The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sand_sand999, 2021-11-07 23:36:29

พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร

พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร

วรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี

ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร

ประวัติผู้แต่ง

พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนามว่า
สุนทรภู่ เป็นกวีคนสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เกิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙

สุนทรภู่ได้รับราชการในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัยเนื่องด้วยทรงโปรดการกวี สุนทรภู่ได้
รับพระกรุณาให้ดำรงตำแหน่งขุนสุนทรโวหารในกรมราชบัณฑิต
และยังอยู่ในตำแหน่งจางวางพระอาลักษณ์ควบคู่ไปด้วย
ในตอนที่ทะเลาะกับนางจันนั้นสุนทรภู่ได้ไปทำร้ายลุงของนางจัน
เข้าจึงเป็นเหตุสุนทรภู่ถูกจำคุก ระหว่างที่ติดคุกครั้งนี้เองที่
สุนทรภู่ได้แต่งพระอภัยมณีขึ้นเพื่อขายเลี้ยงชีพในยามที่
ตกยากอยู่ในคุก

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ องค์กรวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
แห่งสหประชาชาติได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้สุนทรภู่
เป็นบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก
ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๙

เรื่องย่อ

ณ กรุงรัตนา มีท้าวสุทัศน์และพระนางประทุมเกสรเป็นผู้ครองเมือง ทั้งสองมีพระโอรสสององค์ คือ
พระอภัยมณี และศรีสุวรรณ และส่งให้ทั้งสองไปเรียนศิลปวิทยา โดยพระอภัยมณีจบวิชาปี่ ส่วนศรี
สุวรรณจบวิชากระบี่กระบอง เมื่อสำเร็จวิชาแล้ว ทั้งสิงก็ได้กลับคืนสู่พระนคร เมื่อพระบิดาทราบว่า
บุตรทั้งสองเรียนวิชาชั้นต่ำที่ไม่คู่ควรแก่การเป็นกษัตริย์ ก็ทรงกริ้วและขับไล่ทั้งสองออกจากพระนคร
ทั้งสองเดินทางไปเรื่อยๆจนถึงชายทะเล และได้พบกับพราหมณ์ 3 คน คือ โมรา สานนท์ และ
วิเชียร ทั้งหมดผูกสมัครเป็นมิตรกัน จากนั้นพระอภัยมณีก็เป่าปี่ให้คนทั้งหมดฟัง จนเคลิบเคลิ้มหลับ
ไป เพลง ปี่ดังไกลไปถึงนางผีเสื้อสมุทรที่อาศัยอยู่กลางทะเล เมื่อนางผีเสื้อสมุทรได้ฟังเสียงปี่ก็ตาม
เสียงมาจนพบและตกหลุมรักพระอภัยมณี นางจึงลักพาตัวพระอภัยมณีให้กลับไปอยู่บนเกาะกับนาง
นางผีเสื้อสมุทรจำแลงกายเป็นหญิงหน้าตาสวยงาม และแม้พระอภัยจะรู้ทั้งรู้ว่าสาวงามผู้นี้คือนาง
ยักษ์ แต่ก็ไม่อาจจะหนีไปไหนได้ ทั้งสองจึงอยู่กินกันจนให้กำเนิดบุตรชายร่วมกันชื่อว่า สินสมุทร

ด้านศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์ เมื่อตื่นจากการหลับใหลแล้วไม่พบพระอภัยมณี ก็เที่ยวค้นหา
จนไปถึงเมืองรมจักรทั้งสี่ร่วมกันสู้ศึกป้องกันเมือง และได้พบกับนางเกษราผู้เป็นธิดาของเจ้าเมือง
ศรีสุวรรณจึงได้อภิเษกกับนางเกษรา และให้กำเนิดพระธิดาชื่อว่า นางอรุณรัศมีวันหนึ่งสินสมุทร
ออกไปเที่ยวเล่นข้างนอกจนพบเจอกับพ่อเงือกแม่เงือกคู่หนึ่ง สินสมุทรจึงจับตัวเงือกคู่นั้นมาให้
พ่อดู พ่อเงือกและแม่เงือกวอนขอให้พระอภัยไว้ชีวิตและยื่นขอเสนอว่าจะพาตัวพระอภัย หนี
พระอภัยเห็นด้วยกับความคิดนี้ จึงออกอุบายให้นางผีเสื้อไปถือศีลบนเขา 3วัน 3 คืน ระหว่างที่
นางผีเสื้อสมุทรไม่อยู่ พระอภัยก็พาสินสมุทรหลบหนี พ่อเงือกแม่เงือกพาพระอภัยและสินสมุทร
หนีมาจนเกือบถึงเกาะแก้วพิสดาร ก็พอดีกับที่นางผีเสื้อรู้ตัวและติดตามมาทัน เมื่อตามมาทันนาง
ผีเสื้อก็ฆ่าพ่อเงือกแม่เงือกทิ้ง

ส่วนนางเงือกผู้เป็นลูกก็พาพระอภัยกับสินสมุทรหนีต่อไปอีกจนถึงเกาะแก้ว พิสดาร บนเกาะแห่งนี้
เป็นที่อยู่ของพระฤๅษีผู้มีฤทธิ์มาก นางผีเสื้อจึงไม่กล้าจะทำอะไร และปล่อยให้ทั้งหมดอาศัยอยู่บน
เกาะแก้วพิสดารอย่างปลอดภัย ฝ่ายพระอภัยก็ได้นางเงือกเป็นภริยาณ เมืองผลึก มีท้าวสิลราชกับ
พระนางมณฑาเป็นผู้ครองเมือง ทั้งสองมีพระธิดา ชื่อว่า นางสุวรรณมาลี ซึ่งทรงเป็นคู่หมั้นอยู่กับ
อุศเรน เจ้าชายแห่งเมืองลังกา วันหนึ่งนางสุวรรณมาลีเกิดนิมิตฝัน โหรจึงได้ทำนายว่า นางนั้นจะ
ต้องออกทะเล จึงจะได้พบลาภก้อนใหญ่ ทั้งหมดเชื่อในคำทำนายและมุ่งหน้าเดินเรือเที่ยวท่องไป
ระหว่างอยู่กลางทะเล เกิดมีพายุลูกใหญ่พัดเรือไปถึงเกาะนาควาริน คำทำนายของปู่เจ้าทำให้ท้าวสิ
ลราชพากองเรือมุ่งหน้าไปยังเกาะแก้วพิสดาร จนได้พบกับพระอภัยมณี ท้าว สิลราชทรงรับพระ
อภัยมณีกับสินสมุทรขึ้นเรือไปด้วยกันเพื่อกลับบ้านเมือง แต่เมื่อเรือแล่นออกจากเกาะ นางผีเสื้อ
สมุทรก็ออกมาอาละวาดจนเรือแตก

ท้าวสิลราชกับบริวารส่วนใหญ่สิ้นชีพกลางทะเล เหลือเพียงแต่สินสมุทรที่พานางสุวรรณมาลีหนีไป
ได้ ส่วนพระอภัยมณีก็เป่าปี่สังหารนางยักษ์จนสิ้นใจกลางทะเล ทั้งหมดแตกกระจายพลัดพรายไป
คนละทิศละทาง ฝ่ายพระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากอุศเรน ผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี
ส่วนสินสมุทรกับนางสุวรรณมาลีก็ได้โจรสุหรั่งผู้เป็นโจรสลัดในน่านน้ำนั้น ช่วยชีวิตไว้ได้ แต่แล้ว
โจรก็ยังเป็นโจร โจรสุหรั่งคิดทำร้ายสินสมุทร สินสมุทรจึงสังหารโจรแล้วครอบครองเรือมาเป็น
ของตนเอง สินสมุทรออกเรือไปจนพบศรีสุวรรณที่กำลังล่องเรือเที่ยวตามหาพี่ชาย ทั้งหมดจึงเดิน
ทางต่อไปด้วยกันจนมาพบกับพระอภัยมณีและอุศเรน สินสมุทรรู้สึกรักนางสุวรรณมาลีและอยากให้
มาเป็นแม่ จึงเกิดเหตุวิวาทกับอุศเรน พระอภัยมณีจึงหนีไปเมืองผลึกพร้อมนางสุวรรณมาลีและได้
ขึ้นครองเมืองแทนท้าว สิลราช ฝ่ายอุศเรนก็รู้สึกแค้นใจ จึงมุ่งหน้ากลับเมืองลังกาเพื่อยกทัพมาตี
เมืองผลึก

แต่แล้วก็แพ้อุบายของนางวาลีจนต้องสิ้นชีวิต นางละเวงวัณฬาผู้น้องสาวจึงคิดจะแก้แค้นให้พี่ชาย
จึงออกอุบายใช้รูปของตนทำเสน่ห์ แล้วส่งไปหัวเมืองต่างๆ เพื่อยกทัพมาตีเมืองผลึก ฝ่ายนางเงือก
ที่อาศัยอยู่ที่เกาะแก้วพิสดาร ก็ให้กำเนิดบุตรชื่อว่า สุดสาคร เด็กคนนี้เป็นเด็กที่ฉลาดและแข็งแรง
มาก วันหนึ่งสุดสาครจับม้านิลมังกรมาได้ พระฤๅษีจึงสอนวิชาและเล่าเรื่องพระอภัยมณีผู้เป็นพ่อ
ของเด็กน้อยให้ฟัง เมื่อสุดสาครรู้เรื่องพ่อขอตน ก็กราบลาพระฤาษีเพื่อออกเดินทางตามหาพ่อ
สุดสาครเดินทางไปจนถึงเมืองการเวก ระหว่างทางก็ถูกชีเปลือยหลอกขโมยไม้เท้าและม้านิลมังกรที่
พระฤาษีมอบไว้ให้ คู่กายไป แต่พระฤๅษีก็เข้ามาช่วยไว้ได้ทัน จนชิงเอาไม้เท้าและม้านิลมังกรกลับ
คืนมาได้ สุดสาครเดินทางเข้าสู่เมืองการเวก เมื่อกษัตริย์ผู้เป็นเจ้าเมืองเห็นก็รู้สึกรักใคร่เอ็นดู จึง
รับอุปการะเลี้ยงดูเป็นโอรสบุญธรรม สุดสาคร อยู่ด้วยกันกับนางเสาวคนธ์และหัสไชยผู้เป็น
พระธิดาและพระโอรสของกษัตริย์จนเติบใหญ่ สุดสาครจึงคิดจะออกตามหาพ่อ

เจ้าเมืองการเวกจึงแจงหากองเรือให้ และให้นางเสาวคนธ์และหัสไชยติดตามไปด้วย ทั้งหมดล่อง
เรือไปจนถึงเมืองผลึก ซึ่งขณะนั้นกำลังถูกทัพลังกาและทัพพันธมิตรล้อมเมืองไว้อยู่ พระ อภัย
มณี ศรีสุวรรณ สินสมุทร และสุดสาคร จึงช่วยกันสู่รบจนสามารถเอาชนะทัพอื่นๆได้ ฝ่ายพระ
อภัยมณีเมื่อได้รูปวาดของนางละเวงที่ลงเสน่ห์เอาไว้ ก็เกิดต้องมนต์ของนางละเวงเสียเอง ทำให้
พระอภัยยกทัพตามไปตีเมืองลังกาด้วย แต่รบกันเท่าใดก็ไม่มีฝ่ายไหนแพ้ชนะเสียที ต่อมาพระ
อภัยมณีลอบติดรถนางละเวงเข้าไปในวัง แต่เมื่อนางละเวงได้พบหน้าพระอภัย ก็รู้สึกฆ่าไม่ลง
แต่กลับหลงรักจนตกเป็นสามีภรรยากัน ส่วนบริวารอื่นของนางละเวง ไม่ว่าจะเป็น นางยุพาผกา
รำภาสะหรี และสุลาลีวัน ก็ใช้เสน่ห์กับพระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สินสมุทร และสุดสาคร จนให้
ทั้งหมดหลงมัวเมา จนไม่ยอมกลับเมืองผลึก นาง สุวรรณมาลี นางอรุณรัศมี และนางเสาวคนธ์
เห็นท่าไม่ดี จึงมาตามทุกคนให้กลับ

แต่ด้วยมนต์เสน่ห์จึงทำให้พวกเขาไม่ยอมกลับ นางๆทั้งหลายจึงไปขอให้หัสไชยมาช่วยแก้เสน่ห์ที่ลุง
และเหล่าพี่หลงอยู่จนสำเร็จ กษัตริย์ ทั้งหมดจึงยอมสงบศึกกันแต่โดยดี แต่นางเสาวคนธ์ก็ยังคง
โกรธสุดสาคร จึงหนีไปเมืองวาหุโลม สุดสาครจึงต้องติดตามไป จนภายหลังก็ได้อภิเษกสมรสกัน
ด้านกรุงรัตนา เมื่อท้าวสุทัศน์สิ้นพระชนม์ พระอภัยมณีกับเหล่ากษัตริย์จึงเดินทางกลับไปทำศพ มัง
คลาผู้เป็นบุตรของพระอภัยมณีกับนางละเวงจึงได้ขึ้นครองเมืองลังกา แต่ก็ถูกบาทหลวงยุแหย่ให้เกิด
ความแค้นเคืองเหล่ากษัตริย์ มังคลาจึงจับตัวนางสุวรรณมาลีและพระญาติมาขังไว้ ฝ่ายหัสไชยกับ
สุดสาครเมื่อทราบข่าว ก็ยกทัพมาช่วย แต่ก็ไม่สำเร็จ แม้แต่นางละเวงผู้เป็นมารดาเองก็ไม่สามารถ
ห้ามปรามได้ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณจึงต้องยกทัพตามมาจนสู้รบได้รับชัยชนะเมื่อ ศึกสงบลง
พระอภัยมณีก็ได้อภิเษกโอรสทั้งหลายให้ครองเมืองต่าง ๆ จากนั้นจึงลาบวช โดยมีนางสุวรรณมาลี
และนางละเวงตามไปปรนนิบัติพัดวีด้วย ทั้งสามบำเพ็ญตนอยู่ในศีลในธรรมร่วมกันอย่างสงบสุข
ตลอดไป

เรื่องย่อตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสือสมุทร

เริ่มเรื่องที่พระอภัยมณีอยู่กินกับสินสมุทรจนมีบุตรหนึ่งคน ชื่อสินสมุทร เมื่อสินสมุทร
อายุ 8 ปี ได้วิ่งเล่นไปเจอแผ่นหินที่ปิดปากถ้ำไว้จึงเปิดออก และไปจับเงือกชรามาอวด
พ่อ พระอภัยมณีจึงเล่าความจริงแต่หนหลังให้ฟังว่าแม่เป็นนางงยักษ์แปลง เงือกชรา
อาสาจะช่วยเหลือให้สองพ่อลูกหนีจากผีเสื้อสมุทรพระอภัยมณีทำอุบายลวงให้ผีเสื้อ
สมุทรไปจำศีลในที่ไกล ๆ เป็นเวลา 3 วัน เงือกชราสองสามีภรรยาและลูกสาวจึงช่วย
เหลือด้วยการให้พระอภัยมณีและสินสมุทรขี่หลังว่ายไปยังเกาะแก้วพิสดาร เมื่อครบ 3
วัน นางยักษ์กลับมาที่ถ้ำไม่เห็นสองพ่อลูกก็ออกตามหา และได้ฆ่าเงือกชราทั้งสอง แต่
พระอภัยมณี สินสมุทร และนางเงือกรอดพ้นเงื้อมมือผีเสื้อสมุทรเพราะว่ายไปถึงเกาะ
แก้วพิสดารได้ทัน และได้โยคีซึ่งมีฤทธิ์ออกมาช่วยเหลือ เรื่องในตอนนี้จบลงที่ผีเสื้อ
สมุทรทำอะไรไม่ได้ก็กลับไป

ลักษณะคำประพันธ์

แต่งเป็นกลอนสุภาพ ตามฉันทลักษณ์

ตัวอย่าง

พระโฉมยงองค์อภัยมณีนาถ เพลินประพาสพิศดูหมู่มัจฉา

เหล่าฉลามล้วนฉลามตามกันมา ค่อยเคลื่อนคลาคล้ายคล้ายในสายชล

ฉนากอยู่คู่ฉนากไม่จากคู่ ขึ้นฟ่องฟูพ่นฟองละอองฝน

ฝูงพิมพาพาฝูงเข้าแฝงวน บ้างผุดพ่นฟองน้ำบ้างดำจร

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๓)

วิเคราะห์ตัวละคร

วิเคราะห์ตัวละคร

สินสมุทร

ลักษณะภายนอก
มีลักษณะผสมระหว่างพระอภัยมณี และนางผีเสื้อสมุทร เห็นได้จากบท

ประพันธ์ดังนี้ “ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระ แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุริย์ฉาย ทรง
เดช ทรงกำลังดังพระยาคชาพราย มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา” (อ้างอิงจากหนังสือ
เรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๑๗)

ความสามารถ
ว่ายน้ำเก่งเหมือนนางผีเสื้อสมุทร เห็นได้จากบทประพันธ์ดังนี้ “ออกวิ่งเต้นเล่น

ทรายสบายองค์ แล้วโดดลงเล่นมหาชลาลัย ด้วยหน่อนาถชาติเชื้อผีเสื้อสมุทร ดำไม่ผุด
เลยทั้งวันก็กลั้นได้” (อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๓๘)

มีวิชาเป่าปี่ที่ชำนาญจากการสอนของพระอภัยมณี เห็นได้จากบทประพันธ์ดังนี้
“สอนให้เจ้าเป่าปี่มีวิชา เพลงสาตราสารพัดหัดชำนาญ” (อ้างอิงจากหนังสือเรียน
วรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๓๘)

ลักษณะนิสัย
สินสมุทรเป็นเด็กที่รักพ่อมากกว่าแม่ เห็นได้จากบทประพันธ์ดังนี้ “ฝ่ายกุมารสิน

สมุทรสุด ไม่ห่างบาทบิดาอัชฌาสัยสวาท ความรักพ่อยิ่งกว่าแม่มาแต่ไร ด้วยมิได้ขู่เข็ญ
เช่นมารดา” (อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๓๘)

นางผีเสื้อสมุทร

ลักษณะนิสัย
มีฤทธิ์เดชมาก เห็นได้จากบทประพันธ์ดังนี้ “นางผีเสื้อเหลือโกรธโลดทะลึ่ง โตดังหนึ่งยุ

คุนธร์ขุนไศล ลุยทะเลโครมครามตามออกไป สมุทรไทแทบจะล่มถล่มทลาย เหล่าละเมาะ
เกาะขวางหนทางยักษ์ ภูเขาหักหินหลุดทรุดสลาย เสียงครึกครื้นคลื่นคลุ้มขึ้นกลุ้มกาย ผีเสื้อ
ร้ายรีบรุดไม่หยุดยืน ฯ”(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๓๘)

มีใจคอดุร้าย เห็นได้จากบทประพันธ์ดังนี้ “แล้วนางยักษ์หักขาฉีกสองแขน ไม่หายแค้น
เคี้ยวกินสิ้นทั้งคู่” (อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๙)

รักพระอภัยมณีมากยอมทำทุกอย่างเพื่อได้อยู่กับพระอภัยมณี เห็นได้จากบทประพันธ์
ดังนี้ “ นิจจาเอ๋ยเคยอยู่เป็นคู่ชื่น ทุกวันคืนค่ำเช้าไม่เศร้าหมอง จนมีลูกปลูกเลี้ยงเคียง
ประคอง มิให้ข้องเคืองขัดพระอัชฌา อยู่ดีดีหนีเมียมาเสียได้ เสียน้ำใจน้องรักเป็นนักหนา จึง
อุตส่าห์พยายามสู้ตามมา ขอเป็นข้าบาทบงสุ์พระทรงธรรม์ พระเสด็จไปในจะไปด้วย เป็น
เพื่อนม้วยภัสดาจนอาสัญ ประทานโทษโปรดเลี้ยงแต่เพียงนั้น อย่าบากบั่นความรักน้องนัก
เลย” (อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๕๑)

พระอภัยมณี

ลักษณะนิสัย
รักสินสมุทรมาก เห็นได้จากบทประพันธ์ดังนี้ “พระบิตุรงค์ทรงศักดิ์ก็รักใคร่

ด้วยเนื้อไขมิได้คิดริษยา เฝ้าเลี้ยงลูกผูกเปลลแล้วเห่ช้า จนใหญ่กล้าอายุได้แปดปี จึง
ให้นามตามอย่างข้างมนุษย์ ชื่อสินสมุทรกุมารชาญชัยศรี ธำมรงค์ทรงมาค่าบุรี
พระภูมีถอดผูกให้ลูกยา เจียระบาดคาดองค์ก็ทรงเปลื้อง ให้เป็นเครื่องนุ่งห่ม
โอรสา” (อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๓๗)

มีจิตใจที่อ่อนโยน อารมณ์อ่อนไหว เห็นได้จากบทประพันธ์ดังนี้ “พระอภัย
ใจอ่อนถอน อุตส่าห์ฝืนพักตร์ว่านิจจาเอ๋ย สะอื้น” (อ้างอิงจากหนังสือเรียน
วรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๑)

ฉลาดมีเล่ห์เหลี่ยม ใช้อุบายหลอกนางผีเสื้อสมุทร เห็นได้จากบทประพันธ์
ดังนี้ “พอได้ช่องลองลวงดูตามเล่ห์ สมคะเนจะได้ไปดังใจหมาย จึงกล่าวแกล้ง
แสร้งเสเพทุบาย เจ้าฝันร้ายนักน้องต้องตำรา” (อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิ
จักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๑)

พระโยคีหรือพระฤาษี
ลักษณะนิสัย


เป็นนักบวชที่มีเมตตาช่วยเหลือคนที่มีความเดือดร้อน เห็นได้จากบทประพันธ์ดังนี้
“พระโยคีมีจิตคิดสงสาร จึงว่าท่านหนีตายหมายมาหา เราลงมาคอยช่วยด้วยเมตตา แต่
กิจจาไม่กระจ่างยังคลางแคลง” (อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่
๕๐)

พูดอบรมสั่งสอนผู้อื่นโดยใช้หลักธรรมมะ เรื่องเคราะห์กรรมและการทำบุญตอนที่
ให้โอวาทนางผีเสื้อสมุทร เห็นได้จากบทประพันธ์ดังนี้ “ฝ่ายโยคีมียศพจนารถ ให้โอวาท
นางยักษ์ไม่หักหาญ จงตัดบ่วงห่วงใยอาลัยลาน อย่าปองผลาญลูกผัวของตัวเลย ทั้งนี้
เพราะเคราะห์กรรมทำให้วุ่น จึงสิ้นบุญวาสนาสีกาเอ๋ย เห็นมิได้ไปอยู่เป็นคู่เชย ด้วยสอง
เคยปลูกเลี้ยงกันเพียงนั้น อย่าควรคิดติดตามด้วยความโกรธ จะเป็นโทษกับสีกาเมื่อ
อาสัญ จงยับยั้งฟังคำรูปรำพัน ไปสวรรค์นฤพานสำราญใจ”
(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๕๒)

เงือก

ลักษณะนิสัย
เป็นเงือกที่ใจดี มีเมตตา อาสาช่วยเหลือพาพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ

สมุทร เห็นได้จากบทประพันธ์ดังนี้ “จะอาสาพาไปมิได้กลัว ชีวิตตัวบรรลัยไม่
เสียดาย” (อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๐)

วิเคราะห์คุณค่า
ด้านวรรณศิลป์

๑. รสวรรณคดี

บทเสาวรจนีย์ (ชมความงาม)

"พงศ์กษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม

ประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนขำคม ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง

ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง

พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป"

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๕๑-๕๒)

การชมความงามของนางเงือก ซึ่งเป็นตัวละครที่มีท่อนบนเป็นมนุษย์
ท่อนล่างเป็นปลา มีรูปโฉมงดงามยิ่งนัก ทั้งรูปร่างหน้าตาผิวพรรณ
รวมถึงทรวงอก ที่เปล่งปลั่งเต่งตึง อีกทั้งคิ้ว ตา ผม มือดูสะอาดสะอ้าน
อ่อนช้อยดั่งนางสนมคอยรับใช้ในวังหลวง

บทพิโรธวาทัง (โกรธ เกรี้ยวกราด)

"ระกำอกหมกมุ่นหุนพิโรธ กำลังโกรธกลับแรงกำแหงหาญ

ประหลาดใจใครหนอมาก่อการ ช่างคิดอ่านเอาคู่ของกูไป"

"กระโดดโครมโถมว่ายสายสมุทร อุตลุดดำต้นเที่ยวค้นหา
ไม่เห็นผัวคว้าไปได้แต่ปลา ควักลูกตาสูบเลือดด้วยเดือดดาล
ค่อยมีแรงแผลงฤทธิคำรณร้อง ตะโกนก้องเรียกหาโยธาหาญ
ฝ่ายปีศาจราชทูตภูตพรายพล อลหม่านขึ้นมาหาในสายชล"

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๕ )

นางผีเสื้อสมุทรโกรธที่นางเงือกพาพระอภัยมณีและ
สินสมุทรหนีไปจึงออกตามหา

บทพิโรธวาทัง (โกรธ เกรี้ยวกราด)

นางผีเสื้อเหลือโกรธพิโรธร้อง มาตั้งชองศีลจะมีอยู่ที่ไหน

ช่างเฉโกโยคีหนีเขาใช้ ไม่อยู่ในศีลสัตย์มาตัดรอน

เขาว่ากันผัวเมียกับแม่ลูก ยืนจมูกเข้ามาบ้างช่วยสั่งสอน

แม้นคบคู่กูไว้มิให้นอน จะรานรอญรบเร้าเฝ้าตอแย

แล้วขี้หน้าด่าอึงหึงนางเงือก ทำซบเสือกสอพลออีตอแหล

เห็นผัวรักยักคอทำท้อแท้ พ่อกับแม่มึงเข้าไปอยู่ในท้อง

ทำปั้นเจ๋อเย่อหยิ่งมาชิงผัว ระวังตัวมึงให้ดีอีจองหอง

พลางเช่นเขี้ยวเคี้ยวกรามคำรามร้อง เสียงกึกก้องโกลาลูกตาโพลง ฯ

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๕๑-๕๒)

นางผีเสื้อสมุทรด่าพระโยคีและนางเงือก

บทสัลลาปังคพิสัย (เศร้าโศก)

"ลงกลิ้งเกลือกเลือกกายร้องไห้โร่ เสียงโฮโฮดังก้องห้องคูหา

พระรูปหล่อพ่อคุณของเมียอา ควรหรือมาทิ้งขว้างหมองหมางเมีย

ทั้งลูกน้อยกลอยใจไปด้วยเล่า เหมือนควักเอาดวงใจน้องไปเสีย

น้องร้อนรุ่มกลุ้มใจดังไฟเลีย ทูนหัวเมียช่างไม่ไว้อาลัยเลย

ถึงแปดปีนี่แล้วไม่แคล้วคลาด เคยร่วมอาสน์อกอุ่นพ่อคุณเอ๋ย

ตั้งแต่นี้น้องจะได้ผู้ใดเชย เหมือนพระเคยคู่เคียงเมื่อเที่ยงคืน"

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๕ )

นางผีเสื้อสมุทรเศร้าโศกฟูมฟายที่พระอภัยมณี
และสินสมุทรหนีนางไปจากถ้ำ"

๒ . การใช้คำ

การเล่นสัมผัสอักษร

"แล้วหนักหน่างนึกที่จะหนีไป"
คำที่เล่นคือคำว่า หนัก หน่วง และหนี ซึ่งเป็นการใช้ตัว ห นำ ตัว น
"ขึ้นฟ่องฟูพ่นฟองละอองฝน"
คำที่เล่นคำคือคำว่า ฟอง ฟู และฟอง ซึ่งเป็นการใช้ตัว ฟ
"กินสำราญรื่นเริงบันเทิงใจ"
คำที่เล่นคือคำว่า ราญ รื่น และเริง ซึ่งเป็นการใช้ตัว ร

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๓๖,๔๓ )

การเล่นสัมผัสสระ

"เงือกผู้เฒ่าเอารพอภิวาท ขอรองบาทบริรักษ์จนตักษัยเสด็จ

ขึ้นทรงป่าจะพาไป พระหน่อไทให้ขี่ภริยา"

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๓)

เล่นสัมผัสสระภายในวรรค

วรรคที่ 1 คำว่า เฒ่า และ เคา(รพ)

วรรคที่ 2 คำว่า (บริ)รักษ์ และ ตัก(ษัย)

วรรคที่ 3 คำว่า บ่า และ พา

วรรคที่ 4 คำว่า ไท และ ให้

สัมผัสสระ = ใช้สระเดียวกันหรือเสียงเดียวกันกรณีมีตัวสะกด ต้องเป็นตัวสะกด

มาตราเดียวกัน

การซ้ำคำ

"พระโฉมยงองค์อภัยมณีนาถ เพลินประพาสพิศดูหมู่มัจฉา

เหล่าฉลามล้วนฉลามตามกันมา ค่อยเคลื่อนคลาคล้ายคล้ายในสายชล

ฉนากอยู่คู่ฉนากไม่จากคู่ ขึ้นฟ้องฟูพ่นฟองละอองฝน

ฝูงพิมพาพาฝูงเข้าแฝงวน บ้างผุดพ่นฟองน้ำบ้างดำจร

กระโห้เรียงเคียงกระโห้ขึ้นโบกหาง ลอยสล้างกลางกระแสแลสลอน

มังกรเกี่ยวเลี้ยวลอดกอดมังกร ประชุมซ่อนแฝงชลขึ้นวนเวียน

ฝูงม้าน้ำทำท่าเหมือนม้าเผ่น ขึ้นลอยเล่นเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน ซ้ำคำ = เขียนเหมือนกัน
ตะเทียนทองล่องน้ำนำตะเทียน ดาษเดียรดูเพลินจนเกิดมา" ออกเสียงเหมือนกัน (แฝดเหมือน")

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๓)

๓ . การใช้ภาพพจน์

อุปมา : เปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง

"ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุริย์ฉาย

มีกำลังดังพระยาคชาพลาย มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา"

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๓๗)

สินสมุทรมีรูปร่างเหมือนพระอภัยมณี แต่ดวงตาสีแดงเหมือนแสงพระอาทิตย์

มีกำลังมากเหมือนช้าง และมีเขี้ยวคล้ายกับแม่ (นางผีเสื้อสมุทร)

"สัตว์ในน้ำจำแห้แกผีเสื้อ เปรียบเหมือนเนื้อเห็นพยัคฆ์ให้ชักหลัง"

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๓)

สัตว์ทะเลทั้งหลายในน้ำก็จำต้องพ่ายแพ้แก่นางผีเสื้อสมุทร เปรียบเหมือนกับเนื้อ

ทราย เมื่อเห็นเสื้อเข้าก็ต้องหลบหนีเพื่อเอาตัวรอดให้พ้นอันตราย

อุปลักษณ์ : เปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง

"ถ้าแดดกล้าตามัวเป็นหมอกควัน จะผายผันล่วงทางไปกลางคืน"

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๓)

การเปรียบตาที่มัวเหมือนอยู่ท่ามกลางหมอกควัน จนเสมือนว่ากลางวันกลายเป็นกลางคืน

อติพจน์ : กล่าวเกินจริง

"ลุยทะเลโครมครามออกตามไป สมุทรไทแทบจะล่มถล่มทลาย"

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๕)

นางผีเสื้อสมุทรรีบออกตามหาพระอภัยมณี จนมหาสมุทรแทบจะถ่มหลาย

สัทพจน์ : การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ

"สลาตันลั่นพิลึกเสียงครึกครื้น จนดีกดื่นรีบรุดไม่หยุดเลย"

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๔)

เงือกเฒ่ารีบว่ายน้ำพาพระอภัยมณีหนีจนดึกดื่นไม่หยุดพัก

"ฟังสำเนียงเสียงคลื่นดังครื้นโครม ยิ่งทุกข์โทมนัสในฤทัยทวี"

(อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๓)

พระอภัยมณีฟังเสียงคลื่นในทะเลยิ่งทำให้รู้สึกเป็นทุกข์

วิเคราะห์คุณค่า
ด้านสังคม

สะท้อนสังคมวิถีชีวิตการเลี้ยงดูบุตร



“จะกล่าวกลับจับความไปตามเรื่อง ถึงบาทเบื้องปรเมศพระเชษฐา

องค์อภัยมณีศรีโสภา ตกยากอยู่คูหามาช้านาน บทประพันธ์ดังกล่าวเป็นตอนที่พระอภัยมณีอยู่
กับนางผีเสื้อสมุทรจนมีลูกชาย มีหน้าตาเหมือนพ่อ
กับด้วยนางอสุรีนฤมิต เป็นคู่ชิดเชยชมสมสมาน แต่ดวงตาแดงดังดวงอาทิตย์ มีกำลังดังพระยาช้าง
พลาย มีเขี้ยวคล้ายแม่มีกำลังมาก พระอภัยมณี
ต้องรักใคร่ไปตามยามกันดาร จนนางมารมีบุตรบุรุษชาย ทรงรักใคร่สินสมุทร เฝ้าเลี้ยงดูผูกเปลกล่อมนอน
จนใหญ่อายุได้แปดปี
ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุริย์ฉาย
จากบทประพันธ์นี้สะท้อนให้เห็นว่าการเลี้ยงลูก
ทรงกำลังดังพระยาคชาพลาย มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา ของคนโบราณสมัยก่อน ส่วนใหญ่จะมีการผูกเปล
เอาไว้และร้องเพลงกล่อมเด็กเพื่อให้เด็กนอนหลับ
พระบิตุรงค์ทรงศักดิ์ก็รักใคร่ ด้วยเนื้อไขมิได้คิดริษยา

เฝ้าเลี้ยงลูกผูกเปลแล้วเห่ช้า จนใหญ่กล้าอายุได้แปดปี”

( อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๓๗ )

ความเชื่อเรื่อง การทำนายฝัน







“ฝ่ายผีเสื้อเมื่อจะจากพรากลูกผัว แต่พลิกตัวกลิ้งกลับไม่หลับใหล

ให้หมกมุ่นขุ่นคล้ำในน้ำใจ จนเสียงไก่แก้วขันสนั่นเนิน บทประพันธ์ดังกล่าวเป็นตอนที่นางผีเสื้อสมุทร

พอม่อยหลับกลับจิตต์นิมิตต์ฝัน ว่าเทวัญอยู่ที่เกาะนั้นเหาะเหิน ฝันว่า เทวดามาพังถ้ำ ใช้ค้อนทุบและควักเอา

มาสังหารผลาญถ้ำระยำเยิน แกว่งพเนินทุบนางแทบวางวาย ดวงตาทั้งสองของนาง จากนั้นก็กลับหายไป
แล้วอารักษ์ควักล้วงเอาดวงเนตร สำแดงเดชเหาะกลับไปลับหาย เมื่อนางสะดุ้งตื่นจากความฝันจึงให้พระอภัยมณี
ทั้งกายสั่นพรั่นตัวด้วยกลัวตาย พอฟื้นกายก็พอแจ้งแสงตะวัน ช่วยทำนายฝันให้แก่นาง

จึงก้มกราบบาทบงสุ์พระทรงศักดิ์ แล้วนางยักษ์เล่าตามเนื้อความฝัน จากบทประพันธ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า ในสังคม
มีความเชื่อเรื่องเทวดามีมีอยู่จริงและความเชื่อเรื่อง
ไม่เคยเห็นเป็นวิบัติอัศจรรย์ เชิญทรงธรรม์ช่วยทำนายร้ายหรือดี ฯ” ความฝัน การทำนายฝันว่าสิ่งที่ฝันนั้นจะเป็นเรื่องดี

( อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๔๑ )

หรือเรื่องร้ายต่อตนเอง

ความเชื่อเรื่อง ผีสางและเวทมนตร์คาถา







“พระโยคีมีญาณว่าหลานรัก จง
สำนักอยู่ให้สมอารมณ์หมาย บทประพันธ์ดังกล่าวเป็นตอนที่พระฤาษี
อันยักษีผีสางสมุทรพราย พูดกับพระอภัยมณีว่า จงพักให้สบายเถิด ผีสาง
เราลงเลขเสกทำไว้สำเร็จ มาถูกทรายชายหาดก็ขาดใจ นางยักษ์ถูกทรายก็ขาดใจตายเพราะว่าข้าได้ทำ
มันอยู่แต่ห่างห่างช่างเป็นไร ดังเขื่อนเพชรภูตปีศาจไม่อาจใกล้ พิธีลงเลขเสกของเอาไว้ พวกมันไม่สามารถ
ทำไม่ได้นัดดาเจ้าอย่ากลัว” ทำอะไรเจ้าได้ เจ้าอย่ากลัวไปเลย

( อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๕๐ ) จากประพันธ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า ในสังคม

มีความเชื่อเรื่องผีสางว่ามีอยู่จริงและเวทมนตร์

คาถาที่สามารถป้องภัยได้

ความเชื่อเรื่อง เคราะห์กรรม







“ฝ่ายโยคีมียศพจนาถ ให
้โอวาทนางยักษ์ไม่หักหาญ บทประพันธ์ดังกล่าวเป็นตอนที่ฝ่ายฤๅษีก็เทศนา
จงตัดบ่วงห่วงใยอาลัยลาน อย
่าปองผลาญลูกผัวของตัวเลย สอนนางยักษ์ว่าอย่าจองเวรจองกรรมลูกผัวเลยที่ทำให้
เกิดเรื่องวุ่นวายทั้งหมดนี้ก็เป็นเพราะเคราะห์กรรมทั้งนั้น

ทั้งนี้เพราะเคราะห์กรรมทำให้วุ่น จึงสิ้นบุญวาสนาสีกาเอ๋ย ที่พวกเจ้าไม่ได้ครองรักกันก็เพราะทำบุญร่วมกันมาเท่านี้
เห็นมิได้ไปอยู่เป็นคู่เชย ด้วยสองเคยปลูกเลี้ยงกันเพียงนั้น อย่าคิดโกรธแค้นกันเลยเมื่อตายไปจะไม่ดีแก่ตัวเอง
อย่าควรคิดติดตามด้วยความโกรธ จะเป็นโทษกับสีกาเมื่ออาสัญ แต่ถ้ายับยั้งชั่งใจได้ตายไปก็จะได้ขึ้นสวรรค์

จงยับยั้งฟังคำรูปรำพัน ไปสวรรค์นฤพานสำราญใจ ฯ” จากประพันธ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า ในสังคม

มีความเชื่อเรื่องเคราะห์กรรมจึงทำให้ไม่สามารถรักกันได้

( อ้างอิงจากหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ม.๓ หน้าที่ ๕๒ ) และความเชื่อเรื่องการไม่สร้างบาปตายไปก็จะได้ขึ้น

สวรรค์

ข้อคิดที่ได้รับ

๑. ความรักที่มิได้เกิดจากความสมัครใจ (จำใจ) ย่อมไม่ยืนยาว
๒. การมีชีวิตคู่ที่ยืนยาว สามีภรรยาต้องมีความเหมาะสมกัน ทั้งด้านการดำเนินชีวิต
และอุปนิสัย
๓. การพลัดพรากจากสิ่งที่รักย่อมทำให้เกิดทุกข์
๔. ไม่ควรฆ่าสัตว์ และทำร้ายชีวิตคนอื่น
๕. ควรมีเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่นที่กำลังได้รับความเดือดร้อน
๖. พ่อแม่ควรพูดคุยกับลูกด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์และทำร้ายลูก
๙. ควรให้ความเคารพผู้อาวุโส

สมาชิกในกลุ่ม

๑. นางสาวญาตาวี รัตโนภาส รหัสนักศึกษา ๖๓๔๑๐๑๐๐๓
๒. นางสาวณฐิกา ศรีราม รหัสนักศึกษา ๖๓๔๑๐๑๐๐๔
๓. นางสาวปพิชญา ศรีไทย รหัสนักศึกษา ๖๓๔๑๐๑๐๐๘
๔. นางสาวศิริรักษ์ อินทร์จันทร์ รหัสนักศึกษา ๖๓๔๑๐๑๐๒๗

๕. นางสาวศศิกานต์ สีนองช่อ รหัสนักศึกษา ๖๓๔๑๐๑๐๓๐


Click to View FlipBook Version