The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือแบบสมบูรณ์483-483

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2022-04-01 07:38:03

หนังสือแบบสมบูรณ์483-483

หนังสือแบบสมบูรณ์483-483

หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม

ภาษาไทย

๑ชั้นมัธยมศึกษาปีที

เล่าเรื่อง…สู่กันฟัง
วัฒนธรรม

สารทเดือนสิบ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม
ภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เล่าเรื่อง…สู่กันฟัง วัฒนธรรมสารทเดือนสิบ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ภาษาไทย

เล่าเรื่อง…สู่กันฟัง
วัฒนธรรมสารทเดือนสิบ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑
พิมพ์ครั้งที่ ๑
พ.ศ.๒๕๖๕

ผู้เรียบเรียง

นางสาว อารตี แก้วนิล และ นาย กิตติพันธ์ บางกรัก
นิสิตชั้นปีที่ ๓ หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำนำ

หนังสือสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมภาษาไทย “เล่าเรื่อง...สู่กันฟัง
วัฒนธรรมสารทเดือนสิบ” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อ
ใช้ในการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา
ไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

แนวทางของแบบเรียนเล่มนี้มุ่งไปที่พัฒนาทักษะการอ่าน การดู การ
พูด การฟัง และการเขียนของผู้เรียน ซึ่งได้สอดคล้องกับของชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๑ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่ได้
ระบุไว้ และนำมาบูรณาการกับเรื่องราวของประเพณีวัฒนธรรมสารทเดือน
สิบ เพื่อให้บทเรียนมีความน่าสนใจ ผู้เรียนมีความรู้ ความใจมากยิ่งขึ้น และ
เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นอีกด้วย

คณะผู้จัดทำหนังสือหนังสือแบบเรียนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็น
ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โดย
สามารถบรรลุไปได้ด้วยประสิทธิภาพ และบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
หากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย และขอ
ขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วม ผู้ที่มอบความรู้ให้ทุกท่าน ที่ทำให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จ
ลุล่วงไปด้วยดี





คณะผู้จัดทำ

โครงสร้างรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชา ท ๒๑๑๐๑ ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๑๐ ชั่วโมง
ภาคเรียนที่ ๑
ปีการศึกษา ๒๕๖๕

ชื่อหน่วย มาตรฐาน/ตัวชี้วัด เวลา
ขนมฝีมือ (ชั่วโมง)
คุณยาย สาระที่ ๑ การอ่าน
เรื่องเล่า… มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และ ๓
จากแม่ ความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
และมีนิสัยรักการอ่าน
บุญสารท ท ๑.๑ ม.๑/๒ จับใจความสำคัญเรื่ิองที่อ่าน
เดือนสิบ
สาระที่ ๓ การพูด ๓
มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมี
วิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความ
รู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
ท ๑.๓ ม.๑/๓ พูดแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์จาก
เรื่องที่ฟังและดู

สาระที่ ๒ การเขียน ๔
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร
เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบ
ต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศ และรายงานการ
ศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ท ๑.๒ ม.๑/๔ การเขียนเรียงความ

สารบัญ

บทที่ ๑ ขนมฝีมือคุณยาย ๑

บทที่ ๒ - การอ่าน ๑๕
- การจับใจความสำคัญ
- กิจกรรมท้ายบท

เรื่องเล่า…จากแม่

บทที่ ๓ - การพูด ๓๒
- การพูดแสดงความคิดเห็น
- กิจกรรมท้ายบท

ชีวิตคนนคร
สืบสานบุญสารทเดือนสิบ

- การเขียน
- การเขียนเรียงความ
- กิจกรรมท้ายบท

บทที่ ๑

ขนมฝีมือคุณยาย

บทที่ ๑

ขนมฝีมือคุณยาย

มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการ
อ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไป
ใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
และมีนิสัยรักการอ่าน

ตัวชี้วัด
ท ๑.๑ ม.๑/๑ อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว
ท ๑.๑ ม.๑/๒ จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ ม.๑/๓ ระบุเหตุและผล และข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นจาก
เรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ ม.๑/๙ มารยาทในการอ่าน

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงได้
ถูกอักขระวิธี
๒. เพื่อให้นักเรียนสามารถระบุและผลจาก
เรื่องที่อ่านได้
๓. เพื่อให้นักเรียนสามารถแยกข้อเท็จจริง
กับข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านได้
๔. เพื่อให้นักเรียนสามารถจับใจความสำคัญ
จากเรื่องที่อ่านได้
๕. เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่ผู้เรียน



บทที่ ๑

ขนมฝีมือคุณยาย

ต้น เด็กชายวัย ๙ ขวบ อาศัยอยู่ที่
อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

เมื่อต้นรู้ว่าใกล้ถึงเทศกาลบุญสารท-เดือนสิบ
ต้นตื่นเต้นอย่างมาก ตื่นเต้นที่จะได้ไปเที่ยวงานที่จัดที่ทุ่งท่า
ลาด ตื่นเต้นที่จะได้เจอญาติพี่น้องไกล ๆ กลับมารวมตัวกัน
อีกครั้ง และยิ่งไปกว่านั้นคือ ต้นตื่นเต้นที่จะได้กินขนมสารท
เดือนสิบฝีมือคุณยายอีกครั้ง เพราะที่บ้านของต้น มีคุณแม่
ที่ทำขนมไทยขาย ซึ่งคุณแม่ของต้นก็ได้วิชามาจากคุณยาย
นั่นเอง และความอร่อยก็น่าจะไม่ต่างกันเลย

หลังจากที่คุณยายได้ถ่ายทอดฝีมือให้แม่ของ
ต้นหมดแล้ว คุณยายก็ได้วางมือ และจะกลับมาทำขนมขาย
อีกครั้งในช่วงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบเท่านั้น
ซึ่งขนมที่คุณยายทำขายในเทศกาลนี้ก็คือขนมลา ขนมพอง
ขนมไข่ปลา ขนมดีซำ และขนมสะบ้า เรียกได้ว่าครบทุกชนิด
สำหรับขนมหลักในเทศกาลนี้เลย



โดยฝีมือการทำขนม
ของคุณ ยายนั้นอร่อย
มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครเลย
ทำให้ต้นชอบขนมสารทเดือน
สิบฝีมือคุณยาย
อย่างมาก
แต่ในความที่ต้นชอบทานขนมสารท
เดือนสิบ ต้นกลับไม่เคยรู้เลยว่าขนมเหล่านี้มีความหมายอยู่ใน
ตัวมันด้วย
วันหนึ่งต้นได้เดินไปบ้านคุณยายเพื่อไปดูการทำ
ขนมของคุณยาย และรอชิมด้วย ต้นได้ถามคุณยายว่า “ยาย
ยาย ทำไมพอเดือนสิบทีไร ยายทำแต่ขนม 5 อย่างนี้ละ ยายไม่
อยากเปลี่ยนหรือเพิ่มอย่างอื่นบ้างเหรอครับ อยากให้ยายทำ
เพิ่มอีกจัง ขนมฝีมือคุณยายนี่อร่อยหมดทุกอย่างเลย”
ยายจึงตอบต้นไปว่า
“ขนม ๕ อย่างนี้มันเป็น
ขนมประจำเทศกาลไง มัน
มีความหมายต่อเปรตที่มา
ขอส่วนบุญไงเจ้าต้น”



เมื่อต้นได้ฟังก็เบิกตาโพลง ไม่คิดว่าขนมที่ตนชอบ
กินนั้นจะมีความหมายในตัวมันด้วย

ต้นจึงถามต่อว่า “แล้วมันความหมายว่าอย่างไรบ้าง
ล่ะจ้ะยาย”

ยายจึงตอบไปว่า “ฟังนะเจ้าต้น
ขนมลา มันหมายถึง เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย
ขนมพอง มันหมายถึง ยานพาหนะ
ขนมไข่ปลา มันหมายถึง เครื่องประดับเวลาแต่งกาย
ขนมดีซำ มันหมายถึง เงิน ไว้ใช้สอย
และสุดท้ายขนมสะบ้า มันหมายถึง ของเล่นไว้สำหรับวัน
สงกรานต์ เพราะเหตุนี้แหละ เขาถึงนำขนมแค่ ๕ อย่างนี้มา
จัดหฺมฺรับ ”

ต้นนั่งฟังอย่างตั้งใจเลยทีเดียว เพราะไม่เคยรู้มา
ก่อน เมื่อต้นได้ฟังดังนั้นแล้วจึงเข้าใจเกี่ยวกับขนมบุญ
สารทเดือนสิบยิ่งไปอีก

แต่ต้นก็มีข้อสงสัยขึ้นมาอีก จึงถามยายอีกว่า
“ยาย แล้วทำไมเห็นหฺมฺรับบางคนมีขนมอื่นอยู่ด้วยล่ะ”
ยายจึงไปตอบว่า “ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป คนก็
จินตนาการกันไปใส่ขนมเทียนไปบ้าง ขนมต้มสามเหลี่ยม
บางคนใส่ขนม



ขาไก่ไปด้วยใช่ไหมที่แกเห็น แต่ก็ไม่มีหฺมฺรับไหน
ที่ขาดขนมหลักไปอย่างใดอย่างหนึ่งเลยใช่ไหม”

ต้นคิดตามแล้วจึงตอบกลับไปว่า “ใช่ครับ”
ยายจึงอธิบายเพิ่มอีกว่า “ขนมหลัก ๕ อย่างนั้น
เป็นสิ่งเปรตต้องใช้ขณะที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่เป็นเปรตนั้น
แหละ และเราก็จะได้บุญกุศลจากที่ได้ทำบุญให้พวกเขา
ด้วย เพราะพวกเขาก็คือบรรพบุรุษของพวกเรานี่แหละเจ้า
ต้นเอ๋ย”
ต้นก็ยังนั่งนิ่งและฟัง
อย่างตั้งใจ สิ่งที่ยายและต้น
พูดคุยกันวันนี้ทำให้ต้นได้
ความรู้เพิ่มขึ้นมาก

ต้นได้เข้าใจว่าขนม
สารทเดือนสิบ ๕ อย่างนั้น
ไม่ใช่ทำขึ้นเพื่อให้เข้ากับ
กระแส ทำขึ้นเพื่อให้คน
ธรรมดากินกัน หรือทำขึ้น
เพื่อซื้อ-ขายกันปกติ


แต่จุดมุ่งหมายหลักคือ ทำขึ้นเพื่อให้บรรพบุรุษที่
ล่วงลับไปแล้วต่างหาก และเรายังได้บุญกุศลในการให้
พวกเขาอีกด้วย

หลังจากนั้น ต้นก็ได้คิดว่าความรู้ทั้งหมดที่เขาได้
มาจากยายนั้น เขาจะนำไปเล่าต่อไปให้ลูกหลานได้ฟังเมื่อ
ตนเองมีครอบครัว และบอกต่อไปอีกด้วยว่ายายของเขา
ทำขนมอร่อยมากที่สุดในโลก ไม่ใช่เพียงแค่ขนมสารท
เดือนสิบ แต่ทุกขนมที่เป็นฝีมือยายเขา อร่อยที่สุดเลย



เสริมสร้างความรู้

การอ่าน

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของ
คำว่า “อ่าน” คือ ว่าตามตัวหนังสือ ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่าอ่านออก
เสียง ถ้าไม่ต้องออกเสียง เรียกว่าอ่านในใจ และกระทรวงศึกษาธิการ
(๒๕๔๖ : ๗) ได้ให้ความหมายของคำว่า “การอ่าน” คือ การแปลความ
หมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ ความคิด และเกิดความ
เข้าใจเรื่องราวที่อ่านกับเรื่องราวที่ผู้เขียนเขียน ผู้อ่านสามารถนำ
ความรู้ ความคิด หรือสาระเรื่องราวที่อ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

ความสำคัญของการอ่าน

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ (อ้างถึงใน จิราภรณ์ บุญณรงค์, ๒๕๕๔ :
๒๑) ได้อธิบายถึงความสำคัญของการอ่านสรุปได้ดังนี้ การอ่านมี
ความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เล็กจนโต สำคัญต่อการพัฒนาอาชีพ
และการศึกษา นับว่าการอ่านเป็นหัวใจสำคัญในการเรียนการสอน
ดังนั้น การอ่านจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องฝึกให้เกิดความชำนาญ เพื่อ
สั่งสมประสบการณ์ทำให้เกิดความคิดที่กว้างขวาง เข้าใจเรื่องที่อ่าน
ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง



ประโยชน์ของการอ่าน

กระทรวงศึกษาธิการ (อ้างถึงใน ดร.สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์,
๒๕๕๐: ๓๑ - ๓๒) ได้สรุปประโยชน์ของการอ่านไว้ดังนี้

๑. เป็นการพัฒนาสติปัญญา ให้เกิดความรู้ ความฉลาด เกิด
ภูมิคุ้มกันที่ดีในชีวิตจิตใจ

๒. ทำให้มีความรู้ในวิชาการด้านต่าง ๆ อาจเป็นความรู้ทั่วไป
หรือความรู้เฉพาะด้านก็ได้ เช่น การอ่านตำราแขนงต่าง ๆ หนังสือ
คู่มือ หนังสืออ่านประกอบในแขนงวิชาต่าง ๆ

๓. ทำให้รอบรู้ทันโลก ทันเหตุการณ์ การอ่านหนังสือพิมพ์
การอ่านจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ การอ่านสื่อเหล่านี้นอกจากจะ
ทำให้รู้ทันข่าวสารบ้านเมืองและสภาพการณ์ต่าง ๆ ในสังคมทั้ง
ภายในและภายนอกประเทศแล้ว ยังจะได้ทราบข่าวกีฬา ข่าว
บันเทิง บทความวิจารณ์ ตลอดจนโฆษณาสินค้าต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่ง
เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับความเป็นอยู่ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับสภาพสังคมของตนในขณะนั้น

๔. ทำให้ค้นหาคำตอบที่ต้องการได้ การอ่านหนังสือจะช่วย
ตอบคำถามที่เราข้องใจ สงสัย ต้องการรู้ได้ เช่น อ่านพจนานุกรม
เพื่อหาความหมายของคำ อ่านหนังสือกฎหมายเมื่อต้องการรู้ข้อ
ปฏิบัติ อ่านหนังสือคู่มือแนะวิธีเรียนเพื่อต้องการประสบความ
สำเร็จในการเรียน เป็นต้น

๕. ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน การอ่านหนังสือพิมพ์ที่มี
เนื้อหาดี น่าอ่าน น่าสนใจ ย่อมทำให้ผู้อ่านมีความสุข ความ
เพลิดเพลิน เกิดอารมณ์คล้อยตามอารมณ์ของเรื่องนั้น ๆ ผ่อน
คลายความตึงเครียด ได้ข้อคิดและยังเป็น
การยกระดับจิตใจผู้อ่านให้สูงขึ้นได้อีกด้วย
เช่น อ่านนิทาน อ่านนวนิยาย การ์ตูน เรื่องสั้น เป็นต้น



ประโยชน์ของการอ่าน

๖. ทำให้เกิดทักษะและพัฒนาในการอ่าน ผู้ที่อ่านหนังสือ
สม่ำเสมอย่อมเกิดความชำนาญในการอ่าน สามารถอ่านได้เร็ว
เข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้ง่าย จับใจความได้ถูกต้อง เข้าใจประเด็น
สำคัญของเรื่อง และสามารถประเมินคุณค่าเรื่องที่อ่านได้อย่างสม
เหตุสมผล เช่นการอ่านบทความ บทวิจารณ์ สารคดี เอกสารทาง
วิชาการต่าง ๆ

๗. ทำให้ชีวิตมีพัฒนาการเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ ก้าวหน้า ประสบ
ความสำเร็จ ประพฤติดี ประพฤติชอบ ผู้อ่านย่อมมีความรู้เรื่องราว
ต่าง ๆ มาก เกิดความรู้ ความคิดที่หลากหลายกว้างไกล สามารถ
นำนำมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนให้ชีวิตมีคุณค่า และ
มีระเบียบแบบแผนที่ดียิ่งขึ้น เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ กฎแห่ง
กรรม มงคลแห่งชีวิต สู้แล้วรวย ชีวประวัติ ผลงานของบุคคลดีเด่น
เป็นต้น

๘. ทำให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและเสริมสร้างบุคลิกภาพ ผู้อ่าน
มากย่อมรู้มาก มีข้อมูลต่าง ๆ สั่งสมไว้มาก เมื่อสนทนากับผู้อื่น
ย่อมมีความมั่นใจ ไม่ขัดเขินเพราะมีภูมิความรู้ สามารถถ่ายทอด
ความรู้ ให้คำแนะนำแก่ผู้อื่น เช่น การอ่านหนังสือสุขภาพชีวิต
นิตยสาร วารสาร สารสุขภาพ หมอชาวบ้าน หนังสือการสร้าง
มนุษยสัมพันธ์ เพื่อนที่ดีที่ต้องการ เป็นต้น



การจับใจความ

นพดล จันทร์เพ็ญ และบรรเทา กิตติศักดิ์ (อ้างถึงใน จิราภ
รณ์ บุญณรงค์, ๒๕๕๔ : ๒๕) ได้ให้ความหมายของการอ่านจับใจความ
สรุปได้ว่า การอ่านจับใจความเป็นการอ่านขั้นรายละเอียดที่ต้องรับรู้
เนื้อเรื่องความสำคัญ ว่ากล่าวถึงใครหรืออะไร และความหมายของ
เรื่องว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

วารุณี อุดมธาดา และสุรดา วารสัง (อ้างถึงใน จิราภรณ์ บุญ
ณรงค์, ๒๕๕๔ : ๒๕) ได้ให้ความหมายของการอ่านจับใจความ สรุปได้
ว่า การอ่านจับใจความเป็นการทำความเข้าใจและแปลความหมายของ
เนื้อเรื่อง ทั้งจุดมุ่งหมาย สาระสำคัญ พร้อมทั้งแปลความหมายของ
เรื่องที่อ่านได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

วันเพ็ญ คุณพิริยะทวี (อ้างถึงใน จิราภรณ์ บุญณรงค์, ๒๕๕๔ :
๒๕) ได้ให้ความหมายของการอ่านจับใจความว่า กระบวนการอ่านเพื่อ
ทำความเข้าใจความหมายของข้อความหรือเนื้อเรื่อง สามารถตั้ง
คำถาม ตอบคำถาม และลำดับเหตุการณ์ได้ถูกต้อง

สรุปได้ว่า การอ่านจับใจความคือ การอ่านแล้วเข้าใจในเนื้อเรื่อง
ที่อ่าน สามารถสรุปเรื่องได้อย่างถูกต้องตามลำดับเหตุการณ์ และ
กล่าวได้ว่าจุดมุ่งหมายและสาระสำคัญของเรื่องคืออะไร

๑๐

หลักการอ่านจับใจความ

ผกาศรี เย็นบุตร และบันลือ พฤกษะวัน (อ้างถึงใน
จิราภรณ์ บุญณรงค์, ๒๕๕๔ : ๒๗) ได้สรุปถึงหลักการอ่าน
จับใจความไว้ว่า การอ่านจับใจความ ผู้อ่านต้องอ่านตั้งแต่ชื่อ
เรื่องและจุดประสงค์การอ่านคืออะไร จากนั้นอ่านให้จบอย่าง
คร่าว ๆ เพื่อดูว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องอะไร พิจารณาหา
ใจความสำคัญ ถ้าเป็นหนังสือทั้งเล่มควรอ่านสารบัญก่อน ขั้น
ต่อไปก็อ่านโดยละเอียด ในขณะอ่านก็ตั้งคำถามว่าเรื่องที่อ่าน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร เกิดขึ้นที่ใด เมื่อไร อย่างไร และผู้
เขียนมีจุดมุ่งหมายอย่างไรในการเสนอเรื่องนี้ จากนั้นนำมา
เรียบเรียงเป็นภาษาของผู้อ่านเอง และประการสำคัญควรฝึก
อ่านจับใจความอยู่เสมอ จะช่วยให้การอ่านจับใจความดีขึ้น

การพิจารณาตำแหน่งใจความสำคัญ

๑. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนต้นของย่อหน้า
๒. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนกลางของย่อหน้า
๓. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนท้ายของย่อหน้า
๔. ประโยคใจความสำคัญอยู่ตอนต้นและตอนท้ายของ
ย่อหน้า
๕. ผู้อ่านสรุปขึ้นเอง จากการอ่านทั้งย่อหน้า (ในกรณี ใจ
ความสาคัญหรือความคิดสาคัญอาจอยู่รวมในความคิดย่อย ๆ
โดยไม่มีความคิดที่เป็นประโยคหลัก)

๑๑

ประโยชน์ของการจับใจความ

เถกิง พันธ์เถกิงอมร (อ้างถึงใน จิราภรณ์ บุญณรงค์,
๒๕๕๔ : ๒๘) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการอ่านจับใจความไว้ดังนี้
๑. สามารถตัดสินใจได้ว่าหนังสือนั้นมีคุณค่าหรือสาระที่จะอ่าน
อย่างละเอียดหรือไม่
๒. สามารถรู้ได้ว่าผู้อ่านนั้นมีความรู้หรือประสบการณ์ที่จะอ่าน
โดยตลอดเล่มหรือไม่
๓. เป็นแนวทางให้ผู้อ่านสามารถไปค้นคว้าหนังสือที่ปรากฏใน
บรรณานุกรมอ่านประกอบหนังสือนั้นได้
๔. เป็นการประหยัดเวลาแก่ผู้อ่านที่มีเวลาจำกัด เช่น ในห้อง
สมุด หรือร้านขายหนังสือ เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าควรยืม
หรือซื้อหนังสือเล่มนั้นหรือไม่
๕. ช่วยในการเตรียมตัวสอบ เพราะทำให้จดจำเนื้อหาได้แม่นยำ

๑๒

กิจกรรมท้ายบท

๑. อ่านออกเสียงเรื่องสั้น “ขนมฝีมือคุณยาย” อย่างถูกต้องตามอักขรวิธี
๒. ระบุใจความสำคัญจากเรื่องสั้น “ขนมฝีมือคุณยาย”
………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
๓. บอกประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านเรื่องสั้น “ขนมฝีมือคุณยาย
………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………

๑๓

บรรณานุกรม

จิราภรณ์ บุญณรงค์. (๒๕๕๔). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี
ที่๖ ที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิค KWL กับวิธีสอน
แบบปกติ (วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร์
มหาบัณฑิต). นครปฐม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สืบค้นจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/
objects/thesis/fulltext/snamcn/Giraporn
_Boonnarong

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. สืบค้นเมื่อวันที ๔
มีนาคม ๒๕๕๖. จากhttps://dictionary.orst.go.th/

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (๒๕๕๐). ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์
และเขียน. นนทบุรี : ซี.ซี.นอลลิดจ์ลิงคส์

๑๔

บทที่ ๒

เรื่องเล่า…สารทเดือนสิบ

บทที่ ๒

เรื่องเล่า…จากแม่

มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และ
พูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมี
วิจารณญาณและสร้างสรรค์
ตัวชี้วัด

ม.๑/ด พูดสรุปใจความสําคัญจากเรื่องที่ฟังและดู
ม.๑/๒ เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่ฟังและดู
ม.๑/๓ พูดแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์จากเรื่องที่ฟังและดู
ม.๑/๖ มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. เพื่อให้นักเรียนสามารถสรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟังและดูได้
๒. เพื่อให้นักเรียนเล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่ฟังและดูได้
๓. เพื่อให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดูได้

๑๕

บทที่ ๒

เรื่อง…
เล่าจากแม่

ให้นักเรียนดูการ์ตูนแอนิเมชั่น และแสดงความคิดเห็น
จากที่ได้ดูแอนิเมชั่นบุญสารทเดือนสิบ

๑๖

เสริมสร้างความรู้

การพูด

การพดู หมายถึง กระบวนการสื่อสารของมนุษย์ผู้พูด
จะเป็นผผู้ส่งสารอันเป็นเนื้อหาสาระของข้อมูลความรู้กับอารมณ์
ความรู้สึกความต้องการและ ความคิดเห็นของตัวเองประกอบ
กิริยาท่าทางส่งไปยังผู้ฟังหรือผู้รับสารเพื่อให้ได้รับทราบและเกิด
การตอบสนอง

การพูดแสดงความคิดเห็น

การพูดแสดงความคิดเห็น หมายถึง การพูดเพื่อแสดง
ความรู้สึกหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่าง
มีเหตุผลมีความสอดคล้องกับเรื่องที่พูดในการพูดแสดงความคิด
เห็นผู้พูดอาจพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องทางวิชาการ
เศรษฐกิจหรือสังคมก็ได้ทั้งนี้เมื่อแสดงความคิดเห็นไปแล้วควร
ทาให้ผู้ฟังเห็นด้วยหรือคล้อยตาม

การพูดแสดงความคิดเห็นอาจเป็นการพูดระหว่างบุคคล
หรือต่อบุคคลหรือต่อที่ประชุมก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสในการ
พูด เช่น การให้สัมภาษณ์ การประชุม การสัมมนา การอภิปราย
การบรรยาย

๑๗

ประเภทของการพูดแสดงความคิดเห็น

การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็นอาจแบ่งได้หลายประเภท
ตามโอกาสที่พูด หรือตามลักษณะเนื้อหาของ การแสดงความ
คิดเห็น แต่ในที่นี้ได้แบ่งประเภทของการพูดแสดงความคิดเห็น
ตามลักษณะเนื้อหาออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้

๑. การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุน การพูด
แสดงความคิดเห็นในลักษณะดังกล่าว เป็นการพูดเพื่อ
สนับสนุนความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งผู้พูดอาจจะพิจารณาแล้วว่า
ความคิดเห็นที่ตนสนับสนุนมีสาระและ ประโยชน์ต่อหน่วยงาน
และส่วนรวม หรือถ้าเป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ จะ
ต้องเป็นความคิดเห็นที่ เป็นองค์ความรู้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องที่
กาลังพูดกันอยู่ ทั้งในระหว่างบุคคลหรือในที่ประชุม เช่น การ
พูดในที่ ประชุม การอภิปราย เป็นต้น

๒. การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงขัดแย้งการพูด
ลักษณะดังกล่าวเป็นการพูดแสดงความคิดเห็นใน กรณีที่มี
ความคิดไม่ตรงกันและเสนอความคิดอื่นๆ ที่ไม่ตรงกับผู้อื่น
การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงขัดแย้ง ดังกล่าว ผู้พูดควร
ระมัดระวังเรื่องการใช้ภาษาและการนาเสนอ ความขัดแย้งควร
เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ อันจะก่อประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือ
สาธารณชน เช่น การสัมมนาเชิงวิชาการ การอภิปราย การ
ประชุม เป็นต้น

๑๘

๓. การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์ เป็นการพูด
เพื่อวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้วิจารณ์อาจจะแสดง
ความคิดเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย และวิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์
ผู้วิจารณ์จะต้องวางตัวเป็นกลางไม่อคติต่อผู้พูดหรือสิ่งที่เห็น
เช่น การแสดงความคิดเห็นต่อหนังสือ ละคร ภาพยนตร์
เป็นต้น

๔. การพูดแสดงความคิดเห็นเพื่อนาเสนอความคิดใหม่
เป็นการพูดในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับการแสดง ความคิดเห็น
ของผู้อื่น และนาเสนอความคิดเห็นใหม่ของตนที่คิดว่าจะเป็น
ประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น การแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม
เป็นต้น

๑๙

หลักการพูดแสดงความคิดเห็น

๑. กล่าวถึงความเดิม เหตุการณ์ หรือการกระทาของบุคคล
๒. ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องในเรื่องดังกล่าวและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น
โดยยกตัวอย่างยกเหตุผลข้ออ้างอิง ข้อโต้แย้งต่างๆมาอ้างอิง
คัดค้าน ถ้าสามารถใช้เหตุผลทางหลักวิชามาประกอบจะทำให้น่า
เชื่อถือยิ่งขึ้น
๓. เสนอแนวปฏิบัติที่ดีกว่า เพื่อเป็นการสร้างสรรค์
๔. จบด้วยการกล่าวย้าความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ฝากความ
หวังการเรียกร้องเชิญชวน

ลักษณะของผู้พูดแสดงความคิดเห็นที่ดี

๑. ผู้พูดจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี
๒. การแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรมีหลักการแสดง
ความคิดเห็นในเชิงขัดแย้งและเชิงวิจารณ์
๓. ใช้ภาษาสุภาพเหมาะสมกับโอกาส โดยเฉพาะการแสดงความคิด
เห็นในเชิงขัดแย้งและเชิงวิจารณ์ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้
พูดและผู้ฟัง
๔. การแสดงความคิดเห็นใดๆก็ตามควรแสดงความคิดเห็นในเชิง
สร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ต่อ ส่วนรวมเป็นสำคัญ

๒๐

การใช้ภาษาในการพูดแสดงความคิดเห็น

๑. ใช้ถ้อยคําให้กะทัดรัดมีความหมายชัดเจน เรียงเนื้อความตา
มลําดับ ไม่สับสน

๒. ใช้ถ้อยคําภาษาที่เป็นลักษณะเฉพาะของการแสดงความคิดเห็น
อาทิ การใช้คําสรรพนามบุรุษที่ ๑ ประกอบกับคํากริยาหรือกลุ่มคํา
กริยา ที่ระบุ ว่าเป็นการพูดแสดงความคิดเห็นเป็นต้นว่า ดิฉันเห็นว่า
ผมคิดว่า ดิฉันเข้าใจว่า ผมใคร่ขอสรุปวา่ ที่ประชุมมีมติว่าเราจึงขอ
เสนอแนะว่าหรือพวกเรามีความเห็น ร่วมกันว่า เป็นต้น

๓.ใช้ถ้อยคําหรือกลุ่มคําเพื่อบ่งชี้ให้เห็นว่าเป็นการแสดงความคิดเห
น็อัน ได้แก่คําว่า อาจ อาจจะ คงคงจะ น่า น่าจะ ทั้ง ควร เป็นต้น

๔. ใช้ถ้อยคําเชิงสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรมจริยธรรม
และคุณธรรมไม่ประชดประชัน ไม่พูดก้าวร้าวเสียดสี ไม่พูดแบบขวาน
ผ่าซาก หรือมีเจตนาไม่ดี

๕. ใช้อวัจนภาษา ทั้งการแสดงกิริยาท่าทาง การแสดงสีหน้า
สายตา น้ําเสียง การใช้มือ การใช้วัตถุ การใช้สัญญาณต่าง ๆ เพื่อนํา
มาสื่อความหมาย

๖. มีมารยาทในการพูด ไม่ใช้คํารุนแรง เช่น คําสบถ คําด่า คํา
หยาบ มีกิริยาวาจาที่สุภาพ น้ําเสียงนุ่มนวล และต้องรู้จักยอมรับความ
คิดเห็นของผู้อื่น

๒๑

ตัวอย่างการแสดงความคิดเห็น

เรื่อง…เล่าจากแม่

ด.ช. เก่งกล้า : การ์ตูนเรื่องนี้สนุกและให้ความรู้เยอะเลยครับ
ได้รู้ว่าประเพณีสารทเดือนสิบมีต้นกําเนิดมาจากพิธีของพราหมณ์
ประเพณีสารทเดือนสิบนี้ถือเป็นประเพณีที่สําคัญประจําปีของ
จังหวัดนครศรีธรรมราช และชาวบ้าน ทั่วทั้งนครศรีธรรมราชต่าง
ให้ความสําคัญกับประเพณีเป็นอย่างมากเพราะถือว่าประเพณี
สารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่สําคัญและเก่าแก่มาก
ชาวนครศรีธรรมราชจึงต้องการที่จะอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม
ไทยนี้ เพื่อสืบ ทอดให้คนรุ่นใหมไ่ ด้เห็นต่อไป และผมก็จะเป็นคน
หนึ่งที่จะอนุรักษ์และสืบทอดต่อไปเช่นกันครับ
ด.ญ. น้ําฝน : การ์ตูนเรื่องนี้ดูได้เพลินเลยค่ะ ให้ความ
รู้และข้อคิดครบถ้วนเลยค่ะ หนูชอบตรงที่ให้ความรู้เกี่ยว
กับ ขนมที่ใช้ในประเพณีนี้ค่ะ แล้วในการ์ตูนก็ให้ความรู้
ครบถ้วนเลยค่ะ ซึ่งขนมที่สําคัญในประเพณีสารทเดือนสิบ
มี 5 อย่างและแต่ละขนมต่างมีความหมายที่ต่างกันไปดังนี้
ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ ขนมลา แทนเครื่องนุ่ง
ห่ม ขนมกงหรือขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ ขนมดีซํา
แทนเงินเบี้ยสําหรับใช้สอย และขนมบ้า แทนลูกสะบ้าใช้
เล่น ในเทศกาลสงกรานต์ โดยแต่ละขนมนั้นมีความสําคัญ
มาก และความหมายของขนมเหล่านี้เปรียบเสมือนของที่
ส่งไปให้บรรพบุรุษพวกเขาเหล่านั้นได้ใช้ในภพภูมิที่ดีในโลก
อีกใบค่ะ แต่หนูคิดว่าการทําตัวการ์ตูนในการ์ตูนเรื่องนี้ มัน
ดูธรรมดาไปหน่อยค่ะ

๒๒

ด.ช. อาทิตย์ : การ์ตูนเรื่องนี้ได้สอนให้
รู้ว่าถ้าใครทําบาปเมื่อตายไปแล้วจะต้องเป็น
เปรตครับ ดังนั้นเราจึงต้องหมั่น ทําความดี
เข้าไว้และในช่วงเทศกาลนี้จะทําให้
ครอบครัวได้พบเจอรวมญาติพี่น้องอีกครั้ง
หนึ่งแล้วจะทําให้เราไดรู้้ด้วยว่าครอบครัวให้
ความอบอุ่นกับเราได้ดีที่สุด และไม่มีความ
รักไหนจะยิ่งใหญ่และรักเราได้ตลอดเท่ากับ
พ่อแม่ ของเราแล้วครับ

ให้นักเรียนฟังเพลง หลบคอน
และแสดงความคิดเห็นจากที่ได้ฟังเพลง

๒๓

เนื้อหาเพลง หลบคอน

เพลง : หลบคอน feat. มายด์ ยุวดา
ศิลปิน : เปิ้ล สกายพาส

หล๊บต่ะหล๊บมาบ้าน ลูกหลานอยู่ไกลๆ.
บินหลาบินอยู่ไหน. พาใจหล๊บไปคอน
ไปช่วยสืบสานงานบุญแต่เก่าก่อน

รักษาไว้อย่าให้กลายเป็นตำนาน
กตัญญูกตเวทิตา ต่อวงศาปู่ย่าตายาย ผู้ล่วงลับ
วิญญาณสู่สัมปราย. อาจเวียนว่ายอยู่ในอเวจี.
แรมค่ำเดือนสิบเขาปลดปล่อย มารับบุญบนพื้นธรณี.
ทั้งเป็นเปรตและสัมภเวสี ต่างยินดีอิ่มหมีพีมัน
รับเปรต ชิงเปรต ส่งเปรต คือเจตนาให้เรามาพบกัน
พ่อแม่พี่น้อง หลานลูกผูกพัน ได้พบกันนานทีปีหน

* เดือนสิบนครศรีธรรมราช.
ไปไว้พระธาตุยอดทองเป็นมงคล

สืบทอดตั้งแต่ครั้งบรรพชน
เลือดในกายของคนคอนเข้มข้น
ประเพณีคงทน เมื่อใจทุกคนศรัทธา
ก่อนยกหมรับ ช่วยกันดับขึ้นสี่ชั้น

บนสุดนั้นมีหนมบ้าพองลา
หนมดีซำหนมกง หรือไข่ปลา
ยกตั้งบนหลาให้เปรตมารับไป
ค่ำลงแลหนังลุงโนราห์ เขาจัดหามาสิบคืนยิ่งใหญ่
จะกลับมาแลด้วยกันตอใด ขวยใจข้องใจเหิดแลทาง.
บุญสารทเดือนสิบนครศรี ดูแลให้ดีอย่ามีวันจืดจาง
แขบขึ้นรถไฟล่องไหลไปบนราง.

อย่าเหินห่างบ้านเกิดเมืองนอน

๒๔

กิจกรรมท้ายบท

๑. สรุปเล่าเรื่องจากการ์ตูนที่ดู
………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………

๒๕

๒. บอกถึงใจความสําคัญจากการ์ตูนที่ดู
………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
๓. แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์จากเพลงที่ฟัง
………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………

๒๖

บรรณานุกรม

กอบกาญจน์ วงศ์วิสิทธิ์. (๒๕๕๑). ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร.
กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ฉลวย สุรสิทธิ์. (๒๕๒๒). ศิลปะการเขียน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร.
ปราณีสุรสิทธิ์.(๒๕๔๙).การเขียนสรางสรรคเชิงวารสารศาสตร.

กรุงเทพฯ:แสงดาว.
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2550). ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน.

นนทบุรี : ซี.ซี.นอลลิดจ์ลิงคส์
อรรณพ อุบลแยม. (๒๕๔๒). ภาษาไทยเพื่ออการสื่อสาร. กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.
เสาวนีย์สิกขาบัณฑิต.(๒๕๕๓).การเขียนสําหรับสื่อการ

สื่อสาร.กรุงเทพฯ:ดวงกมล.

๒๗

บทที่ ๓

ชีวิตคนนคร …
สืบสานบุญสารทเดือนสิบ

บทที่ ๓

ชีวิตคนนคร
สืบสานบุญสารทเดือนสิบ

มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียน
เรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงาน
ข้อมูลสารสนเทศ และรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด

ม.๑/๑ คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
ม.๑/๒ เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม สละ
สลวย
ม.๑/๔ การเขียนเรียงความ
ม.๑/๔ มารยาทในการเขียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. เพื่อให้นักเรียนสามารถเขียนได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน

ภาษาไทย
๒. เพื่อให้นักเรียนเรียบเรียงข้อความและสื่อสารออกมาได้อย่าง

ถูกต้องและเข้าใจ
๓. เพื่อให้นักเรียนสามารถเขียนเรียงความได้

๒๘

บทที่ ๓

ชีวิตคนนคร …

สืบสานบุญสารท
เดือนสิบ

ประเทศไทยมีเทศกาลงานบุญต่าง ๆ
มากมาย โดยบางงานก็จัดขึ้นเพียงปีละครั้ง แต่จะจัดอย่างยิ่ง
ใหญ่ให้สมการรอคอยที่จะเกิดขึ้นเพียงแค่ปีละครั้ง เช่น
ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีสงกรานต์ประเพณียี่เป็ง
ประเพณีตักบาตรเทโว เป็นต้น นอกจากนี้ถ้าหากนึกถึงภาคใต้
ก็คงหนีไม่พ้นประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ที่จัดขึ้นโดยจังหวัด
นครศรีธรรมราช และจัดอย่างยิ่งใหญ่เสมอมา

งานประเพณีบุญสารทเดือนสิบจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ
ปีพ.ศ. ๒๔๖๖ และได้มีการสืบทอดกันจนมาถึงปัจจุบันเป็นเวลา
เกือบ ๑๐๐ ปี งานบุญสารทเดือนสิบถือเป็นงานประจำจังหวัด
นครศรีธรรมราช ที่ได้จัดมาตลอดทุกปีเพื่อให้ลูกหลานได้แสดง
ความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้ว

๒๙

โดยที่เมื่อถึงประเพณีนี้ ญาติมิตรในครอบครัวทุก
ครอบครัวไม่ว่าจะทำงานอยู่ที่ไหนก็จะได้กลับมารวมตัวกัน
อีกครั้ง ได้มาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษร่วมกัน
ได้มาพบปะสังสรรค์กันอีกครั้ง อาจเพราะด้วยเหตุนี้ทำให้
ประเพณีบุญสารทเดือนสิบนี้จึงได้เป็นที่สืบต่อกันเรื่อยมา
เพราะในครอบครัวหนึ่งนั้นก็มักจะมีคนต้องไปทำงานห่าง
ไกลบ้านอยู่เกือบทุกครอบครัวงานนี้จึงถือเป็นการรวมญาติ
ครั้งใหญ่อีกครั้งนอกจากนี้สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับ
ประเพณีบุญสารทเดือนสิบคือ ขนมสารทเดือนสิบ ๕ อย่าง
ได้แก่ ขนมลา ขนมพอง ขนมไข่ปลา ขนมดีซำ และขนม
ซสึ่งะขบ้นา มเหล่านี้ก็มีความหมายของ
มันอยู่ในตัวและได้มีการสืบทอดกัน
มาอย่างเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
โดยสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับ
ประเพณีนี้คงเป็นรูปแบบการจัดงาน
ที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและ
สังคมที่พัฒนาขึ้น อย่างเช่น เมื่อก่อน
จะจัดงานเฉพาะวันสารทหรือวันทำบุญเพียง ๓ วัน ๓ คืน
เท่านั้น ตั้งแต่วันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๐ แต่ปัจจุบันได้จัดเพิ่มขึ้นเป็น ๑๐ วัน ๑๐ คืน

๓๐

และมาจัดที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๘๔ แทนสนามหน้า
เมือง เพราะมีผู้เข้าร่วมมากขึ้น ร้านค้าอาหารต่าง ๆ
ก็เพิ่มมากขึ้นและไม่ใช่มีเพียงแค่คนในจังหวัด
นครศรีธรรมราชเท่านั้นที่เข้าร่วมยังมีคนจากต่างจังหวัดอีก
มากมายเพื่อรอประเพณีนี้และมาร่วมงานที่นครศรีธรรมราช
ทำให้รูปแบบงานต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมรับผู้คนและยุค
สมัยที่เปลี่ยนไป

เราจะเห็นได้ว่าประเพณีบุญสารทเดือนสิบที่ได้สืบทอด
กันมาทุกปีนั้น มีแต่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นและยังคง
เอกลักษณ์เดิมไว้ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องจนถึงปัจจุบัน
เพราะมาจากผู้คนทุกรุ่นทุกวัยที่มองเห็นถึงความสำคัญของ
ประเพณีนี้ ยังนึกถึงบุญคุณและไม่ทอดทิ้งบรรพบุรุษ มอง
เห็นว่าการทำบุญในประเพณีนี้เป็น บุญต่อเราและบรรพบุรุษ
และความบันเทิงต่าง ๆ ที่มีขึ้นจากการจัดงาน ทำให้ผู้คน
รู้สึกว่าประเพณีบุญสารทเดือนสิบนี้อิ่มทั้งบุญ อิ่มทั้งกาย
และอิ่มทั้งใจและควรค่าแก่การสืบต่อไปทุกปี

๓๑

เสริมสร้างความรู้

การเขียน

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้
ให้ความหมายของคำว่า “เขียน” คือ ขีดให้เป็นตัว
หนังสือหรือเลข, ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่าง ๆ, วาด,
แต่งหนังสือ และสนิท ตั้งทวี (อ้างถึงใน วิไลลักษณ์
แก้วกระจ่าง, 2557 : 4) ได้ให้ความหมายของการ
เขียนไว้ดังนี้ “การเขียน” คือการแสดงความคิด ความ
รู้สึก ซึ่งอยู่ในใจออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ โดยวิธีการใช้
สัญลักษณ์ที่เรียกกันว่าตัวหนังสือหรือตัวอักษร เพื่อให้
ผู้อ่านเข้าใจเจตนาของผู้เขียน ผู้อ่านจะสามารถรับรู้
ความในใจของผู้เขียนได้ดีหรือไม่นั้นก็อยู่ที่ว่า ผู้เขียนมี
ทักษะในด้านการใช้ภาษาเขียนได้ดีเพียงใร

๓๒

การเขียนเรียงความ

มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “เรียงความ” ไว้ดังนี้
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของ

คำว่า “เรียงความ” คือ เรียบเรียงเรื่องราวเป็นร้อยแก้วตามหัวข้อที่
กำหนดให้ หรือเรื่องที่เรียบเรียงเป็นร้อยแก้วตามหัวข้อที่กำหนดให้
สนิท ตั้งทวี (อ้างถึงใน มาโนช ดิณลานสกูล, 2558 : 79) กล่าวว่า
เป็นความเรียงชนิดหนึ่งที่เรียงความเป็นการเขียนประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้
สำนวนแบบความเรียง การเขียนเรียงความนั้นผู้เขียนจะแสดงออกซึ่ง
ความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจ ตลอดจนความรู้ให้ผู้อ่านได้
รับทราบ

มาโนช ดิณลานสกูล (2558 : 79) กล่าวว่า เรียงความเป็นการ
เขียนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความ
เข้าใจ ตลอดจนความรู้ให้ผู้อ่านได้รับทราบ โดยใช้กระบวนการคิดที่
สัมพันธ์กับชื่อเรื่องและมีทักษะในการเขียนด้วยการเลือกสรรคำที่
เหมาะสมและสร้างสรรค์

สรุปได้ว่า “เรียงความ” หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและ
ความรู้ออกมาให้สัมพันธ์กับชื่อเรื่อง โดยใช้คำที่สวยงาม เหมาะสม
และสร้างสรรค์ แล้วนำมาเรียบเรียงกันเป็นข้อความที่สวยงาม มีเรื่อง
ราว อ่านแล้วเข้าใจ

๓๓

องค์ประกอบของการเขียนเรียงความ

เรียงความประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ๓ ส่วน ดังนี้

๑. บทนำ

เป็นส่วนที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน เพื่อให้ผู้อ่าน มองเห็น
ความสำคัญของเรื่องที่จะนำเสนอ ซึ่งมีวิธีการเขียน ที่หลากหลาย ดังนี้

๑.๑ เขียนด้วยการใช้คำคม คำพังเพย สุภาษิต คาประพันธ์
๑.๒ เขียนด้วยการใช้วิธีการตั้งคำถาม
๑.๓ เขียนด้วยการใช้วิธีการให้คำนิยาม
๑.๔ เขียนด้วยการเล่าเรื่อง
๒. เนื้อเรื่อง

เป็นส่วนที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นหลักหรือ ขยายความ
ประเด็นที่ต้องการนำเสนอ และยังเป็นส่วนที่ต้อง แสดงความรู้ ความคิด
เห็นให้ผู้อ่านทราบตามโครงเรื่องที่วางไว้ ซึ่งเนื้อเรื่องจะต้องมีความน่าสนใจ
และการเรียบเรียงถ้อยคำ จะต้องให้เหมาะสมกับเรื่อง รวมทั้งต้องมีการนำ
เสนอเรื่องให้ชวนติดตาม

๓. บทสรุป

เป็นการปิดท้ายเรื่องทั้งหมด โดยกล่าวย้าให้เห็น ความสาคัญ
ของเรื่องที่นำเสนอ เพื่อให้เรื่องมีความสมบูรณ์ ซึ่งผู้เขียนอาจเลือกใช้วิธี
การสรุปได้หลายวิธี ดังนี้

๓.๑ สรุปด้วยการฝากข้อคิด คติเตือนใจ
๓.๒ สรุปด้วยการย้าสาระสำคัญของเรื่อง
๓.๓ สรุปด้วยการทิ้งท้ายแบบตั้งคำถาม

๓๔

ขั้นตอนการเขียนเรียงความ

๑. การเลือกเรื่อง

เร่ืองท่ีกาหนดจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเขียน
และเป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจมีประโยชน์แก่ผู้อ่านและส่ิงสำคัญ
คือ จะต้องมีความรู้หรือประสบการณ์ในเร่ืองที่เขียนเป็นอย่างดี

๒. วางโครงเรื่อง

ผู้เขียนต้องรวบรวม เลือกสรรและจัดระเบียบความคิด
แล้วนามาเรียบเรียงเป็นโครงเรื่อง เพื่อเป็นแนวทางให้งานเขียน
อยู่ในกรอบ ไม่ออกนอกเร่ือง และสามารถนามาเขียนขยายความ
เป็นเน้ือเรื่องท่ีสมบูรณ์และมีความสัมพันธ์กัน

๓. เรียบเรียงเนื้อเรื่อง

นำข้อมูลท่ีได้มาเรียบเรียงตามรูปแบบของการเขียน เรียง
ความด้วยการเลือกใช้ถ้อยคำท่ีสละสลวย ถูกต้อง และ สามารถ
ส่ือความถึงผู้อ่านได้อย่างชัดเจน

๓๕

วิธีการเขียนเรียงความ

ประภาศรี สีหอำไพ (๒๕๓๑ : ๗๓ - ๗๔) ได้กล่าวถึงวิธีการเขียน
เรียงความและความเรียงดังนี้
๑. ร่างโครงสร้างของเรื่อง ได้แก่ การเริ่มเรื่อง เนื้อเรื่อง และการ
สรุป โดยใช้แนวคิดเป็นแกนในการดำเนินเรื่อง
๒. สร้างย่อหน้าเป็นหน่วยสำคัญของการลำดับเนื้อเรื่อง วาง
ประโยคที่มีใจความสำคัญกำหนดเป็นแนวคิดไว้ในแต่ละย่อหน้า
๓. กำหนดคำสำคัญที่จะไขความไปสู่ชื่อเรื่อง คำสำคัญ
(Keywords) ที่ใช้อธิบายเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านสรุปใจความได้
อย่างชัดเจน
๔. ขยายรายละเอียดด้วยเหตุผล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ฯลฯ
แทรกความเปรียบเทียบตามลักษณะโวหารของเรื่องนั้น
๕. หาตัวอย่างประกอบเหตุผล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ฯลฯ
โดยเลือกสรรอย่างเหมาะสมและกระชับความ ไม่ยาวจนทำให้
ใจความสำคัญที่มีอยู่ในส่วนอื่น ๆ ไม่ได้เห็นการย้ำเน้นอย่าง
แท้จริง
๖. เรียงความตามโครงสร้างและการเตรียมเรื่องตั้งแต่กำหนดไว้
ในข้อ ๑ - ๕
๗. อ่านทบทวน ตัดคำฟุ่มเฟือยทำให้เรื่องยืดยาวโดยไม่จำเป็น
หลีกเลี่ยงใจความหรือประโยคพลความที่ซับซ้อน เน้นแนวคิด
สำคัญให้เด่นชัดและเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีเหตุผลตั้งแต่ต้นจนจบ
สังเกตการณ์ใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐานการเขียน และแก้ไขจน
พอใจ
๘. สรุปเรื่องอย่างกระชับ สร้างความประทับใจในถ้อยคำโวหาร
และเนื้อเรื่อง

๓๖

วิธีช่วยที่ทำให้งานเขียนได้ผลดี

ดวงใจ ไทยอุบุญ (๒๕๕๐ : ๑๘-๒๐) ได้กล่าวถึงวิธีที่จะช่วยพัฒนางาน
เขียนให้ดียิ่งขึ้นไว้ดังนี้
๑. อ่านหนังสือเป็น
หนังสือเป็นแหล่งความรู้ที่ดีที่สุดของผู้ที่รักงานเขียน หนังสือแต่ละ
ประเภทมีเนื้อหาสาระแตกต่างกัน บางเรื่องมีประโยชน์มาก บางเรื่องมี
ประโยชน์น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เขียนว่า จะเลือกอ่านหนังสือประเภทใด
และอ่านอย่างไร คือจะต้องอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จึงจะเกิดผลสูงสุด
สำหรับผู้อ่าน เพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเขียน
๒. รู้จักสังเกตและจดจำ
ในขณะที่อ่านหนังสือควรรู้จักสังเกตและจดบันทึกไว้ว่าตอนใดจะมี
ประโยชน์ต่อการเขียน เพื่อจะได้นำไปใช้ประกอบหรืออ้างอิงในการเขียน
ของตนต่อไป และอาจเห็นข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดที่คิดว่าไม่น่าจะนำ
ไปเป็นแนวทางในการเขียน
๓. เกิดความคิดกว้างไกล
เมื่อผู้เขียนได้อ่านหนังสือมาก โดยอ่านอย่างมีวิจารณญาณ รู้จักการ
สังเกตจดจำ จะทำให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการหลากหลายและกว้างไกล อัน
จะเป็นผลทำให้เกิดงานเขียนที่มีความแปลกใหม่อยู่เสมอ
๔. ฝึกเขียนบ่อย ๆ
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การเขียนเป็นทักษะที่ต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เสมอ
ๆ ดังนั้นถ้าได้เขียนบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดพัฒนาการที่ดีในการเขียน
๕. รู้จักการสะสมคำ
เพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องานเขียน ทำให้งานเขียนน่าอ่านยิ่งขึ้น
๖. รู้จักการนำประสบการณ์ที่สั่งสมไปใช้
การสะสมประสบการณ์จากการอ่าน การฟัง การสัมภาษณ์ การที่ได้มี
โอกาสเข้าร่วมประชุมสัมมนา เป็นต้น มาเป็นข้อมูลอ้างอิงและนำมาเสริม
งานเขียนให้น่าสนใจ

๓๗

กิจกรรมท้ายบท

คำชี้แจ้ง ให้นักเรียนเขียนเรียงความขึ้น ๑ เรื่อง ในหัวข้อ “ บุญสารทเดือน
สิบ ชีวิตคนนคร ”

ชื่ิอเรื่ิอง………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………

๓๘

บรรณานุกรม

ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2550). ทักษะการเขียนภาษาไทย.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประภาศรี สีหอำไพ. (2531). การเขียนแบบสร้างสรรค์.
กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อวันที่
4 มีนาคม 2565. จาก https://dictionary.orst.go.th/

มาโนช ดิณลาณสกูล. (2558). ร้อยแก้ว. สงขลา :
มหาวิทยาลัยทักษิณ

วิไลลักษณ์ แก้วกระจ่าง. (2557). การเพิ่มทักษะการเขียนด้วย
ชุดแบบฝึกโครงเรื่อง(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

๓๙

คำขวัญประจำเมือง นครศรีธรรมราช



เราชาวนครฯ อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะ ศีล

ธรรม กอปรกรรมดี มีมานะ พากเพียร ไม่
เบียดเบียน ทำอันตรายผู้ใด

ราคา 69 บาท
หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมภาษาไทย


Click to View FlipBook Version