The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thitikornLanakham, 2019-06-17 22:54:22

Unit 8

Unit 8

บทที่ 8

ระบบขบั ถา่ ยปัสสาวะ

ครคู ธั รยี า มะลวิ ลั ย์

แผนกวชิ าสัตวศาสตร์
วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยฉี ะเชงิ เทรา

ใบความรู้ที่ 8

ระบบขับถ่ายปสั สาวะ

หวั ข้อเรื่อง

1. ความหมายและหน้าที่ของระบบขับถา่ ยปสั สาวะ
2. อวยั วะในระบบขบั ถ่ายปสั สาวะ
3. โครงสรา้ งและการทางานของไต

จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้

1. บอกความหมายและหน้าท่ีของระบบขับถา่ ยปัสสาวะได้
2. อธบิ ายอวัยวะในระบบขบั ถ่ายปสั สาวะได้
3. อธบิ ายโครงสรา้ งและการทางานของไตได้

เนอื้ หาการสอน

ระบบขับถ่ายปัสสาวะเป็นระบบหน่ึงในร่างกายท่ีเกี่ยวข้องกับการขับของเสีย หรือขับสารพิษออก
จากรา่ งกาย เพ่ือควบคุมภาวะร่างกายให้คงที่ (homeostasis) การผลติ นา้ ปัสสาวะจะเป็นตัวนาพาของเสีย
หรือสิ่งท่ีเป็นพิษโดยเฉพาะสารประกอบไนโตรเจน (nitrogenous compound) ออกจากร่างกาย จึงช่วย
รักษาสมดุลของของเหลว และ อิเล็คโตรไลท์หรืออิออนของแร่ธาตุต่างๆ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับระบบ
ต่อมไร้ท่อ และ ช่วยควบคุมความดันเลือด โดยการหลั่งฮอร์โมนเรนนิน (rennin) และ สังเคราะห์ฮอร์โมน
อิริโทรปอยด์ติน (erytropoitin) ท่ีเกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และยังเก่ียวข้องกับระบบ
สืบพนั ธดุ์ ว้ ย

การขับถ่ายปสั สาวะอาจจัดวา่ เปน็ การขับถา่ ยของเสียที่สาคัญทีส่ ดุ ของร่างกาย โดยเปน็ การขับของ
เสีย (excretion) ออกจากร่างกายในรูปของเหลว และเคลื่อนย้ายของเสีย (remove waste product)
ออกจากกระแสโลหิต เป็นตัวที่จะสร้างน้าขับต่างๆ ของร่างกายออกไปเป็นน้าปัสสาวะ (urine) จึงมีผลให้
ร่างกายต้องมีการสูญเสียน้าในปริมาณมากตามมาด้วย เนื่องจากน้าถูกใช้เป็นตัวทาละลายเพ่ือนาพาเอา
ของเสียออกจากร่างกาย โครงสร้างของระบบขับถ่ายปัสสาวะประกอบด้วยไต (kidneys) 1 คู่ ท่อไตหรือ
หลอดปัสสาวะ (ureters) 1 คู่ กระเพาะปสั สาวะ (urinary bladder) และท่อปัสสาวะ (urethra)

1. อวัยวะ และหน้าท่ีของอวยั วะในระบบขบั ถ่ายปัสสาวะ
1.1 ไต (kidneys)
ไตเป็นอวัยวะที่สาคัญในระบบขับถ่ายปัสสาวะ ในสัตว์เล้ียงทุกชนิดมีไตอยู่ 1 คู่ อยู่ภายนอกช่อง

ท้อง (peritoneal cavity) และมีตาแหน่งอยู่ติดกับกระดูกสันหลังส่วนเอว เน้ือไตของสัตว์เล้ียงมีสีน้าตาล
แดง ถกู ครอบคลุมอยู่โดยรอบดว้ ยเนอ้ื เยื่อบางๆ ทเ่ี รียกว่า เยื่อไต (renal capsule) ยกเว้นส่วนท่ีมลี ักษณะ

เว้าเข้าไป เรียกว่า รีนัลไฮลัส (renal hilus) ซ่ึงเป็นจุดท่ีเส้นเลือด เส้นประสาท และท่อไต หรือหลอด
ปัสสาวะผ่านเข้าออกจากไตเท่าน้ัน ลักษณะรูปร่างของไตในสัตว์เล้ียงแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ไตของ
สุกร สุนัข แมว จะมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว และมีผิวเรียบ ไตของสุกรจะมีลักษณะแบนกว่าไตของสุนัขและ
แมว แต่ไตของโคจะมลี ักษณะเป็นรูปไข่ ผวิ ดา้ นนอกจะมีร่อง และแบ่งเนือ้ ไตออกเป็นกลีบๆ (segment or
lobe) สว่ นม้าจะมไี ตรปู รา่ งคลา้ ยกบั รปู หวั ใจ โดยท่ัวไปไตข้างขวาจะมขี นาดใหญก่ ว่าไตข้างซ้าย

เน่ืองจากระบบการขับถ่ายปัสสาวะเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการผลิตนา้ ปัสสาวะ และ การขับถ่าย
นา้ ปัสสาวะ ซึ่งเปน็ ระบบการขบั ถ่ายของเสียจากร่างกายในรูปของเหลว การทางานของระบบปัสสาวะจึงมี
ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบไหลเวียนของเลือด ซ่ึงเป็นของเหลวที่อยู่ภายนอกเซลล์และ
ไหลเวียนอยู่ภายในหัวใจและหลอดเลือดหรือเส้นเลือด เลือดจะเป็นตัวพาสารต่างๆที่ร่างกายต้องการที่จะ
ขับออกไปท่ีไต เพ่ือให้ไตทาหน้าท่ีกรองสารที่ไม่ต้องการเหล่าน้ีออกจากเลือด พรอ้ มทาการผลติ น้าปัสสาวะ
และขบั ออกในรูปนา้ ปสั สาวะซึ่งมีลักษณะเปน็ ของเหลว

ภาพท่ี 8.1 แสดงลักษณะของไตในสกุ ร โค และมา้
ทีม่ า : ดดั แปลงจาก Colville and Bassert (2002)

หนา้ ท่ขี องไต คือ
- สรา้ งน้าปสั สาวะซึง่ เกดิ จากการกรองเลือดทไ่ี ต โดยของเสยี ส่วนใหญ่เป็นของเสยี ทีเ่ กดิ

จากขบวนการเมตาโบลิซึมของเซลล์
- เกี่ยวข้องกับการควบคมุ สมดุลของน้าในร่างกาย เน่ืองจากการขบั ถ่ายปสั สาวะทาให้

ร่างกายสูญเสยี นา้ ซ่งึ เป็นสว่ นประกอบสว่ นใหญ่ในนา้ ปัสสาวะ และเป็นตัวทาละลายสาหรบั สารต่างๆ เชน่
ยูเรยี (urea) และ ครเี อทีน (creatine) ทเ่ี ป็นของเสียจากขบวนการเมตาโบลซิ มึ ที่รา่ งกายตอ้ งการขบั ออก
ไตจงึ เป็นตัวควบคุมปรมิ าณน้าในร่างกายไมใ่ ห้มีการขับนา้ ออกมากเกินไป โดยการควบคุมของฮอร์โมน
แอนตี้ไดยเู รดตกิ ฮอรโ์ มน หรือเอดเี อช (antidiuretic hormone , ADH) ท่ีสังเคราะหจ์ ากต่อมใตส้ มอง
ส่วนหน้า และอัลโดสเตอโรน (aldosterone) ท่ีสังเคราะห์จากตอ่ มหมวกไตสว่ นนอก

- ควบคุมสมดุลของกรด-ดา่ งในร่างกาย ด้วยการควบคมุ สมดุลของกรด-ดา่ งในนา้ เลือด
โดยทั่วไปในเลอื ดมีคา่ pH ประมาณ 7.4 ซงึ่ เป็นระดับท่เี ซลล์ในร่างกายสามารถทาหน้าที่ไดอ้ ยา่ งปกติ แต่
การท่เี ลอื ดมี pH เป็นดา่ งมากเกนิ ไป (alkalosis) หรอื มี pH เป็นกรดมากเกินไป (acidosis) จะมผี ลให้
การทางานของเซลลม์ ปี ระสิทธภิ าพลดลง

- ควบคุมสมดุลของเกลือแร่ในรา่ งกาย (electrolyte balance) โดยการขับแร่ธาตุสว่ นที่
มีมากเกนิ ความต้องการออก และดูดกลบั แรธ่ าตุสว่ นทร่ี ่างกายมีความต้องกลับเขา้ ส่รู า่ งกายผา่ นทางหลอด
ไต

- สงั เคราะห์และหลั่งฮอร์โมนฮอร์โมนอริ ิโทรปอยดต์ นิ ที่เกี่ยวข้องกับการสรา้ งเซลลเ์ ม็ด
เลอื ดแดง (erythropoiesis) และฮอรโ์ มนทเ่ี ก่ียวกับการควบคุมความดนั ของเลอื ด คอื ฮอรโ์ มนเรนนนิ
(renin)

- เกี่ยวกบั การทาลายสารพษิ (detoxification) เพื่อช่วยกาจดั สารพิษในรา่ งกาย โดยการ
เปลี่ยนสารพษิ บางชนดิ ให้เป็นสารทมี่ พี ิษนอ้ ยลง หรอื เปลี่ยนใหเ้ ป็นสารทไี่ ม่มีพิษ แลว้ ขบั ออกจากร่างกาย

- ทาหน้าท่ีผลิตไวตามนิ ดีที่ทางานได้ (active vitamin D or 1, 25
Dihydroxycholocalciferal) เพื่อชว่ ยในการดูดซมึ แคลเซียมอิออนท่ีผนังลาไสเ้ ล็ก

กายวิภาคของไต (anatomy of kidney)
เม่ือนาไตมาผ่าตามความยาวจะแบ่งไตออกได้เป็น 2 ส่วน เนื้อไตในแต่ละส่วนจะเห็นได้ว่ามีสีท่ี
ตา่ งกนั อย่างเหน็ ไดช้ ัด สามารถแยกออกได้เปน็ 2 ส่วนคือ
1) เน้ือไตชน้ั นอก (renal cortex) เปน็ สว่ นของเน้อื ไตที่อยู่ติดกบั เปลือกหุ้มไต (renal capsule)
เน้ือไตมีสีน้าตาลแดง หรือสีเหลืองปนแดงจะเป็นบริเวณที่มีเลือดมาหล่อเล้ียงมาก ส่วนของเส้นเลือดแดง
ที่มาหล่อเล้ียงเนื้อไต เป็นกลุ่มของเส้นเลือดแดงฝอยท่ีมาจัดเรียงตัวกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โกลเมอรูลัส
(glomerulus) มีกระจายอยทู่ ั่วไป ส่วนของเส้นเลือดทเี่ ขา้ มาในโกลเมอรูรสั เรียกว่า แอฟเฟอเรนอาร์เทอริ
โอล (afferent arteriole) เส้นเลือดที่นาเลือดออกจากโกลเมอรูลัส เรียกว่า เอฟเฟอเรนอาร์เทอริโอล
(efferent arteriole) โดยแอฟเฟอเรนอาร์เทอริโอ (afferent arteriole) จะมีขนาดใหญ่กว่า เอฟเฟอเรน

อาร์เทอริโอล (efferent arteriole) รอบๆ โกลเมอรูลัสแต่ละอันจะมีถุงหุ้มอยู่ เพื่อรองรับน้าปัสสาวะหรือ
น้าท่ีกรองได้จากเลือด ส่วนของถุงหุ้มเราเรียกว่า โบว์แมนส์แคบซูล (Bowman’s capsule) ถุงหุ้มนี้จะต่อ
โดยตรงกับหลอดไตส่วนตน้ (proximal convoluted tubules)

2) เน้ือไตชั้นใน (renal medulla) เป็นส่วนเนื้อไตท่ีอยู่โดยรอบกรวยไต (renal pelvis) มีผิว
เรียบส่วนนอกมีสีน้าตาลเข้ม และมีลักษณะคล้ายแถบรังสีที่แผ่ย่ืนเข้าไปในเนื้อไตชั้นนอก แต่ส่วนเน้ือไต
ช้ันในท่ีติดกับกรวยไตจะมีสีซีดกว่า และมีหลอดไตขนาดต่างๆ เรียงตัวกันหนาแน่น โดยหลอดไตรวม
(collecting tubules) จะเรียงตัวขนานกันเป็นกลุ่มๆคล้ายกับรูปปิรามิด หรือคล้ายกับรูปสามเหลี่ยม
ทาให้เกิดเป็นกลีบไตที่มลี ักษณะคลา้ ยกบั รปู ปิรามิด (renal pyramid) แตด่ ้านฐานของรูปสามเหลี่ยมจะอยู่
ทางด้านนอก หรือฐานของรูปสามเหลี่ยมจะติดกับเนื้อไตส่วนนอก ส่วนยอดแหลมของสามเหลี่ยม เรียกว่า
รนี ัลพาพิล่าร์ (renal papilla) เป็นบรเิ วณที่มรี ูเล็กๆปรากฏอยู่มากมาย โดยรูเล็กๆเหล่านจ้ี ะเปน็ รเู ปิดของ
หลอดไตขนาดเล็กๆ ซ่ึงเป็นทางผ่านของปัสสาวะเพื่อเข้าสู่ช่องว่างที่รองรับอยู่ท่ีปลายของรีนัลพาพิวลาร์
(renal papilla) แต่ละอัน ช่องว่างนี้เรียกว่าไมเนอเคลิกส์ (minor calyx) โดยไมเนอเคลิกส์จานวน 2-3
อันจะรวมกันแล้วเปิดเข้าสู่ช่องว่างที่มีขนาดใหญ่กว่า เรียกว่าเมเจอร์เคลิกส์ (major calyx) ซึ่งจะเป็น
ช่องว่างที่รวบรวมน้าปัสสาวะจากไมเนอเคลิกส์แล้วส่งต่อไปยังท่อไต (ureters) โดยผ่านส่วนของกรวยไต
(renal pelvic) ในสัตว์เลี้ยงบางชนิดเช่นในม้าเนื้อไตจะไม่มีส่วนของไมเนอเคลิกส์ปรากฏให้เห็น น้า
ปัสสาวะที่ผลิตได้จากหลอดไตจึงไหลผ่านเข้าสู่กรวยไตโดยตรง แต่ในสัตว์บางชนิดเช่นโคจะไม่มีส่วนของ
กรวยไต เน่ืองจากลักษณะไตของโคจะแยกออกเป็นกลีบๆอย่างชัดเจน จึงไม่จาเป็นต้องมีส่วนรวบรวมน้า
ปสั สาวะ หรอื เคลิกส์ เม่ือหลอดไตผลิตน้าปสั สาวะไดจ้ ะส่งผา่ นรูในสว่ นของรนี ัลพาพิลา่ ร์ (renal papilla)
แล้วส่งต่อไปทท่ี ่อไต เพ่อื ส่งผ่านน้าปัสสาวะและนาไปเก็บทกี่ ระเพาะปสั สาวะต่อไป

ภาพที่ 8.2 โครงสรา้ งของไตในแพะ

1.2 ทอ่ ไต หรอื หลอดปัสสาวะ (ureters)
ท่อไตเป็นท่อกลวงท่ีประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบทั้งหมด เป็นช่องทางติดต่อระหว่างไต และ
กระเพาะปัสสาวะ ท่อไตแต่ละข้างจะออกจากไตตรงตาแหน่งข้ัวไต และทอดยาวมาติดต่อกับส่วนคอของ
กระเพาะปัสสาวะ โครงสร้างของท่อไตประกอบด้วยเน้ือเยื่อ 3 ช้ัน ชั้นนอกเป็นส่วนของชั้นเน้ือเยื่อเส้นใย
(fibrous tissue) ส่วนชั้นกลางประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ และชั้นในสุดเป็นชั้นเน้ือเย่ือบุผิวชนิดท่ีเป็น
เซลล์หลายชั้นซอ้ นกนั ท่ีสามารถยืดขยายเซลล์ได้ (transitional epithelium) เนอ้ื เยื่อบุผิวดังกล่าวจะมีผล
ให้ท่อไตสามารถยดื ตัวออกไดข้ ณะทมี่ นี ้าปัสสาวะไหลผ่านมาตามท่อเพื่อไปเกบ็ สะสมทีก่ ระเพาะปสั สาวะ
หนา้ ท่ีของท่อไต
ทาหน้าท่ีรับน้าปัสสาวะจากไต เพื่อส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ การส่งผ่านน้าปัสสาวะเกิดจาก
การบีบตัวของชั้นกล้ามเน้ือเรียบท่ีล้อมรอบท่อไต คล้ายกับขบวนการขย่อน (peristalsis movement)
ของกล้ามเน้ือเรียบที่ผนังลาไส้ บริเวณท่อไตตรงส่วนที่ต่อระหว่างท่อไตกับกระเพาะปัสสาวะนี้ จะมีลิ้น
(valve) อย่ภู ายในทอ่ เพอ่ื ทาหน้าที่ปอ้ งกันการไหลย้อนกลบั ของน้าปสั สาวะเข้าสู่ไต

1.3 กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder)
กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะท่ีมีลักษณะเป็นถุง ส่วนท้ายของกระเพาะปัสสาวะจะต่อกับ

ท่อปัสสาวะ ด้านในถุงเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ เม่ือปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากข้ึน ผนังกระเพาะ
ปสั สาวะจะยืดตัวออก ถา้ ไมม่ ีน้าปัสสาวะผนังกระเพาะปสั สาวะจะหดตัวเล็กลง บริเวณกระเพาะปัสสาวะที่
ต่อกับท่อปัสสาวะจะมีกล้ามเน้ือหูรูด (sphincter) ทาหน้าท่ีป้องกันการไหลย้อนของน้าปัสสาวะเข้าสู่
กระเพาะปัสสาวะ

กายวิภาคของกระเพาะปัสสาวะ (anatomy of urinary bladder)
กระเพาะปัสสาวะมสี ่วนประกอบ 2 ส่วนด้วยกนั คอื ถงุ กล้ามเนื้อเรียบ และส่วนคอ ตาแหน่งและ
ขนาดของกระเพาะปัสสาวะจะแตกต่างกันไปขึ้นกับปริมาณน้าปัสสาวะที่บรรจุอยู่ภายใน โครงสร้างของ
กระเพาะปสั สาวะประกอบด้วยเน้ือเยื่อ 3 ชั้น เช่นเดียวกับในท่อไต ผนงั ภายในของกระเพาะปัสสาวะชน้ั ใน
สุดถูกบุด้วยเซลล์เน้ือเย่ือบุผิวท่ียืดขยายเซลล์ได้เรียงซ้อนกันหลายชั้น (transitional epithelium) จึง
สามารถยืดขยายได้เมื่อมีน้าปัสสาวะบรรจุอยู่เต็ม ช้ันถัดไปเป็นช้ันกล้ามเนื้อเรียบท่ีเรียงตัวกันอยู่แบบ
ตามยาว ตามขวางและวงกลม เม่ือกล้ามเน้ือเรียบหดตัวจะทาให้น้าปัสสาวะไหลออกมา และช้ันนอกเป็น
สว่ นของช้นั เน้อื เย่ือเส้นใย (fibrous tissue)
ส่วนคอของกระเพาะปัสสาวะจะแผ่ขยายยาวจากส่วนท้ายของถุงเข้าไปในช่องเชิงกราน เพื่อ
เชื่อมต่อกับท่อปัสสาวะ และรอบๆคอของกระเพาะปัสสาวะเป็นส่วนของกล้ามเนื้อหูรูดท่ีประกอบด้วย
เซลลก์ ลา้ มเนื้อลาย ซ่ึงทางานภายใต้อานาจจิตใจ การหดตวั และคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูดมีผลใหเ้ กิดการ
เปิดและปดิ ทอ่ ทางเดนิ ปสั สาวะ เพ่อื ใหน้ า้ ปสั สาวะไหลออกจากกระเพาะปัสสาวะไปยงั ท่อปสั สาวะได้

หน้าทีข่ องกระเพาะปสั สาวะ
ทาหน้าที่เก็บรวบรวมน้าปัสสาวะที่ผลิตจากไต เพ่ือรอการขับถ่ายออกจากร่างกายผ่านทาง
อวัยวะเพศ และมีหน้าที่ในการขับถ่ายปัสสาวะ ซึ่งจะต้องอาศัยการทางานร่วมกันระหว่างกระเพาะ
ปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดท้ังสองข้างที่ต่อกับท่อปัสสาวะ ที่ถูกควบคุมโดยระบบประสาทส่วนกลางและ
รีเฟล็กซ์ของระบบประสาทอัตโนมัติ โดยท่ัวไปปริมาณน้าปัสสาวะที่สัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดจะขับออกจาก
ร่างกายในแต่ละวันมีปริมาณท่ีแตกต่างกันไป โดยสามารถวัดได้เป็น ซีซี/วัน หรือ ลิตร/วันหรือ ซีซี /
น้าหนักตัว/วัน เช่นในแมว มี 10-20 ซีซี. /กก./วัน ในโค 17-45 ลิตร/วัน และในแพะ 10-40 ซีซี./วัน
เป็นต้น

1.4 ทอ่ ปสั สาวะ (urethra)
เป็นส่วนของท่อท่ีต่อมาจากส่วนคอของกระเพาะปัสสาวะ และทอดยาวมายังช่องเชิงกราน
มีโครงสร้างเช่นเดียวกับท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเกิดการขับปัสสาวะ (urination) น้าปัสสาวะที่
สะสมในกระเพาะปัสสาวะจะไหลเข้าสู่ท่อปัสสาวะ และออกสู่ภายนอกร่างกายผ่านอวัยวะเพศ ดังน้ันท่อ
ปัสสาวะจงึ มีหนา้ ทหี่ ลกั ในการนานา้ ปัสสาวะจากกระเพาะปสั สาวะออกมาสภู่ ายนอกรา่ งกาย
สาหรับสัตว์เพศผู้ท่อปัสสาวะนอกจากจะทาหน้าท่ีในการนาน้าปัสสาวะออกจากร่างกายแล้ว
ยังเกี่ยวข้องกับการหลั่งน้าเชื้อด้วย ในสัตว์เพศผู้ด้านบนของท่อปัสสาวะส่วนต้น (pelvic urethra ) จะมี
ต่อมร่วม (accessory glands) เช่นต่อมพรอสเตรท (prostate gland ) และต่อมคาว์สเปอร์ (cowper’s
gland) ปรากฏให้เห็นได้ ท่อปัสสาวะของสตั วเ์ พศเมียจะส้นั และมลี ักษณะเป็นท่อตรงกว่าในสัตว์เพศผู้ โดย
ในสัตว์เพศเมียปลายของท่อปัสสาวะจะมาเปิดออกตรงด้านล่างของกระพุ้งช่องคลอด (vestibule) ก่อนที่
จะมกี ารขบั น้าปัสสาวะออกจากรา่ งกายผา่ นทางปากช่องคลอด

2. สว่ นประกอบของน้าปัสสาวะ
น้าปัสสาวะเป็นของเหลวท่ีผลิตจากไต มีสีค่อนข้างเหลือง มีน้าเป็นส่วนประกอบประมาณ 95%

และมีของแข็งประมาณ 5 % ของแข็งที่เป็นส่วนประกอบมีท้ังส่วนท่ีเป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์
ได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนีย น้าตาล โซเดียมอิออน คลอไรด์ออิ อน แคลเซียมอิออน และแมกนีเซียมอิออน เป็น
ตน้ นอกจากน้ียงั มีกรดไขมันบางชนิด และฮอร์โมนบางชนิดด้วย สีของน้าปัสสาวะเป็นสีที่เกิดจากน้าดี ค่า
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้าปัสสาวะ จะข้ึนกับปรมิ าณของเกลือแร่หรือแร่ธาตุต่างๆ และปริมาณน้าที่
เป็นส่วนประกอบ ปัสสาวะท่ีมีค่าเป็นกรด คือมีค่า pH ต่ากว่า 7.4 จะมีไฮโดรเจนอิออน (H+) และ
แอมโมเนียมอิออน (NH4+) ปนอยู่มาก แต่ถ้าปัสสาวะมีค่าเป็นด่าง จะมีไบคาร์บอเนตอิออน (HCO3-)
โซเดียมอิออน (Na+) และโพแตสเซียมอิออน (K+) สูง โดยท่ัวไปน้าปัสสาวะจะมีค่าความเป็นกรดเล็กน้อย
ซึ่งสามารถเปล่ียนแปลงไปตามอาหารท่ีกิน สภาพร่างกายและการติดเชื้อ กรณีเป็นโรคเบาหวานปัสสาวะ
จะเป็นกรด

3. ระบบขับถา่ ยปสั สาวะในสัตว์ปกี
3.1 กายวิภาคของระบบขับถา่ ยปัสสาวะในสัตวป์ ีก
ระบบขับถ่ายปัสสาวะของสัตว์ปีกประกอบด้วยไต 2 ข้าง ท่อไต และช่องเปิดเพ่ือขับถ่ายปัสสาวะ

ออกสู่ภายนอกร่างกาย เรียกว่าโคลเอก้า (cloaca) สัตว์ปีกเกือบทุกชนิดจะไม่มีกระเพาะปัสสาวะ ยกเว้น
นกระจอกเทศ โดยทั่วไปสัตว์ปีกจะใช้ไตทั้งสองข้างในการสร้างปัสสาวะที่มีลักษณะก่ึงแข็งกึ่งเหลว มีสีขาว
ของกรดยูริกแทนการสร้างยูเรียในรูปของน้าปัสสาวะ เนื่องจากการขับถ่ายปัสสาวะในรูปกรดยูริกจะช่วย
ลดการเป็นพิษ เนื่องจากยูเรียที่สามารถละลายน้าได้ดี และเป็นอันตรายต่อตัวอ่อนที่อยู่ในไข่ฟัก สามารถ
เกบ็ สะสมไว้ในถงุ อลนั ทอยดไ์ ด้ ในสัตว์ปีกจะขบั ปสั สาวะออกมาพร้อมกับอุจจาระผา่ นทางส้วงทวาร

ไต ไตแต่ละข้างวางตัวอยู่ในแอ่งของกระดูกสันหลังส่วนเอวและกระดูกก้นกบ (lumbrosacrum
or synsacrum) มีลักษณะคล้ายกับเนื้อปอดที่ฝังตัวในร่องกระดูกซ่ีโครง ไตของไก่มีรูปร่างไม่แน่นอนมีสี
น้าตาลเข้มยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร กว้างท่ีสุดประมาณ 2 เซนติเมตร มีน้าหนักไม่เกิน 1% ของ
น้าหนักตัว เน้ือไตแต่ละข้างแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือไตส่วนหน้า (cranial lobe) ไตส่วนกลาง (middle
lobe) และไตส่วนท้าย (caudal lobe) ซึ่งแตกต่างจากไตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื้อไตจะไม่พบส่วน
ของช่องท่ีรวบรวมน้าปัสสาวะ (renal calyx) และส่วนของกรวยไต (renal pelvic) ส่วนของหลอดไตรวม
(collecting ducts) จะต่อเข้าโดยตรงกับท่อไตเพื่อส่งปัสสาวะไปเปิดเข้าท่ียูโรเนียมของส่วนโคลเอก้า

เน้ือไตมีหน่วยย่อยท่ีทาหน้าท่ีสร้างปัสสาวะ คือ เนฟรอน (nephron) ท่ีประกอบด้วยกลุ่มของเส้น
เลือดฝอยหรือโกลเมอรูลัส (glomerulus) ที่ทาหน้าท่ีกรองน้าเลือดและมีระบบท่อเล็กหรือหลอดไตขนาด
ต่างๆทาหน้าท่ีในการดูดกลับสารต่างๆ (reabsorption) ท่ีร่างกายต้องการใช้ประโยชน์ เช่น นา้ อิออนของ
สารอนินทรีย์ และอ่ืนๆ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับการขับสาร (secretion) ต่างๆ เช่นสารพิษออกจากร่างกาย
สามารถแบ่งเนฟรอนออกเป็น 2 ชนิดตามโครงสร้างที่แตกต่างกัน คอื เนฟรอนท่ีมีโครงสร้างคล้ายกับท่ีพบ
ในสัตว์เล้ือยคลาน (reptitian nephron, RT nephron) เป็นเนฟรอนท่ีในเน้ือไตส่วนนอกท่ีมีลักษณะเป็น
กลีบเล็กๆ ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นเลือดฝอยทข่ี ดตัวเป็นกลุ่ม (glomerulus) และหลอดไตชนิดตา่ งๆ แต่
จะไม่มีหลอดไตรูปตัวยู (Henel loop) เนฟรอนอีกประเภทหน่ึงคือเนฟรอนท่ีมีโครงสร้างคล้ายกับที่พบใน
สัตว์เลี้ยงลกู ด้วยนม (mammalian nephron, MT nephron)

ฮอร์โมนท่ีควบคุมการดูดน้ากลับท่ีหลอดไตรวม คือ อาร์จีนีนวาโสโตซิน (arginine vasotocin)
จากตอ่ มใต้สมองสว่ นท้าย

สัตว์ปีกจะขับถ่ายปัสสาวะซ่ึงเป็นของเสียจากขบวนการเมตาโบลิซึมของโปรตีน คือสารประกอบ
ไนโตรเจน (nitrogenous waste) ในรูปของกรดยูริก (uric acid) แทนการขบั ออกในรูปยูเรีย (urea) การ
สร้างกรดยรู ิกจะสร้างขึ้นที่เซลล์ของตับ การขับถ่ายของเสียในรูปกรดยูรกิ หรือเกลือยเู รท (urate) แทนการ
ขบั ยูเรยี ในน้าปสั สาวะนอกจากจะทาให้สัตว์ปีกไม่ตอ้ งสูญเสยี น้าออกจากร่างกายมากแล้ว ยังช่วยลดความ
เปน็ พิษของสารละลายยเู รยี ท่ีละลายนา้ ได้ และอาจช่วยป้องกนั อันตรายต่อตวั ออ่ นในฟองไขไ่ ด้

โคลเอก้า (cloaca) คือ ช่องเปิดถ่ายปัสสาวะออกจากร่างกาย เป็นส่วนของไส้ตรงที่ขยายตัว
ออกเป็นรูประฆัง ในไก่มีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร กว้าง 2.0-2.5 เซนติเมตร ในไก่เพศผู้จะพบ

โคลเอก้าอยตู่ รงแนวกลางลาตัว แต่ไก่เพศเมียจะวางตัวไปทางขวาเน่ืองจากมปี ลายของท่อนาไข่ขา้ งซ้ายอยู่
สามารถแบ่งโคลเอก้าออกเป็น 3 ส่วน คือ โคโพรเดียม (coprodium) เป็นส่วนด้านหน้าท่ีสะสม
อุจจาระ ยโู รเดียม (urodium) เป็นจุดท่ีท่อปัสสาวะมาเปิดเข้า และพบปลายเปดิ ของท่อนาน้าเช้ือในเพศผู้
สว่ นในเพศเมียจะพบปลายเปิดของท่อนาไข่ส่วนช่องคลอด (vagina) และ โพรโทเดียม (protodium) เป็น
ทอ่ ส้ัน ๆ ในไกย่ าวประมาณ 1-1.5 เซนตเิ มตร เปน็ ส่วนท่ีต่อกนั ชอ่ งเปิดของโคลเอก้า หรือ เวน (vent)

ภาพท่ี 8.3 เนฟรอนชนิด reptitian nephron และ mammalian nephron ในไตของสตั วป์ ีก
ทมี่ า : ดดั แปลงจาก Frandson et al. (2009)


Click to View FlipBook Version