คู่มือ
งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
ฝ่ายวิชาการ
วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์
เลขที่ ๕๕ หมู่ ๙ ตำบลคานหาม อำเภออุทัย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รหัสไปษณีย์ ๑๓๒๑๐
สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษษภาคกลาง๑
ความหมายการจัดการอาชีวศึกษา
ระบบทวิภาคี
สำนักงานโครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี กรมอาชีวศึกษา (2541, หน้า 2) ได้ให้ความหมายไว้
ว่า การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (Dual Vocational Training หรือ DVT) คือการจัดการ
ศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือกันของสองฝ่าย จึงเป็นรูปแบบของการจัดอาชีวศึกษา ที่อยู่ในลักษณะของ
ความร่วมมือในที่นี้คือ เป็นลักษณะสองฝ่าย ระหว่างสถานประกอบการและสถานศึกษาร่วมกันฝึก
พนักงานให้มีคุณภาพ สองสถานที่โรงงาน (เน้นในการฝึกทักษะ) และในชั้นเรียน (เน้นในการเรียนด้าน
ทฤษฎี) เพื่อสองวัตถุประสงค์ ได้ฝึกงานที่เกี่ยวข้องกับทักษะและได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
เฉลิมศักดิ์ นามเชียงใต้ (2541, หน้า 9) ได้ให้ความหมายการจัดการอาชีวศึกษาระบบ ทวิภาคี
เป็นการจัดระบบคู่ ดำเนินการฝึกอาชีพให้แก่เยาวชนของชาติ โดยความร่วมมือของสถานศึกษาและ
สถานประกอบการ
ไอมูว (iMOVE, 2002, p.27) กล่าวว่า การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดฝึกสอง แห่ง
ควบคู่กัน คือ ในสถานประกอบการที่ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพที่จะเรียนรู้ภาคปฏิบัติ และสถานศึกษา
สำหรับภาคทฤษฎี
สงวน บุญปิยทัศน์ (2544, หน้า 11) ได้กล่าวว่า การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการร่วมกัน
ระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ร่วมกันทำกิจกรรม การรับนักเรียน เพื่อจะฝึกร่วมกัน และ
เป็นนักเรียนสองเรื่องในตัวคนเดียวกัน คือเป็นทั้งนักเรียนและช่างฝึกอาชีพหรือพนักงานของสถาน
ประกอบการ
ขณะที่ มันน์ (Mann, 1999, p. 6) ได้กล่าวว่า การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี คือ การเป็น
เจ้าของร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและสถานศึกษา ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ร่วมโครงการที่ เท่าเทียมกัน มี
การแบ่งอำนาจและความรับผิดชอบในการจัดการ การสนับสนุน ส่งเสริมของทั้งสองฝ่ายมีความสำคัญ
เท่าเทียมกัน
จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี หมายถึง การจัดการ
เรียนกสารถสิอตนิทกางาด้ารนอตาชลีวศาึกดษา เป็นความร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ โดย
สถานศึกษาจะสอนในภาคทฤษฎีและสถานประกอบการจะสอนภาคปฏิบัติ