The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pa0936182147, 2019-06-10 22:47:14

๊Unit 10

Unit 10

บทที่ 10

มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่

ครคู ธั รยี า มะลวิ ลั ย์

แผนกวชิ าสัตวศาสตร์
วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยฉี ะเชงิ เทรา

บทที่ 10

มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่

หัวข้อเร่ือง
1. องค์ประกอบของฟารม์ ไก่ไขม่ าตรฐาน
2. หลักเกณฑ์เกีย่ วกบั สถานประกอบกิจการเล้ยี งไก่ไข่
3. การจดั ทามาตรฐานฟาร์มไก่ไข่

จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้
1. อธิบายองค์ประกอบของฟาร์มไก่ไข่มาตรฐานได้
2. อธบิ ายหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานประกอบกิจการเลย้ี งไก่ไขไ่ ด้
3. อธบิ ายข้ันตอนการจัดทามาตรฐานฟารม์ ไก่ไข่ได้

เนอื้ หาการสอน
มาตรฐานฟารม์ เล้ียงไก่ไข่นกี้ าหนดขึ้นเป็นมาตรฐานเพ่ือให้ฟาร์มที่ต้องการขึน้ ทะเบียนเป็นฟาร์มท่ี

ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ไดย้ ึดถือปฏิบัตเิ พื่อให้ได้การรบั รองจากกรมปศุสัตว์ ซ่ึงมาตรฐานน้ีเป็นท่ียอมรับ
ได้ยึดถือปฏิบัติเพ่ือให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ และถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานข้ันพ้ืนฐานสาหรับฟาร์มท่ี
จะได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่นี้กาหนดวิธีปฏิบัติ การจัดการฟาร์ม การจัดการด้านสุขภาพ
สตั วแ์ ละการจัดการด้านสง่ิ แวดล้อม เพื่อใหไ้ ดไ้ กไ่ ข่ทีถ่ ูกสุขลกั ษณะและเหมาะสมแกผ่ ู้บรโิ ภค

การจัดทามาตรฐานฟาร์มการเลี้ยงสัตว์ปีกชนิดต่าง ๆ เช่น การเล้ียงไก่เน้ือ การเล้ียงไก่ไข่
การเลี้ยงเป็ดเน้ือ รวมท้ังผลผลิตจากการเล้ียงสัตว์ปีกแต่ละชนิด เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการด้านการ
จัดการฟาร์ม ด้านสุขอนามัย และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน ว่าด้วยการ
ขอรับและออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเล้ียงสัตว์ พ.ศ. 2546 โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดทามาตรฐาน
ฟาร์ม ดงั น้ี

1. เพ่ือปรับปรุงระบบการเล้ียงสัตว์ของประเทศไทยให้เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกันและมี
คุณภาพ

2. เพ่ือค้มุ ครองผบู้ ริโภคให้ปลอดภัยในการบรโิ ภคเนอื้ สตั ว์และผลติ ภัณฑ์สัตว์จากฟารม์ เลยี้ งสตั ว์ที่
ได้รบั การ รับรองเปน็ ฟารม์ มาตรฐานจากกรมปศสุ ัตว์

3. เพอ่ื อานวยความสะดวกทางการคา้ แก่ผูป้ ระกอบการฟารม์ เลีย้ งสัตวส์ ่งออก
4. เพื่อลดมลภาวะจากฟาร์มเล้ยี งสัตวท์ ่ีมีผลกระทบต่อส่ิงแวดลอ้ มและชมุ ชน
5. เพอื่ เพม่ิ ประสิทธภิ าพในการควบคุม ป้องกนั และกาจดั โรคในฟารม์ เล้ียงสัตว์

1. องคป์ ระกอบพืน้ ฐานของฟาร์มเลยี้ งสัตว์ทีข่ อใบรบั รองมาตรฐาน
1) มที าเลทตี่ งั้ ฟารม์ ตลอดจนมีการออกแบบสิ่งกอ่ สร้างและโรงเรือนที่เหมาะสม
2) มรี ะบบทาลายเชือ้ โรคก่อนเขา้ – ออกจากฟาร์ม
3) การจัดการโรงเรอื น สง่ิ แวดลอ้ มและการจดั การของเสียทถี่ ูกตอ้ งตามหลักสุขาภบิ าล
4) โรงเรอื นทใ่ี ชเ้ ลี้ยงสตั ว์มีลกั ษณะและขนาดทเ่ี หมาะสมกบั จานวนสัตว์
5) มีการจดั การด้านอาหารสตั วอ์ ย่างถูกต้องตามหลกั สุขศาสตร์
6) มคี ูม่ อื การจดั การฟารม์ และมรี ะบบการบนั ทกึ ข้อมูล
7) การจัดการด้านสขุ ภาพสตั ว์ มีโปรแกรมการให้วคั ซีนปอ้ งกันโรคและการให้ยาบาบัดโรคเมอื่ เกิด

โรค
8) การจัดการด้านบุคคล สัตวแพทย์ สัตวบาล และผู้เล้ียงสัตว์ต้องมีเพียงพอและเหมาะสมกับ

จานวนสตั ว์ พรอ้ มท้ังมสี วสั ดกิ ารสงั คมและการตรวจสขุ ภาพประจาปีใหก้ บั บคุ ลากร

2. หลกั เกณฑ์เก่ียวกบั สถานประกอบกิจการเลี้ยงไก่
1) หลักเกณฑ์เก่ียวกับสถานที่ตั้งกิจการเลี้ยงไก่ สถานที่ตั้งอยู่ห่างจากชุมชน ศาสนสถาน

โบราณสถาน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรอื สถานที่อน่ื ๆ ในระยะท่ีไม่สง่ ผลกระทบตอ่ สุขภาพและไม่
ก่อเหตรุ าคาญตอ่ ชุมชน โดยการมรี ะยะหา่ งจากสถานท่ีดังกล่าวข้างตน้ ดังตอ่ ไปนี้

(1) สาหรับสถานประกอบกิจการเล้ียงไก่ น้อยกว่า 500 ตัว ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า
30 เมตร

(2) สาหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงไก่ ตั้งแต่ 500-5,000 ตัว ควรมีระยะห่างไม่น้อย
กวา่ 100 เมตร

(3) สาหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงไก่ ต้ังแต่ 5,001-10,000 ตัว ควรมีระยะห่างไม่
นอ้ ยกว่า 200 เมตร

(4) สาหรับสถานประกอบกิจการเล้ียงไก่เกินกว่า 10,000 ตัว ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า
1,000 เมตร

(5) สถานที่ตั้ง ควรต้ังอยู่บริเวณท่ีไม่มีน้าท่วมขัง อยู่ห่างจากแหล่งน้าสาธารณะไม่น้อย
กว่า 30 เมตร และต้องมีการป้องกันการไหลของน้าเสียและสิ่งปนเป้ือนลงสู่แหล่งน้าสาธารณะในกรณีท่ีมี
การชะล้างของน้าฝน

(6) สถานประกอบกิจการเล้ียงไก่ ควรต้ังอยู่ห่างจากโรงฆ่าสัตว์ปีก ตลาดนัดค้าสัตว์ปีก
อย่างน้อย 5 กโิ ลเมตร

(7) สถานประกอบกิจการเล้ียงไก่ ต้องจัดให้มีบริเวณเล้ียงไก่เป็นสัดส่วนและให้อยู่ห่าง
เขตที่ดินสาธารณะหรือที่ดินห่างเจ้าของและต้องมีท่ีว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมโดยรอบ
บริเวณเล้ียงสัตว์น้ันไม่น้อยกว่า 15 เมตรทุกดา้ น เว้นแต่ด้านที่มีแนวเขตท่ีดินติดต่อกบั ท่ีดินของผู้ประกอบ

กจิ การประเภทเดียวกัน ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามข้อ (1) โดยพิจารณาที่จานวนการเล้ียงไก่ท่ีมีจานวนมากที่สุด
เป็นเกณฑ์ในการกาหนดขอบเขตระยะหา่ ง

2) หลกั เกณฑ์เกย่ี วกับสุขอนามัยของผปู้ ฏบิ ัตงิ าน
(1) ผู้ปฏิบัติงานต้องไดร้ ับการตรวจสุขภาพเปน็ ประจาทุกปี และมีสุขภาพแข็งแรง ไมเ่ ป็น

โรคติดต่อหรือโรคท่ีสังคมรังเกียจ โรคท่ีเกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และบาดแผลติดเชื้อ
หรือไม่เป็นโรคติดต่อ เช่น วัณโรค อหิวาตกโรค บิด สุกใส หัด คางทูม เร้ือน ไวรัสตับอักเสบเอ โรคพยาธิ
และโรคผิวหนงั ท่นี า่ รังเกยี จ เปน็ ต้น หากผ้ปู ฏิบตั ิงานป่วยด้วยโรคดังกลา่ ว ตอ้ งหยุดพกั รักษาใหห้ าย

(2) สถานประกอบกิจการเลี้ยงไก่ ขนาดต้ังแต่ 10,000 ตัวขึ้นไป ต้องมีผู้ดูแลด้าน
สุขาภิบาลส่ิงแวดล้อม อย่างน้อย 1 คน โดยเป็นผู้ท่ีมีความรู้โดยผ่านการอบรมการจัดการสุขาภิบาล
ส่งิ แวดล้อมและสขุ วิทยาส่วนบุคคล

(3) ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการอบรมในเรื่องเก่ียวกับสุขอนามัย การป้องกันตนจาก
โรคติดตอ่ จากสัตว์สคู่ น และการควบคมุ สตั วแ์ มลงพาหะนาโรค

(4) ผูป้ ฏบิ ตั งิ านในโรงเรอื นเล้ียงไก่จะตอ้ งปฏิบัติดังน้ี
- อาบน้า สระผม ชาระล้างร่างกายให้สะอาดทุกคร้ังก่อนเข้าหรือออกจากฟาร์ม

และตอ้ งล้างมอื ด้วยสบูท่ ุกคร้งั ภายหลังออกจากห้องสว้ มและจบั ต้องสิง่ ปนเปอื้ นตา่ งๆ
- จุ่มเท้าในอ่างน้ายาฆ่าเชื้อโรค และล้างมือก่อนเข้าและออกจากฟาร์ม และ

โรงเรือน
- สวมใส่ชุดปฏบิ ตั ิงานที่สถานประกอบกิจการจัดไวใ้ ห้ โดยต้องเป็นเครื่องแบบท่ี

มีความสะอาดและเหมาะสมในแตล่ ะกิจกรรมที่ปฏิบตั ิ
- ในกรณีท่ีมีบาดแผล ต้องปิดแผลด้วยท่ีปิดแผล ถ้ามีบาดแผลท่ีมือต้องสวมถุง

มือหรือปลอกนิว้ ขณะปฏิบตั ิงาน
(5) ผ้ปู ฏิบตั ิงานไม่ควรพักอาศยั ในโรงเรือน

3) หลักเกณฑ์เกีย่ วกับการจัดการนา้ เสีย มูลฝอย ส่ิงปฏิกลู
(1) ต้องมีการบาบัดน้าเสียให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานน้าทิ้ง ตามกฎหมายที่เก่ียวข้องก่อน

ปลอ่ ยออกส่ภู ายนอกสถานประกอบกิจการและตอ้ งดแู ลทางระบายนา้ ไม่ให้อดุ ตนั
(2) กรณีที่ไม่มีการระบายน้าทิ้งออกนอกสถานประกอบการ ผู้ประกอบการจะต้องมีการ

จัดการน้าเสียท่ีเกิดขึ้นท้ังหมดโดยจะต้องมีการป้องกันไม่ให้มีน้าเสีย หรือกล่ินเหม็นกระทบต่อส่ิงแวดล้อม
ภายนอก

(3) ต้องมีการจัดการ หรือควบคุมปัญหากลิ่นเหม็น สัตว์ และแมลงพาหะนาโรค ไม่ให้
ส่งผลกระทบตอ่ ชมุ ชนโดยรอบ

(4) ต้องจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล เหมาะสม เพียงพอ โดยมีการ
คัดแยกตามประเภทของมลู ฝอย

(5) ตอ้ งมกี ารรวบรวมมูลฝอยและนาไปกาจัดอย่างถูกต้องตามหลกั สุขาภิบาล และปฏิบัติ
ตามข้อกาหนดของท้องถนิ่ ว่าด้วยการนั้น หา้ มนาไปท้งิ ในท่ีสาธารณะหรือแหลง่ นา้ สาธารณะ

ในกรณีท่ีมีการนามูลไก่และวัสดุรองพื้นออกจากสถานประกอบการผู้ประกอบการต้องจัด
ให้ผู้ดาเนินการเคล่ือนย้าย มีมาตรการเพ่ือป้องกันเหตุเดือดร้อนราคาญ และไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์
และแมลงพาหะนาโรค

(6) ต้องมีการจัดการ กาจัดภาชนะบรรจุสารเคมี หรือน้ายาฆ่าเชื้อท่ีใช้แล้วอย่างถูกต้อง
ตามหลักวชิ าการ

(7) ต้องมีห้องน้าห้องส้วม อ่างล้างมือ ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล มีการดูแลรักษาความ
สะอาดเปน็ ประจา มีการบาบดั และกาจัดส่งิ ปฏกิ ลู อย่างถูกต้องตามหลักสขุ าภิบาล

3. สิทธปิ ระโยชนข์ องฟาร์มเล้ยี งสัตว์ทไ่ี ด้มาตรฐาน
1) การเคลอ่ื นย้ายสัตว์ ผปู้ ระกอบการฟารม์ เลีย้ งโคนมและสุกรสามารถขออนญุ าตเคลื่อนย้ายสัตว์

เข้าในหรือผ่าน เขตปลอดโรคระบาดได้จากปศุสัตว์จังหวัด โดยปฏิบัติตามระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการ
นาเข้าหรอื การ เคล่อื นยา้ ยสัตว์หรอื ซากสตั ว์ภายในราชอาณาจกั ร

2) กรมปศุสัตว์จะจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเป่ือย และโรคอหิวาต์สุกรให้มีจาหน่าย
อยา่ งเพียงพอตามปริมาณสุกรของฟาร์มเลย้ี งสกุ รมาตรฐาน

3) กรมปศสุ ัตว์จะให้บริการการทดสอบโรคแท้งติดตอ่ ในพอ่ แม่พันธุ์สกุ ร รวมทัง้ โรคแท้งติดต่อและ
วณั โรคในโค นม โดยไมค่ ดิ มูลคา่ สาหรับฟารม์ ท่ีไดม้ าตรฐาน

4) กรมปศุสัตว์จะให้บริการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ โดยไม่คิดมูลค่าสาหรับตัวอย่างที่ส่ง
ตรวจจากฟารม์ เล้ียงสตั วม์ าตรฐาน

4. ข้นั ตอนการขอรบั รองมาตรฐานฟารม์ เลยี้ งสัตว์
1) ผู้ประกอบการสมัครเข้ารับการฝึกอบรม “มาตรฐานฟาร์มเล้ียงสัตว์สาหรับผู้ประกอบการ”

ทีส่ านกั งานปศสุ ัตว์จงั หวดั
2) สานกั งานปศุสตั วจ์ งั หวัดรวบรวมรายชอื่ ผปู้ ระกอบการส่งให้สานักงานปศุสตั ว์เขต
3) ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความประสงค์ขอการรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ย่ืนคาขอรับรอง

มาตรฐานฟารม์ เล้ียงสัตว์ (ม.ฐ.ฟ. 1) หรือสถานทีฟ่ ักไขส่ ัตวป์ กี (ม.ฐ.ฟ. 2) ตอ่ สานกั งานปศสุ ตั วจ์ ังหวดั
4) ตรวจสอบเอกสารและคุณสมบัติ
5) ถ้าเอกสารครบและผ่านคุณสมบัติ สานักงานปศุสัตว์จังหวัดโดยคณะผู้ตรวจรับรองตรวจ

ประเมนิ ฟาร์มจะเข้าตรวจฟารม์
6) ถ้าผ่านการตรวจประเมินฟาร์มเพ่ือรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์จะส่งต่อให้คณะกรรมการ

รับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หากไม่ผ่านการตรวจประเมินจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องตามระยะเวลาท่ี
กาหนด

7) คณะกรรมการรบั รองมาตรฐานฟาร์มเลย้ี งสตั ว์ถา้ มีมติให้การรบั รอง

8) สานกั งานปศสุ ตั วจ์ งั หวดั ออกใบรบั รองมาตรฐานฟารม์ เลีย้ งสัตว์
9) รายงานผลสานักพัฒนาระบบและรบั รองมาตรฐานสินคา้ ปศุสัตว์

5. มาตรฐานฟารม์ เลย้ี งไก่ไข่
มาตรฐานฟารม์ เลี้ยงไก่ไข่นี้กาหนดขึน้ เป็นมาตรฐานเพื่อให้ฟาร์มท่ีต้องการขน้ึ ทะเบียนเป็นฟาร์มท่ี

ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ได้ยึดถือปฏิบัติเพ่ือให้ได้การรบั รองจากกรมปศุสตั ว์ ซึ่งมาตรฐานน้ีเป็นที่ยอมรับ
ได้ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ และถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานข้ันพ้ืนฐานสาหรับฟาร์มท่ี
จะได้รับการรบั รอง

มาตรฐานฟาร์มเล้ียงไก่ไขน่ ี้กาหนดวิธปี ฏบิ ัติ การจัดการฟารม์ การจัดการดา้ นสุขภาพสตั ว์และการ
จัดการด้านสง่ิ แวดล้อม เพือ่ ให้ไดไ้ ก่เน้อื ทถ่ี กู สขุ ลกั ษณะและเหมาะสมแก่ผู้บริโภค

มีคาศัพท์ท่ีเก่ียวข้องกับเน้ือหาท่ีกล่าวถึง 3 คา คือ ฟาร์มไก่ไข่ โรงเรือนระบบเปิด และโรงเรือน
ระบบปิด ฟาร์มไก่ไข่ หมายถึง ฟาร์มที่เล้ียงไก่รุ่นไข่ (อายุ 0 -18 สัปดาห์) และ/หรือไก่ไข่เพ่ือการผลิตไข่
หรือการค้า โรงเรือนระบบเปิด หมายถึง โรงเรือนท่ีควบคุมสภาวะแวดล้อมตัวไก่ตามธรรมชาติ และ
อุณหภูมิจะแปรไปตามสภาพของอากาศรอบโรงเรือน โรงเรือนระบบปิด หมายถึง โรงเรือนท่ีสามารถ
ควบคุมส่ิงแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความช้ืน การระบายอากาศ และแสงสว่าง ให้เหมาะสมกับความ
เปน็ อยู่ของสัตว์ปีก สามารถปอ้ งกันสตั วพ์ าหะนาโรคได้

5.1 องค์ประกอบของฟาร์ม ฟาร์มไก่ไข่ควรมีองค์ประกอบของฟาร์มท่ีประกอบด้วย ทาเลที่ต้ัง
ของฟาร์ม ลกั ษณะของฟารม์ และลักษณะโรงเรือน ดังน้ี

1) ท้าเลท่ตี งั้ ของฟารม์ ทาเลท่ีตง้ั ของฟารม์ ควรมีลักษณะดงั ตอ่ ไปนี้
(1) อยู่ในทาเลทีม่ กี ารคมนาคมสะดวก
(2) สามารถปอ้ งกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้
(3) อยหู่ ่างจากโรงฆา่ สัตว์ปกี อยา่ งนอ้ ย 5 กโิ ลเมตร
(4) อย่ใู นทาเลท่มี ีแหลง่ น้าสะอาด
(5) เปน็ บริเวณท่ีไม่มนี ้าท่วมขงั
(6) เป็นบรเิ วณทโี่ ปรง่ อากาศสามารถถ่ายเทไดด้ ี

2) ลักษณะของฟาร์ม ฟาร์มไก่ไข่ต้องมีเนื้อท่ีเหมาะสม ควรมีการจัดแบ่งพ้ืนท่ีเป็นสัดส่วน มีถนน
ภายในฟาร์ม บ้านพัก และสานักงานแยกออกจากบริเวณท่ีเลี้ยงไก่ไข่ เนื้อท่ีของฟาร์มต้องเหมาะสมกับ
จานวนโรงเรือนของฟาร์ม และต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ต้อง
มเี นือ้ ที่กวา้ งขวาง เพียงพอต่อการจัดแบง่ พื้นที่อย่างมีระเบียบสอดคล้องกับการปฏิบตั ิงานฟารม์ โดยต้องมี
การจัดแบ่งพื้นท่ีให้เป็นสัดส่วนและมีผังแสดงการจัดวางทแี่ นน่ อนของบริเวณพ้ืนที่เล้ยี งไก่ไข่ โรงเกบ็ อาหาร
ไก่ไข่ พื้นท่ีทาลายซากไก่ไข่ อาคารสานักงาน และที่พกั อาศัย ฟาร์มต้องจัดแบ่งพื้นท่ีฟาร์มเป็นสัดส่วน โดย
มีผงั แสดงการจดั วางขนาดระยะหา่ งทีแ่ น่นอนในหัวขอ้ ต่อไปน้ี คอื

(1) ทางเขา้ - ออก และถนน

(2) พน้ื ที่เลีย้ งไกไ่ ข่ และตาแหน่งท่ีต้ังของโรงเรอื น
(3) โรงเกบ็ อาหารไกไ่ ข่ และโรงผสมอาหารไกไ่ ข่
(4) พ้นื ทที่ าลายซากไกไ่ ข่
(5) พื้นทอี่ าคารสานกั งาน ที่พักอาศัย ทีจ่ อดรถ อาคารเก็บวสั ดอุ ุปกรณ์ และท่เี กบ็ ไข่
(6) พน้ื ทร่ี วบรวมขยะ และสิง่ ปฏกิ ูลตา่ ง ๆ
(7) แหลง่ นา้ ใช้ และสถานที่เก็บกักน้า
สาหรับถนนภายในฟาร์มต้องใช้วัสดุที่ใช้ทาถนนมีความคงทน ถนนมีสภาพและความ
กว้างเหมาะสม สะดวกในการขนส่งลาเลียงอุปกรณ์ อาหารสัตว์ รวมทั้งผลผลิตท่ีนาเข้า – ออกจากฟาร์ม
บ้านพกั และสานักงานต้องแยกเป็นสดั สว่ นออกจากบรเิ วณเลย้ี งสัตว์
3) ลักษณ ะโรงเรือน โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่ควรเป็นโรงเรือนที่สร้างด้วยวัสดุที่ถาวร
ถูกสุขลักษณะ และสัตว์อยู่สบาย ระยะห่างระหว่างโรงเรือนต้องเหมาะสม และบริเวณหน้าประตูของ
โรงเรือนต้องมีบ่อน้ายาฆ่าเชื้อโรคสาหรับจุ่มเท้าเวลาเข้า และออกจากโรงเรือน ต้องให้ความสนใจพื้นที่ใน
การเลี้ยงไก่ไข่ วัสดุท่ีใช้ในการก่อสร้างโรงเรือน การระบายอากาศ ฝุ่นละออง อุณหภูมิ ความชื้น ก๊าซพิษ
ต่าง ๆ และแสงสว่าง พื้นที่ในการเลี้ยงจะต้องมีเพียงพอ เพ่ือให้ไก่ไข่อยู่อย่างสบาย มีอิสระในการ
เคลอ่ื นไหว และไมม่ สี ่วนทที่ าให้เกิดการบาดเจ็บต่อตัวไก่
5.2 การจัดการฟาร์ม ฟาร์มไก่ไข่ต้องมีการจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง การจัดการด้าน
เคร่ืองมือและอุปกรณ์ การจัดการด้านบุคลากรท่ีเหมาะสม มีคู่มือการจัดการฟาร์ม มีระบบการบันทึก
ขอ้ มูล มกี ารจดั การด้านอาหารสตั ว์ และการจัดการด้านทรพั ยากรนา้ ท่ดี ี
1) การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง โรงเรอื นและอุปกรณ์การเลี้ยงต้องได้รับการจดั การ
ดังตอ่ ไปน้ี
(1) มีระบบการทาความสะอาดและฆ่าเช้ือโรคในโรงเรือน และอุปกรณ์อย่างมี
ประสิทธิภาพ
(2) มีการจดั การโรงเรือนและอปุ กรณ์ เพ่อื เตรียมความพรอ้ มก่อนนาไกเ่ ข้าเลี้ยง
(3) ต้องมกี ารดแู ลโรงเรือนและอปุ กรณ์ให้ถูกสขุ ลักษณะ
(4) ตอ้ งดแู ลซอ่ มแซมโรงเรอื น อุปกรณ์ให้มีความปลอดภยั ต่อไกแ่ ละผ้ปู ฏบิ ัตงิ าน
(5) โรงเรอื น และอุปกรณ์สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก หลังจากย้ายไก่รุ่นเก่าออกต้องทา
ความสะอาดโรงเรือน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ไข่ คือล้างโรงเรือนและอุปกรณ์ด้วยน้าสะอาดแล้วใช้
น้ายาฆ่าเชอื้ โรคทาความสะอาดซ้า หลังจากน้ันพักโรงเรือนและอปุ กรณ์การเล้ียงไมน่ ้อยกว่า 7 วัน กอ่ นนา
ไก่ชดุ ใหมเ่ ข้ามาเลีย้ ง
2) การจัดการด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ ต้องมีการตรวจสภาพการทางานของเครื่องมือและ
อุปกรณ์ต่าง ๆ วันละ 1 ครั้ง อุปกรณ์การเลี้ยงไก่แบบอัตโนมัติต้องมีการตรวจสภาพการทางานทุกวัน
ถ้าพบว่าชารุดต้องดาเนินการแก้ไขทันที ต้องมีข้ันตอนที่เหมาะสมในการปกป้องสุขภาพสัตว์ มีระบบ
ระบายอากาศท่ีดีเพื่อให้สัตว์ได้รับอากาศอย่างเพียงพอ มีอุปกรณ์สารองเม่ือเกิดเสียหาย และมีระบบ

สัญญาณเตือนภัยกรณีขัดข้อง โดยต้องมีการตรวจสอบระบบสัญญาณเตือนภัยอย่างสม่าเสมอ อุปกรณ์ให้
แสงสว่างควรเป็นชนิดติดต้ังถาวรและต้องจัดให้มีการกระจายตัวที่ดี เพ่ือให้พื้นโรงเรือนได้รับแสงสว่างที่
ใกล้เคยี งกนั มากที่สุดตลอดทวั่ ท้ังโรงเรือน

3) การจัดการด้านบุคลากร ต้องมีจานวนบุคลากรอย่างเพียงพอเหมาะสมกับจานวนไก่ท่ีเลี้ยง
มีการจัดการแบ่งหน้าที่ และความรับผิดชอบในแต่ละตาแหน่งอย่างชัดเจน มีการฝึกอบรมและพัฒนา
บคุ ลากรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้บคุ ลากรภายในฟารม์ ทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจาทุกปีผู้
ท่ีดูแลเลี้ยงดูไก่ไข่ต้องมีความรู้ ความชานาญในการดูแลไก่ไข่เป็นอย่างดี และต้องมีผู้ดูแลอย่างเพียงพอ
เหมาะสมกับจานวนไกไ่ ข่ซึง่ ประกอบดว้ ย ผูเ้ ลี้ยงไก่ สตั วบาล และสัตวแพทย์

(1) ผู้เล้ียงไก่ คือ ผู้ล้ียงไก่ไข่ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการเล้ียงไก่ไข่ มีสัดส่วนรับผิดชอบ
ดงั ตอ่ ไปน้ี

- โรงเรือนระบบเปิด ผู้เลย้ี งไก่ 1 คน เลี้ยงไกไ่ ดไ้ ม่เกนิ 10,000 ตวั
-โรงเรือนระบบปดิ ผเู้ ลี้ยงไก่ 1 คน เลย้ี งไก่ไดไ้ ม่เกนิ 20,000 ตวั
(2) สัตวบาล คอื ผูท้ ีค่ วบคมุ ดูแลการเลี้ยงไก่ไข่ ซ่ึงจบการศึกษาทางสัตวบาล หรือสาขาที่
เก่ียวข้องหรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านการเล้ียงไก่ไข่อย่างน้อย 3 ปี สัตวบาล 1 คน ดูแลไก่ไม่เกิน
200,000 ตวั
(3) สัตวแพทย์ คือ ผู้ควบคุมกากับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ และสุขอนามัยภายในฟาร์ม
ตลอดจนรับผิดชอบดูแลสวัสดิภาพของไก่ไข่ จบการศึกษาทางสัตวแพทย์ และมีใบอนุญาตเป็น
ผ้ปู ระกอบการวิชาชีพสัตวแพทย์ช้ันหน่ึง และได้รบั ใบอนุญาตผ้คู วบคุมฟาร์มจากกรมปศุสัตว์ สตั วแพทย์ 1
คน รบั ผดิ ชอบในการดูแลไกไ่ ม่เกิน 2,000,000 ตวั
4) คู่มือการจัดการฟาร์ม ผู้ประกอบการฟาร์มต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์มแสดงให้เห็นระบบการ
เลี้ยง การจดั การฟาร์ม ระบบการบันทึกข้อมูล การป้องกนั และควบคุมโรค การจัดการด้านสวัสดิภาพไก่ไข่
การดูแลสุขภาพไก่ไขแ่ ละสขุ อนามัยในฟาร์ม ประกอบด้วยรายละเอยี ดดังตอ่ ไปน้ี
(1) การเตรยี มโรงเรอื น
(2) การกกลกู ไก่
(3) การเล้ียงไก่เล็ก (1 - 6 สัปดาห์) การเล้ียงไก่รุ่น (7 - 16 สัปดาห์) การเล้ียงดูไก่ไข่
(17 สปั ดาห์ - ปลดขาย)
(4) การจดั การเกย่ี วกบั การให้อาหารและน้า
(5) กาหนดการให้แสงสวา่ ง
(6) การจัดการด้านสุขภาพสตั ว์
- มแี ผนการดาเนินงานดา้ นการป้องกนั และควบคมุ โรค
- การใชย้ าและวัคซีน
- การจดั การไกป่ ว่ ยและตาย
- การบาบดั โรค

(7) การจดั การเรอ่ื งสุขาภิบาล และสงิ่ แวดล้อม
- แสงสวา่ ง
- อุณหภูมิ
- ความชื้น
- การระบายอากาศ
- การกาจัดของเสีย

(8) การจัดการด้านผลผลติ
- การเกบ็ ไข่
- การเกบ็ รกั ษาไข่
- การฆา่ เชอื้
- การทาลายไข่ทเ่ี สียหาย

(9) การคมุ้ ครองและดแู ลสวัสดภิ าพไกไ่ ข่

5) ระบบการบนั ทึกข้อมลู ฟารม์ จะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูลซึ่งประกอบด้วย
(1) ข้อมลู เก่ยี วกบั การบริหารฟารม์ ไดแ้ ก่ บคุ ลากร แรงงาน
(2) ข้อมูลเก่ียวกับการจัดการด้านการผลติ ได้แก่ ข้อมูลตัวไก่ไข่ ข้อมูลสุขภาพไก่ไข่ข้อมูล

การผลิต โดยเกบ็ รักษาไว้อย่างน้อย 3 ปี เพอ่ื สามารถตรวจสอบยอ้ นหลงั ได้
6) การจัดการด้านอาหารสัตว์และน้า ฟาร์มไก่ไข่ต้องมีการจัดการด้านคุณภาพอาหาร ภาชนะ

บรรจุและการขนส่ง การตรวจสอบคุณภาพอาหารไก่ไข่ การเก็บรักษาอาหารไก่ไข่ และการให้อาหารไก่ไข่
การจัดการด้านคุณภาพอาหารไก่ไข่ให้มีคุณภาพ และมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม

คณุ ภาพอาหารไกไ่ ข่ ในกรณีซ้ืออาหารไก่ไข่ต้องซอื้ จากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม
คณุ ภาพอาหารไกไ่ ข่ ในกรณีผสมอาหารไก่ไข่ใชเ้ อง ตอ้ งมีคณุ ภาพเป็นไปตามที่กาหนดตามกฎหมายวา่ ดว้ ย
การควบคมุ คุณภาพอาหารสตั ว์

ภาชนะบรรจุอาหารไก่ไข่ควรสะอาด แห้ง กันความช้ืน ไม่เคยใชบ้ รรจวุ ัตถุมีพษิ ปุ๋ย หรอื วตั ถอุ ื่นใด
ที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ ไม่มีสารท่ีปนเปื้อนกับอาหารไก่ไข่ ถ้าถูกเคลือบด้วยสารอ่ืนสารดังกล่าวต้องไม่
เป็นอันตรายต่อไก่ไข่ รถบรรทุกท่ีใช้ในการขนส่งอาหารไก่ไข่ต้องทาให้ส่วนท่ีบรรทุกแห้งและสะอาด ไม่มี
การตกค้างของสิ่งหนงึ่ ส่ิงใดในส่วนที่บรรทกุ

ผู้ประกอบการควรมีการตรวจสอบได้ถึงคุณภาพอาหารไก่ไข่ โดยการสุ่มตัวอย่างอาหารไก่ไข่ส่ง
ห้องปฏิบัติการท่ีเชื่อถือได้ เพื่อตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพและสารตกคา้ งเป็นประจา ตามกฎหมายว่าด้วย
การควบคมุ คุณภาพอาหารสัตว์ และเกบ็ บนั ทึกผลการตรวจวิเคราะหไ์ วใ้ ห้ตรวจสอบไดอ้ ย่างน้อย 2 ปี

ควรมีสถานที่เก็บอาหารไก่ไข่แยกต่างหาก และห้องเก็บอาหารไก่ไข่ต้องรักษาสภาพของอาหารไก่
ไขไ่ ม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลง และอาหารไก่ไข่ระยะต่าง ๆ ควรมีวัสดุรองด้านล่างของ
ภาชนะบรรจุอาหารไก่ไข่ที่เป็นถุงเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ ในกรณีวิตามินท่ีใช้ผสมอาหารสัตว์ให้เก็บไว้ใน

หอ้ งปรบั อากาศ
7) การจัดการด้านทรัพยากรน้า ฟารม์ ไก่ไข่ต้องมีการจัดการแหล่งนา้ ทั้งนา้ ใชแ้ ละนา้ ด่มื ในฟาร์ม

และการให้น้าทเี่ หมาะสม แหล่งน้า หนอง บึงภายในบรเิ วณฟาร์มจะต้องได้รับการดแู ลจัดการอย่างตอ่ เนอ่ื ง
สม่าเสมอโดยคานึงถงึ สภาวะแวดล้อม การควบคุมปอ้ งกนั โรค ความปลอดภยั ต่อสัตวเ์ ลี้ยงและมนษุ ย์ น้าใช้
และน้าด่ืมในฟาร์มต้องมีคุณภาพตามท่ีกรมปศุสัตว์กาหนดท่ีใช้เป็นน้าใช้และน้าดื่มสาหรับสัตว์ที่เลี้ยงใน
ฟารม์ การใหน้ ้าไก่ไข่ตอ้ งคานึงถึง แหลง่ นา้ ความสะอาด คณุ ภาพน้า และปรมิ าณนา้ แหล่งน้าท่ีใชใ้ นฟาร์ม
ต้องอยู่ในบริเวณที่สามารถป้องกันการปนเป้ือนมูลสัตว์ หรือน้าเสียจากโรงเรือนรวมท้ังบ้านพักอาศัย
นอกจากน้ีแหล่งน้าควรห่างจากโรงฆ่าสัตว์ หรือโรงงานอตุ สาหกรรมดว้ ย หากเป็นน้าซึมหรือน้าซบั ต้องมีฝา
ปดิ มดิ ชดิ เพ่ือควบคุมความสะอาดและคุณภาพน้าต้องมกี ารส่งตวั อยา่ งและตรวจหาปริมาณเช้ือโรค แรธ่ าตุ
และสารพิษเปน็ ประจา

5.3 การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ ฟาร์มไก่ไข่ต้องมีการป้องกันและควบคุมโรค บาบัดโรค และ
ควบคมุ สตั ว์ที่เปน็ พาหะนาโรค

1) การป้องกัน และควบคุมโรค ฟาร์มต้องมีระบบที่ป้องกันและควบคุมโรคได้ ซึ่งรวมถึงการ
ทาลายเชอ้ื โรคกอ่ นเข้าและออกจากฟาร์ม การป้องกันและควบคมุ โรคใหส้ งบและไม่ให้แพร่ระบาดออกจาก
ฟาร์ม มีส่ิงที่ต้องคานึงถึง 4 อย่าง คือ บริเวณเข้า - ออกพื้นที่เล้ียงไก่ไข่ การป้องกันการสะสมของเช้ือโรค
ในเขตพ้ืนท่ีเล้ียงไก่ไข่ การสร้างภูมิคุ้มกันโรค และการควบคุมโรค บริเวณเข้า- ออกพ้ืนที่เลี้ยงไก่ไข่ต้องมี
ลกั ษณะ สว่ นประกอบ และการจดั การ ดังนี้

(1) ประตูเข้า-ออก ของยานพาหนะทุกด้านท่ีเข้าสู่พื้นที่เล้ียงสัตว์ต้องผ่านโรงพ่นและบ่อ
น้ายาฆ่าเชื้อโรค และต้องได้รับอนุญาตการเข้าฟาร์มจากผู้รับผิดชอบ ต้องบันทึกรายละเอียดการเข้า-ออก
และเวลาท่ีเข้า-ออก ให้เรียบร้อย พาหนะท่ีใช้ในเขตเลี้ยงสัตว์ และนอกฟาร์มไม่ควรใช้ร่วมกัน พนักงาน
รักษาความปลอดภยั ตอ้ งมีสมุดบนั ทกึ แสดงให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลา

(2) บ่อน้ายาฆ่าเช้ือโรคต้องกว้างและยาวเพียงพอ สาหรับยานพาหนะทุกชนิดที่ผ่านเข้า
ฟาร์ม มีความลึก และลาดชันเหมาะสมท่ียานพาหนะว่ิงผ่านลงไปโดยสะดวก วัสดุท่ีสร้างเป็นบ่อต้อง
แข็งแรงโดยบ่อน้ายาฆ่าเช้ือโรคอาจจัดสร้างต่างหากหรือประกอบอยู่กับโรงพ่นน้ายาฆ่าเช้ือโรคก็ได้ ในบ่อ
ต้องใส่น้ายาฆ่าเช้ือโรคท่ีผสมน้าในอัตราส่วนท่ีระบุในเอกสารกากับ มีการเปล่ียนน้ายาฆ่าเชื้อโรคอย่าง
สม่าเสมอเพ่ือรักษาคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค ยานพาหนะท่ีจะเข้าฟาร์มต้องผ่านบ่อน้ายาฆ่าเช้ือโรคทุก
คนั

(3) ยานพาหนะที่ผ่านเข้าฟาร์มต้องผ่านโรงพ่นน้ายาฆ่าเช้ือโรคซึ่งควรอยู่บริเวณหน้า
ประตูทางเข้าฟาร์ม อุปกรณ์สาหรับฉีดพ่นน้ายาฆ่าเชื้อโรคต้องสามารถพ่นเป็นฝอยละอองให้ครอบคลุมทั่ว
ยานพาหนะด้วยน้ายาฆ่าเช้ือโรคท่ีมีความเข้มข้นเหมาะสมไม่กัดกร่อนยานพาหนะ บุคคลที่เข้า-ออกพื้นท่ี
เล้ียงสัตว์ต้องผ่านห้องอาบน้ายาฆ่าเชื้อโรค อาบน้า สระผม และเปลี่ยนชุดที่ฟาร์มจัดเตรียมไว้ให้ และต้อง
มกี ารจดบนั ทกึ การผา่ นเข้า-ออกในสมดุ ใหต้ รวจสอบไดต้ ลอดเวลา

(4) ห้องอาบน้า และฆ่าเช้ือโรค ประกอบด้วย ห้องอาบน้า และห้องเปล่ียนเครื่องแต่งตัว
ก่อนเข้าฟาร์มและโรงเรือน ท้ังน้ีทุกห้องต้องแบ่งแยกสัดส่วนชัดเจน อุปกรณ์ทุกอย่างต้องใช้การได้อย่างดี
มีการรักษาความสะอาดตลอดเวลา เส้อื ผ้าและรองเท้าท่ีใช้ในฟาร์มต้องซักล้างให้สะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน
หอ้ งหรอื ต้ฆู า่ เชอ้ื โรค วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นาไปใช้ในพ้ืนทล่ี ้ียงสัตว์ต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรค การป้องกัน
การสะสมของเชื้อโรคในเขตพ้นื ท่ีเลยี้ งไก่ไข่มีระบบการดาเนนิ การ ดังน้ี

- ภายในฟาร์มต้องมีเคร่ืองพ่นน้ายาฆ่าเชื้อโรค และอุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้
สะดวกเพื่อใช้งานในจุดต่าง ๆ ภายในฟาร์ม จานวนเครื่องพ่นท่ีมตี ้องเหมาะสมกับขนาดของฟาร์มและต้อง
ใช้งานไดเ้ ป็นปกติ

- ไก่ไข่ทุกตัวในฟาร์มต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามแผนการให้วัคซีนท่ีควบคุมและ
แนะนาโดยสัตวแพทยผ์ ู้ควบคุมฟาร์ม

- การจัดการไก่ป่วยให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม หากไก่
เปน็ โรคระบาด เช่น นวิ คาสเซิล ไขห้ วดั นก ตอ้ งทาลายให้ถูกต้องเพ่ือป้องกนั การระบาดของโรค ตอ้ งปฏบิ ัติ
ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และฉบับแก้ไขเพ่ิมเติม พ.ศ. 2542 การป้องกันควบคุมและกาจัด
โรคในฟาร์มควรมีแผนการดาเนนิ งานท่ชี ัดเจนและสอดคลอ้ งกบั แผนท่ีกรมปศสุ ัตว์กาหนดไว้ ในการทาลาย
ซากไก่ต้องมีบริเวณเฉพาะสาหรับทาลาย พ้ืนท่ีสาหรับทาลายต้องห่างจากบริเวณโรงเรือนและสามารถ
ควบคุมได้ การทาลายซากมี 2 วธิ ี ดงั น้ี

(ก) การทาลายโดยการฝงั ต้องมเี นื้อทเ่ี พยี งพอ และอยู่ในบริเวณน้าทว่ มไมถ่ ึง ฝัง
ซากใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ก่อนฝังกลบมีการโรยด้วยปูนขาว หรือน้ายาฆ่าเชื้อ และใน
กรณเี ปน็ บ่อทิ้งซากต้องมีฝาปิดมิดชดิ ปอ้ งกนั ไมใ่ ห้สตั วไ์ ปคุย้ เขย่ี

(ข) การทาลายโดยการเผา ต้องมีสถานท่ีเผาหรือเตาเผาอยู่ในบริเวณท่ีเหมาะสม
ใช้ไฟเผาซากจนหมด การเผาซากเป็นวิธีท่ียุ่งยากกว่าวธิ ฝี ัง แตล่ ะฟารม์ สามารถเลือกวิธที าลายได้ตามความ
เหมาะสม

2) การบ้าบัดโรค สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. วิชาชีพการสัตวแพทย์
พ.ศ. 2545 และข้อกาหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑอ์ ุตสาหกรรม ข้อกาหนดการควบคมุ การใช้ยาสาหรบั สัตว์
มาตรฐานเลขท่ี มอก. 7001 และการควบคุมการใช้ยาผสมอาหารสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม
คุณภาพอาหารสัตว์

3) การควบคุมสัตว์ท่ีเป็นพาหะน้าโรค ต้องมีวิธีการควบคุมสัตว์พาหะนาโรค เช่น สุนัข แมว นก
หนู แมลงสาบ และแมลงวัน อยา่ งตอ่ เน่อื ง และสม่าเสมอ

5.4 การจัดการสิ่งแวดล้อม สิ่งปฏิกูลต่างๆ ต้องผ่านการกาจัดอย่างเหมาะสมเพ่ือไม่ให้เกิด
ผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม ในกรณีที่มีน้าท้ิงจากฟาร์มออกสู่แหล่งน้าสาธารณะต้องมีการบาบัดก่อน
ขอ้ ปฏิบัติในการจัดการส่งิ แวดล้อมในฟาร์ม ดงั น้ี

1) เก็บซากไก่ออกจากโรงเรือนทันทีที่มีการตรวจพบ โดยใส่ในถุงพลาสติกกันน้า และ
ปิดปากถงุ ให้มิดชดิ เพือ่ ป้องกันสตั ว์พาหะนาโรค แลว้ นาซากไปทาลายโดยการฝงั หรือเผา

2) การทาลายสตั วพ์ าหะนาโรค อาจทาลายโดยการใช้สารเคมี หรือใชว้ ธิ ีกล แตข่ น้ั สดุ ทา้ ย
โดยการฝังหรือเผา

3) วัสดรุ องพ้ืนทเี่ ปยี กหรอื จับเป็นกอ้ น ใหต้ ักออกจากโรงเรอื นทันที
4) มูลไก่ควรมีการจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเช้ือโรคและ
สัตวพ์ าหะนาโรค
5) กรณีปลดไก่ วสั ดรุ องพื้นควรไดร้ ับการบาบัดดว้ ยยาฆา่ เช้ือโรค เพื่อทาลายเชื้อโรคและ
ลดการฟุ้งกระจายก่อนเคลื่อนย้าย รถที่บรรทุกต้องมีผ้าใบคลุมป้องกันการตกหล่นและห้ามนาวัสดุรองพื้น
เก่ากลบั มาใชอ้ กี
6) น้าที่ใช้ล้างโรงเรอื น และอุปกรณ์ในช่วงเตรียมโรงเรือนต้องมีการบาบัดก่อนที่จะปล่อย
ลงในแหลง่ น้าสาธารณะ
7) พื้นที่รอบโรงเรือนรัศมีอย่างน้อย 3 เมตร ต้องสะอาดเพื่อป้องกันสัตว์พาหะบางชนิด
เข้าโรงเรอื น

5.5 การจัดการด้านสวัสดิภาพไก่ไข่ ผู้ประกอบการฟาร์มต้องมีการจัดการด้านสวัสดิภาพไก่ไข่
โดยปฏิบัตติ ามระเบยี บกรมปศสุ ัตว์ว่าด้วยการคุ้มครองและดูแลสวัสดภิ าพไกไ่ ข่ ณ สถานทเี่ ลี้ยง พ.ศ. 2542
ข้อปฏบิ ัติในการจดั การดา้ นสวสั ดภิ าพไกไ่ ข่ ดงั น้ี

1) ผู้เล้ียงต้องตรวจสอบฝูงไก่ไข่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาห่างกันท่ี
เหมาะสม เพื่อใหม้ ่ันใจว่าไก่มสี ขุ ภาพดตี ลอดเวลา

2) ตอ้ งดูแลไกใ่ หไ้ ดร้ บั อาหารอย่างทว่ั ถึง และมีการเจริญเตบิ โตตามสายพันธุ์
3) กรณีที่มีความจาเป็นต้องตัดปากเพื่อปอ้ งกันการจิกกัน ให้ใช้วิธีจีด้ ้วยความร้อนตดั ออก
ได้ไม่เกิน 1 ใน 3 ของปาก โดยทาเมอ่ื ไกอ่ ายไุ ม่เกนิ 10 วัน
4) ควรมีการจัดการภายในโรงเรือนเพ่ือให้ไก่มีพฤติกรรมตามธรรมชาติตามความ
เหมาะสม
5) การจัดการดแู ลไกท่ ไ่ี ด้รับบาดเจ็บ ป่วย หรือพกิ าร ควรไดร้ ับการรกั ษาอย่างรบี ด่วน ใน
กรณที ีพ่ ิจารณาแลว้ เห็นวา่ ไม่สมควรรักษาใหร้ ีบทาลายทันทีเพ่อื ไม่ใหเ้ กดิ ความทกุ ขท์ รมาน

6. การจัดทา้ มาตรฐานฟารม์ ไก่ไข่
ฟาร์มไก่เน้ือท่ีต้องการได้รับการรับรองเป็นฟาร์มมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ผู้ประกอบการต้องมี

คุณสมบัติและปรับปรุงฟาร์มให้มีมาตรฐานตามข้อกาหนดก่อน จากนั้นจึงขอการรับรอง เมื่อฟาร์มได้รับ
การรับรองเป็นฟาร์มมาตรฐานแล้วต้องต่ออายุทุก 2 ปี และต้องรักษาความเป็นมาตรฐานของฟาร์มไว้
มิฉะนัน้ จะถกู เพกิ ถอนใบรับรองมาตรฐานฟารม์ การรบั รองมาตรฐานฟารม์ ไกไ่ ขไ่ ว้ 5 ข้อ คอื

1. การขอการรับรองเปน็ ฟาร์มไก่ไขม่ าตรฐาน
2. การออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม
3. การตอ่ อายใุ บรบั รองมาตรฐานฟารม์
4. การเพิกถอนใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม
5. ประโยชนจ์ ากการไดร้ ับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม

ด้วยกรมปศุสัตว์เห็นสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออก
ใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเล้ียงสัตว์ ให้เป็นไปตามหลักวิชาการด้านการจัดการฟาร์ม ด้านสุขอนามัย และ
การจัดการด้านส่ิงแวดล้อมให้เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน และให้สอดคล้องกับโครงสร้างใหม่ กรมปศุ
สัตว์จึงวางระเบยี บไว้ ว่าด้วยการขอรบั และออกใบรับรองมาตรฐานฟารม์ เล้ยี งสัตว์ พ.ศ. 2546 ดังต่อไปนี้

1) คุณสมบตั ขิ องผปู้ ระกอบการทีข่ อรบั รองมาตรฐานฟาร์ม
(1) ผูป้ ระกอบการทมี่ ีความประสงคใ์ หก้ รมปศุสัตว์ออกใบรบั รองมาตรฐานฟาร์มเลย้ี งสตั ว์

ต้องผา่ นการฝึกอบรมตามหลกั สตู ร การฝึกอบรมผู้ประกอบการท่ีกรมปศสุ ัตวก์ าหนด
(2) ผู้ประกอบการต้องเป็นเจ้าของหรือผู้จัดการฟาร์มท่ีขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม หรือผู้

ไดร้ ับการรับรองมาตรฐานฟาร์มจากกรมปศสุ ัตว์
(3) ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงฟาร์มให้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานฟาร์มท่ีกรมปศุสัตว์

กาหนด

คุณสมบัติของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการต้องเป็นเจ้าของหรือผู้จัดการฟาร์มท่ีขอรับรอง
มาตรฐานฟาร์ม ต้องปรับปรุงองค์ประกอบของฟาร์มให้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานฟาร์มตามที่กรมปศุสัตว์
กาหนด และต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบการของสานักพัฒนาระบบและรับรอง
มาตรฐานสนิ คา้ ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

2) การยน่ื ค้าขอรับรองมาตรฐานฟาร์มเล้ยี งสัตว์และการฝึกอบรมผู้ประกอบการ
(1) สานักสุขศาสตรส์ ัตว์และสุขอนามัย ประกาศรบั สมคั รผูป้ ระกอบการที่มีความประสงค์

ขอรบั รองมาตรฐานฟารม์ เลี้ยงสตั ว์
(2) ให้ผู้ประกอบการยื่นคาขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม พร้อมหลักฐานท่ีสานักงานปศุสัตว์

จังหวดั ณ ทอ้ งทีท่ ฟ่ี าร์มตั้งอยู่
(3) เมื่อสานักงานปศุสัตว์จังหวัด ได้รับคาขอพร้อมหลักฐานตาม ข้อ. (2) แล้วให้ผู้รับคา

ขอตรวจสอบคาขอ หลักฐานและคณุ สมบัติ พร้อมท้ังแจ้งให้เจ้าหน้าทีส่ านักงานปศุสัตวจ์ ังหวัดในท้องท่ีน้ัน

ไปตรวจฟาร์มของผู้ประกอบการ ท่ีได้ย่ืนคาขอไว้ในเบ้ืองต้นว่ามีองค์ประกอบพ้ืนฐานครบ 5 ประการ
หรือไม่ ดงั น้ี

- มรี ะบบการทาลายเชือ้ โรคกอ่ นเข้า และออกจากฟาร์ม
- มกี ารจดั การโรงเรือนทถ่ี กู ต้องตามหลกั สขุ าภิบาล
- โรงเรอื นทีใ่ ชเ้ ลย้ี งสัตว์มีลกั ษณะและขนาดเหมาะสมกับจานวนสตั ว์
- การจัดการด้านบุคลากร สัตวแพทย์ สัตวบาล และผู้เลี้ยงสัตว์ต้องมีเพียงพอ และ
เหมาะสมกบั จานวนสตั ว์

- การจัดการด้านสขุ ภาพสัตว์ โดยมีโปรแกรมการให้วัคซีนปอ้ งกันโรคที่เหมาะสม
(4) ฟาร์มท่ีมอี งคป์ ระกอบพื้นฐานครบ 5 ประการ ตาม ข้อ. (3) ให้เจ้าหนา้ ทสี่ านักงานปศุ
สัตว์จังหวัดในท้องท่ี รายงานส่งไปยังผู้อานวยการสานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย พร้อมด้วยคาขอ
รบั รองมาตรฐานฟาร์ม และหลกั ฐานตา่ งๆ นนั้
(5) ให้ผู้อานวยการสานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย รวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการท่ีมี
สิทธอิ บรม และดาเนนิ การฝึกอบรมต่อไป
(6) สานกั สขุ ศาสตร์สตั ว์และสขุ อนามัย จดั การฝกึ อบรมให้แก่ผูป้ ระกอบการตามหลักสูตร
ทก่ี รมปศสุ ตั ว์กาหนด

การย่ืนค้าขอรับรองมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ สานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยจะประกาศรับ
สมัครผู้ประกอบการท่ีต้องการขอรับรองมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ จากน้ันจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการ
ฝึกอบรมผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการยื่นแบบฟอร์มคาขอรับรองมาตรฐานฟาร์มเล้ียงสัตว์ (แบบ ม.ฐ.ฟ.
1) พรอ้ มหลักฐานไดท้ ีส่ านักงานปศสุ ตั วจ์ งั หวัดทฟ่ี ารม์ ต้ังอยู่ หลักฐานประกอบการย่นื คาขอ ได้แก่

(1) สาเนาบัตรประชาชนของผ้ยู ่ืนคาขอ 1 ฉบับ
(2) สาเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบบั
(3) แผนทที่ ่ีตงั้ ฟาร์มเลย้ี งสัตว์ 1 ฉบับ
(4) แผนผงั แสดงรายละเอียดทีต่ ัง้ ส่งิ ก่อสรา้ งทมี่ จี รงิ ทง้ั หมดในฟารม์ เลยี้ งสตั ว์ 1 ฉบบั
(5) รูปถ่ายแสดงภาพภายในฟาร์มเล้ียงสัตว์ รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง เช่น ร้ัว โรงพ่นยาฆ่าเช้ือ
โรค บ่อน้ายาฆ่าเช้ือ ที่เก็บอาหาร ยาสัตว์ คอกสัตว์ สานกั งาน ที่พักอาศัย และระบบบาบัดน้าเสีย เป็นต้น
(6) ในกรณีที่ขอต่ออายุการรับรอง ต้องแนบใบรับรองมาตรฐานฟาร์มฉบับที่หมดอายุมา
ดว้ ย

3) สถานท่ฝี ึกอบรมการปฏบิ ตั ิเกี่ยวกับการฝกึ อบรม
(1) ให้คณะกรรมการฝึกอบรมผู้ประกอบการแจ้งสถานท่ีฝึกอบรมให้ผู้ประกอบการที่เข้า

รับการฝกึ อบรมทราบ
(2) สถานท่ีฝึกอบรม จดั ขึน้ ในสถานที่ทีเ่ หมาะสม
(3) ผู้ประกอบการท่ีเข้ารับการฝึกอบรมต้องลงทะเบียนและเข้ารับการฝึกอบรมใน

หลักสตู รทกี่ รมปศสุ ัตวก์ าหนด ไมน่ อ้ ยกว่าร้อยละ 80 ของหลักสตู ร
4) การรายงานผลการฝกึ อบรม
(1) ให้คณะกรรมการฝึกอบรมผู้ประกอบการ นาผลการฝึกอบรมเสนอผู้อานวยการสานัก

สุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย เพ่ือออกใบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการฝึกอบรมและใช้
ประกอบการพิจารณาออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์มต่อไป

5) การตรวจรบั รองมาตรฐานฟาร์ม
(1) คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ตรวจประเมินฟาร์มตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน

ฟารม์ ทก่ี รมปศุสตั ว์กาหนด
(2) คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มประกอบด้วย หวั หน้าคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐาน

ฟาร์ม ผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ผู้เช่ียวชาญเฉพาะด้านรวมอย่างน้อย 6 คน และอาจมีผู้สังเกตการณ์
ร่วมด้วยก็ได้ ท้ังนี้ ในการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มจะต้องมีผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มอย่างน้อย
3 คน โดยให้มผี ตู้ รวจรบั รองมาตรฐานฟาร์มจากสานักสขุ ศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยอยา่ งน้อย 1 คน

(3) หัวหน้าคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มแจ้งกาหนดนัดหมาย การตรวจรับรอง
มาตรฐานฟารม์ ให้แก่ผูป้ ระกอบการทราบลว่ งหนา้ 15 วัน

(4) ในการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มแนะนาตัวต่อ
ผู้ประกอบการ และดาเนนิ การดังน้ี

- แจ้งวตั ถุประสงคแ์ ละขอบเขตของการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม
- ขอข้อมูลรายละเอียดของฟาร์มเพิ่มเติม ในกรณีที่มีข้อมูลในการตรวจสอบไม่
เพียงพอ
- กาหนดรายละเอียดแผนการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม และเวลาท่ีใช้ในการ
ตรวจ
- ตรวจสอบการดาเนนิ การแกไ้ ขข้อบกพร่องจากการตรวจครง้ั ทผ่ี า่ นมา
(5) ดาเนนิ การตรวจรบั รองมาตรฐานฟาร์ม โดยมีเจ้าหน้าท่ีของฟาร์มนาตรวจตลอดเวลา
(6) เมื่อพบข้อบกพร่องไม่ถูกต้องตามมาตรฐานฟาร์มให้จดรายละเอียดในบันทึก เพื่อเป็น
หลักฐานของผตู้ รวจรบั รองมาตรฐานฟาร์ม
(7) คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มต้องปรึกษาหารือกนั เก่ียวกับข้อบกพร่องทพ่ี บ
(8) หัวหน้าคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม สรุปผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม
และขอ้ บกพร่องที่พบใหผ้ ู้ประกอบการรวมทั้งผู้ท่ีเกีย่ วข้องได้รบั ทราบและเปดิ โอกาสให้ผปู้ ระกอบการชแ้ี จง
เพม่ิ เตมิ ตลอดจนกาหนดระยะเวลาในการแกไ้ ขข้อบกพรอ่ งร่วมกัน
(9) จัดทาบันทึกสรุปผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม และระยะเวลาในการแก้ไข
ข้อบกพรอ่ งโดยลงลายมอื ชื่อร่วมกนั พรอ้ มท้งั มอบสาเนาเอกสารใหผ้ ู้ประกอบการ

6) รปู แบบการตรวจรบั รองมาตรฐานฟารม์
รปู แบบการตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์ มี 4 แบบ ดงั น้ี
(1) การตรวจชนดิ เต็มรูปแบบ (Full Auditing) เปน็ การตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์ อยา่ ง

ละเอียดในทุกด้าน ซึ่งดาเนินการเม่ือมีการขอรบั รองมาตรฐานฟาร์มใหม่ หรือขอต่ออายุใบรับรองมาตรฐาน
ฟารม์ หรอื เปลีย่ นแปลงแก้ไข หรือกระทาผดิ ระเบียบมาตรฐานฟาร์ม

(2) การตรวจติดตาม (Follow-up Auditing) เป็นการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เพ่ือ
ติดตามผลการแกไ้ ขข้อบกพร่องจากการตรวจรบั รองมาตรฐานฟารม์ คร้งั ก่อน

(3) การตรวจชนิดย่อ (Concise Auditing) เป็นการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ท่ีมี
ประวัติการปฏิบัติตามระเบียบมาตรฐานฟาร์มอย่างต่อเนื่อง เช่น การตรวจทุกๆ 6 เดือน หรือทุกๆ 1 ปี
การตรวจชนิดน้ีจะเลือกข้อกาหนดบางหัวข้อของ มาตรฐานฟาร์มมาเป็นตัวบ่งช้ีถึงภาพรวมของการปฏิบัติ
ตามมาตรฐานของฟาร์มแห่งนั้น แต่ถ้ามีการตรวจพบว่ามีการฝ่าฝืนระเบียบมาตรฐานฟาร์ม คณะผู้ตรวจ
รบั รองมาตรฐานฟารม์ อาจปรบั การตรวจเปน็ การตรวจชนิดเตม็ รูปแบบไดท้ นั ที

(4) การตรวจกรณีพิเศษ (Special Auditing) เป็นการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มเมื่อมี
ปัญหาหรือมีการร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือเฉพาะด้านเช่นการจัดการด้าน
สิ่งแวดลอ้ ม เปน็ ต้น การตรวจชนิดนจ้ี ะมุ่งเน้นเกี่ยวกับเรอื่ งท่เี ปน็ ปญั หาเท่านัน้

7) การจดั ท้ารายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม
คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม จดั ทารายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มซ่ึงมี

หลกั ปฏิบตั ิ ดังนี้
(1) เนื้อหาของรายงานตอ้ งเปน็ ขอ้ เท็จจรงิ มีข้อความชัดเจน
(2) ให้ผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มทุกคน ได้พิจารณาร่างรายงานผลการตรวจรับรอง

มาตรฐานฟารม์ เพือ่ เสนอขอ้ คิดเห็น
(3) ให้คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ลงลายมือชื่อในรายงานผลการตรวจมาตรฐาน

ฟารม์

การจัดทารายงานผลการตรวจรบั รองมาตรฐานฟาร์ม โดยมีรายละเอยี ดแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. รายละเอียดข้อมลู ท่วั ไป
1) ช่อื และทตี่ ้งั ของฟาร์ม
2) วนั เดอื น ปี ทท่ี าการตรวจคร้ังนี้และครั้งท่แี ลว้
3) ชอื่ คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์
4) ช่อื และตาแหน่งของผทู้ ่ใี หข้ ้อมูล
5) วัตถุประสงค์ของการตรวจรบั รองมาตรฐานฟารม์
6) ขอบเขตของการตรวจรบั รองมาตรฐานฟาร์ม
7) การเก็บตวั อยา่ ง (ถ้ามี)

2. สรุปผลการตรวจ
1) ลักษณะเดน่ ของการปฏบิ ัตติ ามมาตรฐาน (ถ้ามี)
2) ขอ้ บกพรอ่ งท่ีไดแ้ ก้ไขจากการตรวจครัง้ ท่ีแล้ว
3) ข้อบกพร่องท่ียังไม่แก้ไขจากการตรวจคร้ังท่ีแล้ว พร้อมกาหนดระยะเวลาท่ี

แกไ้ ข
4) ขอ้ บกพร่องที่ตรวจพบคร้งั นี้ พร้อมกาหนดระยะเวลาที่แกไ้ ข

ในกรณีที่เป็นการตรวจติดตามตามรูปแบบการตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์ ใน ขอ้ .6 (2) ใหร้ ายงาน
สรปุ ผลการตรวจเฉพาะ ขอ้ . 2) และขอ้ . 3)

8) การแจง้ ผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มอยา่ งเป็นทางการ
คณะผูต้ รวจรับรองมาตรฐานฟาร์มมีหนังสอื ราชการแจ้งผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม พรอ้ ม
แนบรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มให้ผู้ประกอบการทราบภายใน 15 วันทาการ นับจากวันที่
เสร็จส้ินการตรวจและให้ผู้ประกอบการแจ้งรายละเอียดการ แก้ไขข้อบกพร่องให้ผู้อานวยการสานักสุข
ศาสตรส์ ตั ว์และสขุ อนามัยทราบภายใน 15 วนั นับจากวันที่ไดร้ ับหนงั สือ
ถา้ ผู้ประกอบการไม่จัดส่งหนังสือตอบรับ เพื่อแจ้งรายละเอียดการแก้ไขข้อบกพร่องภายในกาหนด
ระยะเวลาข้างต้น ให้ถือว่าผู้ประกอบการยอมรับท่ีจะแก้ไขข้อบกพร่องตามที่คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐาน
ฟารม์ ระบุไว้
9) การออกใบรับรองมาตรฐานฟารม์

(1) ให้เลขานุการคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม นาผลการตรวจรับรองมาตรฐาน
ฟาร์มที่ผ่านการรับรองเสนอผู้อานวยการสานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย เพื่อพิจารณาออกใบรับรอง
มาตรฐานฟารม์ แล้วส่งใบรบั รองมาตรฐานฟารม์ น้นั ให้ปศสุ ตั วจ์ ังหวดั เพ่ือมอบให้แกผ่ ูป้ ระกอบการตอ่ ไป

(2) ใบรบั รองมาตรฐานฟารม์ ให้ใชไ้ ด้ 2 ปี นับแต่วันออกใบรับรอง

การออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม ให้สานักงานปศุสัตว์จังหวัด สานักสุขศาสตร์สัตว์และ
สขุ อนามยั ให้ดาเนินการดังน้ี

1. สานักงานปศสุ ตั วจ์ งั หวัด
1) รับแบบฟอรม์ คาขอรับรองมาตรฐานฟารม์ เลย้ี งสตั ว์ (แบบ ม.ฐ.ฟ. 1) พรอ้ มหลกั ฐาน
2) ในกรณีคาร้องและหลักฐานครบ เจ้าหน้าท่ีสานักงานปศุสัตว์จังหวัดดาเนินการ

ตรวจสอบฟาร์มของผ้ปู ระกอบการเบ้ืองต้นว่ามีองค์ประกอบพ้ืนฐานของฟาร์มครบ 5 ประการหรอื ไม่ ดังนี้
- ระบบการทาลายเชอื้ โรคก่อนเข้าและออกฟารม์
- การจดั การโรงเรือนทถ่ี ูกตอ้ งตามหลักสุขาภบิ าล
- โรงเรือนทใ่ี ช้เล้ียงไกต่ ้องมลี กั ษณะ และขนาดเหมาะสมกับจานวนไก่
- การจัดการด้านบุคลากร สัตวแพทย์ สัตวบาล และผู้เลี้ยงสัตว์ ต้องมีเพียงพอ

เหมาะสมกับจานวนไก่

- การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ โดยมีโปรแกรมให้วัคซีนป้องกันโรคที่ถูกต้อง และ
มหี ลักการสขุ าภิบาลฟาร์มท่ีดี

3) ในกรณีที่ผู้ตรวจพบว่า ผู้ประกอบการมีองค์ประกอบพื้นฐานของฟาร์มไม่ครบ
5 ประการ ผ้ตู รวจต้องทาเรือ่ งแจ้งผปู้ ระกอบการเพ่อื แก้ไขปรับปรุงต่อไป

4) กรณีผู้ประกอบการมีองค์ประกอบพ้ืนฐานของฟาร์มครบ 5 ประการ เจ้าหน้าท่ี
สานักงานปศุสัตว์จังหวัด จัดส่งรายงานการตรวจองค์ประกอบพื้นฐานเบื้องต้นของฟาร์ม พร้อมแนบ
แบบฟอร์มและหลักฐานไปยงั สานักสุขศาสตร์สตั ว์ และสุขอนามยั

5) ร่วมเปน็ คณะผตู้ รวจรับรองมาตรฐานฟารม์ กบั สานกั สุขศาสตร์สัตวแ์ ละสขุ อนามยั
2. สานกั สุขศาสตรส์ ัตวแ์ ละสขุ อนามัย

1) รวบรวมและตรวจสอบเอกสารจากสานักงานปศุสตั ว์จังหวัด
2) ดาเนินการอบรมผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตามระเบียบมาตรฐานฟาร์ม หลักสูตร
การฝึกอบรมผู้ประกอบการไมน่ ้อยกวา่ ร้อยละ 80 ของหลกั สตู ร
3) ดาเนินการออกใบประกาศนยี บัตรให้แกผ่ ูป้ ระกอบการท่ีผา่ นการฝึกอบรม
4) ดาเนินการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มร่วมกับคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม
จากสานักงานปศสุ ตั ว์จังหวดั
5) กรณีฟาร์มไม่ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ให้ทาหนังสือเป็นทางการแจ้ง
สานักงานปศุสัตวจ์ งั หวัด และแจ้งผ้ปู ระกอบการให้แกไ้ ขขอ้ บกพรอ่ ง
6) กรณีฟาร์มผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ให้ดาเนินการตรวจสอบรายงานผล
การตรวจประเมนิ ฟาร์ม และจดั ทาบันทึกขอ้ มูลทะเบียนฟารม์ มาตรฐาน
7) ดาเนินการออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม พร้อมทาหนังสือเป็นทางการแจ้งสานักงาน
ปศสุ ัตวจ์ งั หวัดเพอื่ มอบใบรบั รองมาตรฐานฟารม์ ใหแ้ ก่ผูป้ ระกอบการตอ่ ไป
8) ใบรับรองมาตรฐานฟารม์ มีอายุการใชง้ าน 2 ปี นับแตว่ ันออกใบรับรอง

10) การต่ออายุใบรบั รองมาตรฐานฟาร์ม
(1) ผู้ประกอบการท่ีมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์มให้ย่ืนคาขอ

รับรองมาตรฐานฟาร์มพร้อมหลักฐาน ก่อนหมดอายุภายใน 30 วัน ท่ีสานักงานปศุสัตว์จังหวัดพร้อมกับ
ใบรับรองมาตรฐานฟารม์ ฉบับเดมิ

(2) ให้เจ้าหน้าท่ีสานักงานปศุสัตว์จังหวัดในท้องท่ีนั้นรวบรวมคาขอดาเนินการตรวจสอบ
เอกสารเบื้องต้น และนาเสนอเลขานุการคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เพื่อนัดหมายการตรวจรับรอง
มาตรฐานฟาร์มต่อไป

(3) คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม จะดาเนินการนัดหมายและตรวจรบั รองมาตรฐาน
ฟารม์ เชน่ เดยี วกบั การตรวจรบั รองมาตรฐานฟาร์ม ขอ้ . 5) การตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์ ใน ขอ้ . 1-9

(4) การแจ้งผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มอย่างเป็นทางการคณะผู้ตรวจรับรอง

มาตรฐานฟาร์มจะแจ้งผลอย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับการแสดงผลตาม ข้อ. 8) การแจ้งผลการตรวจ
รบั รองมาตรฐานฟาร์มอยา่ งเป็นทางการ

(5) การพิจารณาการต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม เมื่อคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐาน
ฟาร์มเห็นว่า ผู้ประกอบการรายใดเหมาะสมท่ีจะได้รับใบรับรองมาตรฐานฟาร์มต่อไปให้เลขานุการคณะ
ผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม นาผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มที่ผ่านการรับรองจากคณะผู้ตรวจ
รบั รองมาตรฐานฟาร์ม และมีคณุ สมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานฟารม์ เสนอผู้อานวยการสานักสุขศาสตร์สัตว์
และสุขอนามัยต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม โดยเติมคาว่า "ต่ออายุ" และลงนามโดยผู้อานวยการสานัก
สขุ ศาสตรส์ ตั วแ์ ละสขุ อนามัยเป็นสาคัญ

การอนุญาตให้ต่ออายุใบรบั รองมาตรฐานฟารม์ ใหน้ ับต่อจากวันหมดอายใุ บรับรองมาตรฐานฟาร์ม
ฉบบั เดิม เป็นต้นไป

การตอ่ อายใุ บรับรองมาตรฐานฟาร์ม ผู้ประกอบการ สานักงานปศสุ ตั วจ์ ังหวัดและ
สานักสุขศาสตรส์ ัตว์และสขุ อนามัย มบี ทบาท ดงั น้ี

1. ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการต้องยื่นคาขอต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์มที่สานักงาน
ปศุสัตว์จังหวัดท่ีฟาร์มต้ังอยู่ภายใน 30 วัน ก่อนที่ใบรับรองมาตรฐานฟาร์มจะหมดอายุพร้อมใบรับรอง
มาตรฐานฟาร์มฉบบั เดิม

2. สานักงานปศุสัตว์จังหวัด สานักงานปศุสัตว์จงั หวัดรวบรวม และตรวจสอบหลกั ฐาน คาขอต่อ
อายุใบรับรองพร้อมหลักฐานที่ถูกต้องเสนอคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เพ่ือนัดหมายการตรวจ
มาตรฐานฟาร์มต่อไป

3. สานักสขุ ศาสตรส์ ตั ว์และสขุ อนามัย สานักสุขศาสตรส์ ัตว์และสขุ อนามัยทาหน้าที่ ดังน้ี
1) ดาเนินการตรวจประเมินมาตรฐานฟาร์มร่วมกับ คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม

จากสานกั งานปศุสัตว์จังหวัด
2) กรณีท่ีฟาร์มผ่านการตรวจประเมิน พิจารณาดาเนินการต่ออายุใบรับรองมาตรฐาน

ฟารม์ โดยใหอ้ อกใบรับรองเตมิ คาว่า “ตอ่ อายุ”
3) การอนุญาตให้ต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม ให้นับต่อจากวันหมดอายุใบรับรอง

มาตรฐานฟารม์ ฉบับเดิมเปน็ ต้นไป และมอี ายกุ ารใชง้ าน 2 ปี นับแตว่ ันออกใบรับรอง
4) จัดทาและเก็บรักษาสมดุ ทะเบียนผปู้ ระกอบการ ที่ไดร้ ับการรบั รองมาตรฐานฟาร์ม

11) การจดั ท้าและเก็บสมดุ ทะเบยี น
(1) เลขานกุ ารคณะผตู้ รวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เป็นผู้จัดทาและเก็บรักษาสมุดทะเบียน

ผปู้ ระกอบการท่ีไดร้ บั การรับรองมาตรฐานฟาร์ม
12) การพิจารณาการเพกิ ถอนใบรบั รองมาตรฐานฟาร์ม
(1) ผู้อานวยการสานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยจะดาเนินการเพิกถอนใบรับรอง

มาตรฐานฟาร์ม พร้อมทั้งข้ึนทะเบียนประวัติเป็นฟาร์มที่ไม่ได้มาตรฐานหากปรากฏว่าคณะผู้ตรวจรับรอง

มาตรฐานฟารม์ ได้ตรวจตามรูปแบบการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มแล้ว ภายหลังพบว่าเกดิ ความบกพร่อง
ของงานในความรับผิดชอบอันเน่ืองมาจากผูป้ ระกอบการ

(2) ฟาร์มท่ีอยู่ในทะเบียนประวัติเป็นฟาร์มที่ไม่ได้มาตรฐานจะไม่ได้รับการพิจารณา
รับรองมาตรฐานฟาร์มเป็นเวลา 3 ปี

การเพิกถอนใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม ผู้ประกอบการต้องรักษา และคงสภาพของมาตรฐาน
ฟารม์ โดยปฏบิ ัติดงั น้ี

1) ผู้ประกอบการต้องคอยเอาใจใส่ตรวจสอบฟาร์มของตนให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่าง
สมา่ เสมอ

2) เม่ือมีการเปล่ียนแปลงเกิดขึ้นไม่ว่ากรณีใดๆ เช่น เปล่ียนผู้ปฏิบัติงาน ต้องให้ความ
สนใจในจุดน้ันเป็นพิเศษ หากไม่แน่ใจว่างานในจุดน้ันจะมีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบมาตรฐานฟาร์ม
ใหน้ ดั หมายคณะผู้ตรวจรับรองฯ ไปดาเนนิ การตรวจสอบต่อไป

3) ผู้ประกอบการต้องสนับสนุนและไม่ก้าวก่ายงานในหน้าที่รับผิดชอบของสัตวแพทย์
ผู้ควบคุมฟาร์ม ในกรณีท่ีคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ตรวจสอบพบความบกพร่องของงานในความ
รับผิดชอบ อันเนื่องมาจากผู้ประกอบการ สานักสุขศาสตร์สัตว์ และสุขอนามัยจะดาเนินการเพิกถอน
ใบรับรองมาตรฐานฟาร์มพร้อมท้ังขึ้นทะเบียนประวัติท่ีไม่ได้มาตรฐาน และฟาร์มจะไม่ได้รับการพิจารณา
รับรองมาตรฐานฟาร์มเปน็ เวลา 3 ปี

7. ประโยชนจ์ ากการไดร้ ับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม
1) ผปู้ ระกอบการมีผลผลติ ปศุสตั วเ์ พิม่ มากขนึ้
2) ผลผลิตปศสุ ัตวม์ คี ุณภาพดี ปลอดภัยต่อผู้บรโิ ภค
3) ผู้ประกอบการมสี ่วนร่วมในการรกั ษาสง่ิ แวดลอ้ ม
4) เป็นการพัฒนาการเล้ียงปศุสตั ว์ เพ่ือรองรับต่อมาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศ ผู้นาเข้า

และระบบการคา้ เสรี


Click to View FlipBook Version