บทท่ี 7
ระบบหมุนเวียนโลหติ
ครคู ธั รยี า มะลวิ ลั ย์
แผนกวชิ าสัตวศาสตร์
วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยฉี ะเชงิ เทรา
ใบความรู้ท่ี 7
ระบบหมนุ เวยี นโลหติ
หัวข้อเรอ่ื ง
1. โครงสรา้ งและหน้าท่ขี องหัวใจ
2. เลือดและเส้นเลือดในรา่ งกายสตั ว์
3. การไหลเวยี นของเลือดผ่านเข้าออกหัวใจ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธบิ ายโครงสรา้ งและหนา้ ทีข่ องหัวใจได้
2. อธิบายเลอื ดและเสน้ เลอื ดในร่างกายสัตวไ์ ด้
3. อธบิ ายการไหลเวียนของเลือดผา่ นเขา้ ออกหัวใจได้
เน้ือหาการสอน
ระบบหัวใจและเส้นเลือด (cardiovascular system) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
การไหลเวียนของเลือด (blood circulation) ในร่างกาย ซึ่งจะเกิดข้ึนตลอดเวลาขณะที่สัตว์มีชีวิตอยู่
ระบบน้ีประกอบดว้ ย หวั ใจ และเส้นเลือดขนาดต่างๆ ท่ีสานต่อกันเป็นร่างแห โดยหัวใจทาหน้าท่ีเหมอื นกับ
ป๊ัม เพ่ือส่งเลือด (เลือดดี หรือเลือดแดง) ท่ีนาสารต่างๆ ท่ีเป็นประโยชน์ เช่น โภชนะต่างๆ ก๊าซออกซิเจน
ฮอร์โมน แร่ธาตุ และสารอ่ืนๆ ไปส่งให้แก่เซลล์ทุกๆ เซลล์ในร่างกาย เพื่อให้เซลล์นาไปใช้ประโยชน์
ในกิจกรรมต่างๆ โดยผ่านไปตามเส้นเลือดแดง ขณะเดียวกันก็รับของเสียจากขบวนการเมตาโบลิซึมออก
จากเซลล์ แล้วส่งเลือด(เลือดเสีย หรือเลือดดา) ผ่านเส้นเลือดดากลับเข้าสู่หัวใจ เพ่ือนาไปขับถ่ายออกจาก
รา่ งกายด้วยวิธีการตา่ งๆ เช่น การขับเหงอื่ การหายใจ และการขับน้าปัสสาวะ เป็นต้น โดยทั่วไปสัตว์เล้ียง
ลกู ดว้ ยนมจะขับของเสยี ในกล่มุ สารประกอบไนโตรเจนออกจากร่างกายในรปู ของสารยูเรยี (urea) ผ่านทาง
นา้ ปสั สาวะ แตส่ ัตว์ปกี จะขบั สารประกอบไนโตรเจนออกในรปู ของกรดยรู ิก (uric acid) โดยขับปสั สาวะท่ีมี
ลักษณะกึง่ แข็งกึ่งเหลวออกมาพร้อมกับมลู
การไหลเวียนของเลือดเริ่มต้นจากการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium) ห้องล่าง
ด้านซ้าย เพ่ือดันเลือดแดง (เลือดดี) เข้าสู่เส้นเลือดแดงใหญ่ (aorta) แล้วส่งต่อไปตามเส้นเลือดแดงขนาด
ตา่ ง ๆ จนถึงเส้นเลือดแดงฝอยท่ีอยู่ใกล้กับเซลล์มากท่ีสุด เลือดแดงซ่ึงมีก๊าซออกซิเจนสูงและมีสารต่างๆท่ี
เปน็ ประโยชน์จะถกู สง่ เข้าไปในเซลล์ ขณะเดยี วกันจะรับของเสียออกจากเซลลก์ ลายเป็นเลือดดา หรือเลือด
เสียท่มี ีก๊าซคาร์บอนไดออกไซดส์ ูง เพื่อนากลับเขา้ หัวใจผา่ นทางเส้นเลือดดาขนาดต่างๆ กลับเขา้ สู่หัวใจทาง
ห้องบนด้านขวา จากนั้นเลือดดาจะถูกนาไปฟอกที่ปอดเปลี่ยนเป็นเลือดแดง แล้วนากลับเข้าสู่หัวใจทาง
หวั ใจห้องบนด้านซ้ายอกี คร้ัง เพ่ือส่งเลือดแดงไปเล้ียงสว่ นต่างๆ ของร่างกายในวงรอบต่อไป สาหรับระบบ
น้าเหลืองเป็นระบบท่ีเก่ียวข้องกับการหมุนเวียนของเลอื ดเช่นกัน โดยจะทาหนา้ ที่นาของเหลวในเนื้อเย่ือที่
มีมากเกินไป และซึมออกมาจากเส้นเลือดฝอยกลับเข้าสู่ระบบไหลเวียนของเลือดอีกครั้งผ่านทางเส้น
นา้ เหลือง และทอ่ น้าเหลืองที่ไปตอ่ กับเสน้ เลือดดาทีส่ ่งเลือดดาเข้าหวั ใจ
1. หวั ใจ (heart)
เป็นอวัยวะที่มีกล้ามเน้ือหัวใจเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปกรวย ตรงกลางเป็น
โพรง วางตัวอยู่ภายในช่องว่างมีดิแอสติน่ัม (mediastinum) ที่อยู่ในช่องอกระหว่างปอดท้ังสองข้าง
หัวใจถูกห่อหุ้มด้วยเย่ือหุ้มหัวใจ และท่ีด้านบนของหัวใจจะมีเส้นเลือดขนาดใหญ่หลายเส้น เช่น เส้นเลือด
แดงใหญ่ (aorta) เส้นเลือดดาท่ีนาเลือดดาจากหัวใจเข้าไปท่ีปอด หรอื พูลมอนาร่ีอารเ์ ทอร์รี่ (pulmonary
arteries) และ เส้นเลือดแดงจากปอดนาเลือดแดงเข้าสู่หัวใจ หรือ พูลมอนารี่อาร์เวนส์ (pulmonary
veines) การไหลเวียนของเลือดเข้า และออกจากหัวใจจะข้ึนกับจังหวะการเต้นของหัวใจ ในจังหวะที่
กล้ามเน้ือหัวใจคลายตัว หรือ ระยะไดเอสโทลิกเฟส (diastolic phase) จะเป็นจังหวะที่ให้เลือดไหลเข้า
หวั ใจ หากเปน็ จงั หวะท่กี ล้ามเน้อื หวั ใจหดตวั หรอื ระยะซีสโทลกิ เฟส (systolic phase) จะเปน็ จังหวะท่ีให้
เลือดไหลออกจากหัวใจ การเต้นของหัวใจท่ีเกิดจากการบีบตัวของกล้ามเน้ือหัวใจอย่างเป็นจังหวะ
สมา่ เสมอจะสูบฉีดเลอื ดไปตามเสน้ เลือดตา่ งๆ
1.1 เย่อื หุ้มหัวใจ (pericardium) เป็นเย่ือท่ีห่อหุ้มหัวใจ และบางส่วนของเส้นเลือดใหญ่ท่ีอยู่ติด
กับหัวใจทางด้านบน มีลักษณะเป็นถุงบางๆ ใส และเหนียว มี 2 ชั้น คือ เย่ือหุ้มหัวใจช้ันนอก (parietal
pericardium) เป็นเนื้อเย่ือเก่ียวพันทึบและเหนียว ทาหน้าท่ีป้องกันหัวใจและช่วยยึดหัวใจไว้ในช่องอก
และ เยอื่ ทห่ี ่อหุ้มหัวใจ (visceral pericardium or epicardium) ทง้ั สองช้นั มีลกั ษณะเชื่อมตอ่ กนั ระหว่าง
ช้ันเยื่อหุ้มทั้งสองมีช่องว่างเกิดขึ้น เรียกว่า ช่องเย่ือหุ้มหัวใจ (pericardial cavity) ภายในช่องว่างจะมี
ของเหลว (pericardial fluid) อยู่ ทาหน้าท่ีหล่อลื่น และป้องกันการเสียดสีระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจ และ
เนือ้ เยอ่ื หัวใจในขณะทกี่ ลา้ มเนื้อหวั ใจมกี ารเคลือ่ นไหวเน่ืองจากการหดตวั และการคลายตัว
1.2 โครงสรา้ งของหวั ใจ (structure of the heart)
1) ห้องหัวใจ (heart chamber) หัวใจของสัตว์เศรษฐกิจ และสัตว์ปีกประกอบด้วย
เซลล์กล้ามเน้ือหัวใจ ที่จัดเรียงต่อกันเป็นกลุ่ม ภายในหัวใจมีลักษณะเป็นโพรง แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ห้อง
บน (atrium) 2 ห้อง คือ ห้องบนด้านขวา (right atrium) และห้องบนด้านซ้าย (left atrium) และห้อง
ล่าง (ventricle) 2 ห้อง คือห้องล่างด้านขวา (right ventricle) และห้องล่างด้านซ้าย (left ventricle)
หัวใจห้องบนท้ังสองข้างจะมีขนาดเล็ก และมีผนังบางกว่าหัวใจห้องล่าง เนื่องจากทาหน้าที่ในการรับเลือด
เข้าสู่หัวใจเท่านั้น แตห่ ัวใจห้องล่างทั้งสองข้างต้องทาหน้าท่ีบีบตัวเพอ่ื ส่งเลือดออกจากหัวใจ โดยผนังหวั ใจ
ห้องล่างด้านซ้ายจะหนากว่าผนังหัวใจห้องล่างด้านขวา และเป็นส่วนของหัวใจท่ีมีพื้นท่ีมากที่สุด ท้ังหัวใจ
ห้องบนด้านขวาและห้องบนดา้ นซา้ ยจะมีติง่ ย่ืนออกมาทางด้านหนา้ เรยี กวา่ ออรเิ คลิ (auricle)
ที่ผิวด้านนอกของหัวใจจะเห็นร่อง (groove) 2 ร่อง ร่องที่ใช้แบ่งหัวใจห้องบน และห้องล่างออก
จากกัน เรียกว่า ร่องโคโรนาร่ี (coronary groove) ส่วนร่องที่ใช้แบ่งหัวใจด้านซ้าย และด้านขวาออกจาก
กัน คือร่องอินเตอร์เวนทริคูล่าร์ (interventricular groove) ร่องนี้จะเป็นท่ีอยู่ของเส้นเลือดแดง และเส้น
เลือดดาท่ีมาหล่อเล้ียงหัวใจ (coronary arteries and coronary veins) สาหรับการแบ่งห้องหัวใจจาก
ด้านในจะใช้ล้ินหัวใจ (cardiac valve) ในการแบ่งหัวใจห้องบนออกจากหัวใจห้องล่าง ส่วนผนังของ
กล้ามเนื้อหัวใจ (septum) ทางด้านใน จะใช้ในการแบ่งแยกห้องหัวใจระหว่างด้านซ้ายและด้านขวาออก
จากกัน ระหว่างหัวใจห้องบน และล่างจะมีช่องทางติดต่อถึงกันได้ เรียกว่า อาร์ทริโอเวนทริคูล่าร์ออริฟิส
(atrioventricular orifices) เปน็ บรเิ วณทมี่ ีลิ้นหัวใจกั้นอยู่ ทาหน้าท่ีเปิด และปดิ เพอ่ื ให้เลือดไหลผ่านจาก
หัวใจห้องบนลงไปสู่หัวใจห้องล่างท้ังด้านซ้าย และด้านขวาเท่านั้น โดยไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าไปใน
หัวใจห้องบนอกี
ก. หัวใจห้องบนด้านขวา (right atrium) มีผนังบางกว่าห้องบนด้านซ้าย แบ่งออกเป็น
2 สว่ นคือ ตัวห้องหัวใจ (right atrial body) ซึ่งเป็นพื้นที่สว่ นใหญ่ และ ออริเคิล (auricle) ที่เป็นถงุ ปลาย
ตันมีขนาดเล็กย่ืนออกไปด้านหน้าของตัวห้องหัวใจ พื้นผิวผนังภายในของหัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อ
ลกั ษณะเป็นแท่งยาวคล้ายหวี เชอ่ื มต่อกนั เปน็ ร่างแห เรียกวา่ ทราบิควิ ลีค้ ารเ์ นอี้ (trabeculae carneae)
หัวใจห้องบนด้านขวาจะติดต่อกับหัวใจห้องล่างด้านขวาโดยมีล้ินหัวใจด้านขวา (right atrioventricular
valve or right AV valve) เป็นตัวกั้น ลิ้นหัวใจชนิดน้ีท่ีมีลักษณะเป็นแผ่นกล้ามเน้ือ (muscular flap)
บางครั้งเรียกว่า ไตรคัสปิดวาล (tricuspid valve) หัวใจห้องบนด้านขวาทาหน้าท่ีรับเลือดที่มีก๊าซ
ออกซิเจนต่า หรือเลือดดาจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผ่านเข้ามาทางเส้นเลือดดาใหญ่ หรือ เวนาคาว่า
(vena cava) จานวน 2 เส้น เส้นเลือดดาที่นาเลือดมาจากสว่ นบนของร่างกาย หรือสว่ นหวั จะเรียกว่า แอ
นทีเรียเวนาคาว่า (anterior vena cava) และเส้นเลือดดาที่นาเลือดมาจากส่วนท้ายของร่างกาย เรียกว่า
โพสทีเรียเวนาคาว่า (posterior vena cava) จากนั้นเลือดจากหัวใจห้องบนขวาจะไหลผ่านล้ินหัวใจ AV
ด้านขวา (atrioventricular valve or AV valve) ลงไปสู่หัวใจห้องล่างด้านขวา ล้ินหัวใจส่วนนี้จะเปิด
เม่อื หวั ใจห้องบนด้านขวาเกิดการบีบตวั หรือ อยู่ในระยะซสี โทลิกเฟส (systolic phase) แตห่ ัวใจห้องล่าง
ดา้ นขวาเกิดการคลายตวั หรอื อยูใ่ นระยะไดเอสโทลกิ เฟส (diastolic phase)
ข. หัวใจห้องล่างด้านขวา (right ventricle) มีขนาดใหญ่ และมีผนังหนากว่าหัวใจห้องบน
ด้านขวา แต่ผนังบางกว่าหัวใจห้องล่างด้านซ้าย เน่ืองจากแรงสูบฉีดเลือดจากหัวใจห้องล่างด้านขวาเพื่อส่ง
เลือดดาไปฟอกท่ีปอด มีน้อยกว่าแรงสูบฉีดของหัวใจห้องล่างด้านซ้ายที่สูบฉีดเลือดแดงไปเล้ียงส่วนต่างๆ
ของร่างกาย พื้นผิวผนังภายในห้องหัวใจประกอบด้วยส่วนท่ีอยู่ตรงกลางห้องหัวใจหรือกล้ามเนื้อลักษณะ
เป็นแท่งยาวคล้ายหวี เชื่อมต่อกันเป็นร่างแห คือ ทราบีคิวลี้คาร์เนอี้ (trabecalae carneae) และ
กล้ามเน้ือท่ีมีลักษณะนูนคล้ายน้ิวมืออยู่ทางด้านบนของผนังห้องหัวใจ เรียกว่า กล้ามเน้ือพาพิลลารี
(papillary muscle) กล้ามเน้ือน้ีจะโผล่ข้ึนมาจากผนังกั้นระหว่างหัวใจห้องล่างด้านซ้ายและห้องล่าง
ด้านขวา (interventricular septum) แล้วย่ืนไปยังตัวห้องหัวใจ เพ่ือไปยึดติดกับคอร์ดีอี้เทนดิเนอ้ี
(cordae tendineae) ซึ่งเป็นส่วนเอ็นที่เหนียวมาก มีลักษณะคล้ายกับแถบเส้นด้าย ท่ียึดติดกับปลายของ
กล้ามเน้ือพาพิลลารี และล้ินหัวใจ AV ด้านขวา (ไตรคัสปิดวาล) เพ่ือป้องกันการพลิกกลับของล้ินหัวใจใน
ขณะทีม่ ีการบีบตัวของกลา้ มเน้อื หัวใจ หัวใจหอ้ งล่างดา้ นขวาทาหน้าทร่ี ับเลือดดาจากหัวใจห้องบนดา้ นขวา
เมื่อหัวใจหอ้ งล่างดน้ ขวาบีบตวั จะสูบฉีดเลือดดาไปฟอกท่ีปอด โดยผ่านเส้นเลือดดา คอื พลู โมนารีอารเ์ ทอร่ี
(pulmonary artery)
ภาพท่ี 7.1 แสดงตาแหน่งของหัวใจในชอ่ งอกของแพะ
ภาพที่ 7.2 แสดงโครงสร้างของหวั ใจแพะ
ค. หัวใจห้องบนด้านซ้าย (left atrium) มีผนังท่ีเรียบ และหนากว่าหัวใจห้องบนด้านขวา
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนเช่นเดยี วกบั หัวใจห้องบนดา้ นขวา คือ ตวั ห้องหัวใจ (left atrial body) และ ออริเคิล
(auricle) พื้นผิวผนังภายในมีโครงสร้างคล้ายกับหัวใจห้องบนด้านขวา หัวใจห้องบนด้านซ้ายจะติดต่อกับ
หัวใจห้องล่างด้านซ้ายโดยมีลิ้นหัวใจ AV ด้านซ้าย (left atrioventricular valve or left AV valve or
bicuspid valve) เป็นตัวกั้น หัวใจห้องบนด้านซ้ายทาหน้าท่ีรับเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนสูง (เลือดแดง)
จากปอด ท่ีส่งเลือดแดงผ่านมาทางเส้นเลือดพัลโมนารี่เวน (pulmonary vein) มีจานวน 4 เส้น เส้นเลือด
นี้จะผ่านเขา้ หัวใจทางด้านหลัง เมอ่ื หัวใจหอ้ งบนด้านซ้ายบีบตัวเลือดแดงจะไหลผ่านลิ้นหัวใจ AV ด้านซ้าย
ลงไปสหู่ ัวใจหอ้ งล่างด้านซา้ ย
ง. หัวใจห้องล่างด้านซ้าย (left ventricle) เป็นส่วนของห้องหัวใจที่มีขนาดใหญ่ และมีผนัง
หนาที่สุด เน่ืองจากต้องสูบฉีดเลือดแดงไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย พื้นผิวผนังภายในแบ่งเป็น 3 ส่วน
เช่นเดียวกับหัวใจห้องล่างด้านขวา หัวใจห้องล่างด้านซ้ายทาหน้าที่รับเลือดแดงจากหัวใจห้องบนด้านซ้าย
เพื่อสูบฉีดส่งเลือดแดง หรือเลือดดีไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยผ่านเส้นเลือดแดงใหญ่ หรือ
เรียกว่า เอออตา้ (aorta)
2) ลิ้นหวั ใจ (cardiac valve) เป็นแผ่นกล้ามเนื้อบางๆ ทาหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการ
ไหลของเลือดให้ไหลผ่านห้องหัวใจไปในทิศทางเดียวกัน (จากห้องบนลงไปสู่ห้องล่าง) โดยไม่ให้มีการไหล
ยอ้ นกลับ แบง่ ออกเป็น 2 ชนิด คือ
ก. ลิ้นหัวใจท่ีก้ันระหว่างหัวใจห้องบน และหัวใจห้องล่างท้ังด้านซ้าย และด้านขวา หรือ
ลิน้ หัวใจ AV (atrioventricular valve or AV valve) ทาหน้าทใี่ ห้เลือดไหลออกจากหัวใจห้องบนผ่าน
ลงไปสู่หัวใจห้องล่าง โดยไม่ให้มีการไหลย้อนกลับของเลือดเข้าไปในหัวใจด้านบนอีกเม่ือหัวใจห้องล่างบีบ
ตัว ลิ้นหัวใจที่ก้ันระหว่างหัวใจห้องบนด้านขวา และหัวใจห้องล่างด้านขวา เรียกว่า ไตรคัสปิดวาล
(tricuspid valve) ลิ้นหัวใจที่กน้ั ระหวา่ งหัวใจห้องบนด้านซา้ ยและห้องล่างด้านซา้ ย เรียกว่า ไบคัสปดิ วาล
(bicuspid valve)
ข. ลิ้นหัวใจท่ีอยู่ระหว่างช่องเปิดของหัวใจห้องล่างท้ังด้านซ้าย และ ด้านขวา กับเส้น
เลือดแดงใหญ่ และ เส้นเลือดดาที่จะนาเลือดไปฟอกท่ีปอด (pulmonary arteries) เรียกว่า เซมิลูน่า
วาล หรือ เอสวีวาล (semilunar valve or SV valve) ทาหน้าทค่ี วบคุมการไหลของเลอื ดให้ออกจากหัวใจ
หอ้ งล่างท้ังด้านซ้าย และขวา รวมท้ังป้องกันไม่ให้เลือดยอ้ นกลับเข้ามาในหวั ใจ ล้ินหวั ใจที่ก้ันระหว่างหัวใจ
ห้องล่างด้านซ้ายกับเส้นเลือดแดงใหญ่อาจเรียกว่า เอออติกวาล (aortic valve) ส่วนลิ้นหัวใจท่ีกั้นระหว่าง
เส้นเลือดดาท่ีนาเลือดไปฟอกที่ปอด และหัวใจห้องล่างด้านขวา เรียกว่า พัลโมนารีวาล (pulmonary
valve)
2. เสน้ เลือด (blood vessles)
เส้นเลือดทาหน้าท่ีนาส่งเลือด (เลือดแดง) ท่ีออกจากหัวใจ ให้ไหลเวียนไปตามส่วนต่าง ๆ
ของร่างกาย เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนสารระหว่างเลือดและของเหลวในร่างกาย และรับเลือดจากร่างกาย
(เลือดดา) กลับเข้าส่หู วั ใจ เสน้ เลอื ดในร่างกายสตั ว์แบง่ เสน้ เลอื ดออกเปน็ 2 ชนิด คอื
1) เส้นเลือดแดง (arteries) หมายถึง เส้นเลือดท่ีนาเลือดออกจากหัวใจห้องล่างด้านซ้าย
เพ่ือส่งเลือดไปยังเน้ือเย่ือส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ เส้นเลือดแดงใหญ่หรือเส้นเลือดแดงเอออร์ต้า
(aorta) เป็นเส้นเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย เส้นเลือดแดงใหญ่ออกจากหัวใจทางห้องล่าง
ด้านซ้าย เส้นเลือดแดงที่มีขนาดเล็กรองลงมา คือ อาร์เทอรี (arteries) ส่วนเส้นเลือดที่เล็กรองลงมาอีก
คือ อาร์เทอริโอล (arterioles) และเส้นเลือดแดงฝอย (capillaries) ท่ีเป็นเส้นเลือดที่แทรกอยู่ระหว่าง
เซลล์ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เส้นเลือดแดงท่ีมีขนาดใหญ่จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าเส้นเลือดแดง
ขนาดเล็ก และเส้นเลือดแดงฝอยเนื่องจากที่ผนังของเส้นเลือดแดงมีเส้นใยอิลาสติก (elastic fiber) และ
เส้นใยคอลลาเจน (collagen fiber) สูงกว่า ในที่สุดก็เป็นเส้นเลือดแดงฝอย (capillary) ไปบรรจบกับเส้น
เลือดดาฝอย ประสานกันเป็นตาข่ายที่เรียกว่า capillary network หรือ capillary bed ซึ่งจะอยู่ตาม
เนือ้ เยื่อทวั่ รา่ งกาย
2) เส้นเลือดดา (veins) หมายถึง เส้นเลือดท่ีนาเลือดจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ
ห้องบนด้านขวา เส้นเลือดดาขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า เวนาคาว่า (vena cava) เป็นเส้นเลือดท่ีนาเลือดดา
เข้าสู่หัวใจห้องบนด้านขวา เส้นเลือดดาท่ีมีขนาดรองลงมาเรียกว่าเวน (veins) เส้นเลือดดาท่ีมีขนาด
รองลงมาอีก เรียกว่า เวนูล (venules) และเส้นเลือดดาท่ีมีขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า เส้นเลือดดาฝอย
(veinous capillaries) ซ่ึงมักจะอยู่ใกล้ชิดหรือต่อเช่ือมกับเส้นเลือดแดงฝอยเสมอ ผนังเส้นเลือดดามี
ความสามารถในการยืดขยายได้มาก (high distensibility) จึงสามารถจุเลือดได้มากกว่า ดังน้ันประมาณ
60-70 % ของเลอื ดทั้งหมดในร่างกายจงึ เป็นเลอื ดทอ่ี ยใู่ นส่วนของเส้นเลือดดา
2.1 โครงสร้างของเสน้ เลือด (structure of blood vesseles)
โดยท่ัวไปผนงั ของเส้นเลือดประกอบด้วยเนื้อเยอ่ื ตา่ งๆ 3 ช้นั คอื
ก. ชั้นในสุด (tunica intima) เป็นช้ันเย่ือบุผิวชนิดเซลล์รูปส่ีเหลี่ยมแบนบาง (simple
squarmous epithelium or endothelial) ถัดจากชั้นเย่ือบุผิวเป็นช้ันของเน้ือเยื่อเก่ียวพันชั้นบางๆ ใน
เส้นเลือดทุกชนิดจะมีเน้ือเย่อื ชน้ั น้ี
ข. ช้ันกลาง (tunica media) เป็นชั้นของกล้ามเน้ือเรียบ การบีบตัวของกล้ามเน้ือถูก
ควบคมุ ด้วยเส้นประสาทซิมพาเทตกิ (sympathetic nerve fiber)
ค. ช้ันนอกสุด (tunica externa or adventitia) เป็นชั้นบางๆของเส้นใยคอลลาเจน
(loose collagenous fiber ) ในเส้นเลือดที่มีขนาดใหญ่ เช่นเส้นเลือดแดงใหญ่ (aorta) ช้ันนอกสุดนี้จะ
หนามาก
ภาพที่ 7.3 โครงสรา้ งของเส้นเลอื ด
ท่มี า : ดดั แปลงจาก Frandson et al. (2009)
เส้นเลือดดาเป็นเส้นเลือดที่มีผนังบางกว่าเส้นเลือดแดง แต่มีขนาดใหญ่กว่า โดยเส้นเลือดดาเวนูล
(venules) จะเป็นเส้นเลือดดาที่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นเลือดดาฝอยเล็กน้อย ที่ผนังอาจจะมี หรือไม่มีช้ัน
กล้ามเนื้อเรียบก็ได้ ชั้นในของเส้นเลือดดาบางส่วนจะมีลิ้นเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ เพ่ือป้องกันการย้อนกลับของ
เลอื ด มักพบในบริเวณทีม่ เี ส้นเลือดดา 2-3 เสน้ มาเช่ือมตอ่ กันเปน็ เส้นเดยี ว
เม่ือเปรียบเทียบโครงสรา้ งเส้นเลือดแดง และเส้นเลือดดา จะเห็นได้ว่าที่ผนังของเส้นเลือดแดงที่มี
ขนาดใหญ่ เช่น เอออร์ต้า (aorta) และอาร์เทอร่ี (ateries) จะมีเส้นใยอิลาสติก (elastic fiber) และ
เสน้ ใยคลอลาเจน (collagenous fiber) สงู กว่า ทาให้เส้นเลือดแดงสามารถยืดหยุ่น และรับแรงดันเลือดได้
ดี จึงสามารถที่จะผลักดันเลือดไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ในขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว กลุ่มเส้นเลือด
แดงใหญ่จึงอาจเรียกอีกช่ือหนึ่งว่า อิลาสติกอาร์เทอรี่ (elastic arteries) เส้นเลือดแดงท่ีมีขนาดเล็กลงมา
หรืออาร์เทอริโอล (arterioles) แตกต่างกับเส้นเลือดแดงใหญ่ เน่ืองจากมีผนังช้ันกลาง (กล้ามเน้ือเรียบ)
หนา ทาหน้าที่นาเลือดไปยังเส้นเลือดแดงฝอยท่ัวร่างกาย อาจเรียกว่ามาสคูลาร์อาร์เทอรี่ (muscular
arteries or distributing arteries) กล้ามเน้ือเรียบของเส้นเลือดทั้งหมดถูกควบคุมโดยเส้นประสาทซมิ พา
เทติก ส่วนเส้นเลือดแดงฝอยซ่ึงเป็นเส้นเลือดแดงท่ีมีขนาดเล็กที่สุด และพบแทรกอยู่ระหว่างเซลล์ใน
เนื้อเยื่อต่าง ๆ จะมีขนาดเล็กและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเม็ดเลือดแดง
เล็กน้อยเท่านั้น ผนังของเส้นเลือดแดงฝอยจะบางและประกอบด้วยช้ันเซลล์เย่ือบุช้ันเดียว หรือบางแห่ง
อาจมีมากกว่า 1 ช้นั ก็ได้ เซลล์เย่อื บทุ ่ีเปน็ สว่ นประกอบของผนังเส้นเลอื ดฝอยบางสว่ นอาจถูกยดึ ติดกันดว้ ย
สารเชอื่ ม (intercelluar cement) ทมี่ ีลักษณะเปน็ แผน่ เนื้อเยื่อเกย่ี วพันช้นั บางๆ
เส้นเลอื ดฝอยสามารถแบง่ ตามโครงสร้างของผนงั และหนา้ ท่ีไดเ้ ป็น 3 ชนิดได้แก่
ก.เส้น เลือด ฝอยท่ี พ บ แท รกอยู่ตาม เน้ื อเยื่อต่างๆ โดยทั่ วไป (continuous
capillaries) เช่น ระหวา่ งเซลลก์ ล้ามเน้ือ ผิวหนัง และปอด เปน็ ต้น
ข. เส้นเลือดฝอยที่พบอยู่ตามเน้ือเย่ือของไตในส่วนโกลเมอรูลัส (glomerulus) เส้น
เลือดฝอยท่ีพบตามต่อมไม่มีท่อ และพบที่เยื่อบุผนังลาไส้และปอด เส้นเลือดฝอยชนิดนี้จะมีผนังที่มี
ความสามารถในการซมึ ผา่ นไดด้ ีกว่าชนดิ แรก (fenestrated capillaries)
ค. เส้นเลือดฝอยชนิดเออเร็กกูลาร์ไซนูซอย (irregular sinusoid) พบได้ตาม
ไซนูซอยสหรือแอ่งเลือด (sinusoids) ของเน้ือเย่ือตับ และม้าม เป็นเส้นเลือดฝอยที่มีหน้าท่ีสาคัญที่สุด
จึงเกย่ี วขอ้ งกับการแลกเปลยี่ นสารต่างๆ เนือ่ งจากมีความสามารถในการซมึ ผา่ นดที ส่ี ุด
3. เลอื ด (Blood)
สว่ นประกอบของเลือดของสัตว์เลย้ี ง และมนษุ ย์ จะประกอบด้วย 2 สว่ นใหญ่ ๆ คือ
1) น้าเลือด (Plasma) เป็นส่วนท่ีเป็นของเหลวที่มีสารตา่ ง ๆ ประกอบอย่มู ากมายซ่งึ แต่ละอยา่ ง
มีหน้าทส่ี าคญั คอื
ก) นา้ ช่วยรกั ษาระดับปริมาณของเลือด และความดันโลหิตใหค้ งที่ เป็นตัวกลางลาเลียง
สารต่างๆ เป็นตวั ละลายเกลือแร่บางอยา่ ง และทาให้เซลลเ์ ปียกช้ืนอยเู่ สมอ
ข) เกลือแร่ ชว่ ยรกั ษาระดับของแรงดันของของเหลวภายในเซลล์ (osmotic pressure)
ความเป็นกรดเป็นดา่ ง (pH) และชว่ ยรักษาสมดุลระหวา่ งเลือดกบั นา้ เหลือง และเซลล์
ค) โปรตนี (plasma protein) มีหลายชนิด แต่ทกุ ชนิดทาหน้าท่ีช่วยรักษาระดบั ของ
แรงดนั ของของเหลวภายในเซลล์ และ pH นอกจากนั้นกม็ ีหน้าท่เี ฉพาะของแต่ละชนดิ คอื
(1) ไฟบรโิ นเจน (fibrinogen) เก่ียวกับการแขง็ ตวั ของเลือด
(2) โปรทรอมบนิ (prothrombin) เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
(3) อลั บมู ิน (albumin) ชว่ ยควบคุมปรมิ าณของน้าในรา่ งกาย
(4) โกลบูลิน(globulin) ช่วยควบคุมปริมาณน้าในร่างกาย ควบคุม pH ทาหน้าที่เป็น
ภมู คิ ุ้มกันโรค (antibody) และโกลบูลินบางชนิดยังช่วยลาเลียงสาร และเกลือแรบ่ างอยา่ งด้วย
(5) อ่ืนๆ อาทเิ ช่น โปรตีน ฮอรโ์ มน ไวตามนิ เอ็นไซม์ เปน็ ต้น
2) เมด็ เลือด (Corpuscle) เป็นเซลลท์ ี่ประกอบด้วย
ก) เซลล์เม็ดเลือดแดง (erythrocyte) มีหน้าท่ีขนส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเย่ือต่างๆ ของ
ร่างกาย โดยเฮโมโกบิล (hamoglobin) ในเม็ดเลือดแดงจะรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศที่หายใจเข้าไป
โดยปอดทาให้สารประกอบที่เรียกว่า ออกซิเฮโมโกบิล (oxyhamoglobin) ทาให้เลือดมีสีแดงสด และทา
หน้าที่นาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเน้ือเย่ือกลับไปยังปอดเพ่ือขับออกนอกรา่ งกาย โดยสีของเลือดที่เกิด
จากการจับกันของเม็ดเลือดแดงกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะมีสีคล้ากว่าเม็ดเลือดแดงท่ีเกิดจากเฮโมโก
บิลกบั ออกซเิ จน
ข) เซลล์เม็ดเลือดขาว (leucocyte) เม็ดเลือดขาวทาหน้าท่ีเป็นเซลล์ป้องกัน มันจะ
กลืน และย่อยส่ิงแปลกปลอมในกระแสโลหิต ซึ่งพวก neutrophils และ monocytes จะทาหน้าที่ได้
ดกี วา่ ชนดิ อ่ืน ๆ เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ในการนาพาออกซิเจน คารบ์ อนไดออกไซด์ และของเสียจากเมตาโบ
ลิซึมอ่ืน ๆ เกล็ดเลือดทาหน้าท่ีในขบวนการแข็งตัวของเลือด (coagulation of blood) ร่วมกับเอ็นไซม์
ในพลาสมา่ เม็ดเลอื ดขาวมีหลายชนดิ ได้แก่
(1) นิวโทรฟิล (neutrophils) ทาหน้าท่ีเก็บกินอนุภาคเล็กๆ เช่น แบคทีเรียและเศษ
เซลล์ โดยขบวนการกลนื กิน (phagocytosis) นิวโทรฟิลสามารถบีบตัวผ่านผนัง เส้นเลือดฝอยและเกดิ การ
สะสมอย่างรวดเรว็ บรเิ วณทีเ่ กดิ การติดเช้ือ โดยพบนวิ โทรฟิลในกระแสเลือดช้าสุดประมาณ 10 ชว่ั โมง ถา้ มี
การตดิ เชอ้ื เกดิ ข้ึน
(2) อีโอซิโนฟิล (eosinophils) ทาหน้าที่ลดอาการแพ้ได้ เนื่องจากสามารถสร้างและ
หลั่งสารที่ออกฤทธิ์ต่อต้านสารท่ีทาให้เกิดอาการแพ้ ซ่ึงในระหว่างปฏิกิริยาการแพ้เซลล์เหล้าน้ีจะเพิ่ม
จานวนมากขึ้น นอกจากน้ีอโี อซิโนฟิลยังตอบสนองต่อการตดิ พยาธติ ัวกลม โดยไปทาลายระยะตวั อ่อน ของ
พยาธติ วั กลมที่เข้ามาในร่างกาย
(3) เบโซฟิล (basophils) ทาหน้าท่หี ล่ังสารเคมที ี่อยู่ในเม็ดแกรนูล (สีม่วงหรือสีน้าเงิน)
ออกมาตรงตาแหน่งที่มีการบาดเจ็บ เพื่อสนับสนุนการอักเสบ ขบวนการดังกล่าวทาให้เลือดมาเลี้ยง
เนื้อเย่ือมากขึ้น เป็นผลให้มีออกซิเจน สารอาหาร และนิวโทรฟิลเข้ามาอยู่ตรงตาแหน่งท่ีได้รับบาดแผล
มากข้นึ
(4) โมโนไซด์ (monocytes) ทาหน้าที่กลืนกินสิ่งแปลกปลอมต่างๆ โมโนไซด์สามารถ
ผา่ นผนงั เสน้ เลือดไปยงั เนื้อเย่ือทไี่ ดร้ ับความเสียหาย ที่เกดิ จากการบาดเจ็บหรือการรกุ ล้าของจุลินทรีย์ บาง
ชนิด ซ่ึงในระหว่างการทางานมันจะปล่อยสารเคมีออกมาเพื่อดึงดูดให้นิวโทรฟิลและโมโนไซด์ตัวอ่ืนๆ เข้า
มายังตาแหน่งทไี่ ดร้ บั บาดเจบ็ โดยนิวโทรฟิลจะตอบสนองอย่างรวดร็วตอ่ เน้อื เยื่อที่ได้รับความเสียหาย ต่าง
จากโมโนไซด์ท่ีตอบสนองช้ากว่า แต่ยังอยู่ในเนื้อเยื่อดังกล่าวกลายเป็นเซลล์ที่เรียกว่า แมโครฟาจ
(macrophage) ซึ่งเป็นเซลล์ที่สามารถในการเกบ็ กลืนกนิ ท่ีดี ดังน้นั ในระหว่างการติดเช้ือแบบเรื้อรัง จะพบ
เซลล์แมโครฟาจจานวนมาก
(5) ลิมโฟไซด์ (lymphocytes) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีความโดดเด่นมากกว่าเซลล์
เม็ดเลือดขาวชนิดอ่ืนๆ ลิมโฟไซด์สร้างจากเซลล์ต้นตอในไขกระดูก เพ่ือเจริญและพัฒนาต่อไปในอวัยวะ
นา้ เหลืองกอ่ นทจ่ี ะอาศยั อย่างถาวรในเนื้อเยอื่ น้าเหลืองสว่ นปลาย ลมิ โฟไซด์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. ทีลมิ โฟไซดห์ รอื ทเี ซลล์ (T lymphocytes or T cell )
เป็นเซลลน์ า้ เหลืองที่มกี ารเจริญและพัฒนาอยู่ในต่อมไทมัสกอ่ นทจ่ี ะอยแู่ บบถาวรในเน้ือ
เย่ือน้าเหลืองส่วนปลายเซลล์ชนิดน้ีมีบทบาทสาคัญต่อการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันแบบจาเพาะ ท่ีเรียกว่า
ภมู ิคุ้มกนั แบบพ่ึงเซลล์
2. บีลมิ โฟไซดห์ รือบีเซลล์ (B lymphocytes or B cell )
เป็นเซลล์น้าเหลืองท่ีมีการเจริญและพัฒนาอยู่ในเบอร์ซ่าอีควิวาเลนต์ทิสซู (Bursa
equivalent tissue) ได้แก่ ตับในระยะคัพภะ ม้าม และไขกระดูก โดยในระหว่างเจริญและพัฒนา ใน
เนื้อเย่ือเหล่าน้ีจะมีการสร้างโปรตีนชนิดหน่ึงข้ึนมาเรียกว่า แอนติบอดี (antibody) ซึ่งบีลิมโฟไซด์ แต่ละ
เซลล์จะมีแอนติบอดีเพียงชนิดเดียวที่คอยต่อต้านแอนติเจนจาเพาะ (โปรตีนแปลกปลอม) ชนิดเดียว
เหมือนกัน ส่วนบีลิมโฟไซด์ชนิดอื่นๆ ไม่มีผล คุณสมบัติพิเศษน้ี ทาให้บีลิมโฟไซด์เตรียมการ ท่ีจะผลิต
แอนติบอดีออกมาเพื่อต่อต้านแอนติเจนท่ีพวกมันเคยเจอมาก่อน และเม่ือบีลมิ โฟไซด์จาแอนตเิ จนได้มันจะ
เปลี่ยนเป็นพลาสม่าเซลล์ (plasma cell) ซึ่งจะปล่อยแอนติบอดีออกมา เป็นจานวนมาก เราเรียกข้ันตอน
นีว้ า่ ปฏิกิรยิ าภมู ิค้มุ กันแบบพึ่งแอนตบิ อดี (humorol immunity)
3. เนเชอรลั คิลเลอรเ์ ซลล์ (natural killer cell ; NK cell)
ลิมโฟไซด์ชนิดน้ีไม่ได้เป็นทีลิมโฟไซด์หรือบีลิมโฟไซด์ และพวกมันไม่ถูกกระตุ้นให้ทางาน
โดยแอนติเจนจาเพาะ และไม่สามารถฆ่าเซลล์เน้ืองอกบางชนิดหรือไวรัสได้ แต่ NK cell ต้องมีการสัมผัส
โดยตรงกับเซลล์เหล่านก้ี ่อนทพี่ วกมันจะทาลายเซลล์นไี้ ด้
ค) เกล็ดเลือด (blood platelet) เป็นส่วนจาเป็นต่อขบวนการแข็งตัวของเลือด
(haemostasis) โดยไปช่วยป้องกันการร่ัวของเส้นเลือดที่ได้รับความเสียหาย ซ่ึงบทบาทน้ขี ้ึนอย่กู ับ จานวน
ของเกล็ดเลอื ดทีพ่ บในบรเิ วณน้นั ๆ และการทางานของเกลด็ เลือด
3) ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) เม็ดเลือดแดงไม่มีนิวเคลียส แต่มีฮีโมโกลบิน ซ่ึงเป็นสารโปรตีน
พิเศษท่ีมีเหล็กบรรจุอยู่ด้วย ดังนั้นสัตว์จึงต้องการธาตุเหล็กจากอาหารในระดับที่เหมาะสมเพื่อสร้าง
ฮีโมโกลบินให้เพียงพอสาหรับเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบินรวมกับออกซิเจนได้ง่ายเกิดเป็นออกซีฮีโมโกลบิน
(oxyhemoglobin) ออกซีฮีโมโกลบินเกิดขึ้นท่ีเลือด เมื่อแตกตัวจะให้ออกซิเจนและฮีโมโกลบินที่เน้ือเยื่อ
ของสัตว์ ฮีโมโกลบินเป็นโปรตีนที่จับกับสารอื่น (conjugated protein) ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นโปรตีน
เรียกว่า โกลบิน (globin) จานวน 4 สาย จับกับส่วนท่ีไม่ใช่โปรตีนเรียกว่า ฮีม (heme) 4 โมเลกุล
ฮีโมโกลบินเป็นโปรตีนท่ีมีมากท่ีสุดในเซลลเ์ ม็ดเลือดแดง และทาหน้าท่ีสาคัญในการขนส่งออกซิเจน ในคน
ปกติมีปริมาณฮีโมโกลบินอยู่ระหว่าง 13-15 กรมั ต่อเลอื ด 100 ซี.ซี. ถ้ามีนอ้ ยกว่าน้ีแสดงถงึ ภาวะโลหติ จาง
(anemia)
ภาพท่ี 7.4 เซลล์เม็ดเลือด
4. ระบบการไหลเวียนของเลอื ด (blood circulation system)
ระบบการไหลเวียนของเลือด (blood circulation system) อวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นระบบ
ไหลเวียนโลหิตยังมีระบบย่อยที่สาคัญ ได้แก่ ระบบหัวใจ และเส้นเลือด (cardio- circulation system)
หัวใจเปรียบเสมือนเคร่ืองสูบน้า ส่วนเส้นเลือดเป็นเหมือนท่อส่งน้า คือ เลือดที่จะนาอาหาร อากาศ และ
สารประกอบอืน่ ๆ ไปส่งยงั อวัยวะต่างๆ ท่วั รา่ งกาย
ระบบการหมุนเวียนโลหิตในสัตว์เลี้ยงนั้นจะเป็นระบบปิด (closed circulatory) คือเลือดจะ
ไหลเวียนอยู่ในหัวใจ และหลอดเลือดตลอดเวลา เราสามารถเขียนวงจรความสัมพันธ์ของหัวใจและเส้น
เลอื ดรวมท้งั ทศิ ทางการไหลเวียนของโลหิตได้
ระบบการไหลเวียนของเลอื ดในร่างกายจะต้องเกิดขึน้ อย่างต่อเน่อื งหมุนเวยี นไปตลอดเวลา เพ่ือให้
ร่างกายสามารถมีชีวติ รอดอยู่ได้ สามารถแบ่งระบบไหลเวยี นของเลือดออกเปน็ 2 วงจรหลกั ใหญๆ่ ไดแ้ ก่
4.1 การไหลเวียนของเลือดผ่านปอด (pulmonary circulation) หมายถึง วงจรการไหลเวียน
ของเลือดระหว่างหัวใจ และปอด เพ่ือแลกเปล่ียนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดกับก๊าซออกซิเจนในถุง
ลมปอด การนาเลือดจากหัวใจไปสู่ปอดจะเกิดขึ้นเม่ือกล้ามเน้ือหัวใจห้องล่างด้านขวาบบี ตัว จะดันให้เลือด
ดาไหลออกจากห้องหัวใจหอ้ งลา่ งด้านขวาผ่านลิ้นหัวใจ SV (pulmonary valve) เพื่อส่งเลอื ดเข้าไปในเส้น
เลือดท่ีจะไปที่เนื้อเยื่อของปอด โดยผ่านเข้าในเส้นเลือดที่มีขนาดใหญ่แล้วแตกแขนงไปในเส้นเลือดท่ีมี
ขนาดเล็กๆในลาดบั ถัดไป จนกระทงั่ เลือดดาไหลเข้าไปในเนื้อเย่ือปอดท้ังซีกซา้ ยและซีกขวา แล้วไปส้ินสดุ ที่
เส้นเลือดฝอย (capillary beds) ที่ล้อมรอบถงุ ลมปอด (alveoli) ท่ีบริเวณนี้เลือดที่มีก๊าซออกซเิ จนต่าแต่มี
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงจะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก แล้วรับก๊าซออกซิเจนเข้ามาแทนท่ี
เลือดที่มีก๊าซออกซิเจนสูงหรือเลือดที่ฟอกแล้วจากปอด (เลือดแดง) จะไหลผ่านจากเส้นเลือดฝอยผ่านเส้น
เลือดขนาดต่างๆ แล้วเข้าสู่เส้นเลือดพูลโมนารี่เวน (pulmonary veins) เพ่ือเข้าสู่ห้องหัวใจทางห้องบน
ด้านซา้ ย เส้นเลือดพูลโมนารเี่ วนท่ีออกจากเน้ือเยอื่ ปอดแต่ละข้างเพ่ือเข้าสหู่ ัวใจด้านบนหอ้ งซ้ายจะมีขา้ งละ
2 เส้น รวมท้งั หมด 4 เส้น
4.2 การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ (systemic circulation) เป็นการ
ไหลเวียนของเลือดท่มี ีก๊าซออกซิเจนสูง (เลอื ดแดง) ออกจากหัวใจทางห้องล่างด้านซ้าย โดยการบบี ตัวของ
กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างด้านซ้าย และผลักดันให้เลือดดีออกไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกายตามระบบเส้นเลือด
แดง (arteries blood) หลังจากท่ีเลือดดีไปถึงท่ีเซลล์แล้วจะมีการถ่ายเทก๊าซออกซิเจนและสารที่เป็น
ประโยชน์จากเลือดให้แก่เซลล์ แล้วรบั เอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ท่ีอยู่ในเซลล์ออกมาแทนที่ จากนั้นจะมี
การไหลกลับของเลือดท่ีมีก๊าซออกซิเจนต่า (เลือดดา) และของเสียจากเซลล์ในส่วนต่างๆของร่างกายกลับ
เข้าสู่หัวใจ ทางหัวใจห้องบนด้านขวาโดยผ่านระบบเส้นเลือดดา หรือเส้นเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนต่า
(venous blood)
การไหลเวียนของเลือดทั้งสองวงจรหลักนี้ จะเป็นการไหลเวียนที่เชื่อมต่อกันโดยตรงกับหัวใจ
นอกจากน้ียังต่อเช่ือมกับระบบน้าเหลืองท่ีมีอยู่ในร่างกาย ซึ่งทาหน้าท่ีในการนาของเหลวและสารละลาย
ต่างๆ ท่ีเส้นเลือดฝอยไม่สามารถดูดซึมกลบั ได้หมดเข้าสู่ระบบไหลเวยี นของเลือดใหม่อีกครง้ั จึงจดั เป็นการ
ชว่ ยรกั ษาสมดลุ ของของเหลว และรกั ษาความดันของของเหลวในรา่ งกายสว่ นหนงึ่ ดว้ ย
ภาพท่ี 7.5 ระบบไหลเวียนของเลือดในร่างกาย
ท่มี า : ดัดแปลงจาก Stephenson (2013)
4.3 การไหลเวียนของเลือดในหวั ใจ
ขั้นตอนที่ 1 เลือดที่ไม่บริสุทธ์ิ (venous blood) จากส่วนหัว และขาหน้าของร่างกายสัตว์
จะเขา้ สูห่ วั ใจหอ้ งบนขวาทางเส้นเลอื ด anterior vena cava
ข้ันตอนที่ 2 เลือดท่ีไม่บริสุทธ์ิ (venous blood) จากทางส่วนท้าย และขาหลังของร่างกายสัตว์
จะเข้าส่หู วั ใจหอ้ งบนขวาทางเส้นเลอื ด posterior vena cava
ขั้นตอนที่ 3 เลือดไม่บริสุทธิ์จากห้องบนขวาจะไหลลงสู่ห้องล่างขวาโดยผ่านล้ินของหั วใจ
tricuspid valve
ข้ันตอนที่ 4 เลือดไม่บริสุทธ์ิจากห้องล่างขวาจะผ่านลิ้นหัวใจ pulmonary valve ไปยังปอดทั้ง
สองขา้ งทางเส้นเลอื ด pulmonary artery เพ่อื ไปรับออกซิเจน
ขั้นตอนท่ี 5 เลือดบริสุทธิ์ (arterial blood) จากปอดท้ังสองข้างกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย ทาง
เสน้ เลือด pulmonary vein
ขั้นตอนท่ี 6 เลือดบรสิ ุทธจิ์ ากห้องบนซ้ายไหลลงสหู่ ้องล่างซ้าย ผ่านลิ้นของหัวใจ bicuspid valve
ลงส่หู อ้ งล่างซา้ ย
ขน้ั ตอนท่ี 7 เลือดบริสุทธ์ิจากห้องล่างซ้ายจะไหลผ่านล้ิน aortic valve ไปตามเส้นเลือดแดงใหญ่
aorta ไปเลี้ยงสว่ นต่าง ๆ ของรา่ งกาย การไหลเวียนของเลือดในหวั ใจ (ภาพที่ 6.6)
ภาพที่ 7.6 การไหลเวียนของเลือดในหัวใจ
5. สรีรวิทยาของระบบไหลเวยี นของเลือด
5.1 วงจรการเตน้ ของหัวใจหรอื การทางานของหวั ใจ (cardiac cycle)
เน่ืองจากหัวใจเป็นอวัยวะที่มีการทางานอย่างต่อเนื่องติดต่อกันตลอดเวลา โดยมีการบีบตัวและ
การคลายตัวเกิดขึ้นสลับกันไปเป็นวงรอบซ้าๆ กัน จึงทาให้มีเลือดไหลเข้าและออกจากหัวใจตลอดเวลา
วงจรการเต้นของหัวใจ จะหมายถึงลาดับของเหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้นระหว่างการเต้นของหัวใจห นึ่งคร้ัง
ซ่ึงประกอบด้วยสองเหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้นเป็นลาดับเรียงต่อกัน คือการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ เพ่ือบีบไล่
เลือดออกจากห้องหัวใจ (systole) การคลายตัวของกล้ามเน้อื หัวใจ เพือ่ นาเลือดเขา้ สู่หอ้ งหวั ใจ (diastole)
และระยะพัก (rest) ทงั้ 3 ระยะน้ีเราเรียกวา่ รอบการทางานของหัวใจ (cardiac cycle) การเตน้ ของหัวใจ
หรือการทางานของหัวใจที่เป็นไปอย่างต่อเน่ืองและอย่างเป็นวงรอบ (cardiac cycle) โดยจะเริ่มจากการ
บีบตัวของกล้ามเน้ือหัวใจห้องบนด้านขวาต่อด้วยหัวใจห้องบนด้านซ้าย หัวใจห้องล่างด้านขวาและหัวใจ
หอ้ งล่างด้านซ้าย ซ่งึ มีลาดบั ดงั นี้
1. การบีบตัวของหัวใจห้องบนจะทาให้ความดันในช่องหัวใจห้องบนสูงกว่าห้องล่าง จึงมีผลให้ล้ิน
หัวใจ (AV valve) ทีก่ ั้นระหวา่ งหวั ใจห้องบนและห้องล่างด้านขวาและซ้ายเปดิ ออก ทาให้เลอื ดที่อยู่ในโพรง
หวั ใจหอ้ งบนไหลผ่านลน้ิ หัวใจลงมาเขา้ สชู่ ่องหัวใจห้องล่างซ่งึ อย่ใู นระยะที่กลา้ มเนื้อคลายตวั
2. เมื่อหัวใจห้องล่างมีเลือดอยู่เต็มความจุของหัวใจ จะเป็นจังหวะท่ีหัวใจห้องบนคลายตัวและเริ่ม
รับเลือดเข้ามาในห้องหัวใจใหม่อีกคร้ัง ในขณะที่เลือดค่อยๆเต็มหัวใจห้องล่าง จะมีผลให้ความดันในห้อง
หัวใจด้านล่างค่อยๆ สูงข้ึนจนมากกว่าหัวใจห้องบน ล้ินหัวใจ (AV valve) ท่ีก้ันระหว่างหัวใจห้องบนและ
ห้องล่างจึงถูกปิดลง เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าไปห้องหัวใจด้านบน เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจห้อง
ล่างจะเกิดการบีบตัวหรือหดตัว โดยเฉพาะหัวใจห้องล่างซ้ายท่ีมีกล้ามเน้ือท่ีแข็งแรงมากจะมีการบีบ
ตัวอย่างแรง ก็จะเป็นจังหวะท่ีมีการดันเลือดแดงให้ไหลเข้าไปในเส้นเลือดแดงใหญ่ เพื่อส่งเลือดไปยังส่วน
ต่างๆของร่างกาย โดยผ่านลิ้นหัวใจที่ก้ันระหว่างหัวใจห้องล่างด้านซ้ายกับเส้นเลือดแดงใหญ่ (aortic
valve) ที่เปดิ ออก
3. เม่ือหัวใจห้องล่างด้านซ้ายหดตัว เมื่อเลือดแดงท่ีอยู่ในหัวใจห้องล่างด้านซ้ายไหลออกไปตาม
เส้นเลือดแดงใหญ่ และเลือดดาไหลเข้าในเส้นเลือดดาท่ีไปปอด หัวใจห้องล่างจะคลายตัว ลิ้นหัวใจท่ีก้ัน
ระหว่างเส้นเลือดและหัวใจห้องล่างทั้งสองข้างซ้ายและขวา (SV valve) ก็จะปิด ความดันของห้องหัวใจ
ด้านบนจึงเริ่มสูงกว่าห้องล่างอีกคร้ัง กล้ามเน้ือหัวใจห้องบนก็จะหดตัวอีกครั้ง และลิ้นหัวใจ (AV valve)
ที่ก้ันระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างก็จะเปิดออกเพ่ือให้เลือดไหลลงมาในห้องหัวใจด้านล่างต่อไป
การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเน้ือหัวใจห้องบนและห้องล่างจะเกิดขึ้นสลับกันไป จนเกิดเป็น
วงจรการเต้นของหัวใจ และทาให้เลือดไหลเข้าและออกจากหัวใจตลอดเวลา การหดตัวของหัวใจที่ทาให้
ปรมิ าณเลือดแดงทไ่ี หลออกจากหัวใจด้านล่างด้านซ้าย เขา้ สู่เสน้ เลือดแดงใหญ่ (cardiac output) และเกิด
การไหลเวียนเลือดออกจากหัวใจไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะมีปริมาณเท่ากับปริมาณเลือดดาท่ีเข้า
หัวใจ (cardiac input)
ภาพท่ี 7.7 การหดตวั (systole) และคลายตัว (diastole) ของหวั ใจในการเต้นของหัวใจ
5.2 คณุ สมบัติของกลา้ มเนอื้ หวั ใจ
กลุ่มเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle cells) เป็นกลุ่มเนื้อเย่ือส่วนใหญ่ของหัวใจ เมื่อถูก
กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจจะหดตัวพร้อมๆกันได้เองอย่างอัตโนมัติ โดยอาศัยระบบการนากระแสประสาท
(impulse conduction system) ซ่ึงประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ท่ีสามารถสร้างกระแสประสาทได้ (pace
maker) และเซลล์นากระแสประสาท (conducting cell) กลุ่มเซลล์ที่สามารถสร้างกระแสประสาทได้จะ
สร้างกระแสประสาทจานวนมากแล้วส่งต่อมาให้กับเซลล์นากระแสประสาท ก่อนที่กระแสประสาทจะถูก
แพร่กระจายต่อไปทั่วทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งทาให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการหดตัวและหัวใจมีการเต้นเป็น
จงั หวะตดิ ต่อกนั ไป
ภาพท่ี 7.8 ตาแหนง่ ของกลมุ่ เซลลท์ ีส่ ามารถสรา้ งกระแสประสาทได้เองบนกล้ามเน้ือหวั ใจ
ทีม่ า : ดัดแปลงจาก Klein and Cunningham. (2013)
5.3 อัตราการเตน้ ของหัวใจ (heart beat)
หมายถึง ความถี่ของวงจรการเต้นของหัวใจ หรือวงจรการทางานของหัวใจ มีหน่วยวัดเป็นจานวน
คร้ังต่อนาที อัตราการเต้นของหัวใจจะมีค่ามากหรือน้อยข้ึนอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของสัตว์
ความเครียด อุณหภูมิของส่ิงแวดล้อม การทางานของกล้ามเน้ือและสรีรวิทยาของร่างกายในขณะนั้น
รวมทั้งขนาดของรา่ งกาย สัตว์ที่มีร่างกายขนาดเล็กจะมีอัตราการเต้นของหวั ใจสูงกวา่ สัตว์ทม่ี ีร่างกายขนาด
ใหญ่ ในสภาวะร่างกายปกติสตั ว์ชนดิ ต่างๆ มีอตั ราการเตน้ ของหวั ใจท่แี ตกต่างกัน ดงั ตารางท่ี 6.1
ตารางที่ 6.1 อัตราการเต้นของหัวใจของสัตว์ทโี่ ตเตม็ ท่ใี นขณะพัก
ชนดิ ของสัตว์ อัตราการเต้นของหัวใจ (จานวนคร้งั /นาที)
ม้า 32-44
โคนม 60-70
แพะและแกะ 70-80
สุกร 60-80
ไก่ 200-400
ทมี่ า : ดดั แปลงจาก Reece (2005)
5.4 การควบคุมการเต้นของหวั ใจ
การควบคุมการเต้นของหัวใจเป็นหน้าที่ของระบบประสาทอัตโนมัติทั้ง 2 ชนิด คือ ระบบประสาท
ซมิ พาเทติก (sympathetic nervous system) และ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic
nervous system) ท้ังสองระบบนี้จะทางานตรงกันข้าม การกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติกจะเพิ่มการ
ทางานของหัวใจ เช่น การเพิม่ อัตราการหดตวั ของกล้ามเน้อื หัวใจ อัตราการนากระแสประสาทและปริมาณ
ของเลือดในเส้นเลือดท่ีมาที่หวั ใจ สว่ นการกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะไปลดการทางานของ
หวั ใจ
6. ระบบนา้ เหลือง (lymphatic system)
ระบบน้าเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย โดยเฉพาะส่วนของเส้น
เลือดขนาดเล็ก (microcirculation) ซ่ึงจะช่วยให้ของเหลวท่ีมีมากเกินไปในเน้ือเย่ือ และซึมออกมาจาก
เส้นเลือดฝอยสามารถกลับเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของเลือดได้ ระบบน้าเหลืองประกอบด้วยน้าเหลือง
(lymph) ที่อยู่ในท่อน้าเหลือง (lymphatic vessles) และเนื้อเย่ือน้าเหลือง (lymphoid tissues) ส่วน
ต่อมน้าเหลือง (lymph node) จะหมายถึงบริเวณหรือตาแหน่งที่มีเนื้อเย่ือน้าเหลืองรวมกันเป็นกลุ่มเดียว
(lymph nodule) หรือเน้ือเย่ือน้าเหลืองที่มารวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ (peyer’s patches) และมักพบตาม
ผนังระบบทางเดินอาหารส่วนลาไส้เล็ก
นา้ เหลืองจดั เปน็ สว่ นหน่งึ ของของเหลวในร่างกายท่เี กิดจากน้าเลือด หรือพลาสมา (plasma) และ
ของเหลวระหวา่ งเซลล์ท่ีซึมผ่านผนังของท่อน้าเหลืองเข้าไปอยู่ในช่องว่างของท่อ น้าเหลืองมีส่วนประกอบ
คล้ายกบั พลาสมา แตไ่ ม่มเี ซลล์เมด็ เลือดแดง และอาจพบเซลลเ์ ม็ดเลือดขาวชนิดลมิ โฟไซต์ได้ นอกจากนีย้ ัง
มโี ปรตีนน้อยกว่าในพลาสมา (โปรตีนเฉลี่ยประมาณ 1.5%) โดยโปรตนี ส่วนใหญ่ คือ อัลบูมิน และสาเหตุท่ี
ในน้าเหลืองมีโปรตีนน้อยกว่า เน่ืองจากโปรตีนที่มีโมเลกุลเล็กเท่านั้นจึงสามารถลอดผ่านรูของผนังเส้น
เลือดได้ นอกจากน้ียังพบสารอ่ืนเช่น ฮอร์โมน เอ็นไซม์ ผลผลิตที่ได้จากขบวนการเมตาโบลิซึมของเซลล์
(metabolites) และสารละลายท่ีได้มาจากเซลล์ จากเลือด และของเหลวในช่องว่างระหว่างเซลล์ รวมทั้ง
เซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์ของแบคทีเรียท่ีถูกเซลล์เม็ดเลือดขาวกิน น้าเหลืองในอวัยวะต่าง ๆ ของ
ร่างกายจะมีปรมิ าณท่แี ตกต่างกันไป เช่นที่ตับจะมีน้าเหลืองประมาณ 6.6% การไหลเวียนของน้าเหลืองใน
ร่างกายจะไหลเวียนไปในท่อน้าเหลืองที่มีขนาดเล็กไปสู่ท่อน้าเหลืองท่ีมีขนาดใหญ่ จากน้ันจะเข้าไปท่ีเส้น
เลือดดาเพือ่ เขา้ สูห่ ัวใจทางเส้นเลือดดาใหญ่
หน้าทสี่ าคัญของระบบน้าเหลือง
- นาโปรตีนหรือสารท่ีมีโมเลกุลใหญ่ท่ีอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ ซ่ึงหลุดออกมาจากเส้นเลือด
ฝอยโดยผ่านการกรองหรือโดยวิธีไมโครพินโนไซโตซีส (micropinocytosis) ซึ่งขนาดโมเลกุลของสาร
ดังกลา่ วไม่สามารถท่จี ะกลับเขา้ สู่เสน้ เลือดได้โดยผ่านทางเส้นเลอื ดฝอย
- ทาหน้าที่ในการกาจัดส่ิงแปลกปลอม หรือแบคทีเรียให้ออกจากน้าเหลือง โดยใช้เซลล์ลิมโฟ
ไซต์ ซ่ึงทาหน้าที่ในการสร้างภูมิคุ้มกันหรือ แอนติบอด้ี (antibodies) ซ่ึงจะทาหน้าที่ต่อสู้และทาลาย
แบคทีเรยี สารพษิ (toxin) ทจ่ี ะเขา้ สู่ร่างกายโดยไปกบั นา้ เหลืองหรือน้าเลอื ด
- ทาหน้าที่กรองแบคทีเรียและอนุภาคแปลกปลอมอื่นๆออกจากน้าเหลือง โดยการทาหน้าท่ีของ
ตอ่ มนา้ เหลอื ง
- ทาหน้าที่เป็นทางผ่านของกรดไขมันท่ีดูดซึมจากผนังลาไส้เล็กไปยังระบบเลือด โดยผ่านท่อ
น้าเหลืองท่ีผนังลาไส้เล็ก (lacteal) สีของน้าเหลืองที่บริเวณนี้จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอ่อนไปเป็นสีน้านม
เนอ่ื งจากมีหยดไขมันปะปนอยู่
6.1 สว่ นประกอบของระบบนา้ เหลอื ง
ระบบน้าเหลืองประกอบด้วยส่วนสาคัญ 2 ส่วน คือ ท่อน้าเหลือง (lymphatic vessles) และ
เนอื้ เยอื่ นา้ เหลอื ง (lymphoid tissues)
ก. ท่อน้าเหลือง (lymphatic vessles) ท่อน้าเหลืองมีจุดเร่ิมต้นจากเส้นน้าเหลืองฝอย
(lymphatic capillary) ซ่งึ มีลักษณะเป็นท่อปลายปิดมีโครงสรา้ งคล้ายกับเส้นเลือดฝอย เส้นน้าเหลืองฝอย
จะเป็นตัวรวบรวมของเหลวในเนื้อเย่ือที่มีมากเกินไป และซึมออกจากเส้นเลือดฝอยเพ่ือกลับเข้าสู่ระบบ
ไหลเวียนของเลือด เส้นน้าเหลืองฝอยจะกระจายแทรกอยู่ทั่วไปในร่างกายคล้ายกับการกระจายของเส้น
เลือดฝอย ส่วนปลายของท่อจะมีขนาดเล็ก ผนังของท่อน้าเหลืองประกอบด้วยเซลล์เยื่อบุผิว
(endothelium) ท่ีมีขนาดใหญ่และบางกว่าเซลล์เย่ือบุในเส้นเลือดแดงฝ อย ส่วนของเซลล์เย่ือบุ
(endothelium) จะไมอ่ ยชู่ ิดกันและจะไม่มีรูหรือช่องที่ผนังทอ่ (fenestration) ทอ่ นา้ เหลืองขนาดเล็กมกั มี
ตาแหน่งอยู่ใกล้กับเส้นเลือดฝอย เรียกว่าเส้นน้าเหลืองฝอย (lymphatic capillaries) เส้นน้าเหลืองฝอย
หลาย ๆ เส้นจะมาเช่ือมต่อกันเป็นเส้นน้าเหลืองขนาดใหญ่ขึ้น (lymphatic vessels) ซ่ึงภายในจะมีล้ิน
(valve) จานวนมากคล้ายกับล้ินที่มีอยู่ในเส้นเลือดดา ทาหน้าท่ีป้องกันการไหลกลับและการสะสมของ
น้าเหลืองในเส้นน้าเหลือง เส้นน้าเหลืองจะทอดยาวคู่ขนานไปกับเส้นเลือดดา ผนังของท่อน้าเหลืองจะมี
ความสามารถในการซึมผ่านสารต่างๆสูงกว่าเส้นเลือดฝอย เพราะช่องว่างระหว่างเซลล์มีขนาดกว้างกว่า
และมีฐานรองเนื้อเย่ือ (basement membrane) เพียงชั้นเดียว ระหว่างทางเดินของเส้นน้าเหลืองจะมี
ต่อมน้าเหลืองเป็นระยะ ๆ มากกว่าหนึ่งต่อมข้ึนไป ทาหน้าที่ในการกรองน้าเหลือง เพื่อกาจัดสิ่ง
แปลกปลอมและทาลายเช้ือโรคท่ีมากับน้าเหลือง หากเชื้อโรคเช่นแบคทีเรียที่มากับน้าเหลืองไม่ถูกทาลาย
เช้ือโรคอาจเข้าสู่กระแสเลือดทาให้สัตว์เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ (septicemia) เส้นน้าเหลือง
ภายในต่อมน้าเหลืองจะแยกออกจากกันเป็นช่องกว้าง ๆ เรียกว่า ไซนัส (sinuses) โดยผนังของไซนัส
(sinuses) จะประกอบด้วยเส้นใย (fibrils) ที่จัดเรียงตัวกันแบบร่างแห (reticular framework of loose
sinus tissue) และจะมีเซลล์น้าเหลือง (lymphatic cells) ท่ีเป็นพวกเซลล์แมคโครฟาท (macrophages)
เช่น เรคติคิวล่าร์เซลล์ (reticular cells) แทรกตัวอยู่ตามร่างแห ไซนัส (sinuses) เหล่านี้สามารถรวมตัว
กันใหม่ทาให้เกิดเป็นเส้นน้าเหลืองเพ่ือทาหน้าท่ีนาน้าเหลืองออกจากต่อมน้าเหลืองได้ เส้นน้าเหลืองที่ไหล
ผา่ นต่อมน้าเหลืองและเกิดขบวนการกรองน้าเหลืองแล้ว จะนาน้าเหลืองจากเส้นน้าเหลืองขนาดเล็ก ๆ ไป
รวมกันเป็นเส้นน้าเหลืองท่ีมีขนาดใหญ่กว่า คือท่อน้าเหลืองท่ีบริเวณช่องอก หรือทอเรคซิคดัก (thoracic
duct) จากนั้นจะส่งน้าเหลืองผ่านเข้าเส้นเลือดดาบริเวณซับเครเวียนเวน (subcalvian vein) และเส้น
เลือดดาอินเทอรน์ ัลจูกลู า่ ร์ (internal jugular vein) เพือ่ นาเขา้ หัวใจห้องบนขวาต่อไป
ข. เนอื้ เย่ือน้าเหลือง (lymphoid tissue)
เป็นเน้ือเยื่อท่ีประกอบด้วยเซลล์ลิมโฟไซต์ ท่ีรวมตัวกันเป็นกลุ่มอยู่ตามส่วนต่างๆของ
ร่างกาย เนื้อเยื่อน้าเหลืองท่ีสาคัญได้แก่ ต่อมน้าเหลือง (lymph node) และอวัยวะน้าเหลือง เช่น ม้าม
ต่อมไทมสั (thymus gland) และต่อมทอลซิล (tonsil gland) เปน็ ตน้
ภาพท่ี 7.9 แสดงความสมั พนั ธ์ระหว่างระบบนา้ เหลอื งและระบบไหลเวยี นของเลอื ด
ที่มา : ดัดแปลงจาก Stephenson (2013)
1) ต่อมน้าเหลือง (lymph node)
ต่อมน้าเหลืองไม่ใช่ต่อม แต่จัดเป็นเน้ือเยื่อน้าเหลืองชนิดหน่ึง มีขนาดเล็ก ผิวเรียบ เนื้อแน่น และ
มีรูปร่างเหมือนไต ปกตจิ ะพบต่อมน้าเหลืองอยู่ท่ัวไปในร่างกายตามทางยาวของของเส้นน้าเหลือง (lymph
vessels) ต่อมน้าเหลืองแต่ละต่อมจะมีเปลือกหุ้ม (capsule) และมีส่วนย่ืน (septum) เข้าไปในเน้ือของ
ต่อม จึงทาให้เกิดเป็นกลุ่มของเซลล์น้าเหลืองย่อม ๆ เรียกว่า ลิมฟ์โนดูลส์ (lymph nodules) ภายในจะมี
เซลล์ลิมโฟไซต์และเซลล์แมคโครฟาท (magcrophage) อยู่เป็นจานวนมาก น้าเหลืองจะไหลผ่านเข้าต่อม
น้าเหลืองทางเส้นน้าเหลืองที่เรียกว่าแอฟเฟอเรนต์ลิมฟ์เวสเซลส์ (afferent lymphatic vessels) และจะ
ไหลออกจากต่อมน้าเหลืองตรงรอยเว้าด้านนอก โดยผ่านทางเส้นน้าเหลืองเอฟเฟอเรนต์ลิมฟ์เวสเซลส์
(efferent lymphatic vessels) ต่อมน้าเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจรวมกันเป็นศูนย์กลางน้าเหลือง
(lymphocenter) ได้ ซ่ึงมีต่อมน้าเหลืองขนาดเล็กรวมตัวกันอยู่เป็นจานวนมาก ต่อมน้าเหลืองท่ีกระจาย
กันอยู่ท่ัวร่างกายสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ต่อมน้าเหลืองที่อยู่ใกล้ผิวหนัง เรียกว่า
ซูเปอร์ฟิเชียลลิมฟ์โนต (superficial lymph node) ต่อมน้าเหลืองเหล่าน้ีอาจคลาได้ผ่านทางผิวหนังได้
เช่น ต่อมน้าเหลืองซับแมนดิบูลาร์ (submandibular lymph node) ส่วนต่อมน้าเหลืองที่อยู่ตามอวัยวะ
ภายในรา่ งกาย (deep lymph node) เชน่ ตอ่ มน้าเหลืองท่อี ยู่บริเวณเยอื่ ยดึ ลาไสเ้ ล็ก และลาไสใ้ หญ่
ตอ่ มน้าเหลืองแต่ละตอ่ มมีหน้าที่ กรอง และดักจับสง่ิ แปลกปลอมต่างๆที่ปะปนเข้ามาในน้าเหลือง
โดยใช้เซลล์ท่ีมีคุณสมบัติในการเก็บกลืนกินส่ิงแปลกปลอม หรือเช้ือโรค เช่น เซลล์แมคโครฟาท หากต่อม
น้าเหลืองมีการบวมแสดงว่าต่อมน้าเหลืองเกิดการติดเช้ือ ดังน้ันจึงได้นาคุณสมบัติดังกล่าวมาใช้เป็น
หลักเกณฑ์ในการตรวจรักษาโรค นอกจากน้ียังประกอบใช้ในการตรวจคุณภาพซาก (meat inspection)
ได้ โดยเฉพาะในขั้นตอนการตรวจต่อมนา้ เหลืองที่หัว ต่อมน้าเหลืองบนซาก และต่อมน้าเหลืองตามอวัยวะ
ในช่องอกและช่องท้อง เพ่ือใช้คัดแยกเนื้อหรือช้ินส่วนของซากท่ีไม่เหมาะสมที่จะนาไปบรโิ ภคออกจากเน้ือ
ทม่ี ีคณุ ภาพดี
2) อวยั วะน้าเหลือง (lymphoid organ)
อวัยวะน้าเหลืองเป็นอวัยวะที่มีเนื้อเยื่อน้าเหลืองมารวมกันอยู่อย่างมีระบบ เช่น มีปลอกหุ้ม
(capsule) บางอวัยวะอาจมีท่อน้าเหลืองมาเปิดเข้าและออก อาจมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงได้ โดยเฉพาะ
อวัยวะน้าเหลอื งได้แก่ ม้าม ตอ่ มไทมสั (thymus gland) และตอ่ มทอลซิล (tonsil gland)
ก. ม้าม (spleen) จัดเป็นอวัยวะน้าเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีสีแดงคล้า
รูปร่างแตกต่างกันไปตามชนิดของสัตว์ โดยทั่วไปมีตาแหน่งอยู่ใกล้กับกระเพาะอาหาร และกระบังลม
ประกอบด้วยเน้ือเย่ือ 2 ส่วน คือส่วนสีแดง (red pulp) และส่วนสีขาว (white pulp) โดยส่วนสีแดง (red
pulp) จะมีมากกว่า และส่วนสีขาว (white pulp) จะเป็นส่วนท่ีไม่มีเสน้ เลือดฝอยอยู่เลย ส่วนสแี ดง (red
pulp) ประกอบด้วยเซลล์ลิมโฟไซต์และ เซลล์แมคโครฟาท (macrophage) โดยมีเส้นเลือดฝอยกระจาย
แทรกตวั อยู่
มา้ มมหี น้าทีส่ าคญั คือ
- เป็นแหล่งสร้างเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิด ในขณะที่สัตวย์ ังเป็นตัวอ่อนกาลังเจริญเติบโตใน
มดลูก เซลล์เม็ดเลือดขาวท่ีสร้างขนึ้ มาจะเปน็ เซลลเ์ มด็ เลอื ดขาวชนิดลมิ โฟไซต์ และ ชนดิ โมโนไซต์เท่าน้ัน
- ทาหน้าท่ีกรองน้าเลือด หรือพลาสมา หรืออาจกล่าวว่ามีหน้าท่ีทาลายเซลล์เม็ดเลือด
แดงท่ีหมดอายุขัย และเก็บธาตุเหล็กท่ีมีอยู่ในเฮโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงไว้ สาหรับใช้ในการสร้าง
เฮโมโกลบนิ ตอ่ ไป
- เป็นแหล่งสะสมเลือดไว้ใช้ในภาวะท่ีจาเป็นเช่นขณะที่ร่างกายเสียเลือดหรือขณะออก
กาลังกาย
- ทาหน้าท่ใี นการสร้างภมู คิ ุ้มกนั ให้แกร่ า่ งกาย
ข. ต่อมไทมัส (thymus gland) เป็นอวัยวะท่ีสาคัญที่สุดในสัตว์ที่อายุน้อย มีเนื้อเย่ือ
น้าเหลืองเป็นส่วนประกอบ มีตาแหน่งอยู่ในช่องว่างของช่องอกส่วนมีดิแอสติน่ัม (mediastinum) เข้าไป
ถึงส่วนคอ ตามความยาวทั้งสองข้างของหลอดลม ยกเว้นในสัตว์ปีกต่อมไทมัสจะอยู่นอกช่องอก ในขณะท่ี
สัตว์ยังเล็กอยู่ต่อมไทมัสจะมีขนาดใหญ่ แต่จะหดหายไปแล้วปรากฏให้เห็นเป็นเพียงติ่งเล็กๆ เมื่อสัตว์อายุ
มากข้ึน ต่อมไทมัสทาหน้าท่ีในการสร้างลิมโฟไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแอนตี้บอด้ี (antibody) ในการ
ตอบสนองภูมิคุ้มกันแบบพึ่งเซลล์ (cell – mediated immunity) ขณะที่สัตว์ยังเป็นตัวอ่อนหรือหลัง
คลอดเท่านน้ั