The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pa0936182147, 2019-06-10 22:34:22

Unit 8

Unit 8

บทท่ี 8

การบนั ทกึ และวิเคราะหข์ ้อมูลการผลิต

ครคู ธั รยี า มะลวิ ลั ย์

แผนกวชิ าสัตวศาสตร์
วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยฉี ะเชงิ เทรา

บทท่ี 8

การบนั ทึกและวเิ คราะห์ขอ้ มูลการผลติ

หัวข้อเรอ่ื ง
1. ประโยชน์ของการจดบันทึกขอ้ มูล
2. การบนั ทึกข้อมลู การเลย้ี งไก่ไข่
3. การวิเคราะห์ข้อมลู การเลยี้ งไก่ไข่

จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้
1. บอกประโยชนข์ องการจดบันทึกข้อมลู ได้
2. อธบิ ายการบันทึกข้อมลู การเลีย้ งไก่ไขไ่ ด้
3. สามารถวเิ คราะห์ขอ้ มูลการเลย้ี งไก่ไขไ่ ด้

เนื้อหาการสอน
การจัดการข้อมูลของฟาร์มไก่ไข่เป็นการบันทึกข้อมูลท่ีเก่ียวข้องกับการจัดการ อาหาร

การให้อาหาร ยา วัคซีน ผลผลิต แล้วนาข้อมูลท่ีได้ไปคานวณค่าต่าง ๆ ลงบันทึกในกราฟเพ่ือเทียบกับ
มาตรฐาน และจัดเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการฟาร์ม ทาให้ทราบข้อมูลต่างๆ
ในการเลี้ยง เช่น ผลผลิตที่ได้รับ ผลผลิตที่เสียหาย จานวนไก่ตาย ไก่คัดทิ้ง และต้นทุนการผลิต
กรณีเกิดการผิดปกติสามารถค้นหาข้อมูลท่ีบันทึกไว้ วิเคราะห์หาสาเหตุ และหาทางแก้ไขปัญหาได้อย่าง
ถูกต้อง ช่วยลดความเส่ียงจากการสูญเสีย นอกจากน้ียังใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการผลิต จัดเตรียม
งบประมาณสาหรับเล้ยี งไก่รุ่นต่อไป

การบันทึกข้อมูลการเล้ียงสัตว์เป็นส่ิงความสาคัญมาก ซ่ึงจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้เลี้ยงการ
เก็บรวบรวมขอ้ มูลการเล้ียงสัตว์ปีกแต่ละร่นุ สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงถึงความสามารถของผเู้ ล้ียงวา่ เป็น
อย่างไร นอกจากนี้ยังทาให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการเล้ียงไก่แต่ละรุ่นในแต่ละช่วงเวลา
การจดบันทึกข้อมลู เปน็ งานทีต่ ้องการความละเอยี ดรอบคอบ ผู้เล้ียงจะต้องจดบันทึกข้อมลู ลงในแบบฟอร์ม
ที่กาหนดไว้ทุกวัน ไม่ควรจดบันทึกข้อมูลย้อนหลังเพราะจะทาให้เกิดความผิดพลาดได้ส่ิงสาคัญในการ
บนั ทึกข้อมูลคือ ความถูกต้องและความสมบรู ณข์ องข้อมลู ท่ีบันทึกเพราะจะทาให้การสรุปขอ้ มูลและผลการ
เล้ยี งไม่ผิดพลาด

1. ประโยชน์ของการจดบนั ทกึ ข้อมูล การบนั ทกึ ขอ้ มลู การเลีย้ งสัตวป์ ีกมีประโยชน์ ดงั น้ี
1) เปน็ การทาประวตั กิ ารเล้ยี งสตั วแ์ ตล่ ะรนุ่
2) สามารถทาให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้ เช่น การจดบันทึกสถิติการไข่รายวันของแม่ไก่ไข่แต่ละ

ตัว ทาใหผ้ ู้เลีย้ งสามารถคัดไกต่ วั ที่ให้ไขไ่ ม่ดอี อกจากฝูงได้

3) ทาให้ทราบถึงสมรรถภาพการผลิตที่แท้จริงในฟาร์มเม่ือเปรียบเทียบกับมาตรฐานของสายพันธ์ุ
นัน้ ๆ ทแ่ี นะนาโดยบรษิ ทั ผูผ้ ลติ

4) ทาใหเ้ ห็นถึงความแตกตา่ งในการเลย้ี งสัตว์เน้อื แตล่ ะรนุ่ ในแต่ละฤดูกาล
5) ทาให้ทราบถึงสภาพการเปลี่ยนแปลงของสัตว์เน้ือท่ีกาลังเลี้ยงอยู่ได้ในทันทีทันใด เช่น การจด
บนั ทึกการกนิ อาหารในแต่ละวนั ของไก่ที่เลี้ยงในแตล่ ะโรงเรือน ถ้าพบวา่ ไก่กินอาหารลดลงแสดงว่า จะต้อง
มีความผิดปกติเกิดข้ึน ผู้เล้ียงจะต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยทันที ทาให้สามารถหลีกเล่ียงหรือบรรเทา
ปัญหาตา่ งๆ ทจ่ี ะเกดิ ขึ้นได้
6) สามารถติดตามสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้จากข้อมูลต่างๆ ท่ีมีอยู่ เช่น การตรวจสอบ
รายละเอียดของวัคซีนที่บนั ทกึ ไว้ในกรณีเกิดโรคชนดิ น้นั หลังจากทาวัคซนี
7) สามารถประเมินประสิทธภิ าพการปฏบิ ัติงานของคนงานประจาแต่ละโรงเรือนได้
8) ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการเล้ียงสัตว์เน้ือแต่ละรุ่นสามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง
ประสิทธภิ าพการผลติ ในร่นุ ต่อไป
9) ข้อมูลท่ีต้องบันทึกทุกวัน ได้แก่ ปริมาณอาหารท่ีกิน ผลผลิตไข่ อัตราการตาย แต่ข้อมูลบาง
ประเภทไม่จาเป็นต้องบันทึกทุกวัน เช่น น้าหนักตัว ข้อมูลที่บันทึกในแต่ละวันจะต้องรวบรวมและสรุปเก็บ
ไว้ทุกๆ สัปดาห์ ข้อมูลต่างๆ ท่ีได้บันทึกไว้จะนามาใช้ในการคานวณหาค่าต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพการ
เปล่ียนอาหาร ปริมาณอาหารทก่ี นิ ตอ่ 100 ตัว เปอร์เซน็ ต์ไข่ จานวนไขฟ่ ักตอ่ แม่ไกท่ มี่ ีอยู่ในวันน้ัน เปน็ ตน้

2. ประเภทของการบนั ทึกขอ้ มลู การบันทกึ ขอ้ มูลอาจแบง่ ออกเป็น 4 ประเภท ไดแ้ ก่
1) การบันทึกการเจริญเติบโต เป็นการบันทึกน้าหนักตัวและพฤติกรรมของฝูงตั้งแต่อายุ 1 วัน

จนถึงเม่ือโตเต็มวัยหรือจับจาหน่าย ข้อมูลท่ีได้จะต้องนาไปเปรียบเทียบการเจริญเติบโตมาตรฐานของ
สัตวป์ ีกสายพนั ธน์ น้ั ในแต่ละสปั ดาห์ ซ่งึ จะทาให้ผเู้ ลย้ี งทราบถงึ การเจรญิ เติบโตทเ่ี ป็นจริงในสภาพฟาร์มของ
เรากับมาตรฐานประจาสายพันธ์ุ ตารางที่ใช้ในการจดบันทึกจะต้องประกอบด้วย จานวนไก่มีชีวิต จานวน
ไก่ท่ีปลดหรือคัดท้ิง จานวนไก่ที่ปลดออกสะสม ปริมาณอาหารท่ีกิน โปรแกรมการทาวัคซีน สภาพอากาศ
หรอื อณุ หภมู ิและปัญหาต่างๆ ทีเ่ กดิ ข้ึน

2) การบันทึกผลผลิตไข่ ข้อมูลท่ีจดบันทึกจะต้องประกอบด้วยจานวนสัตว์ปีก ผลผลิตไข่ท้ังหมด
เปอร์เซ็นต์ไข่ในแต่ละวัน จานวนไข่ฟัก ปริมาณอาหารท่ีกนิ น้าหนกั ตัว น้าหนักไข่เฉลี่ยต่อฟอง ข้อมูลที่ได้
ควรจะมีการเปรียบเทียบข้อมูลผลผลิตมาตรฐานของสัตว์ปีกแต่ละสายพันธ์ุด้วย ข้อมูลสาคัญที่จะต้อง
คานวณออกมาในแตล่ ะสัปดาห์ ได้แก่

- ปรมิ าณอาหารที่กินเฉล่ียต่อไก่ 100 ตัวต่อวนั ในแต่ละสัปดาห์
- ปริมาณอาหารท่ีใช้ต่อผลผลิตไข่ 1 โหล ข้อมูลท่ีคานวณออกมาทั้ง 2 ค่าน้ี จะเป็นตัว
ชีใ้ ห้เหน็ ถงึ ปริมาณอาหารท่ไี กน่ าไปใช้ในการดารงชีพและให้ผลผลิตไข่

3) การบันทึกอัตราการฟักออก อัตราการฟกั ออกในแต่ละสัปดาห์เปน็ ตวั ชใ้ี หเ้ ห็นถึงประสิทธิภาพ
การผลิตของพ่อแม่พันธ์ุสัตว์ปีก ซึ่งจะต้องประกอบด้วย จานวนไข่ฟัก จานวนไข่ตายโคม จานวนไข่ลม
จานวนลูกสัตว์ปีกที่ฟกั ออกทัง้ หมด อัตราการฟักออก เปอร์เซน็ ตล์ ูกสตั วป์ กี ท่ขี ายทั้งหมด ข้อมูลท่ีได้เหล่านี้
จะต้องนาไปเปรียบเทียบกับข้อมูลมาตรฐานของสัตว์ปีกแต่ละชนิด เน่ืองจากมีค่าสหสัมพันธ์โดยตรง
ระหว่างอัตรา การฟักออกกับผลผลิตไข่ การฟักไข่เพ่ือการค้าน้ันจะฟักไข่จานวนมากในแต่ละครั้ง ถ้าหาก
ความสมบูรณ์หรืออัตราการฟักออกลดลงเพียงเล็กน้อยย่อมหมายถึงการสูญเสียเงินทุนไปเป็นจานวนมาก
ดงั นน้ั การจดบันทึกข้อมูลท่ีเก่ียวข้องกับไข่ฟักเพ่ือนามาคานวณหาความสมบูรณ์พันธุแ์ ละอัตราการฟกั ออก
จะช่วยใหผ้ ู้เลีย้ งทราบถึงสาเหตขุ องความผดิ ปกติท่เี กิดข้นึ ได้

4) การบันทึกการคัดไข่ ผู้เลี้ยงไก่ท่ีต้องการขายไข่ไก่จะต้องทาการประเมินขนาดไข่และคุณภาพ
ไข่ที่ผลิตได้ ควรบันทึก น้าหนักไข่ทุกสัปดาห์ และเปรียบเทียบกับมาตรฐานประจาพันธุ์นั้น ๆ นอกจากน้ี
น้าหนักไข่ และจานวน ไข่ทั้งหมดท่ีผลิตได้จะนามาคานวณหาน้าหนักไข่เฉลี่ยเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการ
คานวณหาความต้องการโภชนะ และทาการคานวณหาประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารโดยคิดจากน้าหนัก
อาหารต่อนา้ หนักไข่

3. การสร้างกราฟ
เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามประสิทธิภาพการผลิตของฝูงสัตว์ปีกท่ีเล้ียง ข้อมูลต่างๆ ท่ีบันทึกจะถูก

ปรับใหอ้ ยู่ในรูปของขอ้ มูลตอ่ สปั ดาห์ แต่ถึงกระน้ันการวิเคราะห์และติดตามผลยงั ค่อนข้างย่งุ ยาก ดังน้ันเรา
จึงต้องนาข้อมูลดังกล่าวมาสร้างให้อยู่ในรูปของกราฟพร้อมกับทากราฟมาตรฐานสาหรับข้อมูลต่างๆ ท่ีได้
บันทึกไว้ เพ่ือให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสภาพการผลิตที่เป็นจริงในฟาร์มกับ
มาตรฐานประจาพันธุ์ ซง่ึ จะเป็นตัวช้ีให้เหน็ ถึงสมรรถภาพการผลติ ของผ้เู ล้ียง และส่ิงต่างๆ ที่เปน็ ปจั จัยผัน
แปรทีท่ าให้ผลผลิตทีไ่ ดแ้ ตกต่างไปจากมาตรฐานควรทาการบนั ทึกไว้ กราฟท่ีสาคัญๆ ไดแ้ ก่

- กราฟแสดงผลผลิตไข่ เพื่อติดตามดูความสม่าเสมอของผลผลิตไข่ โดยปกติเมื่อฝูงไก่เริ่ม
ใหผ้ ลผลติ ได้ 5 % ของฝูงจะกาหนดให้เปน็ สปั ดาห์แรกของการใหผ้ ลผลิตไข่

- กราฟแสดงปริมาณอาหารท่กี ิน เป็นการแสดงปริมาณอาหารที่ไก่กินในแตล่ ะสัปดาห์ต่อ
แมไ่ ก่ 100 ตัว เพ่อื นามาเปรียบเทียบกับผลผลิตไขท่ ่ีได้

- กราฟแสดงน้าหนักตัวไก่ เป็นการแสดงน้าหนักตัวไก่ในแต่ละระยะเริ่มตั้งแต่ลูกไก่อายุ
1 วนั จนถงึ ปลดจาหนา่ ย

4. การบนั ทกึ ขอ้ มลู การเลี้ยงไก่ไข่ ขอ้ มลู ทจ่ี ะตอ้ งบนั ทกึ ประกอบด้วย
- วันรับลูกไก่ และพนั ธ์ไุ ก่
- จานวนไก่ทง้ั หมด
- จานวนไก่ตายและคดั ทิ้งในแต่ละวนั
- จานวนไก่ท่ีเหลอื เมื่ออายุ 18 สัปดาห์ และเมือ่ สน้ิ สุดการเลี้ยง
- อายเุ มือ่ โตเตม็ วยั หรือเมือ่ ใหไ้ ข่ฟองแรก

- นา้ หนักเมือ่ เร่มิ ตน้ เล้ยี ง และตลอดระยะเวลาการเลี้ยง
- ปริมาณอาหารท่กี นิ ในแตล่ ะวนั
- สถติ ิการไข่รายวนั ของแมไ่ ก่แต่ละตวั
- จานวนไขร่ วมในแต่ละวัน
- จานวนไข่ทีข่ าย
- จานวนไขผ่ ดิ ปกติหรือคดั ท้งิ
- ไวตามินและยาตา่ ง ๆ ทีใ่ ช้ โดยจะต้องบันทึกช่อื ยา บริษทั ที่ผลติ วันท่ีผลติ วันหมดอายุ ขนาดท่ี
ใช้ วันท่แี ละระยะเวลาท่ีใช้ยา
- การทาวคั ซีนจะต้องบันทกึ ช่ือทางการค้า บริษทั ท่ผี ลิต วนั หมดอายุ วธิ กี ารให้ และวันที่ทา วัคซีน
- ความยาวแสง และเวลาใหแ้ สง
- อุณหภมู สิ งู สุด-ตา่ สุด ในแต่ละวนั
- ความชน้ื สมั พทั ธ์ในแตล่ ะวนั

จากข้อมูลต่าง ๆ ทบ่ี นั ทกึ เอาไวส้ ามารถน ามาค านวณหาตา่ ง ๆ ไดด้ ังนี้
1. อัตราการไข่ (Rate of production) หมายถึง เปอร์เซน็ ตก์ ารไขใ่ นระยะเวลาหนึ่ง
2. จานวนไก่เม่ือเร่ิมต้นเลี้ยง (Hen-housed) หมายถึง จานวนไก่ที่มีในวันท่ีฝูงไก่เร่ิมไข่ได้ 5%
3. ผลผลิตไข่คิดจากจานวนแม่ไก่เร่ิมต้นเลี้ยง (Hen-housed production) หมายถึง เปอร์เซ็นต์
การไข่ที่คานวณได้จากจานวนแม่ไก่เม่ือเริ่มต้นเล้ียง เป็นข้อมูลท่ีแสดงถึงประสิทธิภาพของการเลี้ยงและ
การจัดการไก่ไข่ในฝูง เนื่องจากจะคิดคานวณผลผลิตไข่โดยใช้จานวนไก่ไข่เมื่อเริ่มต้นให้ไข่เป็นเกณฑ์
ถ้าผู้เล้ียงมีการจัดการไม่ถูกต้องจะทาให้มีไก่คัดท้ิงหรือตายจานวนหน่ึงซึ่งในการคานวณค่านี้ จะไม่ได้หัก
จานวนไก่คัดทง้ิ หรอื ตายเหลา่ น้นั ออกไปก็จะทาให้ค่าท่ีได้น้ันต่า
4. ผลผลิตไข่คิดจากจานวนแม่ไก่ที่เหลืออยู่ในวันนั้น (Hen-day production) หมายถึง
เปอร์เซ็นต์การไข่ท่ีคิดจากจานวนแม่ไก่ท่ีเหลืออยู่ในวันน้ัน เป็นค่าท่ีแสดงถึงประสิทธิภาพการเล้ียงและ
การจัดการฝูงไก่ในช่วงเวลาน้ัน ถ้าผู้เลี้ยงมีการดูแลเอาใจใส่ดี คอยคัดเลือกไก่ที่ไม่ไข่ออกไปหรือไก่ที่ป่วย
ออกไปก็จะทาให้ช่วยกาจัดไก่ท่ีไม่ให้ผลผลิตออกไปทาให้ค่าเปอร์เซ็นต์การให้ไข่สูงขึ้นและลดค่าใช้จ่าย
จากไก่ท่ีไม่ให้ผลผลิตแต่ยังคงกินอาหารทุกวัน อย่างไรก็ตามการพิจารณาประสิทธิภาพการเล้ียงนั้นจะต้อง
พิจารณาร่วมกันระหว่างการให้ผลผลิตไข่คิดจากจานวนแม่ไก่เริ่มต้นเล้ียงและการให้ผลผลิตไข่คิดจาก
จานวนแมไ่ กท่ ีเ่ หลอื อยู่ในวันนนั้
5. ผลผลิตไข่ต่อปี (Annual production) หมายถึง จานวนไข่ท่ีได้ต่อแม่ไก่ 1 ตัว ในระยะเวลา
การไข่ 1 ปี
6. น้าหนักตัว (Body weight) การชั่งน้าหนักตัวทาได้โดยสุ่มชั่งน้าหนักไก่ประมาณ 10% ของฝูง
ทุกสัปดาห์และเฉล่ียน้าหนกั ไก่ทั้งหมดที่ช่ังตอ่ จานวนตวั ไกเ่ พ่ือใชเ้ ปรียบเทียบกับน้าหนักมาตรฐานตามอายุ
ไก่ในแตล่ ะสายพันธุ์

7. น้าหนักไข่ (Egg weight) คิดจากน้าหนักไข่ทั้งหมดหารด้วยจานวนไข่ท้ังหมด เพื่อใช้เป็นเกณฑ์
ในการกาหนดนา้ หนกั ไข่เขา้ ฟกั

8. อัตราการเปลย่ี นอาหารเป็นผลผลิตไข่ (Feed conversion ratio) หมายถึง จานวนอาหารที่ใช้
เปน็ กิโลกรมั ตอ่ จานวนไข่ท่ีผลิตไดน้ ้าหนัก 1 กโิ ลกรัม

9. ความสม่าเสมอของฝูง (Uniformity) หมายถึง จานวนไก่ทั้งหมดท่ีมีน้าหนักอยู่ระหว่างค่า
มากกว่าหรือนอ้ ยกวา่ 10% ของน้าหนกั เฉลย่ี ต่อจานวนไกท่ ้งั หมดทช่ี ่ังนา้ หนกั

10. อัตราการเลี้ยงรอด (Live ability) หมายถึง จานวนไก่ท่ีเล้ียงรอดเม่ือเปรียบเทียบกับ จานวน
ไก่เม่ือเร่ิมตน้ เล้ียงแบง่ ออกเปน็ 2 ระยะ คอื

- อัตราการเลี้ยงรอดตัง้ แต่ระยะแรกเกดิ จนถึงอายุ 18 สัปดาห์
- อตั ราการเลี้ยงรอดในระยะไข่ เรม่ิ ตง้ั แตอ่ ายุ 18 สัปดาหจ์ นถงึ ปลดจาหน่าย
11. จานวนไก่ไข่เฉลี่ย (Average number of layer) คิดจากจานวนไก่ท่ีเริ่มต้นเล้ียง และจานวน
ไก่ท่ีเหลืออยู่หารด้วย 2 เน่ืองจากฝูงไก่ไข่ต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนาน ทาให้จานวนไก่ตาย และคัดท้ิง
สูง ดังน้ันการประมาณประสิทธิภาพการผลิตของฝูงบางคร้ังจึงต้องคิดจากจานวนไกเ่ ฉลี่ย เช่น การคานวณ
ผลผลติ ไข่ หรอื การประมาณปริมาณอาหารท่ีกินทาใหค้ า่ ที่ไดใ้ กลเ้ คียงกับความเปน็ จริงมากท่ีสุด

5. สตู รการคานวณสมรรถภาพการใหผ้ ลผลิตเกยี่ วกบั การจดั การขอ้ มลู งานฟารม์ ไกไ่ ข่
1) จานวนไข่สะสมต่อจานวนไก่เร่มิ ให้ไข่ (hen-housed egg production) หมายถงึ การคานวณ

จานวนไข่ของฝูงจากจานวนไก่ท่เี ร่ิมตน้ ให้ไข่ ถือเป็นขอ้ มูลบ่งช้ีถึงคณุ ภาพของพันธ์ุไก่ไข่และการจัดการ
ฟาร์ม แล้วนาไปเปรยี บเทยี บกบั มาตรฐานของพันธ์ุ ดังนี้

จานวนไข่สะสมต่อจานวนไกเ่ ร่ิมให้ไข่ = จานวนไขส่ ะสม
จานวนไก่เรม่ิ ให้ไข่

2) เปอร์เซ็นต์การไข่ต่อจานวนไก่ที่มีชีวิต (hen-day egg production) หมายถึง การคานวณ
เปอร์เซ็นต์การไข่ของฝูงจากจานวนไก่ท่ีมีชีวิตอยู่จริง และเม่ือสิ้นสุดสัปดาห์นั้นแล้วให้นาค่าท่ีได้ไป
เปรยี บเทยี บกบั มาตรฐานของพันธุ์ คานวณได้จากสตู รของ North และ Bell (1990) ดงั น้ี

เปอร์เซ็นต์การไข่ต่อจานวนไก่ทีม่ ีชวี ติ = จานวนไข่ทผ่ี ลติ ได้ในสัปดาห์ (ฟอง)  100
จานวนไกเ่ มื่อสนิ้ สปั ดาห์  7

3) ปริมาณอาหารท่ีกินสัปดาห์น้ี เป็นผลรวมของอาหารท่ีให้ไก่กินท้ังสัปดาห์ ส่วนอาหารที่กิน
สะสมเป็นปริมาณอาหารท่ีกินสัปดาห์นี้รวมกับอาหารท่ีกนิ สัปดาห์ก่อนหน้า และปริมาณอาหารท่ีกินต่อตัว
ต่อวนั คานวณได้จากสูตรของมานิตย์ (2536) ดงั นี้

ปริมาณอาหารทีก่ นิ ต่อตวั ต่อวนั = ปรมิ าณอาหารทก่ี นิ ในสปั ดาห์ (กก.)  1000
(กรัม/ตวั /วนั ) จานวนไก่เม่ือส้นิ สปั ดาห์ (ตัว)  7

4) ปริมาณอาหารท่ใี ช้ในการผลิตไข่ 1 โหล คานวณจากสตู ร (มานติ ย์, 2536)

ปรมิ าณอาหารที่ใช้ในการผลติ ไข่ 1 โหล = ปริมาณอาหารท่ีกนิ สะสม (กก.)  12
จานวนไขส่ ะสม (ฟอง)

5) น้าหนักตัวไก่ ในช่วงของการให้ผลผลิตควรช่ังน้าหนักไก่ทุกสัปดาห์ โดยช่ัง 10 เปอร์เซ็นต์ของ
ฝูง แล้วนามาหาคา่ เฉลย่ี โดยใช้สูตรของ มานติ ย์ (2536) ดงั นี้

น้าหนักเฉลย่ี ของไก่ (กโิ ลกรัม) = น้าหนักไก่รวมของไก่ทีช่ ง่ั (กก.)
จานวนไก่ทงั้ หมดทีช่ ง่ั (ตวั )

6) นา้ หนักไข่ เป็นค่าเฉลีย่ ของน้าหนักไข่ที่ช่ังประมาณ 1-10 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กบั จานวนไข่ที่ผลิต
ได้ แล้วนามาคานวณค่าเฉลย่ี โดยใช้สตู รของ มานติ ย์ (2536) ดงั นี้

นา้ หนักไข่เฉลยี่ (กรัม) = น้าหนักไข่รวม (กรัม)
จานวนไขท่ ้ังหมดทช่ี งั่ ( ฟอง)

การเปลย่ี นอาหารเป็นเน้ือ FCR = อาหารท่ใี ชท้ ้ังหมด
นา้ หนกั ไก่ท่ีทัง้ หมด

อตั ราการตาย (%) = จานวนไก่ตาย + คดั ทง้ิ x 100
จานวนไกท่ ี่เรม่ิ ตน้ เลีย้ ง

อัตราการเลี้ยงรอด (%) = จานวนไก่ทเ่ี หลอื x 100
จานวนไกท่ ีเ่ ร่มิ ตน้ เลี้ยง

% การให้ไข่ = จานวนไข่ต่อวนั x 100
จานวนไกไ่ ข่ทเี่ ลยี้ ง

เปอรเ์ ซ็นต์การไข่/วัน (H.D.) = จานวนไข่ทีเ่ กบ็ ได้ท้งั หมดในวันนัน้ x 100
จานวนไก่ทั้งหมดทีม่ ีอยูใ่ นวันน้นั

เปอรเ์ ซน็ ต์การไข่/จานวนไกเ่ ร่ิมต้น (H.H.) = จานวนไขท่ ่ีเกบ็ ได้ทงั้ หมดในวันน้ัน x 100
จานวนไก่ไขเ่ ริม่ ตน้ (5%)

6. การสรา้ งกราฟบนั ทกึ การเลีย้ งไกไ่ ข่
เพื่อให้สะดวกต่อการติดตามประสิทธภิ าพการผลิตของฝูงสัตว์ปีกทเ่ี ล้ียง ขอ้ มลู ต่าง ๆ ท่ีบนั ทึกควร

จะถูกปรับให้อยู่ในรูปของข้อมูลต่อสัปดาห์ แต่ถึงกระนั้นการวิเคราะห์และติดตามผลยังค่อนข้างยุ่งยาก
ดังนั้น เราจึงต้องนาข้อมูลดังกล่าวมาสร้างให้อยู่ในรูปของกราฟพร้อมกับทากราฟมาตรฐานสาหรับข้อมูล
ต่าง ๆ ท่ีได้บนั ทึกไว้ เพื่อให้งา่ ยตอ่ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสภาพการผลติ ทีเป็นจริงในฟาร์ม
กับมาตรฐานประจาสายพันธุ์ ซึ่งจะเป็นตัวช้ีให้เห็นถึงสมรรถภาพ การผลิตของผู้เล้ียงและส่ิงต่าง ๆ ท่ีเป็น
ปจั จัยผันแปรท่ที าใหผ้ ลผลิตท่ีได้แตกตา่ งไปจากมาตรฐาน กราฟท่สี าคญั ๆ ไดแ้ ก่

1) กราฟแสดงผลผลิตไข่ เพ่ือติดตามความสม่าเสมอของผลผลิตไข่ โดยปกติเมื่อฝูงไก่เร่ิมให้
ผลผลิตได้ 5 % ของฝูงจะกาหนดใหเ้ ป็นสปั ดาห์แรกของการให้ผลผลิตไข่

2) กราฟแสดงปริมาณอาหารที่กิน เป็นการแสดงปริมาณอาหารที่ไก่กินในแต่ละสัปดาห์ต่อ
จานวนไก่ไข่ 100 ตัว เพอื่ นามาเปรียบเทียบกับผลผลติ ไขท่ ไ่ี ด้

3) กราฟแสดงน้าหนักตัวไก่ เป็นการแสดงน้าหนักตัวไก่ในแต่ละระยะเริ่มต้ังแต่ลูกไก่อายุ 1 วัน
จนถึงปลดจาหน่าย


Click to View FlipBook Version