โครงงานการพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน สร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ (ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด) ผู้จัดทำโครงงาน นายบูคอรี กูลทวี รหัสนักศึกษา ๖๕๓๐๒๐๑๐๐๔๑ นายไวยะวัฒนะ เซ่งลอยเลื่อน รหัสนักศึกษา ๖๕๓๐๒๐๑๐๐๔๔ ครูที่ปรึกษาโครงงาน นางสาวซาลีนา ระสา รายงานโครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๖๔ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคนิคสตูล ปีการศึกษา ๒๕๖๖
โครงงานการพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน สร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ (ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด) นายบูคอรี กูลทวี นายไวยะวัฒนะ เซ่งลอยเลื่อน รายงานโครงงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคนิคสตูล ปีการศึกษา ๒๕๖๖ คณะกรรมการโครงงาน ………………………………………………………….ประธานกรรมการ (อาจารย์ยันดี มะสมัน) ………………………………………………………….กรรมการ (นางสาวอามีนะ โตะดิน) ………………………………………………………….กรรมการและเลขานุการ (นางสาวซาลีนา ระสา)
ชื่อโครงงาน :การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ ชื่อผู้จัดทำ : นายไวยะวัฒนะ เซ่งลอยเลื่อน รหัสนักศึกษา ๖๕๓๐๒๐๑๐๐๔๔ นายบูคอรี กูลทวี รหัสนักศึกษา ๖๕๓๐๒๐๑๐๐๔๑ ระดับการศึกษา : ระดับประกาศนียบัตรวิชาชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ ๒ ม.6 สาขาวิชา : การบัญชี ปีการศึกษา : ๒๕๖๖ ครูที่ปรึกษาโครงงาน : นางสาวซาลีนา ระสา สถานที่ศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคสตูล บทคัดย่อ การจัดทำโครงงานเรื่องการพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน สร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ (ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบผลการดำเนินการของกิจการที่แน่นอน ให้ผู้ทำบัญชีมีทักษะและประสบการณ์ในการทำบัญชีมากขึ้น กิจการมองเห็นประโยชน์ให้ความสำคัญกับการ จัดทำบัญชีนำความรู้ทางวิชาชีพไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และศึกษาระดับความพึงพอใจของกิจการที่มี ต่อการจัดทำบัญชีจำนวน ๑ ธุรกิจ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าของกิจการสมบูรณ์ ซัก อ บ รีด และบุคคลที่ เกี่ยวข้องในการจัดทำบัญชี จำนวน ๑๐ คน จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อโครงงานการวางระบบบัญชีและ การ จัดทำบัญชีร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๕๕ เมื่อพิจารณาในแต่ ล่ะด้าน พบว่า ด้านที่ ๑ ด้านความรู้ ความสามารถ ข้อ ๑.๑ มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจที่ทำโครงงาน พบว่า ผู้ตอบ แบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๖๐ ข้อ ๑.๒ มีความรู้ ความสามารถ ใน การ ถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับเอกสารที่ใช้บันทึกเป็นอย่างดี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (X) ๔.๕๐ ด้านที่ ๒ ด้านกระบวนการ / ขั้นตอนการให้บริการรับทำบัญชี ข้อ ๒.๑ มีความ สม่ำเสมอ เป็นปัจจุบันในการเก็บข้อมูลด้านรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความ พึงพอใจ ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๓๐ ข้อ ๒.๒ ติดตามและสามารถแก้ไขปัญหาการบันทึกข้อมูลรายได้ และ ค่าใช้จ่ายของกิจการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๕๐ ด้านที่ ๓ การบูรณาการ ข้อ ๓.๑ บูรณาการทักษะประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า ผู้ตอบ แบบสอบถาม มีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๖๐ ข้อ ๓.๒ โครงงานการวางระบบบัญชีและ การจัด ทำบัญชีร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๘๐
กิตติกรรมประกาศ โครงงานเรื่องการพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ (ร้าน สมบูรณ์ ซัก อบ รัด) สามารถสำเร็จลุล่วงและประสบความสำเร็จได้ด้วยนั้น เกิดจากส่วนประกอบหลาย ๆ ด้าน ด้วยกัน ทางผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ อาจารย์ซาลีนา ระสา ที่ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำในการจัดทำ โครงงานเป็นอย่างดี และชี้แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้ ขอขอบพระคุณท่านคณะกรรมการที่พิจารณาโครงงานและกรุณาให้คำปรึกษามาโดยตลอด ขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วม ให้ความเอื้อเฟื้อข้อมูลและให้ความช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน โครงงาน จะสำเร็จลุล่วงไปไม่ได้หากไม่มีบุคคลที่กล่าวมาในการจัดทำโครงงาน ทางคณะผู้จัดทำ จึงขอขอบพระคุณ อาจารย์ทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำโครงงาน
สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค สารบัญภาพ จ สารบัญตาราง ฉ บทที่ ๑ บทนำ หลักการและเหตุผล ๑ วัตถุประสงค์ ๑ เป้าหมาย ๒ ระยะเวลาในการดำเนินงาน ๒ สถานที่ดำเนินงาน ๒ วิธีดำเนินงาน ๒ ตารางการดำเนินงาน ๓ งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย ๓ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๔ การติดตามและประเมินผล ๔ ปัญหาและอุปสรรค ๔ นิยามศัพท์เฉพาะ ๔ บทที่ ๒ แนวความคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ความหมายที่เกี่ยวการบัญชี ๖ แนวคิดของการวางระบบบัญชี ๑๒ แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน ๑๔ ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน ๑๕ โปรแกรม Microsoft- excel ๑๙ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ๒๐ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๒๔
สารบัญ (ต่อ เรื่อง หน้า บทที่ ๓ วิธีการดำเนินงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ๒๗ วิธีการดำเนินโครงการ ๒๗ การเก็บรวบรวมข้อมูล ๓๒ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ๓๒ บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการดำเนินงานการจัดทำบัญชี ๓๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ๓๕ ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถาม ๓๗ บทที่ ๕ สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย ๔๔ อภิปรายผลการวิจัย ๔๕ ข้อเสนอแนะ ๕๐ บรรณานุกรม ๕๑ ภาคผนวก ภาค ก ประวัติผู้จัดทำโครงงาน ภาค ข แบบเสนอโครงงาน ภาค ค แบบประเมินโครงงาน ภาค ง บันทึกรายรับ-รายจ่าย ภาค จ สมุดรายวันทั่วไป ภาค ฉ สมุดแยกประเภททั่วไป ภาค ฌ งบทดลอง ภาค ฎ แผ่นผับ
สารบัญรูปภาพ เรื่อง หน้า ภาพที่ 3.๑ โปรแกรม Microsoft Excel ภาพที่ 3.๒ หน้าต่างโปรแกรม Microsoft Excel ภาพที่ 3.๓ การออกแบบตารางลงบันทึกบัญชี ภาพที่ 3.๔ เจ้าของกิจการ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ภาพที่ 3.๕ ฟอร์มบัญชีรายรับ – รายจ่ายของร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ภาพที่ 3.๖ อธิบายวิธีการจดบันทึกรายรับ - รายจ่ายลงในสมุดบัญชีครัวเรือน ภาพที่ 3.๗ รวบรวมบัญชีรายรับ – รายจ่ายของร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ภาพที่ 3.๘ สรุปผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนของ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ภาพที่ 3.๙ การลงบันทึกรายรับ – รายจ่ายในสมุดบัญชีครัวเรือนของร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ภาพที่ 3.๑๐ ครูที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารก่อนทำรูปเล่มโครงการ ภาพที่ 3.๑๑ การเก็บรวบรวมแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดทำบัญชี
สารบัญตาราง เรื่อง หน้า ตารางที่ ๔.๑ ผลการดำเนินงานการจัดทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ตารางที่ ๔.๒ ตารางความถี่ ร้อยละ % ของผู้ตอบแบบสอบถามโครงงานจำแนกตามเพศ ตารางที่ ๔.๓ ตารางความถี่ ร้อยละ % ของผู้ตอบแบบสอบถามโครงงานจำแนกตามอายุ ตารางที่ ๔.๔ ตารางความถี่ ร้อยละ % ของผู้ตอบแบบสอบถามโครงงานจำแนกตามวุฒิการศึกษา ตารางที่ ๔.๕ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงาน ด้านที่ ๑ ข้อที่ ๑.๑ มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจที่ทำโครงงาน ตารางที่ ๔.๖ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงาน ด้านที่ ๑ ข้อที่ ๑.๒ มีความรู้ ความสามรถ ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเอกสารที่ ใช้เป็นอย่างดี ตารางที่ ๔.๗ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงาน ด้านที่ ๒ ข้อที่ ๒.๑ มีความสม่ำเสมอ เป็นปัจจุบันในการเก็บข้อมูลด้านรายได้ และค่าใช้จ่ายของกิจการ ตารางที่ ๔.๘ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงาน ด้านที่ ๒ ข้อที่ ๒.๒ ติตตามและสามารถแก้ไขปัญหาการบันทึกข้อมูลรายได้และ ค่าใช้จ่ายของกิจการได้เป็นอย่างดี ตารางที่ ๔.๙ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงาน ด้านที่ ๓ ข้อที่ ๓.๑ บูรณาการทักษะประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ตารางที่ ๔.๑๐ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงาน ด้านที่ ๓ ข้อที่ ๓.๒ โครงงานการวางระบบบัญชีและจัดทำบัญชี ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด มีความสอดคล้อง กับวิชาบัญชี ตารางที่ ๔.๑๑ ตารางแสดงค่าเฉลี่ย (X) ความพึงพอใจของเจ้าของกิจการ
บทที่ ๑ บทนำ ๑. หลักการและเหตุผล การทำธุรกิจต่างมีเป้าหมายในเรื่องของผลกำไร ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกถึงความสามารถในการดำเนินงาน ของกิจการและผลประกอบการนั่นเอง การทำบัญชีจะทำให้เราทราบถึงรายรับ-รายจ่าย ที่เป็นตัวบ่งบอกกำไร ขาดทุนของกิจการถือเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในทางการค้า แสดงถึงอัตราการเติบโต และบอกว่าแผนการ ดำเนินงานขณะนั้นได้ผลและมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนธุรกิจได้อย่างถูกต้องเป็นแบบแผนมาก ขึ้น โดยรายละเอียดที่อยู่ในบัญชีควรมีทั้งงบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน และงบกระแสเงินสด การ จัดทำบัญชีนั้นจะช่วยควบคุมการเงินให้เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ นำไปวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงรายจ่ายที่ไม่ จำเป็น และยังสามารถเป็นหลักฐานในการตรวจสอบทางด้านการเงินได้อีก ซึ่งการทำบัญชีอย่างเป็นระบบนั้น ยังจะช่วยให้เราสามารถนำหลักฐานต่าง ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ ไปแสวงหาแหล่งเงินทุน เช่น ธนาคาร บริษัท เงินกู้ เพื่อนำมาลงทุนในกิจการได้ง่าย เนื่องจากการอนุมัติสินเชื่อมีโอกาสเป็นไปได้สูงและที่สำคัญหลักฐานใน การทำบัญชีที่เป็นระบบ ถูกต้อง ตรวจสอบได้ง่ายยังช่วยป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นภายในบริษัทหรือ กิจการ ประโยชน์อีกอย่างของการจัดทำบัญชีนั้นจะช่วยให้การเสียภาษีประจำปีทำได้ง่ายขึ้นประหยัดเวลาและ มีความถูกต้อง ด้วยประโยชน์ดังกล่าวทำให้กิจการต้องมีการจัดทำบัญชีอย่างเป็นระบบ แต่สำหรับธุรกิจใน ครัวเรือนขนาดเล็กมักไม่ให้ความสำคัญกับการจัดทำบัญชี เมื่อเกิดปัญหาจึงทำให้ไม่ทราบถึงรายรับ-รายจ่ายที่ เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกิจการ จนไม่สามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานของกิจการได้ว่ามีรายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้ในจำนวนที่แน่ชัด ส่งผลให้ไม่สามารถรับรู้ที่มาของรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ตลอดจนสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน ของกิจการที่มีผลต่อการทำงบการเงิน ดังนั้นกระผม จึงได้จัดทำโครงงานการพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน สร้างความมั่นคงในการดำเนิน ธุรกิจ โดยนำความรู้ทางบัญชีที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจากธุรกิจใน ครอบครัวมีการถ่ายทอดองค์ความรู้วิธีการทางบัญชีที่ถูกต้องตามหลักบัญชีและวางระบบบัญชีให้แก่ธุรกิจเพื่อ สร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจให้ความสำคัญและมองเห็นประโยชน์ของการทำบัญชี ทราบถึงผลการดำเนินงานต่างๆ ของธุรกิจที่ถูกต้อง ชัดเจน เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับวางแผน ช่วยให้การ ดำเนินกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการฝึกทักษะ ประสบการณ์ให้แก่นักศึกษา และ ประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจการได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ๒. วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อให้ทราบผลการดำเนินการของกิจการที่แน่นอน ๒.๒ เพื่อให้ผู้ทำบัญชีมีทักษะและประสบการณ์ในการทำบัญชีมากขึ้น ๒.๓ เพื่อให้กิจการมองเห็นประโยชน์ และให้ความสำคัญกับการจัดทำบัญชี ๒.๔ เพื่อนำความรู้ทางวิชาชีพไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ๒.๕ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของกิจการที่มีต่อการจัดทำบัญชี
๓. เป้าหมาย ๓.๑ เชิงปริมาณ - ระบบบัญชีของธุรกิจให้บริการ รับจ้างซัก อบ รีด ๑ ระบบ ๓.๒. เชิงคุณภาพ - การจัดทำระบบัญชีที่มีคุณภาพ มีข้อมูลในการตรวจสอบ สร้างความมั่นคงในการดำเนิน ธุรกิจ เป็นเครื่องมือสำหรับวางแผนช่วยให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ๔. ระยะเวลาในการดำเนินงาน ตุลาคม ๒๕๖6 – กุมภาพันธ์ ๒๕๖7 ๕. สถานที่ดำเนินงาน - ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด - ๓๒๓ ถนนสฤษดิ์ภูมินารถ ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ๙๑๐๐๐ ๖. วิธีการดำเนินงาน ขั้นตอนการเตรียมงาน ๑. เลือกการติดต่อสถานที่จัดทำโครงงาน ๒. ติดต่อกับธุรกิจและตรวจสอบข้อมูลเดิมของธุรกิจ ๓. เสนอหัวข้อโครงงาน ๔. จัดทำเอกสารอนุมัติโครงงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน ๑. จัดทำแบบฟอร์มในการบันทึกบัญชี ๒. รวบรวมข้อมูลรายรับ – รายจ่ายของธุรกิจ ๓. นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาทำการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชี ๔. ติดตามและประเมินผล ๕. สรุปผลการดำเนินงาน ๖. รวบรวมข้อมูลจัดทำรูปเล่ม ขั้นตอนการนำเสนอผลงาน ๑. นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการและครูที่ปรึกษาโครงงาน
๗. ตารางการดำเนินงาน รายละเอียด ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. หมายเหตุ 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 ขั้นเตรียมการ 1. เลือกและติดต่อสถานที่ทำ โครงงาน 2. ติดต่อกับเจ้าของธุรกิจและ ตรวจสอบข้อมูลเดิมของธุรกิจ 3. เสนอหัวข้อโครงงาน 4. จัดทำเอกสารขออนุมัติ โครงงาน ขั้นดำเนินงาน 1. จัดทำแบบฟอร์มในการ บันทึกบัญชี 2. รวบรวมข้อมูลราบรับ รายจ่ายของธุรกิจ สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง 3. นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ทำการบันทึกบัญชีตามหลักการ บัญชี 4. ติดตามและประเมินผล ๕. สรุปผลการดำเนินงาน ๖. รวบรวมข้อมูลจัดทำรูปเล่ม ขั้นการนำเสนอผลงาน ๑. นำเสนอผลงานต่อ คณะกรรมการและครูที่ปรึกษา โครงงาน ๘. งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่าย ( ) เงินกิจกรรม ( ) เงินชมรม ( √ ) เงินส่วนตัว จำนวน รายการ ราคาต่อหน่วย ราคารวม หมายเหตุ ๑ ค่าปริ้นงาน ๔๐๐ ๔๐๐ ๒ ค่าเข้าเล่ม ๕๐ ๑๐๐ ๑ ค่าจัดบอร์ด ๕๐๐ ๕๐๐ รวม ๑.๐๐๐
๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๙.๑ สามารถทราบผลการดำเนินการของกิจการที่แน่นอน การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ๙.๒ ผู้ทำบัญชีมีทักษะและประสบการณ์ในการทำบัญชีมากขึ้น ๙.๓ กิจการให้ความสำคัญกับการจัดทำบัญชี ๙.๔ นักศึกษานำความรู้ทางวิชาชีพไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 10. การติดตามและประเมินผล ๑๐.๑ การเก็บรวบรวมเอกสารทางบัญชี ๑๐.๒ แบบประเมินความพึงพอใจ ๑๐.๓ สรุปรายงานผลรูปเล่มโครงงาน ๑๑. ปัญหาและอุปสรรค ๑๑.๑ ผู้ประกอบการขาดความสม่ำเสมอในการบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย อาจส่งผลให้บัญชี รายรับ-รายจ่ายไม่ตรงตามความจริงเนื่องจากอาจมีบางรายการไม่ได้บันทึกทึก ๑๑.๒ อุปสรรคของเวลาเนื่องจากต้องเก็บข้อมูลหลังเลิกเรียน ทำให้มีเวลาน้อย ๑๒. นิยามศัพท์เฉพาะ การวางระบบบัญชีคือ การออกแบบขั้นตอนการจัดการด้านบัญชีให้เหมาะกับโครงสร้างและขนาด ของบริษัท เช่น บริษัท A มีแผนกต่างๆ ดังนี้ แผนกจัดซื้อ, แผนกขาย, แผนกบัญชี บริษัทจะต้องมีการจัด ประเภทเอกสารที่แต่ละแผนกต้องดูแลและเก็บให้ถูกต้อง พร้อมกับจัดประเภทบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ จัด สต็อกสินค้า และจัดระบบการซื้อการขายที่ถูกต้อง ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือการวางระบบบัญชี การทำบัญชีคือ งานของคนทำบัญชี (หรือผู้ดูแลบัญชี) ผู้ซึ่งบันทึกธุรกรรมทางการเงินรายวันของ ธุรกิจ พวกเขามักจะเขียนบัญชีประจำวัน (ซึ่งมีบันทึกการขาย, การซื้อ, รายรับ และรายจ่าย) และบันทึก ธุรกรรมทางการเงินแต่ละรายการไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือเครดิต ลงในบัญชีประจำวันที่ถูกต้องนั่นคือสมุดเงิน สดย่อย, สมุดบัญชีแยกประเภทผู้จำหน่าย สมุดบัญชีแยกประเภทลูกค้า ฯลฯ และสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป หลังจากนั้น นักบัญชีสามารถสร้างรายงานทางการเงินจากข้อมูลที่บันทึกโดยคนทำบัญชีการทำบัญชีส่วนใหญ่ หมายถึงด้านการเก็บบันทึกการบัญชีการเงิน และเกี่ยวข้องกับการเตรียมเอกสารต้นฉบับสำหรับธุรกรรม, การ ดำเนินงาน และกิจกรรมอื่น ๆ ของธุรกิจทั้งหมด คนทำบัญชีนำบัญชีเข้าสู่ขั้นตอนงบทดลอง ซึ่งนักบัญชีอาจ จัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุล โดยใช้งบทดลองและสมุดบัญชีแยกประเภทที่จัดทำโดยคนทำบัญชี ธุรกิจ คือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้มีการผลิตสินค้า และบริการ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย และกระจายสินค้าและมีประโยชน์หรือกำไรจากกิจกรรมนั้น ธุรกิจมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ในสังคมปัจจุบันมาก เพราะนอกจากจะเป็นองค์การที่ผลิตสินค้า หรือบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการ ดำรงชีวิต หรือปัจจัย 4 การประกอบธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก หรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญ คือ กำไร เพราะเป็นแรงจูงใจของการดำเนินการทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันและการขยายตัวทางธุรกิจให้ เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
การจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ การบันทึกรายรับ-รายจ่ายประจำวัน ประจำเดือนว่ามีรายรับจากแหล่ง ใด รายจ่ายจำเป็นมาก รายจ่ายจำเป็นน้อยมีจำนวนเท่าใด มีเงินคงเหลือเท่าใด หรือเงินไม่พอใช้เท่าใด โดยนำ รายรับ-รายจ่าย มาหักลบกันจะทราบว่าใช้จ่ายขาดดุลหรือเกินดุล สามารถใช้วางแผนการรับการจ่ายเงินของ ตนเองและครอบครัวได้ รายรับ หรือ รายได้ คือ เงินหรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่ได้รับจากการประกอบอาชีพหรือ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ หรือผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น รายได้จาก ค่าจ้างแรงงาน เงินเดือน ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร หรือ จากเงินให้กู้ยืมรายได้จากการขายสินค้าหรือ บริการ เป็นต้น รายจ่าย หรือ ค่าใช้จ่าย คือ เงินหรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่จ่ายออกไปเพื่อให้ได้สิ่งตอบแทน กลับมาสิ่งตอบแทนอาจเป็นสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าอาหาร ค่าน้าค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าน้ามัน ค่า หนังสือตารา เป็นต้น หรือรายจ่ายอาจไม่ได้รับสิ่งตอบแทนคือสินค้าหรือบริการก็ได้ เช่น เงินบริจาคเพื่อการ กุศลเงินทาบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น
บทที่ ๒ แนวความคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดทำโครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ ครั้งนี้เพื่อวางระบบบัญชีและจัดทำบัญชีให้กับผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ ร้านสมบูรณ์ซัก อบ รีด ซึ่งได้นำ ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาชีพการบัญชีและศึกษาข้อมูลจากเอกสาร แนวความคิด และทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับ การบัญชีเพื่อนำมาเป็นข้อมูลใช้ในการจัดทำโครงงานไว้ดังต่อไปนี้ 2.1 ความหมายที่เกี่ยวการบัญชี 2.1.1 ความหมายของการบัญชี 2.1.2 ความหมายของงบการเงิน 2.1.3 ความหมายเกี่ยวกับธุรกิจ 2.2 แนวคิดของการวางระบบบัญชี 2.2.1 ความหมายของการวางระบบบัญชี 2.2.2 หลักการวางระบบบัญชี 2.2.3 ขั้นตอนหรือวิธีการวางระบบบัญชี 2.2.4 ประโยชน์ของการวางระบบบัญชี 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน 2.3.1 ความหมายของการควบคุมภายใน 2.3.2 หลักการควบภายใน 2.3.3 ขั้นตอนหรือวิธีการควบคุมภายใน 2.3.4 ประโยชน์ของการควบคุมภายใน ๒.๔ ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน ๒.๕ โปรแกรม Microsoft- excel ๒.๕.๑ ความหมายโปรแกรม Microsoft- excel 2.๕.๒ คุณสมบัติของโปรแกรม Microsoft-Excel ๒.๖ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ 2.๗ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ความหมายเกี่ยวกับบัญชี 2.1.1 ความหมายของการบัญชี การบัญชี หมายถึง งานศิลปะของการนำรายงานและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึก จัด หมวดหมู่ สรุปผลและวิเคราะห์ตีความอย่างมีหลักเกณฑ์คำว่า การบัญชี ((Bookkeeping)) ได้มีผู้ให้คำจำกัด ความไว้มากมายเช่น “การบัญชี” คือ การจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับ การจ่ายเงิน และสิ่งที่มี ค่าเป็นเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอเป็น ระเบียบถูกต้องตามหลักการและสามารถแสดงผลการดำเนินงาน และฐานการเงินของกิจการในระยะหนึ่งได้ (จริพันธ์สิทธิเขตการ,2546:3) คำจำกัดความของการบัญชีนั้นมี ผู้ให้ความหมายไว้แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
ชาตรี สิทธิเดชและคณะ (2546:5) ได้ให้ความหมายของการบัญชี คือกระบวนการ ชัดการใน ส่วนของบันทึกรายการค้า ได้แก่ การเขียนบันทึกรายการล้าทางการล้า การจำแนกแยก ประเภทหมวดหมู่ ทางการล้า การสรุปผลการดำเนินงาน รวมไปถึงการวิเคราะห์และการแปล ความหมายข้อมูลของนักบัญชี สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของ การบัญชีไว้ว่า “การบัญชี คือ ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอัน เกี่ยวกับเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่ง เป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่ สนใจกิจกรรมของกิจการ สรุปได้ว่า การบัญชีก็คือ การเก็บรวบรวม การจดบันทึก การจำแนก และการ สรุปผลรายการ ทางการเงินที่เกิดขั้นในรูปของตัวเงิน รวมทั้งวิเคราะห์ และแปลความหมาย ผลสรุปนั้นด้วย จากความหมาย ของการบัญชีดังกล่าว เราสามารถสรุปขั้นตอนของการบัญชีได้ ดังนี้ การเก็บรวบรวม (Gathering) ข้อมูลทางการเงิน หรือที่เรียกว่ารายการค้า (Transaction) ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน การจดบันทึก (Recording) รายการค้า ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันลงในสมุดบัญชีขั้นต้น การจำแนก (Classifying) รายการค้าที่บันทึกในสมุดบัญชีขั้นต้น ออกเป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชี ขั้นปลาย การสรุปผล (Summarizing) รายการค้าที่เกิดขึ้น และจำแนกแล้วในช่วงเวลาหนึ่งๆ เพื่อทราบถึง ผลการดำเนินงาน และฐานะทางการเงินของกิจการ โดยผลการสรุปจะถูกแสดงออกมาในรูปของงบการเงิน การบัญชี หมายถึง ศิลปะการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับ เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็น ประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่าย และผู้สนใจในกิจกรรมของกิจการจากคำจำกัดความที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ ว่า “ การบัญชี ” เป็นการจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการรับเงินและการจ่ายเงิน หรือสิ่งของที่ มีมูลค่าเป็นตัวเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ โดยจัดแยกประเภทเป็นระเบียบ ถูกต้องตามหลักการ ศาสตราจารย์ W.A Paton แห่งมหาลัยมิซิแกนได้ให้คำจำกัดความ “การบัญชี ” (Accounting) ว่าการบัญชี คือ การช่วยอำนวยให้การบริหารเศรษฐกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น นักบัญชีจึงมีหน้าที่บันทึก รายการซึ่งเกิดขึ้นได้กับหน่วยธุรกิจเฉพาะที่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินได้รวมที่เรียบเรียงจัดแยกประเภทวิเคราะห์ และรายงานผลสรุปของรายการที่เกิดขึ้นจากความหมายของการบัญชีที่มีนักวิชาการให้นิยามไว้แล้วนั้น สามารถนำมาสรุปได้ว่าการบัญชีนั้นหมายถึง การบันทึก การวิเคราะห์ การจัดเก็บรวมรวบหลักฐานการเงินของ ธุรกิจนั้นๆ เพื่อให้ทราบฐานะทางการเงินของธุรกิจ ณ วันใดวันหนึ่งว่า ธุรกิจในสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน เป็นส่วน ของข้าวของเท่าใดการบัญชียังช่วยในการบริหารธุรกิจให้ก้าวหน้าทางการเงินและมีข้อมูลอันเป็นประโยชน์ใน การวางแผนการดำเนินงาน และควบคุมธุรกิจให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย 2.1.2 ความหมายของงบการเงิน เป็นรายงานทางการเงินที่นำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแส เงินสดของกิจการโดยถูกต้องที่ควรในแต่ละงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่ง หรือระหว่างงวดบัญชีก็ได้ งบการเงินจะแสดง ข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรก็ต่อ เมื่อกิจการได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีอย่างเหมาะสม รวมทั้งการเปิดเผย ข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น งบการเงินดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และสามารถแสดงถึงผลการปฏิบัติของฝ่ายบริหาร ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ดูแลทรัพยากรของกิจการ งบ การเงินต้องจัดทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจะต้องนำเสนอข้อมูลดังต่อไปนี้ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของ เจ้าของ รายได้ ค่าใช่จ่าย และกระแสเงินสด
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย 5 ข้อ ดังนี้ 1. งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) หรือ งบดุล (BalanceSheet) หมายถึง งบที่แสดงฐานะการเงินของบริษัท ณ วันใดวันหนึ่ง งบแสดงฐานะการเงินจะแสดง การใช้เงินทุนของบริษัทเพื่อสรรหาทรัพยากรที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ ประเภทของงบแสดงฐานะการเงิน 2 ประเภท คือ 1. งบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชี 2. งบแสดงฐานะการเงินแบบรายงาน ประโยชน์ของงบแสดงฐานะการเงิน คือ ทำให้ทราบฐานะการเงินของบุคคลหรือกิจการค้าว่ามี จำนวนเท่าใด และยังทำให้ทราบว่าจำนวนเงินสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน) มีจำนวนเท่าใด สมการบัญชี (Accounting Equation) สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ โครงสร้างของแสดงฐานะการเงิน โครงสร้างของงบแสดงฐานะการเงินโดยทั่วไปจะแยกแสดงรายการต่าง ๆ ดังนี้ - สินทรัพย์ จะแสดงฐานะรายการเรียงลำดับจากสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสุดไปยังสภาพ คล่องต่ำสุด - หนี้สิน จะแสดงรายการเรียงลำดับจากหนี้สินที่ครบกำหนดชำระคืนก่อนไปยังหนี้สินระยะ ยาว - ส่วนของผู้ถือหุ้น จะแสดงรายการเรียงลำดับจากทุนเรือนหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น และ กำไรสะสม 2. งบกำไรขาดทุน (Income Statement) หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบบัญชีที่กำหนดแต่จะต้องไม่เกิน 1 ปี เพื่อวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจว่ามีรายได้และค่าใช่จ่ายในรอบ ระยะเวลานั้นเท่าใด และเมื่อนำรายได้หักด้วยค่าใช่จ่ายแล้ว จะเป็นกำไรสุทธิ ( Net Income หรือ Net Profit ) หรือขาดทุนสุทธิ ( Net Loss ) งบกำไรขาดทุน คือ งบการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับ รอบระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็น 3 เดือน หรือ 6 เดือน ประกอบด้วย - รายได้ หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการได้รับมาจากการประกอบกิจกรรม - ค่าใช้จ่าย หมายถึง มูลค่าต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดจากการขายสินค้า - กำไรสุทธิ หมายถึง ส่วนของรายได้ที่เกินกว่าต้นทุนขาย - ขาดทุนสุทธิ หมายถึง ส่วนของรายได้ที่ต่ำกว่าต้นทุนขาย 3. งบกระแสเงินสด ( Cash Flow Statement ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในกระแสเงิน สดของกิจการ โดยบอกถึงที่มาและที่ไปของกระแสเงินสด ประกอบด้วย 1. กระแสเงินสดจากกิจการด าเนินงาน คือ เงินสดรับจ่ายจริงที่ได้จากการดำเนินกิจการโดย ไม่สนใจรายได้ที่ยังไม่ได้รับเงินและค่าใช่จ่ายที่ยังไม่ได้จ่ายเงิน 2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน คือ กระแสเงินสดรับจ่ายจริงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ในการลงทุนของธุรกิจในส่วนของที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เงินลงทุน หากมีการลงทุนเพิ่ม เช่น ซื้อเครื่องจักร แสดงว่ามีการใช้ไปของเงินสด ในทางตรงข้าม หากมีการขายสินทรัพย์ออกไป จะถือว่าเป็นแหล่งได้มาของเงิน สด 3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงิน คือ กระแสเงินสดรับจ่ายจริงที่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงในแหล่งที่มาของเงินทุน ทั้งที่เป็นกู้ยืมระยะสั้น และระยะยาว
หมายเหตุประกอบงบการเงิน ( Note of Financial Statement ) ประกอบด้วยการอธิบาย และการวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนที่แสดงในงบการเงินที่แสดงฐานะการเงินงบกำไรขาดทุนงบกระแส เงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ โดยแสดงในรูปของงบย่อยหรืองบประกอบต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้ต้องเปิดเผย และ การเปิดเผยข้อมูลอื่นที่ทำให้งบ การเงินแสดงโดยถูกต้องตามที่ควร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจได้ถูกต้อง 4. งบแสดงการเปลี่ยนในส่วนของเจ้าของ (Statement of Changes in owner Equity) หมายถึง งบการเงินที่แสดงรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ของเจ้าของ จากต้นงวดบัญชีไปถึงสิ้นงวดบัญชีโดยแยกแสดงแต่ละรายการตามประเภทของการแสดงรายการในงบแสดง การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่องการนำเสนองบ การเงินกำหนดไว้ว่า งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของจากการกระทบยอดระหว่างยอดยกมา ณ วัน ต้นงวดและวันสิ้นงวด โดยให้เปิดเผยการเปลี่ยนซึ่งเป็นผลมาจากดังต่อไปนี้ (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552) 1. กำไรหรือขาดทุน 2. แต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 3. รายการกับผู้เป็นเจ้าของจากความสามารถในการเป็นเจ้าของ ซึ่งแสดงเงินทุนที่ได้รับจากผู้ เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของและการเปลี่ยนแปลงในส่วนได้เสียของความเป็นเจ้าของใน บริษัทย่อยที่ไม่ได้ส่งผลให้สูญเสียการควบคุม ประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 20/2554 เรื่อง มาตรฐานการายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์,2554) ได้กำหนดให้กิจการต้องนำเสนองบ แสดงการเปลี่ยนแปลงของเจ้าของโดยนำเสนอรายการต่อไปนี้ 1. เงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของและจ่ายคืนให้แก่เจ้าของ รวมทั้งส่วนแบ่งกำไร 2. กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาของการรายงาน 3. ยอดคงเหลือ ณ วันต้นงวด ของกำไร (ขาดทุน) สะสม และรายการต่าง ๆ ในส่วนของ เจ้าของ การเปลี่ยนแปลงรายการต่าง ๆ ระหว่างงวดและยอดคงเหลือของรายการนั้น ๆ ณ วันสิ้นงวด 4. รายการซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ก าหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยัง ส่วนของเจ้าของ 5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Note to financial Statement) ประกอบด้วยคำอธิบาย การวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนเงินที่แสดงในงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบการ เปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ โดยแสดงในรูปของงบย่อยหรืองบประกอบต่างๆ รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูล ตามมาตรฐานการบัญชีกำหนดให้เปิดเผยและการเปิดเผยข้อมูลอื่นๆ ที่จะทำให้งบการเงินแสดงโดยถูกต้อง ตามที่ควรจะเป็น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ประโยชน์ของหมายเหตุประกอบงบการเงิน 1) ใช้ดูจำนวนลูกหนี้การค้า หลายคนคงมีคำถามว่าทำไมต้องดูเพราะว่ามีลูกหนี้การค้ามากก็ แสดงว่ากิจการขายสินค้าและบริการได้ดี แต่ก็ไม่เสมอไปลูกหนี้การค้าหากมีมากจนผิดสังเกตอาจจะเกิดจาก กิจการมีลูกหนี้การค้าที่ขาดสภาพคล่องทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้เกิดผลเสียต่อกิจการ ดังนั้นผู้ใช้งบการเงินควรสังเกตตรงจุดนี้ให้ดีว่า ลูกหนี้การค้าเป็นอย่างไร ขายสินค้าอะไร มีความสามารถในการ จ่ายหนี้หรือไม่ 2) ใช้ดูการตัดค่าเสื่อมราคา เพราะบางทีอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาทำ ให้กิจการมีกำไรโตขึ้นมากในรอบบัญชีนั้น ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดว่ากำไรที่ได้นั้นมาจากการดำเนินงาน
3) เมื่อผู้ใช้งบการเงินเปรียบเทียบอัตราการทากาไรกับกิจการคู่แข่งแล้วพบว่า กิจการสามารถทำ อัตรากำไรได้มากว่าหรือแตกต่างมากๆ อาจจะมีผลมาจากทั้งสองกิจการมีนโยบายการทาบัญชีที่แตกต่างกัน 4) เมื่อพบว่ากิจการมีรายได้โตขึ้นมากๆ ผู้ใช้งบการเงินต้องตรวจดูว่ากิจการมีนโยบายการรับรู้ รายได้แบบใด 5) รายการอื่นๆ ที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน 2.1.3 ความหมายเกี่ยวกับธุรกิจ ธุรกิจ หมายถึง การทำกิจกรรมของกลุ่มบุคคล หรือบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่าย การผลิต และการบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการได้รับผลตอบแทน หรือผลกำไรจากการดำเนินกิจกรรมนั้นอย่างเป็น ระบบ มีระเบียบตามเกณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน หรือผู้บริโภค ความสำคัญของธุรกิจ ธุรกิจ เป็นองค์กรที่ดาเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและประชาชน และธุรกิจ ยังมีผลต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ธุรกิจทำให้เกิดการนาทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 2. ธุรกิจช่วยให้ผู้บริโภคได้ใช้สินค้าหรือบริการ และเป็นการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ ดีขึ้น 3. ธุรกิจช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้กับประเทศในรูปแบบของภาษีอากร 4. เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีการนาเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิตสินค้า มี เครื่องมือสื่อสารที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต 5. ธุรกิจทำให้เกิดการจ้างงาน ช่วยลดปัญหาการว่างงานและปัญหาทางสังคม โครงสร้างของ ธุรกิจ โดยทั่วไปโครงสร้างขององค์กรธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ โครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ และโครงสร้างที่เป็นทางการ ดังนี้ 1. โครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ คือไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ไม่กาหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ไม่มีกา หนดกฎระเบียบใดๆ โครงสร้างลักษณะนี้มักเกิดขึ้นในธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจในครอบครัว 2. โครงสร้างที่เป็นทางการ เป็นธุรกิจที่มีการกำหนดรูปแบบ มีกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ มี ระเบียบแบบแผนในการทางาน และมีแผนภูมิโครงสร้างแสดงไว้ให้เห็น หน้าที่การประกอบธุรกิจ ธุรกิจทุกประเภทต่างมีหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านต่างๆ เพื่อให้ ผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุด เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด สามารถบำบัดความต้องการของผู้บริโภคได้อย่าง สมบูรณ์หน้าที่ดังกล่าว ได้แก่ 1. การผลิต เป็นกิจกรรมในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองความ ต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจในการบริโภค กระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการมีหลาย ขั้นตอน จึงจะได้สินค้าหรือบริการตามที่ผู้บริโภคต้องการ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องมีความรู้ในการผลิตเป็นอย่าง ดี จึงจะทำให้ได้สินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพดี มีต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจต้อง พิจารณา ได้แก่ 1.1 การเลือกทำเลที่ตั้ง หมายถึง การเลือกตำแหน่งที่วางจุดจำหน่ายหรือเผยแพร่สินค้า เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายให้มากที่สุด
1.2 การออกแบบสินค้า หมายถึง การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือสร้างจุดเด่นให้กับสินค้า เพื่อ เสริมแรงจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจในสินค้า 1.3 การกำหนดตารางเวลาการผลิต หมายถึง กระบวนการผลิตสินค้าให้ทันกับความต้องการ ของผู้บริโภค โดยมีการวางแผนในการผลิตล่วงหน้า 1.4 การตรวจสอบสินค้า หมายถึง ก่อนที่สินค้าจะไปถึงผู้บริโภค จะต้องมีการตรวจสอบ คุณภาพสินค้าว่าตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือมีคุณภาพไม่เป็นผลเสียต้องผู้บริโภค 2. การจัดหาเงินทุน เงินทุนถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจ จึงต้องมีการบริหารเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการจัดสรรเงินทุนในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการจัดหาเงินทุนมาใช้ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งมีแหล่งเงินทุน 2 แหล่ง ดังนี้ 2.1 แหล่งเงินทุนภายใน เป็นแหล่งเงินทุนที่ได้จากเจ้าของกิจการ อันได้แก่ เงินที่นำมาลงทุน และจากกำไรสะสม 2.2 แหล่งเงินทุนภายนอก เป็นเงินทุนที่ได้จากการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายนอกกิจการ 3. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ คนถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องจัดหาบุคคลที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับตำแหน่งงาน 4. การบริหารการตลาด เป็นกระบวนการที่ทาให้สินค้าหรือบริการถึงมือผู้บริโภค เพื่อ ตอบสนองความต้องการละสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งการบริหารการตลาด ผู้ประกอบธุรกิจต้อง อาศัยส่วนผสมทางการตลาด ได้แก่ 4.1 ผลิตภัณฑ์ คือสิ่งที่ธุรกิจเสนอขายเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ให้พึงพอใจใน ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะเป็นตัวสินค้าหรือบริการก็ได้ 4.2 ราคา คือ มูลค่าผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน ผู้ประกอบธุรกิจต้องกาหนดราคาให้เหมาะสม เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จึงจะสามารถจาหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้แก่ผู้บริโภคได้ 4.3 การจัดจำหน่าย คือ กิจกรรมการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากธุรกิจไปยังตลาดเป้าหมาย ผู้ ประกอบธุรกิจต้องเลือกช่องทางการจัดจาหน่ายให้เหมาะสมกับประเภทของผลิตภัณฑ์ และจะต้องจัดจาหน่าย ให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภค 4.4 การส่งเสริมการตลาด คือการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เพื่อ สร้างทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะชักจูงให้เกิดการซื้อ ผู้ประกอบธุรกิจจาเป็นต้องเลือก การส่งเสริมการตลาดให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และกลุ่มตลาดเป้าหมาย การค้าปลีก การค้าปลีก หมายถึง การค้าขายสินค้าหรือการบริการแก่ผู้บริโภคผ่านทางช่องทางต่าง ๆ เพื่อแสวงหา กาไร ความต้องการของสินค้าสร้างผ่านการพัฒนาการตลาดและการส่งเสริมการขาย เพื่อตอบโจทย์ความ ต้องการของผู้บริโภค ผ่านทางห่วงโซ่อปทาน ในช่วง ค.ศ. 2000 มีการค้าปลีกมากมายที่เกิดขึ้นออนไลน์ ผ่าน ทางการจ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์ และจัดส่งผ่านทาง ผู้ส่งสารหรือไปรษณีย์ การค้าปลีกยัง คลอบคลุมถึงการ บริการอื่น ๆ เช่น การส่ง ในขณะเดียวกันคาว่า การค้าปลีก สามารถนาไปใช้เมื่อผู้ให้บริการสนองความต้องการ ต่อคนจานวนมาก เช่น เพื่อสาธารณะ ร้านค้านั้นอาจจะอยู่ข้างถนนในย่านชุมชน ศูนย์การค้า หรือ ถนนคนเดิน การค้าปลีก ออนไลน์เป็นรูปแบบหนึ่งของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับการติดต่อทางธุรกิจระหว่างผู้ ซื้อและผู้ขาย ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการค้าส่งที่ไม่มีหน้าร้าน
การขายของออนไลน์ การขายออนไลน์ หมายถึง การนาสินค้าไปประกาศขายตามเว็บไซต์ที่เป็นพื้นที่ หรือ Marketplace ที่ผู้ ซื้อกับผู้ขายออนไลน์พบกัน ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ในประเทศไทย เช่น Trade.com และ weloveshopping.com หรือในต่างประเทศ เช่น amazon.com และ ebaly.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำเร็จรูปที่ สามารถประกาศขายได้ทันทีมีบุคคลเข้ามาดูสินค้าหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ธุรกรรมทางบัญชี ธุรกรรมทางบัญชี คือ ระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมามาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงินให้เป็น สารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้ใช้ 2.2 แนวคิดของการวางระบบบัญชี 2.2.1 ความหมายของวางระบบบัญชีที่ดี การวางระบบบัญชี หมายถึง การวางระบบบัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลทางบัญชี และการเงิน อันประกอบด้วยเอกสารต่างๆ บันทึกทางการบัญชี รายงาน เพื่อช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถปฏิบัติ หน้าอันอยู่ในความรับผิดชอบของตนให้ลุล่วงไปด้วยดีสาหรับใช้เป็นเครื่องวัดผลการดาเนินงานในรอบ ระยะเวลาที่ผ่านมา อีกทั้ง ธุรกิจจาเป็นต้องมีระบบบัญชีที่ดี เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในด้านการ ควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 2.2.2 หลักการวางระบบบัญชีที่ดี การวางระบบบัญชีที่ดีคือ ต้องสะท้อนความจริง เที่ยงตรง ป้องกันการทุจริต ตรวจสอบซึ่งกัน และกัน และสามารถนาข้อมูลมาใช้เพื่อการตัดสินใจได้ทันเวลา หากว่ากิจการของท่านมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ครบถ้วนแล้วก็สามารถมั่นใจได้ว่า จะสามารถดำรงธุรกิจอยู่ได้อย่างมั่นคง และแข่งขันกับผู้อื่นได้อย่างแน่นอน 2.2.3 ขั้นตอนการวางระบบบัญชี การออกแบบและกาหนดระบบของบัญชี 1. ผังบัญชี และรหัสบัญชี ผังบัญชีและรหัสบัญชีจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้จัดทาบัญชีสะดวกง่าย ต่อการพิจารณา รายการค้าให้ถูกต้องและรัดกุมยิ่งขึ้น หากสมารถทาคาอธิบายชื่อบัญชีในแต่ละบัญชีได้ ก็จะ ทำให้ผู้จัดทำบัญชีดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 2. สมุดบัญชีต่างๆ ที่ใช้ในการบันทึกบัญชี การกำหนดรูปแบบของสมุดบัญชีต่างๆ จะต้อง สอดคล้องกับกฎหมายบัญชี ส่วนรูปร่างหน้าตาของสมุดบัญชี ในทางปฏิบัติมักจะนิยมใช้สมุดบัญชีรายวันให้ ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทาให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคำนึงถึงการตรวจสอบ และควบคุม ภายในได้เป็นอย่างดี 3. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี การออกแบบใบสำคัญจ่าย รับเงิน เพื่อช่วยในการบันทึก บัญชีให้ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทาให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคานึงถึงการตรวจสอบ และ ควบคุมภายในได้เป็นอย่างดี 4. การจัดทำรายงาน การออกแบบรายงานเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจะต้อง คำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์ การพิจารณาหรือการนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหาร 5. การรองรับระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีอื่นๆ ในกรณีที่กิจการต้องเข้าสู่ ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะหรืออยู่นอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องพิจารณาถึงเอกสารใบกำกับ ภาษี รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
การวางแผนการนำออกมาใช้ 1. ทดลองการใช้เอกสาร เส้นทางการเดินของเอกสาร เมื่อได้ออกแบบและกำหนด แนวทางเดิน ของเอกสารขึ้นมาเรียบร้อยแล้วก็จะเป็นการนา รูปแบบของเอกสารต่างๆ ออกมาใช้เพื่อพิจารณาดูการเดินของ เอกสารว่ามีปัญหาในจุดหรือแหล่งใด หรือผู้ปฏิบัติได้เขียนหรือใช้เอกสารได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์หรือไม่ 2. การลงรายการต่างๆ ในสมุดบัญชี หรือคอมพิวเตอร์ การนาเอกสารรายการค้าบันทึกในสมุด บัญชีหรือคอมพิวเตอร์จะต้องจัดเตรียมข้อมูล เอกสารเพื่อบันทึกลงในสมุดบัญชีต่างๆ ได้ถูกต้องหรือมี ข้อผิดพลาดอย่างไร 3. การทดลองรายงาน การออกแบบรายงานแล้วนาออกมาใช้มักจะพบปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ รายงานที่นาออกมาใช้ยังไม่สามารถให้ข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ผู้บริหาร ดังนั้น เมื่อมีการทดลองออกรายงาน ทางการเงิน ผู้ออกแบบจะต้องให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแนะนาหรือระบุความต้องการเพิ่มเติมเพื่อจะได้นำ รายงานออกไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การติดตามผลและปรับปรุงแก้ไขระบบบัญชี 1. การลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป ขั้นตอนในการออกเอกสาร การอนุมัติ การเบิก จ่ายเงินการ บันทึกรายการบัญชี หากพบว่าขั้นตอนใดซับซ้อน หรือไม่มีความจาเป็นทำให้เกิด ความยุ่งยากเสียเวลาก็ให้ตัด รายการ หรือขั้นตอนนั้นออกไป 2. ผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน การออกแบบระบบบัญชีมักจะมีผลกระทบต่อการทำงานในระยะ เริ่มต้น ผู้ปฏิบัติยังไม่เคยชิน จะต้องอธิบายให้เกิดความเข้าใจว่าจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งจึงจะไม่ล่าช้าหรือ เสียเวลา 2.2.4 ประโยชน์ของการวางระบบบัญชี 1. เพื่อเป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ 2. เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนและตัดสินใจของธุรกิจ 3. เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนกำไร และควบคุมค่าใช้จ่าย 4. เพื่อสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจได้ 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน 2.3.1 ความหมายของการควบคุมภายใน ในการประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นองค์กรประเภทใด หรือขนาดใดก็ตาม เจ้าของหรือผู้บริหาร องค์กรย่อมมุ่งหวังให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กาหนดไว้รวมทั้งมี ความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและมั่นคง หากแต่โอกาสที่องค์กรจะประสบกับความเสี่ยง ความเสียหายจาก การดาเนินงาน หรือมีการทุจริตอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา สาหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีปริมาณธุรกิจไม่มากเจ้าของ หรือผู้บริหารอาจดาเนินธุรกิจด้วยตนเอง โดยควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึงและสามารถบริหารงานให้เป็นไปตาม เป้าหมายที่กาหนดไว้ แต่เมื่อองค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีความ ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันกันอย่าง รุนแรง เจ้าของ หรือผู้บริหารเพียงคนเดียวไม่อาจควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึง และไม่สามารถบริหารงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงใช้ระบบการควบคุมภายในเป็นเครื่องมือควบคุมการดาเนินงาน เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กาหนดไว้ ช่วยป้องกันและรักษาทรัพย์สินขององค์กร และช่วยให้การปฏิบัติงานใน ขั้นตอนต่าง ๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม รวมทั้งป้องปราม หลีกเลี่ยง หรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด ระบบการควบคุมภายในจึงมีความจาเป็นและเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการดาเนินงานขององค์กรอย่างมาก
2.3.2 หลักการควบคุมภายใน ลักษณะของการควบคุม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ 1. การควบคุมที่มองเห็นได้ (Hard Controls) เช่น ควบคุมโดยการกำหนดโครงสร้างองค์กร กา หนดนโยบายในการดำเนินงานและการดาเนินธุรกิจและระเบียบวิธีปฏิบัติต่างๆ 2. การควบคุมที่มองไม่เห็น (Soft Controls) เช่น ความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส การมีภาวะผู้นำที่ ดี ความมีจริยธรรม ประเภทของการควบคุมภายในแบ่งเป็น 2 ส่วน การควบคุมภายในด้านบริหาร หมายถึง แผนการจัดส่วนงาน วิธีการและมาตรการต่างๆ ที่ สามารถทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปตามนโยบายที่กำหนด การควบคุมภายในด้านบัญชีแผนการจัดแบ่งส่วนงานวิธีการและการบันทึกรายการต่างๆเกี่ยวกับ การดูแลรักษาสินทรัพย์ ตลอดจนการรวบรวมข้อมูลทางบัญชีและการเงินให้ถูกต้องเชื่อถือได้อีกทั้งสามารถ ควบคุมถึงหลักการปฏิบัติ เช่น การจัดหาหรือการใช้สินทรัพย์มีการอนุมัติถูกต้อง การบันทึกบัญชีเป็นไปตาม หลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป การบันทึกบัญชีเป็นปัจจุบันมีเอกสารประกอบถูกต้อง ครบถ้วน มีการตรวจ นับเงินสดคงเหลือและไม่เกินระเบียบที่กาหนดเป็นต้น และที่สำคัญในการจัดทาบัญชีจะต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2552 มาตรา 65 และมาตรา 66 2.3.3 ขั้นตอนการควบคุมภายใน ในการนำหลักการควบคุมภายในไปให้สหกรณ์ถือใช้จะต้องทาการวิเคราะห์ (SWOT) สหกรณ์ใน ด้านต่างๆ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเพียงสาหรับการดำเนินงานและการดาเนินธุรกิจของแต่ละสหกรณ์ที่มี โครงสร้างการบริหารที่ไม่เหมือนกัน การทาธุรกิจมีความสลับซับซ้อนหรือมีความเสี่ยงต่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะ ส่งเสริมให้สหกรณ์ใช้หลักการภายในไปถือใช้ควรมีการทา SWOT คณะกรรมการกับการควบคุมภายใน ในฐานะผู้บริหารและฐานะคณะกรรมการผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจเพียงใด อย่างไร ในเรื่องต่อไปนี้ การกำหนดระเบียบและการปฏิบัติตามระเบียบที่กาหนด สหกรณ์มีการกาหนดระเบียบเพื่อใช้ เป็นแนวทางครอบคลุมการดำเนินงานและดาเนินธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ 2.3.4 ประโยชน์ของการควบคุมภายใน 1. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกากับดูแลที่ดี 2. ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติ 3. ช่วยให้รายงานทางการเงินมีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้ 4. ช่วยป้องกันความสูญเสียของทรัพยากร 2.4 ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน จากสภาวะสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสวัตถุนิยม และความฟุ่มเฟือย จนทำให้คนไทยหลงเดินทาง ผิดไปตามกระแสนิยมจนกลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่ไม่มีวัน จบสิ้น อย่างไรก็ตามคนไทยยังมี ทางออก ซึ่งการจะดำรงชีวิตให้อยู่รอดภายใต้สังคมในปัจจุบัน แนวทางหนึ่งที่ประชาชนไทยควรยึดถือคือการ พึ่งตนเอง รู้จักความพอประมาณ และไม่ประมาท ตามแนวปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมองเห็นถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง รู้จักความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ คำนึงถึงหลักเหตุผลและการประมาณตนเอง พร้อมกับทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท โดยเฉพาะ การใช้จ่ายเงินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต
การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายใน ครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของ ตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการ วางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว บัญชีครัวเรือน มิได้หมายถึง การทำบัญชีหรือบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันเท่านั้น แต่อาจหมายถึง การบันทึกข้อมูลด้านอื่น ๆ ในชีวิต ในครอบครัว ของเราได้ด้วย เช่น บัญชีทรัพย์สิน พันธุ์พืช พันธุ์ไม้ ในบ้าน เราในชุมชนเรา บัญชีความรู้ความคิดของเรา บัญชีผู้ทรงคุณ ผู้รู้ในชุมชนเรา บัญชีเด็กและเยาชนของเรา บัญชี ภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ของเรา เป็นต้น หมายความว่า สิ่งหรือเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตของเรา เราจดบันทึกได้ทุก เรื่อง หากประชาชนทุกคนจดบันทึกจะมีประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศ จะเป็นแหล่งเรียนรู้ ครอบครัวเรียนรู้ ชุมชนเรียนรู้ และประเทศเรียนรู้การเรียนรู้เป็นที่มาของปัญญา ปัญญาเป็นที่มาของความ เจริญทั้งกาย สังคม ใจ และจิตวิญญาณของมนุษย์จะเห็นว่า การทำบัญชี หรือการจดบันทึกนี้สำคัญยิ่งใหญ่มาก บุคคลสำคัญในประเทศหลายท่านเป็นตัวอย่างที่ดีของการจดบันทึก เช่น ท่านพุทธทาส ในหลวง และสมเด็จ พระเทพ ล้วนเป็นนักบันทึกทั้งสิ้น การบันทึก คือ การเขียน เมื่อมีการเขียนย่อมมีการคิด เมื่อมีการคิดย่อมก่อ ปัญญา แก้ไขปัญหาได้โดยใช้เหตุผลวิเคราะห์พิจารณา ได้ถูกต้อง นั่นคือ ทางเจริญของมนุษย์ การทำบัญชีครัวเรือนในด้านเศรษฐกิจ หรือการบันทึกรายรับรายจ่ายที่ทางราชการพยายามส่งเสริมให้ ประชาชนได้ทำกันนั่น เป็นเรื่องการบันทึกรายรับรายจ่ายประจาวันประจำเดือนว่า มีรายรับจากแหล่งใดบ้าง จำนวนเท่าใด มีรายจ่ายอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ในแต่ละวัน สัปดาห์ เดือน และ ปี เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่า ตนเองและครอบครัวทีรายรับเท่าใด รายจ่ายเท่าใด คงเหลือเท่าใด หรือ เงินไม่พอใช้เท่าใด คือ รายจ่าย มากกว่ารายรับ และสำรวจว่ารายการใดจ่ายน้อยจ่ายมาก จำเป็นน้อยจำเป็นมาก จำเป็นน้อย อาจลดลง จ่าย เฉพาะที่จำเป็นมาก เช่น ซื้อกับข้าว ซื้อยา ซื้อเสื้อผ้า ซ่อมแซมบ้าน การศึกษา เป็นต้น ส่วนรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ให้ลด ละ เลิก เช่น ซื้อบุหรี่ ซื้อเหล้า เล่นการพนัน เป็นต้น เมื่อนำรายรับ รายจ่าย มาบวกลบกันแล้วขาดดุล เกินดุลไปเท่าใด เมื่อเห็นตัวเลข จะทำให้เราคิดได้ว่าสิ่งไม่จำเป็นนั้นมีมากหรือน้อยสามารถลดได้หรือไม่ เลิกได้ ไหม ถ้าไม่ลดไม่เลิกจะเกิดอะไร กับตัวเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ หากเราวางแผนการรับการจ่ายเงิน ของตนเองได้ เท่ากับว่า รู้จักความเป็นคนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นคนมีเหตุมีผล เป็นคนรู้จักพอประมาณ เป็น คนรักตนเอง รักครอบครัว รักชุมชน และรักประเทศชาติมากขึ้นจึงเห็นได้ว่า การทำบัญชีครัวเรือน ในเรื่อง รายรับรายจ่าย ก็คือวิถีแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง เพราะปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม พอดี สอดคล้องถูกต้องตามกฎธรรมชาติที่มีทั้งความเป็น เอกภาพและดุลยภาพอยู่เสมอ การทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือน และสามารถนำข้อมูล มาวางแผนการใช้จ่ายเงินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการออม การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีครัวเรือนจึงมีความสำคัญดังนี้ 1. ทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือในแต่ละวัน รายรับ หรือ รายได้ คือ เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่ได้รับจากการประกอบอาชีพ หรือ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น รายได้ จากค่าจ้างแรงงาน เงินเดือน ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร หรือ จากเงินให้กู้ยืม รายได้จากการขายสินค้า หรือบริการ เป็นต้น
รายจ่าย หรือ ค่าใช้จ่าย คือ คือ เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่จ่ายออกไปเพื่อให้ได้สิ่งตอบแทน กลับมา สิ่งตอบแทนอาจเป็นสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าอาหาร ค่าน้าค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าน้ำมัน ค่า หนังสือตำรา เป็นต้น หรือรายจ่าย อาจไม่ได้รับสิ่งตอบแทนคือสินค้าหรือบริการก็ได้ เช่น เงินบริจาคเพื่อการ กุศล เงินทาบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น หนี้สิน คือ ภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืนในอนาคต การชดใช้อาจจ่ายเป็นเงินหรือของมีค่าที่ครอบครัว หรือตนเองมีอยู่ หนี้สินเป็น เงินหรือสิ่งของที่มีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองได้รับมาจากบุคคลหรือแหล่งเงิน ภายนอก เช่น การกู้ยืมเงินจากเพื่อนบ้าน การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆ การซื้อสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ การซื้อสินทรัพย์เป็นเงินผ่อนชาระ หรือการเช่าซื้อ เป็นต้น เงินคงเหลือ คือ เงิน หรือ ทรัพย์สินที่วัดมูลค่าได้ หลังจากนารายรับลบด้วยรายจ่ายแล้วปรากฏรายรับ มากกว่ารายจ่ายจะทาให้มีเงินคงเหลือ หรือในหลักทางบัญชีเรียกว่า กำไร แต่หากหลังจากนำรายรับลบด้วย รายจ่ายแล้วปรากฏว่ารายจ่ายมากกว่ารายรับจะทำให้เงินคงเหลือติดลบหรือทางบัญชีเรียกว่าขาดทุน นั่นเอง 2. นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย และวางแผนการ ใช้จ่ายเงิน โดยพิจารณาแต่ละรายการในแต่ละวันมีรายจ่ายใดที่มีความสำคัญมาก และรายจ่ายใดไม่จำเป็นให้ ตัดออก เพื่อให้การใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมีพอใช้และเหลือเก็บเพื่อการออมทรัพย์สำหรับใช้จ่ายสิ่งที่ จำเป็นในอนาคต บัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อ คือ การพอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่าย ก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่ มีเหตุผล รู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็เก็บออม นั่นคือภูมิคุ้มกัน ที่เอาไว้คุ้มกันตัวเราและครอบครัว บัญชีครัวเรือนสามารถ จัดได้หมด จึงนับว่ามีประโยชน์มาก ข้อควรระวังในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ ลืมบันทึกบัญชี ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการบันทึก และ ส่งผลให้ไม่อยากบันทึก ผู้จัดทำเข้าใจผิดในรายการบัญชี ไม่เข้าใจรายการที่เป็นรายรับ จึงไม่ได้บันทึกบัญชี เช่น ลูกส่งเงินมาให้พ่อแม่สาหรับใช้จ่ายทุกวันสิ้นเดือน แต่พ่อแม่ไม่ได้บันทึกบัญชีรายรับเนื่องจากเข้าใจว่าเงินที่ ได้รับมานั้นมิได้เกิดจากการประกอบอาชีพของตนเองหรือ เข้าใจผิดรายการหนี้สินแต่บันทึกว่าเป็นรายรับ ทำ ให้มิได้เก็บเงินไว้สาหรับจ่ายชาระหนี้ในอนาคต เช่น ยืมเงินจากเพื่อนบ้านมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ถึงแม้จะ ได้รับเงินมาแต่รายการดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นรายรับเนื่องจากตนเองมีภาระผูกพันที่ต้องชดใช้ในอนาคต ซึ่งอาจ ต้องชดใช้เงินต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยด้วย จากสาเหตุดังกล่าวอาจทาให้ครอบครัววางแผนการใช้จ่ายเงินผิดพลาด ส่วนข้อผิดพลาดอีกประการหนึ่งคือ การเขียนชื่อรายการผิด การบันทึกตัวเลขผิด การบวกหรือการลบจานวน เงินผิดอาจเกิดจากการลืมจดบันทึกรายการบัญชี หรือบันทึกรายการซ้ำๆ กันหลายรายการ ปัญหาดังกล่าว แก้ไขโดยการคำนวณจำนวนเงินกระทบยอดเงินคงเหลือในบัญชีกับยอดเงินฝากธนาคารที่ครอบครัวมีอยู่จริง หรือยอดเงินที่เก็บไว้สาหรับใช้จ่ายจริง หากพบว่ายอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงิน ฝากธนาคาร แสดงว่าการจัดทาบัญชีถูกต้อง แต่หากกระทบยอดแล้วยอดเงินทั้งสองไม่เท่ากันอาจเกิดจากการ บันทึกบัญชีผิดพลาด หรือเงินสดของครอบครัวสูญหาย การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวต้องมีรายรับมากกว่า รายจ่าย หากพบว่ารายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องหาแนวทางนาเงินมาใช้จ่ายให้เพียงพอ โดยอาจต้องกู้ยืมเงินมา ใช้จ่าย แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพียงแต่ช่วยให้การใช้จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะ เท่านั้น และในระยะยาวยังส่งผลให้ครอบครัวมีภาระหนี้สินจำนวนมาทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งจะเพิ่มจำนวน มากขึ้นตามระยะเวลาที่ยาวนานในการกู้ยืมเงิน เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก สำหรับการแก้ไขปัญหาการขาด สภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินหรือปัญหารายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายนั้นมีแนวทางดังนี้
1. การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดภาระการจ่ายเงินออกจากครอบครัว เช่น รายจ่ายเกี่ยวกับ การพนัน รายจ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น เป็นการสร้างนิสัยมิให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 2. การลดรายจ่ายที่จำเป็นลง เพื่อสร้างนิสัยการประหยัด อดออม การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่าง คุ้มค่า เช่น การปลูกผัก ผลไม้ไว้รับประทานเอง เพื่อช่วยลดค่าอาหาร และค่าเดินทางไปตลาด อีกทั้งท ำให้ สุขภาพดีอีกด้วย ลดการใช้น้ามันเชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกาลังกายโดยการปั่นจักรยาน หรือ การเดิน การวิ่ง แทนการขับรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ เป็นต้น 3. การเพิ่มรายรับ หารายได้เสริมนอกเวลาทำงานปกติ เช่น การใช้เวลาว่างรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า การ ขายอาหารหลังเลิกงาน การปลูกผัก หรือเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย เป็นต้น 4. การทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัด รู้จักอดออม การใช้ ทรัพยากรต่างๆ ลด ละ เลิก รายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็น และช่วยกันสร้างรายรับให้เพียงพอ เหมาะสมกับ เศรษฐกิจปัจจุบัน สรุปได้ว่า การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการ ต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม มี การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ ประชาชนทุกคนรู้จักการบริหารจัดการด้านการเงินและการ วางแผนการทำงานทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ได้ การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครอบครัวมีความสุขใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียง มีเหตุมีผล รู้จักพึ่งพา ตนเอง มีความพอประมาณ การเงินมีสภาพคล่อง รู้จักการเก็บออม ทุกคนรู้ถึงแหล่งที่มาของรายรับและการใช้ ไปของค่าใช้จ่ายในแต่ละวันสามารถนำการใช้จ่ายมาวางแผนบริหารการเงินในอนาคตได้ ประโยชน์ของกำรทำบัญชีครัวเรือน การทำบัญชีครัวเรือนจะทำให้เราทราบว่าในแต่ละเดือน ครอบครัวมีรายรับ – รายจ่าย อะไรบ้าง คนเราส่วนมากมักจะหลงลืม (ไม่สนใจที่จะจดจำ) เวลาใช้จ่ายเงินออกไปหรือรับเงินเข้ามาพอเวลาผ่านไป 2 - 3 วัน ก็ลืมแล้ว ดังนั้น บัญชีครัวเรือนจะช่วยเตือนความจำให้เรารู้ถึงการใช้จ่ายเงินเพื่อนามาเป็นข้อมูลในการ วางแผน การใช้จ่ายเงินของครอบครัว เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ดีขึ้นได้ 1.เพื่อจดบันทึกรายการการดาเนินกิจการเรียงลาดับก่อนหลัง 2.ง่ายต่อการตรวจสอบ 3.เป็นการควบคุมรักษาทรัพย์สินของกิจการ 4.ป้องกันความผิดพลาดในการดาเนินกิจการ 5.สามารถปรับปรุงแก้ไขทัน 6.ทำให้ทราบฐานะของกิจการ 7.เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบผลกำไร ขาดทุนได้ทุกเวลา ครอบครัวมีความเป็นอยู่ดีขึ้นได้
เริ่มการทำบัญชีครัวเรือน การทำบัญชีครัวเรือน เริ่มจากการหาสมุดมาสักเล่มหนึ่งอาจเป็นสมุดที่เด็ก ๆ ใช้แล้วเหลือ หน้ากระดาษว่าง ๆ ก็นำมาทำเป็นบัญชีครัวเรือนได้ ปากกาหรือดินสอสาหรับเขียนลงในสมุดบัญชีครัวเรือน สา หรับชาวบ้านหรือคนที่อ่าน เขียนหนังสือไม่ค่อยคล่องก็อาจใช้ให้ลูก ๆ ช่วยเขียนให้ การทำบัญชีครัวเรือนในแต่ ละวันใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 5-10 นาทีก็เสร็จแล้ว เวลาที่เสียไปแค่ 5-10 นาทีต่อวันแต่ประโยชน์ที่ได้รับ จากการทาบัญชีครัวเรือนนั้นมีค่ามากมายมหาศาลนักในการช่วยวางแผนการเงินของครอบครัวและสามารถ ประยุกต์ไปจนถึงการนาไปใช้แก้ไขปัญหาหนี้สินได้ ขอให้ยอมสละเวลาในแต่ละวันเพื่อความเป็นอยู่ของ ครอบครัวที่ดีขึ้น บัญชีครัวเรือนสามารถจัดทาชำได้หลายรูปแบบแต่อย่างน้อยต้องมีการบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่าย ปกติเป็นตาราง 5 ช่อง ประกอบด้วย ช่องแรกวันเดือนปีเพื่อบันทึกวันที่เกิดรายการนั้น ช่องที่สองรายการ เพื่อ บันทึกเหตุการณ์ ช่องที่สามรายรับ เพื่อบันทึกจำนวนเงินที่ได้รับ ช่องที่สี่รายจ่าย เพื่อบันทึกจำนวนเงินที่จ่าย ออกไป และช่องสุดท้ายยอดคงเหลือ เป็นช่องสรุปยอดเงินคงเหลือในแต่ละวัน การจัดทำบัญชีครัวเรือนมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) แยกประเภทของรายได้ และค่าใช้จ่าย แต่ละประเภทออกมา อาจใช้สมุดบัญชีที่มีขายตามร้าน ทั่วไป หรือหาสมุดมาตีเส้น แบ่งออกเป็นแถวในแนวตั้งและแนวนอน เพื่อจดรายการ 2) กำหนดรหัสประเภทของรายได้ และ ค่าใช้จ่าย เพื่อใช้สรุปประเภทของค่าใช้จ่าย 3) เริ่มจากยอดเงินสดยกมา หรือ เงินทุนตั้งต้น แล้ว บวก ด้วยรายได้ หัก ด้วยค่าใช้จ่าย และแสดง ยอดคงเหลือไว้ 4) นำรายการที่เป็นบัญชีประเภทเดียวกัน รวมยอดเข้าด้วยกัน แล้ว แยกไปสรุปไว้ต่างหาก โดยสรุป ยอดตามแต่ต้องการ เช่น เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือรายเดือน เป็นต้น 2.๕ โปรแกรม Microsoft – excel 2.๕.๑ ความหมายของโปรแกรม Microsoft – excel โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมหนึ่ง ที่อยู่ในชุด Microsoft Office มีจุดเด่นในด้าน การคำนวณเกี่ยวกับตัวเลข โดยการทางานของโปรแกรมจะใช้ตารางตามแนวนอน (Row) และแนวตั้ง (Column) เป็นหลัก ซึ่งเรียกโปรแกรมในลักษณะนี้ว่าตารางทาการ (Spread Sheet) ไฟล์ของ Excel เปรียบเสมือนเอกสารหนังสือ 1 เล่ม ที่ประกอบไปด้วยหน้าหลาย ๆ หน้า เรียกว่าสมุดงาน (Workbook) โดยในแต่ละหน้าเรียกว่า แผ่นงาน (Worksheet) ในแต่ละแผ่นงานจะแบ่ง ออกเป็นตาราง ซึ่งประกอบไปด้วย ช่องตารางซึ่งเป็นส่วนที่ตัดกันของแถวและคอลัมน์เรียกว่า เซลล์(Cell) ใน แผ่นงานหนึ่ง ๆ จะมีแถวทั้งหมด 1,048,576 แถว และ 16,384 คอลัมน์ โดยใช้ชื่อคอลัมน์เป็นตัวอักษร ภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ A จนถึง Z และ ต่อด้วย AA จนถึง AZ, BA จนถึง BZ ไปจนถึง XFD
2.๕.๒ คุณสมบัติของโปรแกรม Microsoft-Excel 1. สร้างและแสดงรายการของข้อมูล ตัวอักษร และตัวเลข โดยมีความสามารถในการจัดรูปแบบ ให้สวยงามน่าอ่าน เช่น การกำหนดสีพื้น การใส่แรเงา การกำหนดลักษณะและสีของเส้นตาราง การจัดวาง ตำแหน่งของตัวอักษร การกำหนดรูปแบบและสีตัวอักษร เป็นต้น 2. อำนวยความสะดวกในด้านการคำนวณต่างๆ เช่น การบวก ลบ คูณ หารตัวเลข และยังมี ฟังก์ชั่นที่ใช้ในการคำนวณอีกมากมาย เช่น การหาผลรวมของตัวเลขจำนวนมาก การหาค่าทางสถิติและการเงิน การหาผลลัพธ์ของโจทย์ทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น 3. สร้างแผนภูมิ (Chart) ในรูปแบบต่างๆ เพื่อใช้ในการแสดงและการเปรียบเทียบข้อมูลได้หลาย รูปแบบ เช่น แผนภูมิคอลัมน์ (Column Chart หรือ Bar Chart) แผนภูมิเส้น(Line Chart) แผนภูมิวงกลม ฯลฯ 4. มีระบบขอความช่วยเหลือ (Help) ที่จะคอยช่วยให้คำแนะนำ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม หรือสงสัย เกี่ยวกับวิธีการใช้งาน แทนที่จะต้องเปิดหาในหนังสือคู่มือการใช้งานของโปรแกรมก็สามารถขอความช่วยเหลือจากโปรแกรมได้ทันที 5. มีความสามารถในการค้นหาและแทนที่ข้อมูล โดยโปรแกรมจะต้องมี ความสามารถในการ ค้นหาและแทนที่ข้อมูล เพื่อทาการแก้ไขหรือทาการแทนที่ข้อมูลได้สะดวก และรวดเร็ว ๒.๖ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ การปฏิบัติงานจะเกิดความพึงพอใจต่อการทำงานนั้นมากน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งจูงใจในการทำงานที่มีอยู่ การ สร้างสิ่งจูงใจหรือสิ่งกระตุ้นเพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้มีนักการศึกษาในหลาย สาขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความพึงพอใจ ไว้ดังนี้ 1. ความหมายของความพึงพอใจ นักวิชาการและนักการศึกษา ได้ให้ความหมายของคำว่า ความพึงพอใจ ไว้ดังนี้ กรองแก้ว อยู่สุข (2550 : 29) ได้สรุปความหมายของความพึงพอใจว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติหรือระดับความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อกิจกรรมต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกิจกรรมนั้น ๆ โดยเกิดจากพื้นฐานของการรับรู้ ค่านิยมและประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับระดับของความพึงพอใจจะ เกิดขึ้นเมื่อกิจกรรมนั้น ๆ สามารถตอบสนองความต้องการแก่บุคคลนั้นได้ จันทนา สัสดี (2553 : 56) ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดหรือเจตคติของบุคคลที่มีต่อ การปฏิบัติงานหรือปฏิบัติกิจกรรมในเชิงบวก มีความสุขในการปฏิบัติกิจกรรมในการเรียนการสอนจนประสบ ความสำเร็จ ระพินทร์ โพธิ์ศรี (2553 : 80) ได้ให้ความหมายว่า ความพึงพอใจ คือ ความรู้สึกชอบหรือไม่ ชอบของบุคคลแต่ละคนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เป็นความรู้สึกที่อาจดำรงอยู่ได้นานพอสมควรและอาจมาก หรือน้อยก็ได้
นันทา กุมภา (2554 : 45) ได้สรุปความหมายของความพึงพอใจว่าความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือความรู้สึกต่อการทำงาน เช่น พอใจ ชอบใจ และมีผลทำให้การทำงาน บรรลุผลดังที่ตั้งไว้ บุคคลจะมีความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ แตกต่างกันออกไป สรุปได้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลในด้านความพอใจ หรือทัศนคติของ บุคคลที่มีต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งทางบวกและทางลบ ถ้าเป็นทางบวกก็จะทำให้เกิดผลดีต่อ การปฏิบัติงานที่ทำ แต่ถ้าเป็นในทางลบก็จะเกิดผลเสียต่อการปฏิบัติงานนั้นได้ ดังนั้นความพึงพอใจในการ เรียน จึงเป็นความรู้สึกหรือเจตคติที่ดีของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนหรือร่วมปฏิบัติหรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ และความเป็นรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้รับผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายในการเรียน 2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ มีนักวิชาการและนักการศึกษาได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับทฤษฎีความพึงพอใจ ไว้ดังนี้ มาสโลว์ (Maslow. 1970 ; 68 – 80 ; อ้างถึงใน ศรานนท์ วะปะแก้ว. 2547 : 52) เสนอ ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการโดยสมมุติฐานไว้ว่า “มนุษย์เรามีความต้องการอยู่แสมอไม่มีที่สิ้นสุดเมื่อ ความต้องการได้รับการตอบสนอง หรือพึงพอใจอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ความต้องการอื่น ๆ ก็จะตามมาอีก ความต้องการของคนเราอาจเกิดขึ้นซ้ำซ้อนกัน ความต้องการอย่างหนึ่งยังไม่หมด ความต้องการอีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นได้” ความต้องการของมนุษย์มีลำดับขั้นดังนี้ 1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เน้นสิ่งที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต ได้แก่ อาหาร อากาศ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคความต้องการ ทางเพศ 2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) ความมั่นคงในชีวิตทั้งที่เป็นแหล่งปัจจุบันและ อนาคต ความเจริญก้าวหน้า อบอุ่นใจ 3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) เป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญต่อการเกิดพฤติกรรมต้องการให้ สังคมยอมรับตนเข้าเป็นสมาชิก ต้องการความเป็นมิตร ความรักจากเพื่อน 4. ความต้องการมีฐานะ (Esteem Needs) ความอยากมีชื่อเสียงการยกย่อง สังคม อยากมี อิสรภาพ 5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (Self - Actualization Needs) เป็นความต้องการใน ระดับสูงต้องการความสำเร็จทุกอย่างในชีวิต อารี พันธ์มณี (2548 : 203) กล่าวถึง แนวทางการสร้างความพึงพอใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน สรุปได้ดังนี้ 1. สร้างความสนใจให้กับผู้เรียน โดยการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ อยากเห็นจัดสถานการณ์ ในห้องเรียน ให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเสาะแสวงหาความรู้ หรือคำตอบที่ต้องการ และเกิดพฤติกรรมการ เรียนรู้ขึ้นได้ ซึ่งความพึงพอใจของผู้เรียนจะมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนมีความร่วมมือในการเรียนรู้และเกิด ความสามัคคีในกลุ่ม 3. มุ่งให้รางวัลและหลีกเลี่ยงการลงโทษ อาจจูงใจในลักษณะที่เป็นนามธรรม ภาษาหรือสัญลักษณ์ ครูผู้สอนควรชี้แนะข้อบกพร่อง ถ้าผู้เรียนพบว่าผลงานของตนเองไม่เป็นที่พอใจ
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจใน ความสามารถของผู้เรียน นอกจากนี้การจัดเนื้อหาสาระตามระดับความสามารถผู้เรียน จะทำให้ผู้เรียนเกิด ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ 5. ครูผู้สอนควรช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงระดับความสามารถของผู้เรียนให้สอดคล้องกับสภาพความ เป็นจริง และหาทางช่วยยกระดับความสามารถของผู้เรียนให้สูงขึ้น ตามพัฒนาการของผู้เรียน ธอร์นไดค์ (Thorndike. 1975 : 56 - 57 ; อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี. 2550 : 51) มีความ เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลอง ผิดลองถูก ปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุดเมื่อ เกิดการเรียนรู้แล้วบุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบ นั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ กฎของ ธอร์นไดค์ สรุปได้ดังนี้ 1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้ง ทางร่างกายและจิตใจ 2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือการกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจ จะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อย ๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวรและในที่สุดอาจลืม ได้ 3. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับ การตอบสนอง ความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้นหากได้มีการนำไปใช้บ่อย ๆ หากไม่มีการนำไปใช้อาจมีการ ลืมเกิดขึ้นได้ 4. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจจะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ สรุปได้ว่า ความพึงพอใจเมื่อนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้รางวัลหรือผลตอบแทน ภายในเป็นผลต่อความรู้สึกของผู้เรียน ถ้าผู้เรียนสามารถเอาชนะความยุ่งยากต่าง ๆ และสามารถดำเนินงาน ภายใต้ความยุ่งยากทั้งหลายสำเร็จ ก็จะทำให้เกิดความภูมิใจ ความมั่นใจ ตลอดจนได้รับการ ยกย่อง จากบุคคลอื่น ส่วนผลการตอบแทนภายนอก จะเป็นรางวัลที่ผู้อื่นจัดหาให้มากกว่าที่ตนเองหาด้วยตนเองเช่น การได้รับคำยกย่องจากครูผู้สอน พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือคะแนนทางการเรียนในระดับที่น่าพอใจ 3. การวัดความพึงพอใจ มีนักวิชาการและนักการศึกษาให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการวัดความพึงพอใจ ไว้ดังนี้ ชวลิต ชูกำแพง (2550 : 112 – 116) อธิบายถึงการวัดจิตพิสัยสามารถทำได้หลายวิธีซึ่งวิธีที่ นิยมทำในปัจจุบัน คือ 1. การสังเกต (Observation) สังเกตการพูด การกระทำ การเขียนของนักเรียนที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ ครูต้องการวัด 2. การสัมภาษณ์ (Inerview) เป็นการพูดคุยกับนักเรียนในประเด็นที่ครูอยากรู้ ซึ่งอาจเป็นทัศนคติ ของนักเรียน เพื่อนำสิ่งที่นักเรียนพูดออกมาแปลความหมายเกี่ยวกับลักษณะจิตพิสัยของนักเรียน 3. การใช้แบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) เป็นการสร้างเครื่องมือขึ้นมาเพื่อวัด ทัศนคติ วัดความสนใจ วัดคุณธรรมจริยธรรม ถ้าเป็นการวัดทัศนคติ วัดความสนใจจะมีรูปแบบการวัด 3 รูปแบบ คือ แบบของลิเคิร์ท แบบของเธอร์สโตน แบบของออสกูด
ประภาพันธ์ พลายจันทร์ (2551 : 6) ได้กล่าวไว้ว่า การวัดความพึงพอใจนั้นสามารถทำได้หลาย วิธีดังต่อไปนี้ 1. วิธีการใช้แบบสอบถาม โดยผู้ออกแบบสอบถาม ถามเพื่อต้องการทราบความคิดเห็นซึ่งสามารถ กระทำได้ในลักษณะกำหนดคำตอบให้เลือก หรือตอบคำถามอิสระ คำถามดังกล่าวอาจจะถามความพึงพอใจ ในด้านต่าง ๆ 2. วิธีการสัมภาษณ์ เป็นวิธีการวัดความพึงพอใจทางตรง ซึ่งต้องอาศัยเทคนิค และวิธีการที่ดี จึงจะ ได้ข้อมูลที่เป็นจริง 3. วิธีการสังเกต เป็นวิธีการวัดความพึงพอใจโดยการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลเป้าหมายไม่ว่าจะ แสดงออกจากการพูดจา กริยาท่าทาง วิธีนี้ต้องอาศัยการกระทำอย่างจริงจัง และสังเกตอย่างมีระเบียบแบบ แผน Shelly (1975) แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจว่าเป็นความรู้สึกสองแบบของมนุษย์คือความรู้สึกใน ทางบวกและความรู้สึกในทางลบ ความรู้สึกในทางบวกเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้มีความสุขความรู้สึกนั้นเป็น ความรู้สึกที่แตกต่างจากความรู้ทางบวกอื่นๆ กล่าวคือเป็นความรู้สึกที่มีระบบย้อนกลับ และความรู้สึกนี้ทำให้ เกิดความสุขหรือความรู้สึกทางบวกเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความรู้สึกที่สลับซับซ้อนและความรู้สึกนี้จะ มีผลต่อบุคคลมากกว่าความรู้สึกในทางบวกอื่นๆ ดังนั้นความรู้สึกในทางบวกความรู้สึกในทางลบ และความสุข มีความสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อนและระบบความสัมพันธ์ของความรู้สึกทั้งสามนี้ เรียกว่า ระบบความพึง พอใจ โดยความพึงพอใจเกิดขึ้นเมื่อระบบความพึงพอใจมีความรู้สึกทางบวกมากกว่าทางลบ ทฤษฎีอีอาร์จี ( ERG Theory ) ของ Clayton Alderfer (2554 : 20) ได้พัฒนามาจาก ทฤษฎีความ ต้องการของ้ Maslow ได้แบ่งความต้องการของคนออกเป็น 3 อย่าง ดังนี้ 1. ความต้องการมีชีวิต (Existence Need) ความต้องการมีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกายและวัตถุ 2. ความต้องการความสัมพันธ์ (Relatedness Need) ความต้องการมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ดี 3. ความต้องการความเจริญเติบโต (Growth Need) ต้องการเจริญเติบโตและการพัฒนาทางจิตใจ อย่างต่อเนื่อง สรุปได้ว่า การวัดความพึงพอใจสามารถใช้เครื่องมือวัดได้หลายแบบ เช่น วิธีการสังเกตการสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้แบบสอบถามความพึงพอใจชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน 5 ระดับ ในการวัดความพึงพอใจของนักเรียน 2.๗ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกรียงไกร ศิลปรัศมี (2557) ได้ศึกษาและจัดทฎ “การศึกษาองค์ประกอบการส่งเสริมการจัดทำบัญชี ครัวเรือนกรณีศึกษา:เกษตรกรชาวสวนยางพารา ตำบลบางขัน อำเภอบางขัน มีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 3,958 คน จากการใช้สูตร Yamane ที่ระดับความเชื่อมัน 95% ได้ขนาดตัวอย่างจานวน 362 ตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ส่ง แบบสอบถามไปยังกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 724คน โดยได้รับการตอบกลับ 317 ตัวอย่างงานวิจัยครั้งนี้ใช้การ วิเคราะห์ข้อมูลและการสกัดปัจจัย (Factor Analysis) ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบปัจจัยส่งเสริมการจัดทา บัญชีครัวเรือน กรณีศึกษาเกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลบางขัน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยด้านการส่งเสริมจากหน่วยงานหรือองค์กรของรัฐมี 4 ตัวแปรได้แก่ การ ให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่ การใช้ความรู้ที่ได้จากเจ้าหน้าที่ การติดตามจากเจ้าหน้าที่และความเข้าใจในการปฏิบัติ (2) ปัจจัยด้านการยึดนาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติมี 5 ตัวแปรได้แก่ ความมันคงในการดารงชีวิต การ เตรียมความพร้อม การพัฒนาการใช้ชีวิตด้วยความมีสติ และการสร้างพื้นฐานในการดารงชีวิต (3) ปัจจัยด้าน
การบริหารจัดการทางการเงินของครอบครัว มี 4 ตัวแปรได้แก่ ระบบการแก้ไขและการลดหนี้สิน ระบบการ วางแผนทางการเงิน ระบบการพยากรณ์ความต้องการใช้เงินและระบบความร่วมมือและการป้องกันหนี้สิน ชณธร จันทร์แก้ว (2557) ศึกษาเรื่องการวางนโยบายการบริหารงานบริหารงานบริษัท ในการศึกษา พบว่าในทุก ๆ บริษัทนั้นต่างก็มีนโยบายการบริหารภายในกันทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นในในด้านลูกค้า เช่น การตรงต่อ เวลา ได้แก่ การจัดส่ง การบริการ ราคาสินค้า หรือการนัดหมาย ฯลฯ สรุปผลว่าไม่ว่าจะเป็นการทาธรกิจแบบ ใดนั้นทุก ๆ บริษัทจะต้องมีการวางนโยบายการบริหารงานบริษัทเพื่อการจัดการภายในและภายนอกเป็นระบบ มากยิ่งขึ้น ทัศนีย์ เวทย์สุขสมพร (2557) ศึกษาเรื่องการวางระบบให้กับกิจการต่าง ๆ การศึกษาพบว่าในการทา ธุรกิจไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก จะต้องมีการทางานเกี่ยวกับบัญชีทั้งสิ้นเพื่อเป็นการป้องกัน การทุจริต หรือการขดโกงในบริษัท สรุปผลว่า ในการดาเนินกิจการทุกกิจการย่อยมีการหวังผลกาไรทุกกิจการ ในการทาบัญชีหรือระบบบัญชีนั้น สามารถทาให้กิจการทราบถึงผลการดาเนินงานของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นผล กาไรขาดทุน สถานะของกิจการว่าควรดาเนินการต่อหรือยกเลิกกิจการแล้วการวางระบบบัญชีนั้นยังสามารถ ป้องกันการทุจริตเบื้องต้นได้อีกด้วย แพรพลอย นิลดา (2557) ศึกษาเรื่องการจัดทาบัญชีธุรกิจซื้อมา ขายไป การศึกษาพบว่าธุรกิจซื้อมาขาย ไปเป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาขายต่อทอดหนึ่งเพื่อหวังผลกาไรรายได้หลักของธุรกิจจึงเป็นรายได้จากการ ขายสินค้าและมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าที่ขายและค่าใช้จ่ายในการดาเนินงานในการทาธุรกิจหากไม่มีการ จัดทาบัญชีจะทาให้ไม่ทราบถึงที่มาของรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตลอดจนสินทรัพย์หนี้สิน และทุนของ กิจการอันมีผลต่องบการเงิน เมื่อมีปัญหา ธุรกิจไม่มีเอกสารหรือหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ทาแล้ว ให้ ระบบบัญชีไม่เป็นระบบ สรุปผลว่าธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องมีการจัดทาบัญชีเพื่อให้ทราบผลการดาเนินงานและ หลักฐานทางการเงินของธุรกิจ หากธุรกิจไม่มีการจัดทาบัญชีก็จะเกิดปัญหาดังต่อไปนี้คือ ด้านการทา งานธุรกิจ ไม่สามารถตรวจสอบผลการดาเนินงานทางบบัญชีของธุรกิจว่ามีรายได้ค่าใช้จ่ายลูกหนี้เจ้าหนี้เท่าไหร่และมีที่มา อย่างไร กระบวนการจัดทาบัญชี คือ ขั้นตอนการจัดทาบัญชีทั้งหมดเริ่มตั้งแต่จัดทำบัญชีจนถึงการปิดบัญชีไป ถึงการจัดทา งบการเงินต่าง ๆ ร้อยตรีหญิง แคทรียา วันวงศ์ (๒๕๔๖) บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของนัก บัญชี 2) ศึกษาคุณลักษณะของนักบัญชี3) ศึกษาคุณสมบัติของนักบัญชี ในกรุงเทพมหานคร บทความนี้เป็น งานวิจัยเชิงปริมาณ คือ การนำข้อมูลหรือผลที่ได้จากการใช้แบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อนำค่าที่ได้จากการวิเคราะห์มาใช้ในการอ้างอิงเพื่อหาคำตอบหรือเพื่อหา ข้อสรุปในการ วิจัย จากเรื่องที่ศึกษา ประชากรในการวิจัยเป็น ผู้จัดทำบัญชีและการเงินในกรุงเทพมหานคร จำนวน 32,048 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ 26 – 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญา ตรี สถานภาพโสด ผลการวิจัย พบว่า บทบาทของนักบัญชี ด้านทัศนคติของนักบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.98 และ S.D = 0.5) ด้านวิสัยทัศน์ของนักบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.75 และ S.D = 0.56) และ ด้านความรับผิดชอบต่อวิชาชีพบัญชี( = 3.84 และ S.D = 0.59) คุณลักษณะของนักบัญชีด้านมีทักษะ วิชาชีพบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.95 และ S.D = 0.58) ด้านมีความละเอียดรอบคอบ รอบคอบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.83 และ S.D = 0.52) และด้านมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ โดยรวมอยู่ ในระดับมาก ( = 3.82 และ S.D = 0.55) คุณสมบัติของการปฏิบัติงานของนักบัญชี ด้านความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบัญชีของผู้จัดทำบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85 และ S.D = 0.53) และประสบการณ์ในการ ทำงานของผู้จัดทำบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.82 และ S.D = 0.5) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี ด้านความเชื่อถือได้ของงบการเงิน ด้านความถูกต้องของงบการเงิน และด้านความมีจรรยาบรรณวิชาชีพของนักบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนิษฐา ชีวพัฒนพันธุ์ (๒๕๖๑) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ พัฒนาความรู้ทางบัญชี และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาความรู้ทางบัญชีของบุคลากรส่วนการ คลัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือบุคลากรส่วน การคลัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่จังหวัด นนทบุรีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 93 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่แบบสอบถามแบบ ปลายเปิดและปลายปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่า ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา การบัญชีตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลัง ประสบการณ์การทำงาน มากกว่า 12 ปี สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ และส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการพัฒนาความรู้ทางบัญชี ผลการวิจัยด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางบัญชี ของ บุคลากรส่วนการคลัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีพบว่า บุคลากรส่วนการคลัง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางบัญชี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยต้องการพัฒนาความรู้ด้านการ จัดทำรายงาน เป็นอันดับแรก รองลงมา ต้องการพัฒนาความรู้ด้านการบันทึกบัญชีและการจัดทำทะเบียน และมีความต้องการพัฒนาความรู้ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี โดย สนใจพัฒนาความรู้ด้วยวิธีการเข้ารับการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ระยะเวลาที่ เหมาะสมในการฝึกอบรมควรเป็นวันทำการ (จันทร์-ศุกร์) และระยะเวลา 5 วัน
บทที่ ๓ วิธีการดำเนินงาน โครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด มีขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานเรียงตามลำดับดังนี้ ๓.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ๓.2 วิธีการดำเนินโครงการ ๓.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ๓.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ๓.๑ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เจ้าของกิจการ สมบูรณ์ ซัก อบ รีด จำนวน 1 คน ได้ทำแบบสอบถามความพึงพอใจ ๓.2 วิธีการดำเนินโครงการ การออกแบบสมุดบัญชีครัวเรือนโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ภาพที่ 3.๑ โปรแกรม Microsoft Excel ๑. เข้าใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel ภาพที่ 3.๒ หน้าต่างโปรแกรม Microsoft Excel
๒. การออกแบบตารางลงบันทึกบัญชีในสมุดบัญชีครัวเรือน ภาพที่ 3.๓ การออกแบบตารางลงบันทึกบัญชี แผนการทำบัญชีครัวเรือนของ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ภาพที่ 3.๔ เจ้าของกิจการ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด
1. นำสมุดบัญชีครัวเรือนที่เย็บเล่มเสร็จเรียบร้อยแล้วไปให้เจ้าของ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด จดบันทึก รายรับ - รายจ่ายในแต่ละวันของกิจการ ภาพที่ 3.๕ ฟอร์มบัญชีรายรับ – รายจ่ายของร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด 2. อธิบายวิธีการจดบันทึกรายรับ - รายจ่ายลงในสมุดบัญชีครัวเรือนให้กับเจ้าของกิจการ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ภาพที่ 3.๖ อธิบายวิธีการจดบันทึกรายรับ - รายจ่ายลงในสมุดบัญชีครัวเรือน
3. เก็บข้อมูล รายรับ - รายจ่าย ของกิจการ เป็นประจำในทุกๆวัน พูดคุยถึงปัญหาในการจดบันทึก บัญชีรายรับ - รายจ่ายในสมุดบัญชีครัวเรือน ภาพที่ 3.๗ รวบรวมบัญชีรายรับ – รายจ่ายของร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด 4. สรุปผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนของ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด เมื่อครบกำหนดระยะเวลา ๒ เดือน ภาพที่ 3.๘ สรุปผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนของ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด
5.รวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสรุปทำรูปเล่มโครงงาน ภาพที่ 3.๙ การลงบันทึกรายรับ – รายจ่ายในสมุดบัญชีครัวเรือนของร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ๖.นำข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้ครูที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้องก่อนทำรูปเล่มโครงงาน ภาพที่ 3.๑๐ ครูที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารก่อนทำรูปเล่มโครงการ
ภาพที่ 3.๑๑ การเก็บรวบรวมแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดทำบัญชี ๓.๓ การเก็บรวบรวมข้อมูล ๑. กำหนดจำนวนธุรกิจเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑ ธุรกิจ ๒. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเองและแบบสอบถามความคิดเห็นของเจ้าของกิจการ สมบูรณ์ ซัก อบ รีด ๓. นำข้อมูลที่ได้มาสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล ๓.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ดังนี้ 1. ร้อยละ (Percentage) (สมบัตร ท้ายเรือคำ ๒๕๕๔, หน้า ๑๒๔) โดยมีสูตร ดังนี้ สูตร P = 100 n f เมื่อ P = ร้อยละ f = ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ n = จำนวนความถี่ทั้งหมด
2. ค่าเฉลี่ย (Mean) (สมบัตร ท้ายเรือคำ ๒๕๕๔, หน้า ๑๒๔) โดยมีสูตร ดังนี้ สูตร X = n fx เมื่อ X = ค่าเฉลี่ย fx = ผลรวมของผลคูณระหว่างความถี่กับคะแนน n = จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 3. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (สมบัตร ท้ายเรือคำ ๒๕๕๔, หน้า ๑๒๔) โดยมีสูตร ดังนี้ สูตร S.D. = 2 2 n fx n fx − เมื่อ S.D. = ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน fx = ผลรวมของผลคูณระหว่างความถี่กับคะแนน 2 fx = ผลรวมของผลคูณระหว่างความถี่ กับคะแนนแต่ละจำนวน ที่ยกกำลังสอง n = จำนวนกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ตอนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพของนักวิจัยผู้ตอบแบบสอบถามแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจง ความถี่และหาค่าร้อยละ ตอนที่ 2 ข้อมูลความคิดเห็นด้านแรงจูงใจในการจัดทำงานวิจัยของนักวิจัย แสดงผลวิเคราะห์เป็น ค่าเฉลี่ย ( ) และ(S.D) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นรายข้อโดยมีค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ ดังนี้ ๔.๕๑ – ๕.๐๐ หมายถึง ระดับมากที่สุด ๓.๕๑ – ๔.๕๐ หมายถึง ระดับมาก ๒.๕๑ – ๓.๕๐ หมายถึง ระดับปานกลาง ๑.๕๑ – ๒.๕๐ หมายถึง ระดับน้อย ๑.๐๐ – ๑.๕๐ หมายถึง ระดับน้อยที่สุด ตอนที่3 ข้อเสนอแนะทั่วๆไป ของผู้ตอบแบบสอบถาม
บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการจัดทำโครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนิน ธุรกิจ รายละเอียดที่นำเสนอในบทนี้เป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการจัดทำบัญชี ของธุรกิจประเภท บริการ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด มีรายละเอียดดังนี้ ๔.๑ ผลการดำเนินงานการจัดทำบัญชี ๔.๒ ตอนที่ ๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจําแนกเป็นเพศ อายุ และ โดยการหาค่าร้อยละ ๔.๓ ตอนที่ ๒. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการจัดทำโครงงาน ๓ ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถ ด้าน กระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการรับทำบัญชี และด้านบูรณาการ โดยการหาค่าร้อยละและการหา ค่าเฉลี่ย (x) ๔.๑ ผลการดำเนินงานการจัดทำบัญชี ตารางที่ ๔.๑ ผลการดำเนินงานการจัดทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด เดือน รายรับ รายจ่าย ผลกำไรสุทธิ/ขาดทุน สุทธิ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ๑๗,๑๓๕ ๖,๑๔๕ ๑๐,๙๙๐ ธันวาคม ๒๕๖๖ ๑๕,๕๖๕ ๓,๖๗๐ ๑๑,๘๙๕ รวม ๓๒,๗๐๐ ๙,๘๑๕ ๒๒,๘๘๕ จากตารางที่ ๔.๑ ผลการดำเนินงานการจัดทำบัญชีโครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด พบว่าเดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด มีรายรับ ๑๗,๑๓๕ รายจ่าย ๖,๑๔๕ กำไรสุทธิ ๑๐,๙๙๐ เดือน ธันวาคม ๒๕๖๖ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด มีรายรับ ๑๕,๕๖๕ รายจ่าย ๓,๖๗๐ กำไรสุทธิ ๑๑,๘๙๕ ทั้งสอง เดือนรวมกัน รายรับ ๓๒,๗๐๐ รายจ่าย ๙,๘๑๕ กำไรสุทธิ ๒๒,๘๘๕ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ ๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกเป็นเพศ อายุและ โดยการหาค่าร้อยละ ร้อยละ (Percentage) (สมบัตร ท้ายเรือคำ ๒๕๕๔, หน้า ๑๒๔) โดยมีสูตร ดังนี้
สูตร P = 100 n f เมื่อ P = ร้อยละ f = ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ n = จำนวนความถี่ทั้งหมด ตอนที่ ๒. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการจัดทำโครงงาน ๓ ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถ ด้าน กระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการรับทำบัญชี และด้านบูรณาการ โดยการหาค่าร้อยละและการหา ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเฉลี่ย (Mean) (สมบัตร ท้ายเรือคำ ๒๕๕๔, หน้า ๑๒๔) โดยมีสูตร ดังนี้ สูตร X = n fx เมื่อ X = ค่าเฉลี่ย fx = ผลรวมของผลคูณระหว่างความถี่กับคะแนน n = จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ๔.๒ ตอนที่ ๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจําแนกเป็นเพศ อายุและ โดยการหาค่าร้อยละ ผลวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจ ตารางที่ ๔.๒ ตารางความถี่ ร้อยละ % ของผู้ตอบแบบสอบถามโครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำ บัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด จำแนกตามเพศ เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ หญิง ๕ ๕๐.๐๐ ชาย ๕ ๕๐.๐๐ รวม ๑0 ๑๐๐ จากตารางที่ ๔.๒ การตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้าง ความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด จําแนก ตามเพศ พบว่าผู้ตอบ แบบสอบถามเป็นเพศหญิง จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ เพศชาย จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐
ตารางที่ ๔.๓ ตารางความถี่ ร้อยละ % ของผู้ตอบแบบสอบถามโครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำ บัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด จำแนกตามอายุ อายุ จำนวน (คน) ร้อยละ ๒๐-๔๐ ปี 1 ๑๐.๐๐ ๔๑-๖๐ ปี ๘ ๘๐.๐๐ ๖๑-๘๐ ปี ๑ ๑๐.๐๐ รวม ๑๐ ๑๐๐ จากตารางที่ ๔.๓ การตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้าง ความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด จำแนกตามอายุ พบว่าผู้ตอบ แบบสอบถามช่วงอายุ ๒๐-๔๐ ปีมีจำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามช่วงอายุ ๔๑-๖๐ ปีมีจำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามช่วงอายุ ๖๑-๘๐ ปีมีจำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อย ละ ๑๐.๐๐ ตารางที่ ๔.๔ ตารางความถี่ ร้อยละ % ของผู้ตอบแบบสอบถามโครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำ บัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด จำแนกตามวุฒิการศึกษา อายุ จำนวน (คน) ร้อยละ ต่ำกว่า ม.3 ๑ ๑๐.๐๐ ปวช. /ม.6 ๑ ๑๐.๐๐ ปวส. ๖ ๖๐.๐๐ ปริญญาตรีขึ้นไป ๒ ๒๐.๐๐ รวม ๑๐ ๑๐๐ จากตารางที่ ๔.๔ การตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้าง ความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีวุฒิการศึกษา ต่ำกว่า ม.3 มีจำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๐ ผู้ตอบ แบบสอบถามมีวุฒิการศึกษา ปวช. /ม.6 มีจำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามมีวุฒิ การศึกษา ปวส. มีจำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามมีวุฒิการศึกษา ปริญญาตรีขึ้นไป มีจำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๐๐
๔.๓ ตอนที่ ๒. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการจัดทำโครงงาน ๓ ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถ ด้าน กระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการรับทำบัญชี และด้านบูรณาการ โดยการหาค่าร้อยละและการหา ค่าเฉลี่ย (x) ๒.๑ ด้านความรู้ความสามารถ ตารางที่ ๔.๕ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการ จัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๑ ข้อที่ ๑.๑ มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจที่ทำโครงงาน ประเด็นการประเมิน ระดับความพึงพอใจ จำนวน (คน) ร้อยละ ระดับมากที่สุด ๕ ๖ ๖๐.๐๐ ระดับมาก ๔ ๔ ๔๐.๐๐ ระดับปานกลาง ๓ - - ระดับน้อย ๒ - - ระดับน้อยที่สุด ๑ - - รวม ๑๐ ๑๐๐ จากตารางที่ ๔.๕ การตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้าง ความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๑ ข้อที่ ๑.๑ มีความรู้ ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจที่ทำโครงงาน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จำนวน ๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐
ตารางที่ ๔.๖ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำ บัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๑ ข้อที่ ๑.๒ มีความรู้ ความสามรถ ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเอกสารที่ใช้เป็นอย่างดี ประเด็นการประเมิน ระดับความพึงพอใจ จำนวน (คน) ร้อยละ ระดับมากที่สุด ๕ ๕ ๕๐.๐๐ ระดับมาก ๔ ๕ ๕๐.๐๐ ระดับปานกลาง ๓ - - ระดับน้อย ๒ - - ระดับน้อยที่สุด ๑ - - รวม ๑๐ ๑๐๐ จากตารางที่ ๔.๖ การตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้าง ความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๑ ข้อที่ ๑.๒ มีความรู้ ความสามรถ ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเอกสารที่ใช้เป็นอย่างดี พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐
๒.๒ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการรับทำบัญชี ตารางที่ ๔.๗ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการ จัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๒ ข้อที่ ๒.๑ มีความสม่ำเสมอ เป็นปัจจุบันในการเก็บข้อมูลด้านรายได้ และค่าใช้จ่ายของกิจการ ประเด็นการประเมิน ระดับความพึงพอใจ จำนวน (คน) ร้อยละ ระดับมากที่สุด ๕ ๓ ๓๐.๐๐ ระดับมาก ๔ ๗ ๗๐.๐๐ ระดับปานกลาง ๓ - - ระดับน้อย ๒ - - ระดับน้อยที่สุด ๑ - - รวม ๑๐ ๑๐๐ จากตารางที่ ๔.๗ การตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อ สร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๒ ข้อที่ ๒.๑ มี ความสม่ำเสมอ เป็นปัจจุบันในการเก็บข้อมูลด้านรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก จำนวน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๐๐ ตารางที่ ๔.๘ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการ จัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๒ ข้อที่ ๒.๒ ติตตามและสามารถแก้ไขปัญหาการบันทึกข้อมูลรายได้และ ค่าใช้จ่ายของกิจการได้เป็น อย่างดี ประเด็นการประเมิน ระดับความพึงพอใจ จำนวน (คน) ร้อยละ ระดับมากที่สุด ๕ ๕ ๕๐.๐๐ ระดับมาก ๔ ๕ ๕๐.๐๐ ระดับปานกลาง ๓ - - ระดับน้อย ๒ - - ระดับน้อยที่สุด ๑ - - รวม ๑๐ ๑๐๐
จากตารางที่ ๔.๘ การตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้าง ความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๒ ข้อที่ ๒.๒ ติดตาม และสามารถแก้ไขปัญหาการบันทึกข้อมูลรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ ได้เป็นอย่างดี พบว่าผู้ตอบ แบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ ๒.๓ ด้านบูรณาการ ตารางที่ ๔.๙ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการ จัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๓ ข้อที่ ๓.๑ บูรณาการทักษะประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ประเด็นการประเมิน ระดับความพึงพอใจ จำนวน (คน) ร้อยละ ระดับมากที่สุด ๕ ๖ ๖๐.๐๐ ระดับมาก ๔ ๔ ๖๐.๐๐ ระดับปานกลาง ๓ - - ระดับน้อย ๒ - - ระดับน้อยที่สุด ๑ - - รวม ๑ ๑๐๐ จากตารางที่ ๔.๙ การตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อ สร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๓ ข้อที่ ๓.๑ บูรณาการทักษะประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จำนวน ๔ คน คิด เป็นร้อยละ ๔๐.๐๐
ตารางที่ ๔.๑๐ ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการ จัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๓ ข้อที่ ๓.๒ โครงงานการวางระบบบัญชีและจัดทำบัญชี ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด มีความสอดคล้อง กับ วิชาบัญชี ประเด็นการประเมิน ระดับความพึงพอใจ จำนวน (คน) ร้อยละ ระดับมากที่สุด ๕ ๘ ๘๐.๐๐ ระดับมาก ๔ ๒ ๒๐.๐๐ ระดับปานกลาง ๓ - - ระดับน้อย ๒ - - ระดับน้อยที่สุด ๑ - - รวม ๑๐ ๑๐๐ จากตารางที่ ๔.๑๐ การตอบแบบสอบถาม โครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อ สร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ด้านที่ ๓ ข้อที่ ๓.๒ โครงงานการวางระบบบัญชีและจัดทำบัญชี ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด มีความสอดคล้องกับวิชาบัญชี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๐๐ ผู้ตอบ แบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๐๐
ตารางที่ ๔.๑๑ ตารางแสดงค่าเฉลี่ย (X) ความพึงพอใจของเจ้าของกิจการ โครงงานเรื่อง การ พัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด จากตารางที่ ๔.๑๑ การหาค่าเฉลี่ย ระดับความพึงพอใจของเจ้าของกิจการ โครงงานเรื่อง การ พัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๕๕ สรุปการประเมิน ดังนี้ ประเด็นแบบสอบถาม ผู้ตอบ แบบสอบถาม (คน) ระดับ ความพึง พอใจ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเฉลี่ย (S.D) ๑. ด้านความรู้ ความสามารถ - มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจที่ทำโครงงาน ๑๐ มากที่สุด ๔.๖๐ ๐.๔๘ - มีความรู้ ความสามรถในการถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับเอกสารที่ใช้เป็นอย่างดี ๑๐ มากที่สุด ๔.5๐ ๐.๕๐ ๒ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการรับทำ บัญชี - มีความสม่ำเสมอ เป็นปัจจุบันในการเก็บข้อมูล ด้านรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ ๑๐ มาก ๔.3๐ ๐.๔๕ - ติดตามและสามารถแก้ไขปัญหาการบันทึก ข้อมูล รายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ ๑๐ มากที่สุด ๔.๕๐ ๐.๕๐ ๓. ด้านบูรณาการ - บูรณาการทักษะประสบการณ์ในการ ปฏิบัติงาน ๑๐ มากที่สุด ๔.๖๐ ๐.๔๘ - โครงงานการวางระบบบัญชีและจัดทำบัญชี ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด ๑๐ มากที่สุด ๔.8๐ ๐.๔๘ รวม ๑ ๔.๕๕ ๐.๔๗
๑. ด้านความรู้ ความสามารถ ๑.๑ มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจที่ทำโครงงาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความพึง พอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๖๐ ๑.๒ มีความรู้ ความสามรถในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเอกสารที่ใช้เป็นอย่างดี พบว่า ผู้ตอบ แบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๕๐ ๒. ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการรับทำบัญชี ๒.๑ มีความสม่ำเสมอ เป็นปัจจุบันในการเก็บข้อมูลด้านรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๓๐ ๒.๒ ติดตามและสามารถแก้ไขปัญหาการบันทึกข้อมูลรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๕๐ ๓. ด้านบูรณาการ ๓.๑ มีบูรณาการทักษะประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๖๐ ๓.๒ โครงงานบริการรับทำบัญชีให้กับร้านขาRindu มีความสอดคล้องกับวิชาบัญชี พบว่า ผู้ตอบ แบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (X) = ๔.๘๐
บทที่ ๕ สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การจัดทำโครงงานเรื่อง การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน สร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ (ร้าน สมบูรณ์ ซัก อบ รีด) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบผลการดำเนินการของกิจการที่แน่นอน ให้ผู้ทำบัญชี มีทักษะและประสบการณ์ในการทำบัญชีมากขึ้น กิจการมองเห็นประโยชน์ ให้ความสำคัญกับการจัดทำบัญชี นำความรู้ทางวิชาชีพไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และศึกษาระดับความพึงพอใจของกิจการที่มีต่อการจัดทำ บัญชีจำนวน ๑ ธุรกิจ ซึ่งมีประเด็นสำคัญในการนำเสนอตามลำดับ ดังนี้ ๕.๑ สรุปผลการวิจัย ๕.๒ อภิปรายผล ๕.๓ ข้อเสนอแนะ ๕.๑ สรุปผลการวิจัย ๕.๑.๑ ผลการดำเนินงานการจัดทำบัญชี ผู้วิจัยได้ผลการดำเนินงานการจัดทำบัญชีโครงงานการพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อ สร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ บริการรับทำบัญชีให้กับร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด พบว่าเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด มีรายรับ ๑๗,๑๓๕ รายจ่าย ๖,๑๔๕ กำไรสุทธิ ๑๐,๙๙๐ เดือนธันวาคม ๒๕๖๖ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด มีรายรับ ๑๕,๕๖๕ รายจ่าย ๓,๖๗๐ กำไรสุทธิ ๑๑,๘๙๕ และทั้งสองเดือน รวมกันมี รายรับ ๓๒,๗๐๐ รายจ่าย ๙,๘๑๕ กำไรสุทธิ ๒๒,๘๘๕ ๕.๑.๒ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเจ้าของธุรกิจ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โครงงานการวางระบบบัญชีธุรกิจ ร้านสมบูรณ์ ซัก อบ รีด โดยใช้ค่าร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามตามเพศ พบว่า ผู้ตอบ แบบสอบถามเป็นผู้หญิง จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ เพศชาย จำนวน ๕ คน คิดเป็น ร้อยละ ๕๐.๐๐ จำแนกตามอายุ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามช่วงอายุ ๒๐-๔๐ ปีมีจำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามช่วงอายุ ๔๑-๖๐ ปีมีจำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถาม ช่วงอายุ ๖๑-๘๐ ปีมีจำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๐ จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่าผู้ตอบ แบบสอบถามมีวุฒิการศึกษา ต่ำกว่า ม.3 มีจำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามมีวุฒิ การศึกษา ปวช. /ม.6 มีจำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามมีวุฒิการศึกษา ปวส. มี จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๐๐ ผู้ตอบแบบสอบถามมีวุฒิการศึกษา ปริญญาตรีขึ้นไป มีจำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๐๐