหาเส้นทางติดต่อกับ ดินแดนต่างๆ

ทางตะวันออก

3. แรงผลักดันทางด้านศาสนา เนื่องจาก
ความคิดของผู้นำชาติต่างๆ ในขณะนั้น
เห็น ว่าการเผยแผ่คริสต์ศาสนาเป็นกุศล
อย่างมาก รวม ทั้งต้องการแข่งขันกับ
ชาวมุสลิมที่เข้ามาขยาย อิทธิพลอยู่ใน
ขณะนั้น จึงสนับสนุนให้มีการค้นหาดิน
แดนใหม่ๆ และเผยแผ่คริสต์ศาสนาไป

พร้อมกันด้วย

4. อิทธิพลของแนวคิดในสมัยฟื้ นฟูศิลปวิทยาการ
แนวความคิดในสมัยฟื้ นฟูศิลปวิทยา การ ทำให้
ชาวยุโรปมุ่งหวังที่จะสร้างชื่อเสียงเกียรติยศและ
ความต้องการที่จะเสี่ยงโชคเพื่อชีวิต ที่ดีกว่า ผลัก
ดันให้ชาวยุโรปเกิดความกล้าหาญที่จะเผชิญกับ
สิ่งต่างๆ รวมทั้งความกระตือรือร้น ที่จะแสวงหา

ความรู้ใหม่ๆ และรักการผจญภัย เป็นปัจจัย
สำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปกล้าเสี่ยงภัยเดิน

ทางสำรวจมหาสมุทรที่
กว้างใหญ่ไพศาล

บทบาทของชาติต่างๆ
ในการสำรวจทางทะเล

โปรตุเกส
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
เจ้าชายเฮนรี นาวิกราช

(HENRY THE
NAVIGATOR) พระ
อนุชาของพระเจ้าจอห์
นที่ 1 (JOHN I) แห่ง
โปรตุเกส ได้จัดตั้ง
โรงเรียนราชนาวีเพื่อ
เป็น ศูนย์กลางการ
เรียนรู้เกี่ยวกับการเดิน

ทางทะเล การใช้
เครื่องมือและเทคนิค
การสร้างเรือ ซึ่งส่งผล

ให้ชาว โปรตุเกส
สามารถค้นพบเส้นทาง
เดินเรือสู่ดินแดนทาง

ตะวันออก ได้แก่

อเมริโก เวสปุชชิ นักเดินเรือ
ชาวอิตาลี ได้ออกเดินเรือไป

สำรวจฝั่งของดินแดนที่
โคลัมบัสเคยได้สำรวจมาก่อน
หน้ าหนึ่งแล้ว และสำรวจเลย

ลงไปทางตอนใต้ โดยในปี
ค.ศ. 1497 เขาสำรวจฝั่งของ
เวเนซูเอลาให้แก่สเปน และใน
ปี ค.ศ. 1502 ได้สำรวจอ่าวริ
โอเดจาเนโรให้โปรตุเกส การ
ออกสำรวจของอเมริโกเวสปุช
ชิทำให้เขาเกิดความเชื่อแน่ว่า

ดินแดนที่โคลัมบัสพบ

และที่เขาสำรวจอยู่นี้มิได้เป็ นดินแดนของภาคตะวันออก
แต่อย่างใด หากเป็นดินแดนของโลกใหม่ทีเดียว มัน
เหมาะที่จะเรียกดินแดน ส่วนนี้ว่าโลกใหม่ อเมริโก
เขียนจดหมายบอกเล่าไปยังเพื่อนคนหนึ่ง จดหมาย

จำนวนนับหลายสิบฉบับที่เขาเขียนไปยังเหล่าเพื่อนของ
เขานั้นเล่าถึงเรื่องการออกสำรวจของเขานั้นได้ถูกตีพิมพ์
และอ่านกันแพร่หลายในยุโรป ทำให้คนทั้งหลายเชื่อว่าอ
เมริโกได้ค้นพบผืนแผ่นดินใหม่ และได้เริ่มเรียกว่า ดิน

แดนของอเมริโก"

เจมส์ คุก (อังกฤษ: James Cook; 27
ตุลาคม ค.ศ. 1728 - 14 กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1779) เป็นนักสำรวจและนักเดิน

เรือชาวอังกฤษ และยังเป็นนักทำ
แผนที่อีกด้วย เขาได้เดินทางไปยัง
มหาสมุทรแปซิฟิกสามครั้ง ซึ่งก็ได้ทำ
แผนที่แนวชายฝั่งไว้ส่วนใหญ่ กัปตัน
เจมส์ คุก เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้เข้ามา

สำรวจประเทศออสเตรเลีย

และยึดออสเตรเลียเป็ นอาณานิคมของอังกฤษ
เป็ นผู้ค้นพบเกาะฮาวายนอกจากนี้เขายังเป็ น

ผู้คนพบเกาะอีกหลายแห่ง เช่น เกาะนิวซิ
แลนด์ เป็นต้น เจมส์ คุก ถูกฆ่าตายระหว่าง
การต่อสู้กับชนพื้นเมืองฮาวาย ที่อ่าวเกียลาคี

กัว เกาะฮาวายในปี ค.ศ. 1779[1]

– บาร์โธโลมิว ไดแอส
(BARTHOLOMEU
DIAS) สามารถเดิน
เรือเลียบชายฝั่งทวีป
แอฟริกาผ่านแหลม
กู๊ดโฮป (CAPE OF
GOOD HOPE) ได้
สำเร็จใน ค.ศ. 1488

– วัสโก ดา กามา (VASCO
DA GAMA) แล่นเรือตาม เส้น

ทางสำรวจของไดแอสจนถึง
ทวีปเอเชีย และสามารถขึ้นฝั่ง

ที่เมืองกาลิกัต (CALICUT)
ของอินเดียได้เมื่อ ค.ศ. 1498
ต่อมา ชาวโปรตุเกสสามารถ
ควบคุมเมืองต่างๆ ทางชายฝั่ง
ตะวันออก ของทวีปแอฟริกา
และอินเดียทางชายฝั่งตะวัน

ตก สามารถยึด เมืองกัว
(GOA) ในมหาสมุทรอินเดีย

ได้
สเปน

ค.ศ. 1492 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
(CHRISTOPHER COLUMBUS)
ชาวเมืองเจนัว (ประเทศอิตาลี) ซึ่งมี

ความเชื่อว่าโลกกลม ได้รับ การ
สนับสนุนจากกษัตริย์สเปนให้เดินทาง

ข้าม มหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อ
สำรวจเส้นทางเดินเรือ ไปประเทศจีน
แต่เขาได้พบหมู่เกาะเวสต์อินดีสซึ่ง
เป็ นส่วนหนึ่ งของทวีปอเมริกาใต้โดย
บังเอิญใน ค.ศ. 1492 ซึ่งทำให้สเปน

ได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ ใน
อเมริกาใต้ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่เงิน

และทองคำ ในเวลาต่อมา

คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นช่วง
การแข่งขันอำนาจทางทะเล
ระหว่างโปรตุเกสและสเปนเพื่อ
หาเส้นทางไปหมู่เกาะอีสต์อิน
ดีส (EAST INDIES) ซึ่งเป็น
แหล่งเครื่องเทศและพริกไทย
ใน ค.ศ. 1494 สันตะปาปาอ

เล็กซานเดอร์ที่ 6
(ALEXANDER VI) ได้ให้
สเปนและโปรตุเกสทำสนธิ
สัญญา ทอร์เดซียัส (TREATY
OF TORDESILLAS) กำหนด
เส้นสมมติแบ่งโลกออกเป็น 2
ส่วน โดยสเปนมีสิทธิ สำรวจ
และยึดครองดินแดนทางด้าน
ตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่
51 ส่วนโปรตุเกสได้สิทธิทาง
ด้านตะวันออกและนำไปสู่การ
สร้างจักรวรรดิทางทะเลของ

โปรตุเกสในเอเชีย

ในคริตส์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกส
ได้ขยายอำนาจมาจนถึงเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้และเข้า ยึด
ครองมะละกา ทำให้บริเวณ
คาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะ
อินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้อิทธิพล
ของ โปรตุเกส

ค.ศ. 1519 เฟอร์ดินันด์ แมกเจล
ลัน (FERDINAND

MAGELLAN) นักเดินเรือชาว
โปรตุเกส โดยความสนับสนุนจาก
กษัตริย์สเปน ได้เดินทางไปทาง

ทิศตะวันตกของมหาสมุทร
แอตแลนติกผ่านช่องแคบที่ภาย
หลังตั้งชื่อว่าแมกเจลลันทางตอน

ใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ข้าม
มหาสมุทรแปซิฟิก มายังทวีป
เอเชีย เขาถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตาย
เมื่อพยายามเผยแผ่คริสต์ศาสนา

ที่เกาะฟิ ลิปปิ นส์

แต่ ลูกเรือของเขาสามารถเดินทางกลับสเปนทาง
มหาสมุทรอินเดียได้สำเร็จใน ค.ศ. 1522 นับเป็น

เรือ ลำแรกที่แล่นรอบโลกได้สำเร็จในยุคนี้
โปรตุเกสและสเปนกลายเป็นชาติที่มีอำนาจ มี
ความมั่งคั่ง ทำให้หลายชาติทำการ สำรวจเส้นทาง
เดินเรือ การแข่งขันอำนาจทางทะเลระหว่าง
โปรตุเกสกับสเปนยุติลงเมื่อโปรตุเกส ตกอยู่ภาย
ใต้การปกครองของสเปนในช่วง ค.ศ. 1580-1640

ฮอลันดา
เดิมฮอลันดาเคยอยู่ใต้การ
ปกครองของสเปน และทำ
หน้ าที่เป็นพ่อค้าคนกลางใน
การค้า เครื่องเทศ จนกระทั่ง
ค.ศ. 1581 ได้แยกตัวเป็น
อิสระจากสเปน ทำให้สเปน
ประกาศปิดท่าเรือ ลิสบอนส่ง
ผลให้ฮอลันดาไม่สามารถซื้อ
เครื่องเทศได้อีก ฮอลันดาจึง
ต้องหาเส้นทางทางทะเลเพื่อ
ซื้อเครื่องเทศโดยตรง ใน
ที่สุดกองทัพเรือของฮอลันดา
ก็สามารถยึดครองอำนาจทาง
ทะเลใน ค.ศ. 1598 และได้
จัดตั้งสถานีการค้าในเกาะ
ชวา และจัดตั้งบริษัทอินเดีย
ตะวันออกของฮอลันดา เพื่อ
ควบคุมการค้าเครื่องเทศ

5. ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปในดินแดนต่างๆ ที่ชาวยุโรปเข้าไป
ติดต่อค้าขาย หรือ ดินแดนที่ยุโรปได้เข้ายึดครองจัดตั้งเป็น
อาณานิคม ในบางแห่งใช้แบบสันติวิธี โดยบาทหลวงจะทำ
หน้ าที่สั่งสอนให้การศึกษากับชาวพื้นเมืองและช่วย เหลือด้าน

มนุษยธรรม ในบางแห่งใช้วิธีการรุนแรงบีบ บังคับคนพื้นเมือง
ในบริเวณอเมริกากลางและ อเมริกาใต้ ให้มาเข้ารีตนับถือคริสต์

ศาสนา ทำให้ ศาสนาคริสต์เจริญอย่างมั่นคงในดินแดนทวีป
อเมริกา และดินแดนต่างๆ

6. การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของยุโรป การขยาย
ตัวทางการค้าทำให้ สมาคมอาชีพ (GUILD) ที่มีมาตั้งแต่

สมัยกลางล่มสลายลง การค้นพบดินแดนใหม่ส่งผล
ให้การค้า ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การปฏิวัติ
ทางการค้า ประเทศต่างๆ ในตะวันตกต่างใช้นโยบาย
แข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นหลัก บรรดาพ่อค้าและนายทุน
รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทโดยมีกษัตริย์ให้ nการสนับสนุน
ทำการค้าในนามของประเทศ เช่น บริษัทอินเดียตะวัน
ออกของอังกฤษ บริษัท อินเดียตะวันออกของฮอลันดา
เป็นต้น ซึ่งทำให้บรรดาพ่อค้าและนายทุนมีฐานะมั่นคง
และกลาย เป็นบุคคลชั้นนำทางการเมืองการปกครอง

เศรษฐกิจ และสังคมในเวลาต่อมา

จัดทำโดย

นาย ณัฐวุฒิ เฉื่อยรัมย์

นางสาว จินดามณี เล็กศิริรัมย์

นางสาว วันนิสา คำสะรัมย์

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6/2


Click to View FlipBook Version