The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลยภาพของตลาด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kotchamon191, 2022-05-14 08:43:05

บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน และภาวดุลยภาพของตลาด

บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน และภาวะดุลยภาพของตลาด

0

วชิ าหลกั เศรษฐศาสตร์ รหสั วชิ า 30200-1001

หน่วยท่ี 2 เรื่องอปุ สงค์ อุปทาน และภาวะดลุ ยภาพของตลาด

จดั ทำโดย
นางกชมน เอียดแกว้
บธ.ม. (การจัดการโลจสิ ตกิ ส์และโซ่อุปทาน)

หน่วยท่ี 2 1

ช่อื หนว่ ย อุปสงค์ อปุ ทาน และภาวะดลุ ยภาพของตลาด จำนวน 3 ช่วั โมง

สาระสำคัญ
ในระบบเศรษฐกิจท่ีมีการแข่งขัน กลไกราคาหรือระบบตลาดจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคา

และปริมาณการซื้อขายสินค้าและบริการ ซ่ึงเกิดข้ึนจากความต้องการซ้ือของผู้บริโภคหรืออุปสงค์ และการ
เสนอขายจากผผู้ ลิตหรอื อปุ ทาน

โดยทั้งอุปสงค์และอุปทานมกี ารเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยที่กำหนด และมีการปรับตัวเข้าหาจุดสมดุล
หรือจุดดลุ ยภาพในท่ีสดุ
จุดประสงคก์ ารเรียนรู้

1. อธิบายความหมาย ชนิดของอุปสงค์ ตวั กำหนดอุปสงค์ และกฎของอปุ สงคแ์ ละเสน้ อุปสงค์ได้
2. อธบิ ายการเปลี่ยนแปลงปรมิ าณซื้อและการเปลยี่ นแปลงอุปสงค์ได้
3. อธิบายความหมายของอุปทาน ตัวกำหนดอปุ ทาน และกฎของอปุ ทานและเส้นอปุ ทานได้
4. อธิบายการเปลย่ี นแปลงปริมาณขายและการเปลี่ยนแปลงอุปทานได้
5. อธบิ ายดุลยภาพของตลาดและการเปลี่ยนแปลงของดุลยภาพตลาดได้

สมรรถนะประจำหน่วย
1. แสดงความร้เู ก่ยี วกบั การเปล่ยี นแปลงอปุ สงค์
2. แสดงความร้เู ก่ียวกบั การเปล่ยี นแปลงอุปทาน

สาระการเรยี นรู้
1. อปุ สงค์
2. การเปลี่ยนแปลงปรมิ าณซอื้ และการเปล่ียนแปลงอปุ สงค์
3. อปุ ทาน
4. การเปลยี่ นแปลงปรมิ าณขายและการเปลีย่ นแปลงอปุ ทาน
5. ดุลยภาพของตลาดและการเปล่ียนแปลงของดลุ ยภาพตลาด

2

1. ความหมายและชนิดของอปุ สงค์

อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งท่ีผู้บริโภคมีความ
ต้องการซื้อในระยะเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่าง ๆ ของสินค้าและบริการนั้นคำว่า “ความต้องการซื้อ”
ที่ปรากฏในความหมายข้างต้นไม่ได้ หมายถึง ความต้องการธรรมดา (Want) แต่เป็นความต้องการท่ีมีอำนาจ
ซ้ือ (Purchasing Power) กำกับอยู่ด้วย คือ ผู้บริโภคจะต้องมีเงินเพียงพอท่ีจะจ่ายซ้ือสินค้าและบริการน้ัน ๆ
ได้ เช่น นายนภดลต้องการซ้ือเครื่องเสียงติดรถยนต์ และนายนภดลมีเงินเพียงพอท่ีจะซ้ือเครื่องเสียงน้ัน
ความต้องการของนายนภดลน้ีเป็นส่ิงที่นายนภดลสามารถทำให้เป็นจริงข้ึนได้ จึงถือว่าเป็นอุปสงค์ ในกรณี
ตรงข้าม หากนายนภดลไม่มีเงินที่จะจ่ายซื้อเคร่ืองเสียงความต้องการท่ีปราศจากอำนาจซ้ือน้ีจะไม่ถือว่าเป็น
อปุ สงค์

2. ปจั จยั ที่เป็นตวั กำหนดอปุ สงค์

ตัวกำหนดอุปสงค์ หมายถึง ตัวแปร (Variable) หรือปัจจัยต่าง ๆ ท่ีมีอิทธิพลต่อปริมาณ
สินค้าท่ีผู้บริโภคมีความต้องการท่ีจะซ้ือ (Quantity Demanded) ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อปริมาณซื้อมาก
น้อยไม่เท่ากนั ทงั้ นขี้ ึน้ อยกู่ บั พฤตกิ รรมของผู้บรโิ ภคแตล่ ะคน และกาลเวลา ปจั จยั ต่าง ๆ มีดงั ตอ่ ไปนี้

1. ราคาของสินค้า ด้วยเหตุที่ผู้บริโภคมีรายได้จำกัด เม่ือราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น
ปรมิ าณซือ้ จะมีน้อยลง แตถ่ า้ ราคาสนิ คา้ และบริการลดตํา่ ลง ปริมาณซือ้ จะมมี ากข้ึน

2. ราคาของสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามปกติความตอ้ งการของผู้บริโภคอาจถูกตอบสนอง
ได้ด้วยสินค้าหลายชนิด ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคก็จะซื้อสินค้าชนิดน้ันน้อยลง และหันไปซื้อ
สินค้าอีกชนิดที่ใช้ทดแทนกันได้ เชน่ เนอื้ หมกู ับเน้ือไก่ ผักบุ้งกับผักคะน้า เป็นสินค้าท่ีสามารถใช้ทดแทนกันได้
เม่ือราคาผักคะน้าสูงข้ึนในขณะท่ีราคาผักบุ้งไม่เปล่ียนแปลง ผู้บริโภคอาจจะบริโภคผักบุ้งเพ่ิมข้ึนโดยลดการ
บริโภคผักคะน้าลง ทำให้ปริมาณซ้ือเปลี่ยนแปลง สำหรับกรณีของสินค้าที่ต้องใช้ประกอบกัน เช่น กาแฟกับ
น้าํ ตาล รถยนตก์ บั นํา้ มัน เปน็ ตน้ เมือ่ ผบู้ ริโภคต้องการบรโิ ภคกาแฟมากขึน้ กต็ ้องบรโิ ภคนำ้ ตาลเพิ่มข้นึ

3. รายได้เฉล่ียของผู้บริโภค โดยทั่วไปเมื่อประชากรมีรายได้เฉล่ียสูง ความต้องการสินค้า
และบริการจะเปลี่ยนไป กล่าวคือ มักจะลดการบริโภคสินค้าด้อย (Inferior Goods) ขณะเดียวกันก็หันไป
บริโภคสนิ ค้าปกติ (Normal Goods) มากข้ึน

4. รสนิยมของผู้บริโภค ปัจจัยที่กำหนดรสนิยมของผู้บริโภค ได้แก่ อายุ เพศ ค่านิยม
การศึกษา แฟช่ัน และอิทธิพลการโฆษณา เมื่อใดก็ตามท่ีรสนิยมของผู้บริโภคเกิดการเปล่ียนแปลงจะทำให้
ปริมาณซื้อสินค้าและบริการเปล่ียนแปลงไปด้วย กล่าวคือ สินค้าและบริการใดเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ใน
สังคมจะทำให้ปริมาณซ้ือสินคา้ และบรกิ ารชนิดนนั้ เพ่มิ ขึน้ ในทางตรงขา้ ม ปริมาณซือ้ สินคา้ และบริการชนิดนั้น
จะลดลงเมื่อมีผู้นิยมน้อยลง เช่น เสอ้ื ผ้า ภาพยนตร์ เทปเพลง รถยนต์ รองเท้า เป็นต้น ด้วยเหตุน้ี หน่วยธุรกิจ
จงึ ยอมทุ่มเงนิ จำนวนมหาศาลในการโฆษณาเพ่ือหวังผลในการเปล่ียนแปลงหรอื รักษารสนยิ มของผบู้ ริโภค

3

5. จำนวนประชากร ตามปกติเม่ือประชากรเพิ่มจำนวนมากข้ึน ความต้องการสินค้าและ
บริการจะเพ่ิมสูงขึ้นตามไปด้วย โดยมีข้อแม้วา่ ประชากรเหล่าน้ีจะต้องมีอำนาจซื้อด้วย จงึ จะสามารถซ้ือสินค้า
และบรกิ ารได้มากขึน้

6. การคาดคะเนของผู้บริโภค นอกจากผู้บริโภคจะดูราคาปัจจุบันแล้ว ยังคาดคะเนราคาใน
อนาคตด้วย เช่น ราคาน้ํามันจะเพิ่มข้ึนในวันพรุ่งนี้ ผู้ใช้รถยนต์จะรีบนำรถไปเติมน้ํามันในวันน้ีเพื่อประหยัด
คา่ ใช้จ่าย ในทางตรงข้าม ถ้าคาดว่าราคาในอนาคตจะลดลง ผู้บรโิ ภคจะชะลอการซื้อ อุปสงค์ในปัจจุบันลดลง
หรือเคลอ่ื นไปทางซ้ายมอื ท้ังเสน้

7. สภาพดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาล การเปล่ียนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาลส่งผล
ต่อปริมาณซื้อสินค้าและบริการตามไปด้วย เช่น ในฤดูหนาวปริมาณซ้ือเครื่องนุ่งห่มกันหนาวจะเพ่ิมมากข้ึน
หรือในฤดูร้อนปริมาณการซื้อเครื่องปรบั อากาศ พัดลม ไอศกรมี เปน็ ตน้ จะมมี ากข้นึ

นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อปริมาณอุปสงค์ของ
สินค้าและบริการ เช่น ระดับการศึกษา การโฆษณา และการเลียนแบบ เป็นต้น แต่การศึกษาอุปสงค์ในทาง
เศรษฐศาสตร์มักจะอธิบายเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณซ้ือสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งกับ ราคา
สินค้าและบริการชนิดน้ันเท่าน้ัน โดยกำหนดให้ปัจจัยท่ีเป็นตัวกำหนดอุปสงค์อื่น ๆ อยู่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
เพื่อให้งา่ ยและสะดวกแก่การหาความสัมพนั ธ์

3. กฎของอุปสงคแ์ ละเส้นอปุ สงค์
กฎของอุปสงค์ (Law of Demand) อธิบายไว้ว่า “เม่ือกำหนดให้ปัจจัยอ่ืน ๆ คงท่ี ปริมาณของ

สินค้าและบริการชนิดใดชนิดหน่ึงท่ีผู้บริโภคต้องการซ้ือยอ่ มเปล่ยี นแปลงในทางตรงกันข้ามกับราคาของสินค้า
และบรกิ ารชนดิ น้ันเสมอ” หมายความว่า เม่อื ราคาสินค้าสูงข้ึน ผบู้ ริโภคจะซื้อสินค้าชนดิ นัน้ ในปริมาณน้อยลง
และเม่อื ราคาลดลงผู้บริโภคจะซอ้ื สนิ คา้ ในปรมิ าณมากข้นึ ทง้ั น้ีโดยสมมตใิ หป้ จั จัยอืน่ ๆ คงท่ี

ความสัมพันธ์ระหวา่ งราคากับปริมาณสินค้า นอกจากแสดงเป็นฟังก์ชันอุปสงค์แลว้ ยังอาจแสดงไดใ้ น
รูปสมการอุปสงค์ ตารางอปุ สงค์ และเสน้ อุปสงค์ ได้ดงั นี้

สมการอุปสงค์ คือ การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณซ้ือในรูปของสมการ ซึ่งอาจเป็น
สมการเส้นตรงหรือเส้นโค้ง แต่ส่วนมากเป็นสมการเส้นตรง เช่น Qd = 10 – 2P จากสมการอุปสงค์ ดังกล่าว
สามารถสรา้ งเป็นตารางอุปสงค์ โดยสมมติคา่ ตา่ งๆ ของ P แลว้ คำนวณค่า Q ได้ ดงั ตาราง

4

ตาราง แสดงปรมิ าณซื้อเงาะของผู้บริโภคคนหนงึ่ ณ ระดบั ราคาต่างๆ

ราคาต่อหนว่ ย (บาท) ปริมาณซอ้ื (กก.)
5 0
4 2
3 4
2 6
1 8

จากตาราง แสดงความสัมพนั ธร์ ะหว่างราคาต่อหนว่ ยกับปริมาณเงาะท่ผี ู้บรโิ ภคต้องการซ้อื ใน
ระยะเวลาหน่ึง จากตัวเลขท้ังหมดในตารางสามารถแสดงเป็นรูปกราฟเส้นได้ด้วย การหาจุดต่าง ๆ บนกราฟ
แต่ละจุดจะแทนด้วยราคาเงาะระดับหน่ึงกับปริมาณเงาะท่ีตรงคู่กัน เมื่อลากเส้นเชื่อมจุดเหล่าน้ีแล้วจะได้เส้น
อปุ สงคข์ องเงาะ (D) เสน้ อุปสงคม์ ีลกั ษณะทอดตํา่ ลงจากซา้ ยมาขวา และมคี า่ ความชนั เปน็ ลบ ดงั รปู

ลกั ษณะของเสน้ อุปสงค์ (Demand Curve)

4. อปุ สงค์รายบุคคลและอุปสงคข์ องตลาด

เส้นอุปสงค์ยงั สามารถแบง่ ออกไดเ้ ปน็ 2 ประเภท คือ
1. อุปสงค์รายบุคคล (individual demand) คือ เป็นปริมาณความต้องการซ้ือสินค้าชนิดใด
ชนิดหนึง่ ของผูบ้ รโิ ภครายใดรายหนง่ึ ณ ระดบั ราคาตา่ ง ๆ ในชว่ งเวลาหน่งึ
2. อุปสงค์ของตลาด (market demand) เป็นปริมาณความต้องการรวมของผู้บริโภคทุกราย
ในตลาด

5

ในท่ีน้ีจะได้กล่าวถึงอุปสงค์รายบุคคลและอุปสงค์ของตลาด เนื่องจากปริมาณสินค้าแต่ละ
ชนิดท่ีผู้บริโภคแต่ละคนซื้อ (individual demand) ณ ระดับราคาต่าง ๆ เมื่อรวมกันจะเท่ากับปริมาณซื้อ
รวมณ ระดับราคานั้น ๆ ดังน้ัน อุปสงค์ของตลาด (market demand) สำหรับสินค้าชนิดใด จึงหาได้จากการ
รวมอุปสงคส์ ำหรับสนิ ค้าชนดิ นน้ั ของผู้บริโภคแตล่ ะคน ดงั ตาราง

ตาราง แสดงอปุ สงคข์ องบุคคลและอปุ สงคข์ องตลาดนำ้ ผลไม้

ราคา ปริมาณซือ้ ปรมิ าณซื้อ ปริมาณซื้อ ปรมิ าณซอื้
(บาท/ขวด)
ของนาย ก (ขวด) ของนาย ข (ขวด) ของนาย ค (ขวด) ของตลาด (ขวด)
0
1 7 5 4 16
2
3 5 3 2 10
4
3205

2002

0000

จากตาราง การหาอุปสงค์ของตลาดนํ้าผลไม้ชนิดหนึ่ง สมมติว่าในตลาดน้ีมีผู้ซื้อเพียง 3 ราย
คือ นาย ก นาย ข และนาย ค วิธกี ารคือ รวมปริมาณซ้ือของคนท้ัง 3 ในแต่ละระดบั ราคา ผลรวมของปริมาณ
ซ้ือของตลาด ณ ราคาน้ัน เมื่อได้ปริมาณของตลาด ณ ทุกระดับราคาแล้ว ก็นำตัวเลขเหล่านั้นไปหาจุดบน
กราฟลากเส้นเชอื่ มจดุ เหล่านเี้ ข้าดว้ ยกัน เส้นทเ่ี กดิ ขึน้ คอื เส้นอปุ สงคข์ องตลาดนํา้ ผลไมช้ นดิ น้ัน ดังรูป

แสดงการหาเสน้ อุปสงค์ของตลาดจากเส้นอปุ สงค์ของบุคคล

6

5. การเปลีย่ นแปลงปรมิ าณซอ้ื

การเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อ (Change in Quantity Demand) เป็นการเปลี่ยนแปลงปรมิ าณ
อุปสงค์บนเส้นอุปสงค์เดียวกัน หมายถึง การที่ตัวกำหนดโดยตรงคือราคาสินค้าได้เปล่ียนแปลงไปอันมีผลทำ
ให้ปริมาณซ้ือเปล่ียนแปลงไปด้วยตามกฎของอุปสงค์ส่วนตัวกำ หนดโดยอ้อมท้ังหลายสมมติว่าอยู่คงท่ี
การเปล่ียนแปลงปริมาณซ้ือจึงเป็นการย้ายตำแหน่งจากจุดหน่ึงไปยังอีกจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์เดิม เช่น เมื่อ
กำหนดให้ส่ิงอื่นคงท่ี หากรถโดยสาร ขสมก. เพิ่มค่าโดยสารขึ้นการใช้บริการรถโดยสาร ขสมก. จะลดลง
ซ่งึ เปน็ การวเิ คราะห์ภายในเส้นอปุ สงค์ (Move Along the Demand Curve) ดังรูป

แสดงการเปลย่ี นแปลงปริมาณซ้อื

จากรูป สมมติว่าเดิมค่าโดยสารอยู่ ณ ระดับ P1 บาท ปริมาณการใช้บริการจะเท่ากับ Q1 หน่วย
ต่อมาราคาค่าโดยสารเพ่ิมขึ้นไปอยู่ที่ P2 บาท ปริมาณการใช้บริการจะลดลงเป็น Q2 หน่วย ซ่ึงจะเห็นได้ว่ามี
การเคล่อื นยา้ ยจากจดุ a ไปยังจุด b บนเสน้ อุปสงคเ์ ส้นเดมิ

6. การเปล่ยี นแปลงอุปสงค์

การเปล่ียนแปลงอุปสงค์ (Change In Demand) เป็นการเปล่ียนย้ายของเส้นอุปสงค์ไปท้ังเส้น
หมายถึง การท่ีตัวกำหนดอุปสงค์โดยอ้อม เช่น รายได้ รสนิยม ราคาของสินค้าอื่น เป็นต้น ตัวใดตัวหน่ึงหรือ
หลายตัวเปล่ียนแปลงไปและมีผลทำให้ปริมาณซ้ือเพิ่มขึ้นหรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม เช่น อุปสงค์ต่อการใช้
บริการรถโดยสาร ขสมก. จะเพิ่มขึ้นถ้าค่าโดยสารของรถแท็กซี่เพิ่มข้ึน หรือรายได้เฉลี่ยของประชาชนลดลง
ในทางตรงข้าม อุปสงค์ต่อการใช้บริการรถโดยสาร ขสมก. ลดลง ถ้ารายได้เฉลี่ยของประชาชนเพิ่มขึ้น หรือมี
การลดคา่ โดยสารของรถแทก็ ซีล่ ง หรอื มเี หตกุ ารณ์จผี้ ูโ้ ดยสารบนรถแทก็ ซ่ีลดลง เปน็ ตน้

จากเหตุการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการใช้บริการรถโดยสาร ขสมก. จะเพ่ิมขึ้นหรือลดลง ทั้ง ๆ ที่
ราคาค่าโดยสารยังคงเดิม ในกรณีเช่นน้ีจะทำให้มีการเคล่ือนย้ายของเส้นอุปสงค์ของรถโดยสาร ขสมก. ไปทั้ง
เส้นโดยจะย้ายไปอยู่ทางขวาหรือทางซ้ายของเส้นเดิมขึ้นอยู่กับตัวกำหนดอุปสงค์โดยอ้อมที่เปล่ียนแปลงไป

7
ทำให้การใช้บรกิ ารรถโดยสารเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิม ณ ราคาเดิม กล่าวคือ ถา้ ทำใหป้ ริมาณซอ้ื เพิม่ ขนึ้ หรือ
อุปสงค์เพ่ิมข้ึน (Increase in Demand) เส้นอุปสงค์จะย้ายไปอยู่ทางขวาของเส้นเดิม ในทางตรงข้ามถ้าทำให้
ปริมาณซ้ือลดลงหรืออุปสงค์ลดลง (Decrease in Demand) เส้นอุปสงค์จะย้ายไปอยู่ทางซ้ายของเส้นเดิม
ดังรูป

แสดงการเปลีย่ นแปลงอปุ สงค์

จากรูป สมมติว่าสินค้าชนิดหนึ่งที่กำลังพิจารณาอยู่ คือ การใช้บริการรถโดยสาร ขสมก. และเส้น
อุปสงค์ของการใช้บริการรถโดยสาร ขสมก. คือ เส้น D1 ต่อมาถ้าค่าบริการรถแท็กซี่ ซึ่งเป็นราคาของสินค้า
ชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องแพงข้ึน โดยที่ค่าบริการรถโดยสาร ขสมก. ไม่เปลี่ยนแปลง จะมีผลทำให้อุปสงค์ของการใช้
บริการรถโดยสาร ขสมก. เพิ่มขึ้น กล่าวคือ เส้นอุปสงค์ของการใช้บริการรถโดยสาร ขสมก. เดิม D1 ย้ายไป
ทางขวามือของเส้นอุปสงค์ใหม่ คือ D2 ทั้งน้ีเน่ืองจากการใช้บริการรถโดยสาร ขสมก.และการใช้บริการรถ
แท็กซี่เป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ ดังนั้น ถ้าค่าบรกิ ารรถแท็กซ่ีเพ่ิมขึ้น ผู้บริโภคจะหันไปใช้บริการรถโดยสาร
ขสมก. แทน ในทางตรงข้าม ถ้าค่าบริการรถแท็กซี่ลดลง ปริมาณการใช้บริการรถโดยสาร ขสมก.จะลดลง
เสน้ อุปสงค์ของการใช้บริการโดยสาร ขสมก. จะย้ายไปทางซา้ ยมือของเสน้ อุปสงคเ์ สน้ เดิม

8

7. ความหมายของอปุ ทาน

อุปทาน (Supply) คือ ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งท่ีผู้ผลิตพร้อมที่จะ
เสนอหรือผลิตออกขาย ณ ระดบั ราคาต่าง ๆ กันภายในระยะเวลาทกี่ ำหนด

8. ปัจจยั ทเี่ ปน็ ตัวกำหนดอุปทาน

ตวั กำหนดอุปทาน หมายถึง ตัวแปรหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอทิ ธิพลต่อจำนวนสินคา้ และบริการ
ซึ่งผู้ผลิตต้องการที่จะผลิตออกขาย ปัจจัยเหล่านจี้ ะมีอทิ ธิพลต่อปรมิ าณขายมากน้อยไม่เทา่ กนั ซึ่งปัจจัยตา่ ง ๆ
เหล่านี้ มีหลายอยา่ งแยกพจิ ารณาไดด้ ังน้ี

1. ราคาของสินค้าน้นั โดยทว่ั ไปถ้าราคาสนิ ค้าและบริการสูงขนึ้ ผู้ผลิตยนิ ดที ี่จะผลิตมากข้ึน
แต่ถา้ ราคาสนิ คา้ และบริการลดลง ผูผ้ ลติ กจ็ ะลดปริมาณการผลิตลง

2. ราคาของสินค้าชนิดอ่ืนที่เกี่ยวข้อง เม่ือสินค้าและบริการชนิดหนึ่งมีราคาสูงข้ึนย่อจูงใจ
ให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าและบริการชนิดน้ันเพ่ิมมากขึ้น ท้ังนี้เพราะผู้ผลิตต่างก็หวังกำไรเป็นสำคัญ เช่น
การผลิตในด้านเกษตรกรรม เมื่อราคาของพืชไรบ่ างชนิดสูงขึ้น เกษตรกรกม็ ักจะหันมาเพาะปลูกพืชไรช่ นิดนั้น
แทนพชื ไรช่ นิดทีเ่ พาะปลกู มาก่อนหรือถ้าเปน็ พืชไรช่ นิดเดยี วกบั ทเ่ี พาะปลูกอยู่แล้วกจ็ ะปลูกมากขน้ึ กว่าเดิม
โดยการเพม่ิ พน้ื ท่ีเพาะปลูก

3. ราคาของปัจจัยการผลิต การเปลี่ยนแปลงราคาของปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ ที่ดิน
แรงงาน ทุนและผู้ประกอบการ จะมีผลกระทบตอ่ ตน้ ทุนการผลิต ซ่ึงจะสง่ ผลต่อกำไรท่ีผูผ้ ลิตจะได้รบั กลา่ วคือ
เมื่อราคาของปัจจัยการผลิตสูงข้ึน จะทำให้ต้นทุนการผลิตเพ่ิมขึ้น กำไรของผู้ผลิตที่จะได้รับก็จะลดลง ดังน้ัน
ปริมาณการผลิตเพ่ือขายจึงลดลง ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาของปัจจัยการผลิตลดตํ่าลง จะทำให้ต้นทุนการ
ผลติ ลดลง กำไรของผู้ผลติ ท่จี ะไดร้ ับก็จะเพมิ่ ข้นึ ผู้ผลิตกจ็ ะทำการผลิตเพ่อื เสนอขายมากขน้ึ

4. จำนวนของผู้ผลิตหรือผู้ขายในตลาด ในกรณีท่ีตลาดมีผู้ผลิตจำนวนมาก ปริมาณขาย
ทั้งหมดในตลาดย่อมจะมีมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากจำนวนผู้ผลิตลดลง ส่งผลให้อุปทานของตลาดลดลง
ด้วยเชน่ กนั

5. เป้าหมายของธุรกิจหรอื ผู้ผลิต เช่น บริษัทผลติ ยาและเวชภัณฑม์ ีความพอใจที่จะผลิตยา
รักษาโรคแทนการผลิตยาลดความอ้วนป้อนสทู่ ้องตลาด ก็จะทำให้ตลาดมียารักษาโรคซ่ึงจำเป็นมากกว่ายาลด
ความอ้วนเพม่ิ ขึ้น

6. สภาพเทคโนโลยีท่ีใช้ในการผลิต เมื่อวิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าข้ึนและสามารถ
นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการผลิตได้ จะทำให้ปริมาณเสนอขายสินค้าและบริการบางประเภทเพ่ิมข้ึน ในทางตรง
ข้ามถ้านำเอาเทคโนโลยีท่ีล้าสมัยมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการแล้ว จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง
ย่อมจะทำให้ปริมาณเสนอขายสนิ คา้ และบริการบางประเภทลดลง

7. สภาพดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาล การเปล่ียนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาล
จะส่งผลให้ปริมาณขายสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยเฉพาะการผลิตสินค้าและบริการท่ีต้อง

9

อาศัยสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น ในปีใดฝนแล้งการทำนาจะไม่ได้ผล ผลผลิตข้าวในปีน้ันจะน้อยลง ส่งผลให้
ปริมาณขา้ วทีเ่ สนอขายลดน้อยลงไปด้วย

นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยอ่ืนท่ีมีผลกระทบต่อจำนวนอุปทานของสินค้า
หรือบริการได้ เช่น การคาดคะเนราคาสินค้าหรือบริการในอนาคต ตลอดจนภาวะสงครามและการเมือง เป็น
ตน้ แต่ในทางเศรษฐศาสตรม์ ักจะอธบิ ายเฉพาะความสัมพนั ธร์ ะหว่างปริมาณขายสนิ คา้ และบริการชนดิ ใดชนิด
หนึ่งกับราคาสินค้าและบริการชนิดน้ันเท่านั้น โดยกำหนดให้ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ คงท่ีไม่
เปลย่ี นแปลง

Qx = f(Px)

9. กฎของอุปทานและเสน้ อปุ ทาน

กฎของอุปทาน (Law of Supply) อธิบายไว้ว่า “เม่ือกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ ปริมาณ
ขาย ของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหน่ึงท่ีผู้ผลิตเสนอขายย่อมเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกันกับราคาของ
สินค้าและบริการชนิดนั้นเสมอ” หมายความว่า เม่ือราคาสินค้าสูงขึ้น ผู้ผลิตมีความเต็มใจที่จะผลิตสินค้าออก
ขายมากขึ้น แตถ่ ้าราคาสินค้าลดลง ผผู้ ลติ จะผลิตเพอ่ื เสนอขายในปรมิ าณน้อยลง ทงั้ น้ีโดยสมมตใิ ห้ปัจจัยอน่ื ๆ
คงที่

ความสมั พันธร์ ะหวา่ งราคากับปริมาณเสนอขายสนิ คา้ นอกจากแสดงเป็นฟังกช์ ันอปุ ทานแล้ว
ยังอาจแสดงได้ในรูปสมการอปุ ทาน ตารางอปุ ทาน และเสน้ อปุ ทาน ได้ดงั น้ี

สมการอุปทาน คือ การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณขายในรูปของสมการ ซ่ึง
อาจเป็นสมการเส้นตรงหรือเส้นโค้ง แต่ส่วนมากเป็นสมการเส้นตรง เช่น Qs = 5 + P จากสมการอุปทาน
ดงั กล่าว สามารถสรา้ งเปน็ ตารางอปุ ทาน โดยสมมติคา่ ตา่ ง ๆ ของ P แลว้ คำนวณคา่ Q ได้ดังตารางต่อไปนี้

ตาราง แสดงจำนวนส้มท่ีผ้ผู ลติ คนหน่ึงยนิ ดจี ะนำออกขาย ณ ระดบั ราคา
ตา่ งๆ

ราคาตอ่ หนว่ ย (บาท) ปรมิ าณขาย (กก.)
5 10
4 9
3 8
2 7
1 6

10

จากตารางข้างต้น เป็นตัวเลขท่ีแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณของส้มที่ผู้ผลิต
ยินดีขายในระยะเวลาหนึ่ง จากตัวเลขเหล่าน้ีนำมาหาจุดต่าง ๆ บนกราฟ เมื่อลากเส้นเช่ือมต่อจุดเหล่านี้จะได้
เสน้ อุปทานของสม้ ซ่ึงมีลักษณะทอดลงจากขวามาซา้ ยและมีค่าความชนั เป็นบวก ดังรปู

ลักษณะของเส้นอุปทาน (Supply Curve)

เน่ืองจากปริมาณสินค้าแต่ละชนิดที่ผู้ผลิตแต่ละคนเสนอขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ เมื่อ
รวมกันเข้าจะเท่ากับปริมาณขายรวม ณ ระดบั ราคาน้นั ๆ ดงั น้ัน อปุ ทานของตลาด (Market Supply) สำหรับ
สินคา้ ใดจึงหาได้จากการรวมอุปทานสำหรับสินค้าชนิดน้นั ของผผู้ ลิตแต่ละราย ดงั ตารางตอ่ ไปนี้

ตาราง แสดงอปุ ทานของบุคคลและอปุ ทานของตลาดยางพารา

ราคา ปรมิ าณขาย ปรมิ าณขาย ปรมิ าณขาย ปรมิ าณขาย
(บาท/กก.) ของนาย ก (กก.) ของนาย ข (กก.) ของนาย ค (กก.) ของตลาด (กก.)

5 50 40 30 120
4 40 30 20 90
3 30 20 10 60
2 20 10 5 35
1 10 5 1 16

จากตาราง การหาอุปทานของตลาดยางพาราแห่งหนึ่ง สมมติว่าในตลาดนี้มีผู้ขายเพียง
3 ราย คือ นาย ก นาย ข และนาย ค วิธีการคือ รวมปริมาณขายของคนทั้งสามในแต่ละระดับราคา ผลรวม
ของปริมาณขาย ณ ระดับราคาใด ก็คือปริมาณขายของตลาด ณ ราคาน้ัน (ทำนองเดียวกับการหาอุปสงค์ของ
ตลาดดังกล่าวแลว้ ) ดงั รูป

11

แสดงการหาเสน้ อุปทานของตลาดจากเส้นอปุ ทานของผผู้ ลิตแตล่ ะราย

10. การเปลย่ี นแปลงปรมิ าณขาย

การเปล่ียนแปลงปริมาณขาย (Change in Quantity Supply) เกิดจากราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง
ไปทำใหป้ ริมาณขายหรอื จำนวนผลผลติ เปลี่ยนแปลงไปด้วยตามกฎของอุปทาน โดยสมมตใิ ห้ตัวกำหนดอปุ ทาน
โดยอ้อมอยู่คงที่ การเปลี่ยนแปลงปริมาณขายเป็นการย้ายจากจุดหน่ึงไปยังอีกจุดหนึ่งบนเส้นอุปทานเส้นเดิม
เชน่ เม่ือราคาข้าวเปลือกลดลง เกษตรกรจะลดพ้ืนท่ีเพาะปลูกลง ปริมาณขายข้าวเปลือกที่เสนอขายก็จะลดลง
ซึง่ เป็นการวเิ คราะหภ์ ายในเสน้ อปุ ทาน (Move Along the Supply Curve) ดงั รูป

แสดงการเปลย่ี นแปลงปริมาณขาย
จากรูป สมมติว่าเดิมราคาข้าวเปลือกอยู่ ณ ระดับ P1 ปริมาณขายจะเท่ากับ Q1 ต่อมาราคา
ข้าวเปลือกลดลงมาอยู่ท่ี P2 ปริมาณขายจะลดลงเป็น Q2 ซ่ึงจะเห็นได้ว่ามีการเคล่ือนย้ายจากจุด A ไปยังจุด
B1 บนเสน้ อปุ ทานเสน้ เดมิ

12

11. การเปลย่ี นแปลงอุปทาน

การเปล่ียนแปลงอุปทาน (Change in Supply) หมายถึง การที่ตัวกำหนดอุปทานโดยอ้อม เช่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต ราคาของปัจจัยการผลิต สภาพดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาล เป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่งหรือ
หลายตัวเปลี่ยนแปลงไป และมีผลทำให้ปริมาณขายเพิ่มขึ้นหรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม เช่น การผลิต
ข้าวเปลือกของเกษตรกรจะลดลง หากเกิดภาวะฝนแล้ง ค่าจ้างแรงงานหรือปุ๋ยมีราคาสูงข้ึน ในทางตรงข้าม
การผลติ ข้าวเปลือกของเกษตรกรจะเพิ่มข้ึน หากสภาพดินฟา้ อากาศเอ้ืออำนวย ค่าจ้างแรงงานหรอื ปุ๋ยราคาถูก
ลง

จะเห็นไดว้ ่าปรมิ าณขายขา้ วเปลือกของเกษตรกรจะเพ่ิมขึ้นหรือลดลงทง้ั ๆ ที่ราคาข้าวเปลอื กคงเดิม
ในกรณีเช่นน้ีจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายของเส้นอุปทานของข้าวเปลือกไปท้ังเส้น โดยจะย้ายไปอยู่ทางขวาหรือ
ทางซ้ายของเส้นเดิมข้นึ อยู่กับตัวกำหนดอุปทานโดยอ้อมทเ่ี ปลี่ยนแปลงไป อันจะมีผลทำใหป้ รมิ าณขายเพม่ิ ขึ้น
หรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม กล่าวคือ ถ้าทำให้ปริมาณขายเพิ่มข้ึนหรืออุปทานเพิ่มขึ้นเส้นอุปทานจะย้ายไป
ทางขวามือของเส้นเดิม ในทางตรงข้าม ถ้าทำให้ปริมาณขายลดลงหรืออุปทานลดลงเส้นอุปทานจะย้ายไปอยู่
ทางซา้ ยมอื ของเส้นเดิม ดงั รปู

แสดงการเปล่ียนแปลงอุปทาน

จากรูป สมมติว่า S คือ เส้นอุปทานเดิมของเกษตรกรรายหนึ่งในการผลิตข้าวเปลือก ถ้าราคา
ข้าวเปลือกอยู่ ณ ระดับราคา P เกษตรกรจะขายข้าวเปลือก ณ ระดับ 0Q ในปีต่อมาสภาพดินฟ้าอากาศ
เอ้ืออำนวยเกษตรกรจะทำนาเพิ่มมากข้ึน ทำให้ปริมาณขา้ วเปลือกที่นำออกขายเพ่ิมขึน้ เป็น 0Q1 ทั้ง ๆ ที่ราคา
ข้าวเปลือกยังอยู่ ณ ระดับราคา P เมือ่ ปริมาณขายเพิ่มขึ้นหรืออุปทานเพิ่มข้ึน จะเปน็ ผลทำให้เส้นอุปทานเดิม
S ย้ายไปทางขวาเปน็ เสน้ S1

13

12. ดุลยภาพของตลาด (Market Equilibrium)

โดยเหตุทที่ ง้ั อปุ สงค์และอปุ ทานต่างกม็ ีความสัมพันธ์หรอื ขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าและบริการ
ดงั น้ันปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อและผู้ขายตอ้ งการขายจะปรับตัวไปตามระดับราคาสินค้าและบริการ
ที่เปล่ียนแปลงไป แต่เน่ืองจากการปรับตัวของปริมาณซื้อและปริมาณขายเท่ากันพอดี ณ ระดับราคาใดราคา
หนึ่ง ซ่ึงหมายความว่า ณ ระดับราคานั้นปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซ้ือจะเท่ากับปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิต
ตอ้ งการจะผลิตออกขายในขณะเดียวกันพอดี มีผลทำให้เกิดราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price) และปริมาณ
ดุลยภาพ (Equilibrium Quantity) เรียกสภาวะดังกล่าวน้ีว่า “ดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium)”
ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพน้ี เมื่อเกิดข้ึนแล้วจะคงอยู่เช่นนั้นตราบใดท่ีอุปสงค์และอุปทานไม่
เปล่ียนแปลง เหตุผลคือ ถ้าราคาเปลี่ยนแปลงไปจากดุลยภาพด้วยเหตุใดก็ตาม จะทำให้อุปสงค์และอุปทาน
ขาดความสมดุล ราคาท่ีเปล่ียนแปลงไปจากดลุ ยภาพจึงดำรงอยู่ไมไ่ ด้ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ จนเกิดราคา
ดลุ ยภาพอกี คร้งั หนงึ่ จึงจะหยดุ นง่ิ ดงั รปู

ดุลยภาพตลาดและการปรบั ตัวเข้าส่ดู ุลยภาพ

จากรูป ถ้าเรานำอุปสงค์และอุปทานตลาดมาพิจารณาร่วมกัน จะเห็นได้ว่า ท่ีราคาสูง ๆ ปริมาณซ้ือ
จะน้อยแต่ปริมาณเสนอขายจะมีมาก เช่น ท่ีราคา 0P1 บาท ปริมาณซ้ือจะเท่ากับ 0Q1 ปริมาณเสนอขายจะมี
มากถึง 0Q2 ณ ราคาท่ีปริมาณเสนอขายมากกว่าปริมาณซื้อ จะก่อให้เกิด “อุปทานส่วนเกิน (Excess
Supply)” ในท่ีนี้อุปทานส่วนเกินเท่ากับ Q1 Q2 แสดงว่า ถ้าผู้ผลิตยืนยันว่าจะขาย ณ ราคาน้ีจะขายได้เพียง
0Q1 เท่าน้ัน ถา้ ผู้ผลิตไม่ต้องการใหม้ ีสนิ คา้ เหลอื เขาจะต้องลดราคาลงมา ในทางตรงข้ามที่ราคาต่ำ ๆ ปริมาณ
ซอ้ื จะมมี ากแต่ปริมาณเสนอขายจะมนี อ้ ย เชน่ ทีร่ าคา 0P2 ปรมิ าณซ้อื มีสูงถึง 0Q2 แต่ปรมิ าณเสนอขายมีเพียง
0Q1 เท่าน้ันท่ีราคา 0P2 นี้ ปริมาณซ้ือมากกว่าปริมาณเสนอขาย ก่อให้เกิด “อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess
Demand)” ในท่ีน้ีอุปสงค์ส่วนเกินเท่ากับ Q1 Q2 ถ้าราคาที่ซ้ือขายกันอยู่ท่ีระดับน้ี จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
จำนวนสินคา้ ท่ผี ู้บรโิ ภคสามารถซือ้ ไดจ้ ริง คอื 0Q1 ความตอ้ งการซอ้ื จงึ ยังไม่ได้รับการตอบสนองทัง้ หมด เพราะ

14

สินค้าขาดแคลนถ้าผู้บริโภคต้องการจะให้มีสินค้ามาตอบสนองมากกว่าน้ี เขาจะต้องเสนอราคาท่ีสูงกว่านี้เพ่ือ
จงู ใจให้ผู้ผลิตเสนอขายในจำนวนที่มากข้ึน

สรุปได้ว่า ณ ราคาใดกต็ าม หากปริมาณซื้อไมเ่ ท่ากับปริมาณเสนอขาย จะก่อให้เกิดแรงผลักดันจาก
ผู้บริโภคและผู้ผลิต จนกระทั่งราคาสินค้าท่ีตกลงซื้อขายกันกลับมาอยู่ตรงท่ีทำให้ไม่มีอุปทานส่วนเกินและอุป
สงค์ส่วนเกิน น่ันคือ ราคาท่ีปริมาณซื้อเท่ากับปริมาณเสนอขายพอดี เราเรียกภาวะนี้ว่า “ดุลยภาพ
(Equilibrium)” จากรปู ข้างต้น ดุลยภาพของตลาดจะเกิดขึน้ ไดก้ ็ตอ่ เมื่อราคาที่ซื้อขายกันเท่ากบั 0P0 เท่าน้ัน
เพราะราคาน้ีปริมาณซ้ือเท่ากับปริมาณเสนอขายพอดี คือ 0Q0 จึงไม่มีอุปทานส่วนเกินและอุปสงค์ส่วนเกิน
ราคาที่ก่อให้เกิดดุลยภาพของตลาดน้ีเรียกว่า “ราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price)” ส่วนปริมาณการซ้ือ
ขายที่เกดิ ข้ึนจริง ณ ราคาดุลยภาพนี้เรยี กว่า “ปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity)” ในท่ีน้ีคือ 0Q0
ถ้าพิจารณาจากกราฟ จะเห็นว่า ทั้งราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพก็คือ ราคาและปริมาณของสินค้าตรง
จุดตัดระหว่างเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน หรือที่เรียกว่า “จุดดุลยภาพ (Equilibrium Point)” ในที่นี้คือ
จดุ E ดลุ ยภาพทีเ่ กดิ ขน้ึ จะคงอยูเ่ ชน่ นีต้ ลอดไป ตราบใดทีอ่ ปุ สงค์และอุปทานไม่เปลยี่ นแปลง

13. การเปล่ียนแปลงของดุลยภาพตลาด

อย่างไรก็ตามภาวะดุลยภาพน้ีอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ ถ้าอุปสงค์และอุปทานอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือทั้งสองอย่างเปลี่ยนแปลงไป การเปล่ียนแปลงของอุปสงค์และอุปทานเกิดจากตัวกำหนดอุปสงค์และ
อุปทานโดยอ้อมชนิดต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปดังท่ีได้อธิบายมาแล้ว ดังนั้น เมื่อไรก็ตามท่ีปัจจัยเหล่าน้ี
เปล่ียนแปลงจนทำให้ปริมาณซื้อและปริมาณขายเปล่ียนตามไปด้วย ณ ทุกระดับราคา จะทำให้ตำแหน่งดุลย
ภาพเปล่ียนแปลงไป เพ่ือความเข้าใจจะแสดงตวั อย่างการปรับตัวเขา้ สู่ดุลยภาพ โดยสมมติกรณีตัวอยา่ งต่าง ๆ
กนั ดังนี้

1. อุปสงค์เปลี่ยนแปลงในขณะที่อุปทานคงท่ี สมมติว่า D และ S เป็นเส้นอุปสงค์และ
อุปทานของเคร่ืองปรับอากาศ ซ่ึงเกิดภาวะดุลยภาพที่จุด E ต่อมาการไฟฟ้านครหลวงได้ประกาศลดอัตราค่า
กระแสไฟฟ้าลงเน่อื งจากไฟฟ้าและเคร่ืองปรับอากาศเป็นสินค้าท่ใี ช้ร่วมกนั เมอื่ อัตราค่ากระแสไฟฟ้าลดลงยอ่ ม
ส่งผลให้อุปสงค์ของเคร่ืองปรับอากาศเพิ่มข้ึน เส้นอุปสงค์ใหม่จะย้ายมาทางขวามือและเกิดภาวะดุลยภาพ
ใหม่ณ จุด E1 ทั้งราคาและปริมาณใหม่ต่างเพ่ิมขึ้น ดังรูป ในทางตรงข้าม ถ้าหากการไฟฟ้านครหลวงประกาศ
ข้ึนอัตราค่ากระแสไฟฟ้า จะทำให้อุปสงค์ของเครื่องปรับอากาศลดลง เส้นอุปสงค์ใหม่จะย้ายมาทางซ้ายมือ
และเกดิ ภาวะดลุ ยภาพ ณ จุด E2 ท้งั ราคาและปรมิ าณใหม่ตา่ งลดลง

15

การเปลี่ยนแปลงภาวะดลุ ยภาพ กรณีอุปสงคเ์ ปล่ียนแปลงในขณะท่ีอุปทาน
คงที่

2. อุปทานเปลี่ยนแปลงในขณะที่อุปสงค์คงท่ี สมมติว่า D และ S เป็นเส้นอุปสงค์และ
อปุ ทานของทีพ่ ักตากอากาศบนเกาะหลีเป๊ะ ภาวะดุลยภาพอยู่ท่ีจุด E ต่อมามีนักลงทุนไปลงทุนสร้างท่พี ักตาก
อากาศเพมิ่ มากขน้ึ ทำให้เส้นอุปทานย้ายมาทางขวามือเกิดภาวะดุลยภาพใหม่ ณ จุด E1 เมอื่ มีทพ่ี ักเพม่ิ มากข้ึน
ทำให้ราคาท่ีพักตากอากาศลดลง ในทางตรงข้าม ถ้าเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ําจะทำให้นักลงทุนลงทุนน้อยลง
หรอื ปิดกิจการไป ทำให้เส้นอุปทานย้ายมาทางซ้ายมือของเสน้ อุปทานเส้นเดิม จะเกิดภาวะดุลยภาพใหมณ่ จุด
E2 ราคาท่ีพกั ตากอากาศจะเพ่มิ ขนึ้ เน่อื งจากปริมาณทพ่ี กั ลดน้อยลงนัน่ เอง

การเปล่ียนแปลงภาวะดลุ ยภาพ กรณีอุปทานเปลีย่ นแปลงในขณะทีอ่ ุปสงค์
คงที่

16

3. อุปสงค์และอุปทานเปลี่ยนแปลง สมมติให้ D และ S เป็นอุปสงค์และอุปทานของ
ไก่แช่แข็งซ่ึงเกิดภาวะดลุ ยภาพ ณ จุด E เมื่อเวลาผ่านไปรายได้เฉลี่ยของผู้บรโิ ภคเพิ่มสูงข้ึน ทำให้มีอปุ สงค์ต่อ
ไก่แช่แข็งส่งผลใหเ้ ส้นอปุ สงค์ใหมย่ ้ายไปทางขวามือ ขณะเดียวกันราคาอาหารสำหรบั เล้ียงไก่สูงข้ึนด้วย ตน้ ทุน
การเลี้ยงไก่จึงสูงขึ้น ทำให้อุปทานของไก่แช่แข็งลดลง ส่งผลให้เส้นอุปทานใหม่ย้ายมาทางซ้ายมือ เกิดภาวะ
ดลุ ยภาพใหม่ ณ จดุ E1 ราคาไกแ่ ช่แขง็ สูงขึน้ และปริมาณไกแ่ ช่แข็งจะลดลง ดงั รปู

การเปล่ยี นแปลงภาวะดลุ ยภาพ กรณีอุปสงค์และอปุ ทานเปลยี่ นแปลง

สรุป อุปสงค์ คือ ปริมาณซ้ือสินค้าและบริการชนิดหนึ่งในทุกระดับราคาท่ีเป็นไปได้
ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนงึ่ กฎของอปุ สงค์กลา่ วว่า เม่อื กำหนดให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ ถ้าราคาของสินค้าและบรกิ ารชนิด
หนึง่ ลดลง ปริมาณซื้อของสินค้าและบริการชนิดนนั้ จะเพ่ิมข้นึ ในทางตรงกันขา้ มถา้ ราคาสนิ ค้าและบรกิ ารชนิด
หนึ่งเพ่ิมขึ้น จะทำให้ปริมาณซื้อของสินค้าและบริการชนิดน้ันลดลงปัจจัยท่ีกำหนดอุปสงค์ ได้แก่ ราคาสินค้า
ชนิดนั้น รายได้ของผู้บริโภค ราคาสินค้าชนิดอื่นท่ีเก่ียวข้องรสนิยมของผู้บริโภค จำนวนผู้บริโภค และการ
คาดคะเนราคาสินคา้ ในอนาคตของผู้บริโภค

อปุ ทาน คือ ปริมาณขายสินค้าและบริการชนิดหน่ึงในทุกระดับราคาท่ีเป็นไปได้ ณ ช่วงเวลาใด
เวลาหน่ึง กฎของอุปทานกล่าวว่า เมื่อกำหนดให้ส่ิงอื่น ๆ คงที่ ถ้าราคาของสินค้าและบริการชนิดหนึ่งถูกลง
ปริมาณขายของสินค้าและบริการชนิดนั้นจะลดลง ในทางตรงกันข้ามถ้าราคาสินค้าและบริการชนิดหน่ึงแพง
ขึ้น ปริมาณขายของสินค้าและบริการชนิดน้ันจะมากข้ึนปัจจัยที่กำหนดอุปทาน ได้แก่ ราคาสินค้าชนิดนั้น
ราคาของปจั จัยการผลติ ราคาของสินค้าชนิดอืน่ ทผี่ ผู้ ลิตสามารถผลิตได้ จำนวนผู้ผลิต เทคโนโลยีการผลิต และ
การคาดคะเนเก่ียวกบั ราคาในอนาคตของผู้ผลติ

ดุลยภาพตลาด คือ สภาวะที่ปริมาณซ้ือเท่ากับปริมาณขายพอดี หากเม่ือใดที่อุปสงค์และ
อุปทาน หรอื ทงั้ อุปสงคแ์ ละอุปทานเกิดการเปล่ยี นแปลง จะทำใหด้ ุลยภาพตลาดเปล่ยี นแปลงไปดว้ ย

17

แบบประเมนิ ผลการเรยี นรู้หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 2

ตอนที่ 1 จงตอบคำถามตอ่ ไปน้ี
1. อธิบายความหมายของอปุ สงค์และกฎของอปุ สงค์

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

2. อุปสงคแ์ บง่ ออกเปน็ กี่ชนิด อะไรบา้ ง

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

3. ตวั กำหนดอุปสงค์มีอะไรบ้าง อธิบาย

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

4. อธบิ ายการเปล่ยี นแปลงปรมิ าณซ้ือ และการเปลย่ี นแปลงอุปสงค์

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

5. อธบิ ายความหมายของอุปทานและกฎของอปุ ทาน

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

6. ตวั กำหนดอปุ ทานมีอะไรบา้ ง อธิบาย

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

18

7. ปัจจัยตัวใดท่เี ป็นตัวกำหนดอปุ ทานโดยตรง

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

8. อธิบายการเปลยี่ นแปลงปริมาณขายและการเปลย่ี นแปลงอปุ ทาน

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

9. อธบิ ายภาวะดุลยภาพของตลาด พรอ้ มวาดรูปประกอบคำอธบิ าย

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

10. ยกตัวอย่างการเปลย่ี นแปลงภาวะดุลยภาพของกรณีใดกรณหี นงึ่ พร้อมทง้ั วาดรปู ประกอบคำอธิบาย

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

19

ตอนท่ี 2 จงเลือกข้อทถ่ี ูกต้องที่สุดเพียงข้อเดยี ว

1. เม่ือราคาสินค้าสูงขึ้น ผู้บริโภคจะซ้อื สินค้ามาบรโิ ภคในจำนวนท่ีน้อยลง แต่ถ้าราคาสินค้าลดลงผู้บริโภคจะ

ซ้อื สนิ ค้า

เพิ่มขึน้ แสดงให้เหน็ ถงึ ข้อใด

ก. กฎของอุปสงค์ ข. กฎของอุปทาน

ค. กฎวา่ ด้วยการมจี ำกัด ง. กฎว่าดว้ ยการลดนอ้ ยถอยลง

จ. กฎวา่ ด้วยการเปลย่ี นแปลงการผลิตหนว่ ยสดุ ทา้ ย

2. เม่ือราคาสินค้าสูงขึ้นผู้ผลิตเต็มใจที่จะผลิตสินค้าออกขายมากขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าลดลงผู้ผลิตจะผลิต

สินค้าออกขาย

ลดลงแสดงใหเ้ หน็ ในขอ้ ใด

ก. กฎของอุปสงค์ ข. กฎของอปุ ทาน

ค. กฎวา่ ดว้ ยการมจี ำกดั ง. กฎวา่ ด้วยการลดนอ้ ยถอยลง

จ. กฎว่าดว้ ยการเปล่ยี นแปลงการผลิตหนว่ ยสุดทา้ ย

3. ข้อใดกลา่ วถูกต้องเกย่ี วกับการแบ่งชนิดของอุปสงค์
ก. 2 ชนดิ คอื อปุ สงคต์ อ่ รายได้ และอุปสงค์ต่อปจั จัยการผลติ
ข. 2 ชนิด คือ อปุ สงคต์ ่อราคา และอุปสงคต์ ่อรายได้
ค. 2 ชนดิ คือ อุปสงค์ต่อราคา และอปุ สงค์ต่อราคาสินคา้ ชนิดอ่นื
ง. 3 ชนดิ คือ อปุ สงค์ตอ่ ราคา อุปสงคต์ ่อรายได้ และอปุ สงคต์ ่อราคาสนิ ค้าชนดิ อนื่
จ. 3 ชนดิ คอื อปุ สงคต์ ่อราคา อปุ สงคต์ ่อค่าใชจ้ ่าย และอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนดิ อืน่

จากตารางตอ่ ไปนี้จงตอบคำถามข้อ 4 – 7

4. ราคาดุลยภาพเท่ากับข้อใด ข. 5 บาท
ก. 4 บาท ง. 7 บาท
ค. 6 บาท
จ. 8 บาท

20

5. ปรมิ าณดลุ ยภาพคือข้อใด ข. 90 หนว่ ย
ก. 100 หนว่ ย ง. 70 หนว่ ย
ค. 80 หนว่ ย
จ. 60 หนว่ ย

6. ณ ระดบั ราคา 11 บาท จะเกดิ อะไรข้นึ ข. อปุ สงคส์ ว่ นเกนิ เทา่ กับ 80 หน่วย
ก. ราคาตลาด ง. อุปทานส่วนเกินเทา่ กับ 80 หนว่ ย
ค. อุปสงค์สว่ นเกนิ เทา่ กบั 180 หนว่ ย
จ. อุปทานส่วนเกนิ เทา่ กบั 180 หนว่ ย

7. ณ ราคา 1 บาท จะเกดิ อะไรขึน้ ข. อปุ สงค์สว่ นเกินมีค่าเทา่ กับ 120 บาท
ก. สนิ คา้ ล้นตลาด ง. อปุ ทานส่วนเกนิ มคี ่าเทา่ กบั 120 บาท
ค. อปุ สงคส์ ่วนเกนิ มีค่าเท่ากับ 180 บาท
จ. อุปทานสว่ นเกนิ มคี ่าเทา่ กับ 180 บาท

8. ตัวกำหนดโดยตรงของอุปสงค์และอุปทานของสนิ ค้าชนิดใดชนิดหน่งึ คือข้อใด
ก. เปา้ หมายของผ้ผู ลติ สินค้าชนิดนน้ั
ข. เทคโนโลยที น่ี ำมาใชใ้ นการผลติ สนิ คา้ ชนิดน้ัน
ค. จำนวนผูผ้ ลติ ทผี่ ลิตสินคา้ ชนดิ น้ันออกขาย
ง. ราคาสินค้าชนิดนนั้
จ. ราคาของสนิ คา้ ชนิดอืน่

9. การทีเ่ สน้ อปุ สงค์เคล่ือนย้ายไปทางขวามอื ทง้ั เส้นอาจเกดิ จากข้อใด
ก. ต้นทนุ การผลติ ลดลง
ข. เทคโนโลยที ีน่ ำมาใชใ้ นการผลติ สินคา้ ดขี ้นึ
ค. จำนวนผผู้ ลิตทผ่ี ลติ สินคา้ ชนดิ นน้ั เพิ่มขึน้
ง. จำนวนผบู้ ริโภคเพิม่ ขึ้น
จ. ราคาปจั จยั การผลติ ลดลง

21

10. รัฐบาลได้ประกาศให้ประชาชน “บริโภคอาหารประเภทปลาจะให้โปรตีน และมีไขมันตํ่ากว่าการบริโภค
เนอื้ สตั ว์

ประเภทเนือ้ หมแู ละเนอ้ื ววั ” ผลจะเป็นอยา่ งไร
ก. เส้นอปุ สงค์ของเนือ้ ปลาจะเคลอื่ นย้ายไปทางซ้ายมือทัง้ เสน้
ข. เสน้ อุปสงค์ของเนื้อปลาจะเคลื่อนย้ายไปทางขวามอื ทั้งเส้น
ค. เสน้ อปุ สงค์ของเนอื้ หมจู ะเคล่ือนยา้ ยไปทางขวามือท้ังเสน้
ง. เส้นอุปสงค์ของเนื้อววั จะเคล่ือนยา้ ยไปทางขวามือทั้งเสน้
จ. เส้นอปุ สงค์ของเนื้อหมูจะเคลอ่ื นยา้ ยไปทางขวามือ

22

ตอนท่ี 3 วิเคราะห์การเพ่มิ อุปทานของสินคา้ เกษตรกรรม ทำใหเ้ กษตรกรมฐี านะยากจนลง ผู้เรยี นคิดว่า
จะมีแนวทางช่วยเกษตรกรได้อยา่ งไร

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

23

ใบงานท่ี 1

ตามกฎของอุปสงคร์ ะบวุ ่า “ปรมิ าณสนิ คา้ และบริการชนิดใดชนดิ หน่งึ ท่ผี ูบ้ รโิ ภคตอ้ งการซื้อย่อมแปรผกผนั กับราคา
สินคา้ และบริการชนิดนน้ั เสมอ” ความสมั พันธด์ ังกล่าวมสี าเหตุมาจากอะไร อธิบาย

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

ใบงานท่ี 2

ในนิยามของอุปสงคต์ ่อราคา ความต้องการซอ้ื และความต้องการธรรมดาแตกต่างกนั อยา่ งไร อธิบาย
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

ใบงานท่ี 3

การเปลย่ี นแปลงอุปสงค์และการเปล่ียนแปลงปริมาณซื้อมสี าเหตุแตกตา่ งกนั อย่างไร
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

24


Click to View FlipBook Version