The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติและความเป็นมาของพระพุทธรูปประจำวันเกิด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ddearr2543, 2021-10-12 00:22:28

พระพุทธรูปประจำวันเกิด

ประวัติและความเป็นมาของพระพุทธรูปประจำวันเกิด

Keywords: พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปประจำวันเกิด

ประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน

ชิดชนก พัฒนกิจศิริคุณ

พระพุทธศาสนา



คำนำ

หนังสือ E-Book เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชานวัตกรรม และเทคโนโลยี ED13301(05)
เป็นการศึกษาเรื่องประวัติและที่มา ของพระพุทธรูปประจำวันเกิด ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ
การพระพุทธรูปประจำวันเกิดของแต่ละวัน ตั้งแต่วันอาทิตย์จนถึงวันเสาร์
โดยได้ศึกษาผ่านแหล่งความรู้ต่างๆ อาทิเช่น แหล่งความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ

ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำหนังสือเล่มนี้จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาพระพุทธรูป
ประจำวันเกิดได้เป็นอย่างดี

นางสาวชิดชนก พัฒนกิจศิริคุณ
๑ ตุลาคม ๒๕๖๔

พระพุทธศาสนา

เรื่อง สารบัญ ข

คำนำ หน
้า

สารบัญ ก


พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันอาทิตย์ ข

พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันจันทร์

2-3
พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันอังคาร


พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันพุธ 4-6

พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันพฤหัสบดี

7-8
พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันศุกร์


พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันเสาร์ 9-13

อ้างอิง

14-15
ประวัติส่วนตัว



16-18



19-20



22


23-24






พระพุทธศาสนา

1

สงสัยกันไหมคะ???

เวลาไปทำบุญที่วัด นอกจากชาวพุทธนิยมกราบไหว้พระประธานแล้วก็มักจะกราบไหว้พระพุทธรูป
ประจำวันเกิดของตนเองเพื่อความเป็น สิริมงคลให้แก่ชีวิต แล้วเพื่อน ๆ ทราบหรือไม่คะว่า
พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ของวันเกิดแต่ละวันนั้นย่อมมีประวัติความเป็นมาและลักษณะที่แตกต่างกันไป

วันนี้ดิฉันได้รวบรวมเรื่องราวเกร็ดน่ารู้เล็ก ๆ น้อย ๆ มาให้อ่านกันค่ะ









พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางถวายเนตร 2

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันอาทิตย์

พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันอาทิตย์

พระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันอาทิตย์คือ “พระพุทธรูปปางถวายเนตร” ค่ะ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในพระ

อิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองมองเพ่งไปข้างหน้า ส่วนพระหัตถ์ทั้งสองประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวา

ทับซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยมีที่มาจากเมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณและได้ประทับเสวยวิมุตติสุข หรือ “สุขที่เกิดจากความสงบ” ใต้ต้นพระ

ศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงเสด็จไปประทับยืนที่กลางแจ้งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ และ

ทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กะพริบพระเนตรเลยแม้แต่น้อยตลอดระยะเวลา 7 วัน จึงนับได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นนิมิต

มหามงคลจนได้รับการขนานนามว่า “อนิมิสเจดีย์” มาจนถึงปัจจุบัน ทำให้พุทธศาสนิกชนสร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นเรียกว่า

“ปางถวายเนตร” นั่นเองค่ะ




พระพุทธศาสนา

3

พระพุทธรูปปางถวายเนตร

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันอาทิตย์

http://www.brassprince.com/product/203/รูปหล่อพระพุทธรูปพระประจำวันเกิด-วันอาทิตย์

พระพุทธศาสนา

4

พระพุทธรูปปางห้ามญาติ

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันจันทร์

พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันจันทร์
พระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันจันทร์คือ “พระพุทธรูปปางห้ามญาติ” หรือ
“พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร” ค่ะ ซึ่งพระพุทธรูปปางห้ามญาติมีลักษณะเป็นพระพุทธรูป
ยืน ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ขึ้นตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็น
กิริยาห้าม แตกต่างจากพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรตรงที่ยกพระหัตถ์ขึ้นห้ามทั้งสองข้าง
แต่ส่วนมากจะนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติแบบทรงเครื่องมากกว่าค่ะ






พระพุทธศาสนา

5

พระพุทธรูปปางห้ามญาติ

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันจันทร์

โดยพระพุทธรูปปางห้ามญาตินั้นมีที่มาจากเมื่อครั้งที่พระญาติฝ่ายพุทธบิดาที่อาศัยอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์
และพระญาติฝ่ายพุทธมารดาที่อาศัยอยู่ในกรุงเทวทหะ ซึ่งอาศัยอยู่กันคนละฝั่งของแม่น้ำโรหิณีได้เกิดการทะเลาะ

วิวาทกันอย่างรุนแรงจนถึงขั้นยกทัพทำสงครามกันเลยทีเดียวค่ะ เนื่องจากแย่งน้ำเพื่อนำไปเพาะปลูก
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปเจรจาห้ามทัพไม่ให้พระญาติของทั้งสองฝั่งเข่นฆ่าหรือทำสงครามกันค่ะ
ส่วนพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรก็มีที่มาจากเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพวกชฎิล (นักบวชประเภทหนึ่งที่
นุ่งห่มหนังเสือและบูชาไฟ) ทั้ง 3 พี่น้องคือ อุรุเวลกัสสปะ, นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ ที่ตั้งตนเป็นใหญ่บนริมฝั่ง

แม่น้ำเนรัญชรา พร้อมบริวารมากถึง 1,000 คน โดยพระพุทธองค์ทรงแสดงพุทธปาฏิหาริย์หลายอย่าง เช่น
ห้ามลม ห้ามฝน ห้ามพายุ ห้ามน้ำท่วมที่เจิ่งนองตลิ่งไม่ให้มาต้องพระวรกายได้ รวมไปถึงสามารถเดินจงกรมใต้

พื้นน้ำได้ ทำให้พวกชฎิลเห็นก็รู้สึกเป็นที่อัศจรรย์ใจยิ่งนัก จึงยอมบวชเป็นพุทธสาวกค่ะ

พระพุทธศาสนา

6

พระพุทธรูปปางห้ามญาติ

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันจันทร์

เครดิตรูปภาพ : http://www.brassprince.com/product/195/รูปหล่อพระพุทธรูปประจำวันเกิด-วันจันทร์

พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือพระพุทธรูปปางนิพพาน 7

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันอังคาร

พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันอังคาร
พระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคารคือ “พระพุทธรูปปางไสยาสน์” หรือบางทีก็เรียก
“ปางปรินิพพาน” มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างทับซ้อน
เสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย ส่วนพระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน)
รองรับอยู่ บางแบบพระเขนยจะตั้งวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) โดยพระพุทธรูปปางไสยาสน์นี้มีที่มาจากตอนที่
พระพุทธองค์รับสั่งให้พระจุนทะเถระปูอาสนะลงระหว่างต้นรังคู่หนึ่งแล้วทรงบรรทมแบบสีหไสยาสน์ หรือการ
นอนแบบราชสีห์ และตั้งพระทัยแล้วว่าจะไม่เสด็จลุกขึ้นมาอีก ทำให้พุทธศาสนิกชนสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้นเพื่อ

เป็นการรำลึกถึงการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระพุทธองค์ค่ะ



พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือพระพุทธรูปปางนิพพาน 8
พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันอังคาร

เครดิตรูปภาพ : http://www.brassprince.com/product/197/รูปหล่อพระพุทธรูปพระประจำวันเกิด-วันอังคาร

พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร (พุธกลางวัน) 9
พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ (พุธกลางคืน)

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : พุธ

พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันพุธ
พระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันพุธนั้นจะมีอยู่ 2 แบบด้วยกันค่ะ คือ

แบบ “พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร” กับ
แบบ “พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์”
ถ้าหากเกิดในวันพุธกลางวันเป็น “พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร” มีลักษณะเป็น
พระพุทธรูปที่อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างประคองบาตรราวสะเอว

สันพระบาตรวางชิดกัน



พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร (พุธกลางวัน) 10

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันพุธ

โดยมีที่มาจากเมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ต่อหน้าพระประยูรญาติทั้ง
หลายด้วยการเหาะขึ้นไปบนอากาศ เพื่อให้พระญาติผู้ใหญ่ได้เห็นและลดทิฐิถวายบังคมแล้วจึงได้ตรัสเทศนา
เรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก เมื่อเทศน์เสร็จ พระญาติต่างก็แยกย้ายกันกลับและไม่มีใครทูลอาราธนาฉัน
พระกระยาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น เพราะเข้าใจผิดคิดว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นพระราชโอรสและพระสงฆ์เป็น
ศิษย์ จึงต้องฉันภัตตาหารที่มีการจัดเตรียมไว้ให้เองในพระราชนิเวศน์ แต่พระพุทธองค์กลับทรงพาบรรดา
พระภิกษุสงฆ์สาวกเสด็จจาริกไปโปรดเวไนยสัตว์ (ผู้ที่พึงสั่งสอนได้) ตามถนนหลวงในเมือง ถือได้ว่าเป็น
ครั้งแรกที่ประชาชนในกรุงกบิลพัสดุ์ได้มีโอกาสชมพระพุทธจริยาวัตรทรงอุ้มบาตรโปรดสัตว์ จึงต่างพากัน

แซ่ซ้องสรรเสริญกันอย่างสุดซึ้ง และสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้นเรียกว่า “ปางอุ้มบาตร” นั่นเองค่ะ

พระพุทธศาสนา

11

พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร (พุธกลางวัน)

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันพุธ

เครดิตรูปภาพ : http://www.brassprince.com/product/198/รูปหล่อพระพุทธรูปประจำวันเกิด-วันพุธ

พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ (พุธกลางคืน) 12

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันพุธ



ส่วนถ้าเกิดในวันพุธกลางคืนจะเป็นแบบ “พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์” มีลักษณะเป็นพระพุทธรูป
ประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า)
พระหัตถ์ขวาวางหงายขึ้น โดยมีช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำอยู่ด้านหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งมีลิง
ถือรวงผึ้งถวาย ซึ่งพระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากในขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ

อยู่ในเมืองโกสัมพี พระภิกษุสงฆ์จำนวนมากเกิดแตกความสามัคคีกันและไม่ยอมอยู่ในพุทธ
โอวาท พระองค์จึงเสด็จจาริกไปอาศัยอยู่ในป่าปาลิไลยกะตามลำพัง โดยมี “ปาลิไลยกะ” พญาช้าง
เชือกหนึ่ งที่มีความเลื่ อมใสในพระพุทธองค์มาคอยปฏิบัติบำรุงและคุ้มครองไม่ให้สัตว์ร้ายเข้ามาก
ล้ำกราย ทำให้พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ในป่านั้นอย่างสงบสุข เมื่อพญาลิงเห็นพญาช้างทำงาน
ปรนนิบัติพระพุทธองค์อย่างเคารพนับถือก็เกิดกุศลจิตทำตามบ้าง ต่อมาชาวบ้านที่ตั้งใจจะไปเฝ้ า

พระพุทธเจ้าแต่ไม่พบ พอทราบเหตุก็ต่างพากันตำหนิติเตียนและไม่ทำบุญกับพระภิกษุเหล่านั้น
พระภิกษุเหล่านั้นจึงเกิดความสำนึกผิดและไปทูลเชิญพระพุทธองค์เสด็จกลับมา จากเหตุการณ์นี้
ทำให้พุทธศาสนิกชนสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจถึงการแตกความ

สามัคคีและการทะเลาะวิวาทนั่นเองค่ะ

พระพุทธศาสนา

13

พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ (พุธกลางคืน)

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันพุธ

พระพุทธศาสนา

เครดิตรูปภาพ : http://www.brassprince.com/product/200/รูปหล่อพระพุทธรูปประจำวันเกิด-วันพุธกลางคืน

14

พระพุทธรูปปางสมาธิ หรือพระพุทธรูปปางตรัสรู้

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันพฤหัสบดี พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันพฤหัสบดี
พระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันพฤหัสบดีคือ “พระพุทธรูปปางสมาธิ” หรือ
เรียกอีกอย่างว่า “พระพุทธรูปปางตรัสรู้” ค่ะ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระ
อิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางซ้อนกันอยู่บนพระเพลา
โดยพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย และพระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย ซึ่ง
พระพุทธรูปปางสมาธินี้มาจากเมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะหรือพระโพธิสัตว์ประทับใน

ท่าขัดสมาธิใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ใกล้กับฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เพื่อตั้งพระทัยเจริญสมาธิในญาณขั้นต่าง ๆ จนได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
และตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อน

พุทธศักราช 45 ปี หรือวันวิสาขบูชานั่นเองค่ะ

15

พระพุทธรูปปางสมาธิ หรือพระพุทธรูปปางตรัสรู้

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันพฤหัสบดี

เครดิตรูปภาพ : http://www.brassprince.com/product/199/รูปหล่อพระพุทธรูปพระประจำวันเกิด-วันพฤหัสบดี

พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางรำพึง 16

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันศุกร์ พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันศุกร์
พระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันศุกร์คือ “พระพุทธรูปปางรำพึง”
ค่ะ ซึ่งมีลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสอง
ข้างวางประสานกันที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาวางทับพระหัตถ์ซ้าย

17

พระพุทธรูปปางรำพึง

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันศุกร์

โดยมีที่มาจากภายหลังการตรัสรู้ได้ไม่นาน ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นไทรก็ทรงรำพึง

พิจารณาถึงธรรมที่ทรงได้ตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งและยากเกินกว่ามนุษย์จะเข้าใจได้ จึง

ทรงเกิดความท้อพระทัยและคิดที่จะไม่สั่งสอนชาวโลกแล้ว เมื่อท้าวสหัมบดีพรหมทรงทราบก็

เกิดความร้อนใจและได้มากราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมว่าในโลกนี้ยังมีบุคคลที่มีกิเลส

เบาบาง พอฟังธรรมได้อยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงคิดพิจารณาแล้วก็เห็นชอบด้วย จึงได้ทรง

ประกาศพระธรรมคำสั่งสอนและพระพุทธศาสนาต่อไปจนกระทั่งเสด็จดับขันธปรินิพพาน ด้วย

เหตุนี้เองทำให้พุทธศาสนิกชนสร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นและเรียกว่า “ปางรำพึง” ค่ะ

พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางรำพึง 18

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันศุกร์

เครดิตรูปภาพ : http://www.brassprince.com/product/201/รูปหล่อพระพุทธรูปพระประจำวันเกิด-วันศุกร์ พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางนาคปรก 19

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันเสาร์

พระพุทธรูปประจำวันเกิด: วันเสาร์

พระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์คือ “พระพุทธรูปปางนาคปรก” ค่ะ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ใน

พระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองข้างวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) โดยพระหัตถ์ขวา

ทับพระหัตถ์ซ้ายเช่นเดียวกับพระพุทธรูปปางสมาธิ แต่ว่ามีพญานาคราชขดร่างเป็นวงกลมซ้อนทับกันไปเรื่อย ๆ จน

เป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร ซึ่งมีที่มาจากเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ตรัสรู้และประทับ

บำเพ็ญสมาบัติเสวยวิมุตติสุขใต้ต้นจิก ขณะนั้นเองฝนตกลงมาไม่หยุด ได้มีพญานาคราชตนหนึ่งชื่อว่า “มุจลินท์

นาคราช” ขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์ด้วยการขนดร่างเป็นวงกลม 7 รอบแล้วแผ่พังพานปกคลุมพระพุทธเจ้าไว้คล้ายกับ

พระเศวตฉัตรไม่ให้ลมและฝนตกลงมาต้องพระวรกาย รวมไปถึงป้องกันสัตว์ร้ายต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามากล้ำกรายอีก

ด้วย และเมื่อฝนหยุดตกจึงได้แปลงร่างเป็นมาณพ เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ค่ะ




พระพุทธศาสนา

20

พระพุทธรูปปางนาคปรก

พระพุทธรูปประจำวันเกิด : วันเสาร์

เครดิตรูปภาพ : http://www.brassprince.com/product/202/รูปหล่อพระพุทธรูปพระประจำวันเกิด-วันเสาร์-นาคปรก

พระพุทธศาสนา

21

เป็นยังไงกันบ้างคะ หลังจากที่ดิฉัน ได้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา
และลักษณะของพระพุทธรูปประจำวันเกิดให้ได้ทราบกันไปแล้ว
หากมีเวลาว่าง ก็อย่าลืมแวะไปทำบุญไหว้พระกันด้วยนะคะ
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตค่ะ

พระพุทธศาสนา

อ้างอิง 22

แหล่งที่มาการศึกษาค้นคว้าข้อมูล



หรีดมาลา ประวัติพระประจำวันเกิด : สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564,
จาก https://www.wreathmala.com/ประวัติ-พระประจำวันเกิด/



รูปหล่อพระพุทธรูปพระประจำวันเกิด : สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564,
จาก http://www.brassprince.com/category/67/รูปหล่อพระพุทธรูป/พระประจำวันเกิด








พระพุทธศาสนา

ผู้จัดทำ 23

ชื่อ-สกุล นางสาวชิดชนก พัฒนกิจศิริคุณ
รหัสนักศึกษา 62100107113 สาขาพุทธศาสนศึกษา

คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

24

ชื่อ-สกุล นางสาวชิดชนก พัฒนกิจศิริคุณ

ชื่อเล่น เดียร์
ว/ด/ป เกิด 29/10/2543
เบอร์โทร: 0953720591

FB: เดียร์ ชิดชะ
Line ID: dearccn
E-mail: ddearr2543@gmail.com
บุคลิก ลักษณะนิสัย : เส้นตื้น ง่ายๆสบายๆ
คติประจำใจ : ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น
สิ่งที่ชอบ : ชอบกิน
สิ่งที่ไม่ชอบ : หนอนทุกชนิด
วาดฝันในอนาคตว่า: เป็นครู มีหน้าที่การงานที่มั่นคง

นิปฺผนฺนโสภิโน อตฺถา
ประโยชน์จะงดงาม เมื่อประสบผลสำเร็จ

- พระพุทธ
ศาสนา -


Click to View FlipBook Version