อากาศ
จั ดทำโดย
นาย ปุ ญญพั ฒน์ ตวงวิ ทยสุ ธี เลขที่ 11
นาย ธนวั ฒน์ บำรุ ง เลขที่ 2
นาย พี ระภั ทร ธรรมวั ฒนา เลขที่ 14
นางสาว ธนพร อารี เลขที่ 16
1.องค์ประกอบของอากาศ
บรรยากาศ คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่ มีความหนา
แน่นมากบริเวณใกล้ผิวโลก
องค์ประกอบที่สำคัญ
O2 แก๊สออกซิเจน มีความสำคัญต่อกระบวยการหายใจ
ของสิ่งมีชีวิต
CO2 แก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ เป็นสารตั้งต้นของ
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
O3 โอโซน พบโดยทั่วไปในบรรยากาศตั้งแต่ระดับพื้นผิว
จนถึงชั้นสตราโทสเฟียร์โอโซนทำหน้าที่ดูดกลืนรังสี
อัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์
H2O ไอน้ำ เกิดจากการระเหยของน้ำจสกแหล่งน้ำต่างๆ
ละอองลอย เป็นอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กที่ฟุ้งกระจายใน
บรรยากาศ
2. พลังงานจากดวงอาทิตย์กับอุณหภูมิอากาศ
ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สูงที่สุดของ
โลก ซึ่งโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ในลักษณะ
ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการรับและคายพลังงานจากดวงอาทิตย์
1. การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ โลกหมุนรอบตัวเอง
ใช้เวลา 1 วัน หมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 365
วันเนื่องจากโลกทำแกน 23.5° เลยทำให้โลกได้รับพลังงาน
ไม่เท่ากัน
2. ลักษณะพื้นผิว พื้นผิวโลกในแต่ละบริเวณมีลักษณะที่
แตกต่างกัน เช่น ที่ราบ ทิวเขา หุบเขา มหาสมุทร
ทะเลสาบ ทะเลทราย ป่าไม้ ทุ่งหญ้า โดยแต่ละพื้นผิว
สะท้อนรังสีแตกต่างกันด้วย
3. ปริมาณละอองลอย ละอองลอยเป็นฝุ่นละอองที่ฟุ้ง
กระจายในอากาศเกิดจากมนุษย์
4. ปริมาณเมฆ มีผลต่ออุณหภูมิของอากาศเมฆที่ปกคลุม
ท้องฟ้าจะช่วยให้พลังงานความร้อนลดลง
5. ปริมาณของแก๊สเรือนกระจก คือแก๊สในบรรยากาศที่
ดูดซับและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้
จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก
6. สันฐานและแกนหมุนของโลก เนื่องจากโลกมีทรง
คล้ายทรงกลม และแกนหมุนของโลกเอียงทำมุมกับแนว
ระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
7. ความแตกต่างระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำ บริเวณพื้น
ดินจะดูดซับความร้อนได้ดีกว่า จึงมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นน้ำ
และเมื่อถึงเวลากลางคืนพื้นดินจะมีคุณสมบัติในการคาย
ความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ
8. ความโปร่งใสของบรรยากาศ ความโปร่งใสของ
บรรยากาศมีความสำคัญต่อปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์ที่พื้น
โลกได้รับโดยเมฆฝุ่นไอน้ำและแก๊สล้วนมีส่วนในการกระจายกา
รสะท้อนและการดูดกลืนรังสีจากดวงอาทิตย์
9. ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เนื่องจากโลก
โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีระยะทางระหว่างโลกกับดวง
อาทิตย์โดยเฉลี่ยมีค่าประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร (94ล้าน
ไมล์)
10. ลักษณะความสูงต่ำของพื้นที่ มีผลต่อการรับและคาย
พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตยซึ่งส่งผลต่ออุณหภูมิของ
อากาศโดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงตามความสูงซึ่งอุณหภูมิ
จะลดลง 6.5 องศาเซลเซียสทุก ๆ ระดับความสูง 1,000
เมตรจากระดับทะเลปานกลางดังนั้นในบริเวณพื้นที่ที่มีความ
สูงจากระดับน้ำทะเลมากจะมีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่า
บริเวณที่ราบเชิงเขา
11. ความใกล้-ไกลจากทะเลและมหาสมุทร เนื่องจาก
บริเวณพื้นดินเป็นบริเวณที่มีการรับและคายพลังงานความ
ร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ดีกว่าพื้นน้ำแม้อยู่ในตำแหน่งละติจูด
เดียวกันดังนั้นพื้นที่ที่อยู่ไกลจากทะเลและมหาสมุทรอุณหภูมิ
ของอากาศจะสูงขึ้นเนื่องจากขาดความชุ่มชื้นของไอน้ำจาก
ทะเลและมหาสมุทร
12. ลมประจำ เมื่อโลกรับและคายพลังงานความร้อน
จากดวงอาทิตย์ลมจะทำหน้าที่พัดพาพลังงานความร้อน
จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งส่งผลต่ออุณหภูมิ
ของอากาศบริเวณต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยจะเป็นไปตาม
ลมประจำพัดผ่านเช่นลมร้อนจะทำให้อากาศร้อนขึ้นลมเย็น
จะทำให้อากาศหนาวเย็นซึ่งลมจะมีผลต่ออุณหภูมิของ
อากาศในบริเวณนั้น ๆ
อุณหภูมิอากาศ คือค่าที่ี่บงบอกระดับความร้อนและความ
หนาวเย็นของอากาศ โดยใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิ เทอร์มอ
มิเตอร์
การแบ่งเขตภูมิอากาศของโลก
เขตร้อน (tropical zone)
อยู่ระหว่างละติจูด 23.5 องศาเหนือถึง 23.5 องศาได้แสง
อาทิตย์จะตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมชั้นทำให้พื้นที่เขตนี้ได้รับ
พลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าส่วนอื่นเป็นเขตที่มีอุณหภูมิ
เฉลี่ยแต่ละเดือนสูงกว่า 18 องศาเซลเซียสเป็นเขตที่มี
อากาศร้อนตลอดปีไม่มีฤดูหนาวลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ
เป็นแบบป่าดงดิบ (rainforest)
เขตอบอุ่น (temperate zone)
อยู่ระหว่างละติจูด 23.5 องศาเหนือถึงละติจูด 56.5 องศา
เหนือและละติจูด 23.5 องศาใต้ถึงละติจูด 86.5 องศาใต้
เป็นเขตที่มีอุณหภูมิของอากาศหนาวที่สุดเฉลี่ยต่ำกว่า 18
องศาเซลเซียส แต่สูงกว่า -3 องศาเซลเซียสเป็นเขตที่มีฤดู
หนาวและฤดูร้อนแตกต่างกันอย่างชัดเจนพืชพรรณธรรมชาติ
เป็นแบบป่าสน (boreal forest)
เขตหนาว (frigid zone)
เหนือละติจูด 56.5 องศาเหนือและใต้ละติจูด 56.5 องศาใต้
แสงอาทิตย์จะตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมลาดจนในฤดูหนาว
บางวันไม่มีดวงอาทิตย์ขึ้นเลยไม่มีฤดูร้อนอุณหภูมิของอากาศ
เฉลี่ยแต่ละเดือนต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสลักษณะพืชพรรณ
ธรรมชาติเป็นแบบทุนดรา (tundra)
สมดุลพลังงานของโลก
เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์ผ่านเข้ามาบนพื้นผิวโลกจะเกิด
การแผ่รังสีออกจากพื้นผิวโลกไปสู่อวกาศ ซึ่งจะ แผ่รังสีด้วย
กระบวนการต่าง ๆ เช่น แผ่รังสีโดยเมฆและบรรยากาศ แผ่
รังสีโดยการคายความร้อนให้อากาศ แผ่รังสีในรูปแบบความ
ร้อนแฝง
สมดุลพลังงานของโลก
พลังงานจากดวงอาทิตย์โดยเฉลี่ยที่โลกได้รับ พลังงานเฉลี่ยที่โลกปลดปล่อยกลับสู่อวกาศ
สมดุลพลังงานของโลก