The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คำสมาส คำสนธิ (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Phitchayaporn Pianpipitjun, 2020-07-27 13:54:25

คำสมาส คำสนธิ (1)

คำสมาส คำสนธิ (1)

จัดทําโดย

นางสาวพิชญาภรณ์ เพียรพิพิธจันทร์
ม.๕/๓ เลขที่๑๖

คําสมาส
คําสนธิ

คํานํา

หนังสือ คําสามาส คําสนธิ จัดทําขึ้น
เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
โดยมีวุตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านเกิด
ความเข้าใจได้งา่ ย ในเรือ่ งของคํา
สมาส คําสนธิ ผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิง่
ว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แกผ่ ู้

อา่ น หากหนังสือเล่มนี้ผิดพลาด
ประการใดต้องขอภัยมา ณ ทีน่ ี้ด้วย

สารบญั

คําสมาส คําสนธิ หน้า

คําสมาส ๙
คําสนธิ


วันนี้นะคะเราจะมา
เรียนรู้กัน เรือ่ ง
คําสมาสและคําสนธิ

คําสมาส

คําทีเ่ กิดจากการนําคําในภาษาบาลี
และสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน
เพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความ
หมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความ
หมายเดิมอยู่

หลักการสังเกตคําสมาสในภาษาไทย

๑. เกิดจากคํามูลตั้งแตส่ องคําขึ้นไป
๒. เป็นคําทีม่ ีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี
และสันสกฤตเทา่ นั้น เช่น กาฬพักตร์
ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษร

ศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ

๓. พยางค์สุดท้ายของคําหน้า
หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่
ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคําบางคํา
เชน่ กิจจะลักษณะ เป็นต้น)
๔. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น
ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระ
ราชา, เทวบัญชา แปลวา่ คําสัง่ ของ
เทวดา,ราชการ แปลวา่ งานของ

พระเจ้าแผ่นดิน

๕. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของ
คําหน้า แม้จะไมม่ ีรูปสระกํากับอยู่

โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น
เทพบุตร) แตบ่ างคําก็ไม่ออกเสียง
(เชน่ สมัยนิยม สมุทรปราการ)

๖. คําบาลีสันสกฤตที่มีคําวา่ พระ ซึ่ง
กลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็
ถือวา่ เป็นคําสมาส (เชน่ พระกร
พระจันทร์)

๗. ส่วนใหญจ่ ะลงท้ายวา่ ศาสตร์ กรรม
ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เชน่
ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)
๘.คําที่มีคําเหล่านี้อยูด่ ้วย มักจะเป็นคํา

สมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี
ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์ วิทยา ศาสตร์

๙.อ่านออกเสียงระหว่างคํา

ยกตัวอย่างการอา่ นออกเสียงระหว่างคํา

คํา คําอา่ น

๑.ประวัติศาสตร์ ประ –หวัด –ติ –ศาสตร์
๒.นิจศีล นิจ –จะ –สีน
๓.ไทยธรรม ไทย –ยะ –ทํา
๔.อุทกศาสตร์
๕.อรรถรส อุ –ทก –กะ –สาด
อัด –ถะ –รด

ขอ้ สังเกต

๑. ไม่ใชค่ ําทีม่ าจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด
เชน่
เทพเจ้า
(เจ้า เป็นคําไทย)
พระโทรน
(ไม้ เป็นคําไทย)
พระโทรน
(โทรน เป็นคําอังกฤษ)
บายศรี
(บาย เป็นคําเขมร)

๒.คําทีไ่ มส่ ามารถแปลความจากหลังมาหน้า
ได้ไม่ใช่คําสมาส เช่น
ประวัติวรรณคดี
แปลว่าประวัติของวรรณคดี
นายกสมาคม แปลวา่ นายกของสมาคม
วิพากษ์วิจารณ์ แปลวา่ การวิพากษ์และการ
วิจารณ์

๓. คําสมาสบางคําไม่ออกเสียงสระตรง

พยางค์ของคําหน้า เชน่

สุภาพบุรุษ อ่านว่า
สุ –พาบ– บุ –หรุด
สุพรรณบุรี

อา่ นว่า
สุ –พรรณ– บุ –รี
สามัญศึกษา

อ่านวา่
สา –มัน –สึก –สา

ตัวอย่างคําสมาส

ธุรกิจ กิจกรรม กรรมกร
ขัณฑสีมา คหกรรม เอกภพ
กาฬทวีป สุนทรพจน์ จีรกาล
บุปผชาติ ประถมศึกษา ราชทัณฑ์
มหาราช ฉันทลักษณ์ พุทธธรรม
วรรณคดี อิทธิพล มาฆบูชา
มัจจุราช วิทยฐานะ วรรณกรรม
สัมมาอาชีพ หัตถศึกษา ยุทธวิธี
วาตภัย อุตสาหกรรม สังฆราช
รัตติกาล วสันตฤดู สุขภาพ

คําสนธิ

คือการสมาสโดยการเชือ่ มคําเข้า
ระหว่างพยางค์หลังของคําหน้ากับ
พยางค์หน้าของคําหลัง เป็นการย่อ
อักขระให้น้อยลงเวลาอา่ นจะเกิด

เสียงกลมกลืนเป็นคําเดียวกัน

หลักสังเกตคําสนธิในภาษาไทย

การสนธิแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. สระสนธิ ๒. พยัญชนะสนธิ

๓. นฤคหิตสนธิ

๑. สระสนธิ คือการนําคําทีล่ งท้ายด้วยสระไป
สนธิกับคําที่ขึ้นค้นด้วยสระ ซึง่ เมือ่ สนธิแล้วแจะมี
การ เปลีย่ นแปลงรูปสระตามกฏเกณฑ์

- ตัดสระพยางค์ท้ายคําหน้า แล้วใช้สระพยางค์
หน้าคําหลัง เชน่

เช่นราช + อานุภาพ=ราชานุภาพ
สาธารณ + อุปโภค=สาธารณูปโภค

- ตัดสระพยางค์ท้านคําหน้า และใช้สระพยางค์
ต้นของคําหลัง โดยเปลี่ยนสระพยางค์ต้นของคําหลัง

อะ เป็น อา อิ เป็น เอ
อุ เป็น อู อุ, อู เป็น โอ

เชน่
พงศ + อวตาร=พงศาวตาร
ปรม + อินทร์=ปรเมนทร์

- เปลี่ยนสระพยางค์ท้ายของคําหน้าเป็น
พยัญชนะ คือ อิ อี เป็น ย อุ อูเป็น ว

ใช้สระพยางค์ต้นของคําหลังซึง่ อาจเปลี่ยนรูปหรือไม่
เปลีย่ นรูปก็ได้ ในกรณีที่สระพยางค์ต้นของคําหลัง
ไมใ่ ช่ อิ อี อุ อู อย่างสระตรงพยางค์ท้ายของคําหน้า

เชน่
กิตติ + อากร=กิตยากร
สามัคคี + อาจารย์=สามัคยาจารย์

คําสนธิบางคําไมเ่ ปลีย่ นสระ อิ อี เป็น ย แตต่ ัดทิ้ง ทั้ง
สระพยางค์หน้าคําหลังจะไม่มี อิ อี ด้วยกัน เชน่
ศักคิ + อานุภาพ=ศักดานุภาพ

๒. พยัญชนะสนธิ คือการเชือ่ มคําด้วยพยัญชนะ
เป็นการเชื่อมเสียง พยัญชนะในพยางค์ท้ายของ
คําแรกกับเสียงพยัญชนะหรือสระในพยางค์แรก

ของคําหลัง เชน่

-สนธิเข้าด้วยวิธี โลโป คือลบพยางค์สุดท้าย
ของคําหน้าทิ้ง เช่น
นิรส + ภัย=นิรภัย

ทุรส + พล=ทุรพล
อายุรส + แพทย์=อายุรแพทย์
-สนธิเข้าด้วยวิธี อาเสโท คือแปลงพยัญชนะท้ายของ
คําหน้า เป็นสระ โอ แล้วสนธิตามปกติ เช่น

มนส + ภาพ=มโนภาพ
ยสส + ธร=ยโสธร

รหส + ฐาน=รโหฐาน

๓. นฤคหิตสนธิ คือ การเชือ่ มคําด้วย
นฤคหิต เป็นการเชื่อมเมือ่ พยางค์หลัง
ของคําแรกเป็นนฤคหิตกับเสียงสระใน
พยางค์แรกของคําหลัง มี ๓ วิธี คือ

๑. นฤคหิตสนธิกับสระ ให้เปลีย่ นนฤคหิตเป็น
ม แล้วสนธิกัน
เชน่ สํ + อาคม = สม + อาคม =สมาคม

สํ + อุทัย = สม + อุทัย = สมุทัย

๒. นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะของวรรค ให้
เปลีย่ นนฤคหิตเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของ

พยัญชนะในแต่ละวรรค ได้แก่

วรรคกะ เป็น ง วรรคจะ เป็น ญ
วรรคตะ เป็น วรรคฏะ เป็น ณ
วรรคปะ เป็น ม

3. วรรคกะ เป็นสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค
ให้เปลีย่ นนฤคหิต เป็น ง

ตัวอย่างคําสนธิ
นครินทร์ ราโชวาท
ราชานุสรณ์ คมนาคม
ผลานิสงส์ ศิษยานุศิษย์
ราชินยานุสรณ์ สมาคม

จุลินทรีย์ ธนคาร
มหิทธิ นภาลัย

ธนาณัติ สินธวานนท์
หิมาลัย ราชานุสรณ์
จุฬาลงกรณ์ มโนภาพ

รโหฐาน สงสาร
หัสดาภรณ์


Click to View FlipBook Version