The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์.doc

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kotchamon191, 2022-05-14 08:43:45

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์.doc

0

วชิ าหลักเศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา 30200-1001

หน่วยท่ี 1 เรือ่ งความรทู้ ัว่ ไปเกีย่ วกับเศรษฐศาสตร์

จดั ทำโดย
นางกชมน เอียดแก้ว
บธ.ม.(การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อปุ ทาน)

หน่วยที่ 1 1

ชื่อหนว่ ย ความร้ทู ั่วไปเกย่ี วกบั เศรษฐศาสตร์ จำนวน 3 ชัว่ โมง

สาระสำคญั
เศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาถึงแนวทางการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

เศรษฐศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับหลายสาขาวิชา การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์จะทำให้เข้าใจ
และทราบถึงปัจจัยที่กำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจท้ังการผลิต การบริโภค และการลงทุน โดยจะต้องใช้
เคร่ืองมือหลายๆ ประเภทในการศึกษาและทำความเข้าใจกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหล่าน้ัน เช่น คณิตศาสตร์
สถติ ิ กราฟ เป็นตน้

จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของเศรษฐศาสตร์ เข้าใจประวัตแิ ละแขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์รวมท้ัง

ความสมั พันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กบั วชิ าอน่ื ๆ ได้
2. อธิบายวตั ถปุ ระสงค์และวิธกี ารศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ได้
3. อธิบายหน่วยเศรษฐกิจและวงจรในระบบเศรษฐกิจได้
4. อธบิ ายปัญหาพน้ื ฐานทางเศรษฐกิจและระบบเศรษฐกิจแบบตา่ ง ๆ รวมทงั้ แกป้ ัญหาพืน้ ฐานทาง

เศรษฐกิจได้
5. อธบิ ายเคร่ืองมอื ประกอบการศกึ ษาวิชาเศรษฐศาสตร์ได้
6. อธบิ ายประโยชน์ของวชิ าเศรษฐศาสตรไ์ ด้

สมรรถนะประจำหนว่ ย
แสดงความร้เู กยี่ วกับเศรษฐศาสตรโ์ ดยทวั่ ไป

สาระการเรยี นรู้
1. ความหมายและประวตั ิของวชิ าเศรษฐศาสตร์
2. แขนงของวชิ าเศรษฐศาสตร์และความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งเศรษฐศาสตร์กับวิชาอืน่ ๆ
3. วธิ กี ารศกึ ษาทางเศรษฐศาสตร์
4. หน่วยเศรษฐกจิ และวงจรในระบบเศรษฐกิจ
5. ปญั หาพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจ
6. ระบบเศรษฐกจิ แบบตา่ ง ๆ กับการแกป้ ญั หาพนื้ ฐานทางเศรษฐกจิ

2

สาระการเรยี นรู้
7. เคร่ืองมือประกอบการศึกษาวชิ าเศรษฐศาสตร์
8. ประโยชนข์ องวชิ าเศรษฐศาสตร์

1. ความหมายและประวตั ขิ องวชิ าเศรษฐศาสตร์

1.1 ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์
เก่ียวกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการผลิตสินค้าและบริการสนองความต้องการของมนุษย์
ซง่ึ โดยทั่วไปมอี ย่างไม่จำกัดโดยให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพ (Efficiency) สูงสุด นั่นคือต้องใช้ทรัพยากร
อย่างประหยัดท่ีสุดและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมสูงสุด ทรัพยากรการผลิตหรือปัจจัยการผลิต
ดังกล่าวแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ที่ดิน (Land) แรงงาน (Labour) ทุน (Capital) และผู้ประกอบการ
(Entrepreneur)

1) ท่ีดิน (Land) ได้แก่ ที่ดิน หรือทรัพยากรธรรมชาติอ่ืนๆ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์ป่า สิ่ง
เหล่านี้มีอยู่ตามธรรมชาติ มนุษย์สร้างข้ึนเองไม่ได้ แต่สามารถปรับปรุงคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติได้บ้าง
เช่นการปรับปรุงท่ีดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากข้ึน เป็นต้น ผลตอบแทนจากการใช้ที่ดินเรียกว่า ค่าเช่า
(Rent)

2) แรงงาน (Labour) ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ (human resource) ได้แก่ ความสามารถ
ท้งั กำลังกายกำลังสติปญั ญา และความรู้ความสามารถที่นำไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ ผลตอบแทนของ
แรงงานเรยี กว่า ค่าจา้ ง (Wage)

3) ทุน (Capital) เป็นสิ่งท่ีมนุษย์สร้างข้ึนเพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอ่ืน ๆ ในการผลิต
สินค้าและบริการ เช่น เคร่ืองจักร เครื่องมือ โรงงาน อาคาร เป็นต้น ผลตอบแทนของทุนเรียกว่า ดอกเบ้ีย
(Interest)

4) ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เป็นผู้ท่ีทำหน้าท่ีรวบรวมปัจจัยการผลิตทั้งสาม
ประเภท คือ ที่ดิน แรงงาน และทุน เพื่อมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ ผลตอบแทนของผู้ประกอบการ
เรียกว่า กำไร (Profit)

ในทางเศรษฐศาสตร์ได้แบง่ สินคา้ ออกเป็น 2 ประเภท คอื เศรษฐทรพั ย์ (Economic Goods)
และสนิ ค้าไรร้ าคา (Free goods) โดยเศรษฐศาสตรจ์ ะศึกษาเฉพาะสินค้าทเ่ี ป็นเศรษฐทรัพย์เทา่ นน้ั

1) เศรษฐทรพั ย์ (Economic Goods) หมายถึง สินค้าและบริการที่มตี ้นทนุ มีจำกัดและมี
ราคาการจะได้สินค้าประเภทนี้ต้องซื้อหรือจ่ายเงิน เศรษฐทรัพย์ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สินค้าเอกชน
(private goods) เป็นสินคา้ ท่ีแยกการบริโภคออกจากกันได้ และเจ้าของสามารถกดี กันผู้บริโภครายอ่ืนได้ เช่น
นายเอกเป็นผู้จ่ายเงินซ้ือเคร่ืองคอมพิวเตอร์มาใช้เคร่ืองหน่ึง นายเอกสามารถกีดกันไม่ให้คนอ่ืนใช้ประโยชน์
จากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้ และสินค้าสาธารณะ (public goods) ซ่ึงเป็นสินค้าท่ีบริโภคร่วมกัน และไม่
สามารถกีดกันบุคคลใดให้พ้นจากการบริโภคได้ เพราะมีผู้บริโภคจำนวนมากจึงไม่สามารถกีดกันได้ เช่น ถนน
สะพาน สวนสาธารณะ โรงพยาบาล เปน็ ต้น

3

2) สินค้าไร้ราคา (Free Goods) หมายถึง สินคา้ และบริการท่ีมีอยู่อย่างไมจ่ ำกดั จึงเป็น
สนิ คา้ ทไ่ี มม่ ีตน้ ทนุ จึงไม่มีราคาที่ต้องจ่าย ไดแ้ ก่ อากาศ นํา้ ฝน นาํ้ ทะเล สายลม แสงแดด เป็นต้น

1.2 ประวัติของวิชาเศรษฐศาสตร์ เม่ือเทียบกับสาขาวิชาบางแขนง ได้แก่ ปรัชญา รัฐศาสตร์
และนิติศาสตร์แล้ว เศรษฐศาสตร์ยังนับเป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างใหม่ บุคคลแรกที่วางรากฐานของวิชา
เศรษฐศาสตร์ คอื อดมั สมิธ (Adam Smith,1723 - 1790) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวองั กฤษ เขาได้เขียนตำรา
เศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลกขึ้น ช่ือว่าAn Inquiry the Nature and Causes of the Wealth of
Nations (ตีพิมพ์ครัง้ แรกเมอ่ื ค.ศ. 1776) ซึ่งได้กลา่ วถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ และเรื่องทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์
ได้แก่ มูลค่าของเศรษฐทรัพย์ต่างๆ การสะสมทุน การออม การค้าระหว่างประเทศ การคลังสาธารณะ และ
การเก็บภาษีอากร ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์รุ่นต่อมาได้ใช้ประโยชน์จากตำราเล่มน้ีในการปรับปรุงเนื้อหาวิชา
เศรษฐศาสตร์ให้สมบูรณ์ย่ิงข้ึนนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษอีก 2 ท่านท่ีมีส่วนสำคัญในการวางรากฐานวิชา
เศรษฐศาสตร์ คือ เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo, 1772 - 1823) ซ่ึงเป็นนักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มสำนัก
คลาสสิก (Classical School) แนวคิดท่ีสำคัญของกลุ่มนี้ ได้แก่ ความเช่ือม่ันในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
(Laissez Faire) ที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของภาคเอกชน โดยรัฐไม่ควรเข้าไปยุ่งเก่ียวในกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจ ปล่อยให้เอกชนดำเนินธุรกิจต่าง ๆ โดยเสรี และยังให้ความสำคัญกับปัญหาในระยะยาว เช่น อัตรา
การเพิ่มขึ้นของพลเมือง การสะสมทุน ผลตอบแทนของเงินทุน เป็นต้น และอัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred
Marshall, 1842 - 1924) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School) ซึ่งได้รับช่วง
แนวคิดของกลุ่มคลาสสิกมาปรับปรุง โดยเน้นให้เห็นถึงการมีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากร และการใช้
ทรพั ยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งในระดับบุคคล หน่วยผลิต และประเทศสำหรับนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญท่ี
เป็นผู้ปฏิรูปและวางรากฐานให้กับสาขาเศรษฐศาสตร์มหภาค คือ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard
Keynes, 1883 - 1946) เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเศรษฐศาสตร์มหภาคที่สมบูรณ์แบบเล่มแรกชอ่ื The General
Theory of Employment, Interest and Money ซึ่งอธิบายถึงสาเหตุของภาวะสินค้าล้นตลาด การว่างงาน
ทั่วไป และวธิ ีแกป้ ัญหาเศรษฐกจิ ตกตาํ่ โดยใชน้ โยบายการเงินและการคลงั

ในช่วงต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ยังมีนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายท่านที่ได้พัฒนาแนวคิดและทฤษฎีทาง
เศรษฐศาสตร์ ทำให้หลักวิชาเศรษฐศาสตร์ไดร้ ับการพัฒนาให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกจิ ในรูปแบบ
ตา่ ง ๆ รวมทั้งการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านัน้ ได้อยา่ งเหมาะสมยิ่งขน้ึ

2. แขนงของวชิ าเศรษฐศาสตร์และความสัมพนั ธร์ ะหว่างเศรษฐศาสตร์กับวชิ าอืน่ ๆ

2.1 แขนงของวชิ าเศรษฐศาสตร์
ในปัจจุบนั นกั เศรษฐศาสตรไ์ ดจ้ ำแนกวชิ าเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คอื
1) เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของ

หน่วยย่อยๆ ในสังคม เช่น การผลิต การลงทุน การกำหนดราคาในตลาดของธุรกิจใดธุรกิจหน่ึง การบริโภคของ
ครัวเรือน ผลตอบแทนของเจ้าของปัจจัยการผลิต เป็นต้น ทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ ได้แก่ ทฤษฎี

4

ผู้บริโภค ทฤษฎีผู้ผลิต และทฤษฎีการกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต หรือรวมเรียกว่า ทฤษฎีราคา (Price
Theory)

2) เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของ
ส่วนรวมหรือระดับประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไป การบริโภค การออม
และการลงทนุ ภาวะเงนิ เฟอ้ การคลัง การเงนิ การค้าระหวา่ งประเทศ การพฒั นาเศรษฐกิจ เป็นต้น

การศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาคในบางครั้งเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เป็น
การศึกษาคนละแบบ เช่น ถา้ กลา่ วถงึ ราคาในเศรษฐศาสตร์จุลภาค จะหมายถงึ ราคาของสินค้าและบริการชนิดใด
ชนิดหน่ึง ในขณะท่ีเศรษฐศาสตร์มหภาค จะหมายถึงราคาโดยเฉล่ียของสินค้าในระบบเศรษฐกิจท้ังหมด ดังน้ัน
เศรษฐศาสตรส์ องแขนงนี้จงึ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด มีความเก่ยี วพันกนั และสำคัญไมย่ ิง่ หย่อน
ไปกวา่ กนั

2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับวิชาอ่ืนๆ เศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นแขนงหนึ่ง
สงั คมศาสตร์ (Social Science) ท่ีศึกษาถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เศรษฐศาสตรจ์ ึงมีความสมั พันธ์
กับสาขาวิชาตา่ ง ๆ ดงั ต่อไปนี้

1) เศรษฐศาสตร์กับการบริหารธุรกิจ วิชาทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอยู่มาก การดำเนิน
ธุรกิจ จะประสบความสำเร็จได้ ผู้ประกอบการก็ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการหรือทฤษฎีทาง
เศรษฐศาสตร์ติดตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศหรือของโลก เพ่ือคาดการณ์ในอนาคตรวมทั้งสามารถนำ
ความรู้ เทคนิคและเคร่อื งมอื ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพ่ือใหธ้ ุรกิจของตนก้าวไปสเู่ ป้าหมายได้

2) เศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์นับว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเมือง
มากแต่เดิมกิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจของรัฐ เรียกว่า “เศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy)”
กจิ กรรมตา่ งๆ ทางเศรษฐกจิ การดำเนินการหรือการตดั สินใจต่างๆ อาจไม่เป็นไปตามหลักการหรอื แนวคิดของ
เศรษฐศาสตร์ แต่มักมีปัจจัยของการเมืองเข้ามาเก่ียวข้อง ตลอดจนผู้บริหารประเทศต้องใช้ความรู้ทาง
เศรษฐศาสตร์มาช่วยในการวางแผนกำหนดนโยบายของเศรษฐกิจ หรือจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ต่อ
ประเทศ

3) เศรษฐศาสตร์กับสังคมแขนงอ่ืน เศรษฐศาสตร์ยังมีความเก่ียวข้องสัมพันธ์กับ
สงั คมศาสตรแ์ ขนงอ่ืนดว้ ย เชน่

นิติศาสตร์ เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ทีม่ นุษย์ร่วมกันกำหนดข้ึนเรียกว่า “กฎหมาย” มี
ผลบังคับให้ทุกคนปฏิบัติตามเพ่ือให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในการตรากฎหมายใช้บังคับนั้นเราจะใช้
ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์สนับสนุนเพื่อป้องกันไม่ให้สังคมต้องเดือดร้อน เช่น เม่ือเกิดภาวะเงินเฟ้อราคาสินค้า
โดยทั่วไปสูงข้ึน ทำให้ผู้มีรายได้ประจำเดือดร้อน รัฐบาลอาจแก้ไขได้โดยการออกกฎหมายการควบคุมราคา
สนิ ค้า เปน็ ต้น

ประวตั ิศาสตร์ เปน็ การศึกษาถึงความเป็นมาของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตท่ีเก่ยี วกับ
สังคมมนุษย์ ดังนั้น ประวัติศาสตร์จึงเป็นเคร่ืองมือท่ีจะช่วยในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ให้เข้าใจได้ดีขึ้นเพราะ
เศรษฐศาสตร์กม็ ีวิวฒั นาการมาตามยุคตามสมยั

5

สังคมวิทยา เป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง การ
ปกครองและเศรษฐกิจ สังคมวิทยาช่วยให้นักเศรษฐศาสตร์เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์เก่ียวกับมูลเหตุจูงใจ
บทบาทของสถาบนั การศกึ ษา ศาสนา วฒั นธรรม ในสว่ นทเ่ี ก่ยี วพันกบั พฤตกิ รรมทางเศรษฐกิจ

จิตวิทยา เป็นการศึกษาถึงสิ่งจูงใจที่ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา
เศรษฐศาสตร์ก็สนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมเช่นกัน เช่น ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค
พฤตกิ รรมของผผู้ ลิต เปน็ ตน้

นอกจากน้ีเศรษฐศาสตรย์ ังมีความสัมพันธ์กบั ศาสตร์อื่น ๆ เช่น คณิตศาสตร์ สถิติ เปน็ ต้น
การศึกษาทำความเข้าใจกับเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน นิยมนำหลักคณิตศาสตร์และสถิติมาเป็นเครื่องมือช่วย
อธบิ ายและทำความเขา้ ใจทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มากขนึ้

3. วธิ กี ารศกึ ษาทางเศรษฐศาสตร์

วธิ ีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์
1. วิธีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ ดังที่กล่าวมาแล้วว่าเศรษฐศาสตร์เป็นแขนงหนึ่งของ

สังคมศาสตร์ เป็นเรื่องเก่ียวข้องกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ ดังนั้น ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์จึงยาก
แก่การแก้ปัญหามากกว่าปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การทดลองทางวิทยาศาสตร์สามารถแยกส่ิงท่ีต้องการศึกษา
ออกจากส่ิงอื่นๆ แล้วนำมาทดลองเป็นการเฉพาะได้ แต่การแก้ปัญหาเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถแยกสิ่งที่
ต้องการศึกษาออกจากสิ่งอ่ืนๆ ได้ดังน้ัน การตั้งข้อสมมติฐาน (Hypothesis) จึงเป็นส่ิงท่ีมีความสำคัญใน
การศึกษาเศรษฐศาสตร์ จึงมักพบข้อสมมติท่ีกำหนดให้ปัจจัยอ่ืนๆ นอกเหนือจากส่ิงท่ีสนใจศึกษาคงท่ีไม่
เปล่ยี นแปลงเสมอ

ด้วยเหตุนี้การนำทฤษฎีไปใช้ในทางปฏิบัติผู้ใช้ต้องสังเกตสภาพแวดล้อมว่า สอดคล้องกับข้อ
สมมติของทฤษฎีหรือไม่เพียงใด ถ้าไม่เหมือนกัน การอธิบายปรากฏการณ์ท่ีเกิดข้ึนจะต้องใช้ความระมัดระวัง
ให้มากหรือพยายามหาทางแก้ไข ทำให้สภาพท่ีเกิดขึ้นจริงมีลักษณะใกล้เคียงกับข้อสมมติมากที่สุด เพื่อไม่ให้
เกิดคำกล่าวที่ว่า “ทฤษฎีนำมาใช้ปฏิบัติไม่ได้” ดังน้ัน ผู้ศึกษาเศรษฐศาสตร์จึงตอ้ งให้ความสนใจข้อสมมติของ
แต่ละทฤษฎีโดยจะต้องทำการศึกษาให้เข้าใจเสียก่อน ซ่ึงโดยท่ัวไปวิธีการในการศึกษาเศรษฐศาสตร์แบ่งออก
ได้ 3 วธิ ี คือ

1) สังเกตจากประวัติศาสตร์ (Historical Method) การสังเกตภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่
ผ่านมาจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาท่ีเกิดขึ้นใหม่ได้ เพราะประวัติศาสตร์มักจะซํ้ารอยเดิมแต่การใช้วิธีน้ี
อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย เน่ืองจากสภาพแวดล้อมในอดีตและปัจจุบันไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามการศึกษา
วธิ นี ้ียังมีประโยชน์และนยิ มทำกัน

2) วิธีหาผลจากเหตุ (Deductive Method) เป็นการกำหนดขอ้ สมมตฐิ าน (Hypothesis)
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเป็นไว้ก่อนแล้ว จงึ ทำการศึกษาพิสูจน์ข้อสมมติฐานโดยทำ
การสังเกตปรากฏการณ์ และทดลองว่าข้อสมมติฐานน้ันใช้ได้หรือไม่ และทำการเก็บข้อมูลท่ีเก่ียวข้องมา

6

ทำการศึกษาผลที่เกดิ ข้ึนจริงทำซ้ํา ๆ หลาย ๆ ครัง้ ถา้ ผลสว่ นใหญท่ ไ่ี ด้จากขอ้ เท็จจริงตรงกับขอ้ สมมตฐิ านท่ตี ้ัง
ไว้ ก็แสดงวา่ ข้อสมมตฐิ านนัน้ ถกู ตอ้ งสามารถนำมาตั้งเป็นทฤษฎเี พื่อใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ถา้ ไม่ตรงก็ยกเลิกไป

3) วิธีหาเหตุจากผล (Inductive Method) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์
ต่างๆ เฉพาะรายมาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อสรุปเป็นทฤษฎี เป็นการศึกษาจากเรื่องเฉพาะท่ีเป็นส่วนย่อยเพื่อ
สรุปเปน็ เรอื่ งของสว่ นรวมหรือใช้เป็นทฤษฎีทวั่ ไป

โดยปกติการศึกษาเศรษฐศาสตร์จะไม่ใช้วิธีใดวิธีหน่ึงดังท่ีกล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นการเฉพาะ
แต่จะใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน เพราะการต้ังข้อสมมติฐานโดยปราศจากเรื่องในอดีตกระทำได้ยาก จะต้องมีการ
รวบรวมข้อมูลบางอย่างก่อนเพ่ือเป็นแนวทางในการตั้งสมมติฐาน และการรวบรวมข้อมูลก็ต้องมีความคิดอยู่
ก่อนแล้วว่าอะไรมคี วามสัมพนั ธ์กัน

4. หน่วยเศรษฐกจิ และวงจรในระบบเศรษฐกจิ

หน่วยเศรษฐกิจ (Economic Units) หมายถึง หน่วยท่ีทำหน้าที่ทางด้านการผลิต การบริโภค
และการจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการที่มอี ยใู่ นระบบเศรษฐกจิ เพ่ือให้ทุกคนอย่ดู ีกินดี หน่วยเศรษฐกิจของ
ทุกประเทศไม่ว่าจะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใดจะประกอบด้วยภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้แก่ ภาคครัวเรือน
ภาคธรุ กจิ และภาครฐั บาล ซึง่ แต่ละหนว่ ยเศรษฐกิจจะมีหน้าทีต่ า่ ง ๆ ดงั ต่อไปนี้

1) ภาคครัวเรือน (Household Sector) มีฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและผู้บริโภค ใน
ฐานะที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ภาคครัวเรือนจะเสนอขายปัจจัยการผลิต ได้แก่ ท่ีดิน แรงงาน ทุน และ
ผู้ประกอบการให้กับผู้ผลิตเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ โดยผู้ผลิตจะจ่ายผลตอบแทนให้กับเจ้าของ
ปจั จัยการผลิตในรูปของค่าเช่า ค่าจา้ ง ดอกเบี้ย และกำไร เมื่อเจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับรายไดก้ ็จะนำไปซื้อ
สินค้าและบริการ ดงั นน้ั ภาคครัวเรือนจงึ มีฐานะเปน็ ทงั้ เจ้าของปจั จยั การผลิตและเป็นผบู้ ริโภค

2) ภาคธุรกิจ (Business Sector) เป็นผู้ท่ีทำการผลิตสินค้าและบริการเพ่ือตอบสนองความ
ต้องการของผู้บริโภค โดยใช้ปัจจัยการผลิตท่ีมีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สดุ ภาคธุรกิจจะประกอบด้วยหน่วย
ธุรกจิ ต่างๆ ท่ีทำการผลติ เพอ่ื มงุ่ แสวงหากำไรสงู สุด

3) ภาครัฐบาล (Government Sector) รัฐบาลในระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ จะมีบทบาท
แตกต่างกัน เช่น ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม รัฐบาลไม่มีบทบาททางเศรษฐกิจเลย ในขณะท่ีระบบ
เศรษฐกจิ แบบคอมมิวนิสต์ รัฐบาลมีบทบาทอยา่ งมาก รัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสนิ ใจเก่ียวกับระบบเศรษฐกิจท้ังหมด
ดังนั้น ในระบบเศรษฐกิจที่ต่างกันรัฐบาลจะมีบทบาทที่ต่างกัน แต่โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
รฐั บาลไม่มบี ทบาททางเศรษฐกจิ เลย ในขณะทร่ี ะบบเศรษฐกจิ แบบคอมมิวนิสต์ รัฐบาลมีบทบาทอยา่ งมาก

รฐั บาลจะเป็นผู้ตัดสินใจเก่ียวกับระบบเศรษฐกจิ ท้ังหมด ดังน้ัน ในระบบเศรษฐกิจท่ีต่างกันรฐั บาล
จะมีบทบาท
ที่ต่างกัน แต่โดยทั่วไปรัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจโดยทำหน้าท่ีวางระเบียบ กฎเกณฑ์เพื่อให้
เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตและสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างสะดวก นอกจากนี้รัฐบาลยังทำหน้าที่

7

ให้บริการประชาชน เพ่ือให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีโดยไม่หวังผลกำไร แต่ภาคธุรกิจจะทำการผลิตสินค้า
และบรกิ ารเพื่อประชาชนโดยหวังผลกำไร ในการหารายได้ของรฐั บาลจากการเก็บภาษีอากรจากประชาชนน้ัน
ก็เพ่ือนำไปพฒั นาประเทศนน่ั เอง เพราะฉะนั้น รฐั บาลจึงเปรยี บเสมือนผ้บู รโิ ภคด้วยเชน่ กัน

สามารถแสดงความสมั พันธ์ของกจิ กรรมทางเศรษฐกิจของหนว่ ยเศรษฐกจิ ท้ัง 3 สว่ นได้ดังรูป

เงนิ ออม ตลาดปัจจยั เงนิ กู้
ภาษี
ปจั จยั การผลิต

คา่ ตอบแทนปจั จัย
การผลติ

ภาคการเงิน

ภาคครวั เรอื น ภาคธุรกจิ

ภาษี ภาครฐั บาล

ค่าใช้จา่ ยในการบรโิ ภค
สนิ ค้าและบรกิ าร

ตลาดสนิ คา้ และบรกิ าร

วงจรกิจกรรมทางเศรษฐกจิ

จากรูป ความสัมพันธ์ในวงจรกจิ กรรมทางเศรษฐกจิ ขา้ งต้นสามารถแยกอธิบายได้เปน็ 2 ช่วง ดงั น้ี
1) ความสัมพันธใ์ นช่วงลา่ ง ครัวเรอื นซงึ่ เปน็ เจา้ ของปัจจยั การผลิต ได้แก่ ทด่ี ิน แรงงาน ทุนและ
ผู้ประกอบการ จะนำปัจจัยไปขายให้ภาคธุรกิจและภาครัฐบาลในตลาดปัจจัยการผลิต โดยที่อุปสงค์
(Demand) สำหรับปัจจัยการผลิตข้ึนอยู่กับการตัดสนิ ใจของภาคธุรกจิ และภาครัฐบาล ซ่ึงอปุ สงค์นจี้ ะสง่ ผลต่อ
ราคาของปัจจัยการผลิตประเภทต่าง ๆ ด้วย ครัวเรือนซ่ึงเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตก็สนองตอบต่อราคา

8

ดังกล่าว และทำการเลือกว่าควรจะเสนอขายปัจจัยที่ไหนอย่างไร การเลือกเช่นนี้จะเป็นตัวกำหนดอุปทาน
(Supply) ของปจั จัยการผลติ และจะมผี ลกระทบตอ่ ราคาของปัจจัยการผลิต คา่ ใชจ้ ่ายต่าง ๆ ท่ีภาคธรุ กิจและ
ภาครัฐบาลจ่ายให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิตในรูปแบบต่าง ๆ กัน ได้แก่ ค่าจ้าง (Wage) ค่าเช่า (Rent)
ดอกเบีย้ (Interest) และกำไร (Profit) กจ็ ะกลายเป็นรายได้ของเจ้าของปจั จยั การผลิตหรอื ครวั เรือน

2) ความสัมพันธ์ในช่วงบน เมื่อภาคธุรกิจและภาครัฐบาลรวบรวมปจั จัยการผลิตได้ แล้วก็นำมา
ผลิตเป็นสินค้าและบริการ จากนั้นนำไปขายให้แก่ภาคครัวเรือนในตลาดสินค้าและบริการ โดยที่ครัวเรือนซึ่ง
เป็นเจ้าของเงินจะมีอุปสงค์สำหรับสินค้าและบริการชนิดใดเป็นเท่าใด ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของครัวเรือนใน
ขณะเดยี วกันภาคธุรกิจตอ้ งอาศัยราคาสินค้าและบริการในตลาดเป็นเคร่ืองมือในการตัดสินใจว่าจะทำการผลิต
สินค้าและบริการอะไรบ้างที่จะก่อให้เกิดกำไร ซ่ึงก็คืออุปทานของสินค้าน่ันเอง สำหรับภาครัฐบาลเมื่อผลิต
สินค้าและบริการสาธารณะแล้ว ก็จะจำแนกแจกจ่ายไปยังประชาชนทั้งหมดในประเทศ ท้ังที่อยู่ในภาค
ครัวเรือนและธุรกจิ โดยได้รบั ค่าตอบแทนในรปู ของภาษีอากร (tax)

5. ปัญหาพนื้ ทางเศรษฐกจิ

โดยกล่าวว่า ทุกสังคมจะประสบกับปัญหาอย่างเดียวกัน คือ ผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร
เน่ืองจากทรัพยากรมีจำนวนจำกัด จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของทุกคนในสังคมได้ ปัญหาท่ีเผชิญ
อยนู่ นั้ รวมเรียกวา่ ปญั หาพน้ื ฐานทางเศรษฐกจิ

1) ผลิตอะไร (What) เม่ือทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกมีจำนวนจำกัดและไม่สามารถสนองความ
ต้องการทั้งหมดของทุกคนในสังคมมนุษย์ได้ จึงต้องมีการคำนวณและวางแผนเพื่อให้รู้ว่าส่ิงใดควรจะผลิตและ
ส่ิงใดไม่ควรผลิต และส่ิงที่ควรผลิตนั้นควรจะผลิตในปริมาณเท่าใด จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความ
จำเป็น เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดนั้นเกิดประโยชน์มากท่ีสุด เพ่ือให้ได้ส่ิงท่ีมีคนต้องการมากที่สุด
กล่าวโดยสรปุ ปัญหาพนื้ ฐานทางเศรษฐกิจข้อแรกกค็ อื จะผลิตสินค้าหรอื บริการอะไร(what to Produce?)

2) ผลิตอย่างไร (How) เมื่อได้กำหนดหรือตัดสินใจแน่ว่าจะเลือกผลิตสินค้าหรือบริการอะไร
และผลิตในจำนวนเท่าไร เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของทุกคนในสังคมแล้ว ปัญหาพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจ
ข้อต่อไปก็คือ จะผลิตสินค้าหรือบริการท่ีเลือกน้ันด้วยวิธีใด จึงจะได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ในแง่ที่ว่าเสยี ต้นทุน
การผลิตต่อหน่วยต่ําท่ีสุดหรือใช้จำนวนปัจจัยการผลิตเท่าเดิม แต่ผลิตสินค้าหรือบริการได้เพิ่มขึ้น ย่อม
ก่อให้เกิดผลดีแก่หน่วยเศรษฐกิจทุกหน่วยท่ีเก่ียวข้อง หรือกล่าวอีกนัยหน่ึง จะผลิตสินค้าหรือบริการอย่างไร
(How to Produce?)

3) ผลิตเพ่ือใคร (For Whom) เม่ือได้กำหนดหรือตัดสินใจว่าจะเลือกผลิตสินค้าหรือบริการ
อะไรผลิตในจำนวนเท่าไร และผลิตด้วยกรรมวิธีใดท่ีจะเสียต้นทนุ การผลิตตํ่าท่ีสดุ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ข้อท่ีสามก็คือ สินค้าหรือบริการท่ีผลิตขึ้นนั้นจะผลิตเพ่ือใคร (For Whom to Produce?) จึงจะเป็นการแบ่ง
สนิ คา้ และบริการท่ผี ลติ ไดด้ ว้ ยทรพั ยากรอนั จำกัดน้นั ไปยังบุคคลตา่ ง ๆ อย่างเหมาะสม เสมอภาคและยุติธรรม

9

8. ครูให้ผู้เรียนวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน พร้อมให้ผู้เรียนร่วมกันอธิปรายว่าควรจะผลิต
สนิ ค้าหรือบรกิ ารใดท่ีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ พรอ้ มทงั้ บอกว่า ผลิตผลิตอะไร ผลติ อย่างไร และผลิตเพื่อ
ใคร

9. ครูบรรยายระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ กับการแก้ปัญหาพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ปัญหา
พื้นฐานทางเศรษฐกิจท้ัง 3 ประการนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของระบบเศรษฐกจิ แต่ละแบบวา่ มีลักษณะของระบบ
เศรษฐกิจเป็นอย่างไร โดยท่ัวไประบบเศรษฐกิจ (Economic System) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
ใหญ่ ๆ คอื

6. ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ กับการแก้ปัญหาพืน้ ฐานทางเศรษฐกจิ

ระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ ม (Capitalism Economic System) ซึ่งมีลักษณะสำคญั ดงั นี้
1) การมีกรรมสิทธ์ิในทรัพย์สิน หน่วยเศรษฐกิจซึ่งประกอบด้วยหน่วยครัวเรือนและหน่วย

ธุรกิจนั้นจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต จึงมีสิทธิและเสรีภาพในการจัดการกับปัจจัยการผลิตตามความ
เหมาะสม

2) การมีเสรีภาพในธุรกิจ ผู้ท่ีเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตมีเสรีภาพในการเลือกประกอบธุรกิจ
หน่วยครัวเรือนเองกม็ เี สรภี าพในการขายปัจจยั การผลติ ของตนให้แกห่ นว่ ยธรุ กจิ ตามต้องการ

3) การมีกำไรเป็นส่ิงจูงใจ รายได้จากการขายปัจจัยการผลิตจะเป็นส่ิงจูงใจให้มีการนำปัจจัย
การผลิตท่ีมีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าและบริการ และพยายามหาวิธีที่จะลดต้นทุนการผลิตและเพ่ิม
กำไรให้มากข้ึน ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบราคากับความพอใจท่ีจะได้รับจากการบริโภคสนิ ค้าน้ันและจะเลือกซื้อ
สนิ ค้าท่ีทำใหต้ นไดร้ ับความพอใจมากทสี่ ุดโดยจ่ายในราคาตํา่ สุด

4) ราคา การแก้ปัญหาพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะใช้ราคาเป็น
เกณฑ์ในการตัดสิน ราคาตลาดจะกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการนั้น ถ้าปริมาณซ้ือและ
ปรมิ าณขายเท่ากัน ราคาสินค้าก็จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ถ้าปริมาณซื้อและปริมาณขายไม่เท่ากัน ราคาสินค้าจะ
เปลี่ยนแปลงทันที กล่าวคือ ราคาสินค้าจะสูงข้ึนหากปริมาณซ้ือมากกว่าปริมาณขาย และราคาสินค้าจะลดลง
หากปรมิ าณซื้อนอ้ ยกว่าปริมาณขาย

กลไกสำคัญของการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ การกำหนดราคาและการเคลื่อนไหว
ของราคา ซึง่ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะใช้กลไกราคาในการแก้ปญั หาพ้นื ฐานทางเศรษฐกจิ ดงั น้ี

1. ปัญหาผลิตอะไร ผู้บริโภคจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจผลิตสินค้าและบริการของผู้ผลิต
ผู้ผลิตจะทราบความต้องการของผู้บริโภคจากจำนวนเงินท่ีผู้บริโภคนำมาใช้จ่าย โดยปกติถ้าผู้บริโภคต้องการ
สินค้าและบริการใดมาก ก็ยินดีจ่ายเงินซ้ือสินค้าและบริการนั้นมากและในราคาท่ีสูงด้วย ผู้ผลิตจึงนำราคา
สนิ ค้าและบริการนั้นมาเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิตเพื่อดูว่าจะกำไรหรือขาดทุน ถ้าได้กำไรก็จะพิจารณาว่า
ควรจะผลติ เท่าใดจงึ จะไดก้ ำไรสูงสุด ถา้ ขาดทุนกจ็ ะไม่ทำการผลติ

10

2. ปัญหาผลิตอย่างไร ผู้ผลิตต้องเลือกวิธีการผลิตที่เสียต้นทุนตํ่าสุดเพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด
ดังน้นั ผู้ผลิตจะเลือกวธิ ีการผลิตใดน้ันตอ้ งดูจากราคาสนิ ค้าและราคาปจั จยั การผลติ รว่ มกัน

3. ปัญหาผลิตเพื่อใคร ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะใช้ราคาสินค้าและบริการเป็นเกณฑ์ใน
การแจกจ่ายสินคา้ และบริการให้แก่คนในสังคม เมือ่ สินค้าและบริการมีจำนวนจำกดั ผูบ้ รโิ ภคจงึ ต้องแข่งขันกัน
ซ้ือสินค้าและบริการที่ตนต้องการ ผู้บริโภคที่มีรายได้มากจะมีอำนาจซ้อื มาก สินค้าจะถูกจัดสรรไปยังผู้บริโภค
ทีต่ ้องการและมรี ายไดพ้ อที่จะซ้อื สินคา้ นัน้ ตามราคาตลาด

ขอ้ ดีและขอ้ เสียของระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นิยม
ข้อดี มดี ังน้ี
1. คล่องตัว ระบบเศรษฐกิจมีความคล่องตัวและมีความสามารถในการปรับตัวได้มากหรือมี
ความสามารถในการจัดการหรือกระตุ้นให้มีการดำเนินการเพ่ือผลิต หรอื ให้บริการสินค้าท่ีประชาชนส่วนใหญ่
ตอ้ งการ
2. เสรีภาพ หน่วยเศรษฐกิจมีเสรีภาพในการใช้ทรัพยากรหรือประกอบกิจการใดที่ต้องการ
ถ้าไม่ขัดต่อความสงบหรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ระบบเศรษฐกิจแบบนี้จะมีการจัดสรร
ทรพั ยากรอยา่ งมปี ระสิทธิภาพโดยอาศัยกลไกราคาและการทำงานของระบบตลาด เพราะระบบเศรษฐกิจนี้มีผู้
ซื้อและผู้ขายจำนวนมากที่แต่ละคนมีความรู้ในสถานการณ์ของตลาดและสินค้าที่ตนเกี่ยวข้องมาก และ
สามารถท่ีจะเข้าหรือออกจากตลาดนน้ั
3. ประสิทธภิ าพ ทรพั ยากรสามารถหมุนเวียนเคล่ือนไหวไปยังที่ต่าง ๆ ไดค้ ล่องและรวดเร็ว
โดยอาศัยกลไกราคาเป็นเครื่องช่วย เช่น เจ้าของปัจจัยการผลิตสามารถเคลื่อนย้ายทรัพยากรของตนเองได้
หรือผลิตสินค้าท่ีให้ผลตอบแทนมากกว่าได้ ซ่ึงการเคลื่อนย้ายทรัพยากรน้ีจะกระทำไปจนกระท่ังการจัดสรร
ทรพั ยากรหรือปจั จัยการผลิตได้ดลุ ยภาพ
ขอ้ เสยี มดี ังน้ี
1. ประสิทธิภาพ ในระบบเศรษฐกิจนี้การจัดสรรทรัพยากรอาจไม่มีประสิทธิภาพท่ีดีพอ ถ้า
บุคคลมสี ิทธิและเสรีภาพในการดำเนินการและประกอบกจิ การต่างๆ จนนำไปสกู่ ารผกู ขาด
2. ความเสมอภาค ระบบเศรษฐกิจนี้อาจมกี ารสืบทอดทรัพย์สนิ ซ่ึงอาจมีผลให้เกิดความไม่
เสมอภาค
ในการจดั สรรรายได้และความม่ังค่ัง หรือการจัดสรรทรพั ยากร เช่น การผลิตสินค้า ซึ่งอาจทำเพือ่ ส่วนน้อยโดย
ไมค่ ำนึงถึงความตอ้ งการของคนส่วนใหญ่
3. ความมีเสถียรภาพและปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ระบบเศรษฐกิจนี้อาจก่อให้เกิด
ความไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น การผันแปรรวดเร็วในตลาดหุ้นและตลาดทุน อันเน่ืองมาจากการเก็ง
กำไร หรืออาจก่อใหเ้ กดิ ปัญหาสังคมและสงิ่ แวดล้อมข้ึน อันเน่ืองมาจากการผลิตสินค้าและบริการที่ไม่คำนึงถึง
ผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมและสังคมในระยะยาว การพัฒนาอะไรก็ตามถ้าสามารถหลีกเล่ียงการทำลาย
สง่ิ แวดล้อมได้ย่อมเป็นผลดีแก่ทุก ๆ ฝ่าย นอกจากน้ีการพัฒนาเศรษฐกิจยังเน้นทางด้านวัตถมุ ากกว่าทางด้าน

11

ศีลธรรมของประชาชน แม้จะทำให้ประเทศมีความก้าวหน้าและประชาชนได้รับความสะดวกสบาย แต่อาจ
กอ่ ใหเ้ กิดปัญหาสงั คมท่ีรุนแรงและก่อความไม่สงบสุขให้แกป่ ระชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialist Economic System) หรือระบบเศรษฐกิจแบบ
คอมมิวนิสต์ (Communism) เป็นระบบเศรษฐกิจท่ีมีการวางแผนจากส่วนกลาง (Central Planning) มี
ลักษณะสำคัญคือ รัฐบาลเข้าควบคุมการผลิตในส่วนสำคัญและในบางกรณีรัฐบาลอาจเข้ายึดถือกรรมสิทธ์ิใน
ทรัพย์สินแทนเอกชนก็ได้ เสรีภาพในการผลิตของเอกชนถูกจำกัด รัฐบาลเป็นผู้กำหนดชนิดของสินค้าที่จะทำ
การผลิต ตลอดจนวิธีการผลิตและอ่ืน ๆ รวมทั้งเป็นผู้พิจารณาว่าจะใช้ผลผลิตอย่างไร โดยทำการจัดสรร
ผลผลิตตามหลกั แห่งการผลิตเพื่อใช้ ไม่ให้แสวงหากำไร ในระบบเศรษฐกจิ แบบน้แี รงงานอาจได้คา่ จา้ งเปน็ เงิน
และมีทรัพย์สินส่วนตัวสำหรับดำเนินธุรกิจขนาดย่อมได้ แต่การควบคุมการผลิตส่วนใหญ่ข้ึนอยู่กับรัฐบาล
ประชาชนมีเสรีภาพที่จะเลือกอาชีพและเลือกใช้ส่ิงของใด ๆ ตามความต้องการได้บ้าง แต่ระบบราคามิได้เป็น
สว่ นสำคญั ระบบเศรษฐกจิ แบบนอ้ี าจเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมวิ นสิ ต์หรือสังคมนยิ ม

การแก้ปัญหาพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจจะดำเนินการตามแผนท่ีได้วางไว้ ซึ่งแผนคือเอกสารที่ระบุ
รายละเอียดของการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ เร่ิมตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากร การผลิต การ
ลงทนุ และการจัดสรรผลผลติ ไปสูผ่ บู้ ริโภค รฐั จึงต้องใช้แผนเปน็ เครือ่ งมอื ในการแก้ปัญหาพน้ื ฐานทางเศรษฐกจิ

นักวางแผนจะต้องกำหนดเป้าหมายและความต้องการของรัฐในด้านเศรษฐกิจและไม่ใช่เศรษฐกิจ
ให้ชัดเจน ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลที่สมบูรณ์และถูกต้อง เช่น ปริมาณแรงงาน ประเภทของแรงงาน
ปริมาณวัตถุดิบ กำลังการผลิต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความต้องการและรสนิยมของผู้บริโภค เป็นต้น
รายละเอียดของข้อมูลเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม ผู้ผลิตและผู้บริโภค
จะต้องปฏบิ ัตติ ามแผนท่นี กั วางแผนไดจ้ ัดทำไว้

ข้อดีและข้อเสียของระบบเศรษฐกจิ แบบสังคมนยิ ม
ข้อดี มีดงั น้ี
ผู้ที่นิยมระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีความเห็นว่าการดำเนินงานบางอย่างมีความคล่องตัว เช่น
การยึดกิจการบางอยา่ งเข้าเป็นของรฐั อาจเปน็ ประโยชน์ในการขจัดการแข่งขนั ทางด้านการโฆษณาที่ไร้ประโยชน์
และการล้มเลิกระบบการผูกขาดโดยเอกชนในธุรกิจบางชนิด นอกจากน้ีการท่ีรัฐบาลเข้ามาดำเนินกิจการ
บางอย่างอาจช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรและมีการกระจายรายได้ท่ีดี เพราะรัฐบาลมีเงินเพียงพอท่ีจะดำเนิน
โครงการตา่ ง ๆ ทีม่ ีประโยชน์ต่อประชาชนสว่ นใหญ่ ซง่ึ กิจการเหลา่ นีต้ อ้ งใชเ้ งินลงทุนมหาศาล เอกชนจงึ ไม่ยนิ ดที ี่
จะเขา้ มาดำเนนิ การเพราะอาจประสบกับการขาดทนุ ได้
ข้อเสยี มดี ังนี้
1. ประสิทธิภาพ การวางแผนจากส่วนกลางมักจะไม่มีประสิทธิภาพและอาจผิดพลาดได้ง่าย
เน่อื งจากการรวมอำนาจไว้แหลง่ เดียว หากผวู้ างนโยบายเป็นผทู้ ่ไี ม่มีความสามารถอาจทำใหก้ ารตัดสนิ ใจและการ
จัดสรรทรัพยากรไม่เป็นไปตามหลักที่จะก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและอาจเกิดการสูญเปล่าได้ อันมีผลทำให้
เศรษฐกิจเกดิ การชะงกั งนั ได้

12

2. เสรีภาพ การท่ีประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต ตลอดจนขาดเสรีภาพใน
การดำเนินการ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนขาดกำลังใจท่ีจะปรับปรุงให้กิจการมีประสิทธิภาพมากข้ึน การ
ทำงานของกลไกราคาหรือระบบตลาดไม่มีประสิทธิภาพ เพราะการผลิตสินค้าและบริการส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการ
ตัดสินใจของผู้วางนโยบายจากส่วนกลาง ซ่ึงประชาชนอาจไมไ่ ด้สนิ ค้าหรอื บริการทตี่ นต้องการ

3. ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ข้นึ อยู่กับนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก ทำให้ระบบเศรษฐกิจ
นี้อาจจะมีปัญหาในการพัฒนาเศรษฐกิจ ถ้ารัฐบาลควบคุมกิจการต่าง ๆ มากเกินไปและบางคร้ังไม่สามารถ
ควบคุมได้ท่ัวถึงจึงเกิดช่องว่างหรือการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการดำเนินการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซ่ึงมี
ผลทำให้ระบบเศรษฐกิจไมเ่ จรญิ กา้ วหนา้

4. แรงจูงใจ การขาดแรงจูงใจท่ีจะกระตนุ้ ให้ทำการผลิตหรือคดิ ค้นสิง่ ประดิษฐใ์ หม่ ๆ เพราะเอกชน
ไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือปัจจัยการผลิตท่ีจำเป็นในการผลิตสินค้าและบริการ ตลอดจนไม่สามารถแสวงหา
กำไรจากการดำเนินงานของตน

5. การผลิตสินค้าและบริการ การผลิตหรอื การจัดสรรสินค้าและบริการให้แก่ผบู้ ริโภคอาจไม่ตรงกับ
ความตอ้ งการ เพราะรัฐบาลอาจจะเห็นว่าสินค้าที่ผลิตนั้นเป็นสินค้าฟุ่มเฟอื ย จึงจำกัดปริมาณการผลิตและหันไป
ผลิตสินค้าอืน่ ที่รัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็นแทน เช่น เสอ้ื ผ้า ยารักษาโรค เป็นต้น ซึ่งสินค้าเหล่าน้ีอาจเปน็ สินค้า
ทผ่ี ้บู ริโภคไม่ต้องการก็ได้

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy System) เป็นระบบเศรษฐกิจท่ีมีลักษณะ
ผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกับระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง ทั้งรัฐบาลและ
เอกชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รัฐบาลและเอกชนจะมีกรรมสิทธ์ิในทรัพย์สินกลไก
ราคาจะมีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรและจัดสรรผลผลิต แต่จะมีบทบาทน้อยกว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุน
นิยมเนื่องจากมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจหลายฝ่าย เช่น สหภาพแรงงาน สมาคมการค้าและธุรกิจ กลุ่ม
เหลา่ น้ีมีอิทธิพลและอำนาจผกู ขาดบางส่วน ซงึ่ มีผลต่อการตัดสินใจผลิต การลงทนุ การจัดสรรทรพั ยากร เป็น
ตน้

ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบท่ีมีความยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้มีการเลือกเครื่องมือเพื่อใช้
ในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจท่ีเหมาะสมกับกิจกรรม เพราะเป็นระบบท่ีใช้ท้ังกลไลราคาและการ
วางแผนจากสว่ นกลาง

ขอ้ ดแี ละขอ้ เสยี ของระบบเศรษฐกจิ แบบผสม
ขอ้ ดี มีดงั น้ี
การดำเนินการมีความคล่องตวั เพราะสามารถปรับตัวใหเ้ ข้ากับสถานการณ์ของสภาพเศรษฐกิจได้
การอาศัยกลไกราคาเพ่ือจูงใจให้เอกชนทำการลงทุนและทำการผลิตสินค้าและบริการเพื่อลดภาระของรัฐบาล
แต่ถ้าการดำเนินการของเอกชนไปถึงระยะหนึ่งที่รัฐบาลเห็นว่าถ้ายังคงให้เอกชนดำเนินการต่ อไปอย่างอิสระ
อาจเกิดปัญหาและความเดือดร้อนแก่ประชาชนได้ รัฐบาลก็จะเข้ามาดำเนินการควบคุมหรือออกกฎข้อบังคับ
หรือกฎหมาย และเม่ือใดที่รัฐบาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็นท่ีต้องเข้าไปกำกับก็จะปล่อยให้เอกชนดำเนินการ
ตอ่ ไป

13

ขอ้ เสยี มีดงั นี้
เอกชนอาจขาดแรงจูงใจในการดำเนินการ เพราะเอกชนมีความรู้สึกว่าการเข้ามาดำเนินการต้อง
เส่ียงกับความไม่แน่นอนจากนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายและการใช้อำนาจต่าง
ๆ ทำให้เอกชนขาดความม่ันใจในการลงทุน การดำเนินการผลิตขนาดใหญ่ของรัฐบาลมักจะขาดประสิทธภิ าพ
เมือ่ เทียบกับเอกชน กลา่ วคอื คุณภาพจะไม่เท่าเทียมกับที่เอกชนผลติ ข้ึน

7. เครื่องมอื ประกอบการศกึ ษาวชิ าเศรษฐศาสตร์

ในการศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจที่ตรงกัน นักเศรษฐศาสตร์จำเป็นต้องใช้
เคร่ืองมือทางคณิตศาสตร์บางอย่างเข้ามาช่วย นอกเหนือจากการอธิบายโดยวิธีพรรณนา ดังนั้น จึงควรทำ
ความเข้าใจเคร่ืองมือทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ฟังก์ชัน สมการ กราฟ ความชัน ค่ารวม ค่าเฉลี่ย และค่าหน่วย
เพ่มิ

รวมท้ังค่าสูงสุด-ค่าตํ่าสุด ก่อนท่ีจะได้ทำการศึกษาต่อไป ในท่ีน้ีจะอธิบายเคร่ืองมือต่าง ๆ คร่าว ๆ
โดยเฉพาะความสมั พันธ์ของตัวแปรเพียงสองตัวเทา่ น้ัน เพ่ือไม่ให้ย่งุ ยากเกินไปและสามารถเขา้ ใจทฤษฎีในบท
ต่อ ๆ ไปได้

1. ฟังก์ชัน (Function) หมายถึง ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้ังแต่ 2 ตัวขึ้นไปโดยสามารถแสดง
ในรูปคณติ ศาสตรไ์ ด้ เชน่

Y = f(X)

นั่นคือ Y เป็นฟังก์ชันของ X หมายความว่า ค่าของ Y ข้ึนอยู่กับค่าของ X เม่ือค่าของ X
เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้ค่าของ Y เปล่ียนแปลงตามไปด้วย จึงเรียกตัวแปร Y ว่าตัวแปรตาม (Dependent
Variable)เพราะมีค่าเปล่ียนแปลงตามค่าของ X และเรียกตัวแปร X ว่าตัวแปรอิสระ (Independent
Variable)เพราะไมไ่ ดข้ นึ้ อยกู่ บั ค่าของตวั แปรใดๆ

การใช้ฟังก์ชันแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ทางเศรษฐกิจ เช่น ฟังก์ชันอุปสงค์แสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนสินค้าชนิดหน่ึงที่ต้องการซ้ือ (Qx) และปัจจัยอ่ืน ๆ เช่น ราคาสินค้าชนิดอื่น (PY)
รายได้ (Y) รสนยิ ม (T) เป็นต้น สามารถเขยี นเป็นฟงั ก์ชนั อุปสงค์ได้ดังนี้

Qx = f(Px, Py, Y, T)

ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะบอกเพียงว่า ค่าของตัวแปรใดข้ึนอยู่กับค่าของตัวแปรใด หากต้องการ
แสดงความสัมพันธ์ที่แน่นอนจะต้องแสดงความสัมพันธ์ในรูปของสมการเพ่ือถอดหาค่า เช่น Y = 4X
หมายความว่า คา่ ของ Y จะเปน็ 4 เทา่ ของค่า X เสมอ

14

2. สมการ (Equation) ฟังก์ชันจะแสดงให้เห็นว่าตัวแปรใดมีความสัมพันธ์กันเท่าน้ัน แต่ไม่ได้
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ท่เี ฉพาะเจาะจง กล่าวคือ ถา้ ต้องการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรตา่ งๆอยา่ งแน่
ชัดต้องแสดงโดยใช้สมการ ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะสมการเส้นตรง (Linear Equation) เท่าน้ัน รูปท่ัวไปของ
สมการเสน้ ตรงเม่อื Y = f(X) คือ

Y = a + bX

เม่ือ a คือ ค่าของ Y เม่ือ X มีคา่ เทา่ กบั ศนู ย์ หรืออาจเรยี กวา่ ส่วนตัดแกนต้งั หรอื แกน Y
b คือ ค่าการเปลี่ยนแปลงของ Y เมื่อ X เปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย โดยเครื่องหมายข้างหน้า b
จะเป็นเครื่องหมายแสดงความสัมพันธข์ อง X และ Y ถ้าเครื่องหมายบวก แสดงว่า X และ Y มีความสัมพันธ์ไป
ในทางเดียวกัน กลา่ วคอื เมื่อค่าของ X เพม่ิ ขึ้นค่าของ Y จะเพิ่มข้ึนดว้ ย และถ้าค่าของ X ลดลงค่าของ Y ก็จะ
ลดลง แต่ถ้าเครื่องหมายลบ แสดงว่า X และ Y มีความสัมพันธ์ไปในทางตรงข้ามกัน กล่าวคือ เมื่อค่าของ X
เพ่มิ ขน้ึ ค่าของ Y จะลดลง และถ้าค่าของ X ลดลง คา่ ของ Y จะเพมิ่ ขนึ้

สมมตวิ ่า สมการการบริโภค คือ
C = 100 + 0.75Yd

เมอ่ื C = รายจ่ายในการบรโิ ภค
Yd = รายได้สุทธสิ ว่ นบคุ คลท่สี ามารถนำไปใช้จา่ ยได้

จากสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายจ่ายในการบริโภคและรายได้สุทธิข้างต้น ทำให้ทราบ
ว่ารายจ่ายในการบริโภคจะมากน้อยแคไ่ หนขึ้นอยู่กบั รายไดส้ ุทธิ รายจ่ายคงท่ีในการบริโภคจะมคี ่าเท่ากับ 100
หน่วย (คือค่าตัว a ในสมการท่ัวไป) และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองเป็นไปในทางเดียวกันโดยถ้า
รายได้สุทธิเพ่ิมข้ึน 1 หน่วย จะทำให้รายจ่ายในการบริโภคเพิ่มข้ึน 0.75 หน่วย และในทางตรงข้าม ถ้ารายได้
สทุ ธลิ ดลง 1 หน่วย จะทำใหร้ ายจ่ายในการบรโิ ภคลดลง 0.75 หน่วยดว้ ย (คอื คา่ ตวั b ในสมการรูปทั่วไป)

10.3 กราฟ (Graph) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปในลักษณะรูปกราฟท่ี
พบเสมอในทางเศรษฐศาสตร์ใช้แสดงความสัมพนั ธ์ของตัวแปรเพียง 2 ตัวบนกราฟทม่ี ี 2 แกน คอื แกนต้งั และ
แกนนอนท้ังสองแกนน้ีจะตง้ั ฉากกัน โดยจุดตดั เรยี กว่า จุดกำเนดิ (Origin) ณ จดุ นค้ี ่าของแกนต้ังและแกนนอน
มคี ่าเท่ากบั ศูนย์ การอ่านค่า จากกราฟบนแกนต้ังท่ีอยู่เหนือจุดกำเนิด จะมีค่าเปน็ บวก ค่าที่อยู่ใต้จุดกำเนิดจะ
มีค่าติดลบ ส่วนแกนนอนนั้นค่าท่ีอยู่ทางขวาของจุดกำเนิดจะมีค่าเป็นบวก และค่าท่ีอยู่ทางซ้ายของจุดกำเนิด
จะมีคา่ ตดิ ลบ และโดยปกตินยิ มกำหนดใหแ้ กนนอนแสดงคา่ ของตวั แปรอิสระ และบนแกนต้ัง

15

แสดงค่าของตัวแปรตาม ดังรปู

แสดงแกนต้ังและแกนนอนของกราฟ

จากสมการการบริโภค C = 100 + 0.75Yd ถ้าแทนค่าของ Yd ลงในสมการ และเปลีย่ นไปเรอ่ื ยๆ
จะไดค้ ่าของ C ชุดหน่ึงทม่ี คี วามสมั พันธ์กับคา่ ของ Yd ดงั ตาราง

ตารางแสดงรายจ่ายในการบริโภค ณ ระดับรายได้สุทธิ

รายไดส้ ทุ ธิ (Yรdะ)ดบั ตา่ งๆ รายจ่ายในการบริโภค (C)
100
0

100 175

120 190

160 220

200 250

จากตาราง เมื่อนำค่าของ C และ Yd มาเขียนกราฟ โดยให้แกนต้ังแสดงค่าของ C และแกนนอน

แสดงค่าของ Yd นำค่าของ C และ Yd แต่ละคู่มาเขียนเป็นกราฟเสน้ ตรง ซ่ึงแสดงความสมั พันธ์ของ C และ Yd

ซึง่ มีลกั ษณะความสมั พันธด์ ังสมการ C = 100 + 0.75Yd ดังรูป

เส้นแสดงการบรโิ ภค
งการบริโภค

10.4 ความชัน (Slope) คือ อัตราส่วนการเปล่ียนแปลงของค่าตัวแปรบนแกนตั้งต่อการ
เปลยี่ นแปลงของคา่ ตวั แปรบนแกนนอน หรือสามารถเขียนในรปู คณติ ศาสตรไ์ ด้ดังนี้

16

เมอ่ื ΔY คอื คา่ การเปล่ยี นแปลงของตวั แปรบนแกนต้ัง
ΔX คือ คา่ การเปลีย่ นแปลงของตัวแปรบนแกนนอน

และวธิ ีการหาคา่ ความชันพิจารณาได้ ดงั รูป

แสดงการหาค่าความชนั ของกราฟเสน้ ตรง
งการบริโภค

จากรูปท่วั ไปของสมการเส้นตรง Y = a + bX คา่ b คือ คา่ การเปลี่ยนแปลงของ Y เม่อื X
มีการเปลย่ี นแปลงไป 1 หน่วย หรือสามารถเขียนรูปคณติ ศาสตร์ คอื b=

น่ันคือ ความชัน (Slope) = b นนั่ เอง

ในกรณีกราฟเส้นตรงค่าความชัน ณ จุดต่าง ๆ จะมีค่าเท่ากันตลอดท้ังเส้น ส่วนการหาค่า
ความชันบนเส้นโค้งต้องลากเส้นตรงสัมผัสจุดที่ต้องการหาค่าความชัน ซึ่งค่าความชันของเส้นตรงท่ีลากมา
สัมผัสนี้จะเป็นค่าความชนั ของเส้นโค้ง ณ จุดทต่ี ้องการหา โดยจดุ ต่าง ๆ บนเส้นโค้งจะมีความชันไม่เท่ากัน ดัง
รปู

แสดงการหาค่าความชนั ของกราฟเส้นโคง้
งการบรโิ ภค

17

ทั้งนี้ ค่าความชนั อาจมีคา่ เป็นไดท้ ้ังค่าบวก ค่าลบ ศูนย์ หรืออนิ ฟนิ ิต้กี ็ได้ ดงั รูป

แสดงกราฟเส้นตรงท่ีมีคา่ ความชันแบบตา่ งๆ
งการบรโิ ภค

จากรูป (ก) แสดงค่าความชันซึ่งมีค่าเป็นลบ แสดงค่าของ X และ Y เปลี่ยนแปลงไปในทางตรง
ข้ามกัน ค่าของ X เพิ่มข้ึน ค่าของ Y จะลดลง หรือถ้าค่าของ X ลดลง ค่าของ Y จะเพ่ิมขึ้น สมการท่ัวไปของ
เสน้ ตรงแบบนี้ คือ Y = a – bX

จากรูป (ข) แสดงค่าความชันซ่ึงมีค่าเป็นบวก แสดงว่าค่าของ X และ Y เปลี่ยนแปลงไปในทาง
เดียวกัน ถ้าค่าของ X เพ่ิมขึ้น ค่าของ Y จะเพิ่มขึ้นด้วย ในทำนองเดียวกัน ถ้าค่าของ X ลดลง ค่าของ Yจะ
ลดลงด้วย สมการทว่ั ไปของเสน้ ตรงแบบนี้ คอื Y = a + bX

จากรูป (ค) แสดงค่าความชันซึ่งมีค่าเป็นศูนย์ แสดงว่าไม่วา่ ค่าของ X จะเปล่ียนแปลงไปอย่างไร
ค่าของ Y จะไมเ่ ปลี่ยนแปลงตามไปด้วย คา่ ของ Y จะมคี า่ คงที่ สมการทั่วไปของเส้นตรงแบบนี้ คอื Y = a

จากรูป (ง) แสดงค่าความชันซ่ึงมีค่าเป็นอินฟินิต้ี หมายความว่า ไม่ว่าค่าของ Y จะเปลี่ยนแปลง
ไปอย่างไร ค่าของ X จะไม่เปล่ียนแปลงตามไปด้วยและมีค่าคงท่ีตลอด สมการท่ัวไปของเส้นตรงแบบนี้ คือ X
=d

ในกรณีเสน้ ตรงลากออกจากจดุ กำเนดิ ค่าจุดตัดแกนต้ัง หรือ a จะมีค่าเป็นศูนย์ สมการทั่วไปของ
เส้นตรงแบบนี้จึงมีลักษณะเป็นดังนี้ Y = bX และในกรณีท่ีเส้นตรงลากจากจุดกำเนิดทำมุม 45 องศากับแกน
ตัง้ และแกนนอน ค่าความชันของเส้นตรงน้ีจะมคี ่าเท่ากับ 1 โดยมีสมการทั่วไป คือ Y = X น่นั คือ ทุกๆ จุดบน
เส้นตรงเสน้ นี้ให้คา่ X และ Y ท่เี ทา่ กนั ดงั รูป

18

แสดงกราฟเสน้ ตรงทลี่ ากจากจุดกำเนดิ
งการบรโิ ภค

5. ค่ารวม ค่าเฉลี่ย และค่าหน่วยเพิ่ม (Total, Average and Marginal Value) เมื่อเราทราบ
แล้วว่าการเปล่ียนแปลงของตัวแปรตามมักเกิดจากการเปล่ียนแปลงของตัวแปรอิสระ เราจึงต้องศึกษาต่อไปว่า
ความเปล่ียนแปลงที่เกิดข้ึนสามารถวดั ออกมาเป็นตัวเลขไดเ้ ท่าไร โดยท่วั ไปอาจวดั ค่าออกมาได้ 3 แบบ คอื

1) ค่ารวม (Total Value) คือ ยอดรวมท้ังหมด เช่น ต้นทุนรวม รายได้รวม กำไรรวม เป็น
ตน้

2) ค่าเฉล่ีย (Average Value) อัตราส่วนของยอดรวมตัวแปรตามกับยอดรวมของตัวแปร
อสิ ระ เชน่ ต้นทุนเฉลีย่ ต่อหนว่ ย รายได้เฉล่ียตอ่ วัน กำไรเฉลีย่ เป็นต้น

3) ค่าหน่วยเพิ่ม (Marginal value) เป็นวิธีวัดค่าที่นิยมกันมากในทางเศรษฐศาสตร์ค่า
หน่วยเพมิ่ คือ การพิจารณาว่าตวั แปรตามจะเปลย่ี นแปลงไปเท่าไร เม่ือตัวแปรอิสระเปล่ยี นแปลงค่าไป

จากเดมิ 1 หนว่ ย สูตรของหน่วยเพิ่ม = สว่ นเปล่ียนของตัวแปรตาม Y

ส่วนเปลยี่ นของตวั แปรอสิ ระ X
งการบริโภค

6. ค่าสูงสุดและต่ําสุด (Maximum and Minimum Value) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มักให้
ความสำคัญกับการหาค่าสูงสุดและต่ําสุด การหาค่าดังกล่าวสามารถทำได้โดยวิธีแคลคูลัสและโดยอาศัย
รปู กราฟ

นอกจากน้ีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ยังได้อาศัยการอธิบายภาวะดุลยภาพ (Equilibrium) เพ่ือ
ประโยชน์ในการอธิบายสภาวะท่ีเป็นไปในท้ายที่สุดของการปรับตัว และเป็นหลักในการคาดคะเนทิศทางการ
เปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางเศรษฐกิจ โดยดุลยภาพในทางทฤษฎีหมายถึง สภาวะบางส่วนหรือทังหมดของ
ระบบเศรษฐกิจท่ีปจั จัยต่าง ๆ ท่ีเคยก่อให้เกิดความเปลย่ี นแปลงมคี วามพอดี อยู่ในภาวะสมดุลโดยตวั แปรต่าง
ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง แต่โดยท่ัวไปตัวแปรดังกล่าวจะมีการเปล่ียนแปลงอย่างช้า ๆ
ตลอดเวลา ดังน้ัน ระบบเศรษฐกิจที่เป็นจริงจึงมักไม่อยู่ในภาวะสมดุล เป็นแต่เพียงการว่ิงเข้าหาภาวะสมดุลที่
ผันแปรอยู่เสมอเทา่ นัน้

19

8. ประโยชนข์ องวชิ าเศรษฐศาสตร์

วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาท่ีมีความสำคัญและมีประโยชน์ ทำให้ทราบถึงวิธีการแก้ไขปัญหาทาง
เศรษฐกิจได้อย่างมีเหตุผล ดังนั้น วิชานี้จึงมักเป็นวิชาพื้นฐานของการศึกษาในแขนงวิชาอ่ืน ๆ ประโยชน์ของ
วชิ าเศรษฐศาสตรส์ ามารถสรปุ ไดด้ ังน้ี

1. ช่วยให้การดำรงชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุมีผล เพราะมนุษย์จะต้อง
ตัดสินใจในกิจกรรมทางเศรษฐกิจตลอดเวลา เช่น ซื้อสินค้าอะไรมาบริโภค จำนวนเท่าใด ซื้ออะไรก่อนอะไร
หลงั การตัดสินใจอย่างมีหลกั เกณฑจ์ ะชว่ ยใหก้ ารดำรงชวี ิตประจำวันเปน็ ปกติสขุ

2. เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นแก่ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจและอาชีพอิสระ เช่น นักการธนาคาร
นกั บญั ชี นกั ปกครอง ผูจ้ ดั การบรษิ ัท ทนายความ นักหนงั สือพิมพ์ เปน็ ตน้

3. หน่วยธุรกิจสามารถนำความรู้ไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น สามารถคาดการณ์ภาวะ
เศรษฐกิจในอนาคตได้ถูกต้อง ทำให้การวางแผนเกี่ยวกับการลงทุน การผลิต การกำหนดราคาเป็นไปอย่างมี
ประสทิ ธิภาพ

4. ในแงข่ องสว่ นรวม ถ้าประชาชนมีความรู้ดา้ นเศรษฐศาสตรก์ ็จะสามารถประกอบอาชีพในอนั ที่
จะก่อใหเ้ กิดความเจริญกา้ วหน้าแก่ตนเองและส่วนรวม หรือในกรณีท่ีประเทศประสบปญั หาเศรษฐกิจรัฐบาลก็
จะได้รบั ความรว่ มมอื ในการแกไ้ ขปญั หาอยา่ งดี ทำใหป้ ญั หาที่เกิดข้นึ ผอ่ นคลายไปในทางทดี่ ีได้รวดเรว็ ขน้ึ

5. เขา้ ใจพฤติกรรมของมนุษย์ เข้าใจกฎเกณฑ์และสถาบันทางเศรษฐกิจท่ีมนุษย์ต้ังข้ึน ทำให้เกิด
แนวทางการเปลี่ยนแปลงและพฒั นาสงั คมเศรษฐกิจที่ตนอาศยั อย่ใู ห้มีความเจรญิ ยิ่งข้นึ

6. ในแง่ของรัฐบาล ทำให้ผู้บริหารประเทศเข้าใจถึงข้อเท็จจริงเก่ียวกับปัจจัย สภาวะแวดล้อม
และสภาวะทางเศรษฐกิจที่ดำรงอยู่ โดยจะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจทางเศรษฐศาสตร์ไปแก้ไขในส่วนที่เป็น
ปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมท้ังวางแผนส่งเสริมและพัฒนาให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเจริญก้าวหน้าและมี
เสถยี รภาพต่อไป

สรุป วิชาเศรษฐศาสตร์ คือ วิชาท่ีศึกษาถึงการเลือกทรัพยากรการผลิตท่ีมอี ยู่อย่างจำกัดมาใช้ใน
การผลิตสินค้าและบริการอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด และหาทางแจกจ่ายหรือกระจายสินค้า
และบริการออกไปเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีความต้องการไม่จำกัดให้ได้รับความพอใจสูงสุดและมี
ประสิทธิภาพมากท่ีสุด บิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ อดัม สมิธ วิชาเศรษฐศาสตร์แบ่งการศึกษาออกเป็น
เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค โดยเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการศึกษาพฤติกรรมทาง
เศรษฐกิจในส่วนย่อยของระบบเศรษฐกิจ แตเ่ ศรษฐศาสตรม์ หภาคเป็นการศึกษาเศรษฐกจิ ในภาพรวมทัง้ ระบบ
ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์มีเครื่องมือท่ีนิยมนำมาใช้อธิบายทฤษฎีทางด้านเศรษฐศาสตร์ ได้แก่
ข้อความบรรยาย ฟงั ก์ชัน สมการ และกราฟ

20

แบบประเมนิ ผลการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ท่ี 1

ตอนท่ี 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. อธบิ ายความหมายของเศรษฐศาสตร์

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

2. ปัจจัยการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง และเจ้าของปัจจัยการผลิตแตล่ ะ
ประเภทไดผ้ ลตอบแทนในรปู ใด

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

3. เศรษฐศาสตรจ์ ลุ ภาคและเศรษฐศาสตรม์ หภาคมีความแตกตา่ งกันอย่างไร

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

4. ผูเ้ รียนคิดว่าการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์มวี ตั ถปุ ระสงค์อย่างไรบ้าง

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

5. “เศรษฐศาสตรไ์ ม่มีส่วนเก่ียวข้องกบั ชวี ิตความเปน็ อยู่ของนายซี หากนายซีอยู่คนเดยี วบนเกาะหนู”
ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตใุ ด อธบิ าย

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

6. หน่วยเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจประกอบดว้ ยอะไรบ้าง

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

21

7. ปญั หาพื้นฐานทางเศรษฐกจิ ทีท่ ุกระบบเศรษฐกจิ ต้องเผชญิ มอี ะไรบ้าง

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

8. ระบบเศรษฐกจิ แบบทุนนยิ มแตกต่างจากระบบเศรษฐกจิ แบบสังคมนยิ มอยา่ งไร

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

9. ท่านคิดวา่ การเรยี นวิชาเศรษฐศาสตร์มปี ระโยชน์อยา่ งไร

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

10. ภาวะดลุ ยภาพในทางเศรษฐศาสตรห์ มายถึงอะไร

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

22

ตอนท่ี 2 จงเลอื กขอ้ ทีถ่ ูกตอ้ งท่ีสดุ เพียงข้อเดียว
1. ในปจั จบุ ันนักเศรษฐศาสตร์ได้จำแนกวิชาเศรษฐศาสตร์อยา่ งไรบ้าง

ก. เศรษฐศาสตรว์ เิ คราะห์และเศรษฐศาสตร์นโยบาย
ข. เศรษฐศาสตรก์ ารเงนิ และเศรษฐศาสตร์การคลัง
ค. เศรษฐศาสตร์จลุ ภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค
ง. เศรษฐศาสตรภ์ ายในประเทศและเศรษฐศาสตรร์ ะหวา่ งประเทศ
จ. เศรษฐศาสตรว์ ิเคราะห์และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

2. วตั ถปุ ระสงคใ์ นการศกึ ษาทางเศรษฐศาสตรเ์ พื่อควบคุมสถานการณ์ทางเศรษฐกิจใหเ้ ปน็ ไปตามท่ตี ้องการ

เปน็ การศึกษา

เศรษฐศาสตรใ์ นแนวทางใด

ก. เศรษฐศาสตรว์ เิ คราะห์ ข. เศรษฐศาสตร์นโยบาย

ค. เศรษฐศาสตร์การเงนิ ง. เศรษฐศาสตร์การคลงั

จ. เศรษฐศาสตร์จุลภาค

3. วธิ กี ารศึกษาทางเศรษฐศาสตร์มีกีว่ ธิ ี อะไรบ้าง
ก. 2 วิธี คือ วธิ ีหาผลจากเหตุ และวิธหี าเหตุจากผล
ข. 2 วิธี คอื วธิ ีสงั เกตจากประวตั ิศาสตร์ และวธิ ีศึกษาจากสภาพปจั จุบนั
ค. 3 วิธี คือ วิธีสงั เกตจากประวัติศาสตร์ วิธีหาผลจากเหตุ และวธิ หี าเหตุจากผล
ง. 3 วธิ ี คือ วิธศี ึกษาสภาพปจั จบุ ัน วธิ หี าผลจากเหตุ และวิธหี าเหตจุ ากผล
จ. 4 วธิ ี คอื ประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ วิธหี าผลจากเหตุ และวธิ หี าเหตจุ ากผล

4. ปัญหาข้อใดเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐศาสตรจ์ ุลภาค

ก. ปญั หาความยากจน ข. ปัญหาการว่างงาน

ค. เน้ือหมูขาดตลาด ง. ปญั หาภาวะเงนิ เฟ้อ

จ. การขาดดุลการค้าและดลุ การชำระเงนิ

5. เนื้อหาสาระเรื่องใดต่อไปน้ีทีจ่ ัดอยใู่ นเศรษฐศาสตร์มหภาค

ก. พฤตกิ รรมของหนว่ ยผลติ ข. การศกึ ษารายไดป้ ระชาชาติ

ค. อุปสงค์ในการซื้อเนื้อสตั ว์ ง. ความตอ้ งการซอ้ื รถยนต์

จ. การผกู ขาดในหน่วยผลิตตา่ ง ๆ

23

6. ปจั จยั การผลติ ทางเศรษฐศาสตรป์ ระกอบด้วยอะไร

ก. ที่ดนิ โรงงาน ทนุ และวัตถุดิบ ข. ท่ดี นิ โรงงาน เงนิ ทนุ และผู้ประกอบการ

ค. ที่ดนิ แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ ง. ทีด่ นิ แรงงาน เงนิ ทนุ และเคร่ืองจักร

จ. ทีด่ นิ วัตถุดิบ แรงงาน และโรงงาน

7. ปญั หาพน้ื ฐานใดในทางเศรษฐกิจทท่ี กุ ระบบเศรษฐกิจจะต้องเผชิญ
ก. ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลติ เพือ่ ใคร
ข. ผลิตอะไร ผลิตจำนวนเท่าใด และผลติ อย่างไร
ค. ผลติ อะไร ผลติ จำนวนเทา่ ใด และผลิตเพื่อใคร
ง. ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลติ จำนวนเท่าใด
จ. ผลิตเพ่ือใคร ผลติ จำนวนเท่าใด และผลิตเพื่ออะไร

8. ปญั หาพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจเกิดขนึ้ เนือ่ งจากสาเหตใุ ด
ก. ประชากรยากจน
ข. การผกู ขาดทางเศรษฐกจิ
ค. ความต้องการของมนษุ ย์มจี ำกดั
ง. การนำสนิ ค้าเขา้ มากกว่าการส่งสินค้าออก
จ. ทรัพยากรมไี ม่เพยี งพอกบั ความต้องการของมนุษย์

9. ประโยชนข์ องการเรยี นวชิ าเศรษฐศาสตร์คอื อะไร

ก. ทำให้เจ้าของธุรกิจรา่ํ รวย ข. ทำใหเ้ ศรษฐกจิ ไม่ตกตํา่

ค. ทำใหบ้ า้ นเมืองมคี วามสงบ ง. ทำให้บคุ คลในสังคมเข้าใจระบบเศรษฐกิจมากข้นึ

จ. ทำใหผ้ ู้บรโิ ภคตัดสินใจซอ้ื สนิ คา้ และบริการได้ถูกตอ้ ง

10. จากสมการ Y = f(X) Y คืออะไร
ก. Y คือ ตัวแปรตาม X คอื ตัวแปรอสิ ระ
ข. Y คือ ตัวแปรอสิ ระ X คอื ตวั แปรตาม
ค. Y คอื ตัวแปรภายนอก X คือ ตัวแปรภายใน
ง. Y คือ ตัวแปรภายใน X คอื ตัวแปรภายนอก
จ. Y คือ ตวั แปรคงที่ X คือ ตัวแปรภายนอก

24

ตอนที่ 3 จงใส่เครอื่ งหมาย ✓ หรือ × หนา้ ขอ้ ความที่เหมาะสม
..................... 1. ในทางเศรษฐศาสตร์ได้แบง่ สนิ คา้ ออกเปน็ 2 ชนดิ คอื สนิ คา้ มคี ุณภาพ และสนิ คา้ ไมม่ ีราคา
..................... 2. แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ท่ีสำคัญมี 3 สำนัก คือ คลาสสิก นโี อคลาสสกิ และเคนส์
..................... 3. เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาทางสงั คมศาสตรท์ ีใ่ ช้วธิ ีการทางวทิ ยาศาสตร์มาศึกษา
..................... 4. ภาคครัวเรือน เปน็ หน่วยเศรษฐกิจท่ีทำไดท้ ั้งการผลิต การบรโิ ภค และการเก็บภาษี
..................... 5. ประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกจิ แบบสงั คมนยิ ม
..................... 6. เครอ่ื งมือท่ีใช้ทฤษฎเี ศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ฟงั ก์ชนั สมการ กราฟ ความชัน คา่ ตํ่าสุด-สูงสดุ
..................... 7. แกนตัง้ ของกราฟวชิ าเศรษฐศาสตรแ์ ทนค่าตวั แปรอิสระ ส่วนแกนนอนแทนค่าตวั แปรตาม
..................... 8. คา่ ของหน่วยเพิ่ม เปน็ วธิ ีวัดคา่ ทีน่ ยิ มกนั มากทางเศรษฐศาสตร์
..................... 9. อปุ สงคส์ ว่ นเกนิ เป็นภาวะทคี่ วามต้องการซ้อื มากกว่าปริมาณขาย
..................... 10. ความรูท้ างเศรษฐศาสตร์ทำให้ผู้บริหารประเทศเข้าใจปัญหาทางเศรษฐกิจและทราบแนว

ทางแก้ไขทเี่ หมาะสม

25

ใบงานท่ี 1

“เราไม่ถือวา่ แรงงานสตั ว์เป็นปัจจัยการผลิตประเภทแรงงาน แต่อนโุ ลมให้เป็นปจั จยั ทุน” ผู้เรียน
เหน็ ดว้ ยหรือไม่ เพราะเหตุใด

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 2

ในบรรดาปัจจัยการผลิตทั้ง 4 ประเภท ผู้เรียนเห็นวา่ “ปัจจัยการผลิตใดมีความสำคัญท่ีสุดในการ
สร้างความเจรญิ เติบโตทางเศรษฐกิจ” เพราะเหตใุ ด อธบิ ายเหตผุ ล

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

ใบงานท่ี 3

ผ้เู รียนคดิ ว่า “ประเทศไทยมรี ะบบเศรษฐกจิ แบบใด” อธบิ ายและยกประเดน็ สำคญั ใหเ้ หน็ ชดั เจน

.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

26


Click to View FlipBook Version