The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Wanwadee Tongtawee, 2023-05-08 01:31:20

TH8

TH8

ใบความรู้ เรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร หน่วยที่ ๓ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑๐ เรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร รายวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๒ ******************************************************************************* ภาพที่ ๑๐ พระสุริโยทัยขาดคอช้าง ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มาของเรื่อง คัดมาจากหนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดารเป็นโคลงบรรยายภาพที่ ๑๐ แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและโคลงบรรยายภาพที่ ๕๖ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระสุริโยทัยที่มีความรัก และความเสียสละพระชนม์ชีพ ช่วยปกป้องพระ สวามีจากข้าศึกให้รอดพระชนม์ชีพ ลักษณะค าประพันธ์ เป็นโคลงสี่สุภาพ เนื้อเรื่องย่อ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกกองทัพประชิดติดเมือง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงยกพลออกไป ออกสู้รบสมเด็จพระสุริโยทัยพระมเหสีทรงเครื่องพิชัยสงคราม ทรงช้าง โดยเสด็จด้วย เมื่อช้าง พระที่นั่งของ พระมหาจักรพรรดิไปประจันหน้าและชนกับช้างทรงของพระเจ้าแปรทัพหน้า ช้างของ พระมหาจักรพรรดิ เสียทีกลับหลังวิ่งเตลิด พระเจ้าแปรก็ขับช้างตาม พระสุริโยทัยทรงไสช้างเข้าขัดขวาง พระเจ้าแปรจึงใช้พระ แสงของ้าวฟันพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้างนั่นเอง ข้อคิดที่จากเรื่อง ๑. ต้องมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ๒. รู้จักเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องประเทศชาติจากข้าศึกศัตรู เพื่อให้ได้มาเพื่อความเป็นไทยตลอดไป ๓. ปลูกจิตส านึกให้เยาวชนไทยเห็นคุณค่าของความเสียสละของวีรชนไทย


ภาพที่ ๕๖ พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต ผู้แต่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่มาของเรื่อง คัดจากหนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุดมุงหมายในการแต่ง เพื่อสดุดีวีรกรรมของพันท้ายนรสิงห์ที่ยอมเสียสละชีวิตของตนเองเพื่อรักษาพระราชก าหนดที่มีมา ทุกสมัยมิให้ใช่เสื่อมเสีย และสูญหายไป เพราะตนเพียงคนเดียว ลักษณะค าประพันธ์เป็นโคลงสี่สุภาพ เนื้อเรื่องย่อ เมื่อสมเด็จพระเจ้าเสือประพาสปากน้ า ได้ประทับเรือเอกชัยเข้ามาถึงต าบลโคกขามล าคลองลักษณะ คดเคี้ยวนายท้ายเรือด้วยความล าบาก ท าให้โขนเรือหัก พันท้ายนรสิงห์จึงรับผิดชอบขอให้พระเจ้าเสือประหาร ชีวิตตน เพื่อเอาโขนเรือและศีรษะมาเซ่นสรวงท าศาลตามประเพณี สมเด็จพระเจ้าเสือพระราชทานโทษให้ แต่ ทรงโปรดให้ปั้นรูปพันท้ายนรสิงห์ขึ้นมาฟันคอรูปแทน พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอม กราบทูลรบเร้าให้พระเจ้าเสือ ประหารชีวิตตนให้ได้ พระเจ้าเสือก็ต้องจ าพระทัยสั่งเพชฌฆาตประหารชีวิต พันท้ายนรสิงห์ แล้วให้น าศีรษะ ของพันท้ายนรสิงห์กับโขนเรือเซ่นไว้ที่ศาล เพื่อเป็นที่เตือนใจคนทั่วไป ข้อคิดที่ได้รับการเรื่อง ๑ มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ๒ รู้จักเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องพระราชก าหนดให้คงอยู่ตลอดไป ๓ ปลูกจิตส านึกให้เยาวชนไทยเห็นคุณค่าเสียสละของวีรชนไทย


Click to View FlipBook Version