บทที่ 1 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2566 นี้ จัดทำขึ้นสำหรับท้องถิ่น และสถานศึกษานำไปใช้เป็น กรอบในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ส่งผลถึงการ จัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้าน ความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและ แสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดช่วยทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน ทุกระดับ เห็นผลคาดหวังที่ต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจนซึ่งจะสามารถช่วยให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษา ร่วมกัน พัฒนาหลักสูตรได้อย่างมั่นใจ ทำให้การจัดทำหลักสูตรใน ระดับสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยัง ช่วยให้เกิดความชัดเจน เรื่องการวัดผล ประเมินผลการเรียนรู้ และช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรในทุก ระดับตั้งแต่ระดับชาติจนกระทั่งถึงสถานศึกษา จะต้องสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการ เรียนรู้และตัวชี้วัด ที่ กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาทุก รูปแบบ และครอบคลุมผู้เรียน ทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายคาดหวังได้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัวและบุคคลต้อง ร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกับทางานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ในการวางแผนดาเนินการส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ ไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด ไว้ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุลต้อง คำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมอง และพหุปัญญาหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ (กระทรวงศึกษา. 2551:2-5) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะวิธีการทางศิลปะ เกิด ความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะเปิ ดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระในศิลปะแขนงต่างๆ ประกอบด้วยสาระส าคัญ คือทัศนศิลป์ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุ สร้างและน าเสนอ ผลงานทางทัศนศิลป์ จากจินตนาการ โดยสามารถใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมทั้งสามารถใช้เทคนิค วิธีการ ของศิลปินในการสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพวิพากษ์วิจารณ์คุณค่างาน ทัศนศิลป์ เข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเห็นคุณค่างานศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิ ปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและสากล ชื่นชม ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวัน ดนตรีมีความรู้ความเข้าใจ องค์ประกอบดนตรีแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่าดนตรีถ่ายทอด
ความรู้สึก ทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล ร้องเพลงและเล่นดนตรีในรูปแบบ ต่างๆ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี แสดงความรู้สึกที่มี ต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับ ประเพณีวัฒนธรรม และเหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์ นาฏศิลป์มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์ แสดงออกทาง 3 นาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ ใช้ ศัพท์เบื้องต้นทางนาฏศิลป์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์ การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ประยุกต์ใช้นาฏศิลป์ในชีวิตประจาวันเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง นาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์วัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล (กระทรวงศึกษา. 2551 : 51 ) การสื่อความหมายในงานทัศนศิลป์ของตน รู้วิธีการ ปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ตลอดจนรู้และเข้าใจ คุณค่าของงานทัศนศิลป์ ที่มีผลต่อชีวิตของคนในสังคมรู้และเข้าใจ บทบาทของงานทัศนศิลป์ ที่สะท้อนชีวิตและสังคม อิทธิพล ของความเชื่อ ความศรัทธา ในศาสนา และ วัฒนธรรม ที่มีผลต่อการสร้างงานทัศนศิลป์ ในท้องถิ่น รู้และเข้าใจเกี่ยวกับ เสียงดนตรี เสียงร้อง เครื่องดนตรี และบทบาทหน้าที่ รู้ถึงการเคลื่อนที่ขึ้น - ลง ของทานองเพลงองค์ประกอบของดนตรีศัพท์สังคีตในบทเพลง ประโยค และอารมณ์ของบทเพลงที่ฟัง ร้อง และบรรเลงเครื่องดนตรีด้นสดอย่างง่าย ใช้และเก็บรักษา เครื่อง ดนตรีอย่างถูกวิธี อ่าน เขียนโน้ตไทยและสากลในรูปแบบต่างๆ รู้ลักษณะของผู้ที่จะเล่นดนตรีได้ดีแสดงความ คิดเห็น เกี่ยวกับองค์ประกอบดนตรีถ่ายทอดความรู้สึกของบทเพลงที่ฟัง สามารถใช้ดนตรีประกอบกิจกรรม ทางนาฏศิลป์และการเล่าเรื่อง รู้และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมไทยและ วัฒนธรรมต่างๆเรื่องราวดนตรีใน ประวัติศาสตร์ อิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรี รู้คุณค่าดนตรีที่มาจาก วัฒนธรรมต่างกัน เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ รู้และ เข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์ สามารถแสดงภาษาท่า นาฏยศัพท์พื้นฐาน สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวและการแสดงนาฏศิลป์และการละครง่ายๆ ถ่ายทอดลีลาหรือ อารมณ์ และสามารถออกแบบเครื่องแต่งกายหรืออุปกรณ์ประกอบการแสดงง่ายๆ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง นาฏศิลป์ และการละครกับสิ่งที่ประสบในชีวิตประจาวัน แสดงความคิดเห็นในการชมการแสดง และบรรยาย ความรู้สึกของตนเองที่มีต่องานนาฏศิลป์ รู้และเข้าใจความสัมพันธ์ประโยชน์ของนาฏศิลป์และการละคร สามารถเปรียบเทียบการแสดงประเภทต่างๆ ของไทยในแต่ละท้องถิ่น และสิ่งที่การแสดงสะท้อนวัฒนธรรม ประเพณี เห็นคุณค่าการรักษา และสืบทอดการแสดงนาฏศิลป์ไทย(กระทรวงศึกษา. 2551:52-53)
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อพัฒนาทักษะความรู้นาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนน้ำซึมวิทยา ให้มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหารายวิชานาฏศิลป์มากยิ่งขึ้น 3. เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาด้านทักษะการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 1.3 สมมุติฐานของการวิจัย หลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้สื่อนวัตกรรมแบบวิดีทัศน์ประกอบการสอน มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 1.4 ขอบเขตของการวิจัย 1.4.1 ประชากรที่ใช้ในกาวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนน้ำซึมวิทยา อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานีสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานีประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน 1.4.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้คัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนน้ำซึมวิทยา อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานีภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเจาะจง 1.5 ระยะเวลาในการวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 1.6 ตัวแปรต้น - วิดีทัศน์ประกอบการสอน - ทักษะด้านนาฏศิลป์ 1.7 ตัวแปรตาม - พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 1. พัฒนาด้านทักษะการปฏิบัติ 2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1.8 กรอบแนวคิดการวิจัย แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง - วีดิทัศน์ประกอบการสอ แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง - วิดีทัศน์ประกอบการสอน - ทักษะด้านนาฏศิลป์ 1. พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 2. พัฒนาด้านทักษะการปฏิบัติ 3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.9 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนน้ำซึมวิทยา ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหารายวิชานาฏศิลป์มากยิ่งขึ้น 3. เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาด้านทักษะการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้รายงานได้ศึกษาค้นคว้ารายละเอียดของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ เป็นแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 2. วิดีทัศน์ประกอบการสอน ทักษะด้านนาฏศิลป์ 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน ทุกคน ซึ่ง เป็นกำลังของ ชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึก ในความเป็น พลเมืองไทย และเป็นพลโลก ยึด มั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษา ตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็ม ตามศักยภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะวิธีการ ทางศิลปะ เกิด ความซาบซึ้งใน คุณค่าของศิลปะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระในศิลปะ แขนงต่างๆ ประกอบด้วย สาระสำคัญ คือ สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุ สร้างและนำเสนอ ผลงานทางทัศนศิลป์จาก จินตนาการ โดยสามารถใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมทั้งสามารถใช้เทคนิค วิธีการของ ศิลปินในการสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างาน ทัศนศิลป์ เข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมเห็นคุณค่างานศิลปะที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ชื่นชม ประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน สาระที่ 2 ดนตรี มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบดนตรีแสดงออกทางดนตรีอย่าง สร้างสรรค์ วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและ ประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน เข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็น คุณค่าดนตรีที่เป็นมรดก ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล ร้องเพลง และเล่น ดนตรีในรูปแบบต่างๆ แสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี แสดงความรู้สึกที่ มีต่อดนตรีในเชิง สุนทรียะ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ดนตรีกับประเพณีวัฒนธรรม และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สาระที่ 3 นาฏศิลป์ มีความรู้ความเข้าใจ องค์ประกอบนาฏศิลป์ แสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ใช้ศัพท์ เบื้องต้นทางนาฏศิลป์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์การ เคลื่อนไหวในรูปแบบ
ต่างๆ ประยุกต์ใช้ นาฏศิลป์ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เห็น คุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล 2. วิดิทัศน์ประกอบการสอนนาฏศิลป์ วิดิทัศน์ หมายถึงการบันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงลงในสารสังเคราะห์ที่เคลือบด้วย แม่เหล็กในรูปที่เป็น ม้วน หรือเป็นตลับ หรือเป็นแหลงบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยระบบแอนาล็อค (Analog) หรือ ระบบดิจิตอล (Digital) โดยสามารถถ่ายทอดภาพและเสียงที่บันทึกนั้นออกมาได้ทางเครื่องรับ โทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ซึ่งมีประโยชน์ในการถ่ายทอดทั้งภาพ และเสียงออกมาได้คราวเดียวกันทำให้ผู้ชม เกิดความเข้าใจและมีเจตคติที่ดีตอการชมรายการ วิดิทัศน์ นอกจากนั้นยังเป็นการดึงดูดความสนใจได้เป็น อย่างดี และสามารถนำมาเปิดซ้ำได้ ตามความต้องการ รูปแบบของรายการวิดิทัศน์ สามารถแบงออกได้ เป็น 3 ประเภท คือ 1) รายการวิดิทัศน์ เพื่อการค้า (Commercial Television) 2) รายการวิดิทัศน์เพื่อการศึกษา (Education Television)และ3) รายการวิดิทัศน์เพื่อการสอน (Instruction Television) โดยในแต่ละรูปแบบ มีกระบวนการผลิตรายการที่คล้ายคลึงโดยครอบคลุมด้านการวางแผนการผลิต การเตรียมการผลิต การ ดำเนินการผลิต และการประเมินผลการผลิต ในระหว่างการผลิตจะต้อง ทำงานประสานกันเป็นทีมเพื่อให้งาน เป็นไปอย่างเรียบร้อย และผลงานมีคุณภาพ นาฏศิลป์หมายถึง ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ นาฏศิลป์หมายถึง การฟ้อนรำ นาฏศิลป์ หมายถึง ความช่ำชองในการละครฟ้อนรำ นาฏศิลป์หมายถึง การร้องรำทำเพลง ให้เกิดความบันเทิงใจ อันประกอบด้วยความโน้มเอียง และ ความรู้สึก นาฏศิลป์ หมายถึง การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติด้วยความประณีตอันลึกซึ้ง เพียบพร้อมไปด้วยความวิจิตร บรรจงอันละเอียดอ่อน นอกจากหมายถึงการฟ้อนรา ระบา รา เต้นแล้วยัง หมายถึงการร้อง และการบรรเลงด้วย (สุมิตร เทพ วงษ์ . 2541 : 1 - 2) ในสังคมของมนุษย์ที่เกิดมาในแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อชาติ ภาษา หรือเพศใดก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีความ แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกชาติทุกภาษาจะต้องมีเป็นเอกลักษณ์สิ่งนั้นได้แก่ ศิลปะ ซึ่งเป็น สิ่งที่สืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จนถึงปัจจุบันนี้ ไม่มีใครสามารถแย่งชิงไปได้ และยังเป็นเอกลักษณ์อันเด่นชัด ของชาตินั้น ๆ ที่จะต้อหวงแหนและรักษามิให้หมดสิ้นได้รวมทั้งประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเป็น เอกราชมาช้านาน มีศิลปะวัฒนธรรมที่บ่งถึงความเป็น เอกลักษณ์ของชาติ จนเป็นที่ชื่นชอบของนานาประเทศ ที่ได้พบเห็นความงดงามในศิลปะวัฒนธรรมไทย ถึงแม้ว่าสังคมไทย ปัจจุบันกาลังได้รับอิทธิพลทางด้าน วัฒนธรรมจากต่างชาติอันหลากหลายที่กาลังหลั่งไหลเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทยยัง สามารถอนุรักษ์และสืบทอดได้มาอยู่จนทุกวันนี้ก็คือ นาฏศิลป์ อันเป็นศิลปะประจาชาติคนไทยทุกคน คว รช่วยกัน รักษาและให้การสนับสนุน เพื่อให้ศิลปะนี้คงอยู่สืบไปในอนาคต (สุมิตร เทพวงษ์ .2541 : 1) กิจกรรม
นาฏศิลป์จัดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน เพราะเป็นกิจกรรมที่สามารถส่งเสริม จินตนาการ ของผู้เรียนให้สามารถแสดงออกให้ผู้อื่นเข้าใจได้ด้วยท่าทาง ลีลา ตามแบบแผนของนาฏศิลป์ไทย ซึ่งจะค่อยๆ ปูพื้นฐานไปทีละน้อยจนถึงการแสดงที่เป็นชุด จากการศึกษาเนื้อหากิจกรรมนาฏศิลป์ในหลักสูตร มัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ราวงมาตรฐาน เป็นชุดการรำที่มีบรรจุไว้ในเนื้อหากิจกรรมนาฏศิลป์ ซึ่งนับว่าเป็น ศิลปะวัฒนธรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติไทยที่มีมาแต่ โบราณ เป็นการแสดงที่มีแบบแผนของท่ารำที่ กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน ท่ารำแต่ละท่ามีความสวยงามและสนุกสนานวิชานาฏศิลป์ไทยเป็นวิชาที่ต้องใช้ ประสบการณ์และทักษะการปฏิบัติเป็นสำคัญ กล่าวคือ ต้องฝึกปฏิบัติท่ารำปฏิบัติซ้ำๆ เป็นเวลานานจึงจะ ก่อให้เกิดความชำนาญในการรำ ในการจัดการเรียนการสอนที่มีข้อจำกัดด้านเวลาเรียน เช่น ใช้เวลา เรียน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำให้ขาดความต่อเนื่องและเป็นปัญหาที่ทำให้การฝึกปฏิบัติท่ารำของนักเรียนไม่ถูกต้อง ขาด ทักษะ ความชำนาญ ความงดงามในเรื่องของ จังหวะดนตรี และท่ารำตามแบบแผนการแสดงนาฏศิลป์ไทย จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้เห็นความสำคัญของสื่อนวัตกรรมในการเรียนการสอนนาฏศิลป์ที่ทำให้ ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหาท่ารำนาฏศิลป์ด้วยตนเอง นับว่ามีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิชา นาฏศิลป์ไทยสำหรับผู้เรียนเป็นอย่างมาก ผู้วิจัยจึงสนใจคิดสร้างสื่อนวัตกรรม ในรูปแบบวิดีทัศน์ประกอบการ เรียนการสอนนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์ตะวันออก เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านองค์ความรู้นาฏศิลป์และการแสดง แต่ละประเทศ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนาฏศิลป์ตะวันออก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ดีขึ้น และส่งผลให้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่วางไว้ มีทักษะความชำนาญทาง นาฏศิลป์ดีขึ้นหลังจากใช้ชุดฝึกทักษะทางด้านนาฏศิลป์ที่สร้างขึ้นรวมทั้งยังให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่าง ใน การศึกษาท่ารำเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในทักษะทางด้านนาฏศิลป์ไทยพื้นฐานดียิ่งขึ้น ประโยชน์ในการศึกษาวิชานาฏศิลป์ ประโยชน์โดยทางตรง ใช้เป็นวิชาชีพ ผู้ที่ศึกษาวิชานาฏศิลป์อย่างจัดเจน ชำนาญ สามารถยึดเป็นอาชีพได้ เพราะในกิจกรรม ต่าง ๆ วิชานาฏศิลป์เข้าไปมีส่วนร่วมอยู่เสมอ เป็นการบริหารร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะวิชา นาฏศิลป์นั้น ในขณะฝึกหัดนัยว่าเป็นการออกกำลังกายอย่างดีเยี่ยม ได้บริหารร่างกายทั่วทุกส่วน
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะความรู้ทางด้านนาฏศิลป์โดยใช้สื่อนวัตกรรมแบบวิดีทัศน์ประกอบการ สอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันออก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนน้ำซึมวิทยา ผู้วิจัยได้ศึกษาวรรณกรรมเอกสาร ทฤษฎีต่างๆ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเสนอตามลำดับ หัวข้อ โดยมีรายละเอียดการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2 วิธีการดำเนินการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.4 การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ 3.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนน้ำซึมวิทยา ตำบลหนองแวง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี จำนวน 94 คน กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนน้ำซึมวิทยา ตำบลหนองแวง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี จำนวน 33 คน โดยเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 3.2 วิธีการดำเนินการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการทดลองแบบประชากรกลุ่มเดียว (One Group Pretest-Posttest) ลักษณะ การทดลองแบบนี้คือ มีประชากร 1 กลุ่ม แล้วทำการทดลองโดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ 1. คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างมา 1 ห้องเรียนจำนวน 33 คน 2. ชี้แจงวัตถุประสงค์และอธิบายขั้นตอนวิธีการเรียนด้วยการเรียนการสอนแบบกลับด้าน ร่วมกับ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง 3. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการทำข้อสอบ pre test เรื่องภาษาท่าและ นาฏย ศัพท์ ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 4. ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างศึกษาเนื้อหาจากอินเตอร์เน็ตและใบความรู้เรื่องภาษาท่าและ นาฏยศัพท์ด้วยตนเองแล้วกลับมาทำกิจกรรมในชั้นเรียนโดยผู้วิจัยควบคุมในชั้นเรียนและทบทวนเนื้อหา องค์ประกอบ ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ 5. ดำเนินการวางแผนการทำงานการในการ 6. จากนั้นทดสอบของนักเรียนจำนวน 33 คน ความรู้เรื่องภาษาท่าและท่านาฏยศัพท์
7. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์ทางสถิติจากแบบสังเกตุพฤติกรรมและแบบ ประเมิน แบบทดสอบของนักเรียน สรุปขั้นตอนการดำเนินการการวิจัยและการเก็บข้อมูล ดังนี้ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างสอบปฏิบัติท่ารำเรื่องภาษาท่า/นาฏยศัพท์ 3.3 เครืองมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้าวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการสร้างขึ้น ประกอบด้วย สื่อการสอนแบบวิดีทัศน์ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบประเมินการปฏิบัติท่ารำนาฏยศัพท์และภาษาท่า แบบทดสอบหลังเรียน โดยใช้เกม Kahoot 3.4 การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้อธิบายและจัดทำไว้โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ อธิบายขั้นตอนและวิธีการเรียน ทดสอบความรู้เบื้องต้น Pre Test กลุ่มตัวอย่างเรียนรู้แบบด้านร่วมด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักเรียนกลับมาทำกิจกรรมในชั้นเรียนโดยผู้วิจัยควบคุมในชั้นเรียนและทบทวนท่ารำ ผ่านไป 8 สัปดาห์จึงนำแบบทดสอบหลังเรียนมาทดสอบเพื่อศึกษา ประสิทธิภาพและการพัฒนาทักษะการกระบวนการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติสรุปผลและอภิปรายผลการศึกษา
ประสิทธิภาพของเทคนิคการเรียนการสอนแบบ สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเรื่องนาฏยศัพท์และภาษาท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำหรับการวิจัยในครั้ง นี้ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านควบคู่กับสื่อวิดีทัศน์ช่วยสอน เรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนน้ำซึมวิทยา ปีการศึกษา 2566 ผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบ เนื้อหาของคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนให้มีลักษณะเป็นเส้นตรงโดยวางแผน และกำหนดขั้นตอนไว้ดังนี้ 1. เขียนสตอรี่บอร์ดเพื่อกำหนดรูปแบบและลำดับการนำเสนอบทเรียนของแต่ละแผนการ เรียนรู้ตาม กระบวนการกิจกรรมการเรียนรู้คือ 1) ทดสอบก่อนเรียนเข้าสู่เนื้อหาและนำนำเสนอเนื้อหาสาระของบทเรียนการเสริมความ เข้าใจในเนื้อหาและการสรุปเนื้อหาทดสอบหลังสอน 2. เลือกซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยเลือกซอฟต์แวร์หลักในการสร้าง บทเรียน คือ CAI ช่วยในการสร้างกราฟิกซอฟต์แวร์ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวและซอฟต์แวร์ด้านเสียงเพื่อ สร้างและ ปรับเสียงประกอบ 3. จัดเตรียมทรัพยากรที่ใช้ได้แก่ข้อความภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวและเสียงองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ ในบทเรียนให้พร้อมในการประกอบลงในโปรแกรมสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องนาฏยศัพท์และ ภาษาท่าสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยได้ทำเครื่องมือวัดผลและประเมิน แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินพฤติกรรม รายบุคคล และแบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม ลักษณะของการประเมินแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับโดย กำหนดค่าความคิดเห็นของแต่ละคะแนนความหมายดังนี้ ระดับ 5 หมายถึง ดีมาก ระดับ 4 หมายถึง ดี ระดับ 3 หมายถึง ปานกลาง ระดับ 2 หมายถึง พอใช้ ระดับ 1 หมายถึงควรปรับปรุง สำหรับการใช้ความหมายของค่าที่วัดได้กำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการให้ความหมายโดยใช้แนวคิด ของเบส (Best 1986 : 195) ซึ่งให้ความหมายของค่าเฉลี่ยเป็นช่วงคะแนนและรายข้อดังนี้ ระดับ 5 คะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.50 ถึง 5.00 หมายถึง มีคุณภาพดีมาก ระดับ 4 คะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.50 ถึง 4.49 หมายถึง มีคุณภาพดี ระดับ 3 คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.50 - 3.49 หมายถึง มีคุณภาพปานกลาง ระดับ 2 คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.50 - 2.49 หมายถึง มีคุณภาพพอใช้ ระดับ 1 คะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.00 ถึง 1.49 หมายถึง มีคุณภาพควรปรับปรุง
การหาประสิทธิภาพของการเรียนรู้แบบกลับด้านควบคู่กับบทเรียนโดยใช้สื่อวิดีทัศน์ช่วยสอน แบบ รายบุคคลตามเกณฑ์ 80/80 โดยทดลองใช้กับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 3 จำนวน 38 คนโรงเรียนภูเวียงวิทยาคมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 25 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ที่ไม่เคยเรียนเนื้อหานี้มาก่อน เป็นเนื้อหาของนาฏยศัพท์และภาษาท่าเป็นลักษณะการ ทดสอบชนิด เลือกคำตอบ 4 ข้อมีเกณฑ์ให้คะแนนคือตอบถูกให้ 1 คะแนนตอบผิดหรือไม่ตอบให้ 0 คะแนน จำนวน 30 ข้อ ละ 1 คะแนนการหาคุณภาพตามขั้นตอนต่อไปนี้ นำแบบทดสอบที่สร้างไปวัดคุณภาพทางการเรียนโดยทดลองกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ห้องม 3 จำนวน 38 คนผลที่ได้จากการวิเคราะห์หาความยากง่าย P และค่าอำนาจจำแนกสามารถสรุป ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือการวัดประสิทธิภาพการเรียนรู้ตามแผนภาพดังนี้ ศึกษาเนื้อหา/หลักสูตร/การสร้างแบบทดสอบ สร้างแบบทดสอบ จำนวน 20 ข้อ สร้างแบบประเมินความพึงพอใจ การสร้างแบบสอบถามความประเมินความพึงพอใจในครั้งนี้มีลักษณะเป็นการทำแบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับโดยสอบถามความพึงพอใจความชอบความคิดเห็นของนักเรียนมีวิธีการสร้าง และพัฒนาดังนี้ 1. ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนด เป็น แนวทางในการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับ ด้านร่วมกับสื่อวิดีทัศน์ช่วยสอน 2. สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลับ ด้านร่วมกับสื่อวิดีทัศน์ช่วยสอน เรื่องนาฏยศัพท์และภาษาท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีลักษณะ เป็นการสอบถาม นำผลการสอบตรวจสอบมาหาความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก นำไปใช้วัดประสิทธิภาพกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 33 คน (20 ข้อ)
แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามวิธีของลิเคิร์ท (อ้างใน จรีพรรณ ปิยพสุนทรา 2545 : 59) ถึงในจะ โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินดังนี้ ระดับ 5 หมายถึงมีความพอใจมากที่สุด ระดับ 4 หมายถึงมีความพอใจมาก ระดับ 3 หมายถึงมีความพอใจปานกลาง ระดับ 2 หมายถึงมีความพอใจน้อย ระดับ 1 หมายถึงมีความพอใจน้อยที่สุด สำหรับการแปลความหมายของค่าที่วัดได้ผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการให้ความหมายโดยใช้ ค่าเฉลี่ยในรายช่วงและรายข้อดังนี้ 4.51 ถึง 5.00 หมายความว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 3.51 ถึง 4.50 หมายความว่ามีความพอใจอยู่ในระดับมาก 2.51 ถึง 3.50 หมายความว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 1.51 ถึง 2.50 หมายความว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย 1.00 ถึง 1.50 หมายความว่ามี ความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด สรุปขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจตามภาพดังนี้ ศึกษาเอกสารการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ 3.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดประสิทธิภาพทางการพัฒนาการปฏิบัติท่ารำ 1. สูตรหาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ (ล้วน และอังคณา, 253: 210) สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ ทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 10 คน เพื่อทดสอบด้านความจำ นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
เมื่อ P แทน ค่าความยากง่าย R แทน จำนวนผู้เรียนที่ทำ หรือปฏิบัติถูก N แทน จำนวนผู้ที่ทำข้อสอบทั้งหมด 2. สถิติที่ใช้ในการหาผลสัมฤทธิ์ในการเรียน 1. คะแนนเฉลี่ย(รัตนา, 2537: 39) เมื่อ แทน ผลรวมของคะแนน แทน จำนวนผู้เรียน 2. การคำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (ล้วน และอังคณา, 2538: 79) เมื่อ แทน ผลรวมของคะแนน / ผลรวมของการประเมินความพึงพอใจ แทน จำนวนผู้เรียน / จำนวนของผู้ประเมินความพึงพอใจ 3. สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้สูตร (เสาวณีย์, 2528: 294-295) เมื่อ 1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนที่วัดได้ในบทเรียนคิดเป็นร้อยละ จาก คะแนนโดยเฉลี่ย
การสอบปฏิบัติท่ารำ 2 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนที่วัดได้ในบทเรียนคิดเป็นร้อยละ จาก คะแนนโดยเฉลี่ย จากการทำแบบทดสอบหลังเรียน N แทน จำนวนผู้เรียน A แทน คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน B แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน แทน คะแนนรวมของผู้เรียนจากการสอบปฏิบัติท่ารำ แทน คะแนนรวมของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนเมื่อเรียนจบ บททันที 4. สถิติที่ใช้หาความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สูตร t-test แบบ Dependent (ใช้ สำหรับเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนภายในกลุ่มทดลองเดียวกัน) (ล้วน และอังคณา, 2538: 104) เมื่อ แทน ค่าผลต่างระหว่างคู่คะแนนหลังเรียนและก่อนเรียน แทน จำนวนผู้เรียนหรือจำนวนคู่คะแนน
บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อวิดิทัศน์ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ผู้ศึกษานำเสนอผลการ วิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นตอนดังนี้ 4.1 ผลการวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย สื่อวิดิทัศน์ ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก 4.2 การหาคุณภาพของสื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก 4.3 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ด้วยสื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ ตะวันตก 4.4 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน เรื่อง นาฏศิลป์ตะวันตก 4.5 อภิปรายผล 4.1 ผลการวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย สื่อวิดิทัศน์ประกอบการ เรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก การหาผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องนาฏศิลป์ ตะวันตก ดำเนินการหาคุณภาพโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 3คน ตรวจสอบความสมบูรณ์ทางด้านแบบสอบวัดผลและ แบบประเมินผลดังนี้ ตอนที่ 1 ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กับจุดประสงค์ของการวัด (loc) ผลการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนกับจุดประสงค์ของการวัด (loc) รายละเอียดของผลเป็นดังนี้ ตางราง 4.1 ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับ จุดประสงค์ของการวัด (loc)
จากตาราง 4.1 แสดงว่าผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับการใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กับจุดประสงค์ที่เรียนด้วยสื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก จำนวน 30คน จาก แบบทดสอบรวมทั้งสิ้น 70ข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยของค่า loc = 1.0 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์กำหนดขั้นต่ำ คือ 0.66 ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์หาความยากงาย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิเคราะห์หาความยากงาย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เป็นดังนี้ ตาราง 4.2 ผลการวิเคราะห์หาความยากงาย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากตารางที่ 2 แสดงว่าค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนกับจุดประสงค์ที่เรียนด้วยสื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก จำนวน 30คน จาก แบบทดสอบทั้งหมด 62ข้อ มีค่าเฉลี่ยของค่าความยากง่าย (p) = 0.52 และค่าเฉลี่ยของค่าอำนาจจำแนก (r) = 0.36 ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.80 ตอนที่ 3 ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับลักษณะที่จะวัด (loc) ของแบบประเมิน ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับลักษณะที่จะวัด (loc) ของแบบ ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก รายละเอียด ของผลเป็นดังนี้ ตางราง 4.3 ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับลักษณะที่จะวัด (loc) ของแบบประเมิน ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก
จากตาราง 4.3 แสดงว่าผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจ ต่อแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ สื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับที่เหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ซึ่งแสดงว่าข้อคำถามกับลักษณะที่จะวัดมีความสอดคล้องกัน ตอนที่ 4 ผลค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ของแอลฟาของครอนบาค รายข้อ และทั้งฉบับของแบบ ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอนเรื่อง นาฏศิลป์ตะวันตก ผลค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ของแอลฟาของครอนบาค รายข้อ และทั้งฉบับของแบบ ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอนเรื่อง นาฏศิลป์ตะวันตก 4.2 ผลการหาของสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก การหาของสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ดำเนินการหา คุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสมบูรณ์ทางด้านเนื้อหาและตรวจสอบคุณภาพของสื่อวิดีทัศน์ ประกอบการเรียนการสอนปรากฏผลดังนี้ 4.2.1 ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง นาฏศิลป์ตะวันตก โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านนาฏศิลป์ 3 ท่าน ดังตารางที่ 4.4 ตารางที่ 4.4 ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาของสื่อประกอบวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก
จากตาราง 4.4 ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหามีความเห็นว่าคุณภาพด้านเนื้อหาของสื่อวิดีทัศน์ประกอบการ เรียนการสอนเรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ในด้านภาพประกอบ มีค่าเท่ากับ 4.67 อยู๋ในเกณฑ์ดีมาก ด้านเนื้อหา มี ค่า 4.73 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ด้านการนำเสนอและเสียงบรรยายมีค่าเท่ากับ 4.60 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ด้านการ สรุปเนื้อหามีค่าเท่ากับ 4.76 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ด้านโครงสร้างของบทเรียนแบบสาธิตมีค่าเม่ากับ 4.53 อยู่ใน เกณฑ์ดีมาก ด้านรูปแบบของแบบทดสอบมีค่า 4.67 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก สรุปผลการประเมินหาค่าเฉลี่ยทั้งหมด จากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาของสื่อวิดีทัศน์ ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก มีค่า 4.65 แสดงว่ามีคุณถาพด้านเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
4.2.2 ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อวิดีทัศน์ ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อวิดีทัศน์โดยผู้เชี่ยวชาญในการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการ สอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ดังตารางที่ 4.5 ตารางที่ 4.5 ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อวิดีทัศน์ โดยผู้เชี่ยวชาญในการสร้างสื่อวิดีทัศน์ ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก
จากตาราง 4.5 ผู้เชี่ยวชาญด้านมีความเห็นว่าคุณภาพด้านสื่อวิดีทัศน์ของสื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ในด้านภาพเคลื่อนไหวมีค่าเท่ากับ 4.80 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก คุณภาพ ด้านเทคนิคการ
นำเสนอมีค่าเท่ากับ 5.00 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ด้านภาพประกอบมีค่าเท่ากับ 4.60 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก และด้าน ตัวอักษรมีค่าเท่ากับ 4.60 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ด้านของเสียงบรรยายและเสียงประกอบมีค่าเท่ากับ 4.67 อยู่ใน เกณฑ์ดีมาก สรุปผลการประเมินค่าเฉลี่ยทั้งหมด จากผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อวิดีทัศน์ ของสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียน การสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก มีค่าเท่ากับ 4.68 แสดงว่ามีคุณภาพด้านสื่อวิดีทัศน์อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 4.3 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อวิดีทัศน์ของสื่อวิดีทัศน์ ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้วิธีการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทดสอบ ด้วย แบบทดสอบวัดผลฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง นาฏศิลป์ตะวันตก เปรียบเทียบคะแนนรวมและค่าเฉลี่ย ปรากฏผลดังตาราง 4.6 ตาราง 4.6 การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน จำนวน 40 คน ด้วยสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก จากตาราง 4.6 สรุปผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลัง เรียน จากการศึกษาด้วยสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก นำผลจากแบบทดสอบ ทั้ง 2 ชุด มาเปรียบเทียบกัน ผลคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนเรียนของนักเรียน จำนวน 40 คน คะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 14.93 คะแนน การทำแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียน จำนวน 40 คน ดีกว่าก่อนเรียน 15.53 คะแนน 4.4 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง นาฏศิลป์ตะวันตก การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง นาฏศิลป์ตะวันตก ใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ปรากฏผล ดังตาราง 4.7 ตาราง 4.7 ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ ตะวันตก
จากตาราง 4.7 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อวนาฏศิลป์ ตะวันตก ส่วนภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเท่ากับ 4.50 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ส่วนของเสียงมีค่าเท่ากับ 4.59 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ส่วนของภาพรวมของสื่อวิดีทัศน์มีค่าเท่ากับ 4.58 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด สรุปผลค่าเฉลี่ยทั้งหมดจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนหลังจากผู้เรียนได้เรียน ด้วยสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจได้ค่าเฉลี่ย 4.57 ระดับความพึงพอใจระดับมากที่สุด 4.5 อภิปรายผล การสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง นาฏศิลป์ตะวันตก ผลการศึกษาเป็นไปตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ อภิปรายผลได้ดังนี้ 4.5.1 คุณภาพด้านเนื้อหาสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.65 ทั้งนี้เป็นเพราะการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการ สอน มีการวิเคราะห์หลักสูตร กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยและช่วง ชั้นของนักเรียน การออกแบบบทเรียนมีการสร้างแผนภูมิระดมสมอง และความสัมพันธ์ของเนื้อหา จัดทำผังงานและ สตอรี่บอร์ด เพื่อกำหนดแนวทางในการนำเสนอ ซึ่งทุกขั้นตอนของการสร้างอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบคุณภาพและให้ข้อเสนอแนะสำหรับนำไปปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง สอดคล้องกับการวิจัยของ ทศพร และ เบญจมาภรณ์ (2552) ได้ศึกษาวิดีทัศน์ประกอบการสอน กลุ่มสาระการ เรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี เรื่องสืบสารงานสวยด้วยผักตบชวา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า วิดิทัศน์ประกอบการสอนที่สร้างขึ้นมาประสิทธิภาพ 81.16/84.97 สอดคล้องกับเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ และยังสอดคล้องกับ จีรวรรณ (2553) ได้ศึกษาการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการ
เรียนการสอน การสอนสาธิตแบบฝึกปฏิบัติ เรื่องงานใบตอง ผลการวิจัยพบว่า สื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน ที่ สร้างขึ้นมีคุณภาพด้านเนื้อหาของสื่อวิดีทัศน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก และด้านสื่อวิดีทัศน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับดีมาก สรุปได้ว่าการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และเหมาะสมในการนำไปใช้จัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการ สอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ .05 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เป็น เพราะสื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจง่าย เห็น ภาพได้ชัดเจนและเข้าใจง่าย สามารถนำมาฝึกซ้ำ และนำมาบทวนเองได้ ทำให้นักเรียนมีทักษะเพิ่มมากขึ้น ทำ ให้ครูทราบข้อบกพร่องของนักเรียนและนักเรียนทราบผลการเรียนรู้ และความก้าวหน้าของตนเอง เนื้อหา สาระการเรียนรู้ในสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง นาฏศิลป์ตะวันตก เรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไป ยาก หรือสามารถเลือกได้ตามต้องการ ช่วยกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินใน การเรียนและทราบผลการเรียนรู้ได้ในทันที มีการตรวจสอบคุณภาพ และความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ มีการ ทดลองใช้และประเมินคุณภาพเพื่อให้สื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ที่มีความ สมบูรณ์ถูกต้องมากที่สุด การสร้างแบบทดสอบและสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สร้างตามหลักการสร้าง แบบทดสอบที่ดี ก่อนที่จะนำไปใช้ทดสอบจริง มีการวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ โดยหาค่าความ สอดคล้อง ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา ความเหมาะสมของการใช้ภาษาของแบบทดสอบที่เหมาะสม มี การวิเคราะห์ความยากง่ายและความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ เพื่อให้ได้แบบทดสอบที่มีคุณภาพ สามารถวัดได้ ตรงตามจุดที่ประสงค์ที่ต้องการวัดอย่างแท้จริง สอดคล้องกับการวิจัยของทศพร และ เบญจมาภรณ์ (2553) ได้ศึกษาการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอนสาธิตแบบฝึกปฏิบัติ เรื่องงานใบตอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในงานวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลจากการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียน และค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียน และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่า t-test พบว่าได้ค่า t เท่ากับ 40.252 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05 และสอดคล้องกับผลงานวิจับของ กาญจนา (2551) ซึ่งวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการปฏิบัติท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัด อุทัย ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ รวีวรรณ (2548) ซึ่งวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรโดยใช้ภูมิปัญญาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี เรื่องการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์สำหรับเด็ก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดนคะแนนหลีงเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .01 สรุปได้ว่า สื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง นาฏศิลป์ตะวันตก เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ เหมาะสม ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนมีผลทางการเรียนรู้ที่สูงขึ้น 4.5.3 ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก โดยรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.56 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เป็นเพราะในการสร้างสื่อวิดีทัศน์ ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียน การสอนที่ดีและหลักการเรียนรู้หลักทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยา ทำให้การนำเสนอสาระเนื้อหาของบทเรียน ทั้งรูปแบบ ลำดับขั้นตอนการนำเสนอ และมีการปฏิสัมพันธ์กับนักเรียน มีความน่าสนใจชวนให้ติดตาม การมี กิจกรรมการฝึกปฏิบัติที่กระตุ้นความสนใจของนักเรียนทำให้บทเรียนไม่น่าเบื่อ มีความเพลิดเพลินในการเรียน การกำหนดให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมซ้ำๆ หรือกลับไปเรียนทบทวนใหม่ ย่อมทำให้นักเรียนมีความรู้ที่แม่นยำ การจัดเรียงเนื้อหาของสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก จากง่ายไปยาก หรือ สามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการเป็นผู้ดึงดูดความสนใจของนักเรียนทำให้นักเรียนมีความตั้งใจไม่ท้อแท้ การทราบผลการเรียนรู้ของตนเองโดยทันทีเป็นการสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ จีรวรรณ (2553) ได้ศึกษาการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอนสาธิต แบบฝึกปฏิบัติ เรื่องทักษะนาฏศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อวิดีทัศน์มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก สรุปได้ว่าสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก เป็นสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม สำหรับการจัดการเรียนรู้ และทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ การสร้างสื่อวิดิทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ผู้ศึกษาได้สรุปผลและ ข้อเสนอแนะตามลำดับ ดังนี้ 5.1 สรุปผล จากการวิเคราะห์ข้อมูลการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก 5.1.1 วัตถุประสงค์ สมมติฐาน และวิธีการดำเนินการวิจัย 5.1.1.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสื่อวิดิทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ให้มี ประสิทธิ์ภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบ ก่อนและหลังเรียน ด้วยสื่อวิดีทัศน์ประกอบการ เรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน ด้วยสื่อวิดิทัศน์ ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก 5.1.1.2 สมมติฐาน 1) คุณภาพของสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ท่า สร้างขึ้นอยู่ในระดับที่ดีถึงดีมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการ สอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) นักศึกษามีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยสื่อวิดีทัศน์ ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก อยู่ในระดับดีมาก 5.1.1.3 วิธีการดำเนินการวิจัย 1) กำหนดประชาการและเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนน้ำซึมวิทยา ตำบลหนองแวง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี จำนวน 94 คน 1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนน้ำซึมวิทยา ตำบลหนองแวง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี จำนวน 33 คน โดยเลือกการสุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง 2) ลักษณะของเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ
2.1 สื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก 2.2 แบบประเมินคุณภาพของการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ ตะวันตก 2.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก เป็นแบบปรนัย เลือกตอบ จำนวน 20ข้อ 2.4 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 3) การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้ 3.1 วิเคราะห์คุณภาพสื่อวิดีทัศน์ นำผลการประเมินคุณภาพของเนื้อหาและสื่อวิดีทัศน์ จาก การประเมินของผู้เชี่ยวชาญ มาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยคำนวณค่าที่ได้ จากแบบประเมิน คุณภาพที่ได้ทั้งทางด้านสื่อวิดีทัศน์และความสมบูรณ์ของเนื้อหาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญซึ่งนำข้อมูลจากการ ประเมินตามระดับคุณภาพ 5 ระดับ มาคำนวณหาค่าเฉลี่ย นำไปเปรียบเทียบกับค่าระดับน้ำหนักคะแนน ค่าที่ ยอมรับได้คือ 3.50 ขึ้นไป 3.2 วิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ คือ การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ สูตร KR-20 วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป TAP (Test Analysis Prorgram) 3.3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ การนำผลจากการทำข้อสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน ใช้สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างที่มีความสัมพันธ์กัน (Two dependent Samples: Paired Test) วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 3.4 วิเคราะห์หาความพึงพอใจ คือ การนำผลจากการตอบแบบประเมินความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 5.1.2 สรุปผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ข้อมูลการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ ตะวันตกครั้งนี้ ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 5.1.2.1 คุณภาพด้านเนื้อหาและสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ ตะวันตก โดยรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65และ 4.68 ตามลำดับ แสดงว่าสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียน การสอนมีคุณภาพด้านเนื้อหาและมัลติมีเดียอยูในเกณฑ์ดีมาก
5.1.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนหลังเรียนด้วยสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการ สอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.1.2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ ตะวันตก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.56 เมื่อเปรียบเทียบเป็นส่วน พบว่า ส่วนของเสียงมี ค่าเฉลี่ย 4.59 รองลงมาคือด้านภาพรวมของ สื่อวิดีทัศน์ มีค่าเฉลี่ย 4.58 ด้านส่วนของตัวอักษร มีค่าเฉลี่ย 4.57 และด้านส่วนของภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวมีค่าเฉลี่ย 4.50 ตามลำดับ 5.2 ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาการสร้างสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ผู้ศึกษาพบข้อ ควรปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสม สรุปแนวคิดเป็นข้อเสนอแนะในการนำไปใช้และสำหรับการวิจัยครั้ง ต่อไป ดังนี้ 5.2.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป 5.2.1.1 ผู้สอนควรเน้นให้นักเรียนฝึกปฏิบัติตามลำดับความยากง่าย โดยศึกษาคำชี้แจงใน คู่มือการใช้สื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก เพื่อให้นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีและมี กำลังใจต่อการเรียน เพราะนักเรียนบางคนเรียนได้ช้าและทำแบบฝึกปฏิบัติไม่ทันคนอื่น ครูสามารถนำสื่อให้ นักเรียนฝึกเสริมนอกเวลา เพื่อให้เกิดความชำนาญ กรณีที่นักเรียนมีปัญหาครูควรให้คำแนะนำให้เกิดกำลังใจ 5.2.1.2 ในการจัดการเรียนรู้ ควรเตรียมความพร้อมให้นักเรียนโดยทบทวนบทและปฏิบัติจริง ก่อนที่จะเริ่มเนื้อหาใหม่ นอกจากนี้ครูควรจัดหาเวลาเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมจากที่ กำหนดไว้ ตามความเหมาะสมขอนักเรียน 5.2.1.3 การใช้สื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก นักเรียน สามารถนำไปศึกษาด้วยตนเองได้และเลือกปฏิบัติตามความต้องการได้ 5.2.1.4 เมื่อใช้สื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ไปสักระยะหนึ่ง ควรประเมินผลการใช้อีกครั้ง โดยประเมินจากครูผู้สอนที่ใช้บทเรียน นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนา ปรับปรุงวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องนาฏศิลป์ตะวันตก ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น 5.2.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งต่อไป 5.2.2.1 ควรพัฒนาสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และตรงจามวัตถุประสงค์ ให้ผู้ศึกษานำไปพัฒนาตนเองได้ 5.2.2.2 ควรมีการศึกษาค้นคว้าพัฒนาวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน ในรายวิชาอื่นที่ยัง ไม่ได้รับการพัฒนา และพัฒนาให้นักเรียนที่สนใจหรือประชาชนทั่วไป สามารถให้สื่อวิดีทัศน์ได้ 5.2.2.3 ควรศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน โดยใช้วิดีทัศน์ประกอบการเรียนการ สอนกับวิธีการสอนอื่นๆ