The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thitikornLanakham, 2019-10-12 08:26:40

Unit 1

Unit 1

หน่วยท่ี 1

เซลลแ์ ละโครงสรา้ งของเซลล์

เอกสารประกอบการเรียน

หลักพนั ธศุ าสตร์ นางคัธรียา มะลวิ ัลย์
แผนกวิชาสัตวศาสตร์
วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชงิ เทรา

2

หนว่ ยท่ี 1

เซลล์และโครงสร้างของเซลล์

หวั ข้อเรอ่ื ง
1. เซลล์
2. โครงสรา้ งพ้นื ฐานของเซลล์

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและชนดิ ของเซลล์ได้
2. อธิบายโครงสร้างพ้ืนฐานของเซลล์ได้

เน้อื หาการสอน

1. เซลล์ (cell)
เซลล์ (cells) คือ หน่วยท่ีเล็กท่ีสุดของส่ิงที่มีชีวิต มีรูปร่างลักษณะและขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ

ชนิดของสงิ่ มชี วี ติ และหน้าที่ของเซลล์เหลา่ นน้ั โดยท่ัวไปมโี ครงสรา้ งพ้นื ฐานคล้ายคลงึ กัน และมีคณุ สมบัติของ
การเป็นสิ่งมีชีวติ อยา่ งครบถ้วน เช่น มีคุณสมบัติในการเจริญเติบโตเพ่ิมขนาดได้ (growth) สามารถแบ่งเซลล์
เพิ่มจานวนได้ (cell division) มีความสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า (response) สามารถดูดซึมโภชนะ
(absorption) และ ขับถ่ายของเสีย (excretion) ได้ เซลล์ในรา่ งกายจะมรี ูปร่าง ขนาด และหนา้ ที่แตกต่างกัน
ไปได้ ดังนั้นเม่ือเซลล์ท่ีมีรปู ร่างและทาหน้าที่เหมอื นกนั มาอยู่รวมกนั มาก ๆ จะทาให้เกิดเป็นเนอื้ เยื่อ (tissue)
ชนิดต่างๆ เช่น เนื้อเย่ือบุผิว (epithelium) และเนื้อเย่ือเก่ียวพัน (connective tissue) เป็นต้น และเม่ือ
เนื้อเย่ือต้ังแต่ 2 ชนิดข้ึนไปมาอยู่รวมกันเพ่ือร่วมกันทาหน้าที่ จึงเกิดเป็นอวัยวะ (organ) ขึ้นมา เช่น ปอด
หัวใจ และกระเพาะอาหาร จะประกอบข้ึนด้วยเน้ือเยื่อชนิดต่างๆ เช่น เน้ือเย่ือบุผิว เนื้อเยื่อกล้ามเน้ือ และ
เน้ือเย่ือเกี่ยวพนั เป็นต้น อวัยวะหลายๆ อวัยวะเม่ือมารวมกลุ่มกัน เพื่อทาหน้าที่อย่างใดอย่างหน่งึ รว่ มกนั จะ
เกิดเป็นระบบ (system) ขึ้นมา เช่น ระบบทางเดินอาหารประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ทาหน้าท่ีร่วมกัน คือ
กระเพาะอาหาร (stomach) ลาไส้เล็ก (small intestine) ตับ (liver) และถุงน้าดี (gall bladder) เป็นต้น
เมื่อระบบต่างๆ หลายๆ ระบบมาร่วมกันทาหน้าที่จะเกิดเป็นส่วนประกอบของร่างกาย (body) ข้ึน

ส่ิงมชี วี ติ ทุกชนดิ ต่างก็ประกอบด้วยเซลล์ (cell) ซึง่ เป็นหน่วยทีเ่ ล็กทส่ี ุดที่สามารถบ่งบอกถงึ คุณสมบัติ
และแสดงความเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างชัดเจนสมบูรณ์ เซลล์ช่วยในการสร้างและซ่อมแซม ผิวหนัง กล้ามเน้ือ
กระดูก อวยั วะต่าง ๆ ของร่างกาย

คุณสมบัติของเซลล์ แต่ละเซลล์มีองค์ประกอบและดารงชีวิตได้ด้วยตัวของมันเอง โดยการนา
สารอาหารเขา้ ไปในเซลลแ์ ละเปลี่ยนสารอาหารใหก้ ลายเป็นพลงั งานเพื่อการดารงชวี ติ และการสืบพนั ธุ์ เซลล์มี
ความสามารถหลายอย่าง วิธีการจัดกลุ่มเซลล์ไม่ว่าเซลล์น้ันจะอยู่ตามลาพังหรืออยู่เป็นกลุ่ม ได้แก่ สิ่งมีชีวิต
เซลล์เดียว (unicellular) ซึ่งดารงชีวิตเพื่อความอยู่รอด จนไปถึงการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มท่ีเรียกว่า โคโลนี
(colonial forms) หรือ ส่ิงมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular) ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะกลายเป็นเซลล์เฉพาะทางท่ี

3
แตกตา่ งกนั หลายรูปแบบ เชน่ เซลลต์ ่างๆ ในรา่ งกายมนุษย์ เซลลแ์ บง่ ได้ 2 ประเภทคอื

1. โพรแคริโอต (prokaryote) เปน็ เซลล์ทม่ี โี ครงสร้างอย่างง่าย อาจอย่เู ปน็ เซลล์เด่ยี ว ๆ หรือรวมกลมุ่
เป็นโคโลนี (Colony) ไดแ้ ก่ bacteria และ cyanobacteria(blue green algae) มี ribosome ซงึ่ ไมม่ เี ยอ่ื หมุ้
เซลล์

2. ยูแครโิ อต (eukaryote) เป็นเซลลท์ มี่ อี อรแ์ กเนลล์(organelle) และผนงั ของออรแ์ กเนลล์

ภาพท่ี 1.1 การเปรยี บเทียบระหว่างเซลล์โพรแคริโอตและยแู คริโอต
1.1 รปู ร่างของเซลล์
เซลลม์ ขี นาดแตกต่างกันมาก เซลลส์ ่วนใหญ่มีขนาดเล็กไมส่ ามารถมองเหน็ ได้ดว้ ยตาเปล่าตอ้ งใช้กล้อง
จุลทรรศน์ส่องดู ซ่ึงสามารถเห็นเซลล์แบคทีเรีย ,โพรโทซัว ,เซลล์ร่างกายทั่วไป แต่ก็มีเซลล์บางชนิดที่มขี นาด
ใหญ่ สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่นเซลล์ไข่ โดยเฉพาะอย่างยง่ิ เซลล์ไข่ของสัตว์เล้ือยคลานและสัตว์ปกี
ซง่ึ มีเส้นผ่านศนู ยก์ ลางหลายเซนติเมตร หน่วยที่ใชว้ ดั เซลล์จงึ ตอ้ งมีขนาดเล็กด้วย
รูปรา่ งของเซลล์แตล่ ะชนิดจะแตกต่างกนั ไปตามชนดิ หนา้ ท่ี ตาแหนง่ ท่อี ยู่ของเซลล์ ดงั นั้นจงึ พบเซลล์
ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เช่น เซลล์อะมีบา เซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิด เซลล์ที่มีรูปร่างยาว เช่นเซลล์ประสาท
เซลล์อสุจิ เซลล์ท่ีมีรูปร่างแหลมหัวแหลมท้าย เช่น เซลล์กล้ามเน้ือเรียบ เซลล์ท่ีมีรูปร่างแบน เช่น
เซลลเ์ ยอื่ บุผวิ เซลล์เม็ดเลือดแดง เปน็ ตน้

4

ภาพท่ี 1.1 รปู ร่างของเซลล์ชนดิ ตา่ ง ๆ
2. โครงสร้างพ้นื ฐานของเซลล์ เซลลม์ ีโครงสรา้ งพื้นฐานท่สี าคญั 3 ส่วน คอื

1) ส่วนทห่ี ่อหุม้ เซลล์ แบง่ ออกเป็น
1.1 ผนังเซลล์ (Cell Wall)
1.2 เยอื่ หุ้มเซลล์ (Cell Membrane)

2) ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) ประกอบด้วย
2.1 ไซโทซอล (Cytosol)
2.2 ออร์แกเนลล์ (Organelles)

3) นิวเคลยี ส (Nucleus) ประกอบดว้ ย
3.1 เยอ่ื หุ้มนิวเคลยี ส (Nuclear Membrane)
3.2 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) ประกอบดว้ ย
- โครมาทนิ (Chromatin)
- นิวคลโี อลัส (Nucleolus)

ภาพที่ 1.2 การเปรยี บเทยี บระหวา่ งเซลลพ์ ืชและสัตว์

5
2.1 สว่ นทีห่ ่อหุ้มเซลล์ ประกอบไปด้วย

2.1.1) ผนงั เซลล์ (Cell Wall) เปน็ ส่วนประกอบชัน้ นอกสุดของเซลลพ์ ืช และเปน็ สว่ นท่ีไม่มี
ชีวิต ประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น เซลลูโลส, คิวติน, เพกติน ลิกนิน , ซูเบอริน ผนังเซลล์มีลักษณะเป็นรู
พรุนทาหน้าทีเ่ สริมสร้างความแขง็ แรงใหแ้ ก่เซลล์ ทาใหเ้ ซลล์คงรปู รา่ งได้ ผนังเซลล์มีสมบัตยิ อมให้สารแทบทุก
ชนิด ผ่านเข้าออกได้และมเี ฉพาะในเซลล์พืชเท่าน้ัน ในเซลล์พืชบางชนิดท่ีต้องการความแข็งแรง จะสร้างผนงั
เซลล์ช้ันที่สองที่มีลิกนินเป็นส่วนประกอบสาคัญทับลงผนังเซลล์ชั้นแรก ผนังเซลล์ช้ันน้ีน้าและสารอาหารจะ
ผ่านไม่ได้ ดงั นั้นเมอ่ื สรา้ งผนังเซลล์ชน้ั ท่ีสองเสร็จแล้ว เซลล์จะตาย

ภาพท่ี 1.3 ผนงั เซลล์ (Cell Wall)
2.1.2) เยอื่ หุม้ เซลล์ (Cell Membrane) มีลกั ษณะเป็นเยอ่ื บาง ๆ อยลู่ ้อมรอบเซลล์ เยอ่ื หุ้ม
เซลลป์ ระกอบด้วยสารหลัก 2 ชนดิ คือ ฟอสโฟลิพิดและโปรตนี โดยฟอสโฟลิพดิ จะจดั เรียงตัวเปน็ 2 ช้นั ซ่ึงจะ
หันส่วนที่ไม่ชอบน้า (ส่วนหาง) เข้าหากัน และหันส่วนที่ชอบน้า (ส่วนหัว) ออกจากกัน โดยมีโมเลกุลของ
โปรตีนกระจายตวั แทรกอยู่ระหว่างโมเลกลุ ของฟอสโฟลพิ ิด นอกจากนยี้ ังมคี อเลสเตอรอล ไกลโคโปรตนี และ
ไกลโคลิพิดเป็นส่วนประกอบของเย่ือหุ้มเซลล์ด้วย มีหน้าท่ีช่วยให้เซลล์คงรูปและควบคุมการแลกเปล่ียนสาร
ระหว่างภายในและภายนอกเซลล์

6

ภาพที่ 1.4 เย่อื ห้มุ เซลล์ (Cell Membrane)
เยอ่ื หมุ้ เซลล์พบไดท้ ัง้ ในเซลล์พืชและเซลล์สตั ว์เป็นส่วนทมี่ ชี วี ติ มคี วามยดื หยนุ่ สามารถยืดหดไดม้ ี
ลักษณะเป็นเยอื่ บาง ๆ มีรูพรนุ สาหรับใหส้ ารละลายผ่านเขา้ ออกได้ มหี น้าที่

1) หอ่ ห้มุ ส่วนประกอบภายในเซลล์ใหค้ งรปู อยู่ได้
2) ควบคมุ ปรมิ าณและชนิดของสารที่ผา่ นเขา้ และออกจากเซลล์ทาให้ปริมาณของสารต่างๆ
พอเหมาะ
3) เป็นตาแหนง่ ทีม่ ีการตดิ ต่อระหว่างเซลล์กบั สง่ิ แวดล้อมภายนอก
2.2 ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) มีลักษณะเป็นของเหลว ประกอบด้วยสารท่ีสาคัญปนอยู่ คือ
โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่างๆ รวมท้ังของเสียท่ีเกิดข้ึน ไซโทพลาสซึมเป็นศูนย์กลางการ
ทางานของเซลล์ เกี่ยวกับเมตาโบลิซึม ทั้งกระบวนการสร้างและสลายอินทรีย์สาร ทั้งกระบวนการสร้างและ
สลายอินทรีย์สาร ไซโทพลาสซึมประกอบด้วยส่วนประกอบภายในที่อาจเรียกว่า อวัยวะของ
เซลล์ (organelle)

ภาพท่ี 1.5 ไซโทพลาสซมึ (Cytoplasm)

7
มหี น้าทีแ่ ตกตา่ งกนั ไดแ้ ก่
(1) เอนโดพลาสมกิ เรติคลู ัม (endoplasmic reticulum) มที ั้งชนดิ เรียบ (smooth endoplasmic
reticulum) และชนดิ ขรุขระ (rough endoplasmic reticulum) ทาหนา้ ทข่ี นส่งสารภายในเซลล์

ภาพท่ี 1.6 เอนโดพลาสมกิ เรตคิ ูลมั (endoplasmic reticulum)
(2) กอลจิคอมเพลกซ์ ( golgi complex หรือ golgi bodies หรือ golgi apparatus) เปน็ ที่สะสม
โปรตนี เพอ่ื ส่งออกนอกเซลล์

ภาพท่ี 1.7 กอลจคิ อมเพลกซ์ (golgi complex หรอื golgi bodies หรอื golgi apparatus)

8
(3) ไมโทคอนเดรยี ( mitochondria ) มีลกั ษณะเป็นก้อนกลมๆ มผี นังหุ้มหนาที่ประกอบดว้ ยเย่อื 2
ชนั้ มหี นา้ ทีเ่ ผาผลาญอาหารเพอ่ื สร้างพลงั งานให้แกเ่ ซลล์

ภาพที่ 1.8 ไมโทคอนเดรีย (mitochondria)
(4) คลอโรพลาสต์ ( chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์พชื มีหน้าที่ดูดพลังงานแสง เพอื่ ใช้ใน
กระบวนการสงั เคราะหด์ ้วยแสง ( กระบวนการสรา้ งอาหารของพชื )

ภาพท่ี 1.8 คลอโรพลาสต์ (chloroplast)

9
(5) แวคิวโอ (vacuole) มีขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช มีลักษณะเป็นถุงมีเย่ือหุ้มบาง ๆ และเป็นท่ี
สะสมสารตา่ งๆ มนี า้ เป็นสว่ นใหญ่ เรียกวา่ เซลลแ์ ซพ (cell sap) มเี กลือ น้าตาล และสารเคมีอื่น ๆ ละลายอยู่
ภายใน

ภาพที่ 1.9 แวควิ โอล (vacuole)

(6) ไลโซโซม (lysosome) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์เท่านั้น คล้ายถุงลม รูปร่างกลมรี เส้นผ่าน

ศนู ย์กลาง ประมาณ 0.15-0.8 ไมครอน มกั พบใกล้กบั กอลจิบอดี ไลโซโซม ยงั เป็นสว่ นสาคัญ ในการย่อยสลาย
มีเอนไซน์หลายชนิด จึงสามารถย่อยสลาย สารต่างๆ ภายในเซลล์ได้ดี เป็นออร์แกแนลล์ ท่ีมีเมมเบรนหอ่ หมุ้
เพยี งชน้ั เดียว ซ่งึ ไมย่ อมให้เอนไซม์ต่างๆ ผา่ นออก แต่เป็นเย่ือทสี่ ลายตัว หรอื ร่ัวได้ง่าย เมอ่ื เกิดการอักเสบของ
เน้ือเย่อื หรือขณะทีม่ ีการเจรญิ เตบิ โต เย่ือหุม้ นี้มีความทนทาน ต่อปฏกิ ริ ิยาการย่อยของเอนไซม์ ทอี่ ยภู่ ายในได้
เอนไซม์ท่ีอยู่ในถุงของไลโซโซมน้ี เชื่อกันว่าเกิดจากไลโซโซม ท่ีอยู่บน RER สร้างเอนไซมข์ ้ึน แล้วส่งผ่านไปยงั
กอลจบิ อดี แล้วหลุดเป็นถุงออกมา ไลโซโซม มีหน้าท่ีสาคญั คอื

1. ย่อยสลายอนภุ าค และโมเลกลุ ของสารอาหารภายในเซลล์
2. ย่อยหรอื ทาลายเช้ือโรค และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ทเ่ี ข้าสู่รา่ งกายหรอื เซลล์ เชน่ เซลลเ์ ม็ด
เลอื ดขาวกิน
3. ทาลายเซลล์ทีต่ ายแล้ว หรือเซลล์ท่ีมอี ายุมาก

ภาพที่ 1.10 ไลโซโซม (lysosome)

10

(7) ไรโบโซม (ribosome) เป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็กท่ีสามารถมองเห็นได้ ภายได้กล้องจุลทรรศน์
อิเล็กตรอนเท่าน้ัน ซ่ึงเป็นตาแหน่งท่ีมีการสังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์ ภายในไรโบโซมแต่ละอัน
ประกอบด้วย rRNA และโปรตีนรวมอย่ดู ้วยกัน ไรโบโซมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามตาแหน่งท่ีอยู่ภายในเซลล์
คอื

ก. ไรโบโซมอิสระ (free ribosome) เป็นไรโบโซมเดี่ยว ๆ ท่ีกระจายตัวอยู่ภายในเซลล์
โดยไม่ได้ยึดเกาะอยู่กับ ER ตัวอย่างของโปรตีนท่ีสร้างโดยไรโบโซมชนิดน้ี คือ เฮโมโกลบิน (haemoglobin)
ในเซลลเ์ มด็ เลอื ดแดงท่ียงั ไม่เจริญเตม็ ท่ี

ข. ไรโบโซมยึดเกาะ (attached ribosome) เป็นไรโบโซมท่ีเกาะอยู่บนผิวของ ER โดยปกติ
โปรตีนทสี่ ร้างโดยไรโบโซมชนิดนจ้ี ะถกู หล่งั ออกนอกเซลล์

ไรโบโซม มีหน้าทีส่ าคญั เกี่ยวกับการสังเคราะหโ์ ปรตนี ในเซลลโ์ ปรคารโิ อตและยูคาริโอต ไรโบโซมของ
โปรคาริโอตมีขนาด 70S (ขนาดของไรโบโซมสามารถวดั จากอัตราการเคลื่อนที่ภายใต้แรงเหวี่ยงและมีหนว่ ย
เป็น Svedberg หรอื S) ไรโบโซมนี้ประกอบด้วย 2 หน่วยยอ่ ย คอื หนว่ ยย่อยใหญม่ ขี นาด 50S และหน่วยยอ่ ย
เล็ก 30S ส่วนในเซลล์ยูคาริโอตมีไรโบโซมขนาด 80S ประกอบด้วยหน่วยย่อย 40S และ 60S หน่วยย่อย
ต่าง ๆ ของไรโบโซมประกอบด้วย RNA และโปรตนี แต่ละหน่วยย่อยประกอบด้วยโปรตนี หลายชนิด แตห่ น่วย
ย่อยเล็กจะมี RNA ชนดิ เดียว สว่ นหน่วยยอ่ ยใหญจ่ ะมี RNA 2 หรอื 3 ชนิด

ภาพที่ 1.11 ไรโบโซม (ribosome)

(8) เซนทริโอล (centriole) เป็นกระบอกกลวงและเล็ก มองเห็นได้ในระหว่างการแบ่งเซลล์
เป็นออร์แกเนลล์ท่ีไม่มีเยื่อหุ้ม รูปทรงกระบอกหรือท่อเล็ก ๆ 2 กลุ่ม ท่ีประกอบขึ้นด้วยไมโครทิวบูล
(microtubule) ซึ่งอยู่กันเป็นคู่ในลักษณะ ต้ังฉากกัน เรียงตัวกันเป็นวงกลม ทาหน้าท่ีสร้างเส้นใยสปินเดิล
(spindle fiber) ไปเกาะที่เซนโตเมียร์ (centromere) ของโครโมโซมในระยะเมตาเฟสของการแบ่งเซลล์เพ่ือ
แยกโครโมโซมออกจากกัน ในเซลล์บางชนิดเซนทริโอลทาหน้าท่ีช่วยในการเคลื่อนไหวของเซลล์โดยการหด
และการคลายตัวของไมโครทบู ูลของซิเลยี และแฟลกเจลลัม

11

ภาพท่ี 1.12 เซนทรโิ อล (centriole)

(6) นิวเคลียส (Nucleus) เป็นโครงสร้างท่ีมีคามสาคัญที่สุดของเซลล์ เป็นท่ีอยู่ของสารพันธุกรรม
สามารถมองเห็นได้ชัดเจนอยู่ตรงกลางเซลล์ มีลักษณะค่อนข้างกลม ทาหน้าท่ีเป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรม
ต่าง ๆ ภายในเซลล์ นวิ เคลียสมีสารประกอบทางเคมี ประกอบดว้ ย

1. ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ DNA เป็นส่วนประกอบของ
โครโมโซมนวิ เคลียส

2. ไรโบนิวคลีอิก แอซิด (ribonucleic acid) หรือ RNA เป็นส่วนที่พบในนิวเคลียสโดยเป็น
สว่ นประกอบของนวิ คลโี อลสั

3. โปรตีน ท่ีสาคัญคือโปรตีนฮีสโตน (histone) โปรตีนโพรตามีน (protamine) ทาหน้าที่
เชอ่ื มเกาะอยกู่ บั DNAส่วนโปรตนี เอนไซมส์ ่วนใหญ่จะเปน็ เอนไซมใ์ นกระบวนการสงั เคราะห์กรดนิวคลีอิก และ
เมแทบอลิซมึ ของกรดนวิ คลอี ิก

โครงสร้างของนิวเคลียส ประกอบดว้ ย 3 ส่วน คือ
1. เยื่อหมุ้ นวิ เคลียส ( nuclear membrane) เป็นเย่ือบาง ๆ 2 ช้นั เรียงซ้อนกนั ทาหน้าท่ีเป็น

ทางผ่านของสารต่าง ๆ ระหว่างโทพลาสซึมและนิวเคลียส นอกจากน้ีเย่ือหุ้มนิวเคลียสยังเป็นเย่ือเลือกผ่าน
เชน่ เดียวกบั เย่ือห้มุ เซลล์

2. โครมาทิน (chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี เป็นเส้นใยเล็กๆ พันกันเป็น
ร่างแห ประกอบด้วย โปรตีนหลายชนิด และ DNA มีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์และควบคุมการ
ถา่ ยทอดลักษณะทางพันธุกรรมของส่ิงมชี ีวิตทั่วไป

3. นิวคลีโอลัส (nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียสท่ีมีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ
ประกอบด้วย โปรตีน และ RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน (phosphoprotein) และไม่พบโปรตีน
ฮีสโตนเลย นิวคลีโอลัสมีหน้าท่ีในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ ดังนั้นนิวคลีโอลัสจึงมีความสาคัญต่อการ
สร้างโปรตนี เปน็ อยา่ งมาก เน่ืองจากไรโบโซมทาหนา้ ทส่ี ร้างโปรตนี

12
ภาพที่ 1.13 นวิ เคลยี ส (Nucleus)


Click to View FlipBook Version