The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ข่าวปลอมรู้ทัน Fake News

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by earnpsn0, 2021-09-21 01:31:49

ข่าวปลอมรู้ทัน Fake News

ข่าวปลอมรู้ทัน Fake News

ข่าวปลอมรู้ทัน
Fake News

คำนำ

ทุกวันนี้ปั ญหาบนโลกออนไลน์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็ นวง
กว้างในทุกประเทศ ทุกสังคม และทุกวัฒนธรรมก็คือ
ข่าวปลอมหรือข่าวที่มีเนื้อหาบิดเบือน ชวนเข้าใจผิด
หรือมีวัตถุประสงค์ไม่ดีบางอย่างที่จะชักจูงเราให้ทำ
หรือช่วยเผยแพร่ในสิ่งที่ไม่ดี บรรดา Social Network
ต่าง ๆ ล้วนแต่ต้องปวดหัวและหาวิธีการมาจัดการ ทีม
งาน RAiNMAKER เคยพูดถึง Fake News แล้วใน
หลาย ๆ บทความ เช่น ย้อนดูเครื่องมือที่ Facebook
ออกแบบมาสู่ข่าวปลอม และแนวคิดการรู้ทันสื่อโซเชีย
ล หรือธรรมชาติของโลกออนไลน์อย่างปรากฏการณ์

สารบัญ

เรื่อง หน้า

1..Satire or Parody เสียดสีหรือตลก 1-2

2.False connection โยงมั่ว 3-4

3.Misleading ทำให้เข้าใจผิด 5-6

4.False Context ผิดที่ผิดทาง 7-8

5.Impostor มโนที่มา 9-10

6.Manipulated ปลอม ตัดต่อ 11-12

7.Fabricated มโนทุกอย่างเลย 13-14

1.Satire or Parody เสียดสีหรือตลก

เชื่อว่าหลายคนคงจะนึกออก เวลามีเพจ
ตลก เพจล้อเลียน พระนพดล, ข่าวปด,
The Doubble Standard ต่าง ๆ ที่ทุก
คนก็จะดูรู้ว่าเป็ นเพจที่ทำขึ้นมาเพื่ อล้อ

เลียน ทำให้มีพิษมีภัยน้ อยที่สุด
เนื่องจากทางผู้จัด
ทำเองก็ ไม่ได้มี
เจตนาในการสร้างความเข้าใจผิดหรือมี
วัตถุประสงค์ต้องการให้คนมาเชื่อ



2.False connection โยงมั่ว




การโยงมั่วคือการที่สองสิ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย
แต่ถูกนำมากล่าวถึงในข่าวเดียวกันหรือทำให้มา
เชื่อมโยงกัน คุณ Claire บอกว่าสิ่งนี้เกิดจาก
Poor Journalism หรือความไม่รู้ไม่เข้าใจของ
คนเขียนข่าวหรือทำคอนเทนต์ หรือเกิดจากการ
พยายามหารายได้ ตัวอย่างของคอนเทนต์ที่เป็น
False Connection ก็เช่น “น้ำมะนาวรักษา
โรคมะเร็ง” หรือบทความที่ชอบขึ้นว่า “งานวิจัย
เผย …” แล้วกลายเป็นว่าโยงไปขายของ หรือ
ข่าวโลกแตกทั้งหลาย แต่อย่างไรก็ตาม False
Connection จะยังไม่เป็นการหวังผลหรือชวน

เชื่อในระดับสังคมวัฒนธรรมหรือการเมือง



3.Misleading ทำให้เข้าใจผิด




Misleading คือการเขียนข่าวหรือทำคอนเทนต์
โดย จงใจให้เข้าใจผิด หรือการใช้คำอย่างนึงเพื่อ

อธิบายอีกอย่างนึง พอโดนจับได้ก็จะแถว่าก็
เข้าใจผิดเองทั้ง ๆ ที่ตอนแรกคือหวังให้เขาเข้าใจ

ผิดอยู่แล้ว Claire บอกว่าข่าวแบบนี้
วัตถุประสงค์คือ ชวนเชื่อ หรือหวังผลทางการ
เมือง ตัวอย่างของคอนเทนต์ Misleading เรา

จะพบเห็นได้บ่อยกับพวกข่าวการเมือง



4.False Context ผิดที่ผิดทาง

กรณี False Context หรือ Quoting out of
context คือการที่เอาสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เช่น รูป,
ข้อความ, คำพูด แต่เอามาใช้แล้วพูดถึงอีกเรื่องนึง

Claire อธิบายความแตกต่างของ False
Context กับ Misleading ว่า False
Context อาจเกิดจาก Passion (ไม่ได้แปลว่า


ความหลงไหล แต่หมายถึงว่า การที่เรายึดติดกับ

สิ่งใดสิ่งหนึ่ง) คอนเทนต์ที่เป็น False Context
ก็เช่น การเอารูปภัยธรรมชาติในต่างประเทศมา

แล้วเขียนบอกว่าเกิดขึ้นที่ประเทศไทย



5.Impostor มโนที่มา


การมโนที่มาคือการรายงานข่าวแบบปกติ แล้ว

ถ้าไม่ตรวจสอบดี ๆ ก็จะไม่รู้เลยว่าเป็น Fake
News รูปแบบของมันคือการอ้างไปยังบุคคล
หรือแหล่งข่าวเช่น คนนี้กล่าวไว้ว่า, นายกกล่าวไว้
ว่า หรือ คนนู้นคนนี้เคยกล่าวไว้ว่า แต่จริง ๆ
แล้วเป็นการที่คนทำคอนเทนต์หรือคนเขียนข่าว
คิดหรือมโนขึ้นมาเอง Claire จัดให้ Imposter
เป็นความรุนแรงระดับที่ 5 คือสร้างความเข้าใจ

ผิดและความขัดแย้งในระดับวงกว้างได้



6.Manipulated ปลอม ตัดต่อ




การ Manipulated คือการปลอมหรือตัด
ต่อ ความรุนแรงของมันคือถ้าไม่สังเกตเรา
จะดูไม่ออก การตัดต่อนี้รวมถึงการตัดต่อ
ภาพ, เสียง, วิดีโอ หรือแม้กระทั่งการเอา

logo ของสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือมาใส่
ตัวอย่างของ Manipulated Content ก็

เช่น การตัดต่อสร้างเรื่อง ตัดแปะ



7.Fabricated มโนทุกอย่างเลย




การ Fabricated คือขั้นที่รุนแรงที่สุดของ
Fake News ตัวอย่างของมันเช่นการปลอม
มันทั้งเว็บ เช่น การปลอมเป็น ข่าวสด ปลอม
เป็นไทยรัฐ หรือการปลอมเป็นบุคคล แล้ว
รายงานข่าว อันนี้ร้ายแรงมาก เนื่องจากคนก็
จะเข้าใจว่าเป็นสำนักข่าวนั้นจริง ๆ และก็ไม่ได้
เป็นการล้อเลียนหรือ Parody ด้วย ถ้าคนที่
ไม่รู้ก็จะดูไม่ออกเลยว่าเป็นเว็บข่าวปลอม ใน
ไทยก็เคยมีกรณีนี้เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว ตรงนี้

ก็ต้องอาศัยทุกคนช่วยกันตรวจสอบ




Click to View FlipBook Version