0
วิชาหลักเศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา 30200-1001
หน่วยที่ 11 เร่ืองนโยบายการคลัง
จดั ทำโดย
นางกชมน เอียดแก้ว
บธ.ม. (การจดั การโลจสิ ตกิ สแ์ ละโซอ่ ุปทาน)
1
หนว่ ยที่ 11
ชื่อหนว่ ย นโยบายการคลงั จำนวน 3 ช่ัวโมง
สาระสำคญั
รายไดข้ องรัฐบาลได้มาจากประชาชน กลา่ วคือ การใช้จา่ ยต่าง ๆ ของรฐั บาลจะได้มาโดยการโยกยา้ ย
ทรพั ยากร บางสว่ นจากภาคเอกชน เนอื่ งจากทรพั ยากรตา่ ง ๆ ของสังคมในขณะใดขณะหนง่ึ มจี ำนวนจำกดั ซ่ึง
ต้องแบ่งกันใช้ระหว่าง ภาครัฐบาลและภาคเอกชน ดังนั้น เมื่อภาครัฐบาลใช้มากข้ึน ภาคเอกชนจะต้องใช้
น้อยลง รัฐบาลมักจะหาเงินมาใช้จ่ายด้วย วิธีการต่าง ๆ เม่ือได้รายได้มารัฐบาลจะนำไปใช้จ่ายตาม
วตั ถปุ ระสงคท์ ไี่ ด้กำหนดไว้ ซง่ึ การใชจ้ ่ายของรัฐบาลถอื เป็นเครอ่ื งมอื ทางการคลังทีก่ อ่ ใหเ้ กดิ การเปลย่ี นแปลง
ทางเศรษฐกจิ ให้เป็นไปตามแนวทางทร่ี ัฐบาลต้องการ แต่อย่างไรกต็ าม รัฐบาลต้อง จัดทำงบประมาณแผ่นดิน
เพ่ือใช้เป็นเคร่ืองมือในการบริหารประเทศ การหาเงินเพ่ือมาใช้จ่ายของรัฐบาล นอกจากการเก็บ ภาษีอากร
แล้วรัฐบาลยังทำการกู้ยืมเงินหรือการก่อหน้ีสาธารณะทั้งจากภายในและต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้จ่ายใน
โครงการ ตา่ ง ๆ ของรฐั บาล
จุดประสงค์การเรยี นรู้
1. เขา้ ใจความหมายและความสำคัญของการคลงั
2. เขา้ ใจความหมายและวตั ถุประสงค์ของนโยบายการคลงั
3. อธิบายประเภทและเครือ่ งมือของนโยบายการคลังได้
4. อธบิ ายเก่ียวกับรายได้ของรฐั บาล รายจา่ ยสาธารณะของรฐั บาล และหนี้สาธารณะได้
5. อธบิ ายงบประมาณแผน่ ดนิ ได้
สมรรถนะประจำหน่วย
แสดงความรูเ้ ก่ียวกบั นโยบายการคลังของรฐั บาล
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายและความสำคญั ของการคลงั
2. ความหมายและวัตถปุ ระสงคข์ องนโยบายการคลัง
3. ประเภทและเคร่อื งมอื ของนโยบายการคลงั
4. รายไดแ้ ละรายจ่ายสาธารณะของรัฐบาล
5. งบประมาณแผ่นดิน
2
1. ความหมายและความสำคัญของการคลงั
1.1 ความหมายของการคลงั
การคลัง หมายถึง การกำหนดนโยบายและการดำเนินงานทางการเงินด้วยการหารายได้และ
การใช้จ่ายของรฐั บาล โดยรฐั บาลจะมีรายได้จากภาษีอากร การขายสนิ คา้ และบริการ และรายไดอ้ ืน่ ๆ รวมทั้ง
การกู้ยืมท้ังภายในและภายนอกประเทศ ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลจะใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ ที่เสนอต่อ
รัฐสภา อันได้แก่ การบริหารประเทศ การป้องกันประเทศ การรักษาความสงบ การบริการชุมชน และสังคม
และการพฒั นาเศรษฐกิจของประเทศ
1.2 ความสำคัญของการคลงั
การคลงั มีความสำคัญในการดำเนินงานของรัฐบาล เพราะรฐั บาลจะตอ้ งมีทั้งสว่ นทเี่ ป็นรายได้
และรายจ่ายเพ่ือการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจำเป็นต้องมีรายได้ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการจัดเก็บภาษีอากร จาก
ประชาชน เพื่อจะได้นำมาใช้จ่ายให้พอเพียงกับความต้องการของระบบเศรษฐกิจ การใช้จ่ายของรัฐบาล จะ
สง่ ผลกระทบต่อรายได้ประชาชาติ การผลิต การบริโภค และการจ้างงาน หากรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอ กับ
รายจา่ ย ก็จะต้องกยู้ ืมเงินมาชดเชย จงึ ต้องศกึ ษาว่ารัฐบาลควรจะจัดเกบ็ ภาษีอากรและนำไปใช้จ่าย อย่างไรจึง
จะเกิดประโยชนส์ ูงสุดแก่ประชาชนเจ้าของประเทศ
2. ความหมายและวตั ถุประสงคข์ องนโยบายการคลงั
นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) หมายถึง นโยบายเก่ียวกับการหารายได้และการใช้จ่ายของ
รัฐบาล ซ่ึงเป็นเคร่ืองมือในการกำหนดแนวทาง เป้าหมายและการดำเนินงาน เพ่ือให้บรรลุเป้าหมายทาง
เศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายการคลังอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายของรัฐบาล การ
เปลีย่ นแปลงแหล่งและวธิ ีการหารายได้ การเปล่ียนแปลงอัตราภาษี เปน็ ตน้
2.1 วตั ถุประสงคข์ องนโยบายการคลงั
นโยบายการคลังมีวตั ถปุ ระสงคท์ ีส่ ำคญั 5 ประการ ดงั น้ี
1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เน่ืองจากภาวะเศรษฐกิจท่ีขาดเสถียรภาพมักจะ
ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนแก่ประชาชนจำนวนมาก นโยบายการคลังจึงต้องพยายามสร้างเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจ สร้างเสถียรภาพในตลาดเงิน และความสมดลุ ในบญั ชีเดินสะพดั
2. การเสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจจะมีการขยายตัวก็ต่อเม่ือ
การสะสมทุนมีอัตราการเพิม่ สูงกวา่ อตั ราการเพ่มิ ของประชาชน รัฐบาลอาจใช้นโยบายการคลงั โดยเพิ่ม การใช้
จ่ายในด้านการศึกษา เพื่อยกระดับความรู้และทักษะของประชาชนให้สูงข้ึน หรือเพ่ิมการ ลงทุน ด้าน
สาธารณูปโภค เพื่ออำนวยความสะดวกแกก่ ารลงทนุ และการผลติ ของภาคเอกชน รวมทั้งการเลือกใช้ ประเภท
และอตั ราภาษเี พ่อื จูงใจนักลงทุน
3. การส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลให้เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ การทร่ี ัฐบาลเข้าไปยุ่งเก่ียวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าและบรกิ ารด้วย
3
ตนเอง หรือ การเก็บภาษีอากร ล้วนทำให้รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่าย หากรัฐบาลใช้ทรัพยากรของสังคมมาก
ทรัพยากรที่ เหลือสำหรบั ภาคเอกชนก็จะลดลง นโยบายการคลงั จึงมีความสำคัญในการกำหนดว่า การจดั สรร
ทรัพยากร ระหว่างภาครฐั บาลและภาคเอกชนเป็นไปในสดั ส่วนท่ีทำให้สังคมได้รับสวสั ดกิ ารสูงสุดหรอื ไม่ และ
การจดั สรร ทรัพยากรในภาครัฐบาลมีประสิทธิภาพเพียงใด รัฐบาลสามารถจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ
ท้ังปรมิ าณ และคุณภาพตรงกบั ความต้องการของประชาชนหรอื ไม่
4. การส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ เน่ืองจาก
แผนการ ใช้จ่ายของรัฐบาลจะเป็นตัวกำหนดว่าประชาชนกลุ่มใดได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายของรัฐบาล
และ แตล่ ะกลมุ่ ไดร้ บั ประโยชน์มากนอ้ ยตา่ งกนั เท่าใด ส่วนแผนการหารายได้ต้องวิเคราะหว์ ่าประชาชนกลุม่ ใด
เป็นผู้รับภาระการใช้จ่ายของรัฐ และแต่ละกลุ่มรับภาระมากน้อยต่างกันเท่าใด ดังนั้น นโยบายการคลัง จึง
สามารถนำไปสู่การปรับปรุงการกระจายรายไดข้ องประชาชนให้มีความเท่าเทียมกันมากขน้ึ
5. การแกไ้ ขปัญหาความยากจน รฐั บาลมีหน้าท่ีดูแลแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน
โดยมุ่งเนน้ ผู้ทีย่ ากจนทสี่ ุดและแก้ปญั หาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสงั คม
3. ประเภทและเคร่ืองมอื ของนโยบายการคลงั
โดยท่ัวไปแยกนโยบายการคลังออกเป็น 2 แบบ คือ การแบ่งนโยบายการคลังตามลักษณะ การ
ทำงานและการแบ่งนโยบายการคลงั ตามปัญหาท่ีต้องแก้ไข
1. นโยบายการคลังจำแนกตามลักษณะการทำงาน แบ่งเป็นนโยบายการคลังแบบอัตโนมัติ และ
นโยบายการคลังแบบตงั้ ใจ
1) นโยบายการคลังแบบอัตโนมัติ เป็นนโยบายการคลังที่สามารถปรับตัวเพื่อให้เกิด
เสถียรภาพหรือลดความผันผวนได้โดยอตั โนมัติ กล่าวคือ จะช่วยชะลอการใช้จ่ายมวลรวมไม่ให้เพม่ิ สูงข้นึ มาก
เกินไปในขณะท่ีเกิดภาวะเงินเฟ้อและช่วยพยุงการใช้จ่ายมวลรวมไม่ให้ลดลงมากเกินไปในขณะท่ีเกิด ภาวะ
เศรษฐกิจตกต่ำ เคร่ืองมือของนโยบายการคลังแบบอัตโนมัติ ไดแ้ ก่ ภาษีเงินได้ และรายจ่ายเงินโอน และเงิน
ชว่ ยเหลอื
2) นโยบายการคลังแบบต้ังใจ ในกรณีท่ีระบบเศรษฐกิจมีความผันผวนมากและเกิดขึ้นเป็น
เวลานาน การแก้ไขปัญหาโดยใช้นโยบายการคลังแบบอัตโนมัติอาจไม่ได้ผล รัฐบาลจะตอ้ งใชน้ โยบายการคลัง
แบบตงั้ ใจ เครื่องมือของนโยบายการคลังแบบต้งั ใจ ได้แก่ การเปลย่ี นแปลงชนิดของภาษี อัตราภาษี และการ
เปล่ยี นแปลงระดับการใช้จา่ ยของรฐั บาล
2. นโยบายการคลังจำแนกตามลักษณะปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องแก้ไข แบ่งเป็นนโยบายการคลัง
แบบขยายตวั และนโยบายการคลังแบบหดตวั
1) นโยบายการคลังแบบขยายตัว เป็นนโยบายการคลังที่เพ่ิมงบประมาณรายจ่ายและ ลด
ภาษี เป็นการใช้จา่ ยงบประมาณแบบขาดดุลและเป็นการยกระดับรายจ่ายมวลรวมของระบบเศรษฐกิจ เพราะ
รายจ่ายของรัฐบาลจะเพมิ่ ข้ึนแล้ว การลดภาษียงั มีผลให้รายจ่ายในภาคเอกชนเพิ่มสงู ข้ึน การดำเนินนโยบาย
4
การคลังดังกล่าว ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว การจ้างงานและรายได้ประชาชาติ เพิ่มสูงข้ึน รัฐบาลใช้
นโยบายการคลังแบบขยายตัวในกรณีท่ีเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รายจ่ายมวลรวม มีไม่เพียงพอทจี่ ะทำให้เกิด
ภาวะการจ้างงานเต็มทีไ่ ด้
2) นโยบายการคลั งแบบหดตัวเปน็ นโยบายการคลั งที่ ลดงบประมาณรายจ่ายและเพิ่มภาษี
หรอื การตั้งงบประมาณแบบเกนิ ดลุ เพ่ือให้ความตอ้ งการใชจ้ ่ายมวลรวมลดลง อันจะนำไปส่กู ารลดแรง กดดัน
ของภาวะเงินเฟ้อ
4. รายได้และรายจ่ายสาธารณะของรฐั บาล
4.1 รายได้ของรฐั บาล
รายได้ของรัฐบาล (Government Revenue) เน่ืองจากรัฐบาลต้องใช้จ่ายเพื่อบริหาร
ราชการ แผ่นดินตามภาระหน้าที่ในด้านต่าง ๆ เช่น การป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อย
การศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจ การให้สวัสดิการแก่ประชาชน เป็นต้น ดังน้ัน รัฐบาลจึงมีหน้าที่ในการหา
รายได้จาก แหล่งต่าง ๆ ซ่ึงส่วนใหญ่เป็นรายได้จากประชาชนเกือบทั้งหมด ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบ
เศรษฐกจิ ภาคต่างๆ แหลง่ ที่มาของรายได้รัฐบาล โดยท่วั ไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คอื
1. รายได้ท่ีเป็นภาษีอากร (Tax Revenue) รายได้หลกั ท่สี ำคัญที่สุดของรฐั บาล คือ รายได้
จากการจัดเก็บภาษีอากรประเภทต่าง ๆ การเก็บภาษีอากรท่ีเพ่ิมมากขึ้น จะทำให้รัฐบาลมีงบประมาณ เพื่อ
นำไปใช้จ่ายเพม่ิ มากขึ้น แต่รฐั บาลต้องคำนึงถงึ ความสามารถในการเสียภาษีของประชาชนดว้ ย ภาษี ทร่ี ฐั บาล
จดั เก็บแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้แบกรับภาระของภาษีน้ัน
ทั้งหมด หรือเป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีการใช้
จา่ ย เพื่อการบริโภค ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการประกันสังคม ภาษีมรดก ภาษีที่เก็บจากทุน เเละภาษีการ
ให้โดยเสนห่ า เปน็ ตน้
2) ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) คอื ภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่ได้เป็นผ้แู บกรับภาระของภาษี
น้ัน ผู้เสียภาษสี ามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อ่นื ได้ เชน่ รฐั บาลเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตสุรา ผู้ท่ผี ลิตสุรา
จะผลักภาระภาษีทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งท่ีตนต้องเสียให้กบั รัฐบาลแก่ผู้บริโภคในรูปของการขายสุราในราคา ที่
แพงข้ึน เป็นต้น ภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีสินค้าขาเข้า ภาษีสินค้าขาออก ภาษีสรรพสามิต ภาษีการค้า ภาษี
ทรพั ยส์ นิ อากรและแสตมป์ ค่าใบอนญุ าตและกำไรจากรฐั วิสาหกจิ
การใช้ประโยชน์จากภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมเป็นเคร่ืองมือในการดำเนินนโยบายของ
รัฐบาล เช่น ในการใช้ภาษีเป็นเครือ่ งมือในการกระจายรายได้ รฐั บาลควรใช้ภาษีทางตรงเป็นเครอ่ื งมือ เพราะ
ภาษีทางตรงนัน้ ภาระภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บมักตกแก่ผู้เสียภาษี ดังนน้ั รัฐบาลจึงจะเลือกใช้ภาษี แต่ละชนดิ เก็บ
จากผู้ท่ีรัฐบาลต้องการจะลดความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ เช่น การเก็บภาษีมรดก หรือ การเก็บภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาในระบบกา้ วหน้า เปน็ ตน้
5
โครงสร้างของอัตราภาษีท่ีจัดเก็บมี 3 ประเภท คอื
1. อัตราภาษตี ามสดั สว่ น โครงสร้างภาษีของอัตราภาษีตามสัดสว่ นนน้ั อัตราภาษีทจ่ี ดั เก็บ
จะอยู่คงที่ เม่ือฐานของภาษีขยายใหญ่ขึ้น ภาษีท่ีจัดเก็บโดยมีอัตราภาษีคงที่ เช่น ภาษีศุลกากร ภาษี
สรรพสามติ ภาษีมลู ค่าเพม่ิ เป็นต้น
2. อัตราภาษีแบบก้าวหน้า โครงสร้างภาษีแบบก้าวหนา้ นัน้ อัตราภาษีทีจ่ ัดเกบ็ จะเพมิ่ ข้ึน
เร็วกว่าฐานภาษีท่ีเพ่ิมข้ึน การจัดเก็บภาษใี นอัตราก้าวหน้านี้ถือเป็นการจัดเก็บที่ทำให้เกิดการกระจายรายได้
ตัวอยา่ งภาษีอัตรากา้ วหน้านี้ ไดแ้ ก่ ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
3. อัตราภาษแี บบถดถอย โครงสร้างของอัตราภาษแี บบถดถอย จะมีลักษณะท่ีวา่ เม่ือฐาน
ภาษี ขยายใหญ่ขึ้น อัตราภาษีท่ีจดั เก็บน้ันจะลดลง การจัดเก็บภาษีแบบถดถอยน้ี ผมู้ ีรายได้น้อยต้องเสียภาษี
ในอัตราที่สูงกว่าผู้มีรายได้สูง ภาษีอัตราแบบถดถอยน้ี ได้แก่ ภาษีบำรุงท้องที่ ท่ีขณะน้ีกำหนดให้ อัตราภาษี
ของราคาท่ีดินต่ำกว่าไร่ละ 30,000 บาท อัตรา 0.5% ของราคาที่ดินปานกลาง และราคาที่ดิน เกินไร่ละ
30,000 บาท อัตราไร่ละ 0.25%
2. รายได้และรายรับท่ีมิใช่ภาษีอากร (Non-Tax Revenue) นอกจากรายได้ที่เป็นภาษี
อากรแล้ว รฐั บาลยงั มีรายได้ในรูปอื่น ๆ เพื่อนำมาใชจ้ า่ ยในกิจการของรัฐ รายไดอ้ นื่ ๆ นั้นพอจะแบง่ ไดด้ งั น้ี
1) รายไดจ้ ากการประกอบธุรกจิ ของรฐั บาล เป็นรายไดท้ ี่อยูใ่ นรปู ของรฐั วิสาหกจิ หรือใน
รปู ของ หน่วยงานอ่ืน ๆ รายได้ทเี่ กิดจากการประกอบธุรกิจของรัฐจากการผลติ หรือจำหน่ายสินคา้ และบริการ
ตา่ ง ๆ แก่ประชาชน กล่าวคือ การซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาลโดยประชาชนจะเป็นไปตามความสมัครใจ
ส่วนท่ีเป็นรายได้ของรัฐบาลก็คือ กำไรจากการประกอบธุรกิจดังกล่าว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีเหตุผล ในการ
เขา้ ไปประกอบกจิ การ ดงั นี้
(1) เพื่อทำการผลิตสินค้าและบรกิ ารบางอย่างที่จำเป็นต่อความเป็นอยูข่ องประชาชน
อาทิ ส่ิงสาธารณูปโภค
(2) เพื่อเป็นการให้สวัสดิการแก่ประชาชน โดยรัฐบาลเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ
บางอย่างและขายให้แก่ประชาชนในราคาที่ต่ำ เช่น การจัดบริการรถโดยสารประจำทาง การสร้าง อาคาร
สงเคราะห์ เปน็ ตน้
(3) เพ่ือใช้เป็นเครื่องมือในการหารายได้ รัฐบาลอาจทำการผูกขาดการผลิตสินค้าและ
บริการบางอย่างเพื่อเป็นเครอื่ งมือในการหารายได้ของรฐั บาล เช่น การผกู ขาดการผลิตหรือจำหน่ายสรุ า และ
ยาสูบ เป็นตน้
2) รายไดจ้ ากการกู้ยืมหรือการก่อหนี้สาธารณะ เป็นวธิ ีการกู้ยืมเงินจากประชาชน หรือ
กู้ยืมเงินจากต่างประเทศ การก่อหน้ีสาธารณะของรัฐบาลเป็นการหาเงินมาใช้จ่ายก่อนแล้วเก็บภาษีทีหลัง
กล่าวคือ การกู้ยืมน้ันเพื่อใช้จ่ายในกิจการต่าง ๆ ของรัฐบาล เม่ือถึงเวลาชำระหน้ี รัฐบาลจะจัดเก็บภาษีจาก
ประชาชนมาชำระหน้ี ซ่ึงเป็นปัญหาท่ีต้องพิจารณาต่อไปคือ ภาษีท่ีเก็บมาเพ่ือชำระหน้ีน้ันเก็บกับใคร และ
ภาระในการก้ยู ืมของรฐั บาลน้ันตกแกใ่ คร
ปญั หาเกย่ี วกับการก่อหนี้สาธารณะ มดี งั น้ี
6
(1) รฐั บาลทำการกู้ยืมเพอ่ื นำไปใช้จ่ายในกิ จการใด และสามารถทำการใช้จ่ายเงินที่กู้ยืม
มาน้ันคุ้มค่าหรือไม่ ถ้ารฐั บาลกู้ยืมมาเพ่ือนำไปใช้จ่ายเก่ียวกับการเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต และใช้เงนิ กู้นั้น
อยา่ งคุ้มค่าแลว้ การกยู้ ืมของรัฐบาลน้ันจะเป็นคุณประโยชน์ต่อสังคมสว่ นรวม แตถ่ ้ารฐั บาลนำเงนิ กู้ ท่ีได้มาไป
ใช้จ่ายอยา่ งไมค่ ุ้มคา่ อาจกอ่ ใหเ้ กดิ ผลเสียตอ่ ระบบเศรษฐกจิ ของประเทศ
(2) รัฐบาลต้องพิจารณาว่าการกู้ยืมแต่ละครั้งมีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของ
ประเทศ หรือไม่ กล่าวคือจะตอ้ งพจิ ารณาว่าการกู้ยมื น้ันมีผลตอ่ ภาวะเงินเฟอ้ ภาวะการจ้างงาน และการลงทุน
ของภาคเอกชนอย่างไร โดยหลักแล้วรัฐบาลจะต้องทำการกู้ยืมโดยคำนึงถึงประโยชน์และเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ
(3) รฐั บาลตอ้ งพจิ ารณาว่าการกู้ยืมเงินนั้นทำการกู้ยืมจากใคร และมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจ
อย่างไร หรือมีผลต่อภาวะการชำระเงินกู้ของประเทศอย่างไร แล้วใครจะเป็นผู้แบกรับภาระการชำระหน้ี
ดงั กล่าว
ในกรณีท่ีกู้ยืมเงินในประเทศ รัฐบาลตอ้ งพิจารณาว่าการกู้ยืมจากแต่ละแหล่งมีผลในด้าน
การ เพ่ิมปริมาณเงินมากน้อยเพียงใด เชน่ การกยู้ ืมจากธนาคารกลางจะมีผลทำให้ปริมาณเงินเพ่ิมข้ึนมาก จน
อาจเป็นเหตุให้เกิดเงินเฟ้อได้ง่าย ในกรณีของการกู้ยืมจากต่างประเทศ รัฐบาลจำเป็นต้องพิจารณาถึงความ
เหมาะสมในการ ก่อหน้ีสาธารณะ แต่ละครั้ง เพราะการกู้ยืมจากต่างประเทศเท่ากับเป็นการนำ
ทรพั ยากรของประเทศ จำนวนหน่ึงไปชำระหนแี้ ละดอกเบี้ยให้แก่ต่างประเทศ
3) รายได้จากการบริหาร เป็นรายได้ที่เกิดจากการบริหารของรัฐบาล ได้แก่
ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ รายได้ประเภทน้ีมีลักษณะคล้ายกับรายได้ท่ีเกิดจากการประกอบ
กิจการของ รัฐบาล การจัดเก็บมักจะเป็นไปตามหลักของผลประโยชน์ท่ีผู้เสียค่าธรรมเนียมหรือค่าใบอนุญาต
ได้รบั ประโยชน์ กล่าวคือ ผู้ที่เสียคา่ ธรรมเนียมหรือค่าใบอนญุ าตน้ันจะเป็นผู้ที่ได้รับบริการบางอย่างโดยตรง
จากรัฐบาล เช่น ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ ค่าใบอนุญาตขับข่ีรถยนต์ เป็นต้น แต่ผู้ที่ เสีย
ค่าปรบั ไมไ่ ด้เป็นผทู้ ่ไี ดร้ บั ประโยชน์ เพราะเขาละเมดิ กฎระเบยี บ หรอื กฎหมายของสังคม
4) รายได้จากการบริจาค รายได้ที่เกิดจากการบริจาคถือเป็นการให้เปล่าโดยสมัครใจ
ของผู้ให้ เช่น ในแต่ละปีมีผู้บริจาคเงินและทรัพย์สินให้แก่โรงพยาบาล โรงเรียน สถานท่ีราชการของรัฐบาล
เปน็ เงนิ จำนวนมาก
4.2 รายจ่ายสาธารณะของรฐั บาล
รายจ่ายสาธารณะของรัฐบาล (Public Expenditure) หมายถึง การใช้จ่ายของรัฐบาล
เพื่อรักษา ระดับการดำเนนิ งานของรฐั บาล และเพือ่ ผลประโยชน์ของสังคมโดยรวม การใช้จ่ายของรัฐบาลแบ่ง
ออก เป็น 3 แนวทาง ดังนี้
1. การใช้จ่ายเพื่อรักษาระดับการบริหารงานของรัฐบาล เป็นรายจ่ายที่สำคัญท่ีสุดการใช้
จ่ายในส่วนนี้ ได้แก่ การใช้จ่ายเก่ียวกับการบริหาร การรักษาความสงบภายใน การป้องกันประเทศ และ
รัฐบาลมักใช้เงนิ เปน็ จำนวนมากในแตล่ ะปี
7
2. การใช้จา่ ยเพอ่ื ผลประโยชนท์ างเศรษฐกจิ โดยรวม รัฐบาลต้องใช้จา่ ยในกิจการต่าง ๆ ท้ัง
ในดา้ นสงั คมและด้านเศรษฐกิจ เพื่อท่ีจะทำใหป้ ระชาชนส่วนใหญ่มีชีวิตความเปน็ อยทู่ ี่ดีข้นึ การใชจ้ ่ายใน สว่ น
น้ีได้แก่ การจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคม การจัดสรรการกระจายรายได้ การรักษาเสถียรภาพ ทาง
เศรษฐกิจและการส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รายได้ประเภทน้ีมักจะเป็นรายจ่ายท่ี เก่ียวกับการ
ลงทนุ ของรฐั บาล
3. การใช้จ่ายเพ่ือช่วยเหลือต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มักจะมีการคบหาสมาคม
กัน เพ่อื แสวงหาอิทธพิ ลของประเทศและเพ่ือความสงบสุขของโลก รัฐบาลจึงต้องใช้จา่ ยเพ่ือให้ความช่วยเหลือ
แก่ต่างประเทศเป็นเงินจำนวนหน่ึงเป็นประจำ รายจ่ายประเภทน้ีมักคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ เป็น
สำคัญ
4.2.1 ประเภทของรายจา่ ยสาธารณะ
รายจา่ ยสาธารณะจำแนกได้หลายแบบ ตามหลกั พิจารณาว่า การใช้จา่ ยแต่ละรายการ
ของรัฐบาล มีผลกระทบตอ่ เศรษฐกิจ หรอื มีผลตอ่ การจัดสรรการใช้ทรพั ยากรภายในสงั คมอยา่ งไร
1. การจำแนกรายจ่ายตามลักษณะการเพิ่มพูนประสิทธิภาพการผลิตโดยตรง ซึ่ง
แบง่ ออกได้ 2 ลกั ษณะ ดังนี้
1) รายจ่ายท่ีเพิ่มพูนประสิทธิภาพการผลิตโดยตรง เป็นการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน
ของรัฐบาล จะชว่ ยให้ประเทศมีจำนวนสินค้าทุนและมคี วามสามารถในการผลติ เพิ่มข้ึน ซ่ึงจะชว่ ยใหป้ ระเทศมี
ความสามารถ ในการขยายการผลิตเพ่ิมข้ึนในอนาคต รายจ่ายนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต
อย่างรวดเร็ว และจะชว่ ยให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ทดี่ ขี ึ้น เชน่ การลงทุนสร้างระบบสาธารณปู โภค และ
การลงทุน ทางด้านงานวิจัยและพฒั นา เป็นต้น
2) รายจ่ายที่ไม่ได้เพ่ิมพูนประสิทธิภาพการผลิตโดยตรง เป็นรายจ่ายเพ่ือการ
บรโิ ภคของรัฐบาล เช่น การรักษาความสงบภายใน การบริหารงานของรฐั บาล เปน็ ต้น รายจา่ ยน้ีมีความสำคัญ
ตอ่ ความเจริญ เติบโตทางเศรษฐกจิ ของประเทศ และช่วยเพ่มิ ความอยู่ดีกนิ ดีของประชาชน
2. การจำแนกรายจ่ายจากการเคล่ือนย้ายการใช้ทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและ
ภาค รฐั บาล ซง่ึ แบง่ ได้ 2 ลกั ษณะ ดังน้ี
1) การใช้จ่ายที่มีการเคล่ือนย้ายทรัพยากรโดยตรง เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อ
สินค้าและ บริการของรัฐบาล ซึ่งทำให้เกิดการเคล่ือนย้ายการใช้ทรัพยากรโดยตรงระหว่างภาครัฐบาลและ
ภาคเอกชน เช่น การใช้จ่ายเพื่อป้องกันประเทศ การรกั ษาความสงบภายใน การจัดบริการการศึกษา เป็นต้น
การใช้จา่ ย ในลกั ษณะน้ีรฐั บาลต้องดงึ เอาทรพั ยากรบางสว่ นมาจากภาคเอกชน โดยการเกบ็ ภาษอี ากรหรอื การ
กูย้ ืม เม่ือรัฐบาลเกบ็ ภาษีไปแล้ว รัฐบาลจะนำไปใช้จา่ ยในกิจการตา่ ง ๆ ท่ีรัฐบาลต้องการ การใช้จ่ายประเภทนี้
จะเป็นการเพ่ิมบทบาทในทางเศรษฐกิจของรัฐบาล และเป็นการลดบทบาทในทางเศรษฐกิจของเอกชน
2) การใช้จ่ายที่ไม่มกี ารเคลื่อนย้ายทรพั ยากรโดยตรง เปน็ รายจา่ ยเก่ยี วกับการถ่าย
โอนเงิน ของรัฐบาลกับเอกชน เช่น รายจ่ายที่เก่ยี วกับการให้เงินเดือนและสวสั ดิการ รายจ่ายเก่ียวกับบำเหน็จ
8
บำนาญ เป็นต้น รัฐบาลเก็บภาษีมาเพ่อื ใช้จ่ายเปน็ เงนิ สวสั ดิการแกพ่ นกั งานหรือคนบางกลมุ่ การกระทำเช่นน้ี
จะไมท่ ำให้ เกดิ การเคลอ่ื นยา้ ยทรพั ยากรโดยตรงจากเอกชนสู่รัฐบาล แต่เป็นการถา่ ยโอนทรพั ยากรจากเอกชน
โดยมี รัฐบาลเปน็ ตัวกลาง รัฐบาลเพียงทำหน้าที่เก็บภาษีอากรจากคนบางกลมุ่ แลว้ นำเงินภาษีมาจ่ายให้แกค่ น
อีกกลมุ่ หนง่ึ เทา่ นนั้
3. การจำแนกรายจ่ายตามลักษณะงาน จำแนกได้ 5 ประเภท ดังน้ี
1) รายจ่ายเก่ียวกับบริการเศรษฐกิจ ได้แก่ เกษตรกรรมและทรัพยากรท่ีไม่ใช่แร่
ธาตุ เช้ือเพลิง และพลังงาน ทรัพยากรแร่ อุตสาหกรรม การก่อสร้าง การขนส่ง การเก็บรักษาสินค้า การ
คมนาคม โครงการอเนกประสงคแ์ ละบริการเศรษฐกิจอน่ื ๆ
2) รายจ่ายที่เกี่ยวกับการบริการสังคม ได้แก่ การศึกษา การสาธารณสุข การ
ประกนั สังคม และสวัสดกิ ารพเิ ศษ และการบรกิ ารชมุ ชน
3) รายจ่ายท่เี กยี่ วกบั การป้องกนั ประเทศ
4) รายจ่ายที่เกีย่ วกบั การรกั ษาความสงบภายใน
5) รายจา่ ยที่เก่ียวกับการบรหิ ารทว่ั ไป ได้แก่ การบริหารท่วั ไป การตำรวจและตุลา
การ การบริการวจิ ัยและบริการวิทยาศาสตรท์ ั่วไป
4.2.2 หลักการท่ีดเี ก่ยี วกับรายจา่ ยสาธารณะของรัฐบาล
หลักการทีด่ ีของการใชจ้ า่ ยของรฐั บาล แบง่ ได้ 4 หลักการ ดงั นี้
1. หลักของการประหยัด เนื่องจากทรัพยากรของสังคมมีอยู่จำกดั ดังน้ัน การใช้จ่าย
ของรฐั บาล จะต้องเป็นไปในลกั ษณะที่ประหยัดหรอื ใชเ้ งินอยา่ งมีประสทิ ธิภาพมากท่สี ุด โดยตอ้ งพยายามไมใ่ ห้
เกิด การสญู เปลา่ ในการใชท้ รัพยากร
2. หลักของผลประโยชน์ หลักนี้จะพิจารณาถึงผลประโยชน์ท่ีได้รับจากการใช้จ่าย
และผลประโยชน์ ของการใช้จ่ายที่จะตกแก่สังคม เช่น การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การจัดสรรการ
กระจายรายได้ของ สังคม เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ในขณะที่เศรษฐกิจซบเซา รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินเพ่ือกระตุ้น
การขยายตวั ทาง เศรษฐกิจ ชว่ ยให้คนมีงานทำ และมีรายได้
3. หลักของการกลั่นกรอง เพ่ือให้การใช้จ่ายนี้เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากท่ีสุด แต่
การใชจ้ ่ายของ รฐั บาลต้องผ่านการกล่ันกรองในระดับตา่ ง ๆ อยา่ งรอบคอบท้งั ในระดบั รัฐบาลและรัฐสภา
4. หลักของการสรา้ งสว่ นเกนิ เม่อื พิจารณางบประมาณแผน่ ดินของรัฐบาล รัฐบาลจึง
ควรยึด หลักของการสร้างส่วนเกินของงบประมาณในระยะเวลาพอสมควร โดยทั่วไปรัฐบาลจะมีการใช้จ่าย
มากกว่า รายได้เสมอ ทำให้เกิดงบประมาณขาดดุล แต่รัฐบาลไม่ควรจัดทำงบประมาณขาดดุลเป็นประจำ
เพราะ อาจทำให้เกดิ ผลเสียตอ่ ระบบเศรษฐกจิ คือ อาจทำให้เกดิ ภาวะเงนิ เฟ้อ
9
5. งบประมาณแผ่นดนิ (Government Budget)
งบประมาณ (Budget) หมายถึง แผนการปฏิบตั ิงานของรัฐบาลท่ีแสดงในรูปตัวเงนิ ที่เสนอ ต่อ
รฐั สภา ในช่วงระยะเวลาหน่ึง โดยปกติจะกำหนดระยะเวลา 1 ปี คือ เร่มิ ต้นวันท่ี 1 ตุลาคม และสิ้นสดุ วันที่
30 กันยายน ของปถี ัดไป โดยมสี ำนกั งบประมาณเป็นผู้รับผดิ ชอบจัดทำงบประมาณประจำปี
5.1 ความสำคัญของงบประมาณ
งบประมาณมีความสำคัญต่อการบริหารงานของรัฐบาล ท้ังในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
สรปุ ไดด้ ังนี้
1. รัฐบาลใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการบริหารราชการแผ่นดินตามท่ีรัฐบาลได้แถลง
นโยบายไว้ รัฐบาลสามารถใช้แผนงานเหล่านัน้ ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานของรฐั บาล เพ่ือพิจารณาว่า
หน่วยงานตา่ ง ๆ ทำงานบรรลเุ ปา้ หมายและมีประสทิ ธิภาพในการทำงานหรือไม่
2. รัฐบาลสามารถใช้ งบประมาณทั้งในด้านรายได้และการใช้จ่ายของรัฐบาลทำงานเพื่อให้
บรรลุ เปา้ หมายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล เชน่ การพัฒนาความเจรญิ เติบโตทางเศรษฐกจิ การรกั ษาเสถยี รภาพ
ทางเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาการกระจายรายได้ของสงั คม การกระจายความเจริญสภู่ มู ิภาค เป็นตน้
3. สมาชกิ สภาผูแ้ ทนราษฎรสามารถใช้งบประมาณเป็นเครอื่ งมือควบคุมและตรวจสอบ การ
ทำงานของรฐั บาลตง้ั แต่การอนมุ ัตงิ บประมาณ การแปรญัตติ และการตรวจสอบการใช้จา่ ยของรฐั บาล
5.2 ลกั ษณะของงบประมาณแผน่ ดินทด่ี ี
งบประมาณที่ดคี วรมีลักษณะดงั นี้
1. เป็นศูนย์รวมของเงนิ แผน่ ดิน กลา่ วคอื รายรบั และรายจ่ายของรัฐบาลทุกรายการจะตอ้ ง
ปรากฏ อยู่ในงบประมาณแผ่นดินท้ังหมด และถา้ ไม่จำเป็นไม่ควรมงี บพิเศษนอกงบประมาณ เพราะจะทำให้
ยุ่งยาก ต่อการควบคมุ
2. งบประมาณจะต้องถือหลักพัฒนา โดยใช้งบประมาณแผน่ ดนิ เป็นเครื่องมือที่จะนำความ
เจรญิ ก้าวหน้ามาสู่ประเทศให้มากทส่ี ดุ
3. งบประมาณจะต้องถือหลักประหยัด กล่าวคือ งบประมาณรายรับจะต้องจัดเก็บรายได้
โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และงบประมาณรายจ่ายต้องใช้จา่ ยเงินตามโครงการต่าง ๆ อย่างประหยัดและ มี
ประสิทธิภาพมากทส่ี ุด
4. งบประมาณจะต้องมีระยะเวลาที่เหมาะสม ตามปกติจะมีระยะเวลา 1 ปี ซ่ึง
ปีงบประมาณ ของแตล่ ะประเทศอาจแตกตา่ งไปตามความเหมาะสม
5.3 ลกั ษณะของงบประมาณ
ตามปกตินโยบายงบประมาณแผ่นดินของประเทศใดประเทศหนึง่ ในระยะเวลาหนง่ึ ๆ ซึ่งมี
3 ลกั ษณะ ดงั น้ี
1. งบประมาณสมดุล (Balanced Budget) หมายถึง งบประมาณรายได้เท่ากับรายจ่าย
ของ รัฐบาลเท่ากันพอดี งบประมาณประเภทนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นงบประมาณท่ีมีประสิทธิภาพเสมอไป เช่น ใน
10
กรณี เกิดภาวะเงินเฟ้อ หากรัฐบาลมีรายรบั มากกวา่ รายจ่าย การใช้นโยบายงบประมาณสมดุล รัฐบาลต้อง ใช้
จ่ายเงินเพิ่มขึ้น จะมีผลให้เงินเฟ้อรุนแรงมากยิ่งข้ึน ในทางตรงข้าม ในภาวะเงินฝืด หากรัฐบาลมีรายจ่าย
มากกว่ารายรบั การใชน้ โยบายงบประมาณสมดุล จะทำให้รฐั บาลต้องจดั เก็บภาษเี พ่ิมขน้ึ เพื่อหารายไดใ้ ห้สงู ข้ึน
จะทำให้ธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมซบเซามากขึ้น และเกิดภาวะเงินฝืดที่มีความรุนแรงมากข้ึนเช่นกัน
ดังนนั้ การใชน้ โยบายงบประมาณสมดุล รฐั บาลควรตอ้ งดำเนินการอยา่ งระมดั ระวงั
2. งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget) หมายถึง งบประมาณรายจ่ายมากกว่า
งบประมาณ รายรับจะเกดิ ข้นึ ในกรณีท่ีรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินเพ่ิมมากขนึ้ ในโครงการลงทนุ ต่าง ๆ
เพ่ือเพ่ิม ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในกรณีนี้รัฐบาลจะต้องกู้เงินมาเพื่อใช้จ่าย ดังนั้น การใช้นโยบาย
งบประมาณขาดดลุ น้ี รฐั บาลควรนำมาใช้ในขณะท่ีเกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา หรอื เกดิ ภาวะเงินฝดื เพราะ การ
ท่ีรัฐบาลใช้จ่ายเงินเพ่ิมขึ้น จะทำให้อุปสงค์มวลรวมเพ่ิมข้ึนด้วย การที่รัฐบาลใช้งบประมาณขาดดุล แสดงว่า
การใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาลมีมากกว่าภาษีอากรที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ปริมาณเงิน ในระบบ
เศรษฐกิจจึงเพิ่มข้ึน ประชาชนสามารถใช้จ่ายเพ่ือการบริโภคได้มากข้ึน รายได้ประชาชาติเพ่ิมขึ้น และระบบ
เศรษฐกิจขยายตัว ผลผลิตจะเพ่ิมขึ้นในกรณีที่มีการจ้างงานเต็มที่ แต่ถ้ารัฐบาลดำเนินนโยบาย งบประมาณ
ขาดดลุ ไปเร่ือย ๆ จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากรายได้ประชาชาติ เพ่ิมข้ึน ความ
ต้องการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนจะเพ่ิมขึ้น แต่การจ้างงานผลผลิตเพิ่ม ไม่ทันกับความ
ตอ้ งการ ผลท่ีตามมาคือ ราคาสินคา้ และบรกิ ารจะสูงขึน้ เร่อื ย ๆ จนเกดิ ภาวะเงินเฟอ้ ในทสี่ ดุ
ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบเศรษฐกจิ อยู่ในภาวะตกต่ำหรือภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน การใชจ้ ่าย ของรัฐบาลจะ
ทำให้รายได้ประชาชาติขยายตัว ปัจจัยการผลิตและแรงงานท่ีว่างงานจะนำมาใช้ในการผลิต ทำให้ผลผลิต
เพ่ิมขึ้น สินค้าและบริการท่ีประชาชนต้องการเพ่ิมขึ้น เมื่อรายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น ความต้องการใช้จ่าย
เพ่ือการอุปโภคบริโภคก็จะเพิ่มข้ึน ดังนั้น การใช้นโยบายงบประมาณขาดดุลจะเป็น ผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ
เมอ่ื ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกตำ่
3. งบประมาณเกินดลุ (Surplus Budget) หมายถงึ งบประมาณรายได้มากกว่ารายจ่าย
จะเกิดขึ้น ในกรณีท่รี ฐั บาลพยายามจำกดั จำนวนอุปสงคม์ วลรวมเพ่อื แกไ้ ขภาวะเงนิ เฟ้อ
การจัดทำงบประมาณของรัฐบาลไทย มีสำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานรับผิดชอบใน
ขั้นตอน การจัดเตรียมงบประมาณประจำปี และเม่ือรัฐสภาอนุมัติงบประมาณแล้วจะมีสำนักงบประมาณ
กรมบัญชีกลาง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตาม
วัตถปุ ระสงค์ทต่ี ัง้ ไว้
สำหรับงบประมาณของรัฐบาลไทยประเภทรายรับ รายจ่าย และวงเงินงบประมาณใน
ปงี บประมาณ 2561-2563 แสดงไวใ้ นตารางตอ่ ไปนี้
11
ตาราง แสดงรายรบั ของรัฐบาลจำแนกตามประเภท ประจำปงี บประมาณ 2561-2563
12
ตาราง แสดงค่าใช้จ่ายรัฐบาล จำแนกตามลักษณะงานและลักษณะเศรษฐดิจ 1/ พ.ศ. 2559-2563
ตาราง แสดงโครงสรา้ งงบประมาณปี 2562-2563
สรุป การคลังมคี วามสำคญั ในการวางแผน ดำเนนิ นโยบายเพ่ือหารายไดแ้ ละรายจ่าย โดยจะใช้ควบคุม
การจัดสรรทรัพยากร การกระจายรายได้ และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกจิ และเครือ่ งมือท่ีสำคัญของ
รัฐบาลก็คือ นโยบายการคลัง ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลใช้เป็นเคร่ืองมือ ในการรักษาเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจ เน่ืองจากการใช้จ่าย การเก็บภาษีอากร มีผลกระทบต่อรายได้ประชาชาติ การจ้างงานและ
13
ระบบเศรษฐกิจของประเทศและสร้างความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ โดยท่ัวไปนโยบายการคลังมี 2
แบบ คอื นโยบายการคลังท่ีแบง่ ตามลักษณะการทำงานและการแบง่ ตามปัญหาท่ีต้องแกไ้ ข
14
แบบเรียนร้หู นว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 11
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามตอ่ ไปน้ี
1. รายได้ของรัฐบาลประกอบดว้ ยอะไรบ้าง
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................... ...........................................
.....................................................................................................................................................................................
2. การคลังสาธารณะประกอบด้วยอะไรบา้ ง
.....................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................... ...............
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
3. อตั ราภาษแี บ่งออกเป็นก่ีประเภท อะไรบา้ ง
.....................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................. ...................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
4. หนีส้ าธารณะหมายถงึ อะไร และมีวตั ถุประสงค์อย่างไร
.....................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................... ................................
.....................................................................................................................................................................................
........................................................................ .................................................................................................... .........
5. ภาษที างตรงหมายถึงอะไร
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
15
6. การกอ่ หนส้ี าธารณะจะมผี ลกระทบตอ่ ระบบเศรษฐกิจอยา่ งไร
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
7. นโยบายงบประมาณแผ่นดนิ คอื อะไร และมคี วามสำคัญอย่างไร
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................... .................................
8. การจดั ทำงบประมาณแผน่ ดินโดยท่ัวไปมีลักษณะอยา่ งไร
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
9. นโยบายการคลงั คืออะไร และมีความสำคัญตอ่ การแก้ปญั หาของเศรษฐกิจอยา่ งไร
.................................................................................................................................................. ...................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
10. รายจา่ ยของรัฐบาลประกอบดว้ ยอะไรบา้ ง
............................................................................................................................................. ........................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
16
ตอนท่ี 2 จงเลือกข้อท่ถี กู ตอ้ งทีส่ ดุ เพียงข้อเดยี ว
1. อตั ราภาษเี งนิ ได้บุคคลธรรมดาโดยทว่ั ไปมีการจัดเกบ็ แบบใด
ก. อัตราถอยหลงั ข. อัตราคงท่ี
ค. อัตรากา้ วหน้า ง. อตั ราตามสัดสว่ น
จ. มอี ตั ราไมแ่ น่นอน
2. อัตราภาษีสรรพสามิตโดยทว่ั ไปมกี ารจดั เกบ็ แบบใด
ก. อตั ราถอยหลงั ข. อัตราคงที่
ค. อตั ราก้าวหน้า ง. อัตราตามสดั สว่ น
จ. มีอัตราไมแ่ นน่ อน
3. อัตราภาษกี ารคา้ โดยทวั่ ไปมกี ารจัดเก็บแบบใด
ก. อัตราถอยหลัง ข. อัตราคงที่
ค. อัตรากา้ วหน้า ง. อัตราตามสัดสว่ น
จ. มีอัตราไมแ่ น่นอน
4. รฐั บาลอาจขอกเู้ งินจากธนาคารกลางโดยวิธใี ด
ก. พมิ พธ์ นบัตรเพ่มิ ขึ้น ข. จำหน่ายพันธบัตรรฐั บาล
ค. ออกตัว๋ เงินคงคลัง ง. ออกตวั๋ สญั ญาใช้เงนิ
จ. กจู้ ากต่างประเทศ
5. ปงี บประมาณของประเทศไทยเรมิ่ เดือนใด
ก. เร่มิ ตน้ วนั ที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวนั ที่ 31 ธันวาคม ของปีเดยี วกัน
ข. เรมิ่ ตน้ วันที่ 1 กนั ยายน และส้นิ สุดวนั ที่ 31 ตุลาคม ของปีถัดไป
ค. เร่มิ ตน้ วันที่ 1 ตุลาคม และส้ินสุดวันท่ี 30 กันยายน ของปถี ัดไป
ง. เรมิ่ ตน้ วนั ที่ 1 พฤศจกิ ายน และสิ้นสดุ วันที่ 31 ธันวาคม ของปีถดั ไป
จ. เริ่มตน้ วันที่ 30 สิงหาคม และส้ินสดุ วันที่ 30 กันยายน ของปถี ดั ไป
6. งบประมาณเกนิ ดลุ หมายถึงอะไร
ก. งบประมาณรายจา่ ยมากกวา่ งบประมาณรายได้
ข. งบประมาณรายจ่ายนอ้ ยกวา่ งบประมาณรายได้
ค. งบประมาณรายจา่ ยเท่ากับงบประมาณรายได้
ง. งบประมาณทม่ี ปี ระสิทธภิ าพ
จ. งบประมาณรายจ่าย
17
7. ในกรณที ่เี กิดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลควรจัดทำงบประมาณแบบใด
ก. งบประมาณขาดดุล ข. งบประมาณเกนิ ดลุ
ค. งบประมาณสมดุล ง. งบประมาณเพ่ิมเตมิ
จ. งบประมาณประจำปี
8. ในกรณที ี่เกิดภาวะเงินฝดื รฐั บาลควรจดั ทำงบประมาณแบบใด
ก. งบประมาณขาดดุล ข. งบประมาณเกนิ ดุล
ค. งบประมาณสมดุล ง. งบประมาณเพม่ิ เตมิ
จ. งบประมาณประจำปี
9. นโยบายการคลังโดยการใชจ้ ่ายสาธารณะเพมิ่ ขึ้นเพื่อวตั ถปุ ระสงค์ข้อใด
ก. การใช้งบประมาณแบบสมดุล ข. การใช้งบประมาณแบบขาดดลุ
ค. การใช้งบประมาณแบบเกนิ ดุล ง. การใช้งบประมาณเพ่ิมเติม
จ. การใชง้ บประมาณฉุกเฉิน
10. นโยบายการคลังแบบหดตวั หมายถึงอะไร
ก. การใชง้ บประมาณแบบสมดุล ข. การใช้งบประมาณแบบขาดดุล
ค. การใชง้ บประมาณแบบเกินดุล ง. การใช้งบประมาณเพิม่ เติม
จ. การใช้งบประมาณฉกุ เฉิน
ตอนท่ี 3 จงใสเ่ ครือ่ งหมาย ✓ หรือ × หนา้ ขอ้ ความท่ีเหมาะสม
.............. 1. การจัดเก็บรายไดแ้ ละการใช้จ่ายของรฐั บาลจะสง่ ผลกระทบตอ่ รายไดป้ ระชาชาติโดยตรง
.............. 2. การจัดเกบ็ ภาษีสามารถใช้เปน็ เครอื่ งมอื ในการบรรเทาปญั หาเงนิ เฟ้อได้
.............. 3. รายจ่ายของรัฐบาลแยกตามลักษณะงานได้เปน็ รายจา่ ยด้านเศรษฐกิจ และรายจา่ ยประจำ
.............. 4. ในกรณที ยี่ งั ไมม่ กี ารจา้ งงานเต็มที่ การเพ่ิมการใช้จา่ ยของรฐั บาลจะไปแยง่ ทรัพยากรจาก ภาคเอกชนทำใหต้ อ้ ง
ลดการผลติ ลง
.............. 5. หน้ีตา่ งประเทศของไทยสว่ นใหญ่ในปี 2540 คอื หนี้กองทนุ การเงนิ ระหวา่ งประเทศ
.............. 6. งบประมาณรายจ่ายส่วนใหญ่ของประเทศ เปน็ งบประมาณทางดา้ นการศึกษา
.............. 7. รายไดข้ องรฐั บาลไทยสว่ นใหญ่มาจากการก้ยู มื จากตา่ งประเทศ
.............. 8. นโยบายงบประมาณแบบขาดดลุ เหมาะทีจ่ ะใชใ้ นยามท่เี ศรษฐกจิ ตกตำ่ การลงทนุ และ การบรโิ ภคในประเทศ
ลดลง
.............. 9. การกอ่ หนี้ของรฐั บาลไทยเป็นขอ้ ผกู พันของรัฐบาลทเี่ กดิ จากการกู้โดยตรงและการคำ้ ประกันเงินกู้
.............. 10. การใช้นโยบายการคลังแบบหดตวั เพอื่ ต้องการเพ่มิ การใชจ้ ่ายมวลรวม
18
ใบงานที่ 1
การใช้นโยบายการคลงั แบบอัตโนมัติจะชว่ ยบรรเทาปญั หาในขณะทเี่ กิดภาวะเศรษฐกิจเฟ่อื ง
ฟูได้ดกี วา่ ปัญหาในขณะทีเ่ กดิ ภาวะเศรษฐกจิ ตกต่ำ เพราะเหตใุ ด อธบิ าย
.................................................................................................... .................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
ใบงานที่ 2
วเิ คราะห์ผลกระทบท่มี ีตอ่ รายไดป้ ระชาชาตจิ ากการใชน้ โยบายการคลงั ต่อไปน้ี
(ก) รฐั บาลเพิ่มการใชจ้ ่าย โดยรายได้ของรฐั บาลยงั คงเดมิ
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................................
............................................................................................................................. ........................................................
(ข) รัฐบาลเพิ่มรายได้ โดยทีก่ ารใชจ้ ่ายของรัฐบาลยงั คงเดมิ
............................................................................................................................................. ........................................
.....................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ........................................................
............................................................................................................................. ........................................................
ใบงานท่ี 3
มผี ู้กล่าวว่า “การใช้นโยบายการคลงั แบบตัง้ ใจ เพ่อื แกป้ ญั หาเศรษฐกิจตกต่ำ อาจก่อให้เกิดปญั หา เงนิ
เฟอ้ ได”้ ให้ผูเ้ รยี นแบ่งกล่มุ เพื่ออธิบายและแสดงเหตผุ ลประกอบ จากนน้ั นำเสนอหนา้ ช้นั เรยี น
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................
19