The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กลไกการพัฒนามัคคุเทศก์สู่การท่องเที่ยวยั่งยืน2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Yadamon Ja, 2022-09-07 00:29:04

กลไกการพัฒนามัคคุเทศก์สู่การท่องเที่ยวยั่งยืน

กลไกการพัฒนามัคคุเทศก์สู่การท่องเที่ยวยั่งยืน2

1

กลไกการพัฒนามคั คเุ ทศก์
ส่กู ารทอ่ งเที่ยวยัง่ ยืน

วิทยาลัยชมุ ชนสตลู

กระทรวงการอดุ มศึกษา วิทยาศาสตร์ วจิ ยั และนวัตกรรม



คำนำ

วิทยาลัยชุมชนสตูลมีปรัชญาเบื้องต้นที่เชื่อว่าบุคคลมีศักยภาพอยู่ในตัว ถ้าเขามีโอกาสและ
ไดร้ บั คำแนะนำในทางที่ถูกต้องเหมาะสม เขาจะสามารถพฒั นาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มท่ีและ
เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่งต่อชุมชนและสังคม ดังนั้น วิทยาลัยชุมชนสตูลจึงมีทิศทางการพัฒนา
บุคลากรเป็นหลักสำคญั เพื่อมุง่ สร้างคน สร้างความรู้ เพอื่ ชุมชน ลดความเหลอื่ มล้ำทางสังคม อยู่ร่วม
ประชาคมอาเซียนบนพื้นฐานของความเป็นไทย การดำเนินงานของวิทยาลัยชุมชนสตูลจำแนกตาม
พนั ธกจิ ดงั น้ี

1. จดั การศึกษาในระดับอดุ มศึกษาทต่ี ำ่ กวา่ ปริญญา
2. ฝึกอบรมด้านวิชาการหรือด้านวิชาชีพ
3. วจิ ยั และบรกิ ารทางวิชาการเพอ่ื การพัฒนาชุมชน
4. ทะนบุ ำรุงศลิ ปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น
5. สง่ เสรมิ การเรียนรตู้ ลอดชวี ิตเพื่อสร้างความเขม้ แขง็ ของท้องถ่นิ และชุมชน

การจัดทำกลไกการพฒั นามัคคเุ ทศก์สู่การทอ่ งเทีย่ วยั่งยืน เป็นการเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบ
การบริหารจัดการหลักสูตรการพัฒนามัคคุเทศก์ โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรท่ี
เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการชุมชนตามบริบทของวิทยาลัยชุมชนสตูล โดยการ
วิเคราะห์ สังเคราะห์สภาพของปัญหา ความต้องการของชุมชน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานต้น
สังกัด หน่วยงานพันธมิตรที่เป็นเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งนำหลักการจัดการ ทฤษฎี
และประสบการณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนมีความ
เข้มแข็ง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถพัฒนาตนเอง ต่อยอดความรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพ
โดยใช้ทุนชุมชนในการขับเคลื่อนสร้างกลไกเพื่อพัฒนาชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนที่
นำไปสู่การสร้างงาน สรา้ งอาชีพ สรา้ งรายได้ อย่างต่อเนอื่ งและยัง่ ยนื ต่อไป

วิทยาลัยชุมชนสตูล
18 กรกฎาคม 2565



สารบญั หน้า

เรื่อง ก

คำนำ 1
สารบัญ 1
การพฒั นามัคคเุ ทศกส์ กู่ ารท่องเท่ียวยั่งยืน 1
ขั้นตอนการศกึ ษา วางแผน ออกแบบ และดำเนินการฝึกอบรมหลกั สตู รฝกึ อบรมมคั คเุ ทศก์
4
๑. การรวบรวมขอ้ มลู / กลุ่มเป้าหมาย 10
๒. ดำเนนิ การพัฒนาหลักสูตร 12
๓ ขน้ั ดำเนินการฝกึ อบรม 13
4. สรุปกลไกการพัฒนามคั คุเทศก์สู่การทอ่ งเที่ยวยง่ั ยืน 14
เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก

กลไกการพฒั นามคั คเุ ทศก์ส่กู ารท่องเทยี่ วย่ังยนื

การพัฒนามคั คุเทศก์สู่การทอ่ งเทย่ี วย่ังยืน
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่จัดอยู่ในลำดับต้น ๆ ของประเทศที่มีขีด

ความสามารถในการแข่งขันระดบั นานาชาติ แตจ่ ำเปน็ ตอ้ งมีการพฒั นาอย่างต่อเน่ือง เป็นแผนยุทธศาสตร์การ
ท่องเที่ยว ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย โดยได้มีการปรับวิสัยทัศน์ มีการระดมความ
ร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้มี
ความพร้อมที่จะพัฒนา และใช้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญในการสร้างรายได้ให้กับ
ประเทศไทย ใหก้ ระจายทวั่ ถงึ ทุกภูมภิ าคอยา่ งม่นั คงและย่ังยืน

จากวิสัยทัศน์จังหวัดสตูลที่ต้องการพัฒนาจังหวัดสตูลไปสู่ เมืองการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชั้นนำของ
อาเซียน เมืองเกษตรมาตรฐาน เมืองแห่งความสุข โดยในแต่ละปีจะมีนักทอ่ งเทีย่ วมาเยี่ยมเยือนจังหวัดสตูล
มากขึ้นทกุ ปี และจากงานวจิ ัยศกึ ษาความต้องการการศึกษาของวทิ ยาลัยชมุ ชนสตูล ปี ๒๕๕๑ (กลมุ่ อาชีพด้าน
การท่องเที่ยว) พบว่า ความต้องการในการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นในกลุ่มอาชีพด้านการท่องเที่ยว อันดับ
๑ กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการในการฝึกอบรมเกี่ยวกับมัคคุเทศก์เฉพาะทะเลชายฝั่ง คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๕
รองลงมาคือมัคคุเทศกเ์ ฉพาะแหลง่ ท่องเท่ียวทางธรรมชาติ คิดเปน็ รอ้ ยละ ๓๔.๖ เปน็ ต้น

จากเหตุผลดังกล่าวผู้รับผิดชอบจึงดำเนินการพัฒนา ปรับปรุง และจัดฝึกอบรมหลักสูตรที่สอดคล้อง
กับยุทธศาสตรจ์ งั หวัดสตูลดา้ นการท่องเท่ียวซง่ึ ไดด้ ำเนินการจัดหลักสูตรที่เป็นการเตรียมคนเข้าสู่อุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรทางด้านมัคคุเทศก์ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานอย่างผิดกฎหมาย (ไกด์เถื่อน)
ให้ได้รับบัตรมัคคุเทศก์ทำงานถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อความน่าเชื่อถือของนักท่องเที่ยว ทำให้มีการพัฒนา
ศกั ยภาพทางด้านการบริการการท่องเท่ียวในการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวตา่ งประเทศ เพ่ือเป็น
การพัฒนาคนและสังคมบนพื้นฐานของความหลากหลายให้สอดคล้องกับความต้องการของวิถีชีวิต และ
วัฒนธรรมของประชาชนในพืน้ ท่ี โดยมรี ายละเอียดดังนี้

ขั้นตอนการศกึ ษา วางแผน ออกแบบ และดำเนนิ การฝกึ อบรมหลักสูตรฝกึ อบรมมคั คุเทศก์
๑. การรวบรวมข้อมูล / กลุ่มเป้าหมาย ดำเนนิ การตามขนั้ ตอนดังนี้
๑.๑ ศึกษาความต้องการในการศกึ ษาของชมุ ชนจังหวดั สตูล
จากผลการศึกษาความต้องการการศึกษาของชุมชนในจังหวัดสตูล ของวิทยาลัยชุมชนสตูล

ในด้านความต้องการการศึกษาหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งได้ดำเนินการศึกษาจากประชาชนทั่วไปในจังหวัดสตูล
เช่น กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้นำศาสนา กลุม่ กำนนั กลมุ่ ผู้ใหญบ่ า้ น กลมุ่ องคก์ ารบริการส่วนตำบล กลุ่ม
เกษตรกร กลมุ่ แมบ่ ้าน กลมุ่ เยาวชน กลุ่มนักเรยี น นกั ศกึ ษา โดยจำแนกเปน็ ๒ กลมุ่ คอื

• กลุ่มพฒั นาคณุ ภาพชีวิต ศึกษา ดา้ นภาษา ดา้ นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ดา้ นสขุ ภาพ ด้าน
พัฒนาบคุ ลิกภาพ และด้าน การสง่ เสรมิ การบรหิ ารจัดการ เปน็ ตน้

• กลมุ่ อาชีพ ศกึ ษาด้านเกษตรกรรม ธุรกิจ การทอ่ งเที่ยว อาหาร-ขนม ศลิ ปประดิษฐ์ และการ
ตัดเย็บ

สำหรับกลุ่มอาชีพ ความต้องการของประชาชนด้านการท่องเที่ยว พบว่ามีความต้องการฝึกอบรม
หลักสูตรระยะสั้น ตามลำดับความต้องการดังนี้ มัคคุเทศก์เฉพาะทะเลชายฝ่ัง(๔๐.๕ %) มคั คุเทศก์เฉพาะแหล่ง
ทอ่ งเที่ยวทางธรรมชาติ (๓๔.๖ %) โฮมเสตย์ (๙.๖ %) เช่น มคั คเุ ทศกเ์ ดนิ ป่า (๙.๔ %) และหลกั สูตรอ่ืน ด้าน
การทอ่ งเทย่ี ว (๕.๙%)

2

๑.๒ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการของชุมชน จากสถิติ
การท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวในของจังหวัดสตูล และจากผลการศึกษาความต้องการในการศึกษาของ
ชุมชนจังหวัดสตูล จึงทำให้วิทยาลัยชุมชนได้มีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดหลักสูตรให้ตอบสนอง
ความต้องการของชุมชน โดยดำเนินการดงั นี้

๑.๒.๑ จากผลการศึกษาความต้องการของประชาชน ด้านการท่องเที่ยว พบว่า หลักสูตรที่
ประชาชนต้องการนั้น สอดคล้องกับสภาพจังหวัดสตูลที่มีแหล่งท่องเท่ียวมากมาย เนื่องจากจังหวัดสตูลเปน็
จังหวัดหนึ่งของภาคใต้ ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดตรังและจังหวัดสงขลา ฝั่งทะเลอันดามัน มี การตื่นตัวและให้
ความสำคัญกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมาตลอด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันกับนานาประเทศ
และเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้ประเทศไทยคงความเป็นผู้นำทางการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียอย่าง
ตอ่ เนอ่ื ง เพอ่ื ก้าวสู่ความเป็น World Class Destination ควบคกู่ ับการขยายตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพต่อไป
และรายงานสถิติจังหวัดสตูล และจังหวัดใกล้เคียงในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวตา่ งชาติเข้ามา
ท่องเที่ยวปีละจำนวนมาก และการท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง หากนักท่องเที่ยวต้องการข้อมูลเชิงลึกของสถานที่
เที่ยวนั้น ๆ จำเป็นต้องมีผู้นำเที่ยว ผู้ให้คำแนะนำ ให้ความรู้ และข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ หรือที่เรียกกันว่า
“มคั คเุ ทศก”์ ซึ่งเป็นอาชพี ท่ีสามารถสร้างรายได้ให้กบั ตนเอง ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ประกอบกับจาก
การสมั ภาษณ์ บริษัทนำเท่ียวของจังหวดั สตูล พบว่าผู้นำเที่ยวในจงั หวัดสตูล หรือมัคคเุ ทศก์ ยังเป็นมัคคเุ ทศก์
ที่ผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ถึงร้อยละ ๘๐ โดยเฉพาะผู้นำเที่ยวทาง
ธรรมชาติแถบอำเภอมะนังไม่มีใบอนุญาตสำหรับการเป็นมัคคุเทศก์เลย ดังน้ันเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม
สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล โดยเฉพาะด้านบุคลากร วิทยาลัยชุมชนสตูลจึงเล็งเห็นวา่
การจัดหลักสูตรด้านการท่องเที่ยวเป็นการตอบสนองความต้องการของชุมชน และตอบสนองยุทธศาสตร์
จังหวัดสตูล และวิสัยทัศน์จังหวัดสตูล ที่ว่า “เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การเกษตรยั่งยืน เมืองท่าฝั่งอันดามัน
สังคมแห่งการเรยี นรู้ อยรู่ ่วมกนั อยา่ งสันตสิ ุข”

โดยผู้รับผิดชอบได้ดำเนินการติดต่อประสานงานเพื่อสอบถามข้อมูล และข้อเสนอแนะถึงความ
เปน็ ไปได้ในการจดั หลกั สตู รดา้ นการท่องเทยี่ วกับหนว่ ยงานต่าง ดังน้ี

• สำนักงานทะเบียนและมัคคุเทศก์ภาคใต้เขต ๑ จังหวัดสงขลาในเรื่องของ
วิธีดำเนนิ การในการจัดฝึกอบรม และหลกั สตู รในการจดั ฝึกอบรม โดยปรกึ ษาหารือ
กับทางนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนและมัคคุเทศก์ภาคใต้เขต ๑ จังหวัดสงขลา
(เมื่อก่อนตำแหน่งนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนและมัคคุเทศก์ภาคใต้เขต ๑
จังหวัดสงขลา กับตำแหน่งผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
จังหวัดสงขลาเป็นคนเดียวกัน)

• การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จังหวัดสงขลา ในเร่อื งการขอความเห็นชอบใน
การดำเนินการฝึกอบรม และกำหนดคุณสมบัติของวิทยากร (เนื่องจากเริ่มแรกที่ทาง
วิทยาลัยชุมชนสตูลดำเนินการ ในเรื่องของการขออนุมัติดำเนินการจัดฝึกอบรม
ทางการท่องเทย่ี วแห่งประเทศไทยเปน็ ผู้รับผดิ ชอบ แต่พอมาปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้มีการ
เปลี่ยนแปลงหน่วยงานรับผิดชอบมาเป็นสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว โดยกรมการ
ทอ่ งเทยี่ วรบั ผิดชอบแทน)

• กรมการท่องเที่ยว เป็นหน่วยงานที่ให้ความเห็นชอบหลักสูตรฝึกอบรม และออก
วฒุ ิบตั รร่วมกบั วทิ ยาลยั ชุมชนสตูล

• มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรให้
สอดคล้องกับสภาพพื้นฐานความรู้ อาชีพ และสภาพสังคมของคนในชุมชน

3

เนื่องจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่มีผู้เชี่ยวชาญในการ
พัฒนาหลกั สตู ร

• มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในเรื่องของการหารือเกี่ยวกับวิทยากรที่เชี่ยวชาญ
โดยตรงด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้เปิดสอนใน
สาขาวิชาอตุ สาหกรรมการทอ่ งเทยี่ ว

• การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล ในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย และผู้ประกอบการด้าน
การทอ่ งเท่ียวในจังหวดั สตลู เน่ืองจากการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูลเป็นผู้ดูแล
งานด้านการทอ่ งเที่ยวของจังหวัดสตูลโดยตรง

๑.๓ สรุปผล วิเคราะหค์ วามต้องการอาชีพดา้ นการท่องเทยี่ วของชมุ ชน
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าหลักสูตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ และ

วิทยาลยั ชุมชนสตลู สามารถดำเนินการเปดิ ฝึกอบรมได้ มีดงั นี้

ตารางท่ี 1 สรุปผล วิเคราะหค์ วามตอ้ งการอาชีพดา้ นการท่องเที่ยวของชุมชน

หลกั สูตร วัตถปุ ระสงค์ กลุ่มเปา้ หมาย หมายเหตุ
1. มคั คเุ ทศก์ เพอ่ื ผลิตมัคคเุ ทศก์ทม่ี ีคุณภาพ ประชาชนทัว่ ไป, บุคคลท่ี
เฉพาะทะเล มคี วามรู้ ความสามารถ และ ประกอบอาชีพอยู่แล้ว และผู้ท่ี ฝึกอบรมจบหลักสตู ร
ชายฝั่ง มีคณุ ธรรม จริยธรรม เพยี งพอกับ กำลังจะก้าวเขา้ สู่อาชีพ เพ่ือเปน็ จะได้รับวุฒบิ ัตรของ
การขยายตวั ของอตุ สาหกรรมการ อาชพี หลัก หรืออาชพี เสรมิ สำนกั ทะเบียนธรุ กจิ นำ
2. มัคคเุ ทศก์ ทอ่ งเทยี่ วของประเทศ และเพ่ือ ทีบ่ ริการนำเท่ยี วทางทะเลชายฝ่งั เท่ียว และมัคคเุ ทศก์
เฉพาะแหลง่ สง่ เสริมอาชีพมัคคเุ ทศก์และธุรกิจการ และตามเกาะแก่งต่างๆ สามารถ กลาง (ลงนามรว่ มกนั
ท่องเทยี่ ว ทอ่ งเทยี่ วทางทะเลชายฝงั่ ของพืน้ ท่ีท่ี นำเทย่ี วไดท้ ัง้ ชาวไทย และ โดยผ้อู ำนวยการ
ธรรมชาติ อย่ตู ิดทางชายฝ่ังทะเลตามเกาะแก่ง ต่างประเทศ วทิ ยาลยั ชุมชนสตลู
ตา่ งๆ อทุ ยานแห่งชาติทางทะเลให้ และอธิบดีกรมการ
ย่งั ยนื ตลอดไป ประชาชนท่วั ไป, บุคคลท่ี ทอ่ งเทยี่ ว) เพ่ือนำไปขน้ึ
ประกอบอาชีพอยู่แล้ว และผ้ทู ี่ ทะเบยี นมัคคเุ ทศก์
เพอ่ื ผลติ มัคคเุ ทศก์ทม่ี ีคณุ ภาพ มี กำลงั จะก้าวเข้าสอู่ าชีพ เพ่ือเป็น จะได้บตั รสีเหลือง
ความรู้ ความสามารถ และ มี อาชีพหลกั หรืออาชพี เสรมิ ที่
คุณธรรม จรยิ ธรรม เพียงพอกบั การ บริการนำเทย่ี วในเขตรักษาพันธ์ุ ฝกึ อบรมจบหลักสูตร
ขยายตัวของอตุ สาหกรรมการ สัตว์ป่าเขาบรรทัด และเทือกเขา จะได้รบั วฒุ ิบัตรของ
ท่องเทย่ี วของแหลง่ ท่องเท่ยี ว นครศรีธรรมราช สามารถนำ สำนักทะเบียนธรุ กจิ
ธรรมชาติ และเพอ่ื ส่งเสริมอาชพี เทยี่ วไดท้ ง้ั ชาวไทย และตา่ ง นำเทย่ี ว และมคั คเุ ทศก์
ด้านการท่องเที่ยวแหล่งทอ่ งเท่ียว ประเทศ (ลงนามร่วมกันโดย
ทางธรรมชาติในเขตรักษาพนั ธ์สุ ัตว์ปา่ ผอู้ ำนวยการวทิ ยาลยั
เขาบรรทัด และเทือกเขา ชมุ ชนสตูล และอธบิ ดี
นครศรีธรรมราช ในบริเวณสถานท่ี กรมการท่องเท่ยี ว)
ลอ่ งแก่ง ถ้ำ และโฮมสเตย์ ให้ยงั่ ยืน เพือ่ นำไปขึ้นทะเบียน
ตลอดไป มัคคุเทศก์ จะได้บัตร
สมี ่วง

4

หลักสูตร วัตถุประสงค์ กลมุ่ เป้าหมาย หมายเหตุ
3. มคั คุเทศก์
เฉพาะ เพอื่ ผลติ มัคคุเทศก์ท่มี ีคณุ ภาพ เน่อื งจากเป็นความต้องการของ ฝกึ อบรมจบหลักสูตร
ต่างประเทศ มคี วามรู้ ความสามารถ และ มี
เฉพาะพืน้ ที่ คุณธรรม จรยิ ธรรม เพียงพอกบั การ มคั คุเทศก์ทางทะเลชายฝั่ง และ จะไดร้ ับวุฒบิ ัตรของ
ขยายตวั ของอตุ สาหกรรมการ
4. มัคคเุ ทศก์ ทอ่ งเท่ยี วของภาคใต้ และเพื่อ ประชาชนท่ัวไป ท่ีบริการนำ สำนกั ทะเบียนธรุ กจิ
ท่วั ไป สง่ เสรมิ อาชีพดา้ นการท่องเที่ยว
เฉพาะพ้นื ทจ่ี ังหวัดสตูล และจังหวดั เที่ยวในพื้นท่ีจังหวดั สตลู และ นำเท่ียว และมัคคเุ ทศก์
ใกลเ้ คยี งที่มีอาณาเขตติดต่อ และ
เพอ่ื ตอบสนองต่อความต้องการของ จงั หวัด ใกลเ้ คียงที่มีอาณาเขต กลาง (ลงนามรว่ มกนั
มคั คุเทศก์ที่ต้องการนำเทยี่ วให้ได้
พ้ืนที่ที่กว้างขวางมากขึ้น ติดตอ่ สามารถนำเทีย่ วได้ท้ังชาว โดยผอู้ ำนวยการ

เพอ่ื ผลติ มัคคเุ ทศก์ที่มีคณุ ภาพ มี ไทย และต่างประเทศ ทำให้ วิทยาลยั ชุมชนสตูล
ความรู้ ความสามารถ และมี
คณุ ธรรม จรยิ ธรรม เพียงพอกบั การ ครอบคลุมพ้ืนที่ได้กว้างขวางมาก และอธิบดีกรมการ
ขยายตัวของอุตสาหกรรมการ
ทอ่ งเที่ยวของจังหวดั สตูล จังหวดั ขึน้ ท่องเทีย่ ว) เพื่อนำไปขน้ึ
ชายแดนภาคใต้ ทั่วภาคใต้ และทั่ว
ประเทศ ในด้านการทอ่ งเท่ยี วกบั ทะเบียนมัคคเุ ทศก์
นานาประเทศในกลุ่มประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน และเพ่ือส่งเสริม จะได้บัตรสชี มพู
อาชีพมัคคุเทศก์และธรุ กิจการ
ทอ่ งเทยี่ ว โดยสามารถนำเทย่ี วให้แก่ ประชาชนทั่วไป, บคุ คลที่ ฝึกอบรมจบหลักสูตร
นักทอ่ งเท่ยี วชาวไทย และชาว
ต่างประเทศได้ท่วั ทง้ั ราชอาณาจักร ประกอบอาชีพอยู่แลว้ และผทู้ ่ี จะไดร้ บั วุฒิบัตรของ
ให้ย่งั ยนื ตลอดไป
กำลังจะก้าวเข้าสู่อาชีพ เพ่ือเป็น กรมการท่องเทยี่ ว (ลง

อาชพี หลกั หรืออาชีพเสรมิ ท่ี นามรว่ มกันโดย

บริการนำเที่ยวในจังหวัดสตลู ผ้อู ำนวยการวิทยาลยั

จังหวดั ชายแดนภาคใต้ ท่ัวภาคใต้ ชุมชนสตลู และอธิบดี

และทว่ั ประเทศ สามารถนำเทยี่ ว กรมการท่องเที่ยว) เพื่อ

ไดท้ ้งั ชาวไทย และตา่ ง ประเทศ นำไปข้ึนทะเบียน

มคั คุเทศก์

จะได้บตั รสีบรอนซเ์ งนิ

๒. ดำเนินการพัฒนาหลักสูตร
๒.๑ ประสานงานกับสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์กลาง เพื่อขอหลักสูตร

แกนกลางมาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรของวิทยาลัยชุมชนสตูลเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้
อาชีพ สภาพสังคมต่อไป

๒.๒ เชิญผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และผู้ที่มีความรู้
ทางดา้ นการพัฒนาหลักสูตรด้านการท่องเท่ียว ร่วมกนั พฒั นาหลักสูตรฉบับร่าง โดยใช้หลักสูตรแกนกลางของ
สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์กลาง เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร ทั้งนี้การพัฒนา
หลักสูตรดำเนินการพฒั นาให้สอดคล้องกบั พื้นฐานความรู้ อาชีพ สภาพสังคม เพื่อให้หลักสูตรมีความเข้มข้น
ข้นึ อนั จะนำไปสหู่ ลักสูตรท่ีเปน็ มาตรฐานการเป็นมคั คุเทศก์ เช่น

• ปรบั เพ่ิมจำนวนช่ัวโมงจากหลักสูตรแกนกลาง
➢ หลักสูตรมัคคุเทศก์เฉพาะทะเลชายฝั่ง โดยหลักสูตรแกนกลางไม่น้อยกว่า ๔๘
ช่วั โมง ปรับใหมเ่ ปน็ ๑๐๙ ชว่ั โมง

5

➢ หลักสูตรมัคคุเทศก์เฉพาะแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยหลักสูตรแกนกลางไม่น้อย
กว่า ๕๐ ช่วั โมง ปรบั ใหมเ่ ปน็ 88 ชั่วโมง

➢ หลกั สูตรมคั คเุ ทศกเ์ ฉพาะต่างประเทศ – เฉพาะพื้นท่ี โดยหลกั สตู รแกนกลางไม่น้อย
กวา่ ๖๓ ช่วั โมง ปรบั ใหม่เปน็ 99 ช่ัวโมง

➢ หลักสูตรมัคคุเทศก์ทั่วไป โดยหลักสูตรแกนกลางไม่น้อยกว่า 218 ชั่วโมง ปรับ
ใหม่เป็น 228 ช่ัวโมง

ในการปรับเพ่มิ จำนวนช่ัวโมงจากหลักสูตรแกนกลางน้ี เพอื่ วัตถุประสงค์ในการปรับพ้ืน
ฐานความรู้สำหรับประชาชนทั่วไป หรือผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่อาชีพการเป็นมัคคุเทศก์ให้มี
ความรู้ และประสบการณเ์ พม่ิ มากข้ึน เพื่อการประกอบอาชีพมคั คุเทศกใ์ ห้ยัง่ ยืนต่อไป

• เพ่มิ ความเขม้ ข้นของเน้ือหา
➢ มีการเน้นในเรื่องภาษาต่างประเทศ โดยทุกวันของการฝึกอบรมจะมีการทบทวน
การฝึกพูดสนทนาภาษาต่างประเทศโดยเจ้าของภาษา
➢ เนน้ การทดสอบภาคปฏิบตั ิการนำเทย่ี ว และการออกภาคสนามชมแหลง่ ทอ่ งเทีย่ ว

• เพิ่มเนอื้ หาท่สี อดคล้องกับบรบิ ทของจังหวัดสตลู และจังหวดั ใกล้เคียง
➢ ความรูเ้ กยี่ วกับอุทยานธรณี เพอ่ื ใหส้ อดรบั กับพื้นท่ีจังหวัดสตลู ที่ได้รับการประกาศ
เป็นอุทยานธรณีระดับประเทศในเดือนพฤศจิกายน ปี 2559 และทางยูเนสโกได้
ส่งคณะเจ้าหน้าที่มาทำการประเมินในปี 2560 ล่าสุดทางยูเนสโกได้ประกาศให้
อุทยานธรณีสตูล เป็นอุทยานธรณีโลก หรือ Satun UNESCO Global Geopark
แห่งแรกของประเทศไทย ทั้งยังเป็นอุทยานธรณีโลกประเทศที่ 36 ของโลก เป็น
แหลง่ ท่ี 5 ของอาเซยี นอีกดว้ ย
➢ เพิม่ เน้ือหาเกย่ี วกับการอนรุ กั ษ์แหล่งท่องเที่ยวตา่ งๆ
➢ นอ้ มนำปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งไปประยุกตใ์ ชก้ ับอาชพี มคั คุเทศก์

• จะตอ้ งกำหนดคุณสมบัติของวทิ ยากรให้ตรงในแตล่ ะเนื้อหาวิชาของแตล่ ะหลักสูตร เช่น
➢ วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว วิทยากรคือผู้อำนวยการสำนักงาน
ทะเบียนธุรกิจนำเท่ียวและมคั คเุ ทศก์กลาง
➢ วิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว วิทยากรคือผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.)
➢ วิชาการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว วิทยากรจากคณะการจัดการสิง่ แวดล้อม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วทิ ยาเขตหาดใหญ่
➢ วิชาประวัตศิ าสตร์ ภูมิศาสตรท์ อ้ งถนิ่ วทิ ยากรคือปราชญท์ อ้ งถ่นิ เป็นตน้

• การกำหนดค่าตอบแทน ใหเ้ หมาะสมกับคณุ วฒุ ิและประสบการณข์ องวทิ ยากร

๒.๓ รายละเอยี ดของหลักสูตร
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่จัดอยู่ในลำดับต้น ๆ ของประเทศที่มีขีด
ความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ แต่จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แผนยุทธศาสตร์การ
ท่องเที่ยว (พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๕๑) ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีการปรับ
วิสัยทัศน์ โดยระดมความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมการ
ท่องเที่ยวของประเทศไทยให้มีความพร้อมที่จะพัฒนา และใช้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นสาขาเศรษฐกิจที่
สำคัญในการสร้างรายไดใ้ หก้ ับประเทศไทย กระจายทวั่ ถึงทกุ ภมู ภิ าคอย่างมัน่ คงและยัง่ ยนื

6

จากเหตุผลดังกล่าวผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนา ปรับปรุง และจัดฝึกอบรมหลักสูตรที่สอดคล้องกับ
ยทุ ธศาสตรจ์ งั หวดั สตลู ดา้ นการท่องเทย่ี วโดยมีรายละเอียดดังน้ี

1. หลกั สูตรมคั คเุ ทศก์เฉพาะทะเลชายฝัง่
จงั หวัดสตลู เป็นจังหวดั หนึง่ ของภาคใต้ ตั้งอยู่ระหวา่ งจังหวัดตรังและจงั หวดั สงขลา ฝั่งทะเล

อันดามัน มกี ารต่นื ตวั และใหค้ วามสำคัญกบั อุตสาหกรรมท่องเท่ียวมาตลอด เพื่อเพ่มิ ขีดความสามารถของการ
แข่งขนั กับนานาประเทศ และเพ่ือมสี ่วนร่วมในการพฒั นาใหป้ ระเทศไทยคงความเป็นผู้นำทางการท่องเที่ยวใน
ภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ความเป็น World Class Destination ควบคู่กับการขยายตลาด
นักท่องเที่ยวคุณภาพตอ่ ไป และรายงานสถิตจิ งั หวัดสตูลในแต่ปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวตา่ งชาติเข้า
มาท่องเทย่ี วในจังหวัดสตลู ปีละจำนวนมาก และการทอ่ งเทยี่ วในแตล่ ะครั้ง หากนักท่องเทีย่ วต้องการข้อมูลเชิง
ลึกของสถานที่เที่ยวนั้น ๆ จำเป็นต้องมีผู้นำเที่ยว ผู้ให้คำแนะนำ ให้ความรู้ และข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ หรือท่ี
เรยี กกันวา่ “มัคคุเทศก์” ซ่ึงเป็นอาชีพทส่ี ามารถสร้างรายไดใ้ หก้ บั ตนเอง ชุมชน สงั คมและประเทศชาติ

ด้วยเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาและฝึกอบรมผู้นำเที่ยว
บุคคลทั่วไปที่สนใจ และผู้ประกอบการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “มัคคุเทศก์”
ให้มีขีดความสามารถสูงในการบริการ เน้นคุณภาพ มีความรู้ในวิชาชีพอย่างถูกต้อง เพียบพร้อมคุณธรรม
จริยธรรม ให้เพียงพอกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาคใต้ของประเทศไทย และเพื่อส่งเสริม
อาชพี มัคคุเทศก์และธรุ กจิ การท่องเท่ยี วทางทะเลชายฝ่งั ของพ้ืนที่ท่ีอยู่ติดทางชายฝั่งทะเล ตามเกาะแก่งต่างๆ
อุทยานแหง่ ชาติทางทะเลให้ยง่ั ยืนตลอดไป

ดังนั้นทางวิทยาลัยชุมชนสตูลจึงได้ดำเนินการร่างหลักสูตร และพัฒนาหลักสูตรมัคคุเทศก์
เฉพาะทะเลชายฝั่งขึ้น โดยความร่วมมือของสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลางร่วมกับ
วทิ ยาลัยชุมชนสตลู จำนวน ๑๐๙ ชั่วโมง โดยศกึ ษาเกยี่ วกบั อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และนโยบายส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวของรัฐ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางทะเล ปัญหามลภาวะและการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล
ระบบนิเวศวิทยาและสิ่งมีชีวิตในทะเล แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลในท้องถ่ิน
บทบาทหน้าที่ มารยาท และจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ วิธีการปฏิบัตงิ านของมัคคุเทศก์ (มีการดูงานและฝึก
ปฏบิ ตั )ิ กฎหมายที่เกีย่ วข้องกับการท่องเทย่ี ว พฤตกิ รรมนกั ท่องเที่ยวชายไทยและชาวต่างประเทศ (พฤติกรรม
ของชาวต่างประเทศที่ใช้ภาษาต่างประเทศนั้นๆ) การปฐมพยาบาลและรักษาความปลอดภัยในการท่องเที่ยว
ทางทะเล (มีการฝึกปฏิบัติ) มนุษยสัมพันธ์ จิตวิทยาการให้บริการ การดำน้ำเบื้องต้น ทักษะชาวเรือเบื้องต้น
(Boatmanship) รูปแบบการจัดนำเที่ยวทางทะเล เน้นในด้านการสนทนาในชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาใน
อาชีพมัคคุเทศก์ มารยาทในการใช้ภาษาต่าง ๆ การเจรจาต่อรอง การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ การรับ
โทรศพั ท์ ทบทวนหลักภาษา ทบทวนการเขยี น และแนวทางเศรษฐกจิ พอเพียง

เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพในท้องถิ่นของตน และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดนำ
เที่ยวในท้องถิ่น เพิ่มพูนทักษะการนำเที่ยว เรียนรู้จริยธรรม วัฒนธรรมของท้องถิ่นและประสบการณ์ที่
หลากหลายให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม ทั้งที่ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์อยู่แลว้ และบุคคลทัว่ ไปท่ีมีความสนใจที่จะ
ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริม ซึ่งสามารถสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้แก่
ประชาชนในพน้ื ทีเ่ ปน็ อนั มาก

2. หลักสูตรมัคคเุ ทศก์เฉพาะแหลง่ ท่องเท่ียวธรรมชาติ
ธุรกิจการท่องเที่ยวมีความเจริญเติบโต และเป็นที่สนใจอย่างมากของนักธุรกิจ และบุคคล

ทั่วไป สตูลก็เป็นจังหวัดหนึ่งท่ีมีแหลง่ ท่องเที่ยวที่สำคัญ ๆ หลายแห่ง และที่ได้รับความสนใจ และนิยมจาก
นกั ท่องเทย่ี วส่วนใหญจ่ ะเป็นแหลง่ ท่องเทีย่ วทางธรรมชาติ และทางทะเลชายฝัง่ ซ่ึงมอี ยูอ่ ยา่ งมากมาย ปัจจุบัน

7

มีนกั ท่องเท่ียวทงั้ ชาวไทยและชาวต่างชาติ จากรายงานสถิติจงั หวัดสตูล ประจำปี ๒๕๕๐ มีนักทอ่ งเท่ียวท้ังชาว
ไทยและชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสตูลปีละจำนวนมาก ซึ่งการท่องเที่ยวในแต่ละครั้งจำเป็นต้อง
อาศัยคำแนะนำ ความรู้ ข้อมูลอืน่ ๆ ประกอบจากผนู้ ำเที่ยว หรอื ทเ่ี รียกกันว่า “มคั คเุ ทศก์” ซง่ึ อาชีพน้ีเป็นอาชีพ
ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง ชุมชน สังคมและประเทศชาติได้อย่างดี และเป็นอาชีพที่ต้องศึกษาหา
ความรู้เพ่ิมเตมิ ใหท้ ันยคุ ทันสมัยเพ่ือใหส้ อดคล้องกบั สภาวะและบรบิ ทท่ีเปล่ยี นไปตามกาลเวลา

อนึ่งจากความสำคัญดังกล่าว เราจะเห็นได้ว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่งของประเทศ
และวิทยาลัยชุมชนเป็นสถาบันการศึกษาหนึ่งที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากร
ท้องถิ่น โดยเฉพาะประชาชนในจังหวัดสตูลมีความสนใจที่จะประกอบอาชพี มัคคุเทศก์ในท้องถิ่นของตนหลาย
ชุมชนด้วยกัน วิทยาลัยชุมชนจึงได้จัดโครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้นโดยใช้ชื่อว่า “มัคคุเทศก์เฉพาะ (แหล่ง
ทอ่ งเทีย่ วทางธรรมชาติ)” เพ่อื เป็นการสง่ เสริมการประกอบอาชีพในท้องถ่ินของตน และใหค้ วามรู้เกี่ยวกับการ
จัดนำเที่ยวในท้องถิ่น เพิ่มพูนทักษะการนำเที่ยว เรียนรู้จริยธรรมวัฒนธรรมของท้องถิ่นและประสบการณ์ท่ี
หลากหลายให้แกผ่ ู้เขา้ รับการอบรม ท้ังทปี่ ระกอบอาชีพมัคคุเทศก์อยู่แล้ว และบคุ คลท่ัวไปท่ีมีความสนใจที่จะ
ประกอบอาชพี มคั คเุ ทศก์เปน็ อาชีพหลัก หรอื อาชีพเสรมิ ต่อไป

ดังนั้นทางวิทยาลัยชุมชนสตูลจึงได้ดำเนินการร่างหลักสูตร และพัฒนาหลักสูตรมัคคุเทศก์
เฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติขึ้น โดยความร่วมมือของสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
กลางร่วมกับวิทยาลัยชุมชนสตูล จำนวน ๗๗ ชั่วโมง โดยศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและ
นโยบายส่งเสริมการท่องเท่ียวของรัฐ พน้ื ที่ธรรมชาตกิ บั บทบาทดา้ นนันทนาการและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภูมิศาสตร์กายภาพของแหล่งธรรมชาติ ชุมชนท้องถิ่น วัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิต
ระบบนิเวศและสังคมพืช ระบบนิเวศและสังคมสัตว์ พฤติกรรมนักท่องเที่ยว การอนุรักษ์ทรัพยากรการ
ท่องเท่ียว บทบาทหนา้ ท่ี มารยาท และจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ วธิ กี ารปฏบิ ตั ิงานของมคั คุเทศก์ การฝึก
พดู ในท่ชี มุ ชน กฎหมายที่เก่ียวข้องกับการท่องเท่ียว การวางแผนการนำเทย่ี วในแหล่งธรรมชาติ เทคนิคการ
สื่อความหมายธรรมชาติ การปฐมพยาบาลนักท่องเที่ยว การรักษาความปลอดภัยในการท่องเที่ยว มนุษย
สัมพันธ์ จิตวิทยาการให้บริการ พระประวัติสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทดสอบภาคปฏิบัติการ
นำเที่ยวบริเวณอนาเขตอุทยานแห่งชาตทิ ะเลบนั ฝกึ พดู สนทนาเป็นภาษาองั กฤษ และวถิ เี ศรษฐกิจพอเพียง

เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพในท้องถิ่นของตน และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดนำ
เที่ยวในท้องถิ่น เพิ่มพูนทักษะการนำเที่ยว เรียนรู้จริยธรรม วัฒนธรรมของท้องถิ่นและประสบการณ์ท่ี
หลากหลายให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม ทั้งที่ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์อยู่แล้วและบุคคลทั่วไปท่ีมีความสนใจที่จะ
ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริม ซึ่งสามารถสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้แก่
ประชาชนในพ้นื ทีเ่ ป็นอันมาก

3. หลักสตู รมคั คเุ ทศก์เฉพาะตา่ ง ประเทศ – เฉพาะพนื้ ที่
ตามที่รัฐบาลและภาคเอกชน ได้ให้ความสนใจ ในการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว และการ

บริการในอุตสาหกรรมทอ่ งเท่ยี ว ซึง่ เป็นไปตามนโยบายของภาครัฐในการกระต้นุ เศรษฐกจิ ของประเทศในด้าน
ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นตัวชี้วัดระดับเศรษฐกิจของประเทศ ท่ี
สำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น โบราณสถาน
โบราณวตั ถุ ศิลปวฒั นธรรม พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่ เทศกาลตา่ งๆ และความงดงาม
ของธรรมชาตใิ นประเทศ

ดังนน้ั ผู้ที่จะทำหนา้ ทีป่ ระชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความประทับใจในส่ิงต่างๆ
เหล่านั้น ก็คือ มัคคุเทศก์ซึ่งต้องมีการพัฒนาคณุ ภาพใหท้ ันต่อยุคสมัยปัจจุบันและปริมาณให้เพียงพอต่อความ

8

ต้องการในธุรกิจการท่องเที่ยว ด้วยความสำคัญดังกล่าว วิทยาลัยชุมชนสตูล จึงได้พัฒนาหลักสูตรมัคคุเทศก์
เฉพาะ (ต่างประเทศ - เฉพาะพื้นที่) ขึ้น เพื่อตอบสนองนโยบาย พัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของรัฐบาล
อีกทั้งยงั เปน็ การเสรมิ สรา้ งและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในพ้นื ทจ่ี ังหวัดสตลู และจงั หวัดใกล้เคียงให้มี
ประสทิ ธภิ าพ รวมทง้ั เปน็ การปลูกจติ สำนึก รถู้ งึ บทบาทหน้าทแ่ี ละจรรยาบรรณท่ีดีของมคั คเุ ทศก์อาชีพ

จากเหตุผลขา้ งตน้ ทางวิทยาลยั ชุมชนสตูลจึงไดด้ ำเนินการร่างหลักสูตร และพัฒนาหลักสูตร
มัคคุเทศก์เฉพาะต่าง ประเทศ – เฉพาะพื้นที่ขึ้น โดยความร่วมมือของสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและ
มัคคุเทศก์กลางร่วมกับวิทยาลัยชุมชนสตูล จำนวน ๙๙ ชั่วโมง โดยศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
และ นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น เทศกาล งานประเพณี และ
วัฒนธรรมท้องถิ่น สถานที่ท่องเที่ยวของท้องถิ่น โรงแรมและสถานพักแรมในท้องถิ่น ภัตตาคาร และ
ร้านอาหารในท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์พ้ืนเมืองและของที่ระลึก การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว หลักการและ
การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บทบาทหน้าที่ มารยาท และจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ วิธีการปฏิบัติงาน
ของมัคคุเทศก์ การฝึกพูดในที่ชุมชน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย
และชาวตา่ งประเทศ การให้ความปลอดภยั แกน่ ักท่องเที่ยว การปฐมพยาบาลเบอ้ื งต้น มนุษยสัมพันธ์ จิตวิทยา
การให้บริการ ภาคการศึกษานอกสถานที่ (ฝึกฝนวิธีการปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์ ฝึกพูดปฏิบัติทั้งภาษาไทย
และภาษาอังกฤษตลอดทั้งเส้นทางศึกษาดูงาน) ฝึกพูดสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ เช่น เน้นในการสนทนาใน
ชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาในอาชีพมัคคุเทศก์ มารยาทในการใช้ภาษาต่างๆ การเจรจาต่อรอง การแก้ไข
ปัญหาเฉพาะหนา้ ต่างๆ การรับโทรศัพท์ และวถิ เี ศรษฐกิจพอเพยี ง

เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพในท้องถิ่นของตน และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดนำ
เที่ยวในท้องถิ่น เพิ่มพูนทักษะการนำเที่ยว เรียนรู้จริยธรรม วัฒนธรรมของท้องถิ่นและประสบการณ์ท่ี
หลากหลายให้แกผ่ ู้เข้ารับการอบรม ท้งั ท่ีประกอบอาชพี มัคคเุ ทศก์อยู่แลว้ และบุคคลทั่วไปท่ีมีความสนใจที่จะ
ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริม ซึ่งสามารถสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้แก่
ประชาชนในพ้ืนท่เี ป็นอนั มาก

4. หลักสูตรมัคคุเทศก์ทั่วไป
ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) อย่างเป็นทางการ ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘หน่ึง

วสิ ยั ทัศน์ หน่ึงเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม’ ซงึ่ จะทำให้ทั้ง 10 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน กมั พูชา สปป.ลาว
เวียดนาม เมียนมาร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย มีประชากรรวมทั้งสิ้น 610 ล้านคน
เท่ากับ 7 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรโลก (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล) มีระบบ
เศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น เมื่อกล่าวถึงเมืองชายแดน ประเทศไทยมีพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศเพื่อน
บ้านถึง 4 ประเทศ คือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และมาเลเซีย ในภาคใต้มีจังหวัดที่ติดกับชายแดน 4
จังหวัด คือ สงขลา สตูล ยะลา และนราธิวาส มีจำนวนประชากรในปี 2556 รวมทั้งสิ้น 2,971,966 คน
(สำนักงานสถิติแห่งชาติ) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม โดยมีพื้นที่ติดกับ 4 รัฐของประเทศมาเลเซีย
ได้แก่ กลันตัน เประ เกดะห์ และปะลิส ซึ่งเป็นรัฐตอนเหนือของประเทศ มีด่านตรวจคนเข้าเมือง ทางบกที่
เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน 7 ด่าน ประกอบด้วย 1) ด่านสุไหงโกลก 2) ด่านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 3)
ดา่ นเบตง จงั หวดั ยะลา 4) ด่านบา้ นประกอบ อำเภอนาทวี 5) ดา่ นอำเภอสะเดา 6) ด่านปาดงั เบซาร์ และ 7)
ด่านวังประจนั อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ประเทศไทยและมาเลเซียจงึ เป็นเปา้ หมายหน่ึงที่นักท่องเที่ยวของ
แต่ละประเทศเดินทางท่องเที่ยวระหว่างกัน ผ่านทางด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้ง 4 จังหวัดมากที่สุดเม่ือ
เปรยี บเทยี บกับดา่ นทางบกอื่นๆ ทว่ั ประเทศ เนอื่ งจากมโี ครงสร้างพ้นื ฐานด้านการขนส่งท่ีเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
เป็นอย่างดี ทั้ง 2 ประเทศมีเมืองชายแดนที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ประกอบกับ

9

อตุ สาหกรรมการทอ่ งเท่ียวของไทยเป็นอตุ สาหกรรมท่จี ัดอยู่ ในลำดับตน้ ๆ ของประเทศท่ีมขี ีดความสามารถใน
การแขง่ ขนั ระดับนานาชาติ แต่จำเปน็ ต้องมกี ารพฒั นาอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง

จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดหน่ึงของภาคใต้ ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดตรังและจังหวดั สงขลา ฝั่งทะเล
อันดามนั มีการตื่นตัวและใหค้ วามสำคัญกับอตุ สาหกรรมการท่องเที่ยวมาตลอด เพอื่ เพมิ่ ขีดความสามารถ
ของการแข่งขันกับนานาประเทศ และเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้ประเทศไทยคงความเป็นผู้นำทางการ
ท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ความเป็น World Class Destination ควบคู่กับการขยาย
ตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพต่อไป และรายงานสถิติจังหวัดสตูลในแต่ปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ
ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยว ในจังหวัดสตูลปีละจำนวนมาก ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าว มีการตื่นตัวและให้
ความสำคัญกบั อุตสาหกรรมการท่องเท่ียวมาตลอดแมจ้ ะมีปัญหาทางด้านความมั่นคงและมีเหตุการณ์ก่อความ
ไม่สงบ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าในพื้นที่ชายแดนใต้เพิ่มขึน้ อยา่ งตอ่ เนือ่ ง และการท่องเที่ยวในแต่ละ
ครั้ง หากนักท่องเที่ยวต้องการข้อมูลเชิงลึกของสถานที่เที่ยวนั้นๆ จำเป็นต้องมีผู้นำเที่ยว ผู้ให้คำแนะนำ ให้
ความรู้ และข้อมูลอื่นๆ ประกอบหรือที่เรียกกันว่า “มัคคุเทศก์” ซึ่งเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ
ตนเอง ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ทำให้มีความต้องการบุคลากรที่อำนวยความสะดวกในการจัดนำเที่ยว
เพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน แต่ปัญหาในการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวท่ีกำลงั ประสบอยู่ในปัจจุบัน
คือ การขาดแคลนบุคลากรด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะอาชีพมัคคุเทศก์ ทั้งที่คนในพื้นที่ ดังกล่าวมี
ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีน แต่ไม่สามารถเข้าทำงานในการจัดนำเที่ยวได้
เนือ่ งจากขาดบัตรมคั คเุ ทศก์

ดังนั้น วิทยาลัยชุมชนสตูล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคคลากรด้านการ
ท่องเที่ยว ที่จะทำให้จังหวัดภาคใต้ มีความพร้อมในการแข่งขันทางการท่องเที่ยวสู่อาเซียน จึงได้มีการศึกษา
วางแผน ออกแบบ ดำเนินการฝึกอบรม สรุปผลการดำเนินงาน ปรับปรุงแก้ไข และเผยแพร่ผลงานและ
หลักสตู รให้สถาบันอนื่ ๆ เพอ่ื นำไปเป็นต้นแบบเกย่ี วกบั การฝึกอบรมเชิงปฏิบตั ิการมัคคุเทศก์เพื่อการท่องเที่ยว
“หลักสูตรมัคคุเทศก์ทั่วไป (ต่างประเทศ)” เพื่อเป็นส่วนช่วยในการสร้างความเจริญก้าวหน้า และเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดสตูล จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั่วภาคใต้
และทัว่ ประเทศ ในดา้ นการท่องเท่ียวกับนานาประเทศในกลมุ่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี น

จากเหตผุ ลข้างต้นทางวิทยาลัยชุมชนสตูลจงึ ได้ดำเนินการรา่ งหลักสูตร และพัฒนาหลักสูตร
หลกั สตู รมคั คุเทศก์ทวั่ ไปขน้ึ โดยความร่วมมือของสำนักงานทะเบียนธรุ กิจนำเท่ียวและมัคคุเทศก์กลางร่วมกับ
วิทยาลัยชุมชนสตูล จำนวน 228 ชั่วโมง โดยศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและนโยบายส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวของรัฐ พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ จิตวิทยาการให้บริการ มนุษย์สัมพันธ์
วาทศิลป์ (การฝึกพูดในที่ชุมชน) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ทั่วไป สถานการณ์
เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในปัจจุบัน ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ การ
ให้ความปลอดภัยแกน่ กั ท่องเท่ยี ว การปฐมพยาบาลเบือ้ งต้น ความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกบั การให้บรกิ ารในธุรกิจการ
จัดประชุมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การจัดนิทรรศการ (MICE) การคิดวิเคราะห์เชิงบูรณาการเพื่อการ
ท่องเที่ยว บทบาทหน้าที่ จรรยาบรรณและวิธีปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์ทั่วไป ประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการ
ท่องเที่ยว สังคมไทย วัฒนธรรมไทย พุทธศาสนา และศาสนาอื่นๆ ในประเทศไทย ประวัติศาสตร์ศิลปะและ
โบราณคดีในประเทศไทย วรรณคดีไทยเพื่อการท่องเที่ยว นาฏศิลป์และดนตรีไทย เทศกาล และงานประเพณี
ไทย อาหาร ขนมและผลไมไ้ ทย มรดกและภูมิปัญญาไทย ทรพั ยากรทางการท่องเท่ียวท่ีสำคัญของไทยและการ
อนุรักษ์ หลักการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ความรู้เบื้องต้นเกีย่ วกับงานบรกิ ารของสายการบินและธนาคาร
พิธีการเข้าออกราชอาณาจักรและพิธีการทางศุลกากร ความรู้เกี่ยวกับอุทยานธรณี ภาคความรู้
ภาษาตา่ งประเทศ และภาคการศึกษานอกสถานท่ี รวมจำนวน 5 เส้นทาง

10

เพื่อผลิตมัคคุเทศก์ที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรม จริยธรรม เพียงพอ
กับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั่วภาคใต้ และท่ัว
ประเทศ ในด้านการท่องเที่ยวกับนานาประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อส่งเสริมอาชีพ
มัคคุเทศก์และธุรกิจการท่องเที่ยว โดยสามารถนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศได้ทั่ว
ทงั้ ราชอาณาจกั รใหย้ ่ังยนื ตลอดไป

๒.๔ นำหลักสูตรฉบับร่าง เสนอต่อคณะกรรมการสภาวิชาการเพื่อกลั่นกรอง และเสนอต่อ
คณะกรรมการสภาวทิ ยาลัยชมุ ชนสตลู เพอ่ื พจิ ารณาเห็นชอบหลักสูตร

๒.๕ นำหลักสูตรที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนสตูล เสนอต่อ
กรมการทอ่ งเท่ียว เพ่อื อนมุ ัติในการจดั ฝึกอบรม

๓ ขัน้ ดำเนนิ การฝกึ อบรม
๓.๑ ขน้ั ตอนดำเนินการขออนุมัตจิ ัดการเรียนการสอน ตามแบบท่สี ำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน

กำหนด เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสภาวิชาการกลั่นกรอง และคณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนสตูลอนุมัติ
จดั การเรยี นการสอน

๓.๒ ข้ันตอนการดำเนนิ การฝึกอบรม
๑. การเตรียมการก่อนการฝกึ อบรม
➢ ประกาศวิทยาลยั ชุมชนสตลู เรือ่ งรบั สมัครบุคคลเข้ารบั การฝกึ อบรมหลกั สูตรมัคคุเทศก์
➢ ประชาสัมพันธ์การรับสมัครผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล การท่องเที่ยว และกีฬาจังหวัดสตูล สมาคมธุรกิจท่องเท่ยี ว
และมคั คเุ ทศก์สตลู การทอ่ งเท่ียวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตรงั สำนักงานทะเบียนและ
มัคคุเทศก์ภาคใต้เขต ๑ จังหวัดสงขลา บริษัทนำเที่ยวในจังหวัดสตูล และจังหวัด
ใกลเ้ คยี ง
➢ รับสมัคร และตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเป็นไปตาม
พระราชบญั ญัตธิ ุรกิจนำเท่ยี ว และมคั คเุ ทศก์ พ.ศ. 2551 ดงั นี้
๑. เปน็ ผู้มสี ญั ชาตไิ ทย
๒. มอี ายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี บรบิ รู ณ์
๓. ผ้เู ข้ารบั การอบรมจะต้องสำเรจ็ การศึกษาไมต่ ่ำกวา่ มธั ยมศึกษาตอนต้น
และต้องพูดอา่ น และเขียนภาษาไทยได้
๔. ไมเ่ ปน็ โรคพษิ สุราเร้ือรัง หรือตดิ ยาเสพติดใหโ้ ทษ หรือเปน็ โรคติดต่อ
ตามทีค่ ณะกรรมการธรุ กจิ นำเท่ยี ว และมัคคุเทศก์กำหนด
๕. ไมเ่ ป็นผู้วิกลจริต หรอื จิตฟน่ั เฟอื นไม่สมประกอบ หรอื เป็นคนไร้
ความสามารถ หรือคนเสมอื นไร้ความสามารถ
๖. ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับ
ความผิดทไี่ ด้กระทำโดยประมาท หรือความผดิ ลหโุ ทษ

11

➢ หลกั ฐานที่ใชใ้ นการสมัคร
1. รูปถ่าย ส,ี ขาว – ดำ ขนาด 1 นวิ้ จำนวน 3 รปู
2. สำเนาหลกั ฐานการศึกษามธั ยมศกึ ษาตอนต้นพร้อมตัวจรงิ (เซ็นชอ่ื
รบั รองสำเนาถูกต้อง) จำนวน 2 ฉบับ
3. สำเนาบตั รประจำตวั ประชาชนพรอ้ มตวั จรงิ (เซน็ ชอ่ื รับรองสำเนาถูกต้อง) จำนวน 1 ฉบับ
4. สำเนาทะเบยี นบ้านพร้อมตวั จริง (เซ็นชือ่ รบั รองสำเนาถูกต้อง) จำนวน 1 ฉบับ
5. หลกั ฐานการเปล่ียนชอ่ื – สกุล (ถา้ ม)ี
6. หนงั สอื รบั รอง จากบริษทั นำเท่ียวว่าเปน็ มัคคเุ ทศก์ในสังกัด (ถา้ มี)
7. ใบรบั รองแพทย์

➢ ประกาศรายช่ือผมู้ ีสิทธสิ์ อบ
➢ ดำเนนิ การทดสอบเพื่อเข้ารบั การฝึกอบรม มีหลกั เกณฑด์ งั นี้

๑. ผู้มีสทิ ธิเข้ากับการอบรมนอกจากจะมีคุณสมบัติตามท่ีระบุไว้ใน ระเบียบการแล้ว
จะต้องผ่านการทดสอบการว่ายน้ำ (กรณีหลักสูตรมัคคุเทศก์เฉพาะทะเล

ชายฝงั่ ) สอบขอ้ เขยี น และสอบสมั ภาษณ์
๒. การทดสอบการว่ายน้ำ (กรณีหลักสูตรมัคคุเทศก์เฉพาะทะเลชายฝั่ง) เป็นการ
ทดสอบว่าว่ายน้ำได้หรือไม่ การสอบข้อเขียนเป็นการทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
มัคคุเทศก์ และความรู้พื้นฐานด้านภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนการ
สัมภาษณ์จะพิจารณาในด้านความสามารถในการใช้ภาษา บุคลิกภาพ และ
ทัศนคติที่มีต่ออาชีพมัคคุเทศก์ ของผู้เข้าสอบด้วย โดยถือว่าการสอบทั้งสามส่วนมี
ความสำคญั เท่าเทียมกนั
๓. ผลการตัดสนิ ของคณะทำงานถือเป็นทสี่ ้ินสุด
➢ ประกาศผลผ้มู ีสทิ ธ์เิ ข้ารบั การฝกึ อบรม
➢ ลงทะเบียนคา่ ใช้จ่ายในการฝึกอบรม
๒. ขั้นตอนการฝึกอบรม จะต้องเป็นไปตามทีข่ ออนุมัตหิ ลักสูตรจากคณะกรรมการสภาวิทยาลยั
ชมุ ชนสตูล และสำนักงานทะเบยี นธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศกก์ ลาง โดยมีกฎระเบียบ ดงั นี้
๑. การเขา้ ฟงั การบรรยาย ผเู้ ขา้ รบั การอบรมต้องมีเวลาเข้ารบั การอบรมไมน่ ้อยกว่าร้อยละ ๘๐
๒. การขาด การลา ผู้เข้ารับการอบรมต้องไม่ขาดการศึกษานอกสถานที่ จึงจะมีสิทธิเขา้ สอบ
๓. การติดบตั รประจำตวั ผ้เู ขา้ รับการอบรมจะต้องติดบัตรประจำตวั ตลอดระยะเวลาการอบรม
๔. การแตง่ กาย ผ้เู ข้ารบั การอบรมจะตอ้ งแตง่ กายสุภาพเหมาะสมกบั สถานที่ในระหวา่ งการอบรม
๕. การออกฝกึ ปฏิบตั นิ อกสถานที่ ผเู้ ข้ารบั การอบรมต้องออกฝึกปฏิบตั ินอกสถานทที่ ุกคน
๖. การใชอ้ ปุ กรณส์ ื่อสาร ผเู้ ขา้ รบั การอบรมจะต้องปิดอุปกรณส์ ่ือสารขณะเข้ารับการอบรม
๓. หลังจากมีการทดสอบภาคปฏิบตั ิ และการออกภาคสนาม ทัศนศึกษาชมสถานทที่ ่องเท่ียวแล้ว
ทุกหลักสูตรจะมีการทดสอบประเมินผลเพื่อดูว่าผ่านเกณฑ์ที่ทางสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว
และมคั คเุ ทศก์กำหนดไวห้ รอื ไม่ ซง่ึ การสอบประเมนิ ความรู้กอ่ นจบการฝกึ อบรมมีดงั นี้
1. ผูเ้ ขา้ รับการอบรมจะต้องสอบผ่านภาคทฤษฎีไมน่ ้อยกว่า รอ้ ยละ 70
2. ผู้เขา้ รับการอบรมจะต้องสอบผ่านภาคปฏบิ ตั ไิ ม่น้อยกวา่ รอ้ ยละ 75

12

4. สรปุ กลไกการพฒั นามัคคุเทศก์สูก่ ารท่องเทยี่ วย่งั ยืน

ขอ้ มูลจากการสำรวจความตอ้ งการของวทิ ยาลยั
1. การรวบรวมขอ้ มูล / กลุ่มเป้าหมาย

ขนั้ ตอนการสำรวจความต้องการ
1. สอบถามความต้องการแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย เช่น หน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด ที่ดำเนินการ

เก่ียวกบั การทอ่ งเท่ยี ว
2. สอบถามความต้องการจากผ้ทู มี่ ีสว่ นเกีย่ วขอ้ งโดยตรง เชน่ สำนักงานการท่องเท่ียว เป็นตน้

2. การวิเคราะหง์ าน
นำประเด็นปัญหา และหัวข้อที่ได้จากการสอบถามความต้องการแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย และ

สอบถามปัญหาจากผทู้ ่ีมสี ่วนเกีย่ วข้องโดยตรงมาวิเคราะห์เพอ่ื ศกึ ษาถึงความเป็นไปได้
3. การยกร่างหลกั สตู ร

ได้นำขอ้ มลู ทีไ่ ด้มาสรุป และประสานงานกบั หน่วยงานท่เี กยี่ วข้องตามลำดับดังน้ี
1. ร่างโครงการ / หลักสูตรเพื่อนำเสนอสำนักงานการท่องเท่ียวแห่งประเทศไทยในการดำเนินอนมุ ัติ
หลกั สตู รตอ่ ไป
2. ทางดา้ นสำนักงานการท่องเท่ียวแหง่ ประเทศไทยจะพิจารณาหลกั สตู รถงึ ความเหมาะสมอกี ที
3. หลังจากที่สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้พิจารณาอนุมัติเรียบร้อยแล้วให้ดำเนินการ
ตามปฏทิ นิ ทก่ี ำหนดตอ่ ไป

นำหลักสตู รท่ีกรมการทอ่ งเท่ียวไดพ้ จิ ารณาอนมุ ตั ิเรียบร้อยแล้ว เพอ่ื เสนอต่อสภาวิทยาลัยชมุ ชนสตูล
ใหพ้ ิจารณาเปิดหลกั สตู ร

4. การนำไปใช้
ประสานงานกับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องเพื่อจัดฝึกอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ เช่น ผู้ที่ดำเนินกิจการด้าน

การท่องเท่ยี วในจงั หวัด วทิ ยากรในการฝึกอบรม สถานท่ีในการฝกึ อบรม และสถานท่ีออกภาคสนาม

ดำเนนิ การฝึกอบรมหลกั สตู รมัคคุเทศกต์ ามกำหนดการทีว่ างไว้ โดยผู้เรียนจะตอ้ งดำเนินการสอบเพอ่ื
คัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรม และมีการประเมินครูผู้สอน ประเมินหลักสูตรแต่ละหน่วยการเรียน หรือแต่ละ
รายวิชา

5. การประเมิน / ตดิ ตาม
สอบประมวลผลหลักสูตรมัคคุเทศก์หลังฝึกอบรมเสร็จสิ้น และให้ผู้เรียนประเมินหลักสูตรภาพรวม

เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงรนุ่ ตอ่ ไป และมอบวฒุ ิบัตร

ผ้เู รียนนำมอบวุฒบิ ตั รท่ีผา่ นการฝึกอบรมไปข้ึนทะเบียน เพอ่ื เป็นมัคคเุ ทศก์ต่อไป และมีการตดิ ตามอยา่ งต่อเน่อื ง

13

เอกสารอา้ งอิง

กระทรวงการทอ่ งเท่ยี วและกีฬา. (2560). สถิตนิ ักท่องเที่ยวในประเทศไทย ปี2560, 12 กมุ ภาพันธ์ 2561.
http://www.mots.go.th/main.php?filename=index

ฉรัต ไทยอุทิศ. (2546). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับผู้บริหาร
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยหลักการ “Balanced Scorecard”. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัย
ศรนี ครินทร์วิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ชุลีรัตน์ จันทร์เชื้อ. (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการท่องเที่ยวโดย
ชมุ ชน. ดษุ ฎีนิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลยั แมโ่ จ.้ เชยี งใหม่

ชชู ยั สมทิ ธไิ กร. (2551). การสรรหา การคัดเลอื ก และการประเมินผลการปฏิบตั งิ านของบคุ ลากร. กรุงเทพฯ.
จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั .

เพชรมณี วิริยะสืบพงศ์. (2545). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของวิทยาลัย
พยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสขุ . ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัย
ศรนี ครนิ ทร์วโิ รฒ. กรุงเทพฯ

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กรมประชาสัมพันธ์. ( 2561). ข่าวเด่นอาเซียน, 10 กุมภาพันธ์ 2561.
http://www.aseanthai.net/mobile_detail.php?cid=73&nid=8005

สดุ สันต์ สทุ ธิพศิ าล และคณะ. (2558). โครงการพัฒนาศักยภาพของมัคคเุ ทศก์ไทยเพ่ือเป็นกลไกส่งเสริมการ
เพ่มิ รายไดจ้ ากนกั ทอ่ งเทีย่ ว. คณะการจดั การทอ่ งเท่ียว สถาบนั บณั ฑติ พัฒนบรหิ ารศาสตร์.

สุดารัตน์ หมวดอินทร์. (2560). ปัญหามัคคุเทศก์ไทยและข้อเสนอแนวทางแก้ปัญหา. กลุ่มงาน
คณะกรรมาธกิ ารการทอ่ งเทย่ี ว ส านกั กรรมาธิการ

14

ภาคผนวก

15

ภาคผนวก ก.

การถอดความรจู้ ากผรู้ ใู้ นหนว่ ยงาน
(Tacit Knowledge to Explicit Knowledge)

16

บนั ทกึ การถอดความรู้จากผู้รู้ในหน่วยงาน (Tacit Knowledge to Explicit Knowledge)

1. ผรู้ ู้ (ขอ้ มูลผู้รู้)
ชอื่ ผรู้ ู้ นายอัศวยชุ เทศอาเส็น

ตำแหนง่ ครู วิทยฐานะ ครชู ำนาญการพิเศษ วทิ ยาลัยชมุ ชนสตลู

2. ผู้ถอดความรู้
1) นางสาวสุนิสา สะแหละ
2) นายอใุ บ หมัดหมดุ
3) นางสาวนวรัตน์ ลิ่มสกลุ

3. ช่ือหัวข้อความรู้ กลไกการพฒั นามัคคเุ ทศก์สูก่ ารท่องเทย่ี วย่งั ยนื

4. ประโยชน์ของความรู้
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่จัดอยู่ในลำดับต้น ๆ ของประเทศที่มีขีด

ความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ แต่จำเปน็ ตอ้ งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นแผนยุทธศาสตร์การ
ท่องเที่ยว ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย โดยได้มีการปรับวิสัยทัศน์ มีการระดมความ
ร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้มี
ความพร้อมที่จะพัฒนา และใช้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญในการสร้างรายได้ให้กับ
ประเทศไทย ให้กระจายทัว่ ถงึ ทุกภมู ิภาคอย่างมั่นคงและยั่งยืน

การดำเนินงานของวิทยาลัยชุมชนสตูลด้านการพัฒนามัคคุเทศก์สู่การท่องเที่ยวยั่งยืน จึงเป็นการ
ดำเนินงานที่แสดงถึงความสามารถในการดำเนินงานแบบครบวงจร และสมบูรณ์แบบ เพราะเป็นการ
ดำเนินงานที่มีกระบวนการเริ่มตั้งแต่การสำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ ตลอดถึงการวิเคราะห์จุดเด่น จุด
ด้อย โอกาส และ อุปสรรค เพื่อนำจุดเด่นและโอกาสมาสร้างนวัตกรรมในการพัฒนา มีการดำเนินการพัฒนา
องค์กร นักศึกษา ชุมชนและพัฒนาระบบการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ มีการทดสอบ
และติดตามผล ซึ่งเป็นการกำกับ ติดตามและประเมินผลเป็นระยะ เพื่อพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมาย มีการ
ยกระดับกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถพัฒนาให้ถึงขีดสุดศักยภาพได้ และมีการสร้างเครือข่ายการพัฒนาสู่ความ
ย่งั ยืน

5. เนื้อหาและสาระสำคัญขององคค์ วามรู้
5.1หวั ข้อความรู้ ประกอบดว้ ย
1) การพัฒนามคั คเุ ทศก์สู่การท่องเทย่ี วยงั่ ยนื
2) ขนั้ ตอนการศึกษา วางแผน ออกแบบ และดำเนินการฝกึ อบรมหลกั สตู รฝกึ อบรมมคั คเุ ทศก์
• การรวบรวมข้อมูล / กลุ่มเปา้ หมาย
• ดำเนนิ การพฒั นาหลักสูตร
• ข้ันดำเนนิ การฝึกอบรม
• สรุปกลไกการพัฒนามัคคุเทศก์สกู่ ารท่องเทีย่ วย่ังยนื

17

5.2 ปัญหาอปุ สรรคทพ่ี บ
การจัดกจิ กรรมไม่เป็นไปตามแผนทวี่ างไว้ เน่อื งจากผลกระทบจากสถานการณโ์ ควิดทีเ่ กิด
ข้นึ กับคนในชมุ ชน จงึ ต้องปรับเปลยี่ นรปู แบบกจิ กรรมใหเ้ กิดความเหมาะสมกับสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาด
ของโควดิ -๑๙ ท่เี กดิ ขนึ้

6. วิธีการนำความร้ไู ปใช้
จดั ทำคูม่ ือเผยแพร่ในวทิ ยาลัยชุมชนสตูล และเผยแพรผ่ ่านเวบ็ ไซต์ของวทิ ยาลัยชมุ ชนสตลู

7. ผู้เรียนรู้
บุคลากร วิทยาลัยชมุ ชนสตูล

****************************************************

18


Click to View FlipBook Version