STOP
sharing
Fake news
Fake News What is ?
Fake News แปลตรงๆจากภาษาอังกฤษแปลว่า ข่าวปลอม ข่าว
ลวง คำว่า Fake News เป็นคำที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตามยุคตามสมัย
หากนิยามตามความหมายของ “Fake News” มันก็คือข่าวปลอม
ข่าวไม่จริง โดยนิยามความหมายของ Fake News มีหลากหลาย
ทั้งยังมีการแบ่งประเภทของ Fake News ออกเป็นประเภทๆ เพื่อ
ให้เกิดการแบ่งเป็นหมวดหมู่ของ Fake News โดยองกรค์ First
Draft News ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านข่าวปลอมให้คำจำกัดความ
ของ Fake News ไว้เป็นข้อๆต่อไปนี้
False connection รักษา อ้างสรรพคุณ อ้างผลวิจัย โยงไปโยงมา แต่หาที่มาที่ไป
หรือข้อมูลเชิงวิชาการไม่ได้
Misleading ทำให้เข้าใจผิด – ข่าวลวงแบบ Misleading ถือว่าเป็นข่าวที่เกิดจากการ
ตั้งใจให้ข่าวผิด ตั้งใจบิดเบือดข่าว ให้เกิดความเข้าใจผิด โดยใช้ช่องโหว่ของคำพูดบาง
อย่าง มาบิดเบือดข้อความ เพื่อหวังผลทางด้านสังคมหรือการเมือง เช่น เพื่อน
ต้องการแกล้งเพื่อน อาจปล่อยข่าวว่าเพื่อนคนนี้ เป็นผีปอบ ทำให้เพื่อนหลายคน
เกลียดหรือไม่กล้าเข้าใกล้ หรือ ฝ่ายค้านจงใจปล่อยข่าว การขึ้นภาษี เพื่อให้ประชาชน
แตกตื่น ออกมาด่ารัฐบาล
False Context ต่างกรรมต่างวาระ – เรื่องนี้เราน่าจะเคยเห็นบ่อยๆ คือการนำคำพูด
เก่า เรื่องเก่าๆมาเล่าให้เป็นเรื่องใหม่ อาจหมายรวมถึงการนำภาพเก่า มาปะปนกับ
เรื่องใหม่ สร้างเรื่องหวังผลให้เป็นไปยังทิศทางที่ผู้เผยแพร่ต้องการ ซึ่งอาจเกิดจาก
การเข้าใจผิดหรือจงใจก็ได้
Satire Or Parody เสียดสีหรือตลก – การเสียดสีเป็นการนำข่าวหรือบุคล มาล้อ
เลียนทำเรื่องให้ตลก ซึ่งสารที่สือออกมา อาจจะไม่ใช้ข้อมูลที่จริงหรือไม่จริงก็ได้ หาก
คิดภาพไม่ออกลองเข้าเพจ “ข่าวปด” น่าจะนึกภาพออก
Impostor Content เนื้อหาหลอกลวง – ข่าวที่ถูกสร้างขึ้นมาจากสถานที่ปลอมๆ
เผยแพร่เนื้อหาแบบปลอมๆ เราจะเห็นข่าวแบบนี้ได้จากสือออนไลน์ มักเป็นสือที่ไม่
เป็นที่รู้จัก แต่อาจถูกแชร์กันมาเป็นทอดๆ จากผู้ขาดความรู้ในการรับสือ
Manipulated Content เนื้อหาตัดต่อ – เนื้อหาที่มีการตัดต่อ ภาพหรือเสียง หรือ
สือต่างๆ เพื่อให้เกิดการเข้าใจผิด
Fabricated Content – ปลอม หลอก 100% – ฉันนี้แหละผู้ร้ายตัวจริง สร้างมาเพื่อ
ปล่อยข่าวปลอม กระจายข่าว เนื้อหาทุกอย่างปลอมหมด
Coping Fake News
การรับมือ
•รับข่าวจากสือที่น่าเชื่อถือได้
•ไม่อ่านข่าวหรือรับข่าวจากสือใดสือหนึ่งเพียงด้านเดียว
•หากเป็นสรรพคุณ ยารักษาโรค สมุนไพร ควรหาแหล่งที่มา
หรือข้อมูลเชิงวิชาการมาหักล้าง
•อย่ากดแชร์ข้อมูลที่เราไม่รู้แหล่งที่มาหรือไม่รู้ว่าข่าวดังกล่าว
เป็นข่าวจริงหรือเปล่าเพราะคุณอาจเป็นต้นเหตุของการสร้าง
ความเสียหายที่เกิดจาก Fake News ได้โดยไม่รู้ตัว
Weakness Fake
ข้อเสีย News
ด้วยความที่สือสังคมออตไลน์มันง่าย เอานิ้วแตะ กดไลน์ กดแชร์ ไม่ใช่เรื่องยากอะไร
จึงมีคนที่คิดว่าจริงไม่จริงไม่รู้ แชร์ไปก่อน ก็แค่กดแชร์ แต่ความเสียหายของมัน อาจ
ส่งผลกับชีวิต ทรัพย์สิน ของใครหลายนก็เป็นได้ ดังตัวอย่างการสร้างความเสียหาย
ของ Fake News คร่าวๆไว้ดังนี้
สร้างความแตกตื่น
สร้างความขัดแย้ง
อาจส่งผลต่อชีวิต กรณีข่าวสรรพคุณยา สมุนไพร
อาจบิดเบือนให้คนเข้าใจแบบผิดๆ
How to spot
Real / Fake News online
วิธีการสังเกตข่าวจริง/ข่าวปลอมในโลกออนไลน์
1. อย่าหลงเชื่อหัวข้อข่าว ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่สะดุดตาที่ใช้ตัวหนาและ
เครื่องหมายอัคเจรีย์ (!) หากหัวข้อข่าวฟังดูหวือหวาและไม่น่าเป็นไปได้ ข่าวนั้นก็น่าจะ
เป็นข่าวปลอม
2. พิจารณาลิงก์อย่างถี่ถ้วน ลิงก์ปลอมหรือลิงก์ที่ดูคล้ายลิงก์จริง อาจเป็นสัญญาณ
เตือนของข่าวปลอม เว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากปรับเปลี่ยนลิงก์เล็กๆ น้อยๆ เพื่อ
เลียนแบบแหล่งข่าวจริง คุณสามารถไปที่เว็บไซต์และเปรียบเทียบลิงก์นั้นกับลิงก์ของ
แหล่ง
ข่าวที่ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือได้
3. ตรวจสอบแหล่งข่าว ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเรื่องราวนั้นเขียนขึ้นโดยแหล่งข่าวที่คุณ
เชื่อถือและมีชื่อเสียงด้านการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง หากเรื่องราวนั้นมาจากแหล่งข่าวที่คุณ
ไม่รู้จัก ให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” ของเพจแหล่งข่าวนั้นเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
4. สังเกตสิ่งที่ผิดปกติ เว็บไซต์ข่าวปลอมหลายแห่งมักสะกดคำผิดหรือมีการจัดวางรูป
แบบที่ดูไม่เป็นมืออาชีพ หากคุณเห็นลักษณะเหล่านี้ควรอ่านข่าวอย่างระมัดระวัง
5. พิจารณารูปภาพ ข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวีดีโอที่ถูกบิดเบือน บางครั้งรูปภาพอาจ
เป็นรูปจริงแต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว คุณสามารถค้นหารูปภาพนั้นเพื่อ
ตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของรูปภาพได้
6.ตรวจสอบวันที่ เรื่องราวข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสม
ผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์
7.ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าถูก
ต้อง หากไม่มีหลักฐานหรือความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีชื่อเสียง
อาจจะระบุได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม
8.ดูรายงานอื่น ๆ หากไม่มีแหล่งที่มาอื่นๆ ที่รายงานเรื่องราวเดียวกัน
อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอมหากมีรายงานข่าวโดยหลาย
แหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือได้มีแนวโน้มว่าข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวจริง
9.เรื่องราวนี้เป็นเรื่องตลกหรือไม่ บางครั้งอาจแยกข่าวปลอมจากเรื่อง
ตลกหรือการล้อเลียนได้ยาก ตรวจสอบดูว่าแหล่งที่มาของข่าวขึ้นชื่อ
เรื่องการล้อเลียนหรือไม่และรายละเอียดตลอดจนน้ำเสียงของข่าวฟังดู
เป็นเรื่องตลกหรือไม่
10.เรื่องราวบางเรื่องอาจตั้งใจเป็นข่าวปลอม ใช้วิจารณญาณเพื่อคิด
วิเคราะห์เรื่องราวที่คุณอ่าน และแชร์เฉพาะข่าวที่คุณแน่ใจว่าเชื่อถือได้
เท่านั้น
ในโลกดิจิทัล ทุก ๆ อย่างสามารถสร้างและปลอมแปลงได้
ความรุนแรงของข่าวลวงหรือข่าวปลอม คือ ความจริง
กลายเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ คนสนใจจะแชร์แต่ข้อมูลที่ตัวเอง
ชอบ และอยากจะเชื่อ ทำให้เกิดการสรุปหรือตัดสินไปก่อน
นำไปสู่ปัญหาการสร้างความเกลียดชัง หรือ Hate
Speech รวมทั้งปัญหาภัยไซเบอร์ ซึ่งทำให้เสียอนาคต และ
ทรัพย์สินได้ ดังนั้น ประชาชนควรได้รับความช่วยเหลือให้มี
ความรู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อข่าวลวงต่าง ๆ
“นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทำให้เกิดกระบวนการ
ทางกฎหมายที่ชัดเจนนำไปสู่ความรับผิดชอบที่สมเหตุสม
ผล เพิ่มบทลงโทษ เมื่อมีการทำผิดในการเผยแพร่ หรือส่ง
ต่อข้อมูลเท้จ ก็ให้ลงโทษตามยอด Follower ของผู้กระทำ
ความผิด เพื่อสร้างความตระหนัก และความรับผิดชอบใน
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ‘’
ในยุคดิจิทัลที่เกิดข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างมากมายและ
รวดเร็ว เราควรร่วมมือกันทำหน้าที่เผยแพร่และส่งต่อ
ข้อมูลที่ถูกต้อง มีประโยชน์ ไม่สร้างความเข้าใจผิด หรือ
ความตื่นตระหนกให้กับสังคม
Group Members
สมาชิกกลุ่ม
ปุณณวิช หิงสันเทียะ 58
นิรมล
สุริษา มุสะนะ 112
อาภานันท์
วรัญชัย จำเริญพูน 113
โสมวงศ์ศรีกุล 126
สุทธิพันธ์ 129