นางสาวนูรีสา หะนิแร ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
ชื่อเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD ผู้วิจัย นางสาวนูรีสา หะนิแร สาขาวิชา คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 บทคัดย่อ รายงานการศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การหาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิค วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน โดยวิธีเลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิค วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD และแบบประเมินผลการเรียนรู้เรื่อง การหาร การศึกษาวิเคราะห์ ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ( x̅ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) หาประสิทธิภาพ เครื่องมือ และเปรียบเทียบ ความแตกต่างด้วยค่า “ที” (T-test) แบบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและ หลังได้รับการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การหาร จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน ผลการศึกษาพบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การหาร โดยใช้ชุด กิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD ใช้สถิติt-test Dependent โดยหลังการทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบระเบียบ มีแบบแผนสามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยัง ช่วยพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข คุณภาพของผู้เรียนที่ระบุไว้ในคู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นเป้าหมาย ของการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในแต่ละช่วงชั้นให้กับผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีซึ่งจะต้อง มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระคณิตศาสตร์ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์มีเจตคติที่ดีต่อวิชา คณิตศาสตร์มีความตระหนักในคุณค่าของคณิตศาสตร์และสามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปพัฒนาคุณภาพ ชีวิตตลอดจนสามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และเป็นพื้นฐานในการศึกษาใน ระดับที่สูงขึ้น การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพจะต้องมีพัฒนาการทั้งด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ดังนี้ 1. มีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับจำนวนและการดำเนินการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น พร้อมทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 2. มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ 3. มีความสามารถในการทำงานอย่างเป็นระบบ มีระเบียบวินัย มีความรอบคอบมีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ คุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบช่วงชั้นที่ 1 ( ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ) ประกอบด้วย 1. มีความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับและศูนย์และการดำเนินการ ของจำนวน สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนนับพร้อมทั้งตระหนัก ถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้และสามารถสร้างโจทย์ได้ 2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว ระยะทาง น้ำหนัก ปริมาตรและความจุ สามารถวัด ปริมาณดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้แก้ปัญหาใน สถานการณ์ ต่าง ๆ ได้ 3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติพื้นฐานของรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติมีความเข้าใจ เกี่ยวกับแบบรูปและอธิบายความสัมพันธ์ได้ 4. รวบรวมข้อมูล จัดระบบข้อมูลและอภิปรายประเด็นต่าง ๆ จากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้
3 5. มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น ได้แก่ ความสามารถในการแก้ปัญหา การให้ เหตุผล การสื่อสาร สื่อความหมายและการนำเสนอทางคณิตศาสตร์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการ เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้นี้เป็นสาระหลักที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน ประกอบด้วยเนื้อหาวิชา คณิตศาสตร์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนควรบูรณาการสาระต่างๆ เข้า ด้วยกันเท่าที่จะเป็นไปได้ สาระที่เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย สาระที่ ๑ จำนวนและพีชคณิต มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวน ผล ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้ มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรมและนำไปใช้ สาระที่ ๒ การวัดและเรขาคณิต มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดและนำไปใช้ มาตรฐาน ค ๒.๒ เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้ สาระที่ ๓ สถิติและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค ๓.๑ เข้าใจกระบวนการทางสถิติและใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา สำหรับผู้เรียนที่มีความสนใจหรือมีความสามารถสูงทางคณิตศาสตร์ สถานศึกษาอาจจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้สาระที่เป็นเนื้อหาวิชาให้กว้างขึ้น เข้มข้นขึ้น หรือฝึกทักษะกระบวนการมากขึ้นโดยพิจารณาจากสาระ หลักที่กำหนดไว้นี้หรือสถานศึกษาอาจจัดสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์อื่น ๆ เพิ่มเติมก็ได้ เช่น แคลคูลัส เบื้องต้น หรือทฤษฎีกราฟเบื้องต้น โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วน ร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้อำนวย ความสะดวก สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษา ดูแล แนะนำ จัดวิธีการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย สร้างองค์ความรู้ได้ มีความเข้าใจในตนเอง ใช้สติปัญญา คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงาน มีสมรรถนะสำคัญ มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตาม ระดับช่วงวัย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2562 : 4) ลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มีดังนี้ 1. เป็นการพัฒนาศักยภาพการคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ในรูปแบบของความร่วมมือ 3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
4 4. เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ สู่ทักษะการคิดวิเคราะห์ 5. ผู้เรียนได้เรียนรู้ความมีวินัยในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 6. ความรู้เกิดจากประสบการณ์ และการสรุปของผู้เรียน 7. ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2562 : 5) ตัวอย่างเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับนักเรียนทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้ แบบกลุ่มใหญ่ ตัวอย่างรูปแบบหรือเทคนิค การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ แบบ Active Learning ได้ดี ได้แก่ 1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดแต่ละคน ประมาณ 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิด กับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share) 2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดเป็นกลุ่มๆ ละ 3-6 คน 3. การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดย ครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา 4. การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการ เรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน การสอน การมอบหมายงาน และหรือขั้นการประเมินผล 5. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม 6. การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม 7. การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว 8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือ การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ วางแผนการเรียน เรียนรู้ ตามแผน สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบ โครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning) 9. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหา ภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด
5 10. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติม เกี่ยวกับบันทึกที่เขียน 11. การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ 12. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน ออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้ เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม (สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558) บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ดังนี้ 1. จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน 2. สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับ ผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน 3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียน ความสำเร็จในการเรียนรู้ 4. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน 5. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย 6. วางแผนเกี่ยวกับเวลาในการจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหาและกิจกรรม 7. ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับความสามารถในการแสดงออก และความคิดของผู้เรียน (ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ, 2550) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้เจตคติและทักษะให้นักเรียนสามารถนำไป ปฏิบัติและจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตในสังคม เป็นกระบวนการที่เน้นการฝึกทักษะและการสร้าง เจตคติจากประสบการณ์ของผู้เรียน เป็นการเรียนรู้ที่เป็นปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงที่ นำไปสู่การเรียนรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้มากกว่าการ ถ่ายทอดความรู้โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า ผู้เรียนทุกคนมีประสบการณ์เดิม และสามารถสร้างความรู้ใหม่ขึ้นจาก ประสบการณ์เดิมนั้นได้ด้วยการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเอง การ สื่อสารที่เกิดขึ้นเป็นการขยายเครือข่ายความรู้ทั้งในทางกว้างและทางลึก ซึ่งชุดกิจกรรมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการสอนของครูและจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองตาม จุดประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เร้าความสนใจของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนรู้จุดมุ่งหมายชัดเจน และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล เปิด
6 โอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นมีอิสระในการเรียนได้แสดงความคิดเห็น มีอิสระในการเรียน สามารถเรียน ด้วยตนเองตามความสามารถและความสนใจของตนเอง จึงทำให้ผู้เรียนสนใจที่จะเรียนรู้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้ทราบผลการปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆ อย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน หรือเกิดความ ท้อถอยใน การเรียนเพราะผู้เรียนมีสิทธิที่จะกลับไปศึกษาเรื่องที่ตนเองไม่เข้าใจใหม่ได้ อีกทั้งยังเป็น การช่วยฝึกการ ทำงานร่วมกันกับผู้อื่นเพื่อให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จากประสบการณ์ของผู้รายงาน ในการสอนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับช่วงชั้นที่ 1 โดยเฉพาะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าสภาพการเรียนโดยภาพรวมปรากฏว่า นักเรียนส่วนมากมีความสามารถ ความสนใจในการเรียนรู้ที่แตกต่างหลากหลาย มีทั้งกลุ่มที่เรียนดี ปานกลาง กลุ่มที่บกพร่องทางการเรียนรู้ และ เด็กพิเศษ จึงทำให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ โดยเฉพาะ วิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นกลุ่มทักษะที่จำเป็นต่อการดำรง ชีวิตประจำวัน แต่ปรากฏว่านักเรียนร้อยละ 50 มีผลการเรียนต่ำ แม้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับต่าง ๆ นักเรียนจะสามารถทำคะแนนได้โดยเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีก็ตาม แต่พบว่าเนื้อหา เรื่อง การหาร นักเรียนทำคะแนนได้น้อยจึงเป็นตัวฉุดคะแนนในภาพรวม เมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาจึงพบว่าเกิดจาก นักเรียนขาดทักษะในการคิดการคำนวณ มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จึงทำให้ไม่สนใจ เกิดความ เบื่อหน่ายในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ จึงส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น ผู้รายงานจึงออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD มาประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติ ที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การหาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ความสำคัญของการศึกษา ผลของการศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการ เรียนรู้เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบ STAD มาประกอบการจัดกิจกรรม การเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อันจะเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนได้นำไปใช้พัฒนา กระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7 ขอบเขตของการศึกษา 1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 46 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง กลุ่มนักเรียนตัวอย่างได้จากนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศึกราช 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ของ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีเนื้อหารายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ชุด กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ มาประกอบการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต2 มีจำนวน 6 ชุด ดังนี้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การหารซึ่งตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสองหลักและ ตัวหารเป็นจำนวนที่มีหนึ่งหลัก (หารลงตัว) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การหารซึ่งตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสองหลักและ ตัวหารเป็นจำนวนที่มีหนึ่งหลัก (หารไม่ลงตัว) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การหารซึ่งตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสามหลักและ ตัวหารเป็นจำนวนที่มีหนึ่งหลัก (หารลงตัว) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การหารซึ่งตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสามหลักและ ตัวหารเป็นจำนวนที่มีหนึ่งหลัก (หารไม่ลงตัว) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การหารซึ่งตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสี่หลักและ ตัวหารเป็นจำนวนที่มีหนึ่งหลัก (หารลงตัว) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การหารซึ่งตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสี่หลักและ ตัวหารเป็นจำนวนที่มีหนึ่งหลัก (หารไม่ลงตัว) 3. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 4. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD มาประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
8 สมมติฐานของการศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD มาประกอบการจัดกิจกรรม การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียน กรอบแนวคิดของการศึกษา ผู้ศึกษาได้วางกรอบแนวคิดในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD มาประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการสอน ดังนี้ แผนภาพประกอบที่ 1 กรอบแนวคิดการศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เรื่อง การหาร 2. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอน 3. เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อง การหาร ในสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการหาร ร่วมกับเทคนิค วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือใน รูปแบบ STAD ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การหาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิค วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD
9 นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้ อำนวยความสะดวก สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษา ดูแล แนะนำ จัดวิธีการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่ หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย สร้างองค์ความรู้ได้ มีความเข้าใจในตนเอง ใช้สติปัญญา คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงาน มีสมรรถนะสำคัญ มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ตามระดับช่วงวัย 2. การสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือใน รูปแบบ STAD หมายถึง การนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในรูปแบบ STAD มาใช้เป็นกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 3. แผนการจัดการเรียนรู้หมายถึง แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง การหาร โดย การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการ เรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งประกอบไปด้วย จุดประสงค์การเรียนรู้สาระการเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้การวัดผลประเมินผล 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ ความสามารถของนักเรียนที่แสดงพฤติกรรมตามตัวชี้วัด ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 หลังจากสิ้นสุดการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการ เรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งสามารถวัดได้ จากคะแนนของนักเรียนในการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ 5. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การ หาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่3 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ เพื่อใช้ทดสอบ นักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 3
10 วิธีดำเนินการวิจัย 1. ประชากร ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส จำนวน 46 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2.1 แบบประเมินผลการเรียนรู้เรื่อง การหาร 2.2 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ 3.1 ศึกษาเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดทฤษฏีการเรียนการสอน 3.2 ศึกษาปัญหาของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลที่พบในการจัดการเรียนการสอน 3.3 ศึกษาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 3.4 ศึกษาเทคนิคการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน 3.5 สร้างแบบประเมินผลก่อนเรียน - หลังเรียน 3.6 ประเมินผลเรื่อง การหาร ก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การหาร สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 3.7 ดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3.8 ประเมินผลเรื่อง การหาร หลังการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลในสถานการณ์จริงในชั้นเรียน โดยใช้แบบประเมินผลเรื่อง การหาร ก่อน ใช้และหลังการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิค วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และสังเกตพฤติกรรมของ ผู้เรียนระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบทดสอบเรื่อง การหาร ก่อนเรียนและหลังเรียน นำมาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วเปรียบเทียบคะแนนความก้าวหน้าของนักเรียน แต่ละคน
11 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส ทั้งหมด รวม 24 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง มีการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน แล้วจึงดำเนินการสอนตามแผนการ จัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับ เทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากนั้นจึงทำการ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน แล้วจึงนำผลมาเก็บรวบรวม ข้อมูลก่อนเรียนและหลังเรียนที่รวบรวมได้จาก เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาจำแนกผลการเรียนรู้ ดังนี้ สรุปได้ว่านักเรียนทั้ง 24 คน มีความก้าวหน้าในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุด กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของนักเรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การฝึก จำนวน นักเรียน ค่าเฉลี่ย X ค่า S.D t ก่อนเรียน 24 คน 7.46 3.28 15.88 21.95 * หลังเรียน 24 คน 23.33 4.82 จากตารางสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อน เรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.46 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.33 จะเห็นได้ว่าคะแนนของค่าเฉลี่ยหลังเรียนมีค่า มากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 3.28 ส่วนค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 4.82 แสดงว่าข้อมูลมีค่าคะแนนใกล้เคียงกัน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง คะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การหาร โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือใน รูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง การหาร สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การหาร ดีขึ้น
12 อภิปรายผล ผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือใน รูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างดียิ่ง ด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้ 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบSTAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นสื่อที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามผลของการวิเคราะห์ข้อมูล ดังกล่าว 2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชุดนี้สร้างขึ้นอย่างถูกวิธี ได้ผ่านขั้นตอนการสร้างและพัฒนาอย่างเป็น ระบบ เริ่มตั้งแต่เอกสารหลักสูตรและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการใช้หลักสูตร และยังได้รับการแนะนำ ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านเนื้อหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ความเหมาะสมของ เนื้อหา 3. การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิค วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนเกิดความสนุกสนาน ในการเรียนรู้ 4. การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ร่วมกับเทคนิค วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้เรียงลำดับความยากง่าย สอดคล้องตามธรรมชาติการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ จึงสรุปได้ว่าชุด กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการหาร ร่วมกับเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
13 บรรณานุกรม จำรัส น้อยแสงสรี. (2540). คู่มือการศึกษาเทคนิคและวิธีสอนของครู. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิษณุโลก: โปรแกรม 2550 ชัยพร รูปน้อย. (2540). คู่มือเกม. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. ข่าวสารวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำเดือนพฤศจิกายน. ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2565). บทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมและวิธีการปฏิบัติตามแนวทางของ Active Learning. สืบค้นจาก http://www.kroobannok.com ดวงมน ปริปุณณะ. (2547). เทคนิคและวิธีสอนในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช. ธีระพัฒน์ฤทธิ์ทอง. (2545). 30 รูปแบบการจัดกิจกรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง. นิรมล ชยุดลาหกิจ. (2544). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
14 ภาคผนวก
15 แบบบันทึกคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน – หลังเรียน เรื่อง การหาร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส เลขที่ ชื่อ - สกุล ก่อนเรียน หลังเรียน 30 คะแนน 30 คะแนน เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
16 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
17 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การหาร ………………………………………………………………………………………………… คำชี้แจง วงกลมล้อมรอบคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 1. ข้อใดหมายถึงการหาร ก. การบวกด้วยจำนวนเดียวกัน ข. การลบด้วยจำนวนหลายจำนวน ค. การนับเพิ่มครั้งละเท่าๆกัน ง. การนับลดครั้งละเท่าๆกัน 2. 98 ÷ 7 คำตอบคือข้อใด ก. 14 ข. 15 ค. 16 ง. 17 3. 93 ÷ 3 = ก. 33 ข. 13 ค. 31 ง. 11 4. ข้อใดเป็นจริง ก. 95 ÷ 5 = 118 ข. 172 ÷ 4 = 43 เศษ 2 ค. 4036 ÷ 9 = 448 เศษ 8 ง. 320 ÷ 5 = 64 5. ข้อใดคือหลักการหารจำนวนที่มีสามหลักด้วย จำนวนที่มีหลักเดียว ก. เริ่มหารจากหลักร้อยไปหลักสิบ ข เริ่มหารจากหลักสิบไปหลักร้อย ค. เริ่มหารจากหลักร้อยไปหลักสิบและ หลักหน่วยตามลำดับ ง. เริ่มหารจากหลักหน่วยไปหลักสิบและ หลักร้อยตามลำดับ 6. ข้อใดเป็นการตรวจคำตอบการหารที่ถูกต้อง ก. (ผลหาร ตัวหาร) – เศษ = ตัวตั้ง ข. (ผลหาร ตัวหาร) + เศษ = ตัวตั้ง ค. (ผลหาร + เศษ) ตัวหาร = ตัวตั้ง ง. (ผลหาร - เศษ) ตัวหาร = ตัวตั้ง 7. 82 ÷ 2 = ก. 41 ข. 42 ค. 14 ง. 24 8. 86 ÷ 4 = ก. 23 ข. 21 เศษ 1 ค. 22 เศษ 1 ง. 21 เศษ 2 9. 59 ÷ 5 = ก. 11 เศษ 3 ข. 11 เศษ 4 ค. 11 เศษ 1 ง. 11 เศษ 2 10. 28 ÷ 6 = ก. 4 เศษ 1 ข. 1 เศษ 4 ค. 4 เศษ 3 ง. 4 เศษ 4
18 11. 693 ÷ 3 = ก. 221 ข. 231 ค. 211 ง. 213 12. 864 ÷ 2 = ก. 422 ข. 412 ค. 432 ง. 442 13. 155 ÷ 5 = ก. 15 ข. 31 ค. 35 ง. 13 14. 824 ÷ 8 = ก. 130 ข. 103 ค. 301 ง. 310 15. 105 ÷ 2 = ก. 51 เศษ 1 ข. 51 เศษ 2 ค. 52 ง. 52 เศษ 1 16. 716 ÷ 7 = ก. 12 เศษ 1 ข. 14 เศษ 2 ค. 102 เศษ 1 ง. 102 เศษ 2 17. 123 ÷ 4 = ก. 30 เศษ 3 ข. 30 เศษ 2 ค. 31 เศษ 2 ง. 31 เศษ 1 18. 8248 ÷ 2 = ก. 4124 ข. 4111 ค. 4142 ง. 4141 19. 5155 ÷ 5 = ก. 1351 ข. 1033 ค. 1031 ง. 1301 20. 6635 ÷ 3 = ก. 2211 เศษ 1 ข. 2211 เศษ 2 ค. 2112 เศษ 1 ง. 2112 เศษ 2 21. 6122 ÷ 6 = ก. 1,210 เศษ 1 ข. 1,010 เศษ 2 ค. 1,020 เศษ 1 ง. 1,020 เศษ 2
19 22. จากภาพเขียนเป็นโจทย์การหารได้อย่างไร ก. 20 ÷ 5 ข. 5 ÷ 20 ค. 205 ÷ 5 ง. 20 ÷ 5 23. จากภาพเขียนเป็นโจทย์ปัญหาการหารได้อย่างไร ก. ซื้อไข่ไก่ 6 ฟอง ฟองละ 36 บาท จะต้องจ่ายเงินกี่บาท ข. แม่ค้าขายไข่ไก่ราคาฟองละ 6 บาท ขายได้ 36 ฟอง แม่ค้าขายไข่ไก่ได้เงินกี่บาท ค. มีไข่ไก่ 6 ฟอง แม่ให้อีก 36 ฟอง รวมมีไข่ไก่กี่ฟอง ง. แม่ซื้อไข่ไก่ 6 ฟอง ราคา 36 บาท ไข่ไก่ราคาฟองละกี่บาท 24. จากภาพเขียนเป็นโจทย์ปัญหาการหารได้อย่างไร ก. เด็ก 4 คน ซื้อลูกโป่ง 14 ลูก จะต้องจ่ายเงินกี่บาท ข. มีลูกโป่ง 14 ลูก แบ่งให้เด็ก 4 คน คนละเท่าๆกัน จะได้คนละกี่ลูกเหลือกี่ลูก ค. เด็ก 4 คนมีลูกโป่งคนละ 14 ลูก รวมมีลูกโป่งทั้งหมดกี่ลูก ง. ลูกโป่งใบละ 14 บาท มีเด็กมาซื้อ 4 คน แม่ค้าจะขายได้เงินทั้งหมดกี่บาท 25. จากภาพข้อใดถูกต้อง ก. 936 ÷ 2 = 468 ข. 936 ÷ 3 = 321 ค. 936 ÷ 3 = 312 ง. 936 ÷ 6 = 124 ไข่ไก่ 6 ฟอง ราคา 36 บาท สุนขัท้งัหมดราคา 936 บาท
20 26. ข้อใดเป็นโจทย์ปัญหาการหาร ก. มีเงิน 500 บาทแม่ให้อีก 500บาทรวมมี เงินกี่บาท ข. มีขนม 37 ชิ้น แบ่งให้เพื่อน 5 คน คนละ เท่าๆกันจะได้คนละกี่ชิ้นและเหลือกี่ชิ้น ค. แก้วมีดินสอ 5 กล่อง กล่องละ 12 แท่ง แก้วมีดินสอทั้งหมดกี่แท่ง ง. สบู่ห่อหนี่งมี 12 ก้อน ถ้าซื้อ 8 ห่อ จะได้ สบู่กี่ก้อน 27. ป้านิ่มซื้อมะม่วง 5 กิโลกรัม จ่ายเงินให้ แม่ค้า 95 บาท มะม่วงราคากิโลกรัมละกี่บาท ก. 19 บาท ข. 29 บาท ค. 21 บาท ง. 25 บาท 28. ขายหนังสือ 4 เล่มได้เงิน 288 บาท หนังสือ ราคาเล่มละกี่บาท ก. 144 บาท ข. 54 บาท ค. 64 บาท ง. 72 บาท 29. นักเรียนชั้นป. 3 มี 55 คน แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จะได้กี่กลุ่ม ก. 5 กลุ่ม ข. 10 กลุ่ม ค. 11 กลุ่ม ง. 12 กลุ่ม 30. มีโต๊ะ 308 ตัว จัดเป็นแถว แถวละ 6 ตัว จะได้กี่แถวและเหลือโต๊ะกี่ตัว ก. 51 แถว เหลือ 2 ตัว ข. 61 แถว เหลือ 1 ตัว ค. 50 แถว เหลือ 3 ตัว ง. 60 แถว เหลือ 2 ตัว
21 เฉลย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1. ง 2. ก 3. ค 4. ง 5. ค 6. ข 7. ก 8. ง 9. ข 10. ง 11. ข 12. ค 13. ข 14. ข 15. ง 16. ง 17. ก 18. ก 19. ค 20. ข 21. ง 22. ก 23. ง 24. ข 25. ค 26. ข 27. ก 28. ง 29. ค 30. ก
22 ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้แผนที่ 1
23 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 เรื่อง การหาร จำนวน 18 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การหารซึ่งตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสองหลักและตัวหารเป็นจำนวน ที่มีหนึ่งหลัก(หารลงตัว) ผู้สอน: นางสาวนูรีสา หะนิแร เวลา 2 ชั่วโมง สาระหลักที่ 1 :จำนวนและพีชคณิต มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวน ผล ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และการนำไปใช้ ตัวชี้วัด ค 1.1 ป.3/7 หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์ แสดงการหารที่ตัวตั้งไม่เกิน 4 หลัก ตัวหาร 1 หลัก ค 1.1 ป.3/9 แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหา 2 ขั้นตอน ของจำนวนนับไม่เกิน 100,000 และ 0 สาระสำคัญ 1. การหาผลหารจำนวนที่ตัวตั้งมีสองหลักและตัวหารมีหนึ่งหลัก ทำได้โดยใช้การตั้งหารโดยวิธีการ หารทีละหลัก (วิธีลัด) 2. การหารยาวเป็นวิธีการหาผลหารอีกแบบหนึ่ง โดยการเขียนตัวหารไว้ด้านหน้าของเครื่องหมาย ......... ผลหารจะเขียนไว้ข้างบน และตัวตั้งจะเขียนข้างในเครื่องหมายหาร จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เมื่อกำหนดโจทย์การหารที่มีตัวตั้งไม่เกินสองหลักและตัวหารมีหนึ่งหลักให้สามารถหาผลหาร โดยวิธีการหารยาวได้ (K) 2. เมื่อกำหนดโจทย์การหารที่มีตัวตั้งไม่เกินสองหลักและตัวหารมีหนึ่งหลักให้ สามารถแสดงวิธีทำ และหาผลหารได้อย่างสมเหตุสมผล (P) 3. นักเรียนมีความตั้งใจและความเพลิดเพลินในการเรียนคณิตศาสตร์ (A) สาระการเรียนรู้ การหารยาวที่ตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสองหลัก และตัวหารเป็นจำนวนที่มีหนึ่งหลัก (หารลงตัว)
24 กระบวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ก่อนเรียน) เรื่อง การหารโดย ใช้ชุดกิจกรรมเรื่องการหารร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 30 ข้อ 2. ทดสอบก่อนเรียนจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการหาร ชุดที่ 1 เรื่อง การหาร ซึ่งตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสองหลักและตัวหารเป็นจำนวนที่มีหนึ่งหลัก (หารลงตัว) จำนวน 10 ข้อ 3. ทบทวนการหารจากแผนภูมิรูปภาพโดยให้นักเรียนร่วมกันสังเกตและตอบคำถาม รูปภาพ มีกลอง 12 ลูก แบ่งเป็นกลุ่ม ๆละ 3 ลูก เท่า ๆกัน จะได้กี่กลุ่ม ประโยคสัญลักษณ์การหาร 12 ÷ 3 = 4 ตอบ 4 กลุ่ม 4. นักเรียนร่วมกันร้องเพลงการหาร พร้อมแสดงท่าทางเต้นรำประกอบเพื่อทบทวนความหมายของ การหาร ขั้นสอน 5. ติดแถบประโยคสัญลักษณ์การหารที่ตัวตั้งมีสองหลักและตัวหารมีหนึ่งหลัก (หารลงตัว) บนกระดาน เช่น 18 ÷ 2 = ครูแนะนำการหารยาวซึ่งเป็นวิธีการหาผลหารอีกแบบหนึ่งดังนี้ 9 2 18 6. นักเรียนร่วมกันยกตัวอย่างโจทย์การหารที่ตัวตั้งมีสองหลักและตัวหารมีหนึ่งหลัก จากนั้น ช่วยกันหาผลหารโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างการคูณกับการหารโดยแสดงวิธีการตั้งหารยาว ตัวอย่าง 35 ÷ 7 = วิธีทำ 7 5 35 35 7 5 0 ดังนั้น 35 ÷ 7 = 5 7. นักเรียนร่วมกันยกตัวอย่างโจทย์การหารจำนวนที่ตัวตั้งมีสองหลักและตัวหารมีหนึ่งหลัก จากนั้นช่วยกันแสดงวิธีการตั้งหารบนกระดาน ร่วมกันอธิบายขั้นตอนการหารทีละขั้นตอนว่า “วิธีการหาร จะต้องหารทีละหลักจากซ้ายไปขวา ผลหาร ตัวตั้ง ตัวหาร เครื่องหมายหารยาว
25 ตัวอย่าง 46 ÷ 2 = วิธีทำ 2 23 46 40. 2 20 6 6 2 3 0 ดังนั้น 46 ÷ 2 = 23 ตรวจคำตอบ 23 2 = 46 ตอบ ๒๓ 8. นักเรียนแต่ละกลุ่มแข่งขันกันเล่นเกม “คิดหา..ผลหาร” เพื่อฝึกทักษะการหารจำนวนโดยใช้ ความสัมพันธ์ระหว่างการหารกับการคูณ 9. นักเรียนร่วมกันแข่งขันกันเล่นเกมรอบที่ 2 “แชมป์...ชิงแชมป์” เพื่อฝึกทักษะการหาร จำนวนโดยใช้วิธีการตั้งหารยาว (วิธีลัด) โดยใช้เทคนิคการแข่งขันเป็นทีม 10. เมื่อจบการแข่งขันสรุปคะแนน มอบรางวัลเป็นเสียงปรบมือสำหรับกลุ่มที่เป็นฝ่ายชนะ 11. นักเรียนแต่ละคนทำกิจกรรมที่ 3 “การหารจำนวนที่ตัวตั้งมีสองหลักและตัวหารมีหนึ่งหลัก” ในชุดกิจกรรมชุดที่ 1 12. นักเรียนร่วมกันเฉลยและแลกเปลี่ยนกันตรวจคำตอบ ขั้นสรุป 13. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความหมายของการหาร และวิธีการหารผลหารโดยใช้วิธีการ หารยาว 14. ทำแบบทดสอบหลังเรียนจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการหาร ชุดที่ 1 เรื่อง การหาร ซึ่งตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสองหลักและตัวหารเป็นจำนวนที่มีหนึ่งหลัก จำนวน 10 ข้อ 15. นักเรียนทำกิจกรรมที่ 4 “สร้างประโยคสัญลักษณ์การหาร” เป็นการบ้าน การตรวจคำตอบ ผลหาร ตัวหาร = ตัวตั้ง 23 2 = 46 2 2 สิบ ได้ 4 สิบ 2 3 หน่วย ได้ 6 หน่วย
26 สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ก่อนเรียน) เรื่องการหารโดยใช้ชุดกิจกรรมเรื่อง การหารร่วมกับเทคนิคการแข่งขันเป็นทีม 2. แบบทดสอบก่อนเรียน / หลังเรียน เรื่อง การหารซึ่งตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสองหลักและ ตัวหารเป็นจำนวนที่มีหนึ่งหลัก 3. แผนภูมิรูปภาพแสดงการหาร 4. ชุดกิจกรรมที่1 กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน “เพลงการหาร” 5. ชุดกิจกรรมที่1 ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง การหาร 6. ชุดกิจกรรมที่1 ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง การหารซึ่งตัวตั้งเป็นจำนวนที่มีสองหลักและ ตัวหารเป็นจำนวนที่มีหนึ่งหลัก 7. ชุดกิจกรรมที่1 กิจกรรมที่ 1 เกม “คิดหา...ผลหาร” อุปกรณ์ - โจทย์คิดหาผลหาร 8. ชุดกิจกรรมที่1 กิจกรรมที่ 2 เกม “แชมป์...ชิงแชมป์” อุปกรณ์ - บัตรโจทย์การหารจำนวน 10 บัตร - กระดาษสำหรับแสดงวิธีการตั้งหารยาว กลุ่มละ 10 แผ่น - สีเมจิก 9. ชุดกิจกรรมที่1 กิจกรรมที่ 3 “การหารจำนวนที่ตัวตั้งมีสองหลักและตัวหารมีหนึ่งหลัก” 10. ชุดกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 4 “สร้างประโยคสัญลักษณ์การหาร”
27 การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมินผล 1. เมื่อกำหนดโจทย์ การหารที่มีตัวตั้ง ไม่เกินสองหลักและ ตัวหารมีหนึ่งหลักให้ สามารถหารผลหารโดย วิธีการหารยาวได้ (K) ตรวจแบบทดสอบ แบบทดสอบ ทำแบบทดสอบความรู้ ได้ถูกต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 2. เมื่อกำหนดโจทย์ การหารที่มีตัวตั้งไม่เกิน สองหลักและตัวหารมี หนึ่งหลักให้ สามารถแสดงวิธีทำ และหารผลหารได้อย่าง สมเหตุสมผล (P) ตรวจชุดกิจกรรม แบบประเมินการตรวจ ชุดกิจกรรม ทำชุดกิจกรรมได้ ถูกต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 3. นักเรียนมีความ ตั้งใจและความ เพลิดเพลินในการเรียน คณิตศาสตร์ (A) สังเกตพฤติกรรมการ เรียนรู้ของนักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรม การเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน พฤติกรรมการเรียนรู้ได้ ระดับคุณภาพดี ขึ้นไป
28 ความคิดเห็นของผู้บริหาร ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................................. ลงชื่อ.................................................................. ( นางสาวนูรียะ สามีแล ) รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส บันทึกผลหลังการสอน ............................................................................................................................. ................................. ............................................................................................................................. ................................. .............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................. .............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................. ............................................................................................................................. ................................. .............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................. ปัญหาและอุปสรรค ............................................................................................................................. ................................. .............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................. ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข ............................................................................................................................... ............................... ................................................................................................... ........................................................... ............................................................................................................................. ................................ ลงชื่อ.......................................................... ( นางสาวนูรีสา หะนิแร ) ครูผู้สอน
29 แบบประเมินการตรวจชุดกิจกรรม เลขที่ ชื่อ – สกุล การหารจำนวนที่ตัวตั้งมีสอง ลักและตัวหารมีหนึ่งหลัก สร้างประโยคสัญลักษณ์ การหาร รวม สรุป 10 10 20 ผ่าน ไม่ผ่าน เกณฑ์การประเมิน (ผ่าน 80%) ได้คะแนนรวม 16 คะแนนขึ้นไปถือว่าผ่าน
30 รายละเอียดเกณฑ์การให้คะแนนการตรวจใบกิจกรรม “การหารจำนวนที่ตัวตั้งมีสองหลักและตัวหารมีหนึ่งหลัก” แบบฝึกจำนวน 10 ข้อ คะแนนรวม 10 คะแนน ประเด็นการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละข้อ 1 0 การหารจำนวนที่ตัวตั้งมี สองหลักและตัวหารมี หนึ่งหลัก แสดงวิธีทำได้ครบถ้วน คำตอบถูกต้อง แสดงวิธีทำไม่ครบถ้วน คำตอบไม่ถูกต้อง รายละเอียดเกณฑ์การให้คะแนนการตรวจใบกิจกรรม “สร้างประโยคสัญลักษณ์การหาร” แบบฝึกจำนวน 5 ข้อ คะแนนรวม 10 คะแนน ประเด็นการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละข้อ 2 1 0 “สร้างประโยค สัญลักษณ์การหาร” - แต่งประโยค สัญลักษณ์การหาร ที่ตัวตั้งมีสองหลักและ ตัวหารมีหนึ่งหลักได้ ถูกต้อง - อธิบายวิธีการหาร ยาวโดยการเขียนแสดง วิธีทำได้ถูกต้อง - คำตอบถูกต้อง แต่งประโยคสัญลักษณ์ การหาร แสดงวิธีทำ และหาคำตอบได้ถูกต้อง เป็นบางส่วน แต่งประโยคสัญลักษณ์ การหาร แสดงวิธีทำ และหาคำตอบ ไม่ถูกต้อง
31 แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่องรายการสังเกตพฤติกรรมที่กำหนด เลขที่ ชื่อ – สกุล รายการสังเกต (A) สรุป ความตั้งใจ ความ เพลิดเพลิ น รวม 3 2 1 3 2 1 6 ผ่าน ไม่ผ่าน เกณฑ์การให้คะแนน 3 = ดีมาก, 2 = ดี , 1 = พอใช้ เกณฑ์การประเมิน ได้คะแนนรวม 4 คะแนนขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์
32 รายละเอียดเกณฑ์การให้คะแนนการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ระดับคะแนน ประเด็นการประเมิน 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) ความตั้งใจ มีความกระตือรือร้น สนใจร่วมกิจกรรม อยู่เสมอ มีความกระตือรือร้น สนใจร่วมกิจกรรม เป็นบางเวลา ไม่มีความกระตือรือร้น และไม่สนใจร่วมกิจกรรม ความเพลิดเพลิน ในการเรียน มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ร่าเริงแจ่มใส ในการเรียนอยู่เสมอ มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ร่าเริงแจ่มใส เป็นบางเวลา เงียบขรึม ไม่ร่าเริงแจ่มใส
33