The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Cheeda, 2022-04-20 02:28:21

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

Keywords: ภาษา

ภาษาต่างประเทศ
ในภาษาไทย

นางสาวรอซีดา หมาดกะจิ
รหัสนิสิต 641996065
สาขาวิชา วิชาชีพครู
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ

ชื่อ...................................................ชั้น..............เลชที่.............

แบบทดสอบก่อนเรียน

เรื่อง คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

๑. คำภาษาบาลี หมายถึงอะไร

๒. คำภาษาสันสกฤต หมายถึงอะไร

๓. คำภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต เข้าแพร่หลายในประเทศไทยเมื่อใด

คำยืมภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต

พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทซึ่งใช้ภาษาบาลีได้แพร่หลายมาถึง
ประเทศไทยในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชพระองค์ได้ส่งพระธรรมทูต
เข้ามาประกาศพระศาสนา ๒ องค์ คือ พระโสณเถระกับพระอุตร
เถระ พระสาวกทั้งสององค์ได้มายังทวาราวดีหรือเมืองนครปฐม
ในปัจจุบันมีหลักฐานยืนยันทางประวัติศาสตร์ตอนนี้คือ ศิลารูป
ธรรมจักรจารึกคาถาหัวใจ พระศาสนาแบบเดียวกับที่ชาวอินเดีย
นิยมสร้างกันก่อนสมัยมีพระพุทธรูป ในสมัยนี้ภาษาบาลีก็เริ่มเข้ามา
ในภาษาไทย

ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาลัทธิมหายานแพร่หลายในอินเดีย
ชาวอินเดียก็นำลัทธิมหายานมาสอนยังประเทศต่างๆ เช่น
ประเทศกัมพูชา ไทยจึงได้รับและนับถือพุทธศาสนาลัทธิ
มหายาน ตามประเทศกัมพูชาไปด้วยพุทธศาสนานิกายนี้ใช้
ภาษาสันสกฤตเป็นเครื่องมือในการประกาศพระศาสนา จึง
ทำให้ภาษาสันสกฤตเข้ามาในภาษาไทย



วิธีการรับคำภาษาบาลี
และภาษาสันสกฤตเข้ามาใช้ในภาษาไทย




วิธีการรับคำภาษาบาลี

ภาษาบาลี เข้ามาปะปนในภาษาไทยภายหลังภาษา
สันสกฤต กล่าวคือ เข้ามาในสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมา
กับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งใช้ภาษาบาลีจารึกพระ
ไตรปิฎก และต่อมาไทยรับเอาศาสนาพุทธมาเป็นศาสนา
ประจำชาติการรับเอาพุทธศาสนามาปฏิบัติจำเป็นต้องศึกษา
แนวลัทธิเพื่อเข้าใจแตกฉาน ศึกษาหัวข้อธรรม แนวปรัชญา
ทั้งต้องยอมรับขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เข้ามาด้วย
ถ้อยคำที่ใช้ในศาสนาเป็นถ้อยคำที่ใช้ถ่ายทอดด้วยภาษา
สามัญไม่ได้เพราะไม่ลึกซึ้ง จึงจำเป็นต้องรับศัพท์เฉพาะทาง
ศาสนาเข้ามา เช่น นิพพาน เมตตา สงฆ์ พุทโธ เป็นต้น



วิธีการรับคำภาษาสันสกฤต

ภาษาสันสกฤต เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยอย่างมากมาย
นั้น เป็นเหตุผลทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม กล่าวคือ
เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ได้มีชนชาติอินเดียเดินทางเข้ามา
ค้าขายอยู่ตามดินแดนต่างๆ แถบแหลมอินโดจีน จนได้มาตั้ง
หลักแหล่งเป็นอาณาจักรตาม และ อาณาจักศรีวิชัย โดยได้นำ
ลัทธิ ศาสนา ประเพณี ความเชื่อของตน คือ ศาสนาพราหมณ์
ไปเผยแพร่ด้วยศาสนาพราหมณ์ไปถึงที่ใดภาษาสันสกฤตก็ตาม
ไปถึงที่นั้นด้วย โดยเฉพาะในราชสำนักซึ่งมักมีกิจพระราชพิธี
ต่างๆ เกี่ยวกับลัทธิไสยศาสตร์ และศาสนาพราหมณ์มากมาย
ทำให้เกิดวรรณคดีขึ้นหลายเรื่อง เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ,
ลิลิตยวนพ่าย, มหาชาติคำหลวงซึ่งเต็มไปด้วยคำศัพท์ภาษา
สันสกฤต เช่น ภิกษุ, ศึกษา, ฤๅษี, ฤทธิ์, กรรม ฯลฯ



การสังเกตลักษณะของภาษาบาลี
และภาษาสันสกฤต

ลักษณะของคำภาษาบาลี

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย (Inflectional Language) คือ
เป็นภาษาที่มีคำเดิม เป็นธาตุเมื่อจะใช้คำใดต้องนำธาตุไปประกอบกับ
ปัจจัย คือคำเติมหลังและวิภัตติ คือคำเติมท้ายเพื่อเป็นเครื่องหมาย
ให้รู้พจน์ ลิงค์ บุรุษกาล มาลา วาจกและเป็นภาษาอยู่ในตระกูล
อินโด - ยุโรเปียน ( Lndo European ) ภาษาบาลีเป็นภาษาอารยัน
ในอินเดียตอนกลางจัดอยู่ในตระกูลเดียวกับภาษาอังกฤษและภาษา
ยุโรปอีกหลายภาษา ภาษาอารยันซึ่งเป็นต้นตอของภาษาบาลีนี้เป็น
ภาษามาตรฐาน หรือภาษาชั้นสูงในอินเดียแบ่งออกเป็น ๓ สมัยคือ
สมัยพระเวท สมัยพราหมณะ - บาลีและภาษาสันสกฤต



การแบ่งวรรคพยัญชนะวรรคตามฐานที่เกิดเสียง

ฐานที่ วรรค แถวที่ แถวที่ แถวที่ แถวที่ แถวที่
เกิด ๑ ๒ ๓ ๔ ๕
เสียง

กัณฐชะ กะ ก ข ค ฆ ง
(คอ)

ตาลุชะ จะ จ ฉ ช ฌ ญ
(เพดาล)

มุทธชะ ฏะ ฏ ฐ ฑ ฒณ

(ปุ่มเหงือก)

ทันตะชะ ตะ ต ถ ท ธ น
(ฟัน)

โอษฐชะ ปะ ป ผ พ ภ ม

(ริมฝีปาก)

เศษวรรค : ย ร ล ว (ศ ษ) ส ฬ ห ํ (นฤคหิต)

หมายเหตุ เศษวรรค หมายถึง พยัญชนะที่มีฐานที่เกิดเสียงต่างวรรคกัน ° คือ นฤคหิตหรือ
นิคหิต อยู่หัวพยัญชนะจะอ่านออกเสียงเป็น อัง เช่น ปํ (ปัง) ขํ (ขัง) สํ (สัง) พลํ (พะ – ลัง)



๑. พยัญชนะวรรคแถวที่เป็นตัวสะกดได้ คือ แถวที่ ๑ , ๓ และ ๕
๒. ภาษาบาลีมีการสะกดที่แน่นอน

๒.๑ พยัญชนะ วรรคแถวที่ ๑ สะกด พยัญชนะวรรคแถวที่ ๑
หรือแถวที่ ๒ จะต้องตาม เช่น อุกกาบาต ทุกข์ กิจ(จ) สัจจะ มัจฉา
วัฎ(ฎ) สงสาร สมุฏฐาน เมตตา วัตถุ กัป (ป)

๒.๒ พยัญชนะวรรคแถวที่ ๓ สะกด พยัญชนะวรรคแถวที่ ๓
หรือแถวที่ ๔ จะต้องตาม เช่น อัคคี พยัคฆ์ รัช(ช) กาล มัชฌิม
วั(ฑ)ฒนะ นิพพาน ทุพภิกขภัย

๒.๓ พยัญชนะวรรคแถวที่ ๕ สะกด พยัญชนะแถวที่ ๑,๒,๓,๔
และ ๕ เป็นตัวตามได้ เช่น บัลลังก์ สังข์ องค์ สงฆ์ เบญจะ บัญชา
กัญญา เกณฑ์ อัณณพ (ห้วงน้ำ) นิมนต์ คันถธุระ นันท์ สุคนธ์ กินนร
กัมปนาท สัมผัส พิมพ์ คัมภีร์ สมมุติ

๒.๔ พยัญชนะเศษวรรคที่เป็นตัวสะกดในเมื่อตัวเองตาม คือ ย
ล ส เช่น อัยยิกา วัลลภ อัสสาสะ
๓. ตัวสะกดตัวตามถ้าเป็นพยัญชนะตัวเดียวกันให้ตัดออกตัวหนึ่ง
เช่น
จิตต เป็น จิต , วิชชา เป็น วิชา , รัชชกาล เป็น รัชกาล
เขตต เป็น เขต , ยุตติ เป็น ยุติ , อนุสสรณ์ เป็น อนุสรณ์
บุญญ เป็น บุญ , นิสสัย เป็น นิสัย ฯลฯ



๔. พยัญชนะวรรคฏะสะกด ( ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ) สะกด นิยมตัดตัวสะกด
เดิมออกแล้วใช้ตัวตามสะกดแทน เช่น วุฑฒิ เป็น วุฒิ
รัฏฐ เป็น รัฐ , อัฏฐิ เป็น อัฐิ , วัฑฒนา เป็น วัฒนา
ทิฏฐิ เป็น ทิฐิ ฯลฯ
๕. ภาษาบาลีนิยมใช้ “ฬ” เช่น จุฬา กีฬา อาสาฬหบูชา โอฬาร
๖. ภาษาบาลีใช้ “ส”
๗. ภาษาบาลีไม่มี ฤ ฤา ฦ ฦา
๘. ภาษาบาลีไม่นิยมใช้คำควบกล้ำ
๙. ภาษาบาลีไม่มี รร (รฺ หรือ ร เรผะ )

การสังเกตลักษณะภาษาสันสกฤตมี ดังนี้

๑. ภาษาสันสกฤตมีการสะกดตัวไม่แน่นอน เช่น อัคนี พนัส อาชญา

สัปดาห์ ทรัพย์ เป็นต้น

๒. ภาษาสันสกฤตนิยมใช้ “ศ ษ” เช่น ศาลา ศีรษะ ราษฎร พฤกษ์

กษัตริย์ เป็นต้น

๓. ภาษาสันสกฤตนิยมใช้ “ฑ ฒ” เมื่อภาษาบาลีใช้ “ฬ” เช่น จุฑา

กรีฑา ครุฑ เป็นต้น

๔. ภาษาสันสกฤตใช้ ฤ ฤาฦ ฦา ไอ เอาเช่น ฤดี ฤทัย ฤาษี เสาร์

ไอศวรรย์ เป็นต้น

๕. ภาษาสันสกฤตนิยมใช้ รร (รฺ แผลงเป็น รร ) เช่น กรรม ธรรม
ทรรศนะ มรรยาท เป็นต้น

๖. ภาษาสันสกฤตนิยมใช้คำควบกล้ำ เช่น เนตร อัคร สมัคร จักร ๗

บุตร ศาสตร์ เป็นต้น

ข้อแตกต่างระหว่างคำที่มาจาก
ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต

สระในภาษาบาลี

ภาษาบาลีมีสระ ๘ เสียง สระเดี่ยว ๖ เสียง สระประสม ๒

ฐานคอ (กัณฐชะ) สระเดี่ยว สระประสม
ฐานเพดาน (ตาลุชะ) อะ, อา เอ
ฐานปุ่มเหงือก (มุทธชะ) อิ, อี
ฐานฟัน (ทันตชะ) โอ
ฐานริมฝีปาก (โอษฐชะ) อุ, อู



สระในภาษาสันสกฤต

ภาษาสันสกฤตมีสระ ๑๔ เสียง สระเดี่ยว ๑๐ เสียง

สระประสม ๔ เสียง


สระประสม

สระเดี่ยว

ฐานคอ (กัณฐชะ) อะ, อา

ฐานเพดาน (ตาลุชะ) อิ, อี เอ, ไอ

ฐานปุ่มเหงือก (มุทธชะ) ฤ, ฤๅ

ฐานฟัน (ทันตชะ) ฦ,ฦๅ

ฐานริมฝีปาก (โอษฐชะ) อุ, อู โอ,เอา

คำที่มาจากภาษาอื่นที่ใช้สระไอ เอาฤ ฤๅ ส่วนมากเป็นคำที่มาจากภาษา
สันสกฤต เช่น ไกลาส ไปรษณีย์ไพบูลย์ ไมตรี ไอราวัณเมาลี เสาร์ เสวรภย์

(กลิ่นหอม) เอารส (ลูก)



พยัญชนะในภาษาบาลี

ภาษาบาลีใช้พยัญชนะ ๓๓ ตัว แบ่งตามฐานที่เกิดเสียง ดังนี้

ฐานคอ (กัณฐชะ) วรรคกะ ก ข ค ฆ ง

ฐานเพดาน (ตาลุชะ) วรรคจะ จ ฉ ช ฌ ญ

ฐานปุ่มเหงือก (มุทธชะ) วรรคฎะ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

ฐานฟัน (ทันตชะ) วรรคตะ ต ถ ท ธ น

ฐานริมฝีปาก (โอษฐชะ) วรรคปะ ป ผ พ ภ ม

เศษวรรค : ย ร ล ว ส ห ฬ ํ

พยัญชนะในภาษาสันสกฤต

ภาษาสันสกฤตใช้พยัญชนะ ๓๕ ตัว แบ่งตามฐานที่เกิดเสียง ดังนี้

ฐานคอ (กัณฐชะ) วรรคกะ ก ข ค ฆ ง

ฐานเพดาน (ตาลุชะ) วรรคจะ จ ฉ ช ฌ ญ

ฐานปุ่มเหงือก (มุทธชะ) วรรคฎะ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

ฐานฟัน (ทันตชะ) วรรคตะ ต ถ ท ธ น

ฐานริมฝีปาก (โอษฐชะ) วรรคปะ ป ผ พ ภ ม
๑๐เศษวรรค : ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ํ

การสภร้าางษคาำสใันนสภกาฤษตาบาลี

การสร้างคำในภาษาบาลี

๑. การสมาส คือการนำศัพท์ตั้งแต่ ๒ คำ มารวมเป็นคำเดี่ยวมี

ความหมายเกี่ยวเนื่องกันโดยไม่เปลี่ยนแปลงเสียง เช่น

- วาต + ภัย = วาตภัย

- วัฏ + สงสาร = วัฏสงสาร,

- ฉัพพรรณ + รังสี = ฉัพพรรณรังสี

๒. การสนธิ คือการนำศัพท์ตั้งแต่ ๒ คำ มารวมเป็นคำเดียวมี

ความหมายเกี่ยวเนื่องกันโดยมีการกลมกลืนเสียงเป็นเสียง

เดียวกัน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลง พยัญชนะ สระ นิคหิต ที่มา

เชื่อมกัน เช่น

สัมมา + อาชีพ = สัมมาชีพ เป็นสระสนธิ

สํ + คม = สังคม เป็นนิคหิตสนธิํ ๑๑

การสร้างคำในภาษาสันสกฤต

๑. การสมาส คือการนำศัพท์ตั้งแต่ ๒ คำ มารวมเป็นคำเดี่ยว
มีความหมายเกี่ยวเนื่องกันโดยไม่เปลี่ยนแปลงเสียง เช่น
- ศิลป + ศาสตร์ = ศิลปศาสตร์
- มานุษย + วิทยา = มานุษยวิทยา

๒. การสนธิ คือการนำศัพท์ตั้งแต่ ๒ คำ มารวมเป็นคำเดียวมี
ความหมายเกี่ยวเนื่องกันโดยมีการกลมกลืนเสียงเป็นเสียง
เดียวกัน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลง พยัญชนะ สระ นิคหิต ที่มา
เชื่อมกัน เช่น
- คณ+ อาจารย์ = คณาจารย์
- ภูมิ + อินทร์ = ภูมินทร์

๓. การใช้อุปสรรค คือการเติมพยางค์ประกอบหน้าศัพท์เป็น
ส่วนขยายศัพท์ ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น
- วิ – วิเทศ
- สุ – สุภาษิต
- อป – อัปลักษณ์

๑๒

ตัวอย่างคำภาษาต่างประเทศ
ในภาษาไทย

คำยืมจากภาษาบาลี

กฐิน (กะถิน) = ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์

เฉพาะ

กตเวที (กะตะเวที) = (ผู้) สนองคุณท่านใช้คู่กับกตัญญู (กต + เวที)

กตัญญู (กะตันยู) = (ผู้) รู้อุปการะที่ท่านทำให้, (ผู้) รู้คุณท่าน ใช้

คู่กับกตเวที (กต + ญู)

กติกา (กะ-) = กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายกำหนด

เป็นหลักปฏิบัติ ; หนังสือสัญญา,ข้อตกลง

เขต (เขต) = แดนที่กำหนดขีดคั่นไว้ , เวลาที่กำหนดขีดขั้นไว้

คคนางค์ (คะคะนาง) = ฟ้า (คคน + อง.ค)

คณบดี (คะนะบอดี) = หัวหน้ามหาวิทยาลัย (คณ + ปติ)

จริต (จะหริด) = ความประพฤติ,กิริยาอาการ

จลาจล (จะลาจน) = ความวุ่นวายในบ้านเมือง,ความปั่นป่วนใน

บ้านเมือง (จล + อาจล)

จารีต (-รีด) = ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน ๑๓

ชนก (ชะนก) = ชายผู้ให้กำเนิด, พ่อ
ชาตะ = เกิด
ชายา = เมีย
ชิวหา (ชิว-) = ลิ้น
เชาว์ (เชา) = ปัญญาหรือความคิดฉับไว,ปฏิภาณไหวพริบ
ไชย (ไช) = ดีกว่า,เจริญกว่า
ฐาน (ถาน) = ที่ตั้ง,ที่รองรับ
ฐานะ (ถานะ) = ตำแหน่งหน้าที่ ; หลักฐาน ; ลำดับความเป็นอยู่

ในสังคม
ฐิติ = การตั้งอยู่ ; การกินอยู่ ; ความมั่นคง
ดนู = ฉัน, ข้าพเจ้า ; ตัวตน ; เล็กน้อย
ดรุณ = เด็กรุ่น, หนุ่ม ; อ่อน ; รุ่น
ดาบส (ดาบด) = ผู้บำเพ็ญตบะ คือการเผากิเลส, ฤษี
ตบะ = พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว,การบะเพ็ญให้กิเลสเบาบาง
ตัณหา (ตันหา) = ความทะยานอยาก ; ความใครในกาม
ตุลา = คันชั่ง,ตราชู
ทนต์ (ทน) = ฟัน,งาช้าง
ทมิฬ (ทะมิน) = ดุร้าย,ร้านกาจ ; ชนเผาใหญ่ทางอินเดียใต้
ทรมาน (ทอระมาน) = ทำทารุณ,ทำให้ลำบาก
ทิฐิ (ทิดถิ) = ความเห็น ; ความอวดดื้อถือดี

๑๔

ทิวา = วัน
ทิฆัมพร (ทิคำพอน) = ท้องฟ้า (ทีฑ + อม.พร)
ธน (ทน, ทะนะ) = ทรัพย์สิน
ธรณี (ทอระนี) = แผ่นดิน,โลก
ธราดล (ทะราดน) = พื้นแผ่นดิน
ธัช (ทัด) = ธง
นภาลัย = ฟากฟ้า,กลางหาว
นโยบาย = หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ
นลาฏ (นะลาด) = หน้าผาก (คำราชาศัพท์)
นลิน (นะลิน) = ดอกบัว
นวมี (นะวะมี) = ที่ ๙
นานา = ต่างๆ
นิรันดร (-รันดอน) = ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป
บุรี = เมือง
ปฏิเสธ (- เสด) = ไม่รับ, ไม่ยอมรับ
ปฐพี (ปะถะพี) = แผ่นดิน
พยาธิ (พะยาทิ) = ความเจ็บไข้
พร (พอน) = คำแสดงความปรารถนาดี
พสุธา = แผ่นดิน
พิชัย = ความชนะ

๑๕

คำยืมจากภาษาสันสกฤต

กนิษฐ์ = น้อง, น้อย (คู่กับเชษฐ์)
กรกฎ (กอระกด) = ปู ; ชื่อกลุ่มดาวปู
กรม (กฺรม) = ลำดับ
กรรณ (กัน) = หู, ใบหู
กรรณิกา (กัน-) = ดอกไม้
กรรม (กำ) = การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบันหรือซึ่งจะ

ส่งผลร้ายต่อไปยังอนาคต
กรรมกร (กำมะกอน) = ผู้ใช้แรงงาน, คนงาน, ลูกจ้าง (กรฺม+ กร)
กรรมการ (กำมะกาน) = คณะบุคคลที่ร่วมกันทำงานที่ได้รับมอบ

หมาย (กรฺม + การ)
กรรมฐาน (กำมะถาน) = ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ
กรรมพันธุ์ (กำมะพัน) = มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, ลักษณะนิสัย-โรค

ที่สิบมาจากพ่อแม่ (กรฺม + พนฺธุ)
กรรมวาจา (กำมะ-) = คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์

(กรฺม + วาจา)
กรรมสิทธิ์ (กำมะสิด) = ความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน (กรฺม + สิทฺธิ)
กระษาปณ์ (-สาบ) = เงินตราที่ทำด้วยโลหะ กษาปณ์ก็ใช้

๑๖กริยา = คำที่แสดงอาการของนาม หรือสรรพนาม

กรีฑา = กีฬาประเภทลู่และลาน ; การเล่นสนุก

กฤษฎี (กฺริดสะดี) = รูป

กษมา (กะสะมา) = ความอดกลั้น, ความอดโทษ ; กล่าวคำขอโทษ

กษัตริย์ (กะสัด) = พระเจ้าแผ่นดิน ใช้เต็มคำว่า พระมหากษัตริย์

กาญจนา = ทอง

กานต์ = เป็นที่รัก (มักเป็นส่วนท้ายของสมาส)

กาพย์ = คำร้อยกรองจำพวกหนึ่ง

กายกรรม (กายยะกำ) = การทำด้วยกาย ; การตัดตนเพื่อให้

ร่างกายแข็งแรง (กาย + กรฺม)

กาลเทศะ (กาละเทสะ) = เวลาและสถานที่ ; ความควรไม่ควร

กาลกิณี (กาละ-, กานละ) = เสนียดจัญไร, ลักษณะที่เป็นอัปมงคล

กาลี = ชั่วร้าย, เสนียดจัญไร

กาสร (กาสอน) = ควาย

กำจร (กำจอน) = ฟุ้งไปในอากาศ

กีรติ = เกียรติ, ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ

กุลบุตร (กุลละบุด) = ลูกชายผู้มีตระกูล

กุลสตรี (กุนละสัดตฺรี) = หญิงผู้มีตระกูล

กุศล (-สน) = สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ ; ฉลาด

เกลศ (กะเหฺลด) = กิเกส

เกศ (เกด) = ผม, หัว

เกษตร (กะเสด) = ที่ดิน, ทุ่งนา, ไร่ ๑๗

เกษม (กะเสม) = ความสุขสบาย, ความปลอดภัย

เกษียณ (กะเสียน) = สิ้นไป

เกษียรสมุทร = ทะเลน้ำนม (กฺษีร + สมุทร)

เกียรติ์ (เกียด) = ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ

โกเมน = พลอยสีแดงเข้ม

โกรธ (โกฺรด) = ขุ่นเคืองใจอย่างแรง ; ไม่พอใจมาก

โกศ (โกด) = ที่ใส่ศพนั่งเป็นรูปกลมทรงกระบอกฝา

ครอบมียอด ; ที่ใส่กระดูกผี

โกศล (โกสน) = ฉลาด

คเชนทร์ (คะเชน) = พญาช้าง (คช + อินฺทร)

คณาจารย์ = อาจารย์ของหมู่คณะ, คณะอาจารย์ (คณ + อาจารฺย)

คณิตศาสตร์ (คะนิดตะสาด) = วิชาว่าด้วยการคำนวณ

(คณิต + ศาสฺตฺรย)

ครรภ์ (คัน) = ท้อง (เฉพาะท้องหญิงมีลูก)

คราส (คฺราด) = กิน ; จับ ; ถือ

ครุฑ (คฺรุด) = พญานก พาหนะของพระนารายณ์

คฤหบดี (คะรึหะบอดี) = ผู้มีอันจะกินซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน

๑๘

ภาษาบาลีเข้ามาในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้นำพุทธศาสนา
ลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาด้วย ภาษาสันสกฤตนั้นมีชนชาติอินเดีย เข้ามา
ค้าขายตามชายแดนแถบอินโดจีน ได้นำลัทธิศานาพราหมณ์ประเพณี
และความเชื่อต่างๆเข้ามาสรุปได้ว่าภาษาบาลี สันสกฤต เข้ามาปะปน
ในภาษาไทยทางด้านพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก ลักษณะของภาษาบาลี
สันสกฤตจะเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย (Inflectional Language) อยู่
ในตระกูล อินโด – ยุโรเปียน ( Lndo European ) ภาษาบาลี มีตัว
สะกดและตัวตามที่แน่นอน นิยมใช้พยัญชนะ ฬ,ส

ภาษาสันสกฤตไม่มีตัวสะกดและตัวตามที่แน่นอน นิยมใช้พยัญชนะ
ศ ษ ฑ ฒ ฤฤๅ ฦ ฦๅ รร (รฺ แผลงเป็น รร ) และนิยมใช้พยัญชนะควบ
กล้ำ ภาษาบาลีสร้างคำโดยใช้การสมาสและการสนธิ ส่วนภาษา
สันสกฤตนั้นสร้างคำโดยการใช้การสมาส การสนธิและการใช้อุปสรรค

๑๙

ใบงานที่ ๑
เรื่อง คำยืมภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต
( ลักษณะคำที่มาภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต )

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและได้ใจความ
....๒.๑.......๒........๓....................................................................................................................พใใพ......................หห......................ยย้้............................................ัันน......................ญญัั......................กก............................................ชช......................เเ......................รรนน......................ีี.................…....ยย.....................ะะ.....................นน….............….......ตว....................ั....................ออร.ว….........................................รธธ.....................ใิิ….....................ดคบบ..........................................…บ.แ....................าา.....................้.....................ถยยา............................................งววว......................ิิ......................ไใธธ......................ีี.ม.....................ด.กก.....................่......................นเ......................าาิ.ป......................ย.....................รร็......................น......................สสม......................ัั......................ตงงใ......................ั......................ชเเว......................้กก......................ใส........................ตต....................น..ะ..........................................ลลภ......................กัั......................กก.......…..............าด..........…..............................ษษษ..ไ…....................…..................ด.ณณา...................้.…...................บ.….......................................ะะ.…...................า.…...................ภภ....................ล.…...................ี.....................าา........................…ษษ............................................................าา............................................สบ.......................ั.........................น..................า............................................ลส......................ี..........................ก.......................................................ฤ....................................ต............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ชื่อ...................................................ชั้น...............เลขที่...........…

ใบงานที่ ๒
เรื่อง คำยืมภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต
(ลักษณะคำที่มาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต)

คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำที่กำหนดให้ใส่ในดอกไม้ให้ตรงกับกระถาง

กตัญญู ครุฑ ธนสาร บัณฑิต จลาจล
กนิษฐา ชีวิน ดนตรี คคนางค์ ธรณินทร์

ภบาาษลีา สันภสาษกฤาต

ชื่อ...................................................ชั้น...............เลขที่...........…


Click to View FlipBook Version