หน่วยท่ี 2
มาตรฐานฟาร์มสัตวป์ กี
15
หวั ข้อเรอื่ ง
1. องค์ประกอบของฟารม์ มาตรฐาน
2. หลักเกณฑ์เกย่ี วกบั สถานประกอบกจิ การเลี้ยงสัตว์ปกี
3. การจดั ทามาตรฐานฟาร์ม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกองค์ประกอบของฟารม์ มาตรฐานได้
2. อธบิ ายหลักเกณฑ์เกยี่ วกับสถานประกอบกิจการเล้ียงสตั ว์ปีกได้
3. อธบิ ายขั้นตอนการจัดทามาตรฐานฟารม์ ได้
เนอ้ื หาการสอน
มาตรฐานฟาร์มกาหนดข้ึนเป็นมาตรฐานเพื่อให้ฟาร์มท่ีต้องการขึ้นทะเบียนเป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐาน
เป็นท่ียอมรับ ได้ยึดถือปฏิบัติเพ่ือให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ ซ่ึงมาตรฐานนเี้ ป็นท่ียอมรับได้ยดึ ถือปฏิบัติ
เพื่อให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ และถอื เปน็ เกณฑม์ าตรฐานขัน้ พน้ื ฐานสาหรับฟาร์มท่ีจะได้รับการรับรอง
มาตรฐานฟารม์ เล้ียงไก่เนอื้ นี้กาหนดวิธปี ฏบิ ัติ การจัดการฟาร์ม การจดั การดา้ นสขุ ภาพสัตว์และการจัดการด้าน
ส่ิงแวดล้อม เพือ่ ใหไ้ ด้ไกไ่ ขท่ ่ถี ูกสขุ ลักษณะและเหมาะสมแก่ผ้บู รโิ ภค
1. วตั ถุประสงค์ของการจดั ทามาตรฐานฟาร์ม
การจัดทามาตรฐานฟาร์มการเลี้ยงสัตว์ปีกชนิดต่าง ๆ เช่น การเล้ียงไก่เน้ือ การเล้ียงไก่ไข่ การเล้ียง
เป็ดเน้ือ รวมทั้งผลผลิตจากการเลี้ยงสัตว์ปีกแต่ละชนิด เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการด้านการจัดการฟาร์ม
ด้านสุขอนามัย และการจัดการด้านส่ิงแวดล้อมให้เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน ว่าด้วยการขอรับและออก
ใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเลย้ี งสตั ว์ พ.ศ. 2546 โดยมวี ัตถปุ ระสงคข์ องการจัดทามาตรฐานฟาร์ม ดังนี้
1) เพ่ือปรับปรุงระบบการเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยให้เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกันและมีคุณภาพ
2) เพ่ือคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยในการบริโภคเน้ือสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่
ได้รับการ รับรองเปน็ ฟาร์มมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์
3) เพ่ืออานวยความสะดวกทางการค้าแก่ผปู้ ระกอบการฟาร์มเล้ยี งสัตวส์ ง่ ออก
4) เพ่ือลดมลภาวะจากฟารม์ เล้ยี งสตั ว์ทมี่ ีผลกระทบตอ่ สง่ิ แวดลอ้ มและชมุ ชน
5) เพื่อเพม่ิ ประสิทธภิ าพในการควบคุม ป้องกนั และกาจดั โรคในฟาร์มเลี้ยงสตั ว์
2. องค์ประกอบของฟารม์ มาตรฐาน
2.1 องคป์ ระกอบพนื้ ฐานของฟาร์มเลยี้ งสัตวท์ ี่ขอใบรับรองมาตรฐาน
1) มที าเลท่ีตงั้ ฟาร์ม ตลอดจนมกี ารออกแบบส่ิงก่อสร้างและโรงเรือนทีเ่ หมาะสม
2) มรี ะบบทาลายเช้ือโรคกอ่ นเข้า – ออกจากฟาร์ม
3) การจดั การโรงเรือน ส่งิ แวดลอ้ มและการจัดการของเสียที่ถกู ต้องตามหลักสุขาภบิ าล
4) โรงเรือนทใ่ี ช้เล้ียงสตั ว์มีลกั ษณะและขนาดท่ีเหมาะสมกับจานวนสัตว์
16
5) มีการจดั การดา้ นอาหารสัตว์อยา่ งถูกตอ้ งตามหลกั สขุ ศาสตร์
6) มีค่มู ือการจัดการฟารม์ และมีระบบการบนั ทึกข้อมลู
7) การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ มีโปรแกรมการให้วัคซีนป้องกันโรคและการให้ยาบาบัดโรค
เม่ือเกิดโรค
8) การจดั การดา้ นบคุ คล สัตวแพทย์ สตั วบาล และผู้เล้ียงสัตวต์ อ้ งมีเพยี งพอและเหมาะสมกับ
จานวนสัตว์ พรอ้ มท้งั มสี วสั ดกิ ารสังคมและการตรวจสุขภาพประจาปใี หก้ บั บุคลากร
3. หลกั เกณฑ์เกี่ยวกบั สถานประกอบกิจการเลี้ยงสตั ว์ปีก
3.1 สถานท่ีต้ังกิจการ สถานที่ต้ังอยู่ห่างจากชุมชน ศาสนสถาน โบราณสถาน สถาบันการศึกษา
โรงพยาบาล หรือสถานท่ีอ่ืน ๆ ในระยะท่ีไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและไม่ก่อเหตุราคาญต่อชุมชน โดยการมี
ระยะหา่ งจากสถานทดี่ ังกล่าวข้างต้น ดังตอ่ ไปน้ี
1) สาหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงไก่ น้อยกว่า 500 ตัว ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า
30 เมตร
2) สาหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงไก่ ต้ังแต่ 500-5,000 ตัว ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า
100 เมตร
3) สาหรบั สถานประกอบกิจการเลี้ยงไก่ ตงั้ แต่ 5,001-10,000 ตวั ควรมีระยะห่างไมน่ ้อยกวา่
200 เมตร
4) สาหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงไก่เกินกว่า 10,000 ตัว ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า
1,000 เมตร
5) สถานทตี่ ัง้ ควรตงั้ อยบู่ รเิ วณท่ีไม่มีน้าทว่ มขัง อยหู่ า่ งจากแหลง่ น้าสาธารณะไม่น้อยกว่า 30
เมตร และต้องมีการป้องกันการไหลของน้าเสียและส่ิงปนเป้ือนลงสู่แหล่งน้าสาธารณะในกรณีท่ีมีการชะล้าง
ของน้าฝน
6) สถานประกอบกิจการเล้ียงไก่ ควรตั้งอยู่ห่างจากโรงฆา่ สัตว์ปีก ตลาดนัดค้าสัตว์ปีก อย่าง
น้อย 5 กโิ ลเมตร
7) สถานประกอบกิจการเล้ียงไก่ ต้องจัดให้มีบริเวณเล้ียงไก่เป็นสัดส่วนและให้อยู่ห่างเขต
ทดี่ ินสาธารณะหรือที่ดินหา่ งเจา้ ของและตอ้ งมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือส่ิงใดปกคลมุ โดยรอบ บรเิ วณเล้ียง
สัตว์น้ันไม่น้อยกว่า 15 เมตรทุกด้าน เว้นแต่ด้านที่มแี นวเขตท่ีดินติดต่อกับที่ดินของผู้ประกอบกิจการประเภท
เดียวกัน ให้ใช้หลักเกณฑ์ตาม ข้อ. 1) โดยพิจารณาที่จานวนการเลี้ยงไก่ที่มีจานวนมากที่สุดเป็นเกณฑ์ในการ
กาหนดขอบเขตระยะหา่ ง
3.2 สุขอนามัยของผ้ปู ฏิบัติงาน
1) ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจาทุกปี และมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็น
โรคติดต่อหรือโรคท่ีสังคมรังเกียจ โรคท่ีเกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และบาดแผลติดเช้ือ
หรอื ไม่เปน็ โรคติดตอ่ เช่น วณั โรค อหวิ าตกโรค บดิ สกุ ใส หัด คางทูม เรอ้ื น ไวรสั ตับอักเสบเอ โรคพยาธิ และ
17
โรคผิวหนังท่ีน่ารังเกียจ เป็นต้น หากผปู้ ฏิบัตงิ านป่วยดว้ ยโรคดงั กล่าว ต้องหยุดพกั รักษาให้หาย
2) สถานประกอบกิจการเล้ียงไก่ ขนาดต้ังแต่ 10,000 ตัวข้ึนไป ต้องมีผู้ดูแลด้านสุขาภิบาล
สิ่งแวดล้อม อย่างน้อย 1 คน โดยเป็นผู้ท่ีมีความรู้โดยผ่านการอบรมการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสุข
วิทยาสว่ นบคุ คล
3) ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการอบรมในเร่ืองเก่ียวกับสุขอนามัย การป้องกันตนจากโรคติดต่อ
จากสัตวส์ คู่ น และการควบคมุ สัตว์แมลงพาหะนาโรค
4) ผปู้ ฏิบัติงานในโรงเรือนเล้ียงไก่จะต้องปฏิบตั ดิ ังน้ี
- อาบน้า สระผม ชาระลา้ งร่างกายให้สะอาดทกุ ครั้งกอ่ นเขา้ หรอื ออกจากฟารม์ และ
ต้องลา้ งมือดว้ ยสบ่ทู กุ ครง้ั ภายหลังออกจากหอ้ งส้วมและจบั ต้องสง่ิ ปนเปอื้ นตา่ งๆ
- จ่มุ เทา้ ในอา่ งนา้ ยาฆา่ เช้ือโรค และล้างมอื กอ่ นเขา้ และออกจากฟาร์ม และโรงเรอื น
- สวมใส่ชุดปฏิบัติงานท่ีสถานประกอบกิจการจัดไว้ให้ โดยต้องเป็นเคร่ืองแบบท่ีมี
ความสะอาดและเหมาะสมในแต่ละกิจกรรมที่ปฏิบัติ
- ในกรณีท่ีมีบาดแผล ต้องปิดแผลด้วยท่ีปิดแผล ถ้ามีบาดแผลที่มือต้องสวมถุงมือ
หรือปลอกน้ิวขณะปฏบิ ตั ิงาน
5) ผปู้ ฏบิ ตั ิงานไม่ควรพักอาศัยในโรงเรือน
3.3 การจดั การนา้ เสยี มูลฝอย สิง่ ปฏกิ ูล
1) ตอ้ งมีการบาบดั นา้ เสียให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานน้าทิง้ ตามกฎหมายทเ่ี ก่ยี วข้องกอ่ นปล่อย
ออกสู่ภายนอกสถานประกอบกจิ การและตอ้ งดแู ลทางระบายน้าไมใ่ หอ้ ดุ ตัน
2) กรณีท่ีไม่มีการระบายน้าท้ิงออกนอกสถานประกอบการ ผู้ประกอบการจะต้องมีการ
จัดการน้าเสียท่ีเกิดข้ึนท้ังหมดโดยจะต้องมีการป้องกันไม่ให้มีน้าเสีย หรือกล่ินเหม็นกระทบต่อส่ิงแวดล้อม
ภายนอก
3) ต้องมีการจัดการ หรือควบคุมปัญหากล่ินเหม็น สัตว์ และแมลงพาหะนาโรค ไม่ให้ส่งผล
กระทบต่อชมุ ชนโดยรอบ
4) ต้องจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล เหมาะสม เพียงพอ โดยมีการคัด
แยกตามประเภทของมูลฝอย
5) ต้องมีการรวบรวมมูลฝอยและนาไปกาจัดอย่างถูกตอ้ งตามหลักสุขาภิบาล และปฏิบัติตาม
ข้อกาหนดของทอ้ งถ่นิ ว่าด้วยการน้ัน หา้ มนาไปทง้ิ ในทีส่ าธารณะหรือแหลง่ นา้ สาธารณะ
ในกรณีที่มีการนามูลไก่และวัสดุรองพ้ืนออกจากสถานประกอบการผู้ประกอบการต้องจัดให้
ผดู้ าเนินการเคลอ่ื นย้าย มมี าตรการเพ่ือปอ้ งกนั เหตุเดอื ดรอ้ นราคาญ และไม่เป็นแหลง่ เพาะพนั ธสุ์ ัตวแ์ ละแมลง
พาหะนาโรค
18
6) ต้องมีการจัดการ กาจัดภาชนะบรรจุสารเคมี หรือน้ายาฆ่าเช้ือที่ใช้แล้วอย่างถูกต้องตาม
หลักวิชาการ
7) ตอ้ งมหี ้องน้าหอ้ งสว้ ม อา่ งล้างมอื ถกู ตอ้ งตามหลกั สขุ าภิบาล มีการดูแลรักษาความสะอาด
เปน็ ประจา มีการบาบัดและกาจัดสง่ิ ปฏกิ ูลอย่างถูกต้องตามหลกั สุขาภิบาล
4. การจดั ทามาตรฐานฟารม์
ฟาร์มสัตว์ท่ีต้องการได้รับการรับรองเป็นฟาร์มมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ผู้ประกอบการต้องมี
คุณสมบัติและปรับปรุงฟาร์มให้มีมาตรฐานตามข้อกาหนดก่อน จากนั้นจึงขอการรับรอง เมื่อฟาร์มได้รับการ
รับรองเป็นฟารม์ มาตรฐานแล้วต้องต่ออายุทุก 2 ปี และต้องรักษาความเป็นมาตรฐานของฟารม์ ไว้ มิฉะนน้ั จะ
ถูกเพิกถอนใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม โดยกรมปศุสัตว์ได้กาหนดการรับรองมาตรฐานฟาร์มไว้ 5 ประการ คือ
1) การขอการรบั รองเปน็ ฟารม์ ไก่เนอ้ื มาตรฐาน
2) การออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม
3) การตอ่ อายุใบรบั รองมาตรฐานฟารม์
4) การเพกิ ถอนใบรบั รองมาตรฐานฟารม์
5) ประโยชน์จากการได้รบั การรับรองมาตรฐานฟาร์ม
4.1 ขนั้ ตอนการขอรับรองมาตรฐานฟารม์ เลยี้ งสตั ว์
1) ผู้ประกอบการสมคั รเข้ารับการฝกึ อบรม “มาตรฐานฟาร์มเลีย้ งสัตว์สาหรบั ผู้ประกอบการ”
ท่สี านักงานปศสุ ัตว์จงั หวดั
2) สานักงานปศสุ ัตวจ์ ังหวดั รวบรวมรายช่ือผู้ประกอบการส่งให้สานักงานปศุสัตว์เขต
3) ผู้ผา่ นการฝกึ อบรมมีความประสงค์ขอการรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ย่ืนคาขอรับรอง
มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสตั ว์ (ม.ฐ.ฟ. 1) หรือสถานทฟี่ กั ไข่สตั ว์ปีก (ม.ฐ.ฟ. 2) ต่อสานกั งานปศุสัตวจ์ งั หวัด
4) ตรวจสอบเอกสารและคุณสมบัติ
5) ถ้าเอกสารครบและผ่านคุณสมบัติ สานักงานปศุสัตว์จังหวัดโดยคณะผู้ตรวจรับรองตรวจ
ประเมนิ ฟาร์มจะเข้าตรวจฟารม์
6) ถ้าผ่านการตรวจประเมินฟาร์มเพื่อรับรองมาตรฐานฟาร์มเล้ียงสัตว์จ ะส่งต่อให้
คณะกรรมการรับรองมาตรฐานฟาร์มเล้ียงสัตว์ หากไม่ผ่านการตรวจประเมินจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องตาม
ระยะเวลาที่ กาหนด
7) คณะกรรมการรบั รองมาตรฐานฟาร์มเลีย้ งสตั ว์ถ้ามีมติให้การรับรอง
8) สานกั งานปศุสัตวจ์ งั หวดั ออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเลย้ี งสตั ว์
9) รายงานผลสานกั พัฒนาระบบและรบั รองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์
19
ดว้ ยกรมปศุสัตว์เหน็ สมควรใหม้ ีการปรับปรุงระเบยี บกรมปศุสัตว์ ว่าดว้ ยการขอรับและออกใบรับรอง
มาตรฐานฟาร์มเลยี้ งสัตว์ ใหเ้ ป็นไปตามหลักวิชาการด้านการจดั การฟาร์ม ด้านสุขอนามัย และการจัดการด้าน
ส่ิงแวดล้อมให้เปน็ รูปแบบมาตรฐานเดยี วกัน และใหส้ อดคลอ้ งกับโครงสร้างใหม่ กรมปศสุ ัตวจ์ ึงวางระเบียบไว้
วา่ ด้วยการขอรบั และออกใบรับรองมาตรฐานฟารม์ เล้ยี งสัตว์ พ.ศ. 2546 ดังต่อไปนี้
1) คุณสมบัติของผูป้ ระกอบการที่ขอรบั รองมาตรฐานฟาร์ม
(1) ผูป้ ระกอบการทีม่ ีความประสงค์ให้กรมปศสุ ตั วอ์ อกใบรบั รองมาตรฐานฟารม์ เล้ียงสตั ว์ต้อง
ผา่ นการฝึกอบรมตามหลกั สตู ร การฝึกอบรมผปู้ ระกอบการทก่ี รมปศสุ ตั วก์ าหนด
(2) ผู้ประกอบการต้องเปน็ เจา้ ของหรอื ผู้จัดการฟาร์มทีข่ อรับรองมาตรฐานฟาร์ม หรอื ผไู้ ด้รับ
การรบั รองมาตรฐานฟาร์มจากกรมปศสุ ัตว์
(3) ผปู้ ระกอบการต้องปรับปรุงฟารม์ ให้มคี ณุ สมบัติตามมาตรฐานฟารม์ ทก่ี รมปศุสัตวก์ าหนด
คุณสมบตั ิของผูป้ ระกอบการ ผ้ปู ระกอบการต้องเป็นเจ้าของหรือผู้จัดการฟาร์มที่ขอรับรองมาตรฐาน
ฟาร์ม ต้องปรับปรุงองค์ประกอบของฟาร์มให้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานฟาร์มตามที่กรมปศุสัตว์กาหนด และ
ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบการของสานักพัฒนาระบบและรบั รองมาตรฐานสินคา้
ปศสุ ัตว์ กรมปศุสัตว์
2) การยืน่ คาขอรบั รองมาตรฐานฟาร์มเลย้ี งสตั ว์และการฝกึ อบรมผปู้ ระกอบการ
(1) สานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย ประกาศรับสมัครผู้ประกอบการท่ีมีความประสงค์
ขอรบั รองมาตรฐานฟารม์ เลย้ี งสตั ว์
(2) ให้ผู้ประกอบการยื่นคาขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม พร้อมหลักฐานที่สานักงานปศุสัตว์
จงั หวัด ณ ท้องที่ทฟี่ าร์มตัง้ อยู่
(3) เม่ือสานักงานปศุสัตว์จังหวัด ได้รับคาขอพร้อมหลักฐานตาม ข้อ. (2) แล้วให้ผู้รับคาขอ
ตรวจสอบคาขอ หลกั ฐานและคุณสมบัติ พร้อมทัง้ แจ้งให้เจา้ หน้าที่สานกั งานปศสุ ัตว์จังหวดั ในท้องที่นัน้ ไปตรวจ
ฟาร์มของผ้ปู ระกอบการ ท่ีได้ยืน่ คาขอไวใ้ นเบอ้ื งต้นว่ามีองคป์ ระกอบพน้ื ฐานครบ 5 ประการหรือไม่ ดังนี้
- มีระบบการทาลายเชือ้ โรคกอ่ นเขา้ และออกจากฟารม์
- มกี ารจดั การโรงเรอื นทีถ่ กู ต้องตามหลักสขุ าภิบาล
- โรงเรอื นที่ใชเ้ ลี้ยงสตั ว์มลี กั ษณะและขนาดเหมาะสมกบั จานวนสัตว์
- การจัดการด้านบุคลากร สัตวแพทย์ สัตวบาล และผู้เลี้ยงสัตว์ต้องมีเพียงพอ และ
เหมาะสมกับจานวนสัตว์
- การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ โดยมีโปรแกรมการให้วัคซีนป้องกันโรคที่เหมาะสม
(4) ฟาร์มที่มีองค์ประกอบพื้นฐานครบ 5 ประการ ตาม ข้อ. (3) ให้เจ้าหน้าที่สานักงานปศุ
สัตว์จังหวัดในท้องที่ รายงานส่งไปยังผู้อานวยการสานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย พร้อมด้วยคาขอรับรอง
มาตรฐานฟารม์ และหลกั ฐานต่างๆ น้ัน
(5) ใหผ้ ูอ้ านวยการสานักสุขศาสตร์สัตวแ์ ละสุขอนามัย รวบรวมรายชอื่ ผู้ประกอบการที่มีสิทธิ
20
อบรม และดาเนินการฝกึ อบรมตอ่ ไป
(6) สานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย จัดการฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการตามหลักสูตรที่
กรมปศสุ ัตว์กาหนด
การย่ืนคาขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม สานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยจะประกาศรับสมัคร
ผู้ประกอบการที่ต้องการขอรับรองมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ จากน้ันจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรม
ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการยื่นแบบฟอร์มคาขอรับรองมาตรฐานฟาร์มเล้ียงสัตว์ (แบบ ม.ฐ.ฟ. 1) พร้อม
หลกั ฐานได้ทีส่ านกั งานปศุสตั ว์จังหวัดที่ฟารม์ ต้ังอยู่ หลกั ฐานประกอบการย่ืนคาขอ ได้แก่
(1) สาเนาบัตรประชาชนของผู้ยืน่ คาขอ 1 ฉบับ
(2) สาเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบบั
(3) แผนท่ที ีต่ ั้งฟารม์ เลี้ยงสัตว์ 1 ฉบบั
(4) แผนผงั แสดงรายละเอยี ดที่ตง้ั ส่ิงก่อสรา้ งท่ีมจี รงิ ทง้ั หมดในฟารม์ เลี้ยงสัตว์ 1 ฉบับ
(5) รูปถ่ายแสดงภาพภายในฟาร์มเล้ียงสัตว์ รวมท้ังส่ิงก่อสร้าง เช่น รั้ว โรงพ่นยาฆ่าเช้ือโรค
บอ่ นา้ ยาฆา่ เชื้อ ท่เี กบ็ อาหาร ยาสัตว์ คอกสัตว์ สานักงาน ท่ีพักอาศยั และระบบบาบดั นา้ เสีย เปน็ ตน้
(6) ในกรณที ีข่ อตอ่ อายกุ ารรับรอง ต้องแนบใบรับรองมาตรฐานฟาร์มฉบบั ท่ีหมดอายมุ าด้วย
3) สถานท่ฝี ึกอบรมการปฏบิ ตั ิเกีย่ วกบั การฝกึ อบรม
(1) ให้คณะกรรมการฝึกอบรมผู้ประกอบการแจ้งสถานที่ฝึกอบรมให้ผู้ประกอบการท่ีเข้ารับ
การฝึกอบรมทราบ
(2) สถานทฝี่ กึ อบรม จดั ขน้ึ ในสถานท่ีท่เี หมาะสม
(3) ผูป้ ระกอบการท่ีเข้ารับการฝึกอบรมตอ้ งลงทะเบยี นและเข้ารับการฝกึ อบรมในหลักสูตรที่
กรมปศสุ ตั ว์กาหนด ไมน่ อ้ ยกว่าร้อยละ 80 ของหลกั สูตร
4) การรายงานผลการฝกึ อบรม
(1) ให้คณะกรรมการฝึกอบรมผู้ประกอบการ นาผลการฝึกอบรมเสนอผู้อานวยการสานักสุข
ศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย เพ่ือออกใบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ประกอบการท่ีผ่านการฝึกอบรมและใช้
ประกอบการพิจารณาออกใบรบั รองมาตรฐานฟารม์ ตอ่ ไป
5) การตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์
(1) คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์ ตรวจประเมินฟาร์มตามหลักเกณฑ์มาตรฐานฟาร์มท่ี
กรมปศสุ ัตวก์ าหนด
(2) คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มประกอบด้วย หัวหน้าคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐาน
ฟาร์ม ผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านรวมอยา่ งนอ้ ย 6 คน และอาจมีผู้สังเกตการณร์ ว่ ม
ด้วยกไ็ ด้ ทั้งน้ี ในการตรวจรบั รองมาตรฐานฟารม์ จะต้องมผี ู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มอย่างน้อย 3 คน โดยให้
มีผูต้ รวจรบั รองมาตรฐานฟาร์มจากสานักสขุ ศาสตรส์ ัตวแ์ ละสขุ อนามยั อย่างนอ้ ย 1 คน
21
(3) หัวหน้าคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มแจ้งกาหนดนัดหมาย การตรวจรับรอง
มาตรฐานฟารม์ ให้แก่ผ้ปู ระกอบการทราบล่วงหนา้ 15 วัน
(4) ในการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มแนะนาตัวต่อ
ผปู้ ระกอบการ และดาเนินการดงั นี้
- แจ้งวตั ถปุ ระสงค์และขอบเขตของการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม
- ขอข้อมูลรายละเอียดของฟาร์มเพ่ิมเติม ในกรณีท่ีมีข้อมูลในการตรวจสอบไม่
เพยี งพอ
- กาหนดรายละเอยี ดแผนการตรวจรบั รองมาตรฐานฟารม์ และเวลาท่ีใชใ้ นการตรวจ
- ตรวจสอบการดาเนนิ การแกไ้ ขขอ้ บกพร่องจากการตรวจครัง้ ทผ่ี ่านมา
(5) ดาเนินการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม โดยมีเจา้ หนา้ ทข่ี องฟารม์ นาตรวจตลอดเวลา
(6) เมื่อพบข้อบกพร่องไม่ถูกต้องตามมาตรฐานฟาร์มให้จดรายละเอียดในบันทึก เพื่อเป็น
หลกั ฐานของผตู้ รวจรับรองมาตรฐานฟารม์
(7) คณะผ้ตู รวจรบั รองมาตรฐานฟาร์มต้องปรึกษาหารือกันเกี่ยวกบั ขอ้ บกพร่องท่ีพบ
(8) หัวหน้าคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม สรุปผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม และ
ขอ้ บกพร่องทพี่ บให้ผู้ประกอบการรวมทง้ั ผู้ท่ีเก่ียวขอ้ งไดร้ บั ทราบและเปดิ โอกาสให้ผปู้ ระกอบการช้แี จงเพ่ิมเติม
ตลอดจนกาหนดระยะเวลาในการแก้ไขขอ้ บกพร่องร่วมกัน
(9) จัดทาบันทึกสรุปผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม และระยะเวลาในการแก้ไข
ข้อบกพรอ่ งโดยลงลายมือชื่อรว่ มกนั พร้อมทง้ั มอบสาเนาเอกสารให้ผปู้ ระกอบการ
6) รูปแบบการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม
รูปแบบการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม มี 4 แบบ ดังน้ี
(1) การตรวจชนิดเต็มรูปแบบ (Full Auditing) เป็นการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มอย่าง
ละเอียดในทุกด้าน ซึ่งดาเนินการเม่ือมีการขอรับรองมาตรฐานฟาร์มใหม่ หรือขอต่ออายุใบรับรองมาตรฐาน
ฟารม์ หรอื เปลยี่ นแปลงแกไ้ ข หรอื กระทาผดิ ระเบยี บมาตรฐานฟารม์
(2) การตรวจติดตาม (Follow-up Auditing) เป็นการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เพ่ือ
ติดตามผลการแก้ไขข้อบกพร่องจากการตรวจรบั รองมาตรฐานฟาร์มครงั้ กอ่ น
(3) การตรวจชนิดย่อ (Concise Auditing) เป็นการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ที่มีประวัติ
การปฏิบตั ิตามระเบยี บมาตรฐานฟาร์มอย่างต่อเนือ่ ง เชน่ การตรวจทกุ ๆ 6 เดอื น หรือทกุ ๆ 1 ปี การตรวจชนดิ
นจ้ี ะเลอื กขอ้ กาหนดบางหัวข้อของ มาตรฐานฟาร์มมาเปน็ ตวั บง่ ช้ีถงึ ภาพรวมของการปฏิบัติตามมาตรฐานของ
ฟาร์มแห่งน้ัน แต่ถ้ามีการตรวจพบว่ามีการฝ่าฝืนระเบียบมาตรฐานฟาร์ม คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม
อาจปรับการตรวจเปน็ การตรวจชนิดเต็มรปู แบบได้ทันที
22
(4) การตรวจกรณีพิเศษ (Special Auditing) เป็นการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มเมื่อมี
ปัญหาหรือมีการร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือเฉพาะด้านเช่นการจัดการด้าน
สิ่งแวดลอ้ ม เปน็ ตน้ การตรวจชนิดน้จี ะมุ่งเนน้ เกีย่ วกบั เรอ่ื งที่เป็นปญั หาเท่านนั้
7) การจดั ทารายงานผลการตรวจรบั รองมาตรฐานฟารม์
คณะผตู้ รวจรบั รองมาตรฐานฟาร์ม จดั ทารายงานผลการตรวจรบั รองมาตรฐานฟารม์ ซง่ึ มหี ลัก
ปฏิบตั ิ ดังนี้
(1) เนื้อหาของรายงานตอ้ งเป็นข้อเท็จจรงิ มขี ้อความชัดเจน
(2) ให้ผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มทุกคน ได้พิจารณาร่างรายงานผลการตรวจรับรอง
มาตรฐานฟารม์ เพ่ือเสนอข้อคิดเหน็
(3) ให้คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ลงลายมือชื่อในรายงานผลการตรวจมาตรฐาน
ฟารม์
การจัดทารายงานผลการตรวจรบั รองมาตรฐานฟารม์ โดยมรี ายละเอยี ดแบง่ เปน็ 2 สว่ น ดังนี้
1. รายละเอยี ดขอ้ มลู ทว่ั ไป
1) ชอ่ื และทต่ี งั้ ของฟาร์ม
2) วัน เดอื น ปี ทที่ าการตรวจครั้งน้แี ละครัง้ ทแ่ี ลว้
3) ชอ่ื คณะผ้ตู รวจรบั รองมาตรฐานฟารม์
4) ช่ือ และตาแหน่งของผทู้ ีใ่ หข้ ้อมูล
5) วัตถุประสงค์ของการตรวจรบั รองมาตรฐานฟาร์ม
6) ขอบเขตของการตรวจรบั รองมาตรฐานฟารม์
7) การเก็บตวั อย่าง (ถ้ามี)
2. สรปุ ผลการตรวจ
1) ลักษณะเด่นของการปฏิบัตติ ามมาตรฐาน (ถา้ มี)
2) ขอ้ บกพร่องท่ไี ด้แก้ไขจากการตรวจครั้งท่แี ลว้
3) ข้อบกพร่องท่ียังไม่แก้ไขจากการตรวจครั้งที่แล้ว พร้อมกาหนดระยะเวลาท่ีแกไ้ ข
4) ข้อบกพร่องทตี่ รวจพบครงั้ นี้ พร้อมกาหนดระยะเวลาทแ่ี กไ้ ข
ในกรณีที่เป็นการตรวจติดตามตามรูปแบบการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มใน ข้อ.6 (2) ให้รายงาน
สรุปผลการตรวจเฉพาะ ขอ้ . 2) และขอ้ . 3)
8) การแจง้ ผลการตรวจรบั รองมาตรฐานฟาร์มอย่างเปน็ ทางการ
คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มมีหนังสือราชการแจ้งผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม พร้อม
แนบรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์ ให้ผู้ประกอบการทราบภายใน 15 วันทาการ นับจากวันทเ่ี สร็จ
ส้ินการตรวจและให้ผู้ประกอบการแจ้งรายละเอียดการ แก้ไขข้อบกพร่องให้ผู้อานวยการสานักสุขศาสตร์สัตว์
และสุขอนามยั ทราบภายใน 15 วนั นับจากวนั ท่ไี ด้รับหนงั สือ
23
ถ้าผู้ประกอบการไม่จัดส่งหนังสือตอบรับ เพ่ือแจ้งรายละเอียดการแก้ไขข้อบกพร่องภายในกาหนด
ระยะเวลาขา้ งต้น ใหถ้ ือว่าผปู้ ระกอบการยอมรับทจี่ ะแกไ้ ขข้อบกพรอ่ งตามทค่ี ณะผตู้ รวจรบั รองมาตรฐานฟาร์ม
ระบุไว้
9) การออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม
(1) ให้เลขานกุ ารคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์ นาผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มท่ี
ผ่านการรับรองเสนอผู้อานวยการสานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย เพื่อพิจารณาออกใบรับรองมาตรฐาน
ฟาร์มแล้วส่งใบรับรองมาตรฐานฟารม์ นน้ั ใหป้ ศสุ ตั ว์จงั หวดั เพื่อมอบให้แกผ่ ปู้ ระกอบการตอ่ ไป
(2) ใบรับรองมาตรฐานฟารม์ ใหใ้ ชไ้ ด้ 2 ปี นบั แตว่ นั ออกใบรบั รอง
การออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม ให้สานักงานปศุสัตว์จังหวัด สานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย
ใหด้ าเนินการดงั นี้
1. สานกั งานปศุสตั วจ์ ังหวดั
1) รับแบบฟอรม์ คาขอรับรองมาตรฐานฟารม์ เลีย้ งสัตว์ (แบบ ม.ฐ.ฟ. 1) พรอ้ มหลกั ฐาน
2) ในกรณีคาร้องและหลักฐานครบ เจ้าหน้าท่ีสานักงานปศุสัตว์จังหวัดดาเนินการตรวจสอบ
ฟาร์มของผ้ปู ระกอบการเบือ้ งต้นวา่ มอี งค์ประกอบพ้นื ฐานของฟาร์มครบ 5 ประการหรอื ไม่ ดงั นี้
- ระบบการทาลายเชื้อโรคก่อนเขา้ และออกฟารม์
- การจัดการโรงเรือนทถ่ี กู ตอ้ งตามหลักสขุ าภบิ าล
- โรงเรือนท่ีใช้เลยี้ งไกต่ อ้ งมลี กั ษณะ และขนาดเหมาะสมกับจานวนไก่
- การจัดการด้านบุคลากร สัตวแพทย์ สัตวบาล และผู้เลี้ยงสัตว์ ต้องมีเพียงพอ
เหมาะสมกบั จานวนไก่
- การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ โดยมีโปรแกรมให้วัคซีนป้องกันโรคท่ีถูกต้อง และมี
หลักการสุขาภบิ าลฟารม์ ทด่ี ี
3) ในกรณีท่ีผู้ตรวจพบว่า ผู้ประกอบการมอี งค์ประกอบพื้นฐานของฟาร์มไม่ครบ 5 ประการ
ผู้ตรวจตอ้ งทาเร่ืองแจ้งผปู้ ระกอบการเพอื่ แกไ้ ขปรับปรุงต่อไป
4) กรณีผู้ประกอบการมีองค์ประกอบพื้นฐานของฟารม์ ครบ 5 ประการ เจ้าหน้าท่ีสานักงาน
ปศุสัตว์จังหวัด จัดส่งรายงานการตรวจองค์ประกอบพ้ืนฐานเบื้องต้นของฟาร์ม พร้อมแนบแบบฟอร์มและ
หลกั ฐานไปยงั สานกั สุขศาสตร์สัตว์ และสุขอนามยั
5) ร่วมเป็นคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์ กับสานกั สขุ ศาสตรส์ ัตว์และสุขอนามัย
2. สานักสขุ ศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย
1) รวบรวมและตรวจสอบเอกสารจากสานกั งานปศสุ ตั วจ์ งั หวดั
2) ดาเนินการอบรมผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตามระเบียบมาตรฐานฟาร์ม หลักสูตรการ
ฝกึ อบรมผปู้ ระกอบการไม่น้อยกวา่ ร้อยละ 80 ของหลกั สตู ร
3) ดาเนนิ การออกใบประกาศนียบัตรให้แก่ผปู้ ระกอบการทผ่ี ่านการฝึกอบรม
24
4) ดาเนินการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มร่วมกับคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม จาก
สานักงานปศสุ ตั วจ์ ังหวัด
5) กรณฟี าร์มไมผ่ า่ นการตรวจรบั รองมาตรฐานฟาร์ม ให้ทาหนังสือเป็นทางการแจง้ สานักงาน
ปศสุ ตั วจ์ งั หวัด และแจ้งผู้ประกอบการให้แกไ้ ขข้อบกพรอ่ ง
6) กรณีฟาร์มผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ให้ดาเนินการตรวจสอบรายงานผลการ
ตรวจประเมินฟารม์ และจัดทาบนั ทกึ ข้อมลู ทะเบยี นฟารม์ มาตรฐาน
7) ดาเนินการออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม พร้อมทาหนังสือเป็นทางการแจ้งสานักงาน
ปศุสตั วจ์ ังหวดั เพื่อมอบใบรับรองมาตรฐานฟาร์มให้แกผ่ ู้ประกอบการต่อไป
8) ใบรบั รองมาตรฐานฟารม์ มอี ายุการใช้งาน 2 ปี นบั แต่วันออกใบรับรอง
10) การต่ออายใุ บรบั รองมาตรฐานฟารม์
(1) ผู้ประกอบการท่ีมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์มให้ยื่นคาขอรับรอง
มาตรฐานฟาร์มพร้อมหลักฐาน ก่อนหมดอายุภายใน 30 วัน ท่ีสานักงานปศุสัตว์จังหวัดพร้อมกับใบรับรอง
มาตรฐานฟารม์ ฉบับเดมิ
(2) ให้เจ้าหน้าที่สานักงานปศุสัตว์จังหวัดในท้องท่ีนั้นรวบรวมคาขอดาเนินการตรวจสอบ
เอกสารเบ้ืองต้น และนาเสนอเลขานุการคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เพื่อนัดหมายการตรวจรับรอง
มาตรฐานฟารม์ ต่อไป
(3) คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม จะดาเนินการนัดหมายและตรวจรับรองมาตรฐาน
ฟาร์มเชน่ เดยี วกับการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ข้อ. 5) การตรวจรับรองมาตรฐานฟารม์ ใน ขอ้ . 1-9
(4) การแจง้ ผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มอยา่ งเป็นทางการคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐาน
ฟารม์ จะแจ้งผลอยา่ งเป็นทางการ เช่นเดยี วกับการแสดงผลตาม ข้อ. 8) การแจง้ ผลการตรวจรับรองมาตรฐาน
ฟาร์มอยา่ งเป็นทางการ
(5) การพิจารณาการตอ่ อายใุ บรับรองมาตรฐานฟาร์ม เมื่อคณะผ้ตู รวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม
เห็นว่า ผู้ประกอบการรายใดเหมาะสมท่ีจะได้รับใบรับรองมาตรฐานฟาร์มต่อไปให้เลขานุการคณะผู้ตรวจ
รับรองมาตรฐานฟาร์ม นาผลการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มท่ีผ่านการรับรองจากคณะผู้ตรวจรับรอง
มาตรฐานฟาร์ม และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานฟาร์มเสนอผู้อานวยการสานักสุขศาสตร์สัตว์และ
สุขอนามัยต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม โดยเติมคาว่า "ต่ออายุ" และลงนามโดยผู้อานวยการสานักสุข
ศาสตรส์ ตั ว์และสุขอนามยั เป็นสาคัญ
การอนุญาตให้ต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม ให้นับต่อจากวันหมดอายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม
ฉบบั เดิม เปน็ ตน้ ไป
25
การต่ออายุใบรบั รองมาตรฐานฟารม์ ผูป้ ระกอบการ สานักงานปศสุ ตั วจ์ ังหวัดและ
สานักสุขศาสตร์สัตวแ์ ละสุขอนามยั มบี ทบาท ดังน้ี
1. ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการต้องย่ืนคาขอต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์มที่สานักงาน
ปศุสัตว์จังหวัดท่ีฟาร์มตั้งอยู่ภายใน 30 วัน ก่อนท่ีใบรับรองมาตรฐานฟาร์มจะหมดอายุพร้อมใบรับรอง
มาตรฐานฟาร์มฉบับเดิม
2. สานกั งานปศุสตั ว์จงั หวดั สานกั งานปศสุ ัตว์จงั หวัดรวบรวม และตรวจสอบหลักฐาน คาขอต่ออายุ
ใบรับรองพร้อมหลักฐานที่ถูกต้องเสนอคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เพื่อนัดหมายการตรวจมาตรฐาน
ฟารม์ ต่อไป
3. สานกั สขุ ศาสตร์สัตวแ์ ละสขุ อนามยั สานกั สุขศาสตรส์ ตั วแ์ ละสขุ อนามยั ทาหนา้ ที่ ดงั น้ี
1) ดาเนินการตรวจประเมินมาตรฐานฟาร์มร่วมกับ คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม
จากสานักงานปศุสตั วจ์ ังหวัด
2) กรณีที่ฟาร์มผ่านการตรวจประเมิน พิจารณาดาเนินการต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม
โดยใหอ้ อกใบรับรองเตมิ คาว่า “ต่ออาย”ุ
3) การอนุญาตให้ต่ออายุใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม ให้นับต่อจากวันหมดอายุใบรับรอง
มาตรฐานฟารม์ ฉบบั เดิมเป็นตน้ ไป และมีอายุการใช้งาน 2 ปี นับแต่วันออกใบรับรอง
4) จดั ทาและเกบ็ รกั ษาสมุดทะเบยี นผปู้ ระกอบการ ท่ไี ดร้ บั การรับรองมาตรฐานฟาร์ม
11) การจัดทาและเก็บสมุดทะเบียน
(1) เลขานุการคณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เป็นผู้จัดทาและเก็บรักษาสมุดทะเบียน
ผปู้ ระกอบการทีไ่ ด้รบั การรับรองมาตรฐานฟารม์
12) การพิจารณาการเพิกถอนใบรบั รองมาตรฐานฟารม์
(1) ผอู้ านวยการสานกั สุขศาสตรส์ ตั วแ์ ละสขุ อนามยั จะดาเนินการเพกิ ถอนใบรับรองมาตรฐาน
ฟาร์ม พรอ้ มท้งั ขนึ้ ทะเบยี นประวัติเป็นฟาร์มทไี่ ม่ได้มาตรฐานหากปรากฏวา่ คณะผู้ตรวจรบั รองมาตรฐานฟาร์ม
ได้ตรวจตามรูปแบบการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มแล้ว ภายหลังพบว่าเกิดความบกพร่องของงานในความ
รับผิดชอบอนั เนอ่ื งมาจากผู้ประกอบการ
(2) ฟาร์มท่ีอยู่ในทะเบียนประวัติเป็นฟาร์มที่ไม่ได้มาตรฐานจะไม่ได้รับการพิจารณารับรอง
มาตรฐานฟาร์มเปน็ เวลา 3 ปี
การเพิกถอนใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม ผู้ประกอบการต้องรักษา และคงสภาพของมาตรฐานฟาร์ม
โดยปฏบิ ตั ดิ งั น้ี
1) ผู้ประกอบการต้องคอยเอาใจใส่ตรวจสอบฟาร์มของตนให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่าง
สมา่ เสมอ
2) เมื่อมกี ารเปล่ียนแปลงเกิดข้ึนไมว่ ่ากรณีใดๆ เช่น เปลย่ี นผปู้ ฏิบตั งิ าน ต้องให้ความสนใจใน
จุดนั้นเป็นพิเศษ หากไม่แน่ใจว่างานในจุดน้ันจะมีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบมาตรฐานฟาร์ม ให้นัดหมาย
26
คณะผตู้ รวจรับรองฯ ไปดาเนินการตรวจสอบตอ่ ไป
3) ผู้ประกอบการต้องสนับสนุนและไม่ก้าวก่ายงานในหน้าท่ีรับผิดชอบของสัตวแพทย์
ผู้ควบคุมฟาร์ม ในกรณีที่คณะผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม ตรวจสอบพบความบกพร่องของงานในความ
รับผิดชอบ อนั เนอ่ื งมาจากผ้ปู ระกอบการ สานกั สุขศาสตร์สตั ว์ และสุขอนามยั จะดาเนนิ การเพิกถอนใบรับรอง
มาตรฐานฟาร์มพร้อมทั้งข้ึนทะเบียนประวัติท่ีไม่ได้มาตรฐาน และฟาร์มจะไม่ได้รับการพิจารณารับรอง
มาตรฐานฟาร์มเปน็ เวลา 3 ปี
13) ประโยชนจ์ ากการไดร้ ับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม
(1) ผูป้ ระกอบการมผี ลผลิตปศสุ ตั ว์เพิ่มมากข้นึ
(2) ผลผลิตปศุสตั ว์มคี ุณภาพดี ปลอดภยั ตอ่ ผู้บรโิ ภค
(3) ผูป้ ระกอบการมีส่วนร่วมในการรักษาสงิ่ แวดลอ้ ม
(4) เป็นการพัฒนาการเล้ียงปศุสัตว์ เพื่อรองรับต่อมาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศ
ผู้นาเขา้ และระบบการคา้ เสรี
14) สทิ ธิประโยชน์ของฟารม์ เล้ยี งสัตว์ทไ่ี ด้มาตรฐาน
(1) การเคลื่อนย้ายสัตว์ ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงโคนมและสุกรสามารถขออนุญาต
เคลือ่ นยา้ ยสัตว์เข้าในหรอื ผ่าน เขตปลอดโรคระบาดได้จากปศุสัตว์จงั หวัด โดยปฏบิ ตั ิตามระเบียบกรมปศุสัตว์
วา่ ด้วยการนาเข้าหรอื การ เคลอ่ื นยา้ ยสัตวห์ รอื ซากสตั วภ์ ายในราชอาณาจักร
(2) กรมปศุสัตว์จะจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคอหิวาต์สุกรให้มี
จาหน่ายอย่างเพยี งพอตามปริมาณสกุ รของฟารม์ เลี้ยงสุกรมาตรฐาน
(3) กรมปศุสัตว์จะให้บริการการทดสอบโรคแท้งติดต่อในพ่อแม่พันธุ์สุกร รวมทั้งโรคแท้ง
ติดต่อและวณั โรคในโค นม โดยไม่คิดมลู ค่าสาหรับฟาร์มท่ีไดม้ าตรฐาน
(4) กรมปศุสตั ว์จะให้บรกิ ารตรวจวินิจฉัยและชนั สูตรโรคสัตว์ โดยไมค่ ดิ มูลคา่ สาหรบั ตัวอย่าง
ท่สี ่งตรวจจากฟาร์มเลย้ี งสัตวม์ าตรฐาน
27
5. มาตรฐานฟาร์มเลย้ี งไก่เนื้อ
มาตรฐานฟาร์มเลีย้ งไกเ่ น้อื นก้ี าหนดขน้ึ เปน็ มาตรฐานเพอ่ื ให้ฟาร์มทีต่ ้องการขน้ึ ทะเบียนเปน็ ฟาร์มท่ีได้
มาตรฐานเป็นท่ียอมรับ ได้ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ ซ่ึงมาตรฐานนี้เป็นท่ียอมรับ ได้
ยึดถอื ปฏบิ ัติเพอ่ื ใหไ้ ด้การรบั รองจากกรมปศุสัตว์ และถอื เป็นเกณฑ์มาตรฐานขน้ั พน้ื ฐานสาหรบั ฟาร์มทจ่ี ะได้รับ
การรบั รองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไกเ่ นอ้ื น้กี าหนดวธิ ีปฏิบตั ิ การจัดการฟารม์ การจดั การดา้ นสุขภาพสตั วแ์ ละการ
จัดการด้านสิ่งแวดลอ้ ม เพอ่ื ใหไ้ ด้ไก่เน้ือท่ีถูกสขุ ลกั ษณะและเหมาะสมแก่ผู้บรโิ ภค
ฟาร์มเลย้ี งไก่เนื้อ หมายถงึ ฟารม์ เลี้ยงไกเ่ นอื้ เพือ่ การคา้ (Broiler) ทีม่ จี านวนตัง้ แต่ 3,000 ตัวข้ึนไป
5.1 องคป์ ระกอบของฟาร์ม
1) ทาเลที่ตง้ั ของฟารม์
(1) อยูใ่ นบริเวณท่ีมีการการคมนาคมสะดวก
(2) สามารถปอ้ งกันและควบคมุ การแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟารม์ ได้
(3) อยู่หา่ งจากแหล่งชมุ ชนโรงฆ่าสัตว์ปีก ตลาดนดั ค้าสตั ว์ปีก และเสน้ ทางที่มกี ารเคลื่อนย้าย
สตั ว์ปกี และซากสัตว์ปกี
(4) อยใู่ นทาเลที่มแี หลง่ น้าสะอาดตามมาตรฐานคุณภาพน้าใช้ เพอ่ื การบรโิ ภคอย่างเพียงพอ
ตลอดปี
(5) ควรไดร้ บั ความยนิ ยอมจากองค์การบรหิ ารราชการสว่ นทอ้ งถ่ิน
(6) เป็นบรเิ วณท่ไี ม่นา้ ทว่ มขัง
(7) เปน็ บริเวณทีโ่ ปรง่ อากาศสามารถถา่ ยเทไดด้ ี มตี ้นไม้ใหร้ ม่ เงาภายในฟารม์
2) ลักษณะของฟาร์ม
(1) เนอ้ื ทข่ี องฟาร์ม ต้องมเี น้อื ท่ีเหมาะสมกับขนาดของฟารม์ โรงเรือน
(2) การจัดแบ่งพ้ืนที่ ต้องมีเน้ือที่กว้างขวางเพียงพอ สาหรับการจัดแบ่งการก่อสร้างอาคาร
โรงเรือนอยา่ งเปน็ ระเบียบ สอดคลอ้ งกบั การปฏิบัตงิ านและไม่หนาแน่นจนไม่สามารถจดั การด้านการผลิตสัตว์
การควบคุมโรคสัตว์ สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน และการรักษาส่ิงแวดล้อมได้ตามหลักวิชาการ ฟาร์มจะต้องมี
การจัดแบ่งพ้นื ท่ีฟาร์มเป็นสดั สว่ นโดยมีผังแสดงการจดั วางที่แน่นอน
(3) ถนนภายในฟาร์ม ต้องใชว้ สั ดคุ งทน มีสภาพและความกวา้ งเหมาะสม สะดวกในการขนสง่
ลาเลียงอปุ กรณ์ อาหารสัตว์ รวมท้ังผลผลติ เขา้ -ออกจากภายในและภายนอกฟารม์
(4) บ้านพักอาศัยและอาคารสานักงาน อยู่ในบริเวณอาศัยโดยเฉพาะไมม่ ีการเข้าอยูอ่ าศัยใน
บริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ้านพักต้องอยู่ในสภาพแข็งแรงสะอาด เป็นระเบียบไม่สกปรกรกรุงรัง มีปริมาณ
เพียงพอกับจานวนเจ้าหนา้ ที่ ต้องแยกห่างจากบริเวณเล้ียงสัตว์พอสมควร สะอาด ร่มร่ืน มีรั้วกั้นแบ่งแยกจาก
บริเวณเลย้ี งสตั ว์ตามกาหนดอย่างชดั เจน
28
3) ลักษณะของโรงเรือน โรงเรือนที่จะใช้เลี้ยงไก่ควรมีขนาดท่ีเหมาะสมกับจานวนไก่ที่เลี้ยง
ถูกสุขลกั ษณะ สัตว์อยู่สบาย
5.2 การจดั การฟาร์ม
1) การจัดการด้านโรงเรือน
(1) โรงเรือนและที่ใหอ้ าหาร ต้องสะอาดและแห้ง
(2) โรงเรือนต้องสะดวกในการปฏบิ ตั งิ าน
(3) ต้องดแู ลซ่อมแซมโรงเรือนใหม้ คี วามปลอดภัยต่อไกแ่ ละผ้ปู ฏิบัตงิ าน
(4) มกี ารทาความสะอาดโรงเรือนและอปุ กรณ์ ด้วยน้ายาฆ่าเชอ้ื โรคตามความเหมาะสม
(5) มกี ารจัดการโรงเรอื น เพ่อื เตรยี มความพรอ้ มกอ่ นนาไก่เข้าเลี้ยง
2) การจัดการด้านบคุ ลากร
(1) ต้องมีจานวนแรงงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจานวนสัตว์ท่ีเลี้ยง มีการจัดแบ่ง
หน้าที่และความรบั ผิดชอบในแต่ละตาแหนง่ อย่างชัดเจน นอกจากนี้บุคลากรภายในฟารม์ ทุกคนควรได้รบั การ
ตรวจสขุ ภาพเป็นประจาทกุ ปี
(2) ให้มีสัตวแพทย์ควบคุมกากับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ และสุขอนามัยภายในฟาร์ม โดย
สัตวแพทย์ต้องมีใบอนุญาตประกอบการบาบัดโรคสัตว์ช้ันหน่ึงและได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มจากกรม
ปศุสัตว์
3) คมู่ ือการจัดการฟาร์ม ผปู้ ระกอบการฟารม์ ต้องมีคู่มอื การจัดการฟารม์ แสดงให้เหน็ ระบบการเลี้ยง
การจัดการฟาร์มระบบบันทึกข้อมูล การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยในฟาร์ม
4) ระบบการบนั ทกึ ขอ้ มลู ฟาร์มจะตอ้ งมรี ะบบการบันทึกขอ้ มูล ซึ่งประกอบด้วย
(1) ขอ้ มลู เก่ยี วกบั การบริหารฟาร์ม ไดแ้ ก่ บุคลากร แรงงาน
(2) ข้อมลู เกี่ยวกบั การจัดการดา้ นการผลิต ไดแ้ ก่ ข้อมูลตวั สัตว์ ข้อมูลสุขภาพสัตว์ ข้อมูลการ
ผลิตและขอ้ มูลผลผลติ
5) การจดั การด้านอาหารสตั ว์
1) คณุ ภาพอาหารสตั ว์
- แหลง่ ทม่ี าของอาหารสตั ว์
ก) ในกรณีซ้ืออาหารสตั ว์ ต้องซอ้ื จากผทู้ ไ่ี ดร้ ับใบอนุญาตตาม พรบ. ควบคุม
คุณภาพอาหารสตั ว์ พ.ศ. 2525
ข) ในกรณีผสมอาหารสัตว์ ต้องมีคุณภาพอาหารสัตว์เป็นไปตามท่ีกาหนด
ตาม พรบ. ควบคมุ คณุ ภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
29
- ภาชนะบรรจแุ ละการขนส่ง
ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ย หรือวัตถุอื่นใดท่ีอาจเป็น
อันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารท่ีจะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์ ถ้าถูกเคลือบด้วยสารอ่ืนๆ
สารดงั กล่าวตอ้ งไมเ่ ป็นอันตรายตอ่ สตั ว์
- การตรวจสอบคณุ ภาพอาหารสัตว์
ควรมีการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากน้ีต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่ง
ห้องปฏิบัติการที่เช่ือถอื ได้ เพ่ือตรวจวิเคราะห์คุณภาพและสารตกค้างเป็นประจา และเก็บบันทึกผลการตรวจ
วเิ คราะหไ์ ว้ใหต้ รวจสอบได้
2) การเก็บรักษาอาหารสตั ว์
ควรมสี ถานท่เี กบ็ อาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมวี ัตถุดบิ เป็นวิตามินควรเกบ็ ไวใ้ นห้องปรบั อากาศ หอ้ ง
เก็บอาหารสัตว์ต้องสามารถรักษาสภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและ
สตั วต์ ่างๆ ควรมีแผงไม้รองด้านล่างของภาชนะบรรจอุ าหารสัตว์
6) การจดั การด้านสุขภาพสัตว์
1) ฟาร์มจะตอ้ งมีระบบเฝ้าระวัง
ควบคุมและป้องกนั โรคไดอ้ ย่างมีประสิทธิภาพ ทงั้ นี้รวมถงึ การมีโปรแกรมทาลายเช้อื โรคกอ่ น
เข้าและออกจากฟาร์ม การปอ้ งกันการสะสมของเชือ้ โรคในฟารม์ การควบคมุ โรคให้สงบโดยเรว็ และไมใ่ ห้แพร่
ระบาดจากฟาร์ม
2) การบาบัดโรค
(1) การบาบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบตั ิตาม พรบ. ควบคุมการประกอบการบาบัดโรคสัตว์
พ.ศ. 2505
(2) การใชย้ าสาหรบั สตั ว์ ต้องปฏบิ ัตติ ามขอ้ กาหนดการใชย้ าสาหรบั
สัตว์ (มอก.7001-2540)
7) การจดั การสิ่งแวดลอ้ ม
วธิ ีการกาจัดของเสีย
สง่ิ ปฏกิ ูลต่างๆ รวมถงึ ขยะต้องผ่านการกาจัดอยา่ งเหมาะสม
กฎ/ ข้อบงั คบั อื่นๆ ตามกฎหมาย
1) ขอ้ กาหนดการใชย้ าสาหรบั สัตว์ (มอก. 7001-2504)
2) พรบ. ควบคุมการประกอบการบาบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
3) พรบ. ควบคมุ คุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
4) มาตรฐานคุณภาพน้าใช้