The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

12 สุมาลี วิจัยเทอม 1 ปี 2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Thaninrat Kritchanthat Sirivisalsuwan, 2021-12-18 08:27:32

12 สุมาลี วิจัยเทอม 1 ปี 2564

12 สุมาลี วิจัยเทอม 1 ปี 2564





บนั ทกึ ขอ้ ความ

ส่วนราชการ โรงเรียนอนบุ าลพระสมทุ รเจดยี ์ สังกัด สำนกั งานเขตพืน้ ทกี่ ารศึกษาประถมศกึ ษาสมทุ รปราการ เขต 1
ท่ี วนั ที่ 30 พฤศจกิ ายน 2563
เรื่อง ส่งวิจัยในช้ันเรยี น เร่อื งผลการใชแ้ บบฝกึ สีสันการอา่ น โดยใช้สมองเป็นฐาน ทม่ี ีต่อความสามารถ
ในการอา่ นและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนกั เรียนระดับชัน้ ประถมศกึ ษาปีท่1ี /2
โรงเรยี นอนุบาลพระสมุทรเจดยี ์

เรยี น ผ้อู ำนวยการโรงเรยี นอนุบาลพระสมทุ รเจดีย์
ตามที่ข้าพเจ้า นางสาวสุมาลี ชูบุญ ตำแหน่ง ครู ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่การสอน

รายวชิ าภาษาไทย 11101 ชั้นประถมศึกษาปที ี่ 1 ปีการศกึ ษา 2563
บัดน้ีข้าพเจ้าได้ดำเนินการจัดทำวิจัยในช้ันเรียน เรื่องผลการใช้แบบฝึกสีสันการอ่าน โดยใช้

สมองเป็นฐาน ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนระดับช้ัน
ประถมศึกษาปีที่1/2 โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์เรียบร้อยแล้ว และขออนุญาตส่งวิจัยในชั้นเรียน
ประจำภาคเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2563 ซง่ึ แนบมาพร้อมเอกสารน้ี

จึงเรียนมาเพอื่ โปรดทราบและพิจารณาลงนาม

ลงชือ่ ..………………………….………………
(นางสาวสมุ าลี ชูบญุ )
ตำแหนง่ ครู

ความคดิ เห็นหัวหนา้ สายชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 ความคิดเห็นรองผู้อำนวยการฯฝา่ ยวิชาการ
......................................................................
....................................................................... .......................................................................
....................................................................... .......................................................................
....................................................................... ลงช่ือ ……………………………………………..
ลงชื่อ ……………………………………………..
(นายเสรมิ ชัย เลศิ ศักดพ์ิ ณิชย์)
(นางวภิ าดา ทองรตั น์) รองผูอ้ ำนวยการโรงเรยี นอนบุ าลพระสมุทรเจดีย์
หัวหน้าสายชนั้ ประถมศกึ ษาปีที่ 1
เรียนเสนอผู้อำนวยการ
........../......................../............. ทราบ
.......................................................................
.......................................................................

....................................................................... ค

ลงชื่อ …………………………………………….. .........................................................
(นางวิภาดา ทองรตั น์)
ลงชอ่ื ……………………………………………..
หวั หน้าสายช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 1 (นายเอกพงษ์ ตรเี นตร)

ผอู้ ำนวยการโรงเรยี นอนุบาลพระสมุทรเจดีย์



คำนำ

การจัดทำวิจัยเร่ืองผลการจดั กิจกรรมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สสี ันสรา้ งคำโดยการ
ใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย
ของนกั เรียนระดับช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรยี นอนุบาลพระสมทุ รเจดยี ์

มวี ัตถุประสงค์เพ่อื เปรยี บเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียน
ระดับช้ันประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา และเปรียบเทียบ
ความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนกั เรยี นระดับช้ันประถมศกึ ษาปีท่ี 1/2 โรงเรียน
อนุบาลพระสมุทรเจดีย์ หลังการกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้
สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม ซ่ึงผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไป
ประยุกตใ์ ช้กับหนว่ ยการเรยี นร้อู น่ื ๆ ไดเ้ ป็นอยา่ งดี

รายงานการวิจัยเลม่ น้ีสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดเี พราะได้รับความอนเุ คราะห์ ความช่วยเหลือ สนับสนนุ และ
ความรว่ มมือจากหลายบคุ คล ผูว้ จิ ยั จงึ ขอขอบคณุ ทุกทา่ นทมี่ ีส่วนรว่ มและให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจนทำให้
รายงานการวิจัยฉบับนี้สำเรจ็ ไดด้ ้วยดี คุณคา่ และประโยชน์ของรายงานการวิจยั ฉบับน้ีขอมอบเป็นเคร่ืองบูชา
พระคุณบิดามารดาครอู าจารยแ์ ละผู้ท่มี พี ระคุณทุกท่านท่ีช่วยใหง้ านวิจยั เลม่ น้ีสำเร็จลุล่วงด้วยดี

สมุ าลี ชูบญุ



ช่ือผู้วจิ ัย : นางสาวสมุ าลี ชบู ุญ
ชอื่ เรือ่ ง : ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใชส้ ีสนั สรา้ งคำโดยการใช้สมอง

เป็นฐานร่วมกบั เกมการศึกษา ที่มตี อ่ ความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ
ภาษาไทย ของนักเรียนระดบั ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ 1 โรงเรียนอนบุ าลพระสมทุ รเจดยี ์
ปีการศกึ ษา : ปกี ารศกึ ษา 2564

บทคดั ยอ่
การวิจัยครัง้ นเี้ ป็นการวิจัยเชงิ ทดลอง มวี ัตถุประสงค์เพื่อเปรยี บเทียบความสามารถในการอ่าน
และการเขยี นสะกดคำภาษาไทยของนกั เรียนระดบั ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 1/2 โรงเรยี นอนุบาลพระสมทุ รเจดีย์ ก่อน
และหลังการจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใชส้ สี ันสรา้ งคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกบั
เกมการศึกษา และเปรียบเทยี บความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรยี นระดบั ชน้ั
ประถมศกึ ษาปีท่ี 1/2 โรงเรียนอนบุ าลพระสมุทรเจดีย์ หลังการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ดว้ ย
การใช้สีสันสรา้ งคำโดยการใช้สมองเปน็ ฐานรว่ มกบั เกมการศึกษากับเกณฑร์ ้อยละ 75 ของคะแนนเตม็
กลมุ่ ตัวอยา่ งในการวิจยั คร้ังนค้ี ือ นักเรยี นชั้นประถมศกึ ษาปที ี่ 1 ภาคเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
1 ห้องเรียน รวมนักเรียน 32 คน โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ จากวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
(Purposive Sampling)
เคร่ืองมือท่ีใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสัน
สร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และแบบทดสอบวัด
ความสามารถในการอา่ นและการเขยี นสะกดคำภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปที ่ี 1 จำนวน 20 ขอ้
สถิตทิ ่ใี ชใ้ นการวเิ คราะห์ ไดแ้ ก่ คา่ เฉลย่ี (x̄) และสว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที
(t-test Dependent) และ (One Simple t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำ
โดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษามีคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ
ภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมนี ัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.นักเรียนท่ีร่วมกิจกรรมการ
เรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษามีคะแนน
ความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ท่ีกำหนดร้อยละ 75
ของคะแนนเตม็ อย่างมีนัยสำคญั ทางสถิติท่รี ะดบั .05

สารบัญ ค

คำนำ หนา้
บทคัดย่อ ก
บทท่ี 1 บทนำ ข
1
ความเปน็ มาและความสำคญั ของปญั หา 1
วัตถุประสงคข์ องการวิจยั 4
คำถามการวิจยั 4
สมมตฐิ านการวจิ ยั 4
ขอบเขตของการวจิ ยั 5
ประโยชนท์ ่คี าดวา่ จะได้รับ 6
นยิ ามศพั ทเ์ ฉพาะ 6
บทท่ี 2 เอกสารและงานวจิ ยั ที่เกยี่ วข้อง 8
เอกสารและงานวิจัยทเี่ กย่ี วขอ้ ง 8
กรอบแนวคดิ การวิจยั 24
บทท่ี 3 วิธดี ำเนนิ การวิจยั 25
ตวั แปร/สิ่งที่ตอ้ งการศึกษา 25
ประชากรและกลมุ่ ตวั อย่าง 25
เนื้อหาท่ีใช้ในงานวจิ ัย 25
เคร่ืองมือที่ใช้ในงานวิจัย 26
แผนการวิจยั 27
การวิเคราะหข์ อ้ มลู 29



สารบัญ (ต่อ)

หน้า

บทที่ 4 ผลการดำเนนิ การวจิ ัย 30

บทที่ 5 อภปิ รายผลการวิจยั และขอ้ เสนอแนะ 33

สรปุ ผลการวจิ ยั 34

อภิปรายผล 35

ขอ้ เสนอแนะ 39

รายการอ้างอิง/บรรณานกุ รม 40

ภาคผนวก ก แผนการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ 43
ด้วยการใชส้ ีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานรว่ มกบั เกมการศึกษา
ภาคผนวก ข แบบทดสอบวัดความสามารถในการอา่ นและการเขยี นสะกดคำ 48

ภาษาไทยระดบั ชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี 1 55
ภาคผนวก ค คะแนนความสามารถในการอา่ นและการเขยี นสะกดคำภาษาไทย 59
ของนักเรยี นช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 1/2 โรงเรียนอนบุ าลพระสมุทรเจดยี ์ 66
(กอ่ นเรียนและหลงั เรยี น) และตารางแสดงผลการวิเคราะหข์ ้อมลู output SPSS
ภาคผนวก ง ภาพการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้/การดำเนินการวจิ ยั
ประวัตผิ ู้วิจยั



สารบญั ตาราง

ตาราง หน้า

ตารางท่ี 1 เปรียบเทยี บค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอา่ นและการเขียนสะกดคำภาษาไทย 31
ระดบั ชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 1 โรงเรยี นอนุบาลพระสมทุ รเจดยี ์ กอ่ นและหลังการจัดกจิ กรรม 32
การเรยี นการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใชส้ ีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเปน็ ฐาน
รว่ มกบั เกมการศกึ ษา
ตารางท่ี 2 เปรียบเทียบค่าเฉลย่ี ของคะแนนความสามารถในการอา่ นและการเขียนสะกดคำภาษาไทย
ระดบั ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียนอนบุ าลพระสมุทรเจดยี ์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
แบบออนไลน์ ดว้ ยการใชส้ ีสนั สรา้ งคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา
กับเกณฑ์รอ้ ยละ 75 ของคะแนนเต็ม

1

บทท่ี 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคญั ของปัญหา
เน่ืองด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควดิ -19 ส่งผลให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ในรูปแบบ On site ท่ีโรงเรียนได้ อีกท้ังนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการบริหารจัดการภายใต้
สถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในจังหวัดท่ีถกู ประกาศใหเ้ ป็นพื้นที่
สีแดง สีสม้ หรือสเี หลือง หากมีเหตุจำเป็นต้องปิดเรียนทุกโรงเรียนในจังหวดั พื้นท่ีสีแดง ให้ดำเนินการจดั การ
เรียนการสอนใน 5 รูปแบบ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่น้ีคือ
1. ON-SITE คือให้มาเรียนตามปกติไดใ้ นพ้ืนทท่ี ี่ไม่ใช่สีแดง แต่ต้องเว้นระยะหรือลดจำนวนนักเรียนต่อห้องลง
สำหรบั จงั หวดั พ้ืนท่ีสีเขียว สามารถจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ตามปกติ 2. ON-AIR คือการออกอากาศ
ผ่าน DLTV เป็นตัวหลักในการกระจายการสอน โดยใช้โรงเรียนวังไกลกังวลเป็นฐานในการจัดการเรียน
การสอน สามารถดูได้ท้ังรายการท่ีออกตามตาราง และรายการที่ดูย้อนหลัง 3. ONLINE ให้ครูเป็นผู้จัดการ
เรียนการสอน ผ่านเครื่องมือที่ทางโรงเรียนกระจายไปสู่นักเรียน เป็นรูปแบบที่ถูกใช้ในการจัดการเรียนการ
สอนจำนวนมากที่สุด 4. ON-DEMAND เป็นการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ท่ีครูกับนักเรียนใช้ร่วมกัน
และ 5. ON-HAND หากจัดในรปู แบบอ่ืนๆ ทก่ี ล่าวมาไมไ่ ด้ ให้โรงเรียนจัดแบบ ON-HAND คอื จัดใบงานใหก้ ับ
นักเรียน เป็นลักษณะแบบเรียนสำเร็จรูป ให้นักเรียนรับไปเป็นชุดไปเรียนด้วยตัวเองท่ีบ้าน โดยมีครูออกไป
เย่ียมเป็นครั้งคราว หรือให้ผู้ปกครองทำหน้าท่ีเป็นครูคอยช่วยเหลือ เพ่ือให้นักเรียนสามารถเรียนได้อย่าง
ต่อเน่ือง ทั้งนี้โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ได้เลือกรูปแบบผสมผสานทัง้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
รูปแบบ ON-HAND เรียนท่ีบ้านด้วยเอกสารใบงาน และรูปแบบ ONLINE ครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน
ผ่านอนิ เทอรเ์ นต็ (สำนกั งานคณะกรรมการ การศึกษาขัน้ พื้นฐาน, 2564)

ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ เป็นภาษาท่ีคนไทยทุกคนต้องเรียนรู้ในฐานะที่เป็นเจ้าของภาษา
เพือ่ ให้ใช้ภาษาไทยไดอ้ ย่างถูกต้องในการติดต่อส่อื สารและการสืบสานภาษาไทยไวเ้ ป็นสมบตั แิ กล่ กู หลานต่อไป
รวมทั้งสามารถใช้ภาษาไทยเป็นเคร่ืองมอื เรียนรู้และเผยแพร่วิทยาการต่างๆ ประกอบกบั ปัจจุบันการใช้ภาษา
พูดและภาษาเขียนเปล่ียนแปลงไปมาก ผู้ท่ีอยู่ในวงการการศึกษาภาษาไทย ครูภาษาไทย นักเรียนและผู้ที่
สนใจภาษาไทย จึงควรรู้จักลักษณะของภาษาไทยและรเู้ ทา่ ทันการเปลย่ี นแปลงที่เกิดขึน้ เพ่ือให้สามารถเลือก
รับการเปลี่ยนแปลงของภาษาท่ีควรรับ สามารถแก้ไขการใช้ภาษาท่ีผิดหรือไม่เหมาะสม และเลือกใช้ภาษาท่ี
ถูกต้องได้ตามความประสงค์ (สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาข้ันพื้นฐาน. 2554: บทนำ) ทั้งนี้ภาษาเป็น
เครอ่ื งมือสอ่ื สารทมี่ คี วามสำคัญในการติดตอ่ สือ่ สาร ในการดำรงชีวติ ประจำวัน และภาษายังเป็นส่วนหนึง่ ของ
วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ภาษาไทยนับเป็นภาษาหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองซ่ึงแสดงถึงความเป็นไทย
เป็นมรดกของชาติ (กระทรวงศกึ ษาธกิ าร, 2551)

2

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ได้ระบุถึง
ทักษะการสอื่ สารไดแ้ ก่ ทักษะการพูด การฟงั การอา่ น และการเขยี น ซง่ึ เป็นเครื่องมอื ของการสง่ สารและการ
รับสารการส่งสารได้แก่ การส่งความรู้ ความเชื่อ ความคิด ความรู้สึกด้วยการพูด และการเขียน ส่วนการ
รบั สาร ไดแ้ ก่ การรับความรู้ ความเชื่อ ความคิดด้วยการอ่านและการฟัง การฝึกทักษะการสื่อสารจึงเป็นการ
ฝึกทกั ษะการพดู การฟังการอา่ นและการเขียนใหส้ ามารถรบั สารและสง่ สารอย่างมีประสิทธิภาพ ซง่ึ ถ้านักเรียน
ขาดทักษะเหล่าน้ีก็จะสง่ ผลเสียต่อการสอ่ื สาร ทำให้ไม่สามารถใช้ภาษาไทยในการดำเนินหรือติดต่อส่ือสารกับ
ผอู้ ่ืนชีวิตประจำวันได้ โดยทักษะการอ่านเป็นวธิ ีการหนง่ึ ทีม่ นุษย์สามารถใชแ้ สวงหาความรู้หรือช้อมูลต่างๆได้
เป็นอย่างดี ก้าวทันกับความเปล่ียนแปลง เป็นทักษะที่มนุษย์จะต้องทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ได้รับให้ชัดเจน
เพราะหากไม่ทำความเข้าใจ อาจทำให้เกิดความผิดพลาดไปจากความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะส่ือความ
นอกจากนี้ทักษะการเขียนเป็นทักษะสำคัญที่ใช้สำหรับถ่ายทอด บันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อ
ติดต่อส่ือสารกันระหว่างคนในสังคม ซึ่งแต่ละสังคมได้กำหนดสัญลักษณ์ในการสื่อความหมายแตกต่างกัน
ออกไป การเขยี นเป็นทกั ษะที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาของมนุษยใ์ นดา้ นต่างๆเป็นอยา่ งมาก มนุษย์มโี อกาส
พัฒนาศักยภาพของตนเองจากการเขียน (กอบกาญจน์ วงศ์วิสิทธ์ิ, 2551) ทั้งนี้เร่ิมจากการเขียนสะกดคำ
ระบบการเขียนภาษาไทย เป็นระบบที่ใช้ตัวอักษรแทนเสียง 3 ประเภท คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์
มาประกอบเป็นพยางค์และคำ ในการเขียนคำให้ถูกต้อง จำเป็นต้องศึกษาเรื่องการใช้สระ พยัญชนะ และ
วรรณยุกต์ ตลอดจนการเขยี นคำในลกั ษณะพิเศษต่างๆ (สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พื้นฐาน, 2554)

และการอา่ นแจกลกู สะกดคำ เป็นกระบวนการขัน้ พน้ื ฐานของการนำรูปคำ และเสยี งพยญั ชนะต้น รูป
และเสียงสระ รูปและเสียงวรรณยุกต์ รูปและเสียงตัวสะกดมาประสมกันทำให้ออกเสียงคำต่างๆ ที่มี
ความหมายในภาษาไทย เพื่อให้นักเรียนได้หลักเกณฑ์ทางภาษาท้ังการอ่านและการเขียนไปพร้อมกัน (อิงอร
สุพันธ์ุวณิช และคณะ, 2554) ท้ังนี้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ทั้งระดับประถมศึกษาและ
มัธยมศึกษา เนื่องมาจากหลายสาเหตุ ทั้งหลักสูตรการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ และเทคนิคการสอน
ของครู ในการสอนแจกลกู สะกดคำภาษาไทย ที่เนน้ วิธสี อนแบบบรรยาย ซึ่งไมส่ อดคลอ้ งกับรูปแบบการเรยี นรู้
ของนักเรียน เพราะนกั เรียนไม่มโี อกาสได้ฝึกคิดและมสี ่วนรว่ มในกจิ กรรม ทำให้ไม่เกิดการกระตุ้นสมองในการ
เรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนขาดความสนใจ สมองของนักเรียนจึงเกิดการเรียนรู้ได้ช้าและไม่เต็มตามศักยภาพ
ส่งผลให้มีปัญหาในการจดจำและเรียนรู้พยัญชนะ สระ และการประสมคำ เกิดเป็นปัญหาอ่านไม่ออกเขียน
ไม่ได้ ซ่ึงการอ่านและการเขียนสะกดคำล้วนเป็นพ้ืนฐานสำคัญในการเรียนรู้วิชาต่างๆ ถ้านักเรียนมีปัญหา
ในการอ่านและการเขียนสะกดคำ อ่านไม่ออก เขยี นไม่ได้ จะทำให้ไม่สามารถต่อยอดองค์ความรู้ไปสกู่ ารเรยี น
ในวิชาตา่ งๆได้

การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง (Brain – based Learning) ซึ่งการจัดการเรียนรู้ตาม

หลักการพฒั นาสมอง (Brain – based Learning) เปน็ รากฐานสําคัญในการเรียนรทู้ ่ี เหมาะสมกบั สถานการณ์

โลกในปัจจบุ ัน โดยมุ่งเน้นการจดั การเรียนรู้ และการอบรมเลี้ยงดเู ด็กที่สอดคลอ้ งกับธรรมชาตแิ ละการทาํ งาน

ของสมอง ให้เด็กได้ค้นพบตนเอง รู้ศักยภาพของตนเองมีความสามารถในการเรียนรู้ การทํางาน สามารถ

3

แก้ปญั หาในดา้ นวิชาชีพ รวมถงึ ปญั หาในชีวติ จริงได้ พรอ้ มรับมือกับโลกที่เปลยี่ นแปลงไปอยา่ งรวดเรว็ ผา่ นครู
ผ้ปู กครอง และผูม้ ีส่วนเกย่ี วขอ้ งในการจัดการเรียนรู้ใหแ้ กเ่ ดก็ (สำนกั งานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. 2558:
บทนำ) นอกจากน้ี อัครภูมิ จารุภากร และพรพิไล เลิศวิชา (2550) ได้กล่าวถึงหลักการสำคัญเก่ียวกับการ
เรยี นรูข้ องสมองไวด้ งั นี้ 1. สมองเกิดมาเพ่ือเรยี นรู้ รักท่ีจะเรยี นรู้ และรู้วิธีเรียน 2. เด็กเรียนรสู้ ่ิงท่ีตวั เองฝึกฝน
การฝึกทำให้เกิดความผิดพลาด การแก้ไขความผิด บกพร่อง การเรียนรู้จากสิ่งน้ัน พยายามทำอีก และทำอีก
ทำใหเ้ กิดการเรียนรู้ การทำและเรียนรู้จากความผิดพลาดเป็นส่วนท่ีจำเป็น และเป็นธรรมชาติของการเรียนรู้
3.เด็กเรียนรูส้ ิ่งทีฝ่ ึกปฏิบัติ เพราะเมื่อฝึกหัด สมองสร้างเดนไดรต์และเชอ่ื มโยงเข้าด้วยกันน่คี ือสงิ่ ทเ่ี รียกว่าการ
เรียนรู้ 4. การเรียนรู้ตอ้ งใช้ระยะเวลา เพราะจำเปน็ ต้องมีเวลาในการท่ีเดนไดรตจ์ ะเจริญและเชือ่ มโยงกัน การ
ใช้เวลาในแต่ละคนไม่เท่ากัน 5. หากเด็กไม่ได้ใช้สมอง ก็จะสูญเสียเซลล์ส่วนนั้นไป เพราะเดนไดรต์และ
ไซแนปส์สามารถสร้างข้ึนโดยการใช้งาน และสูญเสยี ไปถ้าไม่ไดใ้ ช้งาน 6. อารมณ์มีผลกระทบตอ่ ความสามารถ
ในการเรียนรู้ การคิด และการจำของสมอง ความกลัว ไม่แน่ใจ และสงสัยตนเอง ฯลฯ กีดกันสมองจากการ
เรยี น การคิด และจำ ความเชื่อม่นั ความสนใจ ฯลฯ ช่วยสมองให้เรยี นรู้ คิด และจดจำได้ดี 7. เด็กทุกคนย่อม
เกดิ มาเพ่ือเรียนร้ไู ด้โดยธรรมชาติเหมือนกนั

การจดั การเรียนการสอนในศตวรรษท่ี21 มีการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม Active learning สามารถ
ทำได้หลากหลาย เช่น การทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม การอภิปราย การส่ือสาร การแสดงบทบาทสมมติ การมี
ส่วนร่วมในช้ันเรียน ตัวอย่างเช่น กิจกรรม A class game เป็นการทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนการสอน
ผู้สอนอาจให้ผู้เรยี นได้เล่นเกมต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนสนุกสนานและเป็นการทบทวนความรู้ทำให้การเรียนรู้มี
ความหมายและอยู่คงทน โดยการนำเกมไปใช้สามารถทำได้ท้ังขน้ั สอนและการนำเข้าสบู่ ทเรียน หรอื แทรกไป
ในขั้นตอนการสอนบางขั้นตอน ขึ้นอยู่กับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผสู้ อน ซ่ึงการนำเกมไปใช้ใน
การสอนน้ัน สง่ ผลต่อพัฒนาการของผูเ้ รียน ท้ังร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สิ่งท่ีผสู้ อนควรคำนงึ ถึง
คือ การใช้เกมนั้นต้องทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของเรื่องทีเ่ รียน หรอื เป็นไปตามจดุ ประสงค์ของแผนการ
จดั การเรยี นรู้ (สคุ นธ์ สินธพานนท์ และคณะ,2562) ท้ังนี้รูปแบบการสอนโดยการใช้เกม เป็นวิธีการท่ีชว่ ยให้
ผู้เรียนได้เรียนรู้เร่ืองต่างๆอย่างสนุกสนาน และท้าทายความสามารถโดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับ
ประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง (ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, 2550) ซึ่งวิธีสอนโดยใช้เกม คือกระบวนการท่ีผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิด
การเรยี นรูต้ ามวัตถปุ ระสงค์ทกี่ ำหนด โดยการให้ผู้เล่น เล่นตามกติกา และนำเน้อื หาข้อมูลของเกม ผลการเล่น
เกมที่ได้มาใช้ในการอภิปรายเพ่ือสรปุ ผลการเรียนรู้ ซึ่งวิธีการสอนโดยใช้เกม ชว่ ยให้ผ้เู รียนได้เรยี นรู้เร่ืองต่างๆ
อยา่ งสนุกสนาน และท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เลน่ เอง ทำให้ไดร้ บั ประสบการณ์ตรง เป็นวธิ ีการท่ี
เปดิ โอกาสใหผ้ ูเ้ รยี นได้มสี ว่ นร่วมสูง และการเลือกใช้เกมนำมาใชส้ อนทำได้หลายวิธี ผู้สอนอาจเป็นผู้สรา้ งเกม

4

ข้ึนให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ของการสอนของตนก็ได้ หรืออาจนำเกมที่มีผู้สร้างขึ้นแล้วมาปรับดัดแปลงให้
เหมาะกับวัตถปุ ระสงค์ของการเรียนการสอน (ทิศนา แขมมณี, 2559)

จากสภาพปัญหาข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหาวิธีการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียน
สะกดคำภาษาไทย โดยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกบั เกมการศกึ ษามาประยกุ ต์ใช้กับการ
จดั กิจกรรมการเรยี นการสอนกลุม่ สาระการเรยี นรภู้ าษาไทย เพอ่ื พัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียน
สะกดคำภาษาไทยดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจทจี่ ะศึกษา ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์
ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา ท่ีมีต่อความสามารถในการอ่านและ
การเขียนสะกดคำภาษาไทย ของนักเรียนระดับช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์
เพื่ อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในวิชา ภาษาไทยท่ีสามารถพัฒน า
ใหเ้ กิดการเรียนรู้บรรลุวตั ถุประสงค์ได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของงานวิจยั
1. เพ่ือเปรียบเทยี บความสามารถในการอา่ นและการเขยี นสะกดคำภาษาไทยของนกั เรยี นระดับชนั้

ประถมศึกษาปที ่ี 1/2 โรงเรียนอนบุ าลพระสมุทรเจดยี ์ ก่อนและหลงั การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ
ออนไลน์ ด้วยการใช้สีสนั สรา้ งคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศกึ ษา

2. เพอ่ื เปรียบเทยี บความสามารถในการอา่ นและการเขยี นสะกดคำภาษาไทยของนักเรยี นระดับช้นั
ประถมศึกษาปีท่ี 1/2 โรงเรยี นอนบุ าลพระสมุทรเจดยี ์ หลังการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์
ด้วยการใชส้ ีสนั สรา้ งคำโดยการใช้สมองเป็นฐานรว่ มกบั เกมการศึกษากบั เกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม

คำถามการวิจัย
1. นักเรยี นชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี1/2 โรงเรียนอนบุ าลพระสมุทรเจดยี ์ ที่ร่วมกิจกรรมการเรยี นการสอน

แบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสรา้ งคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา จะมีความสามารถในการ
อา่ นและการเขยี นสะกดคำภาษาไทยหลังเรยี นสงู กว่าก่อนเรียนหรือไม่ อย่างไร

2. นกั เรยี นช้ันประถมศึกษาปีที่1/2 โรงเรยี นอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ ทรี่ ่วมกจิ กรรมการเรยี นการสอน
แบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา จะมีความสามารถใน
การอา่ นและการเขยี นสะกดคำภาษาไทยหลงั เรียนสงู กว่าเกณฑ์รอ้ ยละ 75 ของคะแนนเต็มหรอื ไม่ อย่างไร

สมมติฐานการวิจยั
1. ความสามารถในการอา่ นและการเขยี นสะกดคำภาษาไทยของนกั เรียนชน้ั ประถมศกึ ษาปที 1ี่ /2
โรงเรยี นอนบุ าลพระสมทุ รเจดีย์ ทีไ่ ด้รบั การจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้
สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกบั เกมการศึกษา หลังเรียนสูงกว่ากอ่ นเรยี นอยา่ งมีนัยสำคัญ
ทางสถิติท่ีระดบั .05

5

2. ความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนกั เรียนชนั้ ประถมศึกษาปีท1่ี /2

โรงเรยี นอนุบาลพระสมทุ รเจดยี ์ ทไี่ ดร้ บั การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้

สสี ันสร้างคำโดยการใช้สมองเปน็ ฐานร่วมกบั เกมการศึกษา หลังเรียนสงู กวา่ เกณฑ์รอ้ ยละ 75

ของคะแนนเต็มอย่างมนี ยั สำคญั ทางสถติ ิทรี่ ะดบั .05

ขอบเขตการวจิ ัย
1. ประชากรและกล่มุ ตัวอย่าง
ประชากรในการวิจยั ครัง้ น้ีคือ นักเรยี นชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 1 ของโรงเรยี นอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ สังกัด

สำนกั งานเขตพ้นื ที่การศึกษาประถมศกึ ษาสมทุ รปราการเขต 1 ภาคเรยี นที่ 1 ปีการศกึ ษา 2564
กล่มุ ตัวอย่างในการวิจยั ครั้งน้ีคอื นักเรียนชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี 1/2 ภาคเรยี นท่ี 1 ปีการศึกษา 2564

โรงเรยี นอนบุ าลพระสมุทรเจดยี ์ สังกัดสำนกั งานเขตพ้ืนท่กี ารศึกษาประถมศกึ ษาสมทุ รปราการเขต 1
จากวิธีการเลือกกลุ่มตวั อย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 32 คน

2. เนื้อหาวิชาที่ใช้ในการวิจัยคร้ังน้ี เป็นส่วนหน่ึงของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของระดับช้ัน
ประถมศึกษาปีที่1 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ของสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พื้นฐาน เรือ่ งการอา่ นและการเขียนสะกดคำ

สาระท่ี 1 การอา่ น มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสรา้ งความรู้และความคิดเพ่ือนำไปใช้ตดั สนิ ใจ
แก้ปัญหาในการดำเนนิ ชีวิต และมีนิสัยรกั การอา่ น ตัวชี้วัด ป.1/1 อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง และข้อความ
สั้นๆ สาระการเรียนรู้แกนกลาง การอ่านออกเสียงและบอกความหมายของคำ คำคล้องจองและข้อความที่
ประกอบด้วย คำพ้ืนฐาน คือ คำท่ีใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่น้อยกว่า 600 คำ รวมทั้งคำท่ีใช้เรียนรู้ในกลุ่มสาระ
การเรยี นรอู้ ื่น ประกอบด้วย คำทม่ี รี ูปวรรณยกุ ต์และไมม่ รี ูปวรรณยุกต์ คำท่มี ีตวั สะกดตรงตามมาตราและไมต่ รง
ตามมาตรา คำท่ีมีพยัญชนะควบกล้ำ คำที่มอี ักษรนำ

สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย
การเปล่ียนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตัวช้ีวัด ป.1/2 เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ สาระการเรียนรู้แกนกลาง การสะกดคำ การแจกลูก
และการอา่ นเปน็ คำ มาตราตวั สะกดทีต่ รงตามมาตราและไมต่ รงตามมาตรา การผนั คำ ความหมายของคำ

3. ระยะเวลาทีใ่ ชใ้ นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 12 สปั ดาห์ ในตารางเรยี นตามปกติ
4. ตัวแปรทศ่ี กึ ษา

4.1 ตัวแปรอิสระ คอื การจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ ดว้ ยการใชส้ ีสันสร้างคำ
โดยการใชส้ มองเป็นฐานรว่ มกบั เกมการศกึ ษา

4.2 ตัวแปรตาม คือ ความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนกั เรยี นชนั้
ประถมศกึ ษาปที ี่1/2 โรงเรียนอนุบาลพระสมทุ รเจดีย์

6

ประโยชน์ทค่ี าดวา่ จะไดร้ บั จากการวิจัย
เป็นแนวทางสำหรับครู ผูบ้ รหิ าร หรอื ผู้ท่ีสนใจจะนำรปู แบบการจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนแบบ

ออนไลน์ ด้วยการใช้สสี ันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานรว่ มกบั เกมการศกึ ษา ไปประยุกต์ใชใ้ นการพัฒนา
กจิ กรรมการเรียนการสอนในวชิ าภาษาไทยให้มีประสิทธภิ าพมากย่งิ ข้นึ

นิยามคำศพั ท์เฉพาะ :
การจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ หมายถงึ การจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนโดยใช้

คลปิ วดิ โี อผา่ นส่อื ออนไลน์ Youtube ช่อง อนบุ าลพระสมทุ รเจดีย์ และช่องหอ้ งเรียนครฝู ้าย ตามนโยบายของ
กระทรวงศกึ ษาธิการในการบรหิ ารจดั การภายใต้สถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019
(COVID-19) ในจงั หวดั ที่ถูกประกาศใหเ้ ป็นพื้นท่ีสีแดง สสี ้ม หรือสเี หลอื ง เรยี นผ่านอนิ เตอร์เนต็ ให้ครูเป็น
ผู้จัดการเรียนการสอน ผ่านเครือ่ งมือทท่ี างโรงเรยี นกระจายไปสนู่ กั เรยี น(สำนักงานคณะกรรมการ การศกึ ษา
ข้นั พื้นฐาน, 2564)

การใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐาน หมายถึง การจัดกิจกรรมการสอนอ่านและเขียน
สะกดคำสอดคล้องกับการทำงานตามโครงสร้างและหน้าที่ของสมองอย่างเป็นธรรมชาติ โดยการเรียนรู้จาก
ประสบการณ์ที่หลากหลาย(Caine and Caine, 2005) มีขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เน้นการสร้างบรรยากาศการ
เรียนรู้ที่ผ่อนคลาย ทบทวนความรู้เดิม ขั้นสอนเสนอความรู้ใหม่และฝึกทักษะแลกเปล่ียนเรียนรลู้ งมือปฏิบัติ
ร่วมกบั การใช้สีสนั เขา้ มาชว่ ยกระต้นุ สมองในการฝึกใหน้ ักเรียนอา่ นสะกดคำ โดยใชส้ ีดำแทนตัวพยัญชนะต้นให้
อ่านออกเสียงก่อนเป็นลำดับแรก สีแดงแทนสระ สีน้ำเงินแทนตัวสะกด และสีเขียวแทนวรรณยุกต์ ซึ่งช่วย
กระตุ้นสมองใหเ้ ด็กฝกึ อ่านและเขียนสะกดคำได้อย่างสนกุ สนาน ซง่ึ สอดคลอ้ งกบั หลักการใช้ส่อื และนวตั กรรม
ท่ีกระตุ้นสมอง Resources Innovation ควรใช้ส่ือและนวัตกรรมท่ีแปลกใหม่ น่าต่ืนเต้นมีสีสัน และขั้นสรุป
ความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ นักเรียนและครูผู้สอนจะมีการอภิปรายความรู้ร่วมกัน สามารถนำความรู้ไป
ประยกุ ตใ์ ชใ้ นการฝกึ อา่ นฝกึ เขียนคำ รวมถงึ การทำแบบฝึกหดั ต่างๆ

เกมการศึกษา หมายถงึ กระบวนการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนที่ผสู้ อนใชใ้ นการชว่ ยใหผ้ เู้ รียนเกิด
การเรียนรตู้ ามวัตถปุ ระสงค์ที่กำหนด โดยการใหผ้ เู้ ล่น เลน่ ตามกติกา และนำเนอ้ื หาข้อมลู ของเกม ผลการเล่น
เกมทีไ่ ด้มาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรปุ ผลการเรยี นรู้ ซึ่งวธิ ีการสอนโดยใช้เกม ช่วยให้ผเู้ รียนไดเ้ รยี นรูเ้ ร่ืองต่างๆ
อย่างสนุกสนาน และท้าทายความสามารถ โดยผเู้ รียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ไดร้ ับประสบการณ์ตรง เปน็ วธิ ีการท่ี
เปดิ โอกาสให้ผู้เรียนได้มีสว่ นร่วมสูง และการเลอื กใช้เกมนำมาใช้สอนทำได้หลายวิธี ผู้สอนอาจเป็นผสู้ ร้างเกม
ขึ้นให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ของการสอนของตนก็ได้ หรืออาจนำเกมท่ีมีผู้สร้างข้ึนแล้วมาปรับดัดแปลงให้
เหมาะกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน(ทิศนา แขมมณี, 2559) ซึ่งการนำเกมไปใช้สามารถทำได้ทั้งข้ัน
สอนและการนำเข้าสบู่ ทเรียน หรือแทรกไปในขนั้ ตอนการสอนบางขัน้ ตอน ขน้ึ อยูก่ ับการออกแบบกจิ กรรมการ
เรียนรู้ของครูผู้สอน (สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ,2562) โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผน

7

การจดั กิจกรรมการเรียนรู้ รปู แบบออนไลน์ กล่มุ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี 1 มกี าร
ใช้เกมการศึกษาในขน้ั ขั้นสอน (เสนอความรู้ใหม่และฝกึ ทักษะแลกเปล่ยี นเรียนรลู้ งมือปฏิบตั ิ)

ความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ หมายถึง ความสามารถอันเป็นผลมาจาก
ประสบการณ์การเรยี นรู้ทผ่ี เู้ รียนไดร้ ับจากการสอนในชว่ งระยะเวลาใดเวลาหน่ึง จากการตอบคำถามโดยวดั ผล
คะแนนของนักเรียนท่ีได้จากการทำแบบทดสอบความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำท่ีผู้วิจัย
สร้างขน้ึ โดยความสามารถในการอา่ นแจกลูกสะกดคำ เป็นกระบวนการข้ันพื้นฐานของการนำรูปคำ และเสียง
พยัญชนะต้น รูปและเสียงสระ รูปและเสียงวรรณยุกต์ รูปและเสียงตัวสะกดมาประสมกันทำให้ออกเสียง
คำต่างๆ ที่มีความหมายในภาษาไทย (อิงอร สุพันธุ์วณิช และคณะ, 2554) และความสามารถในการเขียน
สะกดคำ ระบบการเขียนภาษาไทย เป็นระบบท่ีใช้ตัวอักษรแทนเสียง 3 ประเภท คือ สระ พยัญชนะ และ
วรรณยุกต์ มาประกอบเป็นพยางค์และคำ ในการเขียนคำให้ถูกต้อง จำเป็นต้องศึกษาเรื่องการใช้สระ
พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ตลอดจนการเขียนคำในลักษณะพิเศษต่างๆ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้ันพ้นื ฐาน, 2554)

8

บทท่ี 2
เอกสารและงานวจิ ัยทีเ่ กย่ี วขอ้ ง

การวิจยั เรือ่ งผลการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสรา้ งคำโดยการใช้สมอง
เปน็ ฐานร่วมกับเกมการศกึ ษา ท่ีมีตอ่ ความสามารถในการอา่ นและการเขียนสะกดคำภาษาไทย ของนักเรยี น
ระดบั ช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรยี นอนุบาลพระสมุทรเจดยี ์ ผู้วจิ ยั ไดศ้ กึ ษาแนวคดิ ทฤษฎี จากตำรา เอกสาร
และงานวจิ ยั ท่ีเกยี่ วข้อง ดังน้ี

1. เอกสารท่เี กย่ี วข้องกบั กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
พุทธศักราช 2551

2. การจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์
3. เอกสารทีเ่ กย่ี วข้องกับเกมการศึกษา
4. เอกสารท่เี กยี่ วขอ้ งกับการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้โดยใชส้ มองเป็นฐาน
5. เอกสารที่เก่ยี วข้องกับความสามารถในการอ่านและการเขยี นสะกดคำภาษาไทย
6. งานวิจัยท่ีเกี่ยวขอ้ ง

1. เอกสารที่เก่ียวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ัน
พนื้ ฐานพทุ ธศักราช 2551

หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้นั พืน้ ฐานพุทธศักราช 2551กลมุ่ สาระการเรียนร้ภู าษาไทย
ได้กล่าวถึงความสำคญั เกย่ี วกับการเรยี นกลมุ่ สาระการเรียนร้ภู าษาไทย ดงั นี้

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและ
เสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทยเป็นเคร่ืองมือในการติดต่อส่ือสารเพื่อสร้างความเข้าใจ
และความสัมพันธ์ท่ีดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม
ประชาธิปไตยได้อย่างสันตสิ ุข และเปน็ เครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศ
ตา่ งๆ เพอ่ื พฒั นาความรู้ พฒั นากระบวนการคดิ วเิ คราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรคใ์ ห้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทาง
สังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความม่ันคง
ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นส่ือแสดงภมู ปิ ัญญาของบรรพบรุ ุษดา้ นวฒั นธรรม ประเพณี และสนุ ทรียภาพ
เปน็ สมบัติลำ้ คา่ ควรแกก่ ารเรียนรู้ อนรุ กั ษ์ และสืบสานใหค้ งอยูค่ ู่ชาติไทยตลอดไป

ภาษาไทยเป็นทักษะทีต่ อ้ งฝึกฝนจนเกดิ ความชำนาญในการใช้ภาษาเพอื่ การสื่อสาร การเรยี นรอู้ ย่างมี
ประสทิ ธิภาพ และเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจรงิ

9

• การอ่าน การอ่านออกเสียงคำ ประโยค การอ่านบทร้อยแก้ว คำประพันธ์ชนิดต่างๆ
การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากส่ิงท่ีอ่านเพื่อนำไปปรับใช้
ในชวี ิตประจำวัน

• การเขียน การเขียนสะกดตามอักขรวิธี การเขียนสื่อสาร โดยใช้ถ้อยคำและรูปแบบต่างๆ ของการ
เขยี น ซ่ึงรวมถงึ การเขียนเรยี งความ ย่อความ รายงานชนิดตา่ งๆ การเขียนตามจินตนาการ วิเคราะห์วจิ ารณ์
และเขียนเชงิ สร้างสรรค์

• การฟัง การดู และการพูด การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ การพูดแสดงความคิดเห็น
ความรู้สึก พูดลำดับเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล การพูดในโอกาสต่างๆ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็น
ทางการ และการพดู เพ่ือโน้มนา้ วใจ

• หลกั การใช้ภาษาไทย ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสม
กบั โอกาสและบุคคล การแต่งบทประพันธ์ประเภทตา่ งๆ และอทิ ธพิ ลของภาษาตา่ งประเทศในภาษาไทย

• วรรณคดีและวรรณกรรม วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพ่ือศกึ ษาข้อมูล แนวความคิด คุณค่า
ของงานประพันธ์ และความเพลิดเพลิน การเรียนรู้และทำความเข้าใจบทเห่ บทร้องเล่นของเด็ก
เพลงพ้นื บา้ นท่ีเป็นภูมิปัญญาที่มีคณุ คา่ ของไทย ซึง่ ไดถ้ า่ ยทอดความรู้สึกนึกคิด ค่านยิ ม ขนบธรรมเนียมประเพณี
เร่ืองราวของสังคมในอดีต และความงดงามของภาษา เพ่ือให้เกิดความซาบซ้ึงและภูมิใจในบรรพบุรุษท่ีได้สั่งสม
สบื ทอดมาจนถงึ ปัจจุบัน (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน พ.ศ. 2551)
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 การอา่ น
มาตรฐาน ท 1.1 ใชก้ ระบวนการอ่านสรา้ งความร้แู ละความคิดเพือ่ นำไปใชต้ ดั สนิ ใจ

แกป้ ัญหาในการดำเนนิ ชวี ติ และมีนสิ ัยรกั การอา่ น
สาระที่ 2 การเขยี น
มาตรฐาน ท 2.1 ใชก้ ระบวนการเขยี นเขียนส่ือสาร เขยี นเรยี งความ ย่อความ และเขียนเรื่องราว

ในรูปแบบตา่ งๆ เขยี นรายงานขอ้ มูลสารสนเทศและรายงานการศกึ ษาค้นคว้าอย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอยา่ งมีวจิ ารณญาณ และพดู แสดงความรู้ ความคิด

และความรู้สกึ ในโอกาสตา่ งๆ อย่างมวี ิจารณญาณและสรา้ งสรรค์
สาระท่ี 4 หลกั การใชภ้ าษาไทย
มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลกั ภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของ

ภาษาและพลังของภาษา ภมู ิปญั ญาทางภาษา และรกั ษาภาษาไทยไว้เป็นสมบตั ิของชาติ
สาระท่ี 5 วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณว์ รรณคดีและวรรณกรรมไทยอยา่ งเห็นคุณค่า

และนำมาประยกุ ตใ์ ชใ้ นชวี ิตจริง

คุณภาพผเู้ รียน เม่ือจบชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี ๓

10

• อ่านออกเสียงคํา คําคล้องจอง ข้อความ เร่ืองสน้ั ๆ และบทร้อยกรองง่ายๆ ได้ถูกตอ้ ง คล่องแคล่ว
เข้าใจความหมายของคําและข้อความท่ีอ่าน ตั้งคําถามเชิงเหตุผล ลําดับเหตุการณ์ คาดคะเนเหตุการณ์ สรุป
ความรู้ข้อคิดจากเร่ืองท่ีอ่าน ปฏิบัติตามคําสั่ง คําอธิบายจากเรื่องที่อ่านได้ เข้าใจความหมายของข้อมูลจาก
แผนภาพ แผนท่ี และแผนภมู ิ อ่านหนังสอื อยางสม่ำเสมอ และมมี ารยาทในการอ่าน

• มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด เขียนบรรยาย บันทึกประจําวัน เขียน จดหมายลาครู
เขียนเรือ่ งเก่ยี วกบั ประสบการณ์ เขยี นเรอ่ื งตามจนิ ตนาการและมมี ารยาทในการเขยี น

• เล่ารายละเอยี ดและบอกสาระสําคัญ ต้ังคาํ ถาม ตอบคําถาม รวมท้ังพูดแสดงความคิด ความรู้สึก
เกยี่ วกับเร่ืองท่ีฟังและดู พูดส่ือสารเล่าประสบการณ์และพูดแนะนํา หรือพูดเชญิ ชวนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม และมี
มารยาทในการฟงั ดู และพดู

• สะกดคําและเขา้ ใจความหมายของคาํ ความแตกตางของคาํ และพยางค์ หน้าที่ของคํา ในประโยค
มีทักษะการใช้พจนานุกรมในการค้นหาความหมายของคํา แต่งประโยคง่ายๆ แต่งคําคลองจอง แต่งคําขวัญ
และเลอื กใชภ้ าษาไทยมาตรฐานและภาษาถ่ินได้เหมาะสมกบั กาลเทศะ

• เข้าใจและสามารถสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมเพ่ือนําไปใช้ใน
ชีวติ ประจําวัน แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีท่อี ่าน รู้จักเพลงพน้ื บ้าน เพลงกล่อมเดก็ ซ่ึงเป็นวัฒนธรรมของ
ท้องถ่ิน ร้องบทร้องเล่นสําหรับเด็กในท้องถ่ิน ท่องจําบทอาขยานและบทร้อยกรอง ที่มีคุณค่าตามความ
สนใจได้
ตัวชว้ี ัดและสาระการเรยี นรู้แกนกลางท่เี กยี่ วข้องกบั เร่อื งการอ่านและการเขยี นสะกดคำภาษาไทย ไดแ้ ก่

สาระท่ี 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรแู้ ละความคดิ เพื่อนำไปใช้ตัดสนิ ใจ แกป้ ัญหาในการ
ดำเนินชีวติ และมีนสิ ัยรักการอา่ น
ตวั ชวี้ ัด ป.1/1 อ่านออกเสียงคำ คำคลอ้ งจอง และขอ้ ความสนั้ ๆ อกั ษรนำ
สาระการเรยี นรแู้ กนกลาง การอา่ นออกเสียงและบอกความหมายของคำ คำคล้องจอง และข้อความ
ท่ีประกอบด้วย คำพื้นฐาน คือ คำท่ใี ช้ในชีวติ ประจำวนั ไม่น้อยกว่า 600 คำ รวมทั้งคำที่ใช้เรยี นรใู้ น
กล่มุ สาระการเรียนรอู้ ื่น ประกอบด้วย คำทมี่ ีรปู วรรณยุกต์และไม่มีรปู วรรณยกุ ต์ คำที่มตี ัวสะกดตรง
ตามมาตราและไมต่ รงตามมาตรา คำท่ีมพี ยญั ชนะควบกลำ้
สาระท่ี 4 หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลย่ี นแปลงของภาษาและพลงั
ของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เปน็ สมบตั ขิ องชาติ
ตวั ชี้วัด ป.1/2 เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ
สาระการเรยี นร้แู กนกลาง การสะกดคำ การแจกลูก และการอ่านเป็นคำ มาตราตวั สะกดทีต่ รงตาม
มาตราและไมต่ รงตามมาตรา การผันคำ ความหมายของคำ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพนื้ ฐานกระทรวงศึกษาธิการ, 2551)

11

จากข้อมลู ข้างตน้ เกยี่ วกับกลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน
พทุ ธศักราช 2551 ผ้เู รยี นต้องเกิดองค์ความรเู้ กี่ยวกบั คำภาษาตา่ งประเทศในภาษาไทย ซึ่งครผู สู้ อนต้อง
ออกแบบกิจกรรมการเรยี นรูใ้ หส้ อดคลอ้ งกบั ตวั ชีว้ ดั เนื้อหาและสาระการเรยี นร้แู กนกลาง เพือ่ ใหผ้ ูเ้ รียนเกดิ
ความรู้ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์

2. เอกสารท่เี กี่ยวข้องกบั การจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์
2.1 ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์
นโยบายของกระทรวงศกึ ษาธิการในการบริหารจัดการภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
เช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในจังหวัดที่ถูกประกาศให้เป็นพ้ืนที่สีแดง สีส้ม หรือสีเหลือง หากมีเหตุ
จำเป็นต้องปิดเรียนทุกโรงเรียนในจังหวัดพื้นที่สีแดง ให้ดำเนินการจัดการเรยี นการสอนใน 5 รูปแบบ เพือ่ ให้มี
ความเหมาะสมต่อการรับมอื กับการแพรร่ ะบาดระลอกใหมน่ คี้ ือ 1. ON-SITE คือใหม้ าเรียนตามปกตไิ ด้ในพ้นื ท่ี
ท่ีไม่ใช่สีแดง แต่ต้องเว้นระยะหรือลดจำนวนนักเรียนต่อห้องลง สำหรับจังหวัดพื้นที่สีเขียว สามารถจัดการ
เรียนการสอนในโรงเรียนได้ตามปกติ 2. ON-AIR คือการออกอากาศผ่าน DLTV เป็นตัวหลักในการกระจาย
การสอน โดยใช้โรงเรียนวังไกลกังวลเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน สามารถดูได้ท้ังรายการท่ีออกตาม
ตาราง และรายการที่ดูย้อนหลัง 3. ONLINE ให้ครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน ผ่านเคร่ืองมือที่ทางโรงเรียน
กระจายไปสู่นักเรียน เป็นรูปแบบท่ีถูกใช้ในการจดั การเรยี นการสอนจำนวนมากท่ีสุด 4. ON-DEMAND เป็น
การใช้งานผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ครูกับนักเรียนใช้ร่วมกันและ 5. ON-HAND หากจัดในรูปแบบอ่ืนๆ ท่ี
กล่าวมาไมไ่ ด้ ให้โรงเรยี นจัดแบบ ON-HAND คือจัดใบงานให้กับนักเรียน เป็นลักษณะแบบเรียนสำเร็จรูป ให้
นกั เรียนรับไปเป็นชดุ ไปเรยี นด้วยตัวเองที่บ้าน โดยมีครูออกไปเย่ียมเปน็ ครั้งคราว หรือให้ผู้ปกครองทำหน้าที่
เป็นครูคอยช่วยเหลือ เพ่ือให้นักเรียนสามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ท้ังน้ีโรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ได้
เลือกรูปแบบผสมผสานทั้ง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบ ON-HAND เรียนที่บ้านด้วยเอกสารใบ
งาน และรปู แบบ ONLINE ครูเป็นผู้จัดการเรยี นการสอนผา่ นอินเทอรเ์ น็ต(สำนกั งานคณะกรรมการ การศึกษา
ข้นั พื้นฐาน, 2564)
การแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ทำให้
เกดิ การปรบั ตวั เปน็ วิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะสถาบันทางการศึกษาทีไ่ มส่ ามารถจดั การเรยี น
การสอนแบบปกติได้ จึงจำเป็นต้องใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้การเรียนรู้เกิดความ
ต่อเน่ือง การเรียนการสอนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เน้ือหา สื่อการเรียนและแหล่ง
เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ระบบการติดต่อส่ือสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและ
การประเมินผล รูปแบบการเรียนการสอนมีหลากหลายวธิ ี ที่ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏสิ ัมพนั ธ์รว่ มกันไดก้ าร
พิจารณาองค์ประกอบและรูปแบบที่สอดคล้อง เหมาะสมกับลกั ษณะวิชา และบริบทของผู้เรียนจะนำไปสู่การ
ประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลใหผ้ ู้เรียนเกิดผลลพั ธ์การ
เรียนรู้ตามวตั ถุประสงค์ (วทิ ยา วาโยและคณะ, 2563)
การเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) จัดเป็นนวตั กรรมทางการศึกษาในอีกรปู แบบหน่ึงซ่ึง
สามารถเปล่ียนแปลงวิธีเรียนในรูปแบบเดิมให้เป็นการเรียนใหม่ ท่ีใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำการสอน

12

นอกจากนี้ความหมายอกี นยั หนง่ึ ยังหมายถึง การเรยี นทางไกล , การเรยี นผา่ นเว็บไซต์ การเรียนการสอนแบบ
ออนไลน์ (Online learning) จะเป็นการเรยี นทางผ่านทางอินเทอร์เน็ตใช้เทคโนโลยสี มัยใหม่ รวมกบั เครือขา่ ย
อนิ เทอร์เน็ต สรา้ งการศกึ ษาที่มีปฏิสัมพันธ์คณุ ภาพสูง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทาง เกิดความสะดวกและเข้าถึง
ได้อย่างรวดเรว็ ทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นการสรา้ งการศึกษาตลอดชีวิตให้กบั ประชากร การเรียนการสอนแบบ
ออนไลน์ เป็นการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความชอบของ
ตนเอง ในส่วนของเน้อื หาของเรียน ประกอบด้วย ข้อความ, รูปภาพ, เสียง , VDO และMultimedia อืน่ ๆ สิ่ง
เหล่านี้จะถูกสง่ ตรงไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser ทั้งผู้เรียนผู้สอน และเพ่ือนร่วมชั้นทุกคน สามารถติดต่อ
สื่อสาร ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนทั่วไป โดยการใช้ E-mail, Chat,
Social Network เป็นต้น ดว้ ยเหตุนี้การเรยี นรแู้ บบออนไลน์ จึงเป็นรูปแบบท่ีเหมาะสำหรับทุกคนเรยี นได้ทุก
เวลา (สำนกั งานเขตพน้ื ท่กี ารศกึ ษาเพชรบรู ณ์ เขต 3, 2564)

จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้วา่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นรูปแบบการจัดการ
เรียนการสอนในสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายของ
กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ต ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
รวมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเรียนการสอนแบบออนไลน์มีองคป์ ระกอบ ไดแ้ ก่ ผู้สอน ผู้เรียน เน้ือหา ส่ือ
การเรียนและแหล่งเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยี
สารสนเทศ การวัดและการประเมินผล รูปแบบการเรียนการสอนมีหลากหลายวธิ ี ท่ีทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมี
ปฏิสมั พันธ์ร่วมกันได้การพจิ ารณาองค์ประกอบและรูปแบบที่สอดคล้อง เหมาะสมกับลักษณะวิชา และบริบท
ของผเู้ รียนจะนำไปสู่การประยุกตใ์ ช้สำหรบั การจัดการเรยี นการสอนแบบออนไลน์อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ

3. เอกสารที่เกีย่ วขอ้ งกบั เกมการศึกษา
3.1 ความหมายของเกม
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่21 มีการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม Active learning

สามารถทำได้หลากหลาย เช่น การทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม การอภิปราย การสื่อสาร การแสดงบทบาทสมมติ
การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตัวอย่างเช่น กิจกรรม A class game เป็นการทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนการ
สอน ผสู้ อนอาจใหผ้ ูเ้ รยี นได้เล่นเกมต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนสนุกสนานและเป็นการทบทวนความรู้ โดยการนำเกม
ไปใช้สามารถทำได้ทั้งขนั้ สอนและการนำเข้าสู่บทเรียน หรอื แทรกไปในขนั้ ตอนการสอนบางข้ันตอน ข้ึนอยกู่ ับ
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของครผู ้สู อน ซง่ึ การนำเกมไปใชใ้ นการสอนนัน้ สง่ ผลต่อพัฒนาการของผ้เู รยี น
ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ส่ิงท่ีผู้สอนควรคำนึงถึงคือ การใช้เกมน้ันต้องทำให้ผู้เรียนบรรลุ
วัตถปุ ระสงค์ของเร่ืองท่ีเรียน หรอื เป็นไปตามจดุ ประสงคข์ องแผนการจัดการเรียนรู้ (สุคนธ์ สนิ ธพานนท์ และ
คณะ, 2562) ท้ังนีผ้ ้เู รยี นเล่นเกมท่มี ีกฎเกณฑ์ กติกา เงื่อนไข หรอื ข้อตกลงร่วมกันที่ไม่ยุง่ ยากซบั ซ้อนทำใหเ้ กิด
ความสนุกสนาน ร่าเริง เปน็ การออกกำลังกาย เพ่ือพัฒนาความคดิ สรา้ งสรรค์ มีโอกาสแลกเปล่ียนความรู้ และ
ประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น โดยมกี ารนำเน้ือหา ข้อมูลของเกมพฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่นและผล
การเลน่ เกมมาใช้ในการอภิปรายเพ่ือสรุปผลการเรียนรู้ ซึง่ วิธีสอนโดยใช้เกม คอื กระบวนการทผี่ ู้สอนใช้ในการ

13

ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เล่น เล่นตามกติกา และนำเน้ือหาข้อมูล
ของเกม ผลการเล่นเกมที่ได้มาใช้ในการอภิปรายเพอื่ สรุปผลการเรยี นรู้ ซึ่งวธิ ีการสอนโดยใช้เกม ช่วยให้ผู้เรียน
ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างสนุกสนาน และท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับ
ประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการท่ีเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมสูง (ทิศนา แขมมณี, 2559) ทั้งนี้เกมท่ีนำมา
สอนส่วนใหญ่จะเป็นเกมท่ีเรียกว่า “เกมการศึกษา” คือเป็นเกมท่ีมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เล่นเกิดการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ มิใช่เล่นเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น (ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ศรนี ครินทรวโิ รฒ ปทุมวนั , 2550)

จากความหมายของเกมท่ีกล่าวมาข้างตน้ สรุปไดว้ า่ เกม หมายถึง กจิ กรรมหรอื การเลน่ ท่ีทำให้เดก็ เกิด
ความรตู้ ามวัตถุประสงค์ สอดคล้องกบั เนอ้ื หาทเี่ รียน สร้างความสนใจและเร้าความสนใจในการเรยี น เกดิ ความ
สนุ กสนาน เพลิดเพลิน ผอ่ นคลาย ซ่ึงตอ้ งกำหนดกฎเกณฑ์หรือกติกาการเลน่ กระบวนการเล่น การนำเกมไป
ใช้น้ัน ช่วยพัฒนาทักษะด้านร่างกายและการเรียนรู้ส่งเสริมความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ และความสัมพันธ์ที่ดี
ต่อกนั ส่งผลตอ่ พฒั นาการของผูเ้ รยี น ท้ังร่างกาย อารมณ์ สงั คม และสตปิ ญั ญา

3.2 การจัดกจิ กรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม
การเลอื กใช้เกมนำมาใช้สอนทำไดห้ ลายวิธี ผูส้ อนอาจเปน็ ผสู้ ร้างเกมขึ้นให้เหมาะกับวัตถปุ ระสงค์ของ
การสอนของตนก็ได้ หรืออาจนำเกมทมี่ ีผู้สร้างขนึ้ แล้วมาปรับดัดแปลงให้เหมาะกบั วัตถุประสงค์ หากเป็นการ
ดัดแปลง ผู้สอนต้องศึกษาเกมนั้นให้เข้าใจก่อน แล้วจึงดัดแปลงและทดลองใช้ก่อน สำหรับการนำเกม
การศกึ ษามาใชน้ ั้น ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาเกมนั้นใหเ้ ข้าใจและทำลองเล่นเกมก่อน เพื่อจะได้เห็นประเด็นและ
ข้อขัดข้องต่างๆอันจะช่วยให้มีการป้องกันหรือแก้ไขไว้ล่วงหน้า และเนื่องจากเกมแต่ละเกมมีวิธีการเล่นไม่
เหมือนกัน ผสู้ อนควรจัดลำดับข้นั ตอนและการใหร้ ายละเอียดทชี่ ัดเจน ช้ีแจงวิธกี ารเล่นและกติกาการเล่นเกม
ซ่ึงกติกาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเล่นเกม เพราะกติกานั้นต้ังข้ึนเพื่อควบคุมให้การเล่นเกมเป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ ในการเล่นเกม ผู้สอนควรจัดสถานทใ่ี ห้อยู่ในสภาพท่เี ออื้ ต่อการเลน่ ควบคุมเวลาในการเล่นดว้ ย
และในขณะที่ผู้เลน่ กำลังเล่นเกม ผู้สอนควรติดตามสังเกตพฤติกรรมการเล่น และบันทึกข้อมลู ไว้เพ่ือนำมาใช้
อภิปรายหลังการเล่น การอภิปรายหลังการเล่นสำคัญมาก และจุดเน้นของเกมอยู่ที่การเรียนรู้ยุทธวิธีต่างๆ
ท่ีจะเอาชนะอุปสรรค เพ่ือไปให้ถึงเป้าหมายการเรียนรู้เน้ือหาสาระจากเกมน้ัน ควรอภิปรายในประเด็นว่า
ผเู้ รียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระอะไรจากเกมบ้าง มีความเข้าใจในเน้ือหาสาระอยา่ งไร ได้ความรู้จากการเลน่ เกม
ตรงส่วนใด เป็นต้น (ทิศนา แขมมณี,2559) นอกจากนี้การเตรียมบทบาทของผู้สอน ก่อนการใช้กิจกรรม ครู
เตรียมเอกสารความรู้เกย่ี วกับเรือ่ งที่จะสอน ศึกษาวิธีการเลน่ เกม และเตรยี มอุปกรณ์ตา่ งๆให้ครบตามจำนวน
ในข้ันระหว่างเล่น ครูแจกเอกสารความรู้ และเกม อธิบายกติกา วิธีการเล่นแก่ผู้เรียน แล้วให้กลุ่มผู้เรียนเล่น
เวลาที่กำหนด ในขั้นหลังการใช้กิจกรรม ครูและนักเรียนร่วมกันสรปุ เนื้อหาความรู้ท่ีได้จากการเล่นเกม และ
ประเมินตนเอง (ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, 2550) นอกจากนี้ครูควร
เลอื กเกมในการสอนโดยคำนึงถงึ สภาพชั้นเรยี น จำวน อายุ ระดับช้ัน เน้ือหาสาระ และจดุ ประสงค์การเรียนรู้
ควรคำนึงถึงความปลอดภัย ความคุ้มค่าในการลงทุนในวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกม ความเหมาะสมกับ

14

บทเรียน และควรคำนึงถึงจิตวิทยาพัฒนาการของผเู้ รียนที่จะเล่นเกม ทั้งนี้อุปกรณ์การเล่นเกมควรจัดหาง่าย
และราคาไม่แพง ซง่ึ มีข้นั ตอนการใชเ้ กมประกอบการสอน คือ

1.บอกชือ่ เกมและจุดประสงค์ของการเลน่ เกมใหผ้ ้เู รียนทราบ
2.จดั สภาพผ้เู รียนใหอ้ ยใู่ นลกั ษณะท่ตี อ้ งการ
3.อธบิ ายกติกาการเล่นและเวลาในการเล่น
4.สาธิตใหผ้ เู้ รียนดูเพอ่ื ความเขา้ ใจและเปิดโอกาสให้ซกั ถาม
5.เรม่ิ เลน่ เกม ใหผ้ ้เู รยี นมีส่วนร่วม
6.เม่ือเกมจบแล้ว ประกาศผู้ชนะมอบรางวัล และสรุปประเด็นที่ได้จากเกม (สุคนธ์ สินธพานนท์
,2561) นอกจากน้สี คุ นธ์ สินธพานนท์และคณะ (2562) ได้กำหนดการสอนโดยใชเ้ กมมี 4 ขนั้ ตอน ไดแ้ ก่
1.ขั้นนำ ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์ ทบทวนการเรียน หรือเร้าความสนใจโดยซักถาม ให้ตัวอย่าง
ทายปญั หา ฯลฯ
2.ขนั้ สอน ผู้สอนนำเสนอเกม ชีแ้ จงวธิ ีการเล่นเกม โดยการแบง่ กลุ่ม และช้แี จงกตกิ า
3.ข้ันสรุป ร่วมกันอภิปราย สรุปผลการเรียนรู้ไปสู่การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของเกมกับเน้ือหา
ทเ่ี รียน
4. ข้ันประเมินผล จากการสังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และกติกาของการ
เล่นเกม
จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม สามารถเลือกได้หลายรูปแบบโดย
คำนึงถึงอายุผู้เรียน ระดับช้นั เน้ือหาสาระ และจุดประสงคก์ ารเรียนรู้ และความปลอดภัย มีการอธบิ ายกติกา
ก่อนการเลน่ เกม และมีการสรปุ อภปิ รายหลังการเลน่ เกมร่วมกันกับผเู้ รียน

4. เอกสารทเ่ี กย่ี วขอ้ งกับการจดั กจิ กรรมการเรียนรโู้ ดยใชส้ มองเป็นฐาน
4.1 ความหมายสมองเปน็ ฐาน
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน(Brain-based learning) เป็นกระบวนการเรียนรทู้ ตี่ ้องเข้าใจ

การทำงานของสมอง การเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง คือ การทำความเข้าใจหรือมีมุมมองต่อกระบวนการเรียนรู้
โดยอิงอาศัยความรู้ความเข้าใจจากการทำงานของสมอง ทัศนะต่อการเรียนรเู้ ช่นนี้ ทำให้การจดั การเรยี นการ
สอนวางอยบู่ นฐานของความสนใจ และการใคร่ครวญว่าปัจจัยใดบ้างที่จะทำใหส้ มองมีการเปลี่ยนแปลง โดยมี
วงจรการทำงานของ กลุม่ เซลล์และเครือขา่ ยเซลลภ์ ายในสมองที่พัฒนาขึ้น หรอื วา่ สมองมปี ฏกิ ิรยิ าตอบรับต่อ
การเรียน การสอนแบบใดอยา่ งไร มกี ารเปลยี่ นแปลงใดข้นึ ในสมองขณะทีเ่ รียนรู้ และความรู้ ความเข้าใจ และ
ความชำนาญของผู้เรียนจะสะท้อนออกมาอย่างไรจากการเปลยี่ นแปลงภายในสมอง การเรียนรู้จะสัมฤทธ์ิผล
หรือไมค่ วรจะใช้วิธีใดประเมิน(อคั รภูมิ จารภุ ากร และพรพิไล เลิศวชิ า, 2550) ทั้งน้ีสถาบนั คลังสมองของชาติ
(2551: 31-32) อธิบายการเรียนรู้ของสมองว่า สมองของมนุษย์ประกอบไปดว้ ยเซลล์สมองนับล้านเซลล์ แต่

15

สว่ นใหญ่เซลลส์ มองไม่ไดถ้ ูกใช้งานตลอดเวลา การเตบิ โตของเดนไดร์ท เกดิ จากการท่ีสมองถกู กระตุ้นให้เรียนรู้
และจดจำสิ่งท่ีเรียนรู้มา เม่ือสมองได้รับความรู้ใหม่ปลายประสาทของสมองจะเช่ือมต่อกัน แต่ปลายประสาท
จะไม่สัมผัสกัน แต่เป็นการเคล่ือนเข้าหากันในระยะประชิด ฉะน้ันเราอาจกล่าวได้ว่าเมื่อเราเรียนรู้ก็ย่อม
หมายถงึ เดนไดรท์ ของเรากำลงั เตบิ โต หรอื ซินแนปส์กำลังเชือ่ มต่อกัน

จากข้อมูลข้างต้นสรปุ ได้ว่า การเรียนรู้เกิดจากการทำงานของสมองที่สมองได้รับประสบการณ์แล้วมี
กระบวนการส่งต่อสารเคมีในสมอง รวมไปถึงการเช่ือมต่อของวงจรในสมอง และการเรียนรตู้ ้องใช้ทุกส่วนทั้ง
การคิด ความรู้สึกและการลงมือปฏิบัติไปพร้อมๆกัน ซ่ึงการเรียนรู้ท่ีมีประสิทธิภาพ เกิดจากการจัด
กระบวนการเรียนรู้ทีเ่ หมาะสมกับธรรมชาติของสมอง

4.2 หลกั การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็ นฐาน
ทง้ั นี้สถาบันคลังสมองของชาติ (2551: 44-60) ได้กล่าวถึงกุญแจสำคัญ 5 ประการ ที่จะช่วยกระตุ้น
ใหส้ มองเกดิ การเรียนรู้ คือ
1. ความท้าทาย(Challenge) กระบวนการเรียนรู้จะต้องมีส่ิงท่ีท้าทาย แต่จะต้องเป็นการท้าทายที่
พอเหมาะพอดี เพื่อทำให้นักเรียนไมร่ ้สู กึ เบอ่ื หนา่ ยในการเรียน เช่น ใช้สอ่ื การสอนใหมๆ่ เป็นต้น
2. ความแปลกใหม่ (Novelty) การกระตุ้นให้เกดิ การเรียนรู้ จะตอ้ งแปลกใหม่เสมอ ความแปลกใหม่
น้ันเกี่ยวพนั กบั การท่สี มองแสวงหาการอยรู่ อด เพราะความแปลกใหม่จะทำให้นกั เรยี นต่ืนตัว
3. ความชัดเจน (Coherence) การเรียนการสอนจะต้องวางกระบวนการและเป้าหมายท่ีชัดเจน
แจ่มแจง้
4. เวลา (Time) กระบวนการเรียนรู้ต้องอาศัยเวลา มิใช่ได้ผลในฉับพลันทันที ยกเว้นการเรียนที่
ต้องการการตอบสนองแรงกระตุ้นในทนั ที
5. การสะท้อนกลับ (Feedback) การเรียนรู้จะเกิดข้ึน เม่ือผู้เรียนมีเวลาในการคิดใคร่ครวญหรือ
สะท้อนกลับส่ิงที่ได้รับรู้มากับผู้อ่ืน การสะท้อนกลับเป็นกระบวนการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในการทำงานกลุ่ม
ซึ่งจะไดเ้ รียนรู้จากเพ่ือนโดยเฉพาะถ้าสมาชกิ ในกลุ่มมีจำนวนท่ีพอเหมาะ การได้มีเวลาสะท้อนกลบั ของผู้เรยี น
จะชว่ ยใหเ้ กิดการเรียนรไู้ ดเ้ ป็นอยา่ งดี

นอกจากนี้ศศิธร เวียงวะลัย (2556) ได้กล่าวถึงการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยมี
สงิ่ แวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เช่น สี รูปทรง สถาปตั ยกรรม เพ่อื ให้นกั เรียนรู้สึกมี
ส่วนร่วมและมีความเป็นเจ้าของในการจัดการเรียนรู้ สถานเหมาะท่ีสาหรับการเรียนรู้แบบกลุ่ม คือจะต้องมี
พื้นที่ว่างๆสำหรับการรวมกลุ่มเล็ก ซุ้มไม้ โต๊ะท่ีช่วยในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เป็นกลุ่มหรือปรับที่ว่าง
สำหรบั กล่มุ ใหเ้ ปน็ หอ้ งนั่งเล่น เพ่อื ส่งเสริมการมีปฏสิ ัมพนั ธม์ ากยงิ่ ขึน้

ธดิ ารัตน์ เจตินยั (2551) ไดเ้ สนอกรอบในการจัดกิจกรรมตามลำดับข้นั ตอนการเรียนรู้ ดงั นี้

16

1. ขน้ั นำเขา้ สบู่ ทเรยี น
ครูผู้สอนวางแผนในการสนทนากับนักเรยี น เพือ่ ใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจในสงิ่ ทเ่ี รยี น และเช่อื มโยงไปยังสงิ่
ทีจ่ ะเรยี นได้
2. ขน้ั แจ้งกระบวนการเรียนรู้
ครผู ูส้ อนแจ้งให้นักเรียนทราบว่าจะต้องทำกิจกรรมใดบ้าง อย่างไร และมีวิธีวัดและประเมินอยา่ งไร
3. ขั้นเสนอความรใู้ หม่
การสอนหรือสรา้ งความคดิ รวบยอดใหน้ ักเรียนเกดิ ความรู้ ความเขา้ ใจในสง่ิ ทีเ่ รียน
4. ขนั้ ฝึกทกั ษะ
การใหน้ กั เรยี นเข้ากลุ่มรว่ มมอื การเรยี นรู้ และสร้างผลงาน ด้วยการศกึ ษา ค้นคว้า ได้มกี ารฝึกปฏบิ ัติ
การทดลอง การสงั เกต การทำแบบฝกึ หดั การวาดภาพ และปฏบิ ัติกจิ กรรมตา่ งๆ จนประสบผลสำเร็จได้
ผลงานออกมา
5. ขั้นแลกเปลย่ี นเรียนรู้
ส่งตัวแทนแตล่ ะกลมุ่ จับฉลากออกมาเสนอผลงาน เพอ่ื แลกเปลีย่ นเรยี นรู้
6. ขน้ั สรปุ ความรู้
ครูผู้สอนและนักเรยี นร่วมกันสรปุ แล้วทำรายงานเป็นรายบุคคลแล้วเปล่ียนกันตรวจ แล้วให้นกั เรียน
ปรบั ปรุงผลงานของตนเองใหถ้ กู ตอ้ ง
พรพิไล เลศิ วิชา และ อัครภูมิ จารุภากร (2550) กลา่ ววา่ กระบวนการเรียนรขู้ องสมองน้ัน เด็กทกุ คน
มีความคิดความรู้เดิมอยู่ในสมอง การท่ีจะให้เด็กเรียนรู้ในเร่อื งใดต้องมีการจัดระเบียบความรเู้ ดิมของเด็กท่ีมี
อยู่เพ่ือให้เข้าใจในสิ่งท่ีถูกต้อง เสริมความรู้เดิมก่อนจะให้ความรู้ใหม่ลงไป โดยลำดับขั้นตอนของกระบวนการ
เรียนร้ทู างสมองดงั น้ี
1.ครูควรเช่ือมโยงสิ่งท่ีจะเรียนรู้ใหม่ให้เข้ากับความรู้เดิมท่ีมีอยู่โดยในสมองของเรานั้นจะช่วยให้เกิด
ความคิดรวบยอด มีการประมวลความรู้ใหม่
2.มกี ารศึกษาทดลอง และการลงมอื ทำซำ้ ๆเพอื่ ให้สมองค้ยุ เคยกับความเคยชนิ
3.การอ่านและฟังบรรยายจะทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งข้ึน เพราะจะสามารถสะท้อนการคิด
วเิ คราะห์ การอธิบายเปรียบเทยี บความคดิ รวบยอด เพ่ือเรม่ิ ตน้ ส่รู ะดับความคิดสร้างสรรค์
4.การที่ผู้เรียนได้มีการประยุกต์ใช้ทักษะความรแู้ ละทักษะในเรอื่ งต่างๆ เพื่อผสมผสานสิ่งท่ีได้เรียนรู้
ไปแลว้ น้ันจะนำไปสู่การคดิ ในระดับสูงต่อไป
5.การปรับปรุงผลงาน ทำให้สามารถเข้าใจความคิดรวบยอดนั้นได้ดียิ่งขึ้นและเป็นพื้นฐานของการ
เรียนรใู้ นระดบั สงู ตอ่ ไป
จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ต้องสร้าง
บรรยากาศการเรียนรู้ท่ีผ่อนคลาย ท้าทาย รวมถึงการใช้สือ่ การสอนที่หลากหลายให้เกิดความรู้ด้วยการลงมือ
ปฏิบตั ิด้วยตนเอง โดยมีการนำเข้าสู่บทเรยี นเช่ือมโยงความรู้เดิม แลว้ นำเสนอความรูใ้ หม่ สรา้ งความรู้รวบยอด
ฝกึ ฝนทกั ษะ แลกเปล่ียนความรู้ ประยุกตใ์ ชค้ วามรู้ และสรปุ องค์ความรู้ ประเมนิ ผลร่วมกนั

17

5. เอกสารทเี่ กีย่ วข้องกับความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย
5.1ความหมายของความสามารถในการอ่านสะกดคำภาษาไทย

กรมวิชาการ (2546 : 133 - 134) ได้อธิบายการอ่านแจกลูกและการสะกดคำไว้ว่า เป็นกระบวนการข้ัน
พ้ืนฐานของการนำเสยี งพยญั ชนะต้น สระ วรรณยุกต์และตัวสะกด มาประสมเสยี งกัน ทำให้ออกเสยี งคำต่างๆ
ที่มีความหมายในภาษาไทย การแจกลูกและสะกดคำบางครั้งรวมเรียกว่าการแจกลูกสะกดคำจะดำเนินไป
ด้วยกันอย่างกลมกลืน เพื่อให้นักเรียนได้หลักเกณฑ์ทางภาษาท้ังการอ่านและการเขียนไปพร้อมกัน และ
ความสำคัญของการแจกลูกสะกดคำ เป็นเร่ืองท่ีจำเป็นมากสำหรับผู้เริ่มเรียน ถ้าหากครูไม่ไดส้ อนการแจกลูก
สะกดคำแกน่ ักเรียนในระยะเริ่มเรียนการอ่าน นกั เรียนจะขาดหลักเกณฑก์ ารประสมคำ ทำให้เมื่ออ่านหนังสือ
มากขึ้นจะสับสน อ่านหนังสอื ไมอ่ อก เขียนหนงั สือผดิ ล้วนเป็นผลจากการอา่ นไม่ออกเขยี นไม่ได้ และยอ่ มส่งผล
กระทบต่อการเรียนรู้ในวชิ าอน่ื ๆอีกด้วย ทั้งนี้องิ อร สุพันธวุ์ ณิช และคณะ(2554: 74) การอา่ นแจกลกู สะกดคำ
เป็นกระบวนการขั้นพ้ืนฐานของการนำรปู คำ และเสียงพยัญชนะต้น รปู และเสียงสระ รูปและเสียงวรรณยกุ ต์
รูปและเสียงตัวสะกดมาประสมกันทำให้ออกเสียงคำต่างๆ ท่ีมีความหมายในภาษาไทย เพื่อให้นักเรียนได้
หลกั เกณฑ์ทางภาษาทัง้ การอา่ นและการเขียนไปพรอ้ มกนั การแจกลูกมคี วามหมาย 2 นยั ดงั น้ี

นัยแรก หมายถึง การแจกลูกในมาตราตัวสะกดแม่ ก กา กง กน กม เกย เกอว กก กด และกบ
การแจกลูกจะเร่ิมต้นการสอนให้จำ และออกเสยี งพยัญชนะและสระให้ได้กอ่ น จากนนั้ จะเริ่มแจกลูกในมาตรา
แม่ ก กา จะใช้การสะกดคำไปทีละคำไล่ไปตามลำดับของสระ แล้วจึงอ่านโดยไม่สะกดคำ จึงเรยี กว่าแจกลูก
สะกดคำ

นัยสอง หมายถึง การเทียบเสียง เป็นการแจกลูกวิธีหนึ่ง เม่ือนักเรียนอ่านคำได้แล้ว ให้นำรูปคำมา
แจกลกู โดยการเปลย่ี นพยญั ชนะต้นหรอื พยัญชนะท้าย

สรุปได้ว่า การอ่านเป็นการออกเสียงว่าตามตัวหนังสือ และเป็นกระบวนการค้นหา รับรู้ และเข้าใจ
ความหมายของส่งิ ที่อ่าน ทั้งน้ีพืน้ ฐานในการอ่านท่ีสำคัญคอื การอ่านแจกลูกสะกดคำ โดยนำเสียงพยัญชนะต้น
สระ วรรณยุกต์และตัวสะกด มาประสมเสียงกัน ทำให้ออกเสียงคำต่างๆ ที่มีความหมายในภาษาไทยได้
และสามารถสือ่ ความคดิ ความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างผู้เขียนกบั ผอู้ ่านให้เขา้ ใจตรงกนั

5.2 ความหมายของความสามารถในการเขียนสะกดคำภาษาไทย
อคั รภูมิ จารุภากร และพรพิไล เลิศวิชา (2550 : 163) การเขยี น เป็นเคร่ืองมือแห่งการสอ่ื สาร การ
จัดระบบการคิด การพัฒนาความคิด การจดจำ ครูต้องไม่บังคับให้เขียน การจำได้จะเป็นท่ีมาของการอ่าน
เขา้ ใจแลพเพลดิ เพลนิ เดก็ ควรมโี อกาสเขยี น เพอ่ื สะทอ้ นการรบั รตู้ ่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ท้ังนีร้ วมถึง การเขียนส่ิง
ที่เก่ียวข้องกับนิทาน เร่ืองเล่า บทร้อยกรอง และเล่าประสบการณ์ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช

18

วิทยาลัย (2551: 177) ได้ให้ความหมายว่า การเขียนเป็นการส่ือสารด้วยตัวอักษร เพ่ือถ่ายทอดความรู้
ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ ข่าวสาร และจินตนาการจากผู้เขียนไปส่ผู ู้อ่าน การเขียนเปน็ การ
ถ่ายทอด ความรู้สึกนึกคิด จากผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน โดยใช้ภาษาเป็นเคร่ืองมือในการชักนำความคิด ความรู้
ประสบการณ์ ความรู้สกึ อารมณ์และทัศนคติ การเขยี นออกมาได้ตรงกับความคิดอย่างชัดเจน คนก็สามารถ
เขา้ ใจความคิดนั้นได้ แต่ถ้าไมม่ ีความสามารถในการใช้ภาษาเขยี นในการถ่านทอด ก็จะเกิดปัญหาระหวา่ งการ
ส่ือสารได้ ซ่ึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผดิ ได้ ดังน้ันผู้เขียนจงึ ต้องมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการเขียน
เป็นอย่างดี และการเขียนเป็นทักษะการถ่านทอดข้อมูล ติดต่อสื่อสารกับคนในสังคม โดยใช้การกำหนด
สัญลักษณ์ในการส่ือความหมายของในสังคมนั้นๆ (กาบกาญจน์ วงศ์วิสิทธ์ิ, 2551) และสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน (2554: 119) การเขยี นสะกดคำ ระบบการเขียนภาษาไทย เป็นระบบท่ใี ช้
ตวั อักษรแทนเสียง 3 ประเภท คือ สระ พยญั ชนะ และวรรณยกุ ต์ มาประกอบเป็นพยางคแ์ ละคำ ในการเขยี น
คำให้ถูกต้อง จำเป็นต้องศึกษาเร่ืองการใช้สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ตลอดจนการเขียนคำในลักษณะ
พิเศษต่างๆ เช่น การเขียนช่ือเฉพาะ การเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ การเขียน อักษรย่อ และการใช้
เครอ่ื งหมายประกอบคำ คู่มอื สำคญั ท่ีช่วยให้เขียนคำไดถ้ กู ต้อง คอื พจนานุกรมฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน ซง่ึ ทาง
ราชการประกาศให้ถอื เปน็ แบบอย่างในการเขียน

จากข้อมูลข้างต้นสรปุ ไดว้ ่า การเขยี น เป็นการสอื่ สารอยา่ งหน่งึ ของมนษุ ย์ ทใ่ี ช้ภาษาลายลกั ษณอ์ กั ษร
เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก อารมณ์และทัศนคติ ความต้องการ
หรอื ความในใจของผ้เู ขียนทีต่ ้องการให้ผู้อา่ นไดร้ บั ทราบและเข้าใจ โดยการเขยี นสะกดคำท่ถี ูกจะชว่ ยให้ผู้เขียน
อ่านและเขียนหนังสือได้ถูกต้อง สื่อความหมายได้แจ่มชัดและมีความมั่นใจในการเขียน และการเขียนคำให้
ถกู ตอ้ ง จำเป็นต้องศึกษาเร่ืองการใช้สระ พยญั ชนะ และวรรณยกุ ต์ เพอ่ื ทจี่ ะได้เขยี นส่ือสารได้อยา่ งถูกต้อง

5.3 หลักการสอนการอา่ น
กอบกาญจน์ วงศ์วสิ ิทธ์(ิ 2551: 96-98) ได้อธิบายการสอนการอา่ นมี 2 ประเภท ไดแ้ ก่
1. การอ่านออกเสียง คือการทำความเข้าใจเน้ือหา ข้อความทอี่ ่านไปพร้อมๆกับการเปล่งเสียง ดงั น้ัน
ผู้อ่านจะต้องมีสมาธิในขณะอ่านข้อความที่ปรากฏอยู่ด้านหน้า เพราะมิเช่นน้ันแล้วอาจไม่สามารถเข้าใจ
ข้อความท่ีอ่านได้ รวมทั้งจะต้องใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเร่ืองที่อ่าน ต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเน้ือหา
หากเป็นการอา่ นใหผ้ ูอ้ ่ืนฟัง นอกจากเรื่องของความถกู ต้องในการสะกดคำแลว้ เรอ่ื งศิลปะในการอ่านก็มผี ลต่อ
การทำความเข้าใจของผู้ฟัง เช่น น้ำเสียง ลีลาการอ่าน เป็นต้น การฝึกอ่านออกเสียงนั้น จะทำให้ผู้อ่านรู้จัก
การแบ่งวรรคตอน ความถูกต้องของถ้อยคำท่ีเปล่งออกมา มีผลต่อความหมายที่จะสื่อสาร และหากมีผู้ฟัง
อยู่ด้วย ผู้ฟังก็สามารถช่วยชี้แนะให้เห็นข้อบกพร่อง และในการฝึกการอ่านเบ้ืองต้น ผู้ฝึกอาจฝึกใช้น้ำเสียง
ปกตกิ ่อน และเมือ่ อ่านไดค้ ล่องแล้ว จงึ คอ่ ยพฒั นาวธิ ีการอ่านและเลือกอา่ นจากงานเขียนท่แี ตกตา่ งกันออกไป

19

2. การอา่ นในใจ เป็นการอ่านท่ผี ฟู้ ัง ต้องทำความเข้าใจกับข้อมูลน้ันๆ ในขณะท่ีกวาดสายตา และต้อง
รู้จักความสำคัญของเร่อื งนั้นๆ การอ่านในใจเป็นกลไกรว่ มกันระหว่างสายตากับสมอง ดงั น้ันการอ่านในใจจึง
เป็นทักษะทส่ี ามารถฝึกฝนให้มีประสิทธิภาพได้ การอ่านในใจท่ีได้ประสิทธิภาพนั้น พิจารณาได้จากสิ่งสำคัญ
2 ประการ คือ ความสามารถในการรัยรู้ จดจำ เข้าใจ และความเร็วในการอ่าน ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งจะถือว่า
เป็นนกั อ่านทไ่ี มด่ ี เพราะถึงจะอ่านเร็ว แต่ก็ไมร่ ้เู รื่องราว แยกแยะประเดน็ ไม่ได้ กย็ ังใชไ้ มไ่ ด้ ในทำนองเดยี วกัน
ถา้ เข้าใจขอ้ ความ รบั รู้ จดจำได้ แต่ความเรว็ ในการอ่านตำ่ มาก ก็ยังเป็นผู้อ่านที่ไม่ดเี ช่นกนั

อีกทั้งอิงอร สุพันธ์วณิช และคณะ (2554: 79-83) ได้อธิบายถึง คำในภาษาไทยแต่ละชนิด เกิดจาก
การประสมเสียงในภาษาไทย 3 ชนิด คือเสยี งพยญั ชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ ตามลำดับการออกเสยี ง
ดังน้ี เสียงพยัญชนะ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกจากปอด เม่ือผ่านลำคอจะถูกอวัยวะส่วนใดส่วนนึ่งภายใน
ชอ่ งปาก ปิดกน้ั หรือกกั ลมไว้ ทำให้เสยี งแปรเปล่ียนไปเป็นเสียงตา่ งๆในภาษาไทย ซ่ึงตำแหน่งเสียงพยัญชนะ
ในภาษาไทยจะแบง่ เปน็ 2 สว่ น ไดแ้ ก่ ส่วนทอี่ ย่ตู น้ คำ เรียกวา่ เสียงพยัญชนะตน้ และส่วนทีอ่ ย่ทู ้ายคำ เรยี กว่า
เสียงพยัญชนะท้าย หรือ ตัวสะกด ซ่ึงเสียงพยัญชนะตน้ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ เสียงพยญั ชนะต้นเดี่ยว
เสียงพยัญชนะต้นควบ และเสียงพยัญชนะต้นเรียง ส่วนเสียงพยัญชนะต้นท้าย หรือเสียงพยัญชนะตัวสะกด
เป็นเสียงท่ีอยใู่ นตำแหน่งทา้ ยคำหรือท้ายพยางค์ มีคำช้ีแจงทเ่ี ป็นระบบตามตำราไทย เรยี กว่า มาตราตัวสะกด
มี 8 มาตรา 8 เสียง แต่ละมาตราเรียกได้ว่าแม่ ได้แก่ แม่กก แม่กด แม่กบ แม่กง แม่กน แม่กม แม่เกย
แม่เกอว ส่วนคำหรอื พยางค์ไมม่ ีเสียงพยัญชนะท้าย เรยี กวา่ มาตราแม่ ก กา และเสียงสระในภาษาไทย ได้แก่
เสียงสระเด่ียว และเสยี งสระประสมหรือสระเล่ือน นอกจากนี้ยงั มีเสียงวรรณยกุ ต์ คอื ระดบั เสยี ง สูง กลาง ต่ำ
เกิดจากความถี่ของเสียง ภาษาพูดทุกภาษา ย่อมมีระดับต่ำสูงของเสียง ซึ่งการสอนการอ่านคำในภาษาไทยท่ี
ใช้ตวั พยญั ชนะ สระ และวรรณยุกต์ประสบกัน มีหลกั การผันวรรณยุกต์ ซึ่งประกอบไปดว้ ยการใช้อกั ษรสาม
หมู่ทเี่ รียกวา่ ไตรยางค์ ลักษณะพยางคท์ ่ีเป็น คำเปน็ คำตาย กับรูปวรรณยุกต์ สามสว่ นนี้ประสมกนั ผู้ท่เี รียนรู้
หลักการผันวรรณยุกต์แล้ว จะสามารถอ่านคำในภาษาไทยได้ถูกต้อง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้นั พืน้ ฐาน, 2554)

จากข้อมูลข้างต้น สรุปไดว้ ่า การสอนการอ่าน ฝกึ จากการประสมเสียงและควรมีการเลอื กใช้วิธกี ารท่ี
เหมาะสม โดยคำนึงถงึ เนอ้ื หา ระดับอายุ และความแตกตา่ งของของผูเ้ รียน เน้นการฝึกฝนเปน็ ประจำจงึ จะเกิด
ทักษะการอ่าน ท้ังการสะกดคำ การอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ เม่ือเกิดทักษะการอ่านก็จะเรียนรูจ้ าก
สารตา่ งๆในสือ่ ส่งิ พมิ พไ์ ด้ เกิดประสบการณเ์ รียนรูอ้ ย่างรวดเรว็

5.4 หลักการสอนการเขียน
อารี สัณหฉวี (2550: 31-33) ได้อธิบายถึงแนวทางการสอนเขยี นแบบสมดุลภาษา ซึ่งประกอบด้วย
วิธีสอนเขียนร่วมกัน โดยครูเขียนเป็นแบบอย่าง ซึ่งการสอนเขียนร่วมกันนี้จะมีสอนทุกวัน วันละ10-15นาที

20

สำหรับช้ันประถมศกึ ษาตอนต้น ครูอาจจะให้นักเรียนช่วยกันออกมาเขียน โดยมพี ื้นฐานจากเร่ืองในหนังสือท่ี
อ่านรว่ มกันในแตล่ ะวนั นอกจากนีย้ ังไดก้ ลา่ วถงึ การสอนฝกึ เขยี นกลุ่มย่อยและเขยี นตามลำพงั ครสู ามารถจัด
เวลาทุกวัน วันละ30-40นาที ให้นักเรียนจับกลุ่ม กลมุ่ ละ4-6คน แล้วเขียนเร่ืองที่สอนในช่วงเวลาหรือเร่ืองท่ี
อ่านร่วมกัน นักเรยี นสามารถใช้คำในหนงั สือโดยใช้สำนวนภาษาของนักเรียนเอง ซงึ่ ในระหว่างนี้ ครจู ะต้องไป
ช่วยดูทีละกลุ่มเพ่ือแนะนำและพูดคุยกับนักเรียนว่าตั้งใจจะเขียนอย่างไรและมีปัญหาอย่างไร ทั้งน้ีการสอน
เขียนของเด็กและวาดเพ่ือแสดงความคิดเห็นและความรสู้ ึก เม่ือเด็กลงมือเขียน สมองจะเรียนรวู้ ่า การเขียน
เป็นวิธีการท่ีจะบอกเล่า แลกเปล่ียนความคิดเห็น ขณะที่เด็กวาดและใช้เคร่ืองหมายที่เขียน จะได้ลองกับ
สัญลักษณ์ ตัวอักษร และรหัสเพ่ือสื่อความหมาย เสริมสร้างพัฒนาการและความสำเร็จและความภาคภูมิใจ
ในการเขียนของตนเอง (อัครภูมิ จารุภากร และพรพิไล เลิศวิชา, 2550) ท้ังน้ีสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน (2554: 119) กล่าววา่ การสอนเขียนสะกดคำ จะต้องเรียนรู้การใช้สระในการเขยี นคำท่ี
ปรากฏในคำไทย มีข้อน่าสังเกตท่ีแตกต่างกัน เช่น การประวิสรรชนีย์ ไม่ประวิชสรรชนีย์ การใช้ไม้ไต่คู้
การใช้พยัญชนะ การใช้ตัวสะกดซ่ึงเป็นรูปพยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระและมีเสียงประสมเข้ากับสระ
จดั เปน็ พวกๆตามเสยี งสะกด และการใชว้ รรณยกุ ต์

สรปุ ได้ว่า หลักการสอนการเขียน นักเรียนจะต้องได้เรียนร้กู ารสะกดคำในรูปแบบต่างๆ รู้จักรูปคำ
และความหมายของคำอย่างหลากหลาย โดยมีครูเป็นผู้ดูแลให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด และฝึกฝนการเขียน
ให้กับเดก็ อย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับความสนุกสนานและความเพลิดเพลินโดยการใช้รปู ภาพประกอบจะช่วย
ในการพฒั นาสมองและการจดจำความหมายของคำและฝกึ การเขยี นได้ดียิ่งขน้ึ

6. งานวิจยั ท่ีเกย่ี วขอ้ ง
อญั ชลี สวัสดิ์โสม (2557: บทคดั ยอ่ ) ได้ทำการวจิ ัยเรือ่ งผลสมั ฤทธ์กิ ารอ่านคำศัพท์ภาษาไทย
โดยใชก้ ารจัดการเรียนรู้ด้วยเกม ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านคำศพั ท์ สำหรับนกั เรยี นช้ันประถมศึกษาปีที่ 3
การวจิ ยั ครั้งนมี้ วี ตั ถปุ ระสงค์เพื่อเปรียบเทยี บผลสมั ฤทธกิ์ ารอา่ นคำศัพทภ์ าษาไทยของนกั เรยี นชน้ั ประถมศกึ ษา
ปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเกมร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดวัฒนารังษี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัด
ปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 24 คน เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กิจกรรมการ
พัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย จำนวน 12 เกม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านคำศัพท์ภาษาไทย ใช้
ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัด การเรียนรู้ด้วยเกมร่วมกับแบบฝึก
ทักษะการอา่ นคำศัพท์จำนวน 12 แผน ผลการวจิ ยั พบวา่ ผลสมั ฤทธ์ิการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของนักเรยี นชั้น
ประถมศึกษา ปีท่ี 3 ที่เรยี นร้ดู ้วยเกมรว่ มกับแบบฝกึ ทักษะการอ่านคำศัพท์ หลังเรียนสูงกวา่ ก่อนเรยี นแตกตา่ ง
กนั อยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถิตทิ ีร่ ะดบั .01

21

ภาวินี กล่ินโลกัยและเยาวภา ประคองศลิ ป์ (2553: บทคัดย่อ) ได้ทำการวจิ ัยเรื่องการพัฒนา
กจิ กรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม เพ่อื พัฒนาผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรูภ้ าษาไทย ของนกั เรียน
ช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรยี นบ้านเกาะ สำนกั งานเขตมนี บุรี การวจิ ัยครงั้ นีม้ ีวัตถปุ ระสงคเ์ พื่อพัฒนากจิ กรรม
การเรียนรู้โดยใช้เกม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อพัฒนา
ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนโดยให้มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนบ้านเกาะ สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
จำนวน 32 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือท่ีใช้ในการวิจัย มี 3 ลักษณะ ได้แก่
เคร่ืองมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบตั ิการ คือ แผนการจัดการเรยี นร้โู ดยใช้เกม จำนวน 12 แผน เครื่องมอื ทีใ่ ชใ้ น
การสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกเพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติกจิ กรรมการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัด
กิจกรรมประกอบด้วย แบบบันทึกผลหลังการสอน แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์
นักเรียน แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร เครื่องมือท่ีใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่
แบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี น เร่ือง สระในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การวิจัยคร้ังนี้
ใช้รปู แบบการวจิ ัยเชงิ ปฏิบตั ิการการวเิ คราะห์ข้อมูลโดยหาคา่ รอ้ ยละ คา่ เฉลีย่ และสรุปขอ้ มลู เชิงบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม ได้จัดกิจกรรมตามข้ันตอน
3 ขั้น คือ 1) ข้ันนำเข้าสู่บทเรยี น เป็นการสร้างความสนใจ ด้วยการใช้เพลง การตอบคำถาม เพ่ือให้ผู้เรียนมี
ความพร้อมท่ีจะเรียนรู้ 2) ขั้นสอน เป็นการนำเสนอเนอื้ หาใหม่ โดยการใช้สอ่ื การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับ
เนอื้ หา เพอื่ ให้นกั เรียนได้เรยี นรหู้ ลักเกณฑ์ วธิ ีการเขยี นสระ การประสมสระกับพยญั ชนะ ดว้ ยการนำเกมมาใช้
ใหน้ กั เรยี นไดฝ้ ึกปฏิบัติ 3) ขั้นสรุป นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในทักษะการประสมสระกบั พยญั ชนะ การอ่าน และ
การเขียน ทำให้นักเรียนมีหลักเกณฑ์ในการอ่านคำ สามารถอ่านคำได้คล่องและรวดเร็วขึ้น และผู้วิจัยนำ
รูปแบบวิจยั เชิงปฏิบตั ิการมาพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งน้ีจงึ มีการพัฒนาและแก้ไขปรับปรงุ กจิ กรรมการ
เรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดการทดลองปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่าทำให้นักเรียนมีความสนใจ
กระตือรือร้น สนุกสนาน และได้มีโอกาสสร้างประสบการณ์ให้กับตนเองเพื่อเรียนรู้ ทำให้นักเรียนสามารถ
ปรับตัวได้ และอยากเรยี นรู้ในบทเรียนสามารถจดจำเน้ือหาได้ดขี ึ้น รวมไปถึงการพัฒนาทกั ษะการฟัง การพูด
การอ่านและการเขียนอีกด้วย

2. ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนกั เรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 กลุ่มสาระการการวิเรียนรู้ภาษาไทยที่
เรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมมีคะแนนเฉล่ียร้อยละ 80.83 ของคะแนนเต็ม และจำนวน
นกั เรียนที่ผา่ นเกณฑ์ร้อยละ 87.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑท์ ่ีกำหนดไว้

นางสาวกุสุมา คำผาง (2559) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลของการจัดการเรียนการสอนเขียน
สะกดคำภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน ที่มีต่อทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนในระดับประถมศึกษา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรยี นการสอนเขยี นสะกดคำโดยใช้สมองเป็นฐานที่มี
ต่อทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 4 2) เปรียบเทียบทักษะการเขียนสะกดคำ
ระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานกับนักเรียนกลุ่มควบคุมท่ี

22

ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ ในระดับช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2559 กลุ่มทดลอง 35 คน และ
กลุ่มควบคุม 35 คน เครอื่ งมือท่ีใชใ้ นการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวดั ทักษะการเขียนสะกดคำ เครอ่ื งมือท่ี
ใชใ้ นการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน และแผนการ
จดั การเรียนการสอนเขียนสะกดคำภาษาไทยแบบปกติ วิเคราะหข์ ้อมูลโดยหาค่าเฉลย่ี เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และการทดสอบคา่ ที ผลการวจิ ัยพบว่า

1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำโดยใช้สมองเป็นฐานมีทักษะการเขียน
สะกดคำหลงั เรียนสูงกว่าก่อนเรยี น อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถติ ิทร่ี ะดับ .05

2.นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำโดยใช้สมองเป็นฐานมีทักษะการเขียน
สะกดคำไม่แตกต่างจากนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถติ ทิ ร่ี ะดบั .05

3.นักเรียนกลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมต่อการเรียนท่ีไม่ผ่อนคลาย อยู่ในระเบียบตลอดเวลา
สง่ ผลใหไ้ มม่ ีความม่ันใจในการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็น แต่นักเรียนกลุ่มทดลองมคี วามผ่อนคลาย
ทำให้มีความมั่นใจในการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็น อีกทั้งยังมีทักษะการฟังผู้อ่ืนที่ดี สามารถ
ช่วยกันหาวธิ แี กป้ ัญหาได้ มพี ฤติกรรมการเรยี นรทู้ ี่ดีขน้ึ คอื มีความสุขและสนุกสนาน ตลอดจนมีความสามารถ
ในการเรยี น คือมีความเขา้ ใจและความจำในบทเรยี นทีด่ ขี ึ้นอีกด้วย

จินต์กวี แสงอรุณ และคณะ (2560) ได้ทำการวิจัย เรื่องการพัฒนาความสามารถด้านการ
เขียนสะกดคํา ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 3 ดว้ ยการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน (BBL) ประกอบแบบ
ฝึกทักษะ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพ่ือ1) เพ่ือพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การเขียนสะกดคําด้วยการ
จัดการเรียนรู้สมอง เป็นฐาน(BBL) ประกอบแบบฝึกทักษะนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 3 ที่มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ E1/E2 (80/80) 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้การเขียนสะกดคําด้วยการจัดการ
เรียนรู้สมองเป็ นฐาน( BBL) ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรยี นช้ันประถมศึกษาปืที่ 3 3) เพ่ือศึกษาความพึง
พอใจของนกั เรียน ที่มีต่อการเรียนรู้การเขียนสะกดคําของนกั เรยี นดว้ ยการจัดการเรียนร้สู มองเป็นฐาน( BBL)
ประกอบแบบฝึกทกั ษะ กลุ่มเป้าหมายการวิจัยได้แก่ นักเรียนชนั้ ประถมศกึ ษาปีที่ 3 ของ โรงเรียนบ้านสุวรรณ
วารี อําเภอสริ ินธร สํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ภาคเรียนท่ี 1 ปี การศึกษา
2559 จํานวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจยั ไดแ้ ก่ แผนการจัดการเรยี นรู้ เร่ืองการเขียนสะกดคํา แบบฝึก
ทักษะ แบบวัดความสามารถด้านการเขียนสะกดคํา แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติท่ีใช้
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉล่ีย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิภาพของ
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเขียนสะกดคําของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้
สมองเปน็ ฐาน ( BBL) ประกอบแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนเรียนกบั หลัง เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.82/ 89.30 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้การเรียนรู้แบบการ
เขยี นสะกดคําของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปที ี่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน (BBL) ประกอบแบบฝึก
ทกั ษะเทา่ กับ 0.2454 หรือคิดเป็นรอ้ ยละ 24.54 3.ความพงึ พอใจของนกั เรียนทเ่ี รียนดว้ ยการจัดกิจกรรมการ

23

การเขียนสะกดคําของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน (BBL) ประกอบ
แบบฝกึ ทกั ษะโดยรวมอยใู่ นระดบั มาก (x̄ 2.67), (S.D.0.87)

Bilal (2010) ได้ทำการวจิ ัยเรื่องผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นโดยใช้สมองเปน็ ฐานของนักเรียนที่มี
รูปแบบการเรียนรทู้ ี่แตกตา่ งกนั การศึกษาครัง้ นมี้ วี ัตถปุ ระสงค์เพอื่ ศึกษาผลของการเรยี นรู้โดยใชส้ มองเปน็ ฐาน
ตอ่ ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของนักเรยี นท่มี ีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกตา่ งกัน กล่มุ ทศ่ี ึกษาประกอบด้วยนักศึกษา
จากภาควิชาสังคมศาสตร์การศึกษาของครูในคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยมูกลา (N = 68) ในการศึกษาได้ใช้
การออกแบบการทดลองก่อนการทดสอบ - หลังเรยี น รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการ
เรียนและแบบสอบถามรปู แบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของ Kolb ผลการวิจัยพบว่าแนวทาง BBL ท่ีใช้ใน
กล่มุ ทดลองมีประสิทธิผลในการเพ่ิมผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนมากกว่าวิธีการแบบเดิมท่ีใช้ในกลุ่ม
ควบคุม แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างระดับผลสัมฤทธข์ิ องนักเรียนกลุ่มทดลองท่ีมีรูปแบบ
การเรยี นร้ทู ่ีแตกต่างกนั

Danial Hooshyar (2020) ไดศ้ กึ ษาจากการใช้เกมสู่การคิดเชิงคำนวณ : แนวทางการจดั การ
เรียนรู้โดยใช้เกมคอมพิวเตอร์เป็นฐาน พบว่า มกี ารใช้เกมการศึกษามากข้ึนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงคำนวณของ
นักเรียน ทัง้ น้ีเกมท่ีมอี ยสู่ ่วนใหญ่มุง่ เน้นไปทคี่ วามรเู้ ชิงทฤษฎเี กย่ี วกบั การคิดเชงิ คำนวณ โดยไม่ได้พัฒนาทักษะ
การคดิ เชิงคำนวณ นอกจากนี้ ยงั ขาดการบูรณาการกบั เกมคอมพวิ เตอร์เพื่อการศึกษา ในการพัฒนาการคิดเชิง
คำนวณ ซึ่งมีความสำคัญต่อการตอบสนองความต้องการความแตกต่างของผู้เรียนในการพัฒนาทักษะการคิด
เชิงคำนวณ จากการศึกษานี้ ผู้วิจัยได้นำเสนอเกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Auto Thinking) เพ่ือพัฒนา
ทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียน เพื่อประเมินผลของเกม ได้ทำการศึกษาทดลองกับนักเรียนระดับชั้น
ประถมศึกษา 79 คนในเอสโตเนีย ซ่ึงกลุ่มทดลองได้เรียนรู้ด้วยเกมคอมพิวเตอร์เพ่ือการศึกษา (Auto
Thinking) ในขณะที่กลุ่มควบคุมใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม ผลการวิจัยพบว่าการเรียนรู้ด้วย
เกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Auto Thinking) ช่วยพัฒนาการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนท่ีเกี่ยวข้องกับ
ความรู้เชิงแนวคิดและทักษะอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ นักเรียนท่ีใช้เกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา(Auto
Thinking) มีความสนใจ ความพึงพอใจ มีสมาธิ และการยอมรับเทคโนโลยีในการเรียนรู้การคิดเชิงคำนวณใน
ระดบั ที่สูงขึ้นอย่างมนี ัยสำคญั

24

กรอบแนวคดิ ในการวจิ ยั

กรอบแนวคิดการวิจัยคร้ังนี้ แสดงถงึ ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งตัวแปรอิสระกบั ตัวแปรตาม ซงึ่ สามารถแสดงแผนภาพ
ความสมั พันธ์ของตัวแปรในการวิจยั ไดว้ า่ การจดั กิจกรรมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สสี นั สรา้ งคำ

โดยการใชส้ มองเปน็ ฐานร่วมกับเกมการศึกษา ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย

ของนักเรยี นช้นั ประถมศกึ ษาปที ่ี 1 โรงเรียนอนุบาลพระสมทุ รเจดยี ์

ตวั แปรอสิ ระ

การจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ ก า ร จั ด กิ จ ก รร ม ก า รเรี ย น ก า ร ส อ น แ บ บ อ อ น ไล น์ ตัวแปรตาม
(สำนักงานคณะกรรมการ การศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน, 2564) ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐาน
การจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนโดยใชค้ ลปิ วดิ ีโอผา่ นสื่อ ร่วมกับเกมการศกึ ษา ความสามารถในการอ่าน
ออนไลน์ โดยครูเปน็ ผจู้ ัดการเรยี นการสอน ผ่านเคร่ืองมอื -ข้ันนำเขา้ สบู่ ทเรียน แ ล ะ ก า ร เขี ย น ส ะ ก ด ค ำ
ทีท่ างโรงเรียนกระจายไปสนู่ ักเรียน เปน็ รปู แบบท่ถี ูกใช้ บทบาทครู ภาษาไทยของนกั เรียน
ในการจัดการเรยี นการสอนจำนวนมากท่ีสดุ วางแผนในการสนทนากับนกั เรียน เพ่อื ใหเ้ กดิ ความเข้าใจใน ช้ันประถมศึกษาปีที่1/2
ส่งิ ทเ่ี รียน และเชือ่ มโยงไปยงั สงิ่ ทีจ่ ะเรยี นได้ และสร้าง โ ร ง เ รี ย น อ นุ บ า ล
สีสนั สรา้ งคำโดยการใชส้ มองเป็นฐาน บรรยากาศกระต้นุ เรา้ ความสนใจในการเรยี นรู้ พระสมทุ รเจดีย์
(Brain-based Learning) บทบาทนกั เรียน
-ตอบคำถาม มีความสนใจในการเรยี นรู้
(สถาบันคลังสมองของชาติ, 2551; ศศธิ ร เวียงวะลยั , -นั ก เรี ย น ท บ ท วน ข้ อ มู ล ค ว า ม รู้ จ า ก ป ระ ส บ ก า รณ์ เดิ ม
2556; ธิดารัตน์ เจตินัย, 2551; พรพิไล เลศิ วชิ า และ เกี่ยวกับหัวขอ้ เร่ืองที่จะเรียนรู้
-ขน้ั สอน(เสนอความรู้ใหม่และฝึกทักษะแลกเปลย่ี นเรยี นรู้
อัครภมู ิ จารภุ ากร , 2550) ลงมอื ปฏบิ ตั ิ)
1.ขั้นนำเขา้ สบู่ ทเรยี น ครูผสู้ อนวางแผนในการสนทนากบั บทบาทครู
นักเรียน เพ่อื ใหเ้ กิดความเขา้ ใจในสง่ิ ที่เรยี น และเชอื่ มโยง -สอนหรอื สรา้ งความคิดรวบยอดใหน้ กั เรยี นเกิดความรู้
ไปยงั สิ่งท่จี ะเรยี นได้ และสรา้ งบรรยากาศกระตนุ้ เร้าความ ความเข้าใจในสงิ่ ท่ีเรยี น มีสงิ่ แวดลอ้ มทก่ี ระตุน้ ความสนใจ
สนใจในการเรียนรู้ กระตุ้นให้เกดิ การเรยี นรู้ เชน่ การใชส้ ี โดยการอา่ น
2.ขน้ั สอน(เสนอความร้ใู หม่และฝกึ ทกั ษะแลกเปล่ียนเรยี นรู้ พยญั ชนะต้นกอ่ น(สีดำ)แล้วจงึ อา่ นสระ(สแี ดง) แลว้ ตามด้วย
ลงมือปฏบิ ตั ิ) การสอนหรอื สรา้ งความคดิ รวบยอดให้ ตวั สะกด (สีนำ้ เงนิ ) และออกเสียงวรรณยุกต์ (สีเขียว)
นกั เรยี นเกิดความรู้ ความเข้าใจในส่ิงทเี่ รียน มสี ิง่ แวดลอ้ ม -นำเสนอเกม ชแ้ี จงวิธกี ารเล่นเกม โดยการแบง่ กลมุ่ และ
ท่กี ระตนุ้ ความสนใจ กระต้นุ ให้เกิดการเรียนรู้ เช่น การใชส้ ี ชีแ้ จงกตกิ า สาธติ ให้ดเู พ่ือความเขา้ ใจและเปิดโอกาสให้
3. ขน้ั สรปุ ความรู้และข้นั ประยกุ ตใ์ ชค้ วามรู้ ซกั ถาม เรมิ่ เล่นเกมโดยให้นักเรียนมสี ่วนร่วม และรว่ มกนั
ครูผู้สอนและนักเรียนรว่ มกันสรุปความรู้ และการท่ี อภิปราย สรุปผลการเรียนรไู้ ปสู่การเปรียบเทยี บ
ผูเ้ รียนไดม้ กี ารประยุกต์ใชท้ ักษะความร้แู ละทักษะ ความสัมพนั ธ์ของเกมกบั เนือ้ หาที่เรยี น
ในเร่ืองตา่ งๆ จากการทำแบบฝกึ หดั เพือ่ ผสมผสานสง่ิ ท่ี บทบาทนกั เรียน
ได้เรียนรู้ไปแลว้ นนั้ จะนำไปสกู่ ารคิดในระดบั สูงตอ่ ไป -ตอบปัญหาหรอื คำถาม
-ฝึกอา่ นและเขยี นสะกดคำ
เกมการศึกษา -ใหค้ วามสนใจรว่ มกิจกรรมการเรยี นรู้ การฝึกอา่ นและเขียน
(ทิศนา แขมมณ,ี 2559; สคุ นธ์ สนิ ธพานนท์ สะกดคำและรว่ มเล่นเกมการศกึ ษา
2)อา่ นเก็บรายละเอียด
และคณะ,2562) -ขน้ั สรุปความรแู้ ละขั้นประยกุ ต์ใชค้ วามรู้
1.ขั้นนำ ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์ ทบทวนการเรยี น หรอื เรา้ บทบาทครู
ความสนใจโดยซกั ถาม ให้ตัวอย่าง ทายปัญหา ฯลฯ ครูและนกั เรยี รร่วมกนั อภิปรายสรปุ ความรู้
2.ข้นั สอน ผสู้ อนนำเสนอเกม ชแี้ จงวิธกี ารเล่นเกม โดยการ ครมู อบหมายใหน้ ักเรยี นทำใบงาน/แบบฝึกหัด
แบง่ กลุ่ม และช้ีแจงกตกิ า สาธิตใหด้ เู พื่อความเขา้ ใจและ บทบาทนกั เรียน
เปิดโอกาสให้ซักถาม เริม่ เล่นเกมโดยใหน้ ักเรยี นมสี ว่ นรว่ ม นักเรียนสรุปความรู้และทบทวนฝึกอ่านและเขียนสะกดคำ
3.ขน้ั สรุป รว่ มกันอภิปราย สรุปผลการเรยี นร้ไู ปส่กู าร ประยุกต์ใช้ทักษะความรแู้ ละทักษะในเรื่องตา่ งๆ จากการทำ
เปรียบเทยี บความสมั พนั ธข์ องเกมกับเนื้อหาท่เี รยี น แบบฝึกหดั ผสมผสานสง่ิ ท่ไี ดเ้ รยี นรู้สกู่ ารคดิ ในระดับสงู
4. ขนั้ ประเมินผล จากการสงั เกตพฤติกรรมการเล่นเกมให้
เป็นไปตามวตั ถปุ ระสงคแ์ ละกติกาของการเลน่ เกม

25

บทท่ี 3
วธิ ดี ำเนนิ การวิจยั

การวจิ ัยครั้งน้เี ป็นการวจิ ัยเชงิ ทดลอง มีวัตถุประสงค์เพอื่ ศกึ ษาผลการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนแบบ
ออนไลน์ ด้วยการใช้สีสนั สรา้ งคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศกึ ษา ท่มี ตี ่อความสามารถในการอา่ น
และเขียนสะกดคำภาษาไทย ของนกั เรียนระดบั ช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรยี นอนบุ าลพระสมทุ รเจดีย์ มี
รายละเอยี ดในการดำเนนิ การวิจยั ดงั ตอ่ ไปนี้
ตัวแปร/สง่ิ ท่ตี อ้ งการศึกษา

ตัวแปรอสิ ระ คอื การจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สสี นั สร้างคำโดยการใช้สมอง
เปน็ ฐานรว่ มกับเกมการศึกษา

ตวั แปรตาม คือ ความสามารถในการอ่านและเขยี นสะกดคำภาษาไทยของนกั เรยี นชั้นประถมศึกษาปที ี่
1/2 โรงเรยี นอนุบาลพระสมทุ รเจดยี ์

ประชากรและกล่มุ ตัวอยา่ ง
ประชากรในการวจิ ัยครั้งน้คี อื นกั เรียนชัน้ ประถมศกึ ษาปีที่ 1 ของโรงเรยี นอนบุ าลพระสมทุ รเจดีย์

สงั กัดสำนักงานเขตพน้ื ท่ีการศกึ ษาประถมศกึ ษาสมุทรปราการเขต 1 ภาคเรยี นท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
กลุม่ ตวั อยา่ งในการวิจัยครั้งนีค้ ือ นกั เรยี นชั้นประถมศึกษาปที ี่ 1/2 ภาคเรียนท่ี 1

ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดยี ์ สังกัดสำนักงานเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษา
สมทุ รปราการเขต 1 จากวธิ ีการเลือกกลุม่ ตวั อย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 32 คน

เน้อื หาทใี่ ชใ้ นการวิจยั
เน้ือหาวิชาท่ีใช้ในการวิจัยคร้ังน้ี เป็นส่วนหน่ึงของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของระดับช้ัน

ประถมศึกษาปีที่1 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ของสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน เรื่องการอ่านและการเขยี นสะกดคำ
สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพ่ือนำไปใช้ตัดสินใจ
แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน ตัวชี้วัด ป.1/1 อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง และ
ข้อความส้ันๆ สาระการเรียนรู้แกนกลาง การอ่านออกเสียงและบอกความหมายของคำ คำคล้องจอง และ
ข้อความที่ประกอบดว้ ย คำพ้ืนฐาน คือ คำทใี่ ชใ้ นชวี ติ ประจำวนั ไมน่ ้อยกวา่ 600 คำ รวมทง้ั คำทใ่ี ชเ้ รียนรูใ้ น
กลุ่มสาระการเรียนรู้อ่ืน ประกอบด้วย คำท่ีมีรูปวรรณยุกต์และไม่มีรูปวรรณยุกต์ คำที่มีตัวสะกดตรงตาม
มาตราและไม่ตรงตามมาตรา คำทม่ี ีพยญั ชนะควบกลำ้ คำท่มี อี ักษรนำ

26

สาระท่ี 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย
การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไวเ้ ป็นสมบัติของชาติ
ตวั ชี้วดั ป.1/2 เขยี นสะกดคำและบอกความหมายของคำ สาระการเรียนร้แู กนกลาง การสะกดคำ การแจกลูก
และการอ่านเป็นคำ มาตราตวั สะกดที่ตรงตามมาตราและไมต่ รงตามมาตรา การผันคำ ความหมายของคำ

เคร่ืองมือท่ีใชใ้ นการวจิ ยั
1. เครอื่ งมอื ทใ่ี ชใ้ นการเรยี นการสอน
1.1 แผนการจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใชส้ สี นั สรา้ งคำโดยการใช้

สมองเป็นฐานรว่ มกับเกมการศึกษา
ขั้นตอนการพฒั นาเคร่ืองมอื : แผนการจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการ

ใชส้ ีสันสรา้ งคำโดยการใช้สมองเป็นฐานรว่ มกบั เกมการศึกษา
1) ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวจิ ัยท่เี กี่ยวขอ้ งกบั การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใชส้ มอง

เป็นฐานและเกมการศึกษา
2) ศึกษาศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 (ฉบับปรังปรุง

พ.ศ.2561) กลุม่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรอ่ื งการอ่านและการเขียนสะกดคำ
3) ดำเนินการจดั ทำแบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ดว้ ยการใช้สีสนั

สร้างคำโดยการใชส้ มองเปน็ ฐานร่วมกับเกมการศึกษา คลิป VDO และแบบฝึกหัด แล้วนำไปใช้ในการ
ดำเนินการวจิ ัย

2. เครอ่ื งมอื ทใี่ ช้ในการเกบ็ รวบรวมข้อมลู
2.1 แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย ระดับชั้น

ประถมศกึ ษาปที ่ี 1
ข้ันตอนการพัฒนาเคร่ืองมือ : การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการ

เขียนสะกดคำภาษาไทย ระดับช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 มีเกณฑ์การวัดประเมินผลการทดสอบผลสัมฤทธ์ิ
ประเมินเปน็ 2 ระดับ คือ ผา่ นและไมผ่ ่าน มีขัน้ ตอนดังนี้

1) ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา บทความ และงานวิจัยท่เี ก่ยี วขอ้ งกับการ
ออกแบบ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย ระดับช้ันประถมศึกษา
ปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย

27

2) ดำเนินการสร้างแบบทดสอบสร้างโดยการวิเคราะห์จุดประสงค์ และตัวชี้วัด
จำนวน 20 ข้อ แบ่งเป็นแบบทดสอบการอ่านสะกดคำภาษาไทยจำนวน 10 ข้อ ใช้เวลา 15 นาที
(แบบออนไลนเ์ กม Wordwall และแบบOn hand) และแบบทดสอบการเขียนสะกดคำตามคำบอกภาษาไทย
จำนวน 10 ข้อ ใช้เวลา 20 นาที (คลิปวดิ โิ อ) โดยแบบทดสอบก่อนและหลังเรยี นใชฉ้ บับเดยี วกนั

3) นำแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย ระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 เสนอผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจพิจารณาความตรงของเน้ือหา (content validity) ตลอดจน
ความถูกต้องเหมาะสมของการใช้ภาษาและข้อคำถาม แล้วนำผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ มาวิเคราะห์
และปรบั ปรุงแกไ้ ขตามคำแนะนำ

4) นำแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย ระดับช้ัน
ประถมศกึ ษาปีท่ี 1 ท่ีผ่านการตรวจสอบและแก้ไขแล้ว ไปใชก้ ับกลมุ่ ตวั อย่าง

แผนการวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน

7 มถิ นุ ายน 2564 – 31 ตลุ าคม 2564

วนั เดอื น ปี กิจกรรม หมายเหตุ

7 มิ.ย. 2564 – 30 มิ.ย. 2564 - ศึกษาสภาพปญั หาและวเิ คราะหห์ าแนวทาง
1 ก.ค. 2564 – 11 ต.ค. 2564 แก้ปัญหา
- เขียนเค้าโครงงานวจิ ยั ในช้ันเรียน
- วิเคราะห์ผู้เรียน
- ออกแบบเครื่องมอื ทจ่ี ะใช้ในงานวิจยั
- เก็บรวบรวมข้อมลู และวิเคราะห์ข้อมูล

12 ต.ค. 2564 – 18 ต.ค. 2564 - สรปุ และอภปิ รายผล

19 ต.ค. 2564 – 31 ต.ค. 2564 - จัดทำรปู เล่ม

28

การดำเนนิ การทดลองและการเกบ็ รวบรวมข้อมูล
ในการวจิ ัยครง้ั น้ี ผู้วจิ ยั ได้ดำเนินการทดลองดงั น้ี

1) ผู้วิจัยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ
ภาษาไทย ระดับชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 1 กอ่ นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสัน
สร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา (pre-test) จำนวน 20 ข้อ แบ่งเป็นแบบทดสอบการ
อ่านสะกดคำภาษาไทยจำนวน 10 ข้อ ใช้เวลา 15 นาที (แบบออนไลน์เกม Wordwall และแบบOn hand)
และแบบทดสอบการเขยี นสะกดคำตามคำบอกภาษาไทยจำนวน 10 ขอ้ ใช้เวลา 20 นาที (คลิปวิดิโอ) แล้วนำ
คะแนนความสามารถในการอ่านและการเขยี นสะกดคำภาษาไทยที่ได้กอ่ นเรียนมาวิเคราะหข์ ้อมลู

2) ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ดว้ ยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้
สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา คลิป VDO และแบบฝึกหัด โดยบันทึกผลหลงั การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เพอ่ื นำไปใชอ้ ภิปรายผลการวิจยั

3) วัดความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย ระดับชนั้ ประถมศึกษา
ปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมการจัดกิจกรรม (post-test) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการ
เขยี นสะกดคำภาษาไทย ระดับช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 แบ่งเป็นแบบทดสอบการอ่านสะกดคำภาษาไทยจำนวน
10 ขอ้ ใชเ้ วลา 15 นาที (แบบออนไลน์เกม Wordwall และแบบOn hand) และแบบทดสอบการเขียนสะกด
คำตามคำบอกภาษาไทยจำนวน 10 ขอ้ ใช้เวลา 20 นาที (คลปิ วดิ ิโอ) แล้วนำคะแนนท่ไี ด้หลังเรยี นมาวิเคราะห์
ขอ้ มูล

29

การวิเคราะหข์ ้อมลู
ผลท่ไี ดจ้ ากการทดลอง นำมาวเิ คราะห์ขอ้ มูลโดยวิธกี ารทางสถติ ิ ดว้ ยโปรแกรม SPSS ดงั น้ี

1.วเิ คราะห์คา่ เฉล่ีย (x̄ ) และส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนความสามารถในการอ่านและ
การเขยี นสะกดคำภาษาไทย ระดบั ช้ันประถมศกึ ษาปีท่ี 1 กอ่ นและหลงั การจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนแบบ
ออนไลน์ ดว้ ยการใช้สสี ันสรา้ งคำโดยการใช้สมองเปน็ ฐานรว่ มกบั เกมการศกึ ษา

2.วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ
ภาษาไทย ระดับชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจดั กิจกรรมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ ดว้ ยการ
ใช้สีสนั สร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานรว่ มกับเกมการศึกษา โดยการวเิ คราะห์เปรียบเทียบทางสถิติด้วยการ
ทดสอบค่าที (t-test Dependent)

3.วเิ คราะหค์ วามแตกต่างระหว่างคา่ เฉลีย่ ของคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ
ภาษาไทย ระดบั ช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ดว้ ยการใช้สสี นั
สรา้ งคำโดยการใช้สมองเปน็ ฐานร่วมกับเกมการศึกษา เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม
โดยการวเิ คราะห์เปรียบเทยี บทางสถติ ดิ ้วยการทดสอบค่าที (One Simple t-test)

30

บทท่ี 4
ผลการดำเนินการวจิ ัย

การวจิ ัยครง้ั น้ีมวี ตั ถปุ ระสงค์เพ่อื ศกึ ษาผลการจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสัน
สรา้ งคำโดยการใชส้ มองเปน็ ฐานร่วมกับเกมการศกึ ษา ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและเขยี นสะกดคำภาษาไทย
ของนักเรียนระดับช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนแบบออนไลน์ ดว้ ยการใชส้ ีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบ
ความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1/2 โรงเรียน
อนุบาลพระสมุทรเจดีย์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้
สมองเปน็ ฐานร่วมกับเกมการศึกษา กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเตม็

ผวู้ จิ ยั ไดน้ ำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังน้ี
ตอนที่ 1 เปรียบเทียบค่าเฉล่ียของคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย
ระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรยี นอนบุ าลพระสมุทรเจดีย์ ก่อนและหลงั การจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนแบบ
ออนไลน์ ด้วยการใชส้ ีสนั สรา้ งคำโดยการใชส้ มองเป็นฐานรว่ มกบั เกมการศึกษา
ตอนที่ 2 เปรียบเทียบค่าเฉล่ียของคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย
ระดับชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ หลงั การจดั กิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์
ด้วยการใชส้ ีสันสร้างคำโดยการใชส้ มองเปน็ ฐานรว่ มกับเกมการศกึ ษา กับเกณฑ์รอ้ ยละ 75 ของคะแนนเต็ม

31

1. เปรียบเทยี บค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอา่ นและการเขียนสะกดคำภาษาไทย

ระดับช้นั ประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรยี นอนบุ าลพระสมทุ รเจดีย์ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการ

สอนแบบออนไลน์ ดว้ ยการใชส้ ีสนั สรา้ งคำโดยการใชส้ มองเป็นฐานรว่ มกบั เกมการศึกษา

ผวู้ จิ ัยวเิ คราะห์ขอ้ มูลโดยเปรียบเทยี บคา่ เฉล่ยี ของคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียน

สะกดคำภาษาไทย ระดับชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรยี นอนบุ าลพระสมทุ รเจดยี ์ ก่อนและหลงั การเรียน

การสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสนั สร้างคำโดยการใช้สมองเปน็ ฐานรว่ มกับเกมการศกึ ษา จากคะแนนเตม็

20 คะแนน ดงั น้ี

ตารางท่ี 1 เปรียบเทียบค่าเฉล่ียของคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย

ระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดยี ์ ก่อนและหลังการจดั กิจกรรมการเรียนการสอน

แบบออนไลน์ ด้วยการใชส้ สี นั สรา้ งคำโดยการใชส้ มองเปน็ ฐานร่วมกบั เกมการศกึ ษา

กลุ่มทดลอง n x̄ S.D. t sig

ก่อนการจดั กิจกรรมการเรียน 32 9.72 2.036 -28.430 .000*

การสอนแบบออนไลน์

ดว้ ยการใช้สีสันสร้างคำโดย

การใชส้ มองเปน็ ฐานร่วมกบั

เกมการศึกษา

หลังการจดั กิจกรรมการเรยี น 32 17.63 2.181

การสอนแบบออนไลน์

ด้วยการใช้สีสนั สรา้ งคำโดย

การใช้สมองเปน็ ฐานร่วมกบั

เกมการศกึ ษา

*p < .05

จากตารางท่ี 1 พบวา่ นกั เรยี นท่ีรว่ มกจิ กรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ดว้ ยการใช้สสี นั สร้างคำ

โดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา มีคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ

ภาษาไทยหลงั เรยี น (x̄ = 17.63) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄ = 9.72) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทร่ี ะดับ .05

32

2. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย

ระดับช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ

ออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเปน็ ฐานร่วมกับเกมการศึกษา กับเกณฑร์ ้อยละ 75 ของ

คะแนนเต็ม

ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียน

สะกดคำภาษาไทย ระดับชั้นประถมศกึ ษาปที ่ี 1 โรงเรยี นอนุบาลพระสมทุ รเจดีย์ หลังการจัดกิจกรรมการเรยี น

การสอนแบบออนไลน์ ดว้ ยการใช้สีสันสรา้ งคำโดยการใช้สมองเป็นฐานรว่ มกบั เกมการศึกษา กบั เกณฑ์ร้อยละ

75 ของคะแนนเตม็ ดงั นี้

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบคา่ เฉล่ียของคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย ระดับชั้น

ประถมศกึ ษาปีท่ี 1 โรงเรยี นอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการ

ใชส้ สี ันสรา้ งคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษากบั เกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเตม็

กลมุ่ ทดลอง n x̄ S.D. t sig

หลงั การจดั กิจกรรมการ 32 17.63 2.181 6.808 .000*

เรียนการสอนแบบออนไลน์

ด้วยการใชส้ ีสนั สร้างคำ

โดยการใชส้ มองเปน็ ฐาน

ร่วมกบั เกมการศึกษา

*p < .05

จากตารางท่ี 2 พบวา่ นกั เรยี นท่ีรว่ มกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สสี นั สรา้ งคำ

โดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา มีคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ

ภาษาไทยหลงั เรียนมีคา่ เฉลี่ย 17.63 ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน 2.181 และพบว่านักเรยี นมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์

ท่กี ำหนดรอ้ ยละ 75 ของคะแนนเต็ม อยา่ งมีนัยสำคัญทางสถติ ิทรี่ ะดบั .05

33

บทที่ 5
อภปิ รายผลการวจิ ยั และข้อเสนอแนะ

การวิจัยคร้ังน้ีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียน
สะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชนั้ ประถมศึกษาปที ี1่ /2 โรงเรยี นอนุบาลพระสมทุ รเจดีย์ ก่ อ น แ ละ ห ลังก ารจั ด
กิจกรรมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สสี นั สรา้ งคำโดยการใชส้ มองเป็นฐานรว่ มกับเกมการศึกษาและ
เปรียบเทียบ ความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี1/2
โรงเรยี นอนบุ าลพระสมุทรเจดีย์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดย
การใชส้ มองเปน็ ฐานรว่ มกบั เกมการศกึ ษากับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม

วตั ถปุ ระสงคข์ องงานวิจยั

1. เพือ่ เปรยี บเทียบความสามารถในการอา่ นและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรยี นระดับชน้ั
ประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนอนบุ าลพระสมทุ รเจดีย์ กอ่ นและหลงั การจดั กิจกรรมการเรยี นการสอนแบบ
ออนไลน์ ดว้ ยการใช้สีสนั สร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานรว่ มกับเกมการศกึ ษา

2. เพ่ือเปรียบเทยี บความสามารถในการอ่านและการเขยี นสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนระดับชนั้
ประถมศึกษาปที ่ี 1/2 โรงเรียนอนบุ าลพระสมุทรเจดีย์ หลังการจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์
ด้วยการใชส้ ีสนั สร้างคำโดยการใชส้ มองเป็นฐานรว่ มกบั เกมการศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม

คำถามการวิจยั

1. นกั เรยี นช้นั ประถมศึกษาปีท่ี1/2 โรงเรยี นอนบุ าลพระสมุทรเจดยี ์ ที่ร่วมกจิ กรรมการเรยี นการสอน
แบบออนไลน์ ด้วยการใชส้ สี ันสร้างคำโดยการใช้สมองเปน็ ฐานรว่ มกับเกมการศึกษา จะมีความสามารถในการ
อา่ นและการเขยี นสะกดคำภาษาไทยหลังเรียนสูงกวา่ กอ่ นเรยี นหรือไม่ อย่างไร

2. นักเรยี นช้นั ประถมศึกษาปีท่ี1/2 โรงเรียนอนบุ าลพระสมุทรเจดีย์ ทร่ี ว่ มกิจกรรมการเรียนการสอน
แบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา จะมีความสามารถใน
การอา่ นและการเขยี นสะกดคำภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์รอ้ ยละ 75 ของคะแนนเตม็ หรือไม่ อย่างไร

ขอบเขตการวิจัย

1. ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง
ประชากรในการวจิ ยั คร้ังนค้ี อื นักเรยี นชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ 1 ของโรงเรยี นอนบุ าลพระสมุทรเจดยี ์ สงั กัด
สำนักงานเขตพืน้ ทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาสมุทรปราการเขต 1 ภาคเรียนท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2564

34

กลมุ่ ตวั อยา่ งในการวจิ ัยคร้งั น้ีคือ นักเรียนชัน้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 1/2 ภาคเรยี นท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2564
โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดยี ์ สังกัดสำนักงานเขตพน้ื ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1
จากวิธีการเลอื กกลมุ่ ตวั อย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 32 คน

2. เนื้อหาวิชาท่ีใช้ในการวิจัยคร้ังนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของระดับช้ัน
ประถมศึกษาปีที่1 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน เร่ืองการอ่านและการเขียนสะกดคำ

สาระที่ 1 การอา่ น มาตรฐาน ท 1.1 ใชก้ ระบวนการอ่านสรา้ งความรู้และความคิดเพ่ือนำไปใช้ตดั สินใจ
แก้ปัญหาในการดำเนนิ ชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน ตัวชี้วัด ป.1/1 อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง และข้อความ
ส้ันๆ สาระการเรียนรู้แกนกลาง การอ่านออกเสียงและบอกความหมายของคำ คำคล้องจองและข้อความท่ี
ประกอบด้วย คำพ้ืนฐาน คือ คำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่น้อยกว่า 600 คำ รวมท้ังคำที่ใช้เรียนรู้ในกลุ่มสาระ
การเรยี นรูอ้ น่ื ประกอบด้วย คำท่มี ีรูปวรรณยุกตแ์ ละไม่มรี ปู วรรณยุกต์ คำทมี่ ีตัวสะกดตรงตามมาตราและไม่ตรง
ตามมาตรา คำที่มพี ยญั ชนะควบกลำ้ คำทมี่ อี ักษรนำ

สาระท่ี 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย
การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตัวชี้วัด ป.1/2 เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ สาระการเรียนรู้แกนกลาง การสะกดคำ การแจกลูก
และการอา่ นเปน็ คำ มาตราตวั สะกดทต่ี รงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา การผนั คำ ความหมายของคำ

3. ระยะเวลาทีใ่ ช้ในการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ 12 สปั ดาห์ ในตารางเรียนตามปกติ
4. ตวั แปรทศี่ กึ ษา

4.1 ตวั แปรอสิ ระ คือ การจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ดว้ ยการใชส้ ีสันสรา้ งคำ
โดยการใชส้ มองเปน็ ฐานร่วมกบั เกมการศึกษา

4.2 ตวั แปรตาม คอื ความสามารถในการอา่ นและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนกั เรียนช้นั
ประถมศกึ ษาปที 1่ี /2 โรงเรยี นอนุบาลพระสมทุ รเจดยี ์

สรุปผลการวจิ ัย

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐาน
ร่วมกับเกมการศึกษา ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนระดับช้ัน
ประถมศกึ ษาปีที่ 1/2 โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ สามารถสรุปผลได้ดังน้ี

1. นกั เรยี นทรี่ ่วมกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสรา้ งคำโดยการใชส้ มองเปน็ ฐาน
ร่วมกับเกมการศึกษา มีคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อยา่ งมีนยั สำคัญทางสถิติทรี่ ะดับ .05

35

2. นกั เรียนที่ร่วมกจิ กรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ดว้ ยการใช้สีสันสรา้ งคำโดยการใช้สมองเปน็ ฐาน
ร่วมกับเกมการศึกษา มีคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์
ทกี่ ำหนดรอ้ ยละ 75 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคญั ทางสถิติท่รี ะดบั .05

อภปิ รายผล

จากการศึกษาคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนระดับช้ัน
ประถมศึกษาปีท่ี 1/2 โรงเรยี นอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ ที่รว่ มกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้
สีสันสรา้ งคำโดยการใช้สมองเปน็ ฐานร่วมกบั เกมการศึกษา ผลการศึกษาสามารถอภิปรายไดด้ ังน้ี

นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐาน
ร่วมกับเกมการศึกษา มีคะแนนความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียนอยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถติ ทิ ี่ระดบั .05 และมคี ะแนนความสามารถในการอ่านและการเขยี นสะกดคำภาษาไทย
หลงั เรยี นสงู กวา่ เกณฑท์ ่ีกำหนดร้อยละ 75 ของคะแนนเตม็ อย่างมนี ัยสำคัญทางสถิติที่ระดบั .05 ทง้ั น้ีเน่ืองมาจาก
ผู้วิจัยออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐาน
ร่วมกับเกมการศึกษา คลอบคลุมเน้ือหาเกี่ยวกับการอ่านและการเขียนสะกดสอดคล้องตามสาระการเรียนรู้
แกนกลางกลมุ่ สาระการเรยี นรูภ้ าษาไทย หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขนั้ พืน้ ฐานพทุ ธศักราช 2551 เรือ่ งอ่านออก
เสียงคำ คำคลอ้ งจอง และข้อความส้ันๆ อักษรนำ และเขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ (สำนักวิชาการ
และมาตรฐานการศึกษา สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พ้นื ฐานกระทรวงศึกษาธิการ, 2551)

ผู้วิจัยได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ท่ีนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกท่ีทุกเวลา
เหมาะสมตามสถานการณ์พารแพร่ระบาดของโควิด-19 และเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายของ
กระทรวงศึกษาธิการในการบริหารจดั การภายใตส้ ถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) ในจังหวัดที่ถูกประกาศให้เป็นพ้ืนท่ีสีแดง สีส้ม หรือสีเหลือง หากมีเหตุจำเป็นต้องปิดเรียนทุก
โรงเรียนในจังหวัดพื้นที่สีแดง ซึ่งการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ ให้ครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน
ผ่านเคร่ืองมือท่ีทางโรงเรียนกระจายไปสู่นักเรียน เป็นรูปแบบที่ถูกใช้ในการจัดการเรียนการสอนจำนวน
มากท่ีสุด (สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน, 2564) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Youtube
ชอ่ ง โรงเรียนอนุบาลพระสมทุ รเจดยี ์และชอ่ งห้องเรียนครูฝ้าย และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน เพ่อื ให้
การเรียนรู้ของนักเรียนเกิดความตอ่ เนื่อง การเรียนการสอนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผ้เู รียน
เนื้อหา ส่ือการเรียนและแหล่งเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่าย
เทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและการประเมินผล (วิทยา วาโยและคณะ, 2563) เกดิ ความสะดวกและเข้าถงึ ได้
อย่างรวดเร็ว ทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นการสร้างการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชากร การเรียนการสอนแบบ
ออนไลน์ เป็นการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความชอบของ
ตนเอง ในส่วนของเนอื้ หาของเรียน ประกอบด้วย ข้อความ, รปู ภาพ, เสียง , VDO และMultimedia อ่ืนๆ ส่ิง

36

เหล่าน้ีจะถูกส่งตรงไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser ทั้งผู้เรียนผู้สอน ด้วยเหตุน้ีการเรียนรู้แบบออนไลน์
จึงเปน็ รูปแบบที่เหมาะสำหรับทกุ คนเรยี นไดท้ กุ เวลา (สำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศึกษาเพชรบรู ณ์ เขต 3, 2564)

นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบกิจกรรมการเรยี นการสอน โดยคำนึงถึงการจดั การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ
การทำงานตามโครงสร้างและหน้าที่ของสมองอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนา
สมอง (Brain – based Learning) อีกท้ังคำนึงถึงหลักการทำงานของสมองของนักเรียนตามอายุ
โดยจดั สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จัดกิจกรรมการเรยี นรู้แบบองคร์ วมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเปน็ ฐาน
(Brain-based learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ท่ีต้องเข้าใจการทำงานของสมอง สมองมีอายุและจังหวะ
เรียนรู้ได้ตลอดเวลา โดยครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจการทำงานของสมองและการจัดสภาพแวดล้อมที่
เหมาะสมและทำความเข้าใจหรือมีมมุ มองตอ่ กระบวนการเรยี นรู้ ทำใหก้ ารจดั การเรยี นการสอนวางอยู่บนฐาน
ของความสนใจ และการใคร่ครวญว่าปัจจยั ใดบ้างทจ่ี ะทำให้สมองมกี ารเปล่ียนแปลง (อัครภูมิ จารภุ ากร และ
พรพไิ ล เลิศวชิ า, 2550) จากการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ในข้ันท่ี 1 ข้ันนำเข้าสู่บทเรียน มีการใช้การ์ตนู หรอื การ
แต่งกายเลียนแบบการ์ตูนตัวละครที่น่าสนใจมาสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และนำเข้าสู่บทเรียน ข้ันที่ 2 ขั้น
สอน(เสนอความรู้ใหม่และฝึกทักษะแลกเปล่ียนเรียนรู้ลงมือปฏิบัต)ิ นักเรียนจะได้เรียนรู้การอ่านสะกดคำและ
ความหมายของคำร่วมกับการเลน่ เกมที่สนุกสนาน และขั้นที่ 3 ข้ันสรปุ ความรแู้ ละข้ันประยุกต์ใช้ความรู้ จาก
การทบทวนบทเรียนและทำงานที่ได้รับมอบหมาย จากข้อมูลดังกล่าวล้วนเป็นการจัดการเรียนรู้ให้สมองซีก
ซา้ ยและซีกขวาเกิดการเรยี นรู้อย่างสมดลุ สอดคล้องตามสติปัญญาของนักเรียนโดยใช้กระบวนการและวิธกี าร
สอนที่หลากหลายอยา่ งเหมาะสม (ปริชมน กาลพัฒน์, 2554) รวมถงึ มกี ารใช้สอ่ื และนวัตกรรมท่ีกระตนุ้ สมอง
แปลกใหม่ น่าตื่นเต้น มีสีสัน และจากแนวคิดทฤษฎีตามหลัก BBL สามารถนำมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎี
ทางด้านหลักการดา้ นจิตวทิ ยาสี (Psychology of color) ตามท่ีได้มีการศึกษาคน้ คว้าในดา้ นจิตวทิ ยาสีซ่งึ เป็น
ตวั กระตุ้นความรสู้ ึกและมผี ลต่อจิตใจของมนุษย์ สตี ่างๆ จะใหค้ วามรู้สึกทแี่ ตกตา่ งกัน ดังนั้นเราจึงใชส้ ีเพือ่ สื่อ
ความรสู้ ึกและความหมายต่างๆ(อรอนงค์ ฤทธ์ิฤาชัย, สัญชัย สันติเวช และนิธวิ ดี ทองป้อง, 2560) โดยมีการใช้
สีสนั เข้ามาช่วยกระตนุ้ สมองในการฝึกให้นักเรียนอ่านสะกดคำ โดยสีดำ แทนตัวพยญั ชนะต้นใหอ้ ่านออกเสยี ง
กอ่ นเป็นลำดับแรก สีแดงแทนสระ สีน้ำเงนิ แทนตัวสะกด และสีเขียวแทนวรรณยุกต์ ซึ่งช่วยกระตุ้นสมองให้
เด็กฝึกอ่านและเขียนสะกดคำได้อย่างสนุกสนาน ท้ังน้ีครูผู้สอนจึงได้นำสีสันเข้ามาช่วยในการจำแนกตัว
พยัญชนะ สระ ตัวสะกด และวรรณยุกต์เพื่อใช้ในการฝึกอ่านและเขียนสะกดคำสระต่างๆ ส่งผลให้นักเรียน
สามารถอ่านและเขียนสะกดคำได้ถูกต้อง มีความสอดคล้องกับหลักการสอนการอ่านและการเขียนสะกดคำ
ภาษาไทย โดยเปน็ แบบฝึกท่ีเน้นการอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระ ตวั สะกด และวรรณยุกตม์ าประสมกนั เป็น
เสียงคำต่างๆ ตามหลักการอ่านแจกลูกสะกดคำ เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานของการ นำรูปคำ และเสียง
พยัญชนะต้น รูปและเสียงสระ รูปและเสียงวรรณยุกต์ รูปและเสียงตัวสะกดมาประสมกันทำให้ออกเสียง

37

คำต่างๆ ท่ีมีความหมายในภาษาไทย เพ่ือให้นักเรียนได้หลักเกณฑ์ทางภาษาทั้งการอ่านและการเขียน

ไปพรอ้ มกนั (องิ อร สุพันธุว์ ณชิ และคณะ, 2554)

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมองเป็นฐาน
ร่วมกบั เกมการศกึ ษา ส่งผลให้ให้นักเรียนเกดิ ความสนุกสนานและกระตอื รอื ร้นในการเรียนมากย่ิงขึ้นจากการ
ปร ะ ยุ ก ต์ ใช้ เก ม ก าร ศึ ก ษ าใน ข้ัน สอ น (เสน อ ความ รู้ ให ม่ แล ะฝึ ก ทั ก ษ ะ แล ก เป ลี่ ย น เรีย น รู้ล งมื อ ป ฏิ บั ติ )
โดยออกแบบเกมเป็นไปตามจุดประสงค์ของแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นการกระตุ้นความสนใจและทบทวน
ความรู้ทำใหก้ ารเรียนรมู้ ีความหมายและอยู่คงทน (สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ,2562) ซึ่งวิธีการสอนโดยใช้
เกม ช่วยให้ผู้เรยี นได้เรียนร้เู รื่องตา่ งๆอยา่ งสนุกสนานและทา้ ทายความสามารถ โดยผูเ้ รยี นเป็นผ้เู ล่นเอง ทำให้
ได้รบั ประสบการณ์ตรง เป็นวธิ ีการที่เปิดโอกาสให้ผูเ้ รียนได้มีส่วนร่วมสูง และการเลือกใช้เกมนำมาใชส้ อนทำ
ได้หลายวิธี ผู้สอนอาจเป็นผู้สร้างเกมขึ้นให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ของการสอนของตนหรืออาจนำเกมที่มี
ผู้สร้างข้ึนแล้วมาปรับดัดแปลงให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน (ทิศนา แขมมณี, 2559)
ตัวอย่างเช่น เกมตามหาคำสระอาจากคำใบ้, เกมหาคำจากภาพสระอี, เกมคำสระอูแสนสนุก, เกมตะเกียง
วเิ ศษ เสกภาพปรศิ นา, เกมตามลา่ หาภาพ จากคำสระแอ, เกมกระเปา๋ วเิ ศษ มหาสนกุ เปน็ ตน้

จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสรา้ งคำโดยการใช้สมองเป็นฐาน
รว่ มกับเกมการศึกษาสง่ ผลให้การเรยี นรขู้ องนักเรียนมปี ระสิทธิภาพมากยิง่ ขึ้น สามารถอ่านและเขียนสะกดคำ
ไดอ้ ย่างถูกตอ้ ง ตามผลการวจิ ยั ของอญั ชลี สวัสดโ์ิ สม (2557: บทคัดยอ่ ) ได้ทำการวิจัยเร่ืองผลสัมฤทธ์กิ ารอ่าน
คำศพั ท์ภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเกม ร่วมกบั แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีท่ี 3การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 3 กอ่ นเรียนและหลังเรยี นโดยใช้การจดั การเรยี นรู้ด้วยเกมร่วมกับแบบฝึกทักษะ
การอ่านคำศพั ท์ กลุ่มตัวอยา่ งท่ีใช้ในการวิจยั เปน็ นกั เรียนช้ันประถมศึกษาปที ี่ 3 โรงเรยี นวัดวฒั นารังษี อำเภอ
กบินทร์บรุ ี จังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรยี นที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 24 คน เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัยไดแ้ ก่
1) กจิ กรรมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย จำนวน 12 เกม 2) แบบทดสอบวดั ผลสมั ฤทธ์ิการอ่านคำศัพท์
ภาษาไทย ใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัด การเรียนรู้ด้วยเกม
รว่ มกับแบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์จำนวน 12 แผน ผลการวิจัยพบว่า ผลสมั ฤทธก์ิ ารอ่านคำศัพท์ภาษาไทย
ของนักเรียนชั้นประถมศกึ ษา ปีท่ี 3 ที่เรียนรดู้ ้วยเกมร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ หลังเรียนสูงกว่า
กอ่ นเรียนแตกต่างกันอยา่ งมีนยั สำคัญทางสถิติท่ีระดับ .01 และสอดคล้องกบั ผลการวิจัยของภาวินี กลิ่นโลกัย
และเยาวภา ประคองศิลป์ (2553: บทคัดย่อ) ที่ได้ทำการวิจัยเร่ืองการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม
เพ่อื พัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชัน้ ประถมศกึ ษาปีที่ 1 โรงเรียน
บา้ นเกาะ สำนักงานเขตมีนบุรี ผลการวจิ ัยพบวา่ 1. ผลการพัฒนาพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม ได้จัด
กิจกรรมตามขั้นตอน 3 ข้ัน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการสร้างความสนใจ ด้วยการใช้เพลง การตอบ
คำถาม เพื่อให้ผเู้ รียนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ 2) ขนั้ สอน เปน็ การนำเสนอเนื้อหาใหม่ โดยการใช้ส่ือการเรยี น
การสอนที่เหมาะสมกับเน้ือหา เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักเกณฑ์ วิธีการเขียนสระ การประสมสระกับ

38

พยญั ชนะ ด้วยการนำเกมมาใช้ใหน้ ักเรยี นไดฝ้ กึ ปฏบิ ัติ 3) ขนั้ สรปุ นักเรยี นนำความรู้ไปใช้ในทกั ษะการประสม
สระกับพยัญชนะ การอ่าน และการเขียน ทำให้นักเรียนมีหลักเกณฑ์ในการอ่านคำ สามารถอ่านคำได้คล่อง
และรวดเร็วขึ้น และผู้วิจัยนำรูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการมาพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในคร้ังน้ีจึงมีการพัฒนา
และแกไ้ ขปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเน่ืองจนสิ้นสุดการทดลองปฏิบตั กิ าร ผลการวจิ ัยพบว่าทำ
ให้นักเรียนมคี วามสนใจ กระตอื รือร้น สนุกสนาน และได้มโี อกาสสร้างประสบการณ์ใหก้ ับตนเองเพือ่ เรยี นรู้ ทำ
ให้นักเรียนสามารถปรับตัวได้ และอยากเรียนรู้ในบทเรียนสามารถจดจำเน้ือหาได้ดีข้ึน รวมไปถึงการพัฒนา
ทกั ษะการฟัง การพดู การอ่านและการเขยี นอีกด้วย 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นของนักเรียนช้นั ประถมศึกษาปี
ท่ี 1 กลุ่มสาระการการวิเรียนร้ภู าษาไทยที่เรยี น โดยการจดั กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมมีคะแนนเฉล่ียรอ้ ยละ
80.83 ของคะแนนเต็ม และจำนวนนักเรียนท่ีผ่านเกณฑ์ร้อยละ 87.50 ซ่ึงสูงกว่าเกณฑ์ท่ีกำหนดไว้ อีกท้ัง
สอดคล้องกับผลการวิจัยของนางสาวกสุ มุ า คำผาง (2559) ไดท้ ำการวจิ ัยเร่ือง ผลของการจัดการเรยี นการสอน
เขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน ท่มี ีตอ่ ทักษะการเขยี นสะกดคำของนักเรียนในระดบั ประถมศกึ ษา
ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำโดยใช้สมองเป็นฐานมีทักษะการ
เขียนสะกดคำหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 2.นักเรียนที่ได้รับการจดั การ
เรยี นการสอนเขียนสะกดคำโดยใช้สมองเป็นฐานมีทักษะการเขียนสะกดคำไม่แตกต่างจากนักเรียนที่ได้รบั การ
จัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถติ ิท่ีระดับ .05 3.นกั เรียนกล่มุ ควบคุมมี
พฤติกรรมตอ่ การเรียนทีไ่ ม่ผ่อนคลาย อยใู่ นระเบียบตลอดเวลาส่งผลให้ไมม่ ีความมัน่ ใจในการตอบคำถาม และ
แสดงความคิดเหน็ แตน่ ักเรียนกลมุ่ ทดลองมคี วามผ่อนคลาย ทำให้มคี วามมัน่ ใจในการตอบคำถาม และแสดง
ความคิดเห็น อีกท้ังยงั มีทักษะการฟังผู้อ่ืนที่ดี สามารถช่วยกันหาวิธีแกป้ ัญหาได้ มีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดี
ข้นึ คอื มีความสุขและสนุกสนาน ตลอดจนมคี วามสามารถในการเรียน คอื มคี วามเขา้ ใจและความจำในบทเรยี น
ท่ีดีข้ึนอีกด้วย และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยการใช้สีสันสร้างคำโดยการใช้สมอง
เป็นฐานร่วมกับเกมการศกึ ษา ช่วยให้นักเรยี นเกิดการเรยี นร้ไู ด้ดีมากยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพตามผลการวิจัย
ในต่างประเทศของ Bilal (2010) ไดท้ ำการวิจัยเร่อื งผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนโดยใชส้ มองเป็นฐานของนักเรยี นที่
มีรูปแบบการเรียนรทู้ ่ีแตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้มวี ัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็น
ฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ท่ีแตกต่างกัน กลุ่มท่ีศึกษาประกอบด้วย
นักศึกษาจากภาควิชาสังคมศาสตร์การศึกษาของครูในคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยมูกลา (N = 68) ใน
การศึกษาได้ใช้การออกแบบการทดลองก่อนการทดสอบ - หลังเรียน รวบรวมข้อมลู โดยใช้แบบทดสอบวดั ผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามรูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของ Kolb ผลการวิจัยพบว่า
แนวทาง BBL ท่ีใช้ในกลุ่มทดลองมีประสิทธผิ ลในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรยี นมากกว่าวิธกี าร
แบบเดิมที่ใช้ในกลมุ่ ควบคุม แต่ไมพ่ บความแตกตา่ งอย่างมีนยั สำคัญระหว่างระดับผลสมั ฤทธ์ิของนักเรยี นกลุ่ม
ทดลองที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และสอดคล้องกับผลการวิจัยของDanial Hooshyar (2020) ท่ีได้
ศึกษาจากการใช้เกมสู่การคิดเชิงคำนวณ : แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมคอมพิวเตอร์เป็นฐาน พบว่า
มีการใช้เกมการศึกษามากขึ้นเพ่ือพัฒนาการคิดเชิงคำนวณของนักเรียน ทั้งน้ีเกมท่ีมีอยู่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปท่ี
ความรู้เชิงทฤษฎีเก่ียวกับการคิดเชิงคำนวณ โดยไม่ได้พัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ นอกจากนี้ ยังขาด

39

การบูรณาการกับเกมคอมพิวเตอร์เพ่ือการศึกษา ในการพัฒนาการคิดเชิงคำนวณ ซ่ึงมีความสำคัญต่อการ
ตอบสนองความต้องการความแตกต่างของผู้เรียนในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ จากการศึกษานี้
ผู้วิจัยได้นำเสนอเกมคอมพิวเตอร์เพ่ือการศึกษา (Auto Thinking) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณของ
นักเรียน เพื่อประเมินผลของเกม ได้ทำการศึกษาทดลองกับนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษา 79 คนใน
เอสโตเนีย ซง่ึ กลมุ่ ทดลองได้เรียนรูด้ ว้ ยเกมคอมพวิ เตอร์เพ่ือการศึกษา (Auto Thinking) ในขณะทกี่ ลมุ่ ควบคุม
ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม ผลการวิจัยพบว่าการเรียนรู้ด้วยเกมคอมพิวเตอร์เพ่ือการศึกษา
(Auto Thinking) ชว่ ยพฒั นาการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนท่ีเก่ียวขอ้ งกับความร้เู ชิงแนวคิดและทักษะอย่างมี
นัยสำคัญ นอกจากนี้ นักเรียนที่ใช้เกมคอมพิวเตอร์เพ่ือการศึกษา(Auto Thinking) มีความสนใจ ความพึง
พอใจ มสี มาธิ และการยอมรับเทคโนโลยีในการเรยี นรกู้ ารคิดเชงิ คำนวณในระดับทีส่ งู ขนึ้ อยา่ งมีนยั สำคญั

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคร้ังนี้
ในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ครูผู้สอนควรมีการประสานงานร่วมกัน
ระหวา่ งครกู ับผปู้ กครองและนกั เรยี นในการมอบหมายงานจากการใช้นวตั กรรมในแต่ละขนั้ ตอน ทงั้ การสง่ คลิป
วีดิโอ การมอบหมายงานในแบบฝกึ หัดและใบงาน การส่งงาน การตรวจสอบผลงานนักเรียนผ่านแอพพลิเคชั่น
ไลน์กลุ่มห้องเรียนป.1/2 ท้ังในรูปแบบ ONLINE และ ON-HAND และควรคำนึงถึงความพร้อมของอุปกรณ์
เทคโนโลยี อนิ เทอร์เนต็ ของผปู้ กครองและนกั เรยี นทีใ่ ช้ในการเรียนออนไลน์

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจยั ครงั้ ตอ่ ไป
2.1 ควรมกี ารศกึ ษาวิจยั การจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนโดยใช้สมองเปน็ ฐานรว่ มกับเกม

การศกึ ษาในเนอื้ หาหนว่ ยการเรียนรูอ้ ืน่ ๆหรอื ในระดับชัน้ อ่ืนๆ ของกล่มุ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย
2.2 ควรศกึ ษาการพัฒนาและตอ่ ยอดนวตั กรรมโดยการขยายเครือขา่ ยการเผยแพรค่ ลิปวดิ โี อ

ประกอบการสอนผา่ นสื่อออนไลน์ช่องทางต่างๆเพ่มิ เตมิ จากทางYoutube เชน่ facebook, tiktok และจดั ทำ
แบบฝึกการอา่ นและการเขียนสะกดคำภาษาไทยให้มคี วามหลากหลายมากขน้ึ โดยใช้สอื่ มัลติมีเดียหรอื
แอพพลเิ คช่ันตา่ งๆ เช่น การสร้างใบงานผ่านเวบ็ ไซต์ Live Worksheets และการสรา้ ง E-book หนังสือออนไลน์
เปน็ ตน้

40

รายการอา้ งอิง

ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธกิ าร. (2551). หลกั สตู รการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช 2551. กรุงเทพมหานคร :

โรงพมิ พ์ครุ สุ ภาลาดพรา้ ว.
กอบกาญจน์ วงศว์ สิ ิทธ์.ิ (2551). ทักษะภาษาเพอื่ การส่ือสาร. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พร้นิ ติ้ง เฮา้ ส.์
กุสุมา คำผาง. (2559). ผลของการจดั การเรียนการสอนเขยี นสะกดคำภาษาไทยโดยใช้สมองเปน็ ฐาน ทมี่ ีตอ่

ทกั ษะการเขยี นสะกดคำของนักเรยี นในระดบั ประถมศึกษา. (วทิ ยานิพนธป์ รญิ ญามหาบณั ฑิต),
จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั .
จนิ ต์กวี แสงอรณุ และคณะ. (2560). การพัฒนาความสามารถดา้ นการเขยี นสะกดคาํ ของนักเรยี นชัน้
ประถมศกึ ษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรสู้ มองเป็นฐาน (BBL) ประกอบแบบฝึกทักษะ. การประชุม
วชิ าการเสนอผลงานวิจยั ระดับบณั ฑิตศึกษา คร้ังท่ี 2 มหาวิทยาลยั ราชภฏั มหาสารคาม, 723-732.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตรก์ ารสอน : องคค์ วามรูเ้ พ่อื การจัดกระบวนการเรยี นรู้ที่มีประสิทธิภาพ
(พิมพค์ รง้ั ท่ี 20). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.
ธดิ ารตั น์ เจตินยั . (2551). ผลการอ่านจบั ใจความภาษาไทยชน้ั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 2 ด้วยกลุม่ รว่ มมอื ท่ีใช้
แผนผังความคิดและเกม ตามแนวคดิ โดยใช้สมองเป็นฐาน. (การศกึ ษาค้นคว้าอิสระการศกึ ษา
มหาบัณฑติ ), มหาวทิ ยาลัยมหาสารคาม.
ปรชิ มน กาลพฒั น์. (2554). การจัดการเรยี นรู้โดยใชส้ มองเป็นฐาน. คณะเภสชั ศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่
ฝ่ายวชิ าการ โรงเรยี นสาธติ มหาวทิ ยาลัยศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ ปทมุ วัน. (2550). สอนสนุก สรา้ งสุข สไตล์สาธติ
(ปทุมวัน). กรุงเทพมหานคร : แปลน ฟอร์ คิดส์.
ภาวินี กลิ่นโลกยั และเยาวภา ประคองศลิ ป์. (2553). การพฒั นากิจกรรมการเรียนรโู้ ดยใชเ้ กม เพ่ือพัฒนา
ผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นกล่มุ สาระการเรียนรภู้ าษาไทย ของนักเรยี นชั้นประถมศึกษาปที ่ี 1 โรงเรียน
บา้ นเกาะ สำนักงานเขตมีนบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบบั วจิ ัยบณั ฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแกน่ ,
Vol.4, 2010 (special), 119.
วทิ ยา วาโยและคณะ. (2563), การเรียนการสอนแบบออนไลนภ์ ายใตส้ ถานการณแ์ พร่ระบาดของไวรัส
COVID-19 : แนวคดิ และการประยุกตใ์ ช้จัดการเรยี นการสอน. วารสารศนู ยอ์ นามัยท่ี 9, 34(14), 285.
ศศิธร เวียงวะลยั . (2556). การจัดการเรยี นร.ู้ กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สถาบันคลังสมองของชาติ. (2551). สมองกับการเรียนรู้. กรงุ เทพมหานคร: เบสท์ กราฟฟคิ เพรส.
สำนักงานเขตพน้ื ท่ีการศึกษาเพชรบรู ณ์ เขต 3. (2564). การเรียนการสอนแบบออนไลน์.
Retrieved from https://sites.google.com/a/esdc.go.th/xb-rm-xxnlin-sphp-phechrburn-khet-

3/hlaksutr-sahrab-khru-phu-sxn/thaksa-khru-kab-kar-cadkar-reiyn-ru-xxnlin-yukh-him

สำนกั งานคณะกรรมการ การศึกษาขัน้ พื้นฐาน. (2564). แนวทางปฏบิ ัติภายใตส้ ถานการณโ์ ควิด-19.
Retrieved from https://www.obec.go.th/archives/363188

สำนกั งานบรหิ ารและพฒั นาองค์ความรู.้ (2558). การจัดการเรียนรูต้ ามหลักการพฒั นาสมอง. Retrieved

41

from https://www. http://www.okmd.or.th/
สำนักงานวชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา สถาบันภาษาไทย. (2554). บรรทัดฐานภาษาไทยเลม่ 1.

กรงุ เทพมหานคร: สกสค.
สุคนธ์ สนิ ธพานนท์ และคณะ. (2562). หลากหลายวธิ สี อน เพอ่ื พัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย.

กรุงเทพมหานคร : หจก.9119 เทคนิคพรนิ้ ติ้ง.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2561). นวตั กรรมการเรยี นการสอนเพอื่ พฒั นาทกั ษะของผู้เรยี นในศตวรรษท่ี 21.

กรุงเทพมานคร : หจก. 9119 เทคนิคพรน้ิ ติ้ง.
สคุ นธ์ สนิ ธพานนท์. (2553). นวตั กรรมการเรยี นการสอนเพอื่ พัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรงุ เทพฯ:

หา้ งหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนคิ พรน้ิ ตง้ิ .
อัครภูมิ จารุภากรและพรพไิ ล เลิศวิชา. (2550). ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเขา้ ใจสมอง.

กรุงเทพฯ : ดา่ นสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
อัญชลี สวสั ด์ิโสม. (2557). ผลสัมฤทธิก์ ารอ่านคำศัพท์ภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรยี นรู้ดว้ ยเกม รว่ มกบั

แบบฝึกทักษะการอ่านคำศพั ท์ สำหรับนกั เรยี นช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 3. (วิทยานพิ นธป์ รญิ ญา
มหาบัณฑติ ), มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครนิ ทร์.
อารี สัณหฉวี. (2550). สอนภาษาไทยแนวสมดุลภาษา. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเพอื่ การศึกษาเด็ก.
องิ อร สุพันธ์วณิช และคณะ. (2554). ภาษาไทยและบูรณาการ ระดบั ประถมศกึ ษา. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพแ์ ห่งจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั
อรอนงค์ ฤทธิฤ์ าชัย, สัญชยั สนั ตเิ วช และ นธิ ิวดี ทองป้อง. (2560). จิตวิทยาสีกับหองเรียน BBL. วารสาร
ศกึ ษาศาสตรม์ หาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ , 40(1), 1-14.
ภาษาอังกฤษ
Caine, R. N., & Caine, G,. (2005). 12 Brain/mind learning principles in action : The
Computer Game-Based Learning Approach. Electronic Journal of Educational
Computing Research. Vol. 59, No. 3 pp. 383- 409
Danial Hooshyar. (2020). From Gaming to Computational Thinking: An Adaptive Educational
Duman, Bilal. (2010). The Effects of Brain-Based Learning on the Academic Achievement of
fieldbook for marking connections, teaching and the human-brain: Corwin press.
pp. 2077- 2103
Students with Different Learning Styles. Electronic Journal of Education. Vol. 10, No. 4

42

ภาคผนวก


Click to View FlipBook Version